พรหมวิหารสี่ ความประมาท และโพธิสัตว์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย suwi, 29 มกราคม 2008.

  1. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    โกรธหนอ โกรธหนอ....
    ภาวนาอยู่เช่นนั้น เอ..เห็นตัวเองขับรถอยู่ ขับไปไหน..
    โกรธหนอ โกรธหนอ.. เออ ขับรถหนอ ขับรถหนอ ขับไปไหนหนอ
    โห้วิ่งเร็วเว้ย ช้าหน่อยดี้ เฮ้ย..ระวังจะชนแล้ว
    ตาเหลือบไปเห็นเตาหม้อสะพานต้นเบ้อเริ่ม ขวางอยู่ตรงหน้า
    เฮ้ยชน.. ชน...ชนแล้ว โครม เรียบร้อย
    เห็นตัวเองลงมายืนดู โอโห้เฮะ..เละเลย
    ชนหนอ ชนหนอ เละหนอ เละหมดแล้วหนอ......
    เฮ้อ...ได้แต่สายหน้า

    สูดลมหายใจเข้าลึก(เพื่อเปลี่ยนอารมณ์จิต)

    เอ..ยังขับรถอยู่วุ้ย...รถไม่ยักพัง บอกไอ้คนขับ ขับดีๆนาโว้ย อย่าเร็วนาโว้ย
    ถ้าจะชนเอ็งต้องเหยียบเบรคนาโว้ย ไอ้คนขับมันก็พยักหน้ารับ
    มองหน้ามัน เอ.ตัวกูเองนี่หว่า มันหันหน้ามายิ้มให้ พยักหน้ารับ
    เหลือบตาไปข้างหน้า เฮ้ย...มันจะชนเตาหม้อสะพานอีกแล้ว
    เฮ้ย...หยุดดดด...เบรคโว้ย... โครม.. เรียบร้อน

    เห็นตัวเองลงมายืนดู ส่ายหน้า พังหมดหนอ พังแล้วหนอ...

    เฮ้ฮ..ถอนหายใจ ได้แต่ส่ายหน้าไปมา ใจลึกๆนึกเสียดาย ไม่น่าเลยเตือนแล้วเตือนอีก ทำไมม้ไม่เบรค เองไม่เบรคเลยนี่หว่า
    เบรคโว้ย...แต่ไม่ทัน
    เสียงเล็กๆแว่วมา

    หันหลังกลับ ได้แต่ส่ายหน้า ถอนหายใจ
    อ้าวขึ้นมาอยู่บนรถอีกแล้วกำลังขับรถอยูไอ้คันเดินนะเหละ..
    อ้าว....คราวนี้ขับเองเลย
    เงยหน้าขึ้น เฮ้ย..เฮ้ย..เตาหม้อสะพานต้นเบ้อเริ่มขวางอยู่ข้างหน้าจะชนอีกแล้ว
    กำลังงงอยู่ทำงัยดีวุ้ย
    ก็เหมือนมีอะไรพุ่งผ่านจากไหล่ด้านหลังออกไปยืนอยู่หน้ารถ เป่านกหวีดปรีด ลั่นหูเลย
    สะดุ้งนิดๆ กลัวชน(อะไรที่โดดมาขวางตรงหน้า) เลยเหยียบเบรกตัวโก่ง โห้ มันหยุดพอดี ไม่ชนทั้งคนทั้งเตาหม้อสะพาน
    ลงมาดู อ้าวตำรวจนี่เอง ที่มายืนเป่านกหวีดขวางหน้ารถ เงยหน้าดูตำรวจ อ้าวเฮ้ยตัวเองนี่หว่า

    สมาธิถอน ขยับตัว ท่ามกลางความงงๆ โห้..อะไรกันนี่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2008
  2. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    ท่ามกลางความงงๆ
    เอ...ตั้งความปรารถนา ลดโทษะ และปฏิเสธวิบากแห่งโทษะที่จะตามมาให้ผล
    แต่เอ...ไหงมานั่งฝันเป็นเรื่องขับรถหว่า
    แล้วไอ้เตาหม้อสะพาน มันมาเกี่ยวอะไร ทำไมต้องขับรถชนมันแล้วชนมันอีก ชนมันไม่เลิกรา
    เก็บความสงสัยตั้งเป็นเหตุไว้
     
  3. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    ในสมัยต่อมา นั่งๆนอนๆ มองผ่านแสงใสที่ปลายจมูก
    มองไปยังส่วนต่างๆ ภายในร่างกายบ้าง ที่ผิวหนังบ้าง มองสภาพรวมๆของร่างกายบ้าง และสิ่งที่อยู่นอกร่างกายบ้าง

    ใจ ให้ประหวัดไปถึงการพิจารณาเพื่อดับโทษะที่ผ่านมา และยังงุนงงกับภาพที่ปรากฏ
    การขับรถชนเตาหม้อสะพาน ชนแล้วชนอีก ชนไม่เลิกไม่รา มันคืออะไร หมายถึงอะไร ฯลฯ

    ตั้งจิตปรารถนาถามลงบนความว่างสว่างใส นำเรื่องที่ปรากฏในความฝัน(ขอเรียกว่าความฝันนะ มันง่ายดี) ขึ้นพิจารณา

    เริ่มตั้งแต่ ตอนตั้งความปรารถนา, คำภาวนา โกรธหนอๆ, ภาพการขับรถ ขับรถหนอๆ, จนกระทั่งชนหนอ, เละหมดแล้วหนอ ฯลฯ

    พิจารณาย้อนไปย้อนมา(อนุโลม, ปฏิโลม) ดั่งดูหนังเดินหน้าและถอยหลัง ดึงภาพให้ช้า
    สวมความรู้สึกของตัวละคร(ผู้แสดง,ผู้ดู,ผู้เสวยอารมรณ์) แต่ละตัว
    เก็บข้อมูล พิจารณาแยกแยะความควรไม่ควรในอาการที่แสดงออกอันเกิดจาก การเสวยเวทนาในขณะนั้นๆ

    ไม่นานข้อสรุปค่อยๆปรากฏให้รู้ ให้เห็นชัด
    โกรธหนอ ที่ภาวนา ความโกรธได้เกิดขึ้นแล้ว ดุจความสูญเสียที่รถได้ชนเตาหม้อสะพานแล้ว
    เละหนอ เป็นความสูญเสียที่ไม่อาจกู้คืน มีทางเดียวที่จะไม่สูญเสีย คือเหยียบเบรค ให้รถหยุดก่อนชน

    ผู้ที่นั่งอยู่ข้างคนขับ(ในฉากที่สอง)เป็นดุจดังสติที่คอยเตือนคนขับอยู่ ให้หยุดให้เหยียบเบรค เมื่อจะมีเหตุ
    แต่ว่าไม่ว่าจะเตือนอย่างไร แม้ว่าผู้รับคำเตือน จะยินดีรับปฏิบัติในคำเตือนนั้น
    แต่เมื่อเหตุจะเกิด มันไม่ทัน ทั้งผู้ขับผู้เตือนเร็วไม่พอที่จะหยุดมัน

    ในฉากที่สาม คนขับเห็นๆอยู่ว่าจะเกิดเหตุ ชนเละแน่ๆ
    แต่กลับงงๆอยู่ตัดสินใจไม่ถูกว่า ทำไงหว่า (เพราะมันมีหลายวิธีที่รู้ เช่นหักพวงมาลัยหลบ พ้นหรือเปล่าหว่า จึงไม่มั่นใจว่าทำอะไร จึงดีที่สุด)
    ตำรวจได้พุ่งผ่านจากข้างหลัง เป่านกหวีด ปรี้ด คนขับจึงได้เบรคตัวโก่ง
    ความสูญเสียจึงไม่เกิด
    ความโกรธ ดุจดังรถที่ทะยานอย่างรวจเร็วไปข้างหน้า สติที่อยู่ด้านข้างเตือนกันได้ แต่ห้ามไม่อยู่ มีพียงสติที่เร็วกว่า พุ่งไปเบื้องหน้าเป่านกหวีดปรี้ด จึงจะหยุดความโกรธได้

    ออ้...เป็นเช่นนี้ สติผู้เตือน ต้องอยู่เบื้องหน้าจึงจะหยุดความโกรธได้
    สติที่เฝ้าดู ก็ได้แต่ดู ได้แต่เตือน ได้แต่เเห็น ข้าใจในเหตุที่เกิด แต่ไม่อาจห้ามปราม
    ต้องปล่อยให้เป็นเช่นนั้นเอง

    อื้อ..ในเมื่อข้าฯ ต้องการตัดเสียซึ่งวิบากที่จะเกิดหตุในอนาคต
    หากเพียงเฝ้าดู เฝ้าเตือน และกำหนดว่ามันก็เป็นเช่นนั้นเอง ดูก็สักแต่ว่าดู เห็นก็สักแต่ว่าเห็น หากทำเพียงเท่านี้
    อนาคต บุญใหญ่ก็ยังคงหล่นทับ ได้นั่งกินนอนกิน มีคนมาบริการป้อนข้าวป้อนน้ำเช็ดขี้เช็ดเยี่ยวให้แน่ๆ
    มีเพียงทางเดียว สติผู้เตือนต้องเร็วกว่าความเร็วรถ(ความเร็วที่เกิดโทษะ)จึงจะหยุดกิเลสคือโทษะตัวนี้ได้

    ถ้ากระทำได้ โทษะไม่อาจเกิดได้เลย รวมถึงกิเลสตัวอื่นๆด้วย
    เอ..นี่มันเป็นจุดเริ่มขบวนการทำลายกิเลสนี่หว่า

    แต่เอ...รู้แล้ว เห็นแล้ว แต่ทำอย่างไรเล่าหว่า จึงจะทำเป็น เข้าควบคุมขบวนการทั้งหมด
     
  4. padon

    padon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +155
    ขออนุโมทนา ขอขอบพระคุณ อ.สุวิ ในธรรมทานนี้ครับ ได้เปิดหูเปิดตาเปิดใจ เห็นถึงความลึกซึ้งในสิ่งที่เราคิดว่าเรารู้แล้ว..ใครๆก็คิดว่ารู้แล้ว แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่เราคิดว่ารู้นั้นเป็นเพียงเปลือกผิวนอกสุดอันน้อยนิดเท่านั้น
     
  5. pump - อภิเตโช

    pump - อภิเตโช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,202
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,803
    ผมว่า อุเบกขาจะเกิดขึ้นในเรื่องที่ 3ครับ
    2 เรื่องแรก เกิด เมตตา กรุณา มุฑิตา
    ในครั้งที่ - หลังจาก โดนชมเชยแซ่ซ้องสรรเสริญโดยเทวดา(ปิติ)
    โดนตำหนิค่อนขอดโดยกระต่าย(หดหู่)
    เห็นความพยาบาทมาดมั่นของนางนก(ตะหนก)
    จะเห็น โลกธรรม
    แล้วอุเบกขา (วางเฉย) ก็เกิดขึ้นครับ
     
  6. pump - อภิเตโช

    pump - อภิเตโช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,202
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,803
    ผมว่า อุเบกขาจะเกิดขึ้นได้ทั้ง 3 ข้อ ครับ เมื่อพิจารณาโลกธรรม ควบคู่ไปด้วย
    อุเบกขาจึงจะเกิด
     
  7. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    ผู้ดูอยู่วงนอก จะเห็นโลกธรรมดังที่คุณบอกจริงๆ แล้วก็วางอุเบกขาดังที่คุณกล่าว ถูกต้องครับ
    แต่คนอยู่บนเวที ดังมานพ๑ เสวยโลกธรรมไปเรียบร้อยครับ จึงสอบตก
     
  8. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    ออ้...เป็นเช่นนี้ สติผู้เตือน ต้องอยู่เบื้องหน้าจึงจะหยุดความโกรธได้
    สติที่เฝ้าดู ก็ได้แต่ดู ได้แต่เตือน ได้แต่เเห็น ข้าใจในเหตุที่เกิด แต่ไม่อาจห้ามปราม
    ต้องปล่อยให้เป็นเช่นนั้นเอง
     
  9. n00m

    n00m เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2009
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +1,279
    ขอบพระคุณมากครับ อาจารย์ ได้รับแล้ว
     
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    การแปลภาษาบาลีมาเป็นภาษาไทย ในเบื้องต้น หากแปลผิด ก็ทำให้เข้าใจผิด ปฏิบัติแบบผิดๆ....
     
  11. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,167
    กระทู้เรื่องเด่น:
    24
    ค่าพลัง:
    +29,754
    สติสัมปชัญญะ เหมือนดั่งรอยเท้าช้าง ที่ครอบรอยเท้าสัตว์ทั้งปวง




    โมทนากับธรรมทานอันดีครับ
     
  12. gosilwer

    gosilwer สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +21
    เลื่อมใสครับ
    อ่านแล้วผมเข้าใจเรื่อง พรหมวิหารสี่ ขึ้นมาเลยแม้จะยังไม่ทะลุปุโปร่ง แต่ก็เข้าใจมากกว่าแต่ก่อน

    อนุโมทนาสาธุครับ
     
  13. พลังไฟ

    พลังไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +845
    มารออาจารย์เล่าต่อ

    บันเทิงปัญญาจริงๆ
     
  14. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    ได้เขียนค้างไว้ ปีเศษ ให้เป็นปริศนาว่า

    ถ้ากระทำได้ โทษะไม่อาจเกิดได้เลย รวมถึงกิเลสตัวอื่นๆด้วย
    เอ..นี่มันเป็นจุดเริ่มขบวนการทำลายกิเลสนี่หว่า

    แต่เอ...รู้แล้ว เห็นแล้ว แต่ทำอย่างไรเล่าหว่า จึงจะทำเป็น เข้าควบคุมขบวนการทั้งหมด

    แต่ข้าฯ คงไม่ขยายความทั้งสองประโยคนี้
    แต่จะขอเล่า นิทานสนุกๆ ให้ฟังสักสองเรื่องแทน
     
  15. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    นิทานเรื่องที่ 1 น้องแตง<O:p</O:p

    “น้องแตง” เป็นเด็กหญิงตัวน้อย รูปร่างน่ารัก ช่างเจรจา ช่างคิด ช่างถามเป็นคนมีเหตุมีผล ฉลาดพูดเกินวัย
    วันที่เกิดเหตุ อายุเพียง สามขวบเศษ ชอบติดสอยห้อยตามแม่และยายท่องเที่ยวไปทั่ว
    แต่กลัวการโดยสาร “ลิฟต์” ไม่ว่าจะไปเที่ยวแห่งใดก็ตาม ถ้าจะต้องขึ้น ลิฟต์ น้องแตงจะไม่ยอม ร้องไห้จ้า
    และดิ้นรนหนีออกจากลิฟต์ลูกเดียว ไม่ยอมรับรู้ใดๆทั้งสิ้น
    เคยจับบังคับอุ้มเข้าไปในลิฟต์ เธอร้องงอหาย กอดคอผู้อุ้มแน่นเอียด
    จนท้ายสุด ได้เจรจาต่อรองกัน เวลาขึ้นลิฟต์ให้เธอหลับตา อุ้มและกอดแน่น เธอก็ไม่วายร้องไห้ ไม่ยอมรับรู้เรื่องอื่นไดทั้งสิ้น ร้องลูกเดียว

    วันนั้น เธอ พร้อมด้วยแม่ พ่อ ยาย และปู่ ไปเยี่ยม ชวด ที่โรงพยาบาล ซึ่งพักฟื้นอยู่ที่ชั้นห้า
    ต้องพาขึ้นลิฟต์อีกแล้ว ซึ่งเธอปฏิเสธ ด้วยความกลัว และร้องขอขึ้นบันไดแทน (บันไดอยู่ข้างลิฟต์) แต่ไม่มีใครยอม อุ้มเธอเข้าลิฟต์
    แน่นอนเธอใช้วิธีเดิมหลับตา แหกปากร้องไห้จ้าลูกเดียว ออกจากลิฟต์แล้วพักใหญ่จึงหยุดร้อง
    ในระหว่างเยี่ยมไข้ แม่และพ่อจำเป็นต้องออกไปซื้อของมาให้ชวด จึงให้น้องแตงอยู่กับปู่

    พอแม่คล้อยหลัง ด้วยความติดแม่ เธออ้อนร้องขอให้ปู่พาไปหาแม่
    ปู่ที่แสนดีรีบพาตาม ทันกันที่โถงลิฟต์ เห็นแม่อยู่ในลิฟต์ประตูปิดพอดี เธอร้องตาม
    ปู่จึงบอก ถ้าจะตามต้องใช้ลิฟต์ เธอปฏิเสธ ชี้มือไปที่บันได ขอลงทางนี้แทน
    ปู่ที่แสนดี ตามใจหลาน พาเดินลงบันได เธอขอให้อุ้ม ปู่บอกอุ้มไม่ไหว ขอให้หลานเดินเอง
    หลานก็บอก เดินลงบันไดไม่เป็น ปีนขึ้นเป็นอย่างเดียว
    ปู่บอกไม่เป็นไรสอนวิธีให้ ทำเหมือนตอนปีนขึ้น แต่ไต่ลงบันไดแทน เจรจาต่อรอง และสอนวิธีการกันอยู่พักใหญ่
    สรุป ปู่และหลาน คลานสี่ขา ลงบันไดมาห้าชั้น

    พอถึงชั้นล่างสุด เธอเห็นพ่อและแม่ที่ไปซื้อของ กลับมาพอดีและกำลังอยู่ในลิฟต์ เธอเรียกประตูลิฟต์ปิดพอดี เธอมองหน้าปู่ ขอให้พาหาแม่ที
    ปู่ว่าอย่างนี้ต้องขึ้นลิฟต์จึงจะทันกัน เธอปฏิเสธอีกด้วยความกลัว
    ตกลงปูกับหลาน คลานสี่ขาขึ้นบันไดอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ปีนขึ้น ย่อมโหดกว่าตอนลง
    เธอร้องขอให้ปู่อุ้ม ปู่รู้ทัน บอกหลานว่าปู่เองก็ไม่ไหว อย่าว่าแต่อุ้มเลย ปู่ปีนขึ้นคนเดียวก็จะแย่แล้ว และเรียกให้หลานช่วยฉุด
    ตกลงปู่หลานทั้งคลาน ทั้งฉุด ทั้งดึง กันไปมา ด้วยความสนุกสนาน สะบักสะบอมทั้งคู่ จนกลับถึงขั้นห้า

    พอพ้นขั้นบันได ก็พบว่าพ่อแม่และยาย เยี่ยมชวดเสร็จแล้วกำลังกลับพอดี
    แม่และพ่อเข้าไปอยู่ในลิฟต์แล้ว โบกมือบ้ายบาย ให้น้องแตง
    ปู่บอกต้องรีบตาม จะให้ทันต้องใช้ลิฟต์ คราวนี้น้องแตง มองหน้าปู่แล้วชี้มือไปที่บันได ปู่ต่อรอง ลิฟต์เถอะ น้องแตงส่ายหน้า
    ปู่ก็ว่าตกลงเดินเองนะ คราวนี้น้องแตงอึ้ง มองหน้าปู่ที หันไปมองบันไดที สลับกันไปมา

    ยายบอกว่าลิฟต์กำลังมาแล้วรีบไปเถอะ ปู่เสนอน้องแตงไปว่าอย่าลงบันไดเลย
    มันช้าไม่ทันการเดี๋ยวตามแม่ไม่ทัน แม่หนีหายไปละก็แย่เลย
    และถ้าใช้บันได ต้องปวดเมื่อยขามาก
    เอาอย่างนี้ ปู่อุ้มหนูกอดเอาไว้แน่นๆ ปู่เก่งสามารถป้องกันและต่อสู้ได้
    ตัวหนูเองหายใจยาวๆลึกๆ แล้วคอยดูว่ามีอะไรน่ากลัวหรือไม่ ตอนที่เข้าไปอยู่ในลิฟต์ ถ้ามีปู่ต่อสู่ป้องกันได้ไม่ต้องกลัว
    หนูน้อยมองลิฟต์ มองหน้าปู่ และหันไปมองบันได ชั่งใจดูสักพัก จึงตอบตกลงให้ปู่อุ้มเข้าลิฟต์ แต่ขอหลับตา
    หลังเข้าในลิฟต์แล้วปูบอกให้ลืมตามาดูหายใจลึกๆ กอดเธอไว้แน่น
    พอลิฟต์เคลื่อนที่ เธอทำท่าตกใจ ปู่ปลอบ และให้เธอหายใจยาวๆเข้าไว้ และบอกให้ตั้งสติดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

    คราวนี้ เธอลืมตาแป๊ว สติสัมปชัญญะครบถ้วนตั้งมั่นเฝ้ารู้เหตุรอบข้าง จนลิฟต์ลงมาถึงชั้นล่างสุด และเดินออกมาพบแม่เธอที่รออยู่
    เธอถอนใจยาวๆ แล้วหัวเราะเริ่มคุยโม้ หนูไม่กลัวลิฟต์แล้วแม่ เห็นไหมหนูไม่ร้องเลย

    หลังจากนั้นเธอไม่กลัวลิฟต์อีกเลย จนปู่กลับกลัวเองว่าความกล้าของเธอ จะทำให้เธอด่วนวิ่งลงผิดชั้นจนตามหากันไม่เจอ
    ตกลงตอนหลังต้องเขียนรูปการไข้งานของลิฟต์เป็นชั้นๆให้เธอดู แล้วอธิบายให้เธอฟัง เสียเวลาไปนานโข กว่าเธอจะเข้าใจ
     
  16. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    บทสรุปแห่งธรรม<O:p</O:p

    1. ความกลัวเกิดจากความไม่รู้ (อวิชชา) และไม่ยอมรับรู้<O:p</O:p

    2. การใช้ลิฟต์ กับการใช้บันไดเป็นปฏิปักษ์ ต่อกัน
    การใช้บันไดย่อมเมื่อยขบ ทรมานนักใช้ลิฟต์สุขกว่า
    ดังเช่น ผลจากการทำตามใจกิเลส ย่อมให้ผลแสบร้อนเป็นทุกข์นัก ถ้าปฏิบัติตนในธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับกิเลส น่าจะให้ความสุขมากกว่า

    ธรรมใดหนอ..?… ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อ กิเลส ตันหาและอุปาทาน…
    ธรรมที่เป็น ปฏิปักษ์ต่อ กิเลส คือ พรหมวิหารสี่<O:p</O:p
    ธรรมที่เป็น ปฏิปักษ์ต่อ ตัณหาคือ มรรคแปด
    ธรรมที่เป็น ปฏิปักษ์ต่อ อุปาทาน คือ ทางสายกลาง
    และทั้งสามตัวถูกซ้อนทับควบคุมด้วยธรรม “ความไม่ประมาท”
    หมายถึงการใช้ หรือเจริญพรหมวิหารสี่, มรรคแปด, ทางสายกลาง ด้วยสุทธิปัญญา<O:p</O:p

    3. สติสัมปชัญญะ ที่สมบูรณ์พร้อมด้วย สมาธิ
    รวมอินทรีย์สิบสองเป็นหนึ่งเดียว (ความรู้พร้อมในอายตนะภายนอกหก/ภายในหก) ย่อมนำภูมิรู้ (วิญญาณธาตุ) มาให้
    ดุจหนูน้อยที่หายใจยาวเฝ้ารู้เหตุการณ์รอบตัว ในขณะที่ลิฟต์เคลื่อนที่

    4. หลังจากอินทรีย์สิบสองถูกรวมเป็นหนึ่งแล้วขบวนการของขันธ์ห้าจึงบังเกิดขึ้น
    รูป เวทนา เกิดขึ้นแล้ว แต่คราวนี้ สัญญาแห่งความกลัว ของหนูน้อย ถูกระงับด้วย เวทนา แห่งการเดินลงเดินขึ้นบันไดติดๆกัน
    และเกิดความมั่นใจในความปกป้องของปู่ และมีความบันเทิงใจ (ปิติ) สนุกในกิจกรรมที่ปู่สอน ในการปีนบันไดขึ้นลง
    สติสัมปชัญญะครบถ้วนแล้วโดยมีลมหายใจ(อาณาปราณสติ) เป็นสะพานเชื่อมโยง
    เฝ้ารู้อยู่ สัญญาแห่งความกลัวถูกระงับ สัญญาแห่งความใฝ่รู้เข้าแทนที่
    สังขาร ที่เกิดให้รู้ ย่อมเป็นสังขารตัวใหม่
    ภูมิรู้(วิญญาณธาตุ)ที่เกิดขึ้น ก็เป็นความรู้ใหม่ และได้ถูกเก็บบันทึกซ้อนทับเป็นสัญญาตัวใหม่ แทนสัญญาแห่งความกลัวตัวเดิม
    วิบากแห่งความกลัวของเธอถูกทำลายลงแล้ว ด้วยความรู้ใหม่ที่ได้รับ โดยไร้ข้อกังขาใดๆทั้งสิ้น
    สัญญาแห่งความกลัวของเธอ ถูกลบหายไปแล้ว และถูกซ้อนทับด้วยสัญญาตัวใหม่
    วิบากตัวใหม่ของเธอได้ถูกสร้างขึ้นพร้อมสมบูรณ์แล้ว
    วิบากแห่งความไม่กลัวการใช้ลิฟต์ได้เกิดขึ้นกับเธอสมบูรณ์แล้ว
    ความกลัวย่อมไม่บังเกิดขึ้นกับเธออีก

    5. บทสรุปที่หนูน้อยรับรู้จากขบวนการทั้งหมด ทำให้เธอไม่กลัวอีก
    สิ่งที่เธอรู้คือ “วิชชา”
    ส่วนขบวนการที่ทำให้เธอรู้ คือ ขบวนการที่เรียกว่า “นิโรจ”
    ส่วนการขึ้นลงบันได การชวนให้ใช้ลิฟต์ขบวนการพูดจาของปู่ทั้งหมดคือ “มรรค”

    6. ความจริงแล้ว สัญญาตัวเก่าที่ถูกสัญญาตัวใหม่บันทึกซ้อนทับนั้น
    บางกรณีก็ไม่ได้ถูกลบหาย แต่ถูกสัญญาใหม่ซ้อนทับไว้เฉยๆ
    ในกรณีนี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ในทำนองเดียวกันขึ้น การเรียกสัญญาเก่ามาใช้บางครั้งจะสับสนและเกิดปัญหาให้กับเจ้าตัว
    เช่นเกิดการลังเลสงสัยซึ่งเป็นหนึ่งในนิวรณ์ห้า

    7. การที่สัญญาตัวเก่าจะถูกลบหายและถูกแทนที่ด้วยสัญญาใหม่ ได้เต็มร้อย
    ต้องเกิดจากการที่จิตยอมรับสังขารธรรมตัวใหม่ที่เกิดขึ้น อย่างไม่มีข้อกังขาไดๆทั้งสิ้น
    และเราจะทำได้ ก็ด้วยการพิจารณาธรรม ด้วยหลักการของไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และฟันธงสรุปผลลงไปเลย
    (ซึ่งเราจะศึกษาวิธีการและรายละเอียดในภายหลัง)

    บันทึก ณ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2545 (วันนี้ น้องแตง อายุ 5 ขวบแล้ว)
    ข้า สุวินันท์ผู้บันทึก<O:p</O:p
     
  17. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    นิทานเรื่องที่ 2 คุณชิดชนก<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คุณชิดชนก เป็นสาวใหญ่ ลูกสองเป็นชายทั้งคู่ เธอฝึกสมาธิได้ในระดับดีทีเดียว
    วันนี้ ลูกๆโต ทำงานกันหมดแล้ว คนโตอายุ 26 ปี ทำงานเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์อยู่เชียงใหม่
    คนเล็กอายุ 25 ปี มีความ สามารถสูงได้งานเงินเดือนดี สูงมาก ทำอยู่ในเขมร
    เป็นที่หวังของพ่อและแม่ บุตรผู้นี้จักกลับมาช่วยกอบกู้ฐานะของครอบครัวที่ล้มไปในกลางปี 40 ให้กลับคืน
    แต่แล้วในปลายกุมภาพันธ์ ปี 43 เธอกลับสูญเสียบุตรคนเล็กผู้นี้ไป อันเนื่องจากอุบัติเหตุ
    ยังความเศร้าโศกเสียใจให้ตัวเธออย่างมาก และจมอยู่ในกองทุกข์อย่างมากเป็นเวลาแสนนาน<O:p</O:p

    ในช่วงเวลาที่แสนเศร้า วันหนึ่งในเวลาเย็นใกล้ค่ำ
    เธอจอดรถ แวะซื้อของริมทางเรียบร้อยแล้ว สตาร์ท รถเตรียมออก
    เงยหน้าเห็นดวงจันทร์เต็มดวง ใจพลันประหวัดคิดถึงลูกน้อยที่จากไป นั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่ได้อยู่ด้วยกัน
    เป็นคืนเพ็ญเต็มดวง โพล้เพล้ใกล้ค่ำ เธอกำลังขับรถไปส่งลูกชายที่ระยอง ชายแดนเขมร
    คุยกันอย่างสนุก พ่อ แม่ ลูก เรื่องพระจันทร์ดวงโต
    แหม พระจันทร์ช่วงนี้ดวงใหญ่จริง เห็น เขาว่าช่วงนี้พระจันทร์อยู่ใกล้โลกมาก ดวงจึงใหญ่กว่าปกติ
    ในห้วงแห่งภวังค์
    ภาพที่ปรากฏตรงหน้าเธอเวลานี้ เป็นภาพ พระจันทร์ดวงโต ลอยเด่นอยู่เบื้องหน้า มือถือพวงมาลัยกำลังขับรถอยู่
    เสียงลูกชายดังแว่วอยู่ข้างหู คุณแม่ คร๊าบ ขับเร็วอีกหน่อย เดี๋ยวไม่ทัน ด่านจะปิดเสียก่อน
    อย่างไรเสีย ขอให้ถึงก่อน ทุ่มครึ่ง พอจะพูดขอเจ้าหน้าที่ขอผ่านด่านได้ ถ้าดึกกว่านี้ ต้องนอนรอด่านเปิดตอนเช้า

    คุณแม่ที่แสนดี รีบกดคันเร่ง เร่งเครื่องเต็มที่เพื่อทำเวลาให้เร็วขึ้น
    แต่อนิจจา ภาพที่เธอเห็น กับ สภาพจริงตรงหน้าเป็นคนละเรื่องกัน
    การเร่งเครื่องของเธอ เป็นการพุ่งชนรถกระบะคันหน้าอย่างแรง
    แต่ในโสตประสาทของเธอยังคงได้ยินเสียงลูกชายเร่งให้ขับเร็วๆ เธอจึงเร่งเครื่อง ดันรถคันหน้าต่อไปอีก
    กว่าสติสัมปชัญญะจะรวมตัวพร้อมอีกครั้ง ความเสียหายก็ยับเยินเกินกว่าที่ควรเป็น
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    บทสรุปแห่งธรรม<O:p</O:p

    1. ตามเรื่องจะเห็นได้ว่าตัวคุณ<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>ชิดชนกเอง ตกอยู่ในห้วงภวังค์ เหมือนอยู่ในสมาธิลึก (แต่ขาดสัมปชัญญะ กำหนดรู้ปัจจุบัน )
    ได้ดึงสัญญาในอดีตมาใช้(ในปัจจุบัน) แล้วประกอบสังขารขันธ์ด้วย รูป, เวทนาตัวใหม่
    ตามภาพที่ปรากฏในอายตนะ(นอกหก/ในหก) ในขณะนั้น
    ซึ่งภาพที่ปรากฏในอายตนะเวลานี้เป็นภาพในอดีต
    จิตขาดสัมปชัญญะระลึกรู้การณ์ปัจจุบัน เหตุการณ์ความเสียหายจึงเกิดขึ้น
    <O:p</O:p

    2. ผู้ที่สามารถรวม อินทรีสิบสอง (อายาตนะภายนอกหก/ภายในหก) ให้เป็นหนึ่งได้ อยู่ในสมาธิ สติและสัมปชัญญะ(ปัจจุบันการณ์) สมบูรณ์พร้อม
    จิตน้อม ระลึกถึง (ตั้งความปรารถนา) ย่อมดึงหรือเปลี่ยน สัญญาที่นำมาประกอบข้อมูลในขบวนการของขันธ์ห้าได้
    เมื่อสัญญาถูกเปลี่ยน สังขารธรรมที่จะบังเกิดตามมาย่อมถูกเปลี่ยน วิญญาณธาตุตัวที่เกิดย่อมเปลี่ยนตาม
    เมื่อวิญญาณธาตุตัวใหม่ได้บันทึกลงในจิตวิญญาณแล้ว สัญญาตัวเดิมในเรื่องนี้ย่อมถูกบันทึกซ้อนทับและใช้เป็นสัญญาตัวใหม่แทน
    ส่วนสัญญาตัวเก่าจะถูกลบหายไปหรือยังคงอยู่ ขึ้นอยู่กับ การยอมรับของจิต ในสังขารธรรมตัวใหม่ที่เกิดขึ้นแล้ว
    ถ้ายอมรับอย่างไม่มีข้อแม้(ซึ่งเกิดจากการพิจารณาธรรม)
    สัญญาตัวเก่าจะถูกลบหายไปชนิดกู้กลับคืนไม่ได้
    แต่ ถ้าการยอมรับในสังขารธรรมตัวใหม่ ไม่เต็มร้อย การบันทึกข้อมูลใหม่นี้ ลงในวิญญาณธาตุ จะเป็นการบันทึกซ้อนทับกัน แบบเผื่อเลือก
    เก่าก็อยู่ ใหม่ก็มี ภายหลังเมื่อเกิดเหตุ ต้องใช้สัญญาในลักษณะนี้ ก็จะเกิดการลังเล ในความผิดถูก ซึ่งนี่คือที่มาของนิวรณ์ห้า
    <O:p</O:p
    ในทางกลับกัน ผู้ฝึกตนที่ดี ย่อมสามารถกำหนด สังขารธรรมที่ต้องการเป็นเป้าหมายไว้
    แล้วกำหนดรู้ ดึงสัญญาที่เหมาะ เข้าผสมกลมกลืนกับรูปและเวทนา ที่ได้รับมา
    ด้วยวิธีนี้เราก็จะสามารถสร้างสังขารธรรมตัวใหม่ตามที่ต้องการได้ และได้วิญญาณธาตุตัวใหม่เช่นกัน<O:p</O:p

    ด้วยวิธีนี้เราย่อมกำหนดวิบากของตัวเองได้ ตามที่ต้องการ <O:p</O:p

    3. เรื่องยาก อยู่ที่วิธีการเปลี่ยน หรือดึง สัญญา ที่จะนำมาประกอบธาตุธรรมให้ทันเวลานั่นเอง
    ซึ่งเป็นเพราะ การประกอบธาตุธรรมในขบวนการของอินทรีสิบสอง และขันธ์ห้า นั้นเร็วมาก
    <O:p</O:p

    4. การฝึกสมาธิ ที่สมบูรณ์พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะเสมอกัน
    และใช้อำนาจสมาธิ เร่งความเร็วจิต เฝ้าดูการทำงานของใจ ในการประกอบธาตุธรรม(สังขารธรรม ทั้ง รูป และนาม)
    และให้ความใส่ใจกับสัญญาให้มาก จะเป็นประตูสู่ความสำเร็จ
    <O:p</O:p

    5. การกำหนดรู้ เฝ้าดูเวทนา และการเสวยเวทนา ของใจ
    และเมื่อเห็นการเกิดดับของเวทนาแล้ว อย่าได้มัวแต่ เห็นหนอ ๆ อยู่ จะเสียโอกาสทอง
    ให้กำหนดรู้ สรุปผลความควรไม่ควร แห่งการเสวยเวทนา(อารมณ์)นั้นๆ ด้วยหลักการแห่ง ไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา)
    หรือแปลเป็นไทยง่ายๆว่า เรื่องเกิดขึ้นแล้ว, เหตุการณ์ดำเนินไป, ท้ายสุด เรื่องก็จบลง.
    การจบลงของเรื่องราวต่างๆ มันย่อมจบลงด้วยตัวมันเองตามเหตุและปัจจัยแห่งกิเลส,ตัณหา, อุปาทาน
    และทิ้งผลแห่งวิบากเอาไว้ให้แก่ผู้เสวยเวทนานั้นๆให้ตกอยู่ในความทุกข์ระทม

    แต่ในสายตาของผู้ฝึกสมาธิที่ดีแล้ว การจบลงของเรื่องราวต่างๆ เราสามารถเข้าไปควบคุมได้
    ด้วยเหตุแห่งการประกอบ สัญญาที่เหมาะ ให้เข้ากับ รูปและเวทนา ในการประกอบธาตุธรรม ในขบวนการของขันธ์ห้า
    ให้เหตุการณ์นั้นๆ จบเรื่องตามที่กำหนดหมายเอาไว้ได้ ซึ่งนั่นคือ การกำหนดแก้วิบากกรรมของตัวเองที่หมดจดที่สุด

    บันทึก ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 (เรื่องนี้เกิดเมื่อ ต้นเมษายน 2543)
    <O:p</O:pข้า สุวินันท์ ผู้บันทึก<O:p</O:p
     
  18. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ตามมาฟังนิทาน ค่ะ

    ๑ ปีผ่านมา มีคุณอาฯ ท่านหนึ่ง ชอบเล่านิทานให้เราฟัง
    วันนี้ ดีจัง ! เจอนิทาน ... ด้วยความระลึกถึง "คุณอาฯ" ท่านนัั้น

    ... ตามมาฟังนิทาน ค่ะ


    [​IMG]
     
  19. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543


    อย่านั่งฟังอย่างเดียวนะ
    เอาไปพิจารรา มองให้เห็นทาง(มรรคา)
    และกำหนดวิธีขึ้นไปเดิน
    และขึ้นไปเดินทันที่ที่เข้าใจ
     
  20. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ลึกซึ้งจริงๆ
    อธิบายว่าทำไมเวลาเราเคยฝึกจิต อบรมเมตตาจนดับโกรธไปแล้วเราไม่ค่อยจะโกรธอีก-->จนโกรธเบา มีสติรู้ว่าโกรธก็ระงับเสีย
    -->มีสติรู้ผัสสะกระทบรู้ ไม่ปรุงเป็นโกรธ จนไม่มีโกรธอีก

    เหมือนเดิมก็ไม่รู้ว่าปลาคราฟแบบนี้จะแพง จนศึกษารู้ว่าปลาคราฟแบบนี้แพง
    จนรู้ความจริงว่ามันก็ปลาอย่างนึงถูกกำหนดว่าสวยตรงตามลักษณะสมมติแล้วแพง

    คุณsuwiช่วยอธิบายกลไกการสะกดจิตด้วยครับ การโปรแกรมจิตกับการเข้าอุปจาระ
    ฌาน4กับเข้าภวังค์แบบสะกดจิตต่างกันหรือไม่ กรุณาชี้แนะด้วยครับท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...