พุทธศาสนา ทรรศนะและวิจารณ์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 18 ธันวาคม 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174


    พุทธศาสนา ทรรศนะและวิจารณ์

    ศาตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก / ราชบัณฑิต



    คําว่าเซ็น หมายถึง พุทธศาสนานิกายหนึ่งซึ่งเป็นสาขาของมหายาน มีเอกลักษณ์พิเศษคือไม่เน้นตำรา แต่เน้นการถ่ายทอดสัจธรรมจากจิตถึงจิต เราได้รับการบอกเล่าถึงวิธีการถ่ายทอดของอาจารย์เซ็นโดยการถามปัญหา (โกอาน) แปลกๆ การตอบคำถามแบบ "ไปไหนมาสามวาสองศอก" และนิทานชวนขันชวนคิดท้าทายปัญญา

    คุณลักษณะเฉพาะตัวเหล่านี้ของเซ็น ทำให้ได้รับความสนใจกันอย่างกว้างขวางในหมู่ชาวพุทธไทย เราลองมาย้อนหลังดูใหม่ว่าเซ็นมีความเป็นมาอย่างไร

    พุทธศาสนานิกายเซ็น เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อไร ยากจะบอกได้ แต่เซ็นเริ่มเป็นรูปเป็นร่างจริงๆ เมื่อพุทธศตวรรษที่ 11 (พ.ศ. 1063) มีพระอินเดียรูปหนึ่งชื่อโพธิธรรม เดินทางไปประเทศจีนในสมัยพระเจ้าเหลียงบู๊ตี่ ท่านได้วางรากฐานพุทธศาสนานิกายเซ็นไว้ ณ ผืนแผ่นดินใหญ่จีนมั่นคงแล้วได้มอบหมายให้สาวกชื่อ เว่ยโห (ฮุ่ยค้อ) สืบแทนก่อนดับขันธ์

    วิธีมอบตำแหน่งสืบแทน อาจารย์จะมอบบาตร จีวร และสังฆาฏิให้ลูกศิษย์ที่อาจารย์เห็นว่าได้เข้าถึงสัจธรรมและสามารถสืบต่อศาสนาได้ดี บาตรและจีวรนี้ เชื่อกันว่าเป็นบาตรและจีวรของพระพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงประทานให้แก่พระมหากัสสปะหรือที่ฝ่ายมหายานเรียกว่า กาศยปะ

    พุทธศาสนานิกายเซ็น จึงสามารถโยงกลับไปถึงพระพุทธเจ้าจนได้เพื่อให้มีหลักฐานแน่นหนาน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น เขาจึงแต่งสูตรขึ้นสูตรหนึ่ง มีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า "ต้าฝั่นเทียนอุ้นฝูเจียอี้จิง" แปลว่า "สูตรว่าด้วยปัญหาของท้าวมหาพรหม" หรือจะถอดเป็นภาษาบาลีคงได้ว่า "มหาพฺรหฺมปญฺหสุตฺต" มีใจความว่า

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ ท่านท้าวมหาพรหมได้มาถวายดอกบัวแล้วทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม พระองค์จึงชูดอกบัวขึ้นท่ามกลางภิกษุสงฆ์ที่นั่งแวดล้อมอยู่ โดยมิได้ตรัสอะไร พระสงฆ์สาวกต่างมองหน้ากันลอกแลกไม่รู้พุทธประสงค์ มีแต่ท่านมหากัสสปะรูปเดียวยิ้มน้อยๆ พระองค์จึงตรัสว่า ตถาคตมีธรรมจักษุอันถูกตรง มีพระนิพพานและจิตที่เยี่ยม ภาวะที่แท้จริงไม่มีลักษณะมอบให้แก่มหากัสสปะแล้ว

    ตามพระสูตรนี้แสดงว่า พระพุทธเจ้าทรงมอบเซ็นให้แก่พระมหากัสสปะเป็นผู้นำไปเผยแผ่ต่อจากพระองค์

    พระสูตรนี้แต่งขึ้นใหม่แน่นอน นักปราชญ์ทางมหายานท่านหนึ่ง (ดร.จอห์น โบลเฟลด์) ยืนยันว่าสูตรนี้เขียนใหม่ เพื่อหาหลักฐานสนับสนุนถึงความเก่าแก่ของนิกายเซ็น

    ความจริงจะเขียนใหม่เขียนเก่า ไม่ใช่เรื่องสำคัญนัก สำคัญตรงที่ว่าที่เขาอ้างเอาพระมหากัสสปะเป็นผู้รับมอบเซ็นจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ประทานบาตรและจีวรให้พระมหากัสสปะจนกลายมาเป็น "ลักษณะเฉพาะ" ของเซ็น เป็นการกล่าวอ้างที่น่าฟัง และมี "เค้า" พอให้เชื่อมต่อกันเป็นเรื่องเป็นราวทีเดียว

    ในคัมภีร์ฝ่ายเถรวาท มีข้อความตอนหนึ่งว่า เมื่อพระมหากัสสปะได้ทราบข่าวพุทธปรินิพพานพร้อมกับพระสงฆ์รูปอื่นๆ พระสงฆ์ที่ยังไม่บรรลุคุณธรรมขั้นสูงยังเป็นปุถุชนอยู่พากันร่ำไห้อาลัยอาวรณ์ในพระศาสดา มีพระแก่รูปหนึ่งชื่อสุภัททะพูดกับพระสงฆ์เหล่านั้นว่า พวกท่านอย่าเสียใจเลยพระศาสดาปรินิพพานน่ะดีแล้ว สมัยยังมีชีวิตอยู่ชอบจู้จี้จุกจิกนัก อันนี้ก็ทำไม่ได้ อันนั้นก็ทำไม่ได้ บัดนี้เราเป็นอิสระแล้ว จะทำหรือไม่ทำอะไรก็ได้ตามใจ พระมหากัสสปะได้ยินดังนั้น รำพึงด้วยความสลดใจว่า ศาสดาล่วงลับไปยังไม่ทันไร สาวกก็พูดถึงอย่างนี้แล้ว ต่อไปภายหน้าพระศาสนาจะอยู่ได้อย่างไร คิดได้ดังนี้จึงดำริจะทำสังคายนา (ชำระสะสางพระศาสนา)

    ข้อรำพึงรำพันของพระมหากัสสปะตอนหนึ่งว่า "สมัยยังทรงพระชนม์อยู่ พระพุทธเจ้าทรงมีเมตตาต่อเราเป็นพิเศษ ทรงมอบบาตรและจีวรของพระองค์ให้แก่เรา เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วควรเป็นหน้าที่ของเราในการชำระสะสางศาสนาให้ยืนนานต่อไป"

    "เค้า" เล็กๆ น้อยนี่แหละครับ ที่ฝ่ายเซ็นจับเอามาปะติดปะต่อแต่งเป็นพระสูตรโยงให้เห็นว่า พระมหากัสสปะเป็นผู้รับมอบเซ็นพร้อมกับบาตรและจีวรจากพระพุทธเจ้า การมอบบาตรและจีวรจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการแต่งตั้งศาสนทายาทสืบตำแหน่งแทนในกาลต่อมา

    หลังจากพระมหากัสสปะแล้ว มีพระเถระที่ได้รับมอบบาตรและจีวรสืบต่อกันมา (ภาษาฝรั่งใช้ว่า patriarch ภาษาไทยแปลกันว่า สังฆปริณายก) ถึงพระโพธิธรรม รวม 28 องค์ มีใครบ้าง เห็นจะไม่ต้องจาระไนละครับ ขี้เกียจไปค้นมา เอาเป็นว่า พระโพธิธรรมเป็นองค์ที่ 28 นับตามลำดับวงศ์ในประเทศอินเดีย พอไปถึงจีน ชาวพุทธจีนเขานับท่านโพธิธรรมเป็นสังฆปริณายกองค์ที่ 1 หรือเป็นบิดาแห่งนิกายเซ็นว่างั้นเถอะเมื่อเข้าไปอยู่เมืองจีนใหม่ๆ ท่านได้เดินทางไปยังวัดแห่งหนึ่ง เห็นพระองค์หนึ่งชื่อซิ่งกวง กำลังแสดงธรรมอยู่ จึงย่องๆ เข้าไปนั่งฟังแถวหลังสุด ตรงไหนเขาอธิบายถูกท่านก็ยิ้มผงกศีรษะ ตรงไหนอธิบายผิดท่านก็ส่ายหน้า พระองค์ที่เทศน์อยู่เห็นพระแขกเขี้ยวยาวแสดงกิริยาอาการเช่นนั้นก็นึกฉุน "รอให้ฉันเทศน์จบก่อน จะถอดเขี้ยวพระแขกองค์นี้ให้ดู"

    พอฟังเทศน์จบ ท่านสั่งให้เณรยกน้ำชาไปต้อนรับ ท่านโพธิธรรมฉันน้ำชาเสร็จแล้ว ก็ถอดเขี้ยวใส่ถ้วยชา บอกให้เณรนำไปให้พระซิ่งกวง แล้วรีบจากไป

    พระซิ่งกวงเห็นเขี้ยว 2 ซี่ วางอยู่ในถ้วยชา ก็รู้ทันทีว่าพระแขกองค์นั้นไม่ใช่พระธรรมดาเพียงกระแสจิตที่ตนคิดเท่านั้นท่านยังล่วงรู้ จึงวิ่งตามไปทันที่แม่น้ำแห่งหนึ่ง ก้มลงกราบขอขมาโทษ

    พระแขกเขี้ยว (หลุด) ไม่สนใจ ถอนหญ้ามาเส้นหนึ่ง โยนลงไปยังกระแสน้ำเชี่ยว แล้วกระโดดไปยืนบนเส้นหญ้ากลางกระแสน้ำอย่างน่าอัศจรรย์ พลางกวักมือให้พระซิ่งกวงกระโดดตามไป

    พระซิ่งกวงว่ายน้ำไม่เป็น จึงไม่กล้าตามไป ยืนรีรออยู่ ยายแก่คนหนึ่งโยนมัดปอมัดหนึ่งลงไปแล้วร้องบอกว่า ลงไปซี ท่านกลัวตายรึ ทำไมเขาคนนั้นไม่กลัวล่ะ พระซิ่งกวงจึงกระโดดตามไป

    ท่านทั้งสองเดินทางต่อไปยังวัดเสี้ยวลิ้มยี่ ณ ภูเขาซงซัว ณ ที่นี้ท่านโพธิธรรมนั่งเข้าฌานหันหน้าเข้าฝาเป็นเวลาถึง 9 ปี โดยมีพระซิ่งกวงสานุศิษย์คอยปรนนิบัติไม่ห่าง

    วันหนึ่งท่านโพธิธรรมออกจากฌานสมาบัติ ยังเห็นพระซิ่งกวงนั่งเฝ้าอยู่ท่ามกลางหิมะตกลงมาสูงถึงเข่า จึงถามว่าเจ้าติดตามข้าตลอดเวลาเพื่ออะไร

    "ผมอยากเรียนธรรมจากท่าน" ซิ่งกวงตอบ

    "เจ้ามีความจริงใจแค่ไหน"

    ซิ่งกวงตัดแขนซ้ายออกยื่นให้ท่านโพธิธรรม เพื่อแสดงว่าแม้ชีวิตนี้ยินยอมสละเพื่อสัจธรรม เมื่อเห็นศิษย์มีปณิธานมั่นคงเช่นนั้นจึงยินยอมถ่ายทอดเซ็นให้

    ครั้งหนึ่งพระซิ่งกวงเข้าไปขอคำแนะนำจากท่านโพธิธรรม เรียนท่านว่า "จิตของผมไม่สงบ อาจารย์ช่วยทำให้มันสงบที"

    ท่านโพธิธรรมบอกว่า "จงเอาจิตของเธอออกมาซิ ฉันจะทำให้มันสงบ"

    พระซิ่งกวงนิ่งไปพักหนึ่ง เรียนท่านว่า "ผมหาจิตไม่พบครับ"

    "นั่นแหละ ฉันทำให้มันสงบแล้ว" ท่านโพธิธรรมตอบยิ้มๆ

    เท่านั้นแหละครับ พระซิ่งกวงก็เกิด "สว่างโพลง" ขึ้นฉับพลันทันที อาการ "สว่างโพลง" นี้หมายถึงการรู้ตามสภาพเป็นจริงของสรรพสิ่ง ถ้าเทียบขั้นของความรู้ระดับนี้ก็ได้แก่เกิดธรรมจักษุ หรือดวงตาเห็นธรรม เป็นการรู้แจ้งของพระอริยบุคคลขั้นโสดาบัน (ยังไม่ถึงอรหันต์)

    ท่านโพธิธรรมได้เปลี่ยนชื่อศิษย์จากซิ่งกวง เป็นเว่ยโห (แต้จิ๋วเรียกฮุ่ยค้อ) บอกให้ขะมักเขม้นปฏิบัติธรรมต่อไป

    เมื่อใกล้จะมรณภาพ ท่านโพธิธรรมได้เรียกประชุมสานุศิษย์ ต้องการทดสอบว่าใครได้บรรลุโลกุตรธรรมบ้าง จึงตั้งปัญหาถามว่า "สัจธรรมเป็นอย่างไร"

    ศิษย์อาวุโสองค์หนึ่งตอบว่า "ไม่ยึดติดตำรา และก็ไม่ทิ้งตำรา อยู่เหนือการปฏิเสธและยอมรับนั่นแหละคือสัจธรรม"

    ท่านโพธิธรรมตอบว่า "ถูก เธอได้หนังฉันไป"

    ศิษย์องค์ที่ 2 เป็นภิกษุณีตอบว่า "สัจธรรมคือที่เห็นแล้วครั้งเดียวก็ไม่จำเป็นต้องเห็นอีก"

    "ถูก เธอได้เนื้อฉันไป" อาจารย์กล่าว

    ศิษย์องค์ที่ 3 ตอบว่า "ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่มีอะไรที่ต้องบรรลุถึง"

    "ถูก เธอได้กระดูกฉันไป"

    เว่ยโห หรือฮุ่ยค้อ ศิษย์ก้นกุฏิ ลุกขึ้นยืนหุบปากนิ่งไม่พูดอะไร

    ท่านโพธิธรรมยิ้มอย่างมีความสุข กล่าวว่า "ถูกต้อง เธอได้ไขกระดูกของฉันไป"


    ˹ѧ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กุมภาพันธ์ 2010
  2. tutpon

    tutpon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +120
    เคยอ่านเกี่ยวกับการตรัสรู้ของพระปัจเจกพุทธเจ้า 500พระองค์ จะมีลักษณะคล้ายกันคือ จิตสว่างขึ้นทันทีทันใดบรรลุธรรมขั้นสูงสุด เพียงแต่ไม่ต้องมีใครชี้นำ เหมือนพระสงฆ์สาวกที่อาจจะมีระดับธรรมที่บรรลุแตกต่างกัน
     
  3. joeycoles

    joeycoles เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    572
    ค่าพลัง:
    +457
    ชอบคุณครับ
     
  4. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    "ไม่ยึดติดตำรา และก็ไม่ทิ้งตำรา อยู่เหนือการปฏิเสธและยอมรับนั่นแหละคือสัจธรรม"
    นี่แหละคือ เซ็น
    แต่เซ็นบางคนเดินผิดสาย คือปฏิเสธตำราไปเลย
    จริงๆแล้ว ต้องอยู่เหนือการปฏิเสธและยอมรับ
    ที่เข้าใจผิดกัน เนื่องจากติดสำนวนบางสำนวนของตั๊กม้อ
    เลยเข้าใจผิดว่าให้ปฏิเสธอย่างเดียว

    เซ็นยึดหลัก สูญญตา แล้วถ้ายังมีจิตใจปฏิเสธหรือยอมรับ
    นั้นไม่ใช่เซ็น!!!
     
  5. titapoonyo

    titapoonyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    1,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +12,769
    แล้วสรุปว่า อนุตรธรรม(หมายถึง การบรรลุธรรมแบบชี้ตรงฉับพลัน ซึ่งผู้เขียนข้างบนบอกว่า เป็นการบรรลุอรหันต์ทางลัด) เนี่ย...มีจริงๆ เหรอครับ ???
     
  6. Pure_Heart

    Pure_Heart เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2005
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +171
    แล้วบทความนี้อธิบายคำว่า "ถ้าพบพระพุทธเจ้าจงฆ่าเสีย" อย่างไรครับ
    ตั้งชื่อสะน่ากลัว ตกนรกหมกไหม้จริงๆ
     
  7. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    "ถ้าพบพระพุทธเจ้าจงฆ่าเสีย"

    ความหมายในความแยบยลของคำ คือให้ฆ่าความมีตัวตนทุกขณะจิต ฆ่าอัตตาที่เกิดไม่เป็นบาป เป็นกุศลๆ





    แม้แต่ความเป็นการบรรลุอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจ้า, พระอรหันต์,โพธิสัตว์ ก็ยึดติดไม่ได้ ผลที่ได้คือ ความไม่มีทุกข์ ต่างหาก ที่น่าสรรเสริญ













    คนเราที่มาคาภพคาชาติ ก็ผู้รู้นี่แหละ

    หมดผู้รู้ ก็หมดเรื่องเท่านั้นเอง
    <SCRIPT type=text/javascript> <!-- vBulletin.register_control("vB_ProfilefieldEditor", "5"); //--> </SCRIPT>
     
  8. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    อ่านท่อนนี้แล้วต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณาบทความนี้ให้ดีๆครับ

    ประโยคเพียงประโยคเดียว ตีความได้หลากหลาย ขึ้นกับวิจารณญาณของแต่ละคน

    การดับที่เหตุ โดยการเปลี่ยนชื่อกระทู้ จะช่วยปิดอบายให้กับผู้มาใหม่ที่ยังไม่สามารถพิจารณาชื่อกระทู้อย่างลึกซึ่งได้
    นั่นเพราะมีคำ ๆ อื่นที่สามารถใช้เป็นชื่อกระทู้และสามารถสื่อความหมายในบทความแทนได้

    โมทนาครับ
     
  9. B5234T5

    B5234T5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2005
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +210


    หากยังพบตัวตนในตัวเราเช่นไร เราก็ยังพบพระพุทธเจ้า(ในทรรศนะของเรา)ที่เข้ากันกับตัวตนเราได้

    หากเราเข้าถึงความว่างจากอัตตาเมื่อไร ก็จะพบความว่างเดียวกันของพระพุทธเจ้าเช่นกัน และพระพุทธเจ้าที่เจอจากความว่างจากอัตตาเนี่ยแหละคือพระพุทธเจ้าที่ถูกต้อง
     

แชร์หน้านี้

Loading...