พญานาคราช 4 ตระกูล นครคำชะโนด

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Ajarn Pithak, 23 พฤศจิกายน 2009.

  1. ภัทรอังคาร

    ภัทรอังคาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    4,904
    ค่าพลัง:
    +14,098
    แหม พูดดีมากชอบๆๆ ใครว่าบ้าก็ยอมรับไปหมดเรื่อง แล้วก็ควรจะถามกลับด้วยว่าพึ่งรู้ว่าดิฉันบ้าหร๋อ แต่ดิฉันนะรู้ตัวเองว่าบ้ามานานแล้ว คิกๆๆ คนที่เข้ามาอ่านด้วยความอยากรู้อยากเห็น ด้วยความสงสัย มีเยอะจ๊ะ แต่ที่เขาจะเข้าใจถึงความผูกพันธ์ที่เหล่ามีต่อเผ่าพันธ์เขาจะเข้าใจหรือป่าวไม่แน่เขาก็จะคิดว่าพวกเราไร้สาระเพ้อเจ้อ ของแบบนี้มันเป็นปัจจัตตังรู้ได้เฉพาะตนแต่จะทำให้ผู้อื่นรู้ตามเรานั้นยากแสนยาก ดังนั้นยอมบ้าเจ้าค่ะ
     
  2. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    "ความทุกข์ทั้งหลายที่เป็นความทุกข์ทางใจนี้ เป็นเพราะว่าเรามองดูปรากฏการณ์ในชีวิตด้วยความไม่ชัดเจน"

    "ยังไม่สนใจธรรมะ เพราะชีวิตยังไม่มีทุกข์"

    คนจำนวนมากคิดเช่นนี้ เพราะคำว่า "ทุกข์" นั้นฟังดูเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสในชีวิต ทั้งที่ความจริงแล้ว ความหมายของคำนี้ในธรรมะของพุทธศาสนามีความละเอียดอ่อนยิ่งนัก หากศึกษาจริงๆ แล้วจะรู้สึกทึ่งและอัศจรรย์ใจในอัจฉริยภาพของตัวผู้ค้นพบยิ่งนัก

    จะรู้สึกอย่างไรหากบอกว่าในทุกๆ จังหวะและท่วงทำนองของการดำเนินชีวิตมีทุกข์แฝงอยู่ทุกขณะ

    ไม่รู้จัก-อย่ารีบบอกว่าไม่มี

    อย่าเพิ่งเถียงถ้ายังไม่ได้คำอธิบายในเรื่องนี้ของ ดร.ระวี ภาวิไล ที่ส่องกล้องมองดูคำว่าทุกข์ได้ละเอียดไม่แพ้การส่องกล้องดูดาวบนท้องฟ้าเลย

    "คำว่าปัญหากับความทุกข์ในทางพระพุทธศาสนาใช้แทนกันได้ คำว่าปัญหาเป็นคำสมัยใหม่ เราจะพิจารณาได้ว่าสิ่งที่เราเรียกว่าปัญหานี้คือ ความทุกข์นั่นเอง แต่เวลาพูดความทุกข์จะดูเหมือนหนัก พูดคำว่าปัญหาเป็นเรื่องทันสมัย แล้วเราจะพบว่าสิ่งที่เราต้องแก้ก็คือ ความไม่สะดวกสบายที่ทนได้ยากนั่นเอง

    "ตามที่บอกว่าชีวิตเป็นความทุกข์เป็นปัญหานั้น ไม่ใช่ว่าการกล่าวเช่นนั้นเป็นการมองโลกในแง่ร้าย แต่เป็นการกล่าวถึงสภาวะที่เป็นจริงในชีวิตของเรา"

    ไม่เชื่อลองฟังต่อไปได้

    "นับตั้งแต่เรารู้สึกตัวลืมตาขึ้นวันหนึ่งๆ จะพบปัญหาที่ต้องแก้ถัดกันไป แก้ปัญหานั้นปัญหาใหม่ก็เข้ามาเรื่อย ถ้าจะสังเกตตั้งแต่เช้า ปัญหาทำอย่างไรเราจะมาถึงที่ทำงานได้โดยเรียบร้อย แม้เมื่อถึงที่ทำงานเราจะพบปัญหารออยู่บนโต๊ะ จะต้องแก้อันนั้นอันนี้เรื่อยไป ชีวิตก็จะเป็นอย่างนี้

    "ปัญหาหรือความทุกข์ทางกายนี้เป็นส่วนหนึ่ง แต่ส่งที่น่าจะสังเกตได้ก็คือว่า ส่วนใจมันพลอยไปกับกายมากน้อยแค่ไหน ทั้งที่ส่วนใจก็มีความทุกข์ทางใจอยู่แล้ว คือความเศร้าโศก ความคับแค้นใจ ซึ่งส่วนของจิตใจนี้อาจจะเกิดขึ้นเพราะความทุกข์ทางกายทำให้เกิด หรืออาจเกิดแม้ความทุกข์ทางกายไม่มีก็ได้

    "นับเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนในสาเหตุ และสาเหตุเหล่านี้ทางพฤติกรรมสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเกิดขึ้นมาอย่างไร แล้วก็รู้หนทางที่จะบรรเทามันลงไป"

    ในบรรดาความทุกข์ที่แบ่งออกเป็นทางกายและทางใจนั้น อ.ระวีบอกว่า

    "ความทุกข์ทางใจเกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น แล้วเราจะพบว่ามนุษย์ได้สร้างกลไกขึ้นทั้งในตัวเองและสังคม ทำให้เกิดความกดดันและความทุกข์ทางใจขึ้น โดยคนส่วนใหญ่อาจจะมองข้ามไป หรืออาจจะมองไม่เห็น มันก็กลายเป็นปัญหาหรือเป็นทุกข์ ความทุกข์ทางใจเหล่านี้เป็นสิ่งที่การอบรมและการฝึกฝนใจสามารถทำให้มันระงับไปได้"

    ความทุกข์ทางใจเกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น-เป็นประเด็นที่ควรให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นวันหนึ่งๆ คนเราทุกข์ทางใจไปโดยสิ้นเปลืองไม่ใช่น้อย

    บอกแค่นี้คงไม่ทำให้คิ้วที่ขมวดอยู่คลายออกไปได้ ต้องรับรู้การแจกแจงปฏิบัติการของสิ่งที่เรียกว่าทุกข์เสียก่อน

    ทุกข์กาย-ทุกข์ใจแน่

    กายไม่ทุกข์-ใจทุกข์ไปล่วงหน้า

    "ตัวอย่างความพัวพันระหว่างทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจที่อาจจะได้พบกันในชีวิตประจำวัน สมมุติว่าเราเป็นเด็กไม่สบายแล้วไปหาหมอ หมอบอกว่าเราเป็นไข้หวัด ต้องฉีดยา ถ้าเด็กคนนั้นเคยฉีดยามาหนหนึ่งแล้ว พอบอกต้องฉีดยาอีกมันเกิดทุกข์ขึ้นมาทันที ความทุกข์ที่ได้รับฟังว่าต้องเอาเข็มมาแทงลงไปในเนื้อ ในขณะนั้นทุกข์ทางกายยังไม่ได้เกิด แต่ทุกข์ทางใจเกิดขึ้นแล้ว อาจจะเริ่มมีอาการเป็นทุกข์ เริ่มน้ำตาคลอ พอหมอเอาเข็มฉีดยาดูดยาออกมาจากหลอดก็เริ่มจะมีความทุกข์ทางกายบ้าง แต่ไม่เจ็บ น้ำตาไหลได้

    "เราเป็นผู้ใหญ่รู้สึกแต่คงไม่ถึงกับน้ำตาไหล เห็นหมอทำอย่างนั้นเราก็เริ่มรู้สึก หมอเอาเข็มฉีดยามาบีบยาให้ยามันไล่ แล้วก็เอามาจรดลง แล้วลองนึกทบทวนดูว่าเรารู้สึกอย่างไร จะรู้สึกไม่สบายใจ หมอเริ่มกดเข็ม บางครั้งเราก็มอง บางครั้งเราก็ไม่อยากมอง ลองมองดูและลองพิจารณาดูตอนที่เข็มมันจรด ความทุกข์ทางกายยังไม่เกิดขึ้น แต่เรามีความไม่สบายใจ พอหมอกดเข็มเข้าไปในเนื้อเรา นึกว่าเราเจ็บ แต่ที่จริงถ้าเราเพ่งใจลงไปในขณะเข็มกดลงไปในเนื้อ จะพบว่ามันยังไม่เจ็บ ความทุกข์ทางกายยังไม่มี แต่เมื่อเข็มมันลงไปลึกพอประมาณแล้ว และเมื่อหมอเริ่มกดยาเข้าไป ความเจ็บมันจะมี

    "ถ้ามีสติอยู่กับปัจจุบัน เจ็บที่แล้วไปอย่าไปนึกถึงมันอีก เจ็บที่กำลังเจ็บดูมัน เจ็บที่ยังไม่มา อย่าเพิ่งไปเจ็บก่อน เราจะพบว่าความเจ็บได้เป็นทุกข์ก้อนใหญ่ที่เราจะต้องแบกไว้ แต่ความเจ็บนั้นมันเป็นชั่วขณะๆ พอหมอถอนเข็มออกแล้วขยี้ตอนนั้นเราจะเจ็บมากชั่วขณะ แล้วก็จะชา แต่ถ้าเราไม่ทำอย่างนั้นจะรู้สึกว่าความเจ็บจริงๆ กับความที่ใจเราเป็นทุกข์มันปนเปกันไปหมด ไม่รู้ส่วนไหนเป็นทุกข์ทางกาย ส่วนไหนเป็นทุกข์ทางใจ

    "ถ้าเป็นเด็ก เด็กจะร้องก่อนเข็มจะถูก เมื่อถูกเข็มแทงก็ร้องลั่น พอหมอถอนเข็มออกก็ยังร้องอยู่ เพราะโกรธหมอ นี่คือตัวอย่างที่ยกขึ้นมาเพื่อให้เห็นกลไกของสิ่งที่เรียกว่าความทุกข์"

    "ความทุกข์ทั้งหลายที่เป็นความทุกข์ทางใจนี้ เป็นเพราะว่าเรามองดูปรากฏการณ์ในชีวิตด้วยความไม่ชัดเจน ทำอย่างไรจะเห็นสภาวะชัดเจน ทำอย่างไรจะรู้ทัน"

     
  3. king_6914

    king_6914 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    614
    ค่าพลัง:
    +18,384
    อ๊ะ""!!!! ขอร่วมชมรมบ้า อีกคน เอิ๊ก ....@^_^@
     
  4. Nakraksa

    Nakraksa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    3,481
    ค่าพลัง:
    +14,350
    แหม งั้นชมรมบ้า ก็มีสมาชิกมากมาย และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แบบไม่มีที่มาที่ไปมากมายนะเนี่ย เพราะอยู่ดีๆก็โผล่เข้ามาทีละคนๆ แปลกดีเนอะพี่อุ้ม
     
  5. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    ใช่ อิอิอิอิ พี่ออนMSN ดิ จะเอารูปให้ดูอะ
     
  6. ภัทรอังคาร

    ภัทรอังคาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    4,904
    ค่าพลัง:
    +14,098
    ช่ายๆๆ แปลกจ๊ะ แต่ได้สมาชิกกิติมศักดิ์ อย่างน้องกิ่งมาร่วมด้วยเนี่ย คงเป็นเครื่องการันตีว่าพวกเราบ้าก็จริง แต่มีเหตุและผล
     
  7. king_6914

    king_6914 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    614
    ค่าพลัง:
    +18,384
    น้องยา กิ่งผ่านความทุกข์มาเยอะมากๆ ตอนนี้มองอย่างเห็นทุกข์แต่พยามไม่เป็นทุกข์
     
  8. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    ...พระอานนท์ทูลถามพระบรมศาสดาว่า...
    “ถ้าหากว่าองค์สมเด็จได้เสด็จปรินพพานไปแล้ว จะมีใครเล่าที่จะมาเป็นผู้สืบทอดพระศาสนาสังคายนาพระไตรปิฎก”

    ...พระศาสดาตรัสตอบว่า...
    “ก็จะมีเหล่า ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ที่เข้ามาถือพรหมจรรย์ในศาสนาของเราตถาคตให้ยืนยาวออกไปจนครบ 5,000 ปี ”

    ...ขณะนั้นเหล่าเทพพรหมเทวาทั้งสัมมาทิฐิ และมิจฉาทิฐิก็ได้ร่วมรับฟังการสนทนาอยู่ด้วย…
    …จึงขอปวารณาตัวต่อองค์ตถาคตเจ้าว่า...จะขอร่วมสืบต่ออายุของพระศาสนาให้ยืนยาวออกไปจนครบ 5,000 ปี...


    ...ซึ่งในช่วง 1,250 ปีแรก เป็นหน้าที่ของพระขีณาสพ...พระปัจเจกพุทธเจ้า...พระอรหันต์สาวก...

    ...ต่อมาปี 1,251 - 2,500 เป็นหน้าที่ของภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา...

    ...ต่อมาปี 2,501 – 3,750 เป็นหน้าที่ของเหล่าเทพพรหมทุกชั้นทุกสวรรค์...
    ...ทุกตำแหน่ง...ทุกวิมาน...

    ...และ1,250ปีสุดท้าย(ปี3,751 - 5000)เป็นหน้าที่ของอลัชชี... พญามารธิราช...
    ...เปรต...อสุรกาย...สัตว์เดรัจฉาน...พวกมิจฉาทิฐิทั้งหลายก็จะลงมาทำหน้าที่...
    ...ดูแลรักษาพระศาสนาสืบต่อไป...


    ...สภาวะของโลกธาตุก็จะเต็มไปด้วยทิฐิมานะ...ความเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน...
    ...มีการรบราฆ่าฟัน...ขาดความสามัคคี...โลกของสัตว์นรกย้อนเข้าสู่จุดเริ่มต้นของโลกธาตุ
    ...ตามกฎของพระไตรลักษณ์...เมื่อโลกธาตุของสิ่งมีชีวิตก็พัฒนาเสื่อมลงและสภาวะจิตใจ...
    ...ของมนุษย์ก็จะเสื่อมทรามลง...


    ...ความสนใจ “พุทธศาสตร์” ในเรื่องของ จิต เจตสิก นาม รูป นิพพาน...
    ...ไม่เชื่อถือเรื่องบุญบารมีหรือวิบากกรรมใดๆ...ผลการกระทำเหล่านี้...
    ...จึงเกิดสภาวะร่วมแห่งวิบากกรรมที่เรียกว่ากรรมของสัตวโลก...
    ...จึงเป็นเหตุให้เกิด “จิตวิญญาณมิจฉาทิฐิ” จะต้องมาจุติเกิดเป็นมนุษย์...
    ...เพื่อชดใช้วิบากกรรมและเศษเสี้ยวของกรรมในยุคปลายศาสนา...
    ...เข้าสู่ยุคมิคสัญญีโดยสมบูรณ์...จนสภาวะธรรมชาติบนโลกธาตุถูกทำลายล้าง...
    ...จนถึงจุดเสื่อมของธรรมชาติ...กลายเป็นวิปริตผิดธรรมชาติ...
    ....เกิดความแปรปรวนอยู่เนืองๆ...กลายเป็นนรกภูมิบนโลกธาตุ...
    ...เพื่อเปิดโอกาสให้จิต..เจตสิก...นาม...รูป แห่งมิจฉาทิฐิต่างๆ...
    ...ได้ชดใช้สภาวกรรมของตนให้เบาบางลงไป...ก่อนที่โลกธาตุจะปรับตัว...
    ...เข้าสู่ระบบของความสมดุลครั้งยิ่งใหญ่...เพื่อปรับสภาวะของธรรมชาติ...
    ...ให้เกิดความสมบูรณ์...รองรับพุทธบารมีขององค์สมเด็จพระบรมครู...
    ...พระศรีอาริยเมตไตรยสืบไป…


    …ยุคปัจจุบัน 2,500 กว่าปีนี้...จึงเป็นยุคเทพเดินดินคือมีเหล่าเทพ พรหมลงมาจุติเกิด...
    ...ในรูปลักษณ์ต่างๆ เช่น การจุติเกิดการจับญาณสังขารสร้างบุญบารมี...การประทับรับทรง...
    ...ซึ่งเหล่าเทพพรหมทุกชั้นทุกสวรรค์...ทุกตำแหน่ง...ทุกวิมานที่ลงมาทำหน้าที่ในโลกมนุษย์...
    ...ดีบ้าง...ชั่วบ้างตามสถานะของจิตในแต่ละดวงว่ามีบุญบารมีมากน้อยเพียงไร...เพื่อลงมา...
    ...ชดใช้กรรมชั่วและสภาวะความดีสุดแล้วแต่บุญบารมีและวิบากกรรมจะบันดาลให้เป็นไปนั้น...
    ...ย่อมขึ้นอยู่กับดวงจุติ...ดวงจิตของเทพพรหมเทวาในแต่ละเจตสิก...เพื่อที่จะลงมาเรียนรู้...
    ...ใน “ทุกขเวทนา” กับหมู่มวลมนุษย์สัตว์บนโลกธาตุ...ถ้าเปรียบไปแล้วพวกเราก็เปรียบเสมือน
    ...กับลูกๆหลานๆ...เมื่อลงมาจุติเกิดบนโลก...จิตวิญญาณของเหล่าเทพเทวาก็ต้องมา…
    …คุ้มครองช่วยเหลือเกื้อกูลชี้นำให้บุตรบริวารของตนรู้จักสร้างบุญสร้างกุศลต่างๆนานา...
    ...ดวงวิญญาณเหล่านี้เรียกว่า...พ่อแก้ว...แม่แก้ว...ซึ่งเป็นปู่ย่าตายายทวดของพวกเรา...
    ...ซึ่งเหล่าเทพเทวาก็จะมาอาศัยธาตุ4ขันธ์5ของลูกหลานที่ลงมาจุติเกิดแล้วบีบบังคับ...
    ...นำพาเข้าสู่บุญกุศล...เข้าสู่การปฏิบัติจนกว่าจะครบ 3,750 ปี...


    ...และเมื่ออายุของพระศาสนา...ผ่านพ้น 3,750 ปี ไปแล้วเป็นยุคเปรตเดินดิน...
    ...บุตรที่เกิดมาจะไม่รู้จักคำว่า...พ่อแม่...สมสู่กันเยี่ยงสัตว์...ตัวเป็นคนใจเป็นสัตว์...
    ...ฆ่ากันเอง...กินกันเอง...เพราะเป็นยุคจุติของสัตว์นรก...เปรต อสุรกาย โอปาติกะ...
    ...ถ้าจิตดวงใดยังมีความสำนึกในเรื่องกฏแห่งกรรมแล้วหันเข้าฝึกปฏิบัติจิตเสียใหม่...
    ...จึงจะหลุดพ้นไปจากความทุกข์ทรมาณในภพภูมิของอมนุษย์ได้...
    ...ก็ด้วยการแสวงหาแนวทางในการฝึกฝนจิตสืบไป...
     
  9. king_6914

    king_6914 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    614
    ค่าพลัง:
    +18,384
    เอ""""กิ่งจะดีใจดีมั้ย อ่ะ """""""""@^_^@
     
  10. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    พระศรีอาริยเมตไตร (พระอชิตเถระ)
    ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์พุทธเจ้าเสด็จยับยั้งอาศัยใกล้กรุงสาวัตถีมหานคร วสนฺโต เมื่อสมเด็จพระชินวรผู้ทรงญาณสำราญพระอิริยาบถ เข้าพรรษาอยู่ในบุพพาราม อันพระวิสาขา สร้างถวายสิ้นทรัพย์ ๒๗ โกฏิฯ

    ครั้งนั้น พระองค์ทรงปรารภซึ่งพระอชิตเถระ ผู้หน่อบรมพุทธางกูรอริยเมตไตรยเจ้าให้เป็นเหตุ พระโลกเชษฐ์จึงตรัสพระธรรมเทศนา สำแดงซึ่งพระโพธิสัตว์ทั้ง ๑๐ องค์ อันจะมาตรัสเป็น องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลฯ ครั้งนั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถรเจ้า จึงกราบทูลอาราธนา พระองค์ก็นำมาซึ่งอดีตนิทาน แห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ พระองค์ ที่จะลงมาตรัสในอนาคตกาลเบื้องหน้าต่อไป

    เป็นใจความว่า เมื่อศาสนาพระตถาคตครบ ๕๐๐๐ ปีแล้ว ฝูงสัตว์ก็มีอายุถอยลง คงอยู่ ๑๐ ปีเป็นอายุขัย ครั้งนั้นแล จะบังเกิดมหาภัยเป็นอันมาก มีสัตถันตะระกัปป์ มนุษย์ทั้งหลายจะวุ่นวายเป็นโกลาหล เกิดรบพุ่งฆ่าฟันซึ่งกันและกัน จะจับไม้และใบหญ้าก็กลับกลายเป็นหอก ดาบ แหลน หลาว อาวุธน้อยใหญ่ ไล่ทิ่มแทงกัน ถึงซึ่งความฉิบหายเป็นอันมาก ฝูงมนุษย์ทั้งหลายที่มีปัญญา ก็หนีไปซุกซ่อนตัวอยู่ในซอกห้วย หุบเขา เมื่อพ้น ๗ วันล่วงไปแล้ว มนุษย์ทั้งหลายที่เร้นซ่อนอยู่นั้น เห็นสงบสงัดเสียงคนก็ออกมาจากที่ซ่อนเร้น ครั้นเห็นซึ่งกันและกัน ก็มีความสงสารรักใคร่เป็นอันมาก เข้าสวมสอดกอดรัดร้องไห้กันไปมา บังเกิดมีความเมตตากรุณากันมากขึ้นไป ครั้นตั้งอยู่ในเมตตาพรหมวิหาร แล้วก็อุตสาหะรักษาศีล ๕ จำเริญกรรมฐานภาวนาว่า อยํ อตฺตภาโว อันว่าร่างกายของอาตมานี้ อนิจฺจํ หาจริงมิได้ ทุกฺขํ เป็นกองแห่งทุกข์ฝ่ายเดียว อนตฺตา หาสัญญา สำคัญมั่นหมายมิได้ ด้วยกายอาตมาไม่มีแก่นสารฯ
    เมื่อมนุษย์ทั้งหลาย ปลงสัญญาเห็นในกระแสพระกรรมฐานภาวนาดังนี้เนืองๆ อายุของมนุษย์ทั้งหลายก็วัฒนาจำเริญขึ้นไป ที่มีอายุ ๑๐ ปีเป็นอายุขัยนั้น ค่อยทวีขึ้นไปถึง ๒๐ ปีเป็นอายุขัย ค่อยทวีขึ้นไปทุกชั้นทุกชั้น จนอายุได้ ร้อย พัน หมื่น แสน โกฏิ จนถึงอสงไขยหนึ่ง ครั้นนานไปเห็นว่าไม่รู้จักความตายแล้ว ก็มีความประมาท มิได้ปลงใจลงในกอง ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา อายุก็ถอยน้อยลงมาทุกทีจนถึง ๘ หมื่นปี ฝนก็ตกเป็นฤดูคือ ๕ วันตก ๑๐ วันตก ในชมพูทวีปทั้งปวงมีพื้นแผ่นดินราบคาบสม่ำเสมอเป็นอันดีฯ

    ครั้งนั้น กรุงพาราณสีเปลี่ยนนาม ชื่อว่า เกตุมมะดี โดยยาวได้ ๑๖ โยชน์ โดยกว้างได้ ๑ โยชน์ มีไม้กัลปพฤกษ์เกิดทั้ง ๔ ประตูเมือง มีแก้ว ๗ ประการ ประกอบเป็นกำแพงแก้ว ๗ ชั้นโดยรอบพระนคร ครั้งนั้น มหานฬกาลเทวบุตร ก็จุติลงมาเกิดเป็นสมเด็จบรมจักรพรรตราธิราช ทรงพระนามว่า พระยาสังขจักร เสวยศิริราชสมบัติในเกตุมมะดีมหานคร ในท่ามกลางเมืองนั้นมีปรางค์ปราสาททองอันแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ ผุดขึ้นมาแต่มหาคงคา ลอยมายังนภาดลอากาศเวหา มาตั้งอยู่ในท่ามกลางพระนคร ปรางค์ปราสาทนี้ แต่กาลก่อนเป็นปรางค์ปราสาทแห่งสมเด็จพระเจ้ามหาปะนาท ครั้นสิ้นบุญพระเจ้ามหาปะนาทแล้ว ปรางค์ปราสาทนั้นก็จมลงไปในคงคา เมื่อสมเด็จบรมจักรจอมทวีปผู้ทรงพระนามว่า พระยาสังขจักร ได้เสวยราชสมบัติในเกตุมมะดีนั้น ปรางค์ปราสาทก็ผุดขึ้นมาแต่มหาคงคาด้วยอานุภาพแห่งบรมจักร ประดับไปด้วยหมู่พระสนมแสนสาวสุรางค์ทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่น ๔ พัน พระองค์มีพระราชโอรสประมาณพันพระองค์ พระราชโอรสผู้ใหญ่นั้น ทรงพระนามว่า อชิตราชกุมาร เจ้าอชิตราชกุมารนั้น เป็นปรินายกแก้ว แห่งสมเด็จพระราชบิดาผู้เป็นพระยาบรมสังขจักร อันบริบูรณ์ไปด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ
    จักรแก้ว ๑
    นางแก้ว ๑
    แก้วมณีโชติ ๑
    ช้างแก้ว ๑
    ม้าแก้ว ๑
    คฤหบดีแก้ว ๑
    ปรินายกแก้ว ๑
    อันว่าสมบัติบรมจักรนั้นย่อมมีทุกสิ่งทุกประการ เป็นที่เกษมสานต์ยิ่งนัก เหลือที่จะพรรณนาในกาลนั้นฯ

    ฝ่ายว่า มหาปุโรหิตผู้ใหญ่ของสมเด็จพระเจ้าสังขจักรนั้น เป็นมหาพราหมณ์ประกอบไปด้วยอิสริยยศเป็นอันมาก หาผู้จะเปรียบเสมอมิได้ มีนามปรากฏว่า สุตพราหมณ์ นางพราหมณีผู้เป็นภรรยานั้นมีนามว่า นางพราหมณวดีฯ ในกาลนั้น สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า รับอาราธนานิมนต์แห่งฝูงเทพยดาทั้งหลาย ก็จุติลงมาจากสวรรค์เทวโลก ลงมาถือเอาปฏิสนธิในครรภ์แห่งนางพราหมณวดี ภรรยาแห่งมหาปุโรหิตพราหมณ์ผู้ใหญ่ ในวันบัณณสี อุโบสถ เพ็ญเดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลาปัจจุสสมัยใกล้รุ่ง พร้อมด้วยอัศจรรย์ทั้งหลาย ๑๒ ประการ เทพยดาพากันกระทำสักการบูชาดังห่าฝนตกลงในกลางอากาศ แล้วก็มีปรางค์ปราสาททั้ง ๓ ผุดขึ้นมา เพื่อจะให้เป็นที่สำราญ แห่งพระบรมโพธิสัตว์เจ้า
    ปราสาท ๑ ชื่อว่า ศิริวัฒนะ
    ปราสาท ๑ ชื่อว่า สิทธัตถะ
    ปราสาท ๑ ชื่อว่า จันทกะ

    ปรางค์ปราสาททั้ง ๓ นี้เป็นที่จำเริญพระศิริสวัสดิมงคล ควรจะให้สำเร็จประโยชน์ทุกประการ ปรากฏงามดังดวงพระจันทร์ แล้วหอมฟุ้งไปด้วยกลิ่นอันหอมมิรู้ขาด เดียรดาษไปด้วยนางนาฏพระสนมประมาณ ๗ แสน ส่วนสมเด็จพระอัครมเหสีแห่งสมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรย บรมโพธิสัตว์เจ้านั้น ทรงพระนามว่า พระจันทมุขี เป็นประธานแห่งนางบริวารทั้ง ๗ แสน มีพระราชโอรสองค์ ๑ ทรงพระนามว่า พราหมณ์วัฒนกุมาร เมื่อพระมหาบุรุษผู้ประเสริฐ ทรงพระสำราญแรมอยู่ในปรางค์ปราสาททั้ง ๓ ควรแก่ฤดูโดยนิยมดังนี้ฯ จนพระองค์มีพระชนม์ได้ ๘ หมื่นปี แล้วจึงเสด็จขึ้นสู่รถแก้วอันเป็นทิพย์วิมานมีศิริหาเสมอมิได้ เสด็จไปประพาสอุทยานทอดพระเนตรเห็นจตุรนิมิตทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นเทวทูตยังธรรมสังเวชให้เกิดขึ้น ก็มีพระทัยน้อมไปในบรรพชา พิจารณาเห็นเพศสมณะนั้นเป็นอารมณ์ ในขณะนั้นอันว่าปรางค์ปราสาทแก้วซึ่งทรงพระสำราญยับยั้งอยู่นั้น ก็ลอยไปในอากาศเวหา พร้อมทั้งพระราชโอรส และหมู่นิกรอนงค์นางกัลยาทั้งหลายก็ไปกับปรางค์ปราสาทนั้น

    ครั้งนั้นเปรียบประดุจดังว่า พระยาสุวรรณราชหงส์ทองอันบินไปในอากาศเวหา ฝ่ายฝูงเทพยดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาล ก็ชวนกันถือเครื่องสักการบูชา เหาะตามกันมากระทำสักการบูชาในอากาศเวหา แน่นเนื่องกันมาเป็นอเนกอสงไขย ทั้งท้าวพระยามหากษัตริย์ทั้งหลาย ๘ หมื่น ๔ พัน พระนครก็ดี และชาวนิคมประจันตประเทศชนบททั้งหลายก็ดี ก็ชวนกันมากระทำสักการบูชาด้วยดอกไม้และของหอม มีประการต่างๆเต็มเดียรดาษกลาดเกลื่อนไปทั้งชมพูทวีป เหล่าพวกอสูรทั้งหลาย ก็เข้าแวดล้อมพิทักษ์รักษาปรางค์ปราสาทฯ ฝ่ายพระยานาคราชนั้น กระทำสักการบูชาด้วยแก้วมณี พระยาสุวรรณราชปักษีกระทำสักการบูชาด้วยแก้ว อันเป็นเครื่องประดับตน พระยาคนธรรพ์ทั้งหลายนั้น กระทำสักการบูชาด้วยเครื่องทิพย์ดุริยางค์ ฟ้อนรำ มีประการต่างๆฯ

    ปางเมื่อองค์สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยเจ้าเสด็จออกบรรพชานั้น ฝูงเทพยดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ และ มนุษย์ นาค ครุฑ คนธรรพ์ทั้งหลาย กระทำสักการบูชา ทั้งพระยาบรมจักรพรรตราธิราชเจ้าผู้ประเสริฐ ก็พร้อมด้วยแสนสาวสนมในทั้งปวง และโยธาหาญ หมู่จตุรงค์องค์พยุหะเสนาอเนกนับมิได้ เสด็จไปที่ใกล้แห่งสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์

    ครั้งนั้นมหาชนทั้งหลายทั้งปวง มีความปรารถนาจะทรงบรรพชาแล้วก็ลอยไปในอากาศ กับด้วยพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ด้วยเดชานุภาพแห่งบรมจักร และอานุภาพแห่งพระศรีอาริยเมตไตรยบรมโพธิสัตว์นั้น ครั้นเสด็จถึงควงไม้พระศรีรัตนมหาโพธิ์ คือไม้กากะทิงแล้ว ปรางค์ปราสาทแก้วก็เลื่อนลอยลงจากอากาศใกล้ในที่ปริมณฑลไม้มหาโพธินั้น ฝ่ายท้าวมหาพรหมก็เชิญซึ่งพานผ้ากาสาวพัสตร์ กับเครื่องบริขารทั้ง ๘ น้อมเข้าไปถวายสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ แล้วพระองค์จึงชักเอาพระแสงดาบแก้วตัดพระเกศเกล้าให้ขาด แล้วก็โยนขึ้นไปในอากาศเวหา ถือเครื่องบริขารทั้ง ๘ ประการ ทรงเพศบรรพชาเสร็จแล้ว ส่วนว่าบริวารทั้งหลายทั้งปวงนั้น ก็ชวนกันบรรพชา บวชตามสมเด็จพระโพธิสัตว์เจ้าเป็นอันมาก ฝ่ายพระมหาบุรุษราช องค์พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้านั้น กระทำความเพียรอยู่ที่ใกล้พระศรีมหาโพธิสิ้นประมาณ ๗ วัน ในเมื่อเวลาเย็นพระองค์ก็เสด็จเข้าไปสู่ควงไม้พระมหาโพธิ ขึ้นทรงนั่งเหนือรัตนอปราชิตบัลลังค์พระที่นั่งแก้ว แล้วทรงพระคำนึงระลึกถึงบุพพชาติของพระองค์ด้วย บุพเพนิวาสานุสติญาณ ทรงเห็นโดยลำดับกัน ประจักษ์แจ้งในปฐมยามฯ ครั้นล่วงเข้ามัชฌิมยามทรงเห็นซึ่ง จุติ-ปฏิสนธิ แห่งสัตว์ทั้งหลาย ด้วยทิพย์จักษุญาณฯ ครั้นล่วงไปในปัจฉิมยามที่สุดนั้น พระองค์พิจารณาซึ่งปัจจัยการ อันประกอบไปด้วยองค์ ๒ ประการ ตามกระแสพระปฏิจจสมุปบาทธรรม ด้วยสามารถอนุโลม ตรัสรู้ตลอดกัน ในลำดับนั้นก็ได้สำเร็จแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ ทรงพระนามว่า อรหังสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอาทิ ปรากฏเป็นพระพุทธคุณทั่วโลกธาตุ แล้วพระองค์ก็ยังมนุษย์ทั้งหลายประมาณแสนโกฏิ ให้ดื่มกินซึ่งน้ำอมฤตรสคือพระสัทธรรม
    เห็นพระนิพพานอันมิได้รู้แก่ รู้ตาย เป็นธรรมาภิสมัย ให้บังเกิดแก่ฝูงเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ได้ตรัสรู้มรรคและผลหาประมาณมิได้ฯ - และองค์พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้าผู้ทรงพระภาคมีประเภทเป็นอันงามนั้น
    - พระองค์มีพระวรกายสูงได้ ๘๘ ศอก
    - พระองค์ใหญ่กว้างได้ ๒๕ ศอก
    - ตั้งแต่พระบาทถึงพระชานุมณฑลมีประมาณ ๒๒ ศอก
    - ตั้งแต่พระชานุมณฑลขึ้นไปถึงพระนาภีประมาณ ๒๒ ศอก
    - ตั้งแต่พระนาภีขึ้นไปถึงพระรากขวัญทั้ง ๒ ประมาณ ๒๒ ศอก
    - ตั้งแต่พระรากขวัญขึ้นไปถึงพระเศียรเกล้า ที่สุดยอดพระอุณหิส เปลวพระพุทธรัศมีนั้น ประมาณ ๒๒ ศอก เสมอกันทั้ง ๔ส่วน
    - พระรากขวัญทั้ง ๒ แต่ละอันนั้นยาวได้ ๕ ศอก
    - อันว่าพระหัตถ์ทั้ง ๒ ซ้าย-ขวานั้น ยาวได้ ๔๐ ศอก ( เข้าใจว่าความยาวจากหัวไหล่ถึงปลายนิ้วมือแต่ละข้าง ยาวได้ ๔๐ ศอก…..พีรจักร )
    - ในระหว่างภายในแห่งพระพาหาทั้ง ๒ ซ้าย-ขวา นั้นมีประมาณ ๒๕ ศอก
    - พระอังคุลีแต่ละอันยาวได้ ๕ ศอก
    - ฝ่าพระหัตถ์แต่ละข้างกว้างได้ ๕ ศอก
    - พระศอโดยกลมรอบมีประมาณ ๕ ศอก โดยยาวก็ ๕ ศอก
    - พระโอษฐ์เบื้องบนเบื้องล่างกว้าง ๑๐ ศอกเสมอกัน เป็นอันดี
    - พระชิวหาอยู่ภายในพระโอษฐ์ยาว ๑๐ ศอก
    - พระนาสิกสูงยาวลงมาได้ ๗ ศอก
    - ดวงพระเนตรทั้ง ๒ โดยกว้างได้ ๗ ศอก
    - แววพระเนตรทั้ง ๒ ที่ดำ กลม เป็นปริมณฑลอยู่นั้น มีประมาณ ๕ ศอก
    - พระขนงแต่ละข้าง ยาวได้ ๕ ศอก
    - ในระหว่างพระขนงทั้ง ๒ กว้างได้ ๔ ศอก
    - พระกรรณทั้ง ๒ แต่ละข้าง ยาวได้ ๗ ศอก
    - ดวงพระพักตร์นั้นเป็นปริมณฑล กลมดังดวงพระจันทร์เมื่อวันเพ็ญ มีประมาณกลมได้ ๒๕ ศอก
    - พระอุณหิสที่เวียนเป็นทักขิณาวัฏรอบพระเศียร เป็นเปลวพระพุทธรัศมีขึ้นไปนั้น โดยกลมรอบได้ ๒๕ ศอกฯ
    …..ลำดับนี้ จะพรรณนาไม้พระศรีรัตนมหาโพธิต่อไป อันว่า ต้นไม้กากะทิง ที่เป็นไม้ศรีมหาโพธินั้น
    - มีปริมณฑลไปได้ ๑๒๐ ศอก
    - มีกิ่งทั้ง ๕ โดยรอบครอบนั้นก็ได้ ๑๒๐ ศอก
    - แต่ต้นขึ้นไปปลายสุดกิ่งนั้นได้ ๒๔๐ ศอก โดยสูง โดยสะกัดเป็นปริมณฑลเหมือนกัน
    - มีใบสดเขียวอยู่เป็นนิจจกาล
    - ทรงดอกและเกสรหอมฟุ้งขจรมิรู้ขาด เปรียบประดุจดอกปาริชาติ ในดาวดึงสาสวรรค์ก็เหมือนกันฯ
    สมเด็จพระสัพพัญญูองค์พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ทรงทวัตติงสามหาปุริสลักษณะประกอบไปด้วยพระฉัพพรรณรังสี พระพุทธรัศมี ๖ ประการ สว่างออกจากพระสรีรกายเป็นอันงาม ประดุจดังท่อธารสุวรรณ ธาราน้ำทองอันไหลหลั่งออกมา เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ไปด้วยสุขทุกเมื่อ มีสติระลึกถึงพระพุทธคุณเป็นอารมณ์เนืองๆ ด้วยเดชานุภาพพระพุทธคุณนั้น มนุษย์ทั้งหลายได้บริโภคซึ่งโภชนาหารแต่เนื้อแห่งข้าวสาลี อันบังเกิดมีมาเอง ได้ประดับประดาสรีรกายและผ้านุ่งผ้าห่ม เครื่องอาภรณ์ต่างๆ แต่ต้นไม้กัลปพฤกษ์ ประพฤติเลี้ยงชีวิตเป็นบรมสุขฯ ปางเมื่อพระองค์ผู้ทรงสวัสดิภาคเป็นอันงาม ทรงพระนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ตรัสแสดงพระสัทธรรมเทศนา
    พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนั้น มนุษย์และเทพยดาทั้งหลายได้ซึ่งธรรมาภิสมัย มรรคและผลธรรมวิเศษ ประมาณ ๓ แสนโกฏิฯ

    อันว่าองค์พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ทรงสร้างพระบารมีมาสิ้นกาลช้านานถึง ๑๖ อสงไขยกำไรแสนมหากัปป์ มีศีลบารมี ทานบารมี เป็นต้น เต็มบริบูรณ์ กองพระบารมีทั้งหลายที่สำเร็จเป็นองค์พระสรรเพ็ชญ์พุทธเจ้า นั้นคือ พระบารมีจองพระองค์ครั้ง ๑ ปรากฏชัดเจนเป็นปรมัตถบารมี อันยิ่งยอดกว่าพระบารมีทั้งปวงฯ สมเด็จพระพุทธเจ้าของเราจึงนำมาซึ่งอดีตนิทาน แห่งกองพระบารมีของสมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยมาตรัสพระสัทธรรมเทศนาแก่พระสารีบุตรเถรเจ้าว่า อตีเต กาเล ในกาลล่วงลับมาแล้วช้านาน มีองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระสิริมิตร ได้ตรัสในโลก

    ครั้งนั้น องค์พระศรีอาริยเมตไตรย ได้เสวยศิริราชสมบัติ ในเมืองอินทปัตต์มหานคร ทรงพระนามว่าบรมสังขจักร มีแก้ว ๗ ประการ อยู่มาในกาลวันหนึ่ง พระเจ้าสังขจักรเสด็จทรงนั่งอยู่ภายใต้เศวตฉัตร มีพระทัยปรารถนาว่า ผู้ใดมาบอกข่าวว่า พระพุทธรัตนะพระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ บังเกิดมีแล้ว พระองค์จะสละศิริราชสมบัติบรมจักร พระราชทานให้แก่บุคคลผู้นั้นแล้ว พระองค์ก็จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังองค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ในกาลนั้น ยังมีกุลบุตรเข็ญใจผู้หนึ่ง ไปบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ในพระพุทธศาสนา ด้วยมารดาของสามเณรเป็นทาสทาสีอยู่ในตระกูลหนึ่ง สามเณรนั้นคิดแสวงหาทรัพย์จะไปให้แก่มารดา ให้พ้นจากทาสทาสี จึงเที่ยวไปโดยลำดับจนถึงกรุงอินทปัตต์มหานคร ฝูงมหาชนชาวพระนคร ไม่รู้จักว่าสามเณรเป็นอย่างไร ครั้นเห็นเข้าก็สงสัยว่าเป็นมหายักษ์ ก็พากันจับไม้ไล่ทุบตีสามเณรฯ สามเณรนั้นก็กลัว วิ่งหนีมหาชนเข้าไปจนถึงพระราชวัง ไปยืนอยู่ตรงพระพักตร์ของพระองค์ พระองค์จึงตรัสถามว่ามาณพนี้มีนามชื่อใด เจ้าสามเณรกราบทูลว่า อาตมภาพมีนามว่าสามเณร จึงตรัสถามว่าสามเณรนั้นด้วยเหตุดังฤา สามเณรจึงทูลว่าข้าพเจ้ามีนามว่าสามเณรนั้น ด้วยเหตุว่าข้าพเจ้ามิได้กระทำบาปในภายนอก แล้วตั้งอยู่ภายในแห่งกุศล เหตุดังนั้นจึงมีนามว่าสามเณร พระองค์ก็ทรงตรัสถามว่า นามกรของท่านนั้นบุคคลผู้ใดให้แก่ท่าน สามเณรจึงทูลว่า พระอาจารย์ของข้าพเจ้าให้แก่ข้าพเจ้า พระองค์จึงตรัสถามว่า อาจารย์ของท่านนั้นชื่อดังฤา สามเณรจึงทูลว่าอาจารย์ของอาตมามีนามว่าภิกษุ จึงทรงตรัสถามต่อไปว่าพระอาจารย์ของท่านนั้นมีนามว่าภิกษุนั้นด้วยเหตุดังฤา สามเณรจึงทูลว่าอาจารย์ของข้าพเจ้านั้น ชื่อรัตนะเป็นแก้วอันหาค่ามิได้

    ครั้นทรงสดับว่าพระสังฆรัตนะในพระพุทธศาสนาหาได้เป็นอันยากยิ่งนัก พระองค์ก็มีความชื่นชมยินดีหาที่จะอุปมามิได้ คำนึงอยู่ในพระราชหฤทัยว่า จะเสด็จลงจากอาสน์ไปนมัสการเจ้าสามเณรที่ใกล้ ด้วยความปิติกายของพระองค์ก็ลอยไปตกลงตรงหน้าเจ้าสามเณร เดชะที่พระองค์มีพระราชหฤทัยเลื่อมใสในพระสังฆรัตนะ ดอกประทุมชาติก็บังเกิดผุดขึ้นรองรับพระองค์ไว้มิได้เป็นอันตราย จึงถวายนมัสการเจ้าสามเณรโดยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วจึงตรัสถามเจ้าสามเณรต่อไปว่า พระสังฆรัตนะอาจารย์ของท่านนั้นบุคคลผู้ใดให้นามกร เจ้าสามเณรก็ทูลว่า อาจารย์ของข้าพเจ้านั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงนามว่า พระสิริมิตรสัพพัญญู พระองค์โปรดประทานให้นามว่าพระสังฆรัตนะแก่อาจารย์ของข้าพเจ้า

    เมื่อสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ผู้ทรงอุตสาหะในพระศาสนา ได้ทรงฟังสามเณรออกวาจาว่า องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ก็ถึงวิสัญญีภาพลงอยู่กับที่ ครั้นพระองค์ได้พระสติขึ้นมา จึงตรัสถามสามเณรอีกว่า ดูก่อนเจ้าสามเณรผู้เจริญ บัดนี้องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าเสด็จยับยั้งอยู่ในที่ดังฤา สามเณรจึงทูลว่า สมเด็จพระมหากรุณาธิคุณเจ้าเสด็จยับยั้งอยู่ในบุพพารามวิหาร อันมีอยู่ในอุตตรทิศแต่กรุงอินทปัตต์มหานครนี้ไปไกลกันมีประมาณ ๑๖ โยชน์ ได้ทรงฟังสามเณรแจ้งความว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าบังเกิดแล้วในโลก จึงตรัสว่าดูก่อนสามเณร ผิว่าองค์สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าเสด็จอยู่ในฐานทิศใด เราก็จะไปในประเทศทิศนั้นฯ

    สมเด็จพระเจ้าสังขจักรบรมบพิตรผู้ประเสริฐ หาความเอื้อเฟื้อในศิริราชสมบัติบรมจักรของพระองค์มิได้ ด้วยมีพระทัยนั้นผูกพันอยู่ในการที่จะได้พบเห็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นที่ยิ่งอย่างอุกฤษฏ์ ก็กระทำการราชาภิเษกเจ้าสามเณรนั้น ให้สึกออกเสวยศิริราชสมบัติแทนพระองค์ เป็นพระยาอันประเสริฐ ครั้นกระทำการราชาภิเษกเจ้าสามเณรแล้ว ก็เสด็จออกแต่พระองค์เดียวโดยอุตตราภิมุขมีพระทัยเฉพาะต่ออุตตรทิศ ตั้งพระทัยไปสู่บุพพารามวิหาร อันเป็นที่ประทับแห่งองค์สมเด็จพระสิริมิตรสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้า

    สมเด็จบรมสังขจักรจอมทวีปเป็นสุขมาลชาติ พระสรีรกายนั้นละเอียดอ่อนเป็นอันดี เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปตามมรรคาหนทางแต่พระบาทเปล่า เวลาวันเดียวพระบาททั้ง ๒ ข้างก็ภินทนาการแตกออก จนพระโลหิตไหลตามฝ่าพระบาททั้ง ๒ เมื่อพระบาททั้ง ๒ ทำลาย จะเดินไปมิได้แล้ว ในกาลนั้น พระองค์ก็ลงนั่งคุกเข่าคลานไปทีละน้อยค่อยคมนาการไปตามหนทางที่เจ้าสามเณรชี้แจงบอกมานั้น จะได้ละความเพียรเสียหามิได้ ครั้นล่วงไปถึง ๔ วัน พระหัตถ์ซ้าย-ขวา และพระชงฆ์ทั้ง ๒ ข้างนั้นก็แตกช้ำโลหิตไหลออกมา จะคลุกคลานไปก็มิได้ ให้เจ็บปวดแสนสาหัส เห็นขัดสนพระทัยนักแล้ว ถึงกระนั้นพระองค์จะได้คิดท้อถอยย้อนรอยกลับคืนมาหามิได้ อาตมาต้องไปให้ถึงสำนักองค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้าให้จงได้ ครั้นพระองค์คุกคลานไปมิได้แล้วก็ลงพังพาบไถลไปแต่ทีละน้อยด้วยพระอุระของพระองค์ ประกอบไปด้วยทุกขเวทนาเหลือที่จะอดกลั้น พระองค์ยึดหน่วงเอาพระพุทธคุณของสมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ด้วยพระเจตนาจะใคร่พบเห็นพระผู้เป็นอธิบดีอันใหญ่ยิ่ง แล้วก็ทรงอดกลั้นซึ่งทุกขเวทนานั้นเสีย หาเอื้อเฟื้ออาลัยในร่างกายของพระองค์ไม่ฯ

    ครั้งนั้น สมเด็จพระสิริมิตรสัพพัญญูผู้ประเสริฐ พระองค์ทรงพระมหากรุณาเล็งดูสัตว์โลกทั้งหลายด้วยสัพพัญญุตาญาณ ก็รู้แจ้งเห็นด้วยกำลังความเพียรแห่งบรมสังขจักรนั้นเป็นอุกฤษฏ์ยิ่งโดยวิเศษ แล้วก็มิใช่อื่นมิใช่ไกล เป็นหน่อพุทธางกูร พุทธพงศ์อันเดียวกันกับพระตถาคต สมควรที่พระตถาคตจักเสด็จไปสู่ที่ใกล้แห่งบรมสังขจักร เมื่อพระองค์ทรงพระดำริแล้ว ก็เสด็จพระพุทธดำเนินมาด้วยพระศิริวิลาสเป็นอันงาม แล้วพระองค์กระทำอิทธิฤทธิ์นิรมิต พระบวรกายของพระองค์ให้อันตรธานสูญหายกลับกลายเป็นมาณพหนุ่มน้อย ขึ้นขับรถทวนมรรคามาเฉพาะหน้าแห้งสมเด็จบรมสังขจักรนั้น แล้วพระพุทธสัพพัญญูเจ้าจึงร้องถามไปว่า ผู้ใดมานอนอยู่กลางทางขวางหน้ารถเราจงหลีกไปเสียเราจะขับรถไปฯ ฝ่ายพระบรมโพธิสัตว์จึงตรัสตอบพระพุทธฎีกาว่า ดูก่อนนายสารถีผู้ขับรถ ท่านจะมาขับเราไปให้พ้นจากหนทางนั้นด้วยเหตุดังฤา ตัวเราผู้รู้จักคุณสมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ยิ่งนัก ชอบแต่นายสารถีจะยั้งรถของท่านให้หลีกเราเสียจึงจะสมควร ถ้าท่านไม่หลีกก็ให้ท่านขับรถไปเหนือหลังเราเถิด ซึ่งจะให้เราหลีกนั้นเราหาหลีกไม่ แล้วจึงมีพระพุทธฎีกาว่าถ้าแหละท่านจะไปยังสำนักพระพุทธเจ้าแล้ว จงมาขึ้นรถไปกับเราเถิด เราจะพาท่านไปให้ถึงสำนักสมเด็จพระพุทธเจ้าให้สมดังความปรารถนา พระจอมขัตติยาจึงตอบว่า ถ้าท่านเอ็นดูกรุณาแก่เรา เราก็มีความยินดีสาธุอนุโมทนาด้วยท่าน
    ว่าแล้วหน่อพระพิชิตมารก็อุตสาหะดำรงทรงพระกายขึ้นสู่รถแห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็หันหน้ารถไปตามมรรคา พาพระยาสังขจักรไป

    ครั้นถึงกึ่งกลางมรรคาหนทางแล้ว สมเด็จพระอมรินทราธิราชกับองค์ดวงสุชาดาผู้เป็นอัครมเหสีนั้น นำเอาโภชนาหารอันเป็นทิพย์กับทั้งน้ำทิพย์ลงมา จำแลงเพศเป็นบุรุษยืนอยู่ตรงหน้ารถแล้วร้องว่า ดูก่อนนายสารถีผู้เจริญเอ๋ย ท่านอยากข้าวน้ำโภชนาหารหรือ เราจะให้ เมื่อโกสีย์อมรินทราธิราชกับนางสุชาดากล่าวดังนั้น สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าซึ่งแปลงเพศเป็นนายสารถีขับรถจึงว่า มาณพผู้เจริญ บุรษทุพลภาพผู้หนึ่งมาในรถด้วยเรา มีความลำบากเวทนานัก ท่านจะให้ข้าวน้ำโภชนาหารแก่เราก็ให้เถิด เราจะได้ให้แก่บุรุษทุพลภาพนั้นบริโภค ท้าวโกสีย์อมรินทร์กับนางสุชาดาก็ให้ข้าวน้ำโภชนาหารอันเป็นทิพย์แก่องค์สมเด็จพระมหาบุรุษสัทธรรมสารถีผู้ประเสริฐ พระองค์ก็ประธานให้แก่พระบรมโพธิสัตว์บรมสังขจักรเสวยข้าวน้ำโภชนาหารอันเป็นทิพย์ ครั้นพระองค์เสวยอิ่มหนำสำเร็จแล้ว ด้วยเดชะข้าวน้ำโภชนาหารอันเป็นทิพย์อุปัทวโทมนัสทุกขเวทนาในสรีรกาย ก็อันตรธานหาย พระองค์ก็มีสรีรกายเป็นสุขเสมอเหมือนแต่ก่อน


    องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก็พาพระยาสังขจักรไปใกล้บุพพารามวิหาร แล้วพระองค์ก็นิสีทนาการนั่งบนพระบวรพุทธอาสน์ในพระวิหาร ส่วนสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ก็เสด็จลงจากรถ เข้าไปสู่บุพพารามวิหาร ทอดพระเนตรแลไปได้ทัศนาการเห็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ผู้ประกอบไปด้วยทวัตติงสมหาบุรุษลักษณะอสีตยานุพยัญชนะประดับ ทั้งพระพุทะรัศมีอันโอภาสสว่างรุ่งเรืองออกจากพระวรกายอันเสด็จทรงนั่งอยู่ในที่นั้น
    พระองค์ก็ทรงวิสัญญีภาพลงตรงพระพักตร์แห่งสมเด็จพระผู้ทรงพระภาคด้วยความโสมนัสสาการ เกิดความปิติยินดีหาที่สุดมิได้ ส่วนสมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าจึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูก่อนมหาบุรุษราชผู้เป็นอภิชาตชายอันประเสริฐ พระตถาคตเสด็จอยู่ในที่นี้แล้ว

    ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมสังขจักรก็ได้ซึ่งอัสสาสประสาท เกิดความยินดีชื่นชมก้มเศียรเกล้า คลานเข้าไปในสำนักสมเด็จพระพุทธองค์เจ้า เสด็จนั่งยังที่อันสมควรแล้วจึงยกพระกรขึ้นประนมบังคมเหนือศิโรตม์กระทำอภิวาทนมัสการ กราบทูลว่า ภนฺเต ภควา ข้าแต่สมเด็จพระพุทธองค์เจ้า บัดนี้ข้าพระบาทถึงสำนักพระองค์เจ้าแล้ว ขอจงทรงพระกรุณาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพระพุทธเจ้า โปรดตรัสแสดงพระธรรมเทศนาอันอุดม ให้ข้าพระบาทฟังในกาลบัดนี้ฯ

    ปางนั้น สมเด็จพระชินศรีจึงตรัสพระสัทธรรมเทศนาโปรดแก่พระยาสังขจักร เมื่อพระองค์ได้ทรงสดับพระสัทธรรมเทศนาบทหนึ่งสิ้นเนื้อความลงแล้ว ก็ทูลห้ามสมเด็จพระพุทธเจ้าว่า ขอพระองค์จงหยุดพระธรรมเทศนาเสียเถิด อย่าทรงสำแดงต่อไปเลยฯ


    ***มีปุจฉาว่า เหตุไฉนพระเจ้าสังขจักรจึงทูลห้ามสมเด็จพระพุทธเจ้าเสียดังนี้ เดิมทีสิมีพระทัยผูกพันในพระพุทธศาสนา ระลึกถึงซึ่งคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้าเป็นอันมาก ทรงสู้สละศิริราชสมบัติบรมจักรเสด็จมาด้วยความลำบากแทบถึงซึ่งชีวิต ครั้นมาประสพพบพระภควันตบพิตร พระองค์ประทานธรรมเทศนาแล้วห้ามเสียด้วยเหตุประการใดฯ
    ***วิสัชนาว่า สมเด็จบรมสังขจักรทรงคิดเห็นว่า ถ้าสมเด็จพระพุทธเจ้าโปรดประทานพระสัทธรรมเทศนาเป็นอันมาก แล้วพระองค์ก็เสด็จมาแต่พระองค์เดียวเปลี่ยวพระทัยนัก จะหาเครื่องไทยธรรมอันสมควรที่จะสักการบูชา ให้สมควรแก่รสพระสัทธรรมนั้นหามีไม่ บัดนี้เราได้สดับรับรสพระธรรมเทศนาแต่บทเดียว เครื่องสักการบูชาของอาตมานี้มิพอสมควรกันกับพระสัทธรรมแล้ว พระองค์ทรงคิดดังนี้ จึงทรงห้ามสมเด็จพระพุทธเจ้าเสีย


    พระองค์จึงกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าเกล้ากระหม่อมฉันได้สดับฟังพระสัทธรรมของพระองค์ในกาลบัดนี้ พระองค์ทรงพระมหากรุณาตรัสพระสัทธรรมเทศนาสำแดงพระนิพพานอันเดียวเป็นที่สุดพระสัทธรรมอยู่แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจะตัดเศียรเกล้า อันเป็นที่สุดแห่งสรีรกายแห่งข้าพเจ้า ออกกระทำสักการบูชาพระสัทธรรมเทศนาของสมเด็จพระพุทธองค์ก่อน ตรัสดังนั้นแล้ว พระเจ้าสังขจักรผู้มีอัธยาศัยอันยิ่ง จึงทรงอธิษฐานขอให้เล็บของพระองค์คมดังพระแสงดาบ เด็ดซึ่งพระศอให้ขาดแล้ววางไว้บนฝ่าพระหัตถ์ ตั้งปณิธานความปรารถนา ออกพระโอษฐ์ตรัสด้วยวาจาว่า ภนฺเต ภควา ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงศิริเป็นที่เฉลิมโลก เชิญพระองค์เสด็จเข้าสู่เมืองแก้วอันเกษมสานต์ คือพระอมตมหานิพพานอันสำราญก่อนข้าพระบาทเถิด ข้าพระบาทจะขอตามเสด็จไปสู่พระนิพพานอันสำราญต่อภายหลัง ด้วยข้าพระพุทธเจ้าได้ถวายเศียรเกล้าบูชาพระสัทธรรมเทศนาของพระองค์ในกาลบัดนี้ ในที่สุดขาดพระวาจาปณิธานปรารถนาลง พระบรมโพธิสัตว์ก็จุติจิตต์สิ้นชีวิตไปบังเกิดในดุสิตาสวรรค์เทวโลกฯ

    ดูก่อนสำแดงสารีบุตร ครั้นเมื่อพระบรมโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยเจ้าได้ตรัสเป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จึงมีพระองค์สูงได้ ๘๘ ศอก ด้วยผลทานที่เด็ดพระเศียรกระทำสักการบูชาพระสัทธรรม พระองค์ทรงพระรัศมีสิ้นทั้งกลางวันกลางคืนมิได้ขาดนั้น ด้วยผลอานิสงส์ที่พระองค์ทรงอุตสาหไปในมรรคาหนทาง ปรารถนาจะพบเห็นสมเด็จพระพุทธเจ้าจนพระโลหิตไหลออกจากพระบาท และพระชงฆ์ พระหัตถ์ พระอุระของพระองค์เมื่อเป็นบรมสังขจักรนั้นฯ อนึ่ง พระพุทธรัศมีของพระองค์แผ่ซ่านตลอดไปเบื้องบนจนถึงพรหมโลก เบื้องต่ำตลอดลงไปจนถึงมหาอเวจีนรก ด้วยผลอานิสงส์ที่พระองค์เด็ดพระเศียรออกกระทำสักการบูชาพระสัทธรรมโลหิตไหลออกจากพระเศียร อนึ่ง ในพระศาสนาพระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า บังเกิดมีไม้กัลปพฤกษ์นึกได้สำเร็จความปรารถนานั้น ด้วยผลอานิสงส์ที่พระองค์เสด็จไปตามมรรคหนทาง จะใคร่พบองค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ถ้วนถึง ๗ วันเป็นกำหนด จึงได้ประสพพบปะฯ

    ดูก่อนสำแดงสารีบุตร ผู้เป็นพระยาธรรมของพระตถาคต ฝูงคนทั้งหลายที่มิได้เห็นรูปกายของพระตถาคตนี้ แล้วได้กระทำทานรักษาศีลจำเริญเมตตาภาวนาด้วยเดชะผลานิสงส์ ฝูงคนทั้งหลายเหล่านั้นจักได้บังเกิดทันพระพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระศรีอาริยะเมตไตรย อันจะมาบังเกิดเป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตฯ สำแดงมาด้วยเรื่องพระศรีอาริยเมตไตรยบรมโพธิสัตว์ ก็ยุติแต่เท่านี้ฯ
    เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้

    ที่มา: <!-- m -->http://www.84000.org/anakot/kan1.html#1
     
  11. ภัทรอังคาร

    ภัทรอังคาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    4,904
    ค่าพลัง:
    +14,098
    ดีใจเถอะจ๊ะ ก็ที่พี่อุ้มหมายถึงก็หมายถึงว่าน้องกิ่งเป็นคนที่กว้างขวางในเว็บนี้มีคนรู้จักเยอะแยะมากมายจากกระทู้บอกบุญต่างๆ ถ้าน้องกิ่่งเข้ามาในกระทู้นี่ได้คนก็จะให้ความเชื่อถือว่าเราไม่ได้บ้าอะไรไง
     
  12. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    <TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row2><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>

    <TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR></TR><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>เพราะเหตุใดพุทธศาสนาจึงเสื่อมโทรมไปจากประเทศอิน
    <TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR></TR><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>เดียอันเป็นดินแดนเกิดของพุทธศาสนา ปัญหานี้มีคนสงสัยกันมากแต่ก็มีส่วนน้อยที่สนใจปัญหานี้อย่างแท้จริง มูลเหตุแห่งความเสื่อมมีดังนี้

    1. เพราะแตกสามัคคี

    เพราะพระภิกษุสงฆ์เกิดแตกสามัคคีไม่มีความปรองดองกันแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันเป็นใหญ่ หลงในลาภยศสักการะ ไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัยเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสอนอันดั้งเดิมเพิ่มเติมเข้ามาใหม่ทำให้เกิดสัทธรรมปฏิรูปซึ่งได้เกิดขึ้น แม้แต่สมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ เช่นเรื่องการแตกสามัคคีของพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพี และพระเทวทัต เป็นต้นและได้มีสืบต่อ ๆ กันมาไม่ขาดราะยันับว่าเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งในวงการของพุทธศาสนาอันเป็นเหตุให้ศาสนาอื่น ๆ ฉวยโอกาสโจมตีได้เท่ากับเป็นการเปิดประตูบ้านให้พวกโจรเข้าลักของในบ้าน สังคายนาแต่ละครั้งที่ทำในอินเดียจึงมีมูลเหตุมาแต่การแตกแยกของพระภิกษุสงฆ์และพระธรรมวินัยที่บิดเบือนเป็นส่วนใหญ่

    2. ขาดผู้อุปถัมภ์

    พุทธศาสนาเจริญและดำรงมาได้ก็เพราะมีพระเจ้าแผ่นดินให้ความอุปถัมภ์บำรุง เมื่อสิ้นพระเจ้าอโศก พระเจ้ามิลินท์ พระเจ้ากนิษกะ พระเจ้าหรรษวรรธนะ พระเจ้าธรรมปาละ พระเจ้าเทวปาละ ผู้มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาแล้วทำให้พุทธศาสนาต้องขาดผู้อุปถัมภ์ ไม่ได้รับการบำรุงส่งเสริมซึ่งพอจะเห็นได้ว่าพุทธศาสนาได้เจริญในรัชกาลของพระมหากษัตริย์ดังกล่าวกษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นี้ทรงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนามาก เมื่อขาดผู้อุปถัมภ์พุทธศาสนาก็เหมือนกับไม้ขาดน้ำและปุ๋ย และพระมหากษัตริย์บางพระองค์นอกจากไม่คุ้มครองและยังทำลายพุทธศาสนาอย่างย่อยยับ เช่น กษัตริย์สสางกะ ปุษยมิตร เป็นต้น ไนไทยเรานี่ถือว่าโชคดีมากที่กษัตย์ผู้เป็นแบบอย่างของชาวพุทธและบำรุงศาสนาเสมอมา

    3. เพราะถูกศาสนาพราหมณ์และฮินดูเบียดเบียน

    ศาสนาฮินดูได้เป็นคู่แข่งของพุทธศาสนามาเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธการล จนกระทั่งถึงสมัยปัจจุบันนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พวกพราหมณ์หรือฮินดูก็ได้เริ่มประกาศคำสอนของตนเป็นใหญ่ ส่วนพระสงฆ์ในพุทธศาสนามีแต่ตั้งรับ บางครั้งก็เปิดช่องว่างให้เขาหรือไม่ก็หลอมตัวเข้าหาเขา จึงเท่ากับว่าทำลายตัวเองด้วยและถูกคนอื่นทำลายด้วย ถ้าหากพระสงฆ์และชาวพุทธยังยึดมั่นอยู่ในคำสอนและรักษาความสามัคคีในหมู่คณะไว้ได้ดีแล้ว คนอื่นหรือศาสนาอื่นก็ทำอะไรได้ยาก เพราะพุทธศาสนาย่อมได้เปรียบศาสนาอื่นหรือศาสนาอื่นก็ทำอะไรได้ยาก เพราะพุทธศาสนาย่อมได้เปรียบศาสนาอื่นในหลักคำสอนอยู่แล้ว การทำลายของศาสนาฮินดูใช้ทั้งไม้อ่อนและไม่แข็ง
    ไม้อ่อนคือโจมตีด้วยคำสอน ลอกเลียนแบบคำสอน นำพระพุทธเจ้ามาเป็นอวตารโดยวิธีนี้ถือว่าได้ผลมากจนแทบจะกลืนศาสนาพุทธ โดยมีการกล่าวอ้างว่า พระพุทธเจ้าเอาก็คือองค์อวตารแห่งพระวิษณุหรือพระนาราย หรือ จะเรียกง่าย ๆ ว่า พระพุทธเจ้าเป็นปางหนึ่งของพระวิษณุ ทำให้เกิดความบิดเบือนที่รากเหง้าที่เดียว เมื่อคนส่วนมากเข้าใจเช่นนี้จึงคิดว่าพุทธกับฮินดูคืออันเดียวกันแต่ฮินดูคือรากเหง้าและดีกว่าจึงไม่มีประโยชน์ที่จะนับถือพุทธ การพยายามบิดเบือนที่รากเหง้าครั้งสำคัญนี้ผลมากจนพุทธศาสนาแทบจะถูกกลืนไปเลยที่เดียว ทั้งนี้ยังมีการเขียนตำราในเรื่องนี้อีกมาก
    ไม้แข็งคือทำลายวัด ยึดวัดพุทธมาเป็นฮินดู วัดส่วนมากกลายเป็นฮินดูเช่นในอินเดียภาคใต้ พุทธคยา ตโปธาราม ราชคฤห์, วาลุการามที่สังคายนาครั้งที่ ๒, วัดถ้ำที่อินเดียภาคใต้, โบสถ์พระรามที่อโยธยา ก็กลายมาเป็นสมบัติชาวฮินดูไปนอกนั้นยังซ้ำเติมยามพลั้งพลาด เช่น พราหมณ์กลุ่มหนึ่งหลังมุสลิมเติร์ก กลับจากเผามหาวิทยาลัยนาลันทาแล้ว ก็กลับมาเผาซ้ำอีก

    4. ถูกมุสลิมทำลาย

    เมื่อสมัยที่มุสลิมเข้ามามีอำนาจในอินเดียกษัตริย์มุสลิมใด้แผ่อำนาจไปในส่วนต่าง ๆ ของอินเดียราว ๆ พ.ศ.๑๗๐๐ กองทัพมุสลิมได้ทำลายวัดวาอาราม รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ฆ่าฟันพระสงฆ์อย่างมากมาย จนพระสงฆ์และชาวพุทธต้องหนีกันออกนอกประเทศอินเดีย เข้าไปอาศัยในเนปาล สิกขิม ธิเบต ต่อมาเมื่อมุสลิมยึดอินเดียได้อย่างเด็ดขาด อิทธิพลของศาสนาอิสลามก็ได้แผ่ตามไปด้วย เป็นเหตุให้พุทธศาสนาพลอยได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างหนักจนสูญหายไปในที่สุด หลายฝ่ายเชื่อว่าถ้าไม่ถูกมุสลิมถอนรากถอนโคน พุทธศาสนาวัดว่าอารามก็คงเลืออยู่เต็มอินเดีย เฉพาะรัฐพิหารรัฐเดียวก็มีเป็นหมื่นวัด จนกลายมาเป็นชื่อรัฐในปัจจุบัน พุทธศาสนาก็คงอยู่ได้แต่อาจจะลดจำนวนลงบ้าง และอาจจะปฏิรูปเข้ากับศาสนาฮินดูบ้าง การมาของมุสลิมเหมือนกับลมพายุกระหน่ำต้นไทรที่ผุข้างในบ้างแล้วให้ล้มลง

    5. พุทธศาสนามีคำสอนที่สวนกระแส

    เพราะคำสอนของพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่สวนกระแส คือ ดิ่งสู่ความเป็นจริง เป็นการฝืนใจคนอินเดียในสมัยนั้น แนวคำสอนของพุทธศาสนาเรื่องการไม่สนับสนุนการอ้อนวอน ก็ขัดความรู้สึกคนสมัยนั้น ที่นิยมการอ้อนวอนบูชาบวงสรวงสิ่งที่ไกลตัว เพื่อหวังลาภสักการะหวังเป็นที่พึ่ง แนวคำสอนของพุทธศาสนาดึงคนเข้ามาหาหลักไม่ใช่ดึงหลักเข้ามาหาคน ไม่บัญญัติไปตามความชอบพอของคนบางคน ทำให้ปุถุชนผู้เบาปัญญา เกิดความเบื่อหน่าย และหันไปนับถือศาสนาอื่นได้ นอกจากนั้นหลักคำสอนเกี่ยวกับการปฏิเสธวรรณะของคนชั้นสูงและคนชั้นต่ำ ผู้ยึดมั่นอยู่ในลัทธิประเพณีพวกคนคิดเห็นของของคนชั้นสูงก็ไม่อยากให้มีการเลิกการถือชั้นวรรณะ คนชั้นต่ำก็ไม่ต้องการให้ล้มเลิกลัทธิประเพณีของเขา คนชั้นต่ำมิได้นับถือศาสนาด้วยปัญญา แต่นับถือด้วยการยึดมั่นอยู่พิธีกรรมจึงทำให้เป็นการขัดต่อความเชื่อถือของเขา

    6. ถูกฮินดูแต่งกายเลียนแบบ

    ในสมัยต่อมานักบวชฮินดู ได้เปลี่ยนแนวการสอนใหม่จากเดิมที่ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง มาเป็นการตั้งสำนัก จากไม่มีองค์กรคณะสงฆ์ ก็ตั้งคณะสงฆ์ จากนักบวชพราหมณ์ที่นุ่งห่มสีขาว กลายมาเป็นแต่งชุดเหลืองเหมือนพระสงฆ์ในพุทธศาสนา นักบวชที่แต่งชุดเหลืองถูกเรียกว่า สาธุ แม้พระสงฆ์ไทยเมื่อไปอยู่อินเดียก็ถูกเรียกว่า สาธุ เช่นกัน และคิดเหมาเอาว่าเป็นฮินดูทั้งหมด เมื่อฮินดูปฏิรูปการนุ่งห่มทำให้ความแตกต่างลดน้อยลง และการกลืนก็เป็นไปง่ายขึ้น

    7. เลียนแบบลัทธิตันตระในศาสนาฮินดู

    เมื่อ พ.ศ.๑๕๐๐ พุทธศาสนาได้รับเอาลัทธิตันตระของฮินดูมาปฏิบัติแล้วเรียกในชื่อใหม่ว่า พุทธตันตระ ซึ่งเป็นการขัดต่อคำสอนของพุทธศาสนาดั้งเดิม คำว่าพุทธตันตระหมายเอาพุทธศาสนาในยุคหลัง อันมีมนตรยาน วัชรยานและสหัสยาน ลัทธินี้ก่อนที่จะเสื่อมจากอินเดียได้ไปเจริญรุ่งเรืองในประเทศธิเบต เนปาล และภูฐาน เมื่อพุทธศาสนาถือเอาลัทธิตันตระมาผสมผสานกับศาสนาของตนจึงไม่มีความแตกต่างจากฮินดู ทำให้ห่างจากหลักการเดิมออกไปทุกที

    8. ถูกทำลายจากกษัตริย์ต่างศาสนา

    ยามที่ผู้ปกครองนับถือพุทธศาสนา ศาสนาทุกศาสนาจะได้รับการปกป้องคุ้มครองเสมอ เพราะชาวพุทธมีความเมตตาอารี มีความเอื้อเฟื้อเผื้อแผ่ แต่เมื่อคราใดที่ผู้ปกครองนับถือศาสนาอื่น เช่น ฮินดู หรือ มุสลิมแล้ว พุทธศาสนามักจะถูกทำลายเสมอ เช่น ในสมัยของพระเจ้าศศางกะ พระเจ้าปุษยมิตร พระเจ้ามิหิรกุล ทั้งสามนับถือศาสนาฮินดู ได้ทำลายพุทธศาสนาลงอย่างมากในสมัยที่ตนเองปกครองอยู่ ต่อมาเมื่อกองทัพมุสลิมเข้ายึดครองแล้ว พุทธศาสนาก็ถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง เช่น โมฮัมหมัด เบนกาซิม โมฮัมหมัด ขิลจิ, บาบูร์ เป็นต้น

    นี่เป็นเพียงประวัติศาสตร์แล็กน้อยที่เคยเกิดและเสื่อมลง เราเองก็นำบทเรียนมาปรับใช้ในบ้านได้เพื่อรักษาพุทธศาสนาให้ดำรงกับบ้านเมืองนี้ให้นานเท่านานที่สำคัญคือการทำหน้าที่ของเราให้สมบุรณ์


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row2><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. Nakraksa

    Nakraksa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    3,481
    ค่าพลัง:
    +14,350
    555 ขำอ่ะ ท่าทางคุงกิ่งจะเริ่มไม่มั่นใจตัวเองนะเนี่ย
     
  14. Nakraksa

    Nakraksa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    3,481
    ค่าพลัง:
    +14,350
    นุ้งยาคับ ส่งมาให้ที่อึแมวได้ป่ะคับ เพชรออนเอ็มไม่ได้คับ ต้องอ้อนหนุ่มๆITมาก่อน แต่ตอนนี้ยังไม่มีใครมาอ่ะ
     
  15. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    ไปไหนกันหมดนะกระทู้นี้ เงียบจาง
     
  16. Nakraksa

    Nakraksa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    3,481
    ค่าพลัง:
    +14,350
    เค้าไปออนกันอยู่ที่อื่นปะ มีหลายเมือง วิ่งรอกกันไม่ทัน
     
  17. ภัทรอังคาร

    ภัทรอังคาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    4,904
    ค่าพลัง:
    +14,098
    5555 ใช่แล้ววิ่งอยู่ 3 เมืองจนหัวหมุนไปหมด ยังจะมาเรียกหาอีก ไม่รู้จะไปเมืองไหนแล้วเนี่ย เข้าออกจนสับสนไปหมดแล้ว
     
  18. Nakraksa

    Nakraksa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    3,481
    ค่าพลัง:
    +14,350
    โห อย่าเพิ่งฉับฉนค๊าบ เด๋วก็เลิกงานแว้ว พรุ่งนี้มาวิ่งใหม่
     
  19. ภัทรอังคาร

    ภัทรอังคาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    4,904
    ค่าพลัง:
    +14,098
    มางอยากอยู่เป็นที่เป็นทางวิ่งรอกแล้วมางเหนื่อย อิอิอิ แต่ก็อยู่มะได้เพราะต้องเฝ้าทั้งสามนคร ว่าแต่วันนี้นครปุยฝ้ายยังไม่ได้เสด็จไปเลย เฮ้อ กำ เดี๋ยวอะไรเล่า เค้าเลิกงานตั้ง 6 โมงแนะ รู้ป่ะ:'(
     
  20. Nakraksa

    Nakraksa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    3,481
    ค่าพลัง:
    +14,350
    แง๊ว ทำงานสายอะดิ๊พี่อุ้ม เพชรทำตั้งแต่ 7.30 เลิก 16.30 อ่ะ เตรียมเก็บของแระ
     

แชร์หน้านี้

Loading...