ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,105
    อนุโมทนาและสาธุบุญด้วยจ้า...ฝากความคิดถึงๆ น้องป๊อบอายธิติด้วยครับ อยู่อังกฤษ ถ่ายรูปมาโพสท์บ้างก็จะดีเน๊อะ

    [​IMG]

    จ๊ะเอ๋! ขอบคุณครับเพ่..
     
  2. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    พุทธศาสนสุภาษิต : สิ่งที่เป็นการยาก
    • กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ
      ความได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก
    • กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
      ความเป็นอยู่ของสัตว์เป็นการยาก
    • กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
      การฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นการยาก
    • กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท
      ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้เป็นการยาก
    • ทุลฺลภํ ทสฺสนํ โหติ สมฺพุทฺธานํ อภิณฺหโส
      การเห็นพระพุทธเจ้าเนืองๆ เป็นการหาได้ยาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2009
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,105
    เรื่องที่ไม่เคยรู้มาก่อน
    <!-- Main -->ข่าวจากไทยรัฐ คัมภีร์จากแผ่นดิน


    พระเจ้าตากล่องหน [19 ต.ค. 51 - 16:53]

    เรื่อง พระเจ้าตากสินล่องหน หลบท่อนจันทน์ คุณรังสรรค์ นิลฉ่ำ ตั้งชื่อรองไว้ เหมือนบอก เจตนา ไว้ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนตุลาคม 2551 ว่า เป็นประวัติศาสตร์ชาวบ้าน ประวัติศาสตร์แห่งจินตนิยาย

    ต้นเรื่องนี้มาจากหนังสือ ชุดบันทึกแผ่นดิน ตอน เหตุเกิดในสยาม คุณโรม บุนนาค ยกประวัติศาสตร์ที่ถูกเขียนไว้ และรู้กันทั่วไปว่า ปลายรัชสมัยพระเจ้าตากสิน หลังเสร็จศึกใหญ่แล้ว พระเจ้าตากสินก็มิได้เสด็จนำทัพอีก ปล่อยให้

    เป็นหน้าที่ของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับเจ้าพระยาสุรสีห์

    ช่วงเวลานี้พระเจ้าตากทรงฝักใฝ่ในวิปัสสนากรรมฐาน จนถึงขั้นคิดว่าบรรลุโสดาบัน บังคับให้พระสงฆ์ กราบไหว้ สงฆ์องค์ใดไม่กราบไหว้ก็ให้เอาไปเฆี่ยนตีทั้งผ้าเหลือง

    พระเจ้าแผ่นดินไม่อยู่ในทศพิธราชธรรม ขนาดพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ยังถูกเฆี่ยนตี ประชาชีธรรมดาจะไปเหลืออะไร ประวัติศาสตร์จึงเขียนตอนนี้ว่า อาณาประชาราษฎร์เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า

    พระยาสรรค์เป็นกบฏ จับพระเจ้าตากสินคุมขัง เมื่อเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์กลับจากศึก ก็จับพระยาสรรค์ประหาร บรรดาอาณาประชาราษฎร์ ข้าราชการเสนาบดีทั้งปวง จึงพร้อมกันอัญเชิญเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ขึ้นครองราชย์

    แล้วพิพากษาโทษพระเจ้าตากสิน โดยการสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์

    ประวัติศาสตร์ชุดนี้ โรม บุนนาค เขียนว่า คนกลุ่มหนึ่งไม่เชื่อ โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราชยิ่งมั่นใจว่า พระเจ้าตากสินไม่ได้ถูกสำเร็จโทษ แต่ หลบมาจำศีลอยู่ ณ วัดเขาขุนพนม อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช

    ต้นตอของความเชื่อนี้ ผู้ดูแลพระตำหนักพระเจ้า ตากสิน ชื่อสมจิต ทองสมัคร เป็นคนเล่าและก็เล่าต่อๆกันไป...เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก พม่าได้กวาดเอาทรัพย์สินในท้องพระคลังไปหมด พระเจ้าตากจะสร้างกรุงธนบุรี ทรงไม่มีเงิน ต้องกู้เงินจำนวนมากจากชาวจีน ถึงเวลาเจ้าหนี้ทวง ก็ทรงหาเงินใช้หนี้ไม่ได้

    แผนการหนี้ ทรงดำริที่จะยกราชสมบัติให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เพราะเห็นว่าเข้มแข็งกว่าพระราชโอรส รักษาบ้านเมืองได้ จากนั้นก็ทรงแสร้งเป็นคนวิกลจริต

    กฎหมายสมัยนั้น...สัญญากู้เงินทั้งหลายจะกลายเป็นโมฆะ ถ้าผู้กู้ถึงแก่วิกลจริต หนี้สินก็จะมิตกแก่ทายาท

    ส่วนการเฆี่ยนตีพระสงฆ์ ผู้เล่าว่า เป็นนักโทษโกนหัวห่มเหลือง มาถูกเฆี่ยนแทนพระจริง

    พระยาสรรค์ ไม่ได้รู้แผนการ จึงจับพระเจ้าตากสินซึ่งทรงผนวช บังคับให้สึกแล้วจองจำ 4 วัน หลังถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ก็มีเรือสำเภาลำหนึ่ง มีคนในเรือ 10 คน ไปถึงฝั่งนครศรีธรรมราช แล้วคนกลุ่มนั้นก็เดินทางด้วยช้าง ไปวัดเขาขุนพนม

    อีก 4 ปีต่อมา พระเจ้าตากสินก็สวรรคตด้วยไข้ป่า หลักฐานประกอบ ที่วัดเขาขุนพนม มีพระพุทธรูปทองคำ เงิน สัมฤทธิ์ และจานชามเขียนสีสวยงาม แสดงว่าเจ้าของไม่ใช่ชาวบ้านธรรมดา

    เรื่องเล่าเรื่องนี้ ยังมีเพลงที่ชาวนครศรีธรรมราชร้อง...กล่อมเด็ก

    “สงสารเอ๊ย...สงสารแป๊ะหนวดยาวเราสิ้นทุกข์ เอาศพใส่โลงดีบุก ค้างไว้ในดอนดง ลูกเจ้าจอมหม่อมหลัด (ปลัด) เอ๊ย มาช่วยกันถือฉัตรถือธง ค้างไว้ในดอนดง ก่อนปลงบนเมรุใหญ่เอย”

    นอกจากเพลงนี้แล้ว ยังมีเรื่องเล่าต่อว่า พระอัฐิในโลงดีบุกนั้น ถูกบรรจุไว้ในเจดีย์ดำ หน้าเจดีย์มีอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินตั้งอยู่

    ส่วนประเด็น ใคร? ถูกทุบด้วยท่อนจันทน์ ตายในกระสอบ เรื่องเล่าเดียวกันก็บอกว่า ชื่อนายมั่น นายมั่นเป็นคนไทยที่จงรักภักดี ตั้งใจยอมตายแทนเจ้า เพื่อเอาบ้านเมืองให้รอด.


    BlogGang.com : : vj01 :
     
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,105
    ธรรมโมบาย ท่าน ป.อ. ปยุตฺโต


    <!-- Main --><CENTER>
    การปฏิบัติธรรมเราจะรู้ว่าถูกต้องหรือไม่พิสูจน์ได้อย่างหนึ่งคือ
    จิตจะต้องมีความ ปราโมทย์, ปิติ, ปัสสัทธิ, สุข, สมาธิ
    ถ้าจิตมีธรรม ๕ ประการนี้แล้วการปฏิบัติธรรมก็จะก้าวหน้าไปด้วยดี

    <CENTER>

    <CENTER>
    เรื่องการปล่อยวางนั้นปล่อยวางได้ แต่ปล่อยปละละเลย
    เป็นความประมาท เป็นอกุศล เป็นความเสื่อม
    <CENTER>

    <CENTER>
    อุเบกขาที่ถูกต้องนั้นต้องมีปัญญารู้ แล้ววางเฉยได้ด้วยความไม่ประมาท
    ส่วนอุเบกขาที่ผิดคือ พวกเฉยด้วยความไม่รู้ จึงเฉยเมยแล้วไม่เอาเรื่องเอาราวอะไร นี่ต้องระวังเรื่องอุเบกขาให้ดีๆ

    </CENTER></CENTER>
    </CENTER></CENTER>
    </CENTER>
     
  5. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    พุทธศาสนสุภาษิต : พระราชา
    • ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ
      พระราชาเป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น
    • ราชา มุขํ นุสฺสสานํ
      พระราชาเป็นประมุขของประชาชน
    • สพฺพํ รฏฺฐํ สุขํ โหตุ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก
      ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข
    • กุทฺธํ อปฺปฏิกุชฺฌนฺโต ราชา รฏฺฐสฺส ปูชิโต
      พระราชาผู้ไม่กริ้วตอบผู้โกรธ ราษฎรก็บูชา
    • สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ
      พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบย่อมสง่า
    • ขตฺติโย เสฏฺโฐ ชเนตสฺมิง เย โคตฺตปฏิสาริโน
      พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยสกุล
    ขอขอบคุณ
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,105
    ทาน กับ จาคะ บุญเหมือนกัน แต่ก็แตกต่างกัน...
    <!-- Main -->"นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" ....ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น
    -----------------------------------------
    ทาน คือการให้ การให้ก็มีทั้งวัตถุทาน และธรรมทาน
    วัตถุทาน(บ้างก็เรียกว่าอามิสทาน) มีอะไรบ้าง
    กล่าวคือ มี ๑๐ อย่าง คือ “ข้าว น้ำ ผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม ของลูบไล้ ที่นอน ที่พักอาศัย และประทีปโคมไฟ
    กับทานอีกอย่างหนึ่ง คือธรรมทาน การให้ความรู้ เผยแพร่ธรรมะ แสดงธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อริยสงฆ์ เป็นต้น
    ลักษณะของการให้ทานนั้นมี ๒ ลักษณะ กล่าวคือ
    ๑. ทานที่เป็นไปเพื่ออาสวะ คือทานที่สามารถหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดไปได้ (ธรรมทาน อภัยทาน เป็นต้น)
    ๒. ทานที่ไม่เป็นไปเพื่ออาสวะ คือ ให้เพื่อหวังความสุขอยู่ในสังสารวัฏ เพื่อหวังผลตอบแทน เพื่อประโยชน์อื่นอันมิได้เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น

    ทานนั้น ยังไม่ได้มุ่งความหวังความหลุดพ้นของใจที่มีกิเลส ก็คล้ายกับคนที่มีศีล แต่ยังไม่มีสมาธิ ไม่มีปัญญา
    ทาน นั้นเหมาะสำหรับนักปฏิบัติที่เริ่มอยากจะเข้ามาเรียนรู้ เข้าใจในพระพุทธศาสนา เป็นคำตรัสสอนเบื้องต้น
    ของผู้ที่มีศรัทธาก่อน


    จาคะ
    จาคะ คือการสละ เราจะเห็นได้ว่าธรรมโดยมาก เน้นที่ จาคะการสละ โดยมาก
    เช่น
    อริยทรัพย์ ๗
    ทรัพย์ คือคุณความดีที่มีอยู่ในสันดานอย่างประเสริฐ เรียกอริยทรัพย์ มี ๗ อย่าง คือ
    ๑. สัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ
    ๒. สีล รักษา กาย วาจา ให้เรียบร้อย
    ๓. หิริ ความละอายต่อบาปทุจริต
    ๔. โอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อบาป
    ๕. พาหุสัจจะ ความเป็นคนเคยได้ยินได้ฟังมาก คือ จาทรงธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก
    ๖. จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนให้แก่คนที่ควรให้ปัน (ไม่ทรงตรัสว่าทาน)
    ๗. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์

    ธรรมของฆราวาส ๔
    ๑. สัจจะ สัตย์ซื่อแก่กัน
    ๒. ทมะ รู้จักข่มจิตของตน
    ๓. ขันติ อดทน
    ๔. จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน (ไม่ทรงตรัสว่าทาน)

    อธิษฐานธรรม คือธรรมที่ความตั้งไว้ในใจ ๔ อย่าง
    ๑. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้
    ๒. สัจจะ ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง
    ๓. จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ (ไม่ทรงตรัสว่าทาน)
    ๔. อุปสมะ สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ


    ที่นำมากล่าวเป็นตัวอย่างทั้งหมดนั้น เพราะพระพุทธองค์อยากให้ผู้ที่ต้องการจะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
    ได้สามารถเรียนรู้ เพื่อจะได้เป็นทางก้าวเดินพัฒนาจิตใจของตนเอง ให้มากยิ่งขึ้น
    หากจะเปรียบ ท่านก็เปรียบธรรมดั่งทะเล ผู้รู้น้อย ก็อยู่ใกล้ฝั่ง ผู้รู้แจ้งธรรมก็เหมือนอยู่ส่วนที่ลึกของทะเล เป็นไปตามลำดับ


    "จาคะ"ในบารมี ๑๐ ?,
    แต่หากจะมีข้อสงสัยว่า เหตุใด ทาน นั้นจึงเข้าจัดอยู่หนึ่งในบารมี ๑๐ ของพระพุทธเจ้า จาคะทำไมไม่มี
    ถ้าเราจะศึกษาเหตุของการสำเร็จบารมีทั้ง ๑๐ แล้ว จาคะอยู่ในบารมีทั้ง ๑๐ ทั้งสิ้น ด้วยเพราะเหตุใด
    ข้าพเจ้าจักขอนำมาแสดงให้เข้าใจ ดั่งนี้
    ๑. ทานบารมีี สละในสิ่งที่มี สละในความยึดมั่นถือมั่น
    ๒. ศีลบารมี สละในความเป็นผู้ไม่มีศีล
    ๓. เนกขัมมบารมี สละในการอยู่ครองเรือน สละการใช้ชีวิตอย่างผู้ครองเรือน
    ๔. ปัญญาบารมี สละในความโง่เขลา เบาปัญญา ความไม่รู้
    ๕. วิริยบารมี สละในความเกียจคร้าน ความเบื่อหน่ายความเพียร
    ๖. ขันติบารมี สละในความท้อถอย ความหดหู่
    ๗. สัจจะบารมี สละในความเป็นผู้หลอกลวง ไม่จริงใจ ไม่มีสัจจะ
    ๘. อธิษฐานบารมี สละในความไม่ตั้งใจไว้ให้ตรงต่อความดี
    ๙. เมตตาบารมี สละในความเป็นผู้ผูกโกรธ อาฆาต จองเวร
    ๑๐. อุเบกขาบารมี สละในความเป็นผู้มีความไม่วางเฉยต่ออารมณ์ทั้งที่น่าปราถนา และไม่ปราถนา
    ทั้งที่เป็นที่รักและเป็นที่ไม่น่าใคร่

    การสละก็คือจาคะ นั่นเอง

    ก็เหตุใดข้าพเจ้าจึงกล่าวอย่างนั้น ก็ด้วยเพราะเหตุพระโพธิสัตว์นั้นยังมิได้ถึงความสิ้นไปแห่งกิเลสทั้งหลายเลย แท้จริงพระโพธิสัตว์นั้นยังมีกิเลสอยู่ เพียงแต่ต้องอาศัยการสละ ยิ่งสละได้มากเท่าใหร่ การที่จะบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ก็ใกล้มากขึ้นเท่านั้น การสละอันเต็มเปี่ยมก็คือ การบำเพ็ญบารมีครบทั้ง ๑๐ ประการ
    กำลังของการ(พยายาม)สละออก เพื่อให้บารมีทั้ง๑๐ ประการเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ ท้ายที่สุดก็เป็นกำลังอันแรงกล้า ทำลายถอดถอนกิเลสของพระองค์ได้จนหมดสิ้น และสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า

    การจะเข้าใจความหมายคำว่า จาคะนั้น จะต้องใช้ปัญญาพิจารณามากสักหน่อยหนึ่ง
    ด้วยเพราะเป็นธรรมที่ทรงตรัสเกี่ยวข้องกับใจโดยตรง เป็นนามธรรม (ทานเป็นนามธรรมและรูปธรรม)
    การทำบุญแต่ไม่อุทิศ นี่คือได้บุญจากการทำทาน แต่ไม่ได้บุญจากการเสียสละ
    คือทำเพื่อยึดติด อันนี้เป็นภัยอย่างหนึ่งของทานทำไปโดยขาดจาคะ ขาดปัญญา คือทำเพราะอยากรวยบ้าง อยากให้ถูกรางวัลบ้าง ทำเพราะอยากเอาหน้า เป็นต้นอย่างนี้

    นอกจากนี้ จาคะ ไม่ได้หมายถึงการสละ อย่างเดียว
    แต่ จาคะ ยังหมายถึง “ไม่เอา” ได้อีกด้วย


    เช่น ในห้องเรียน มีเด็กนักเรียนอยู่ทั้งหมด ๑๐ คน แต่มีขนมให้เด็กๆได้เพียง ๙ คนเพราะมีเพียง ๙ ชิ้น
    มีเด็กนักเรียนคนหนึ่งบอกครูว่าตนไม่เอา(สละ)ขนมนั้น เป็นต้น
    การกระทำของเด็กนักเรียนคนดังกล่าวก็คือการสละ เป็นจาคะเช่นกัน
    และเป็นจาคะที่ต่อยอดเป็นทานต่อไป(บางคนได้ก่อน มาแบ่งที่หลังอย่างนี้เป็นทานมากกว่าจาคะ)

    แล้วเราจะรู้จาคะไปเพื่ออะไร รู้ทานอย่างเดียวได้ไหม?
    ขอตอบว่า ก็ได้หากจะหวังเพื่อความสุขอยู่ในสังสารวัฏนี้ เพราะทานนี้เป็นบุญให้ผลเป็นความสุขอย่างแน่นอน
    แต่หากจะหวังหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดแล้วการเข้าใจเพียงคำว่า ทานนั้น คงไม่เพียงพอ จำต้องจะเข้าใจจาคะนี้เสียให้ได้ด้วย
    บางคนทำทานเพราะกลัวความตาย แต่คนมีจาคะทำทานเพราะกลัวความเกิด
    บางคนทำทานเพราะอยากให้จิตใจบริสุทธิ์ จะได้เข้าถึงนิพพานบ้าง
    คนมีจาคะทำทานเพื่อมุ่งสละกิเลสตัณหา แล้วนิพพานก็แจ้งแก่เขาเองเมื่อสละกิเลสได้ทั้งหมด

    สิ่งที่ควรเข้าใจ
    จาคะนั้น ไม่ได้ใช้จำเพาะเจาะจงในทาน เพียงเท่านั้น เพราะใช้บ่อยร่วมกันจึงอาจจะเข้าใจว่าเป็นอย่างเดียวกัน หามิได้
    จาคะใช้ได้กับการปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อกุศลได้ทั้งสิ้น เช่น ใครด่าว่าเราเราอาจจะโกรธ เราก็จาคะสละความโกรธเสีย
    หรือ เราอยากได้ อยากมี ในสิ่งที่ไม่ควรมีควรได้ เราก็ควรสละความอยากมีอยากได้นั้นเสีย




    ....นี่คือความสุขุม ลุ่มลึก ในธรรมของพระพุทธเจ้าที่ทรงตรัสสอนแก่เราท่านทั้งหลายไว้
    จะผิดหรือถูก ขอให้พิจารณาเถิด สิ่งใดที่ข้าพเจ้ากล่าวผิดพลาดพลั้งไป ข้าพเจ้าขออภัยมา ณ.ที่นี้
    ขออนุโมทนาสาธุครับ




    ...............ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร
    ในความบทหนึ่งมีว่า
    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ
    สาธุ....

    จากคุณ : ใจพรานธรรม
    เขียนเมื่อ : 17 พ.ย. 52 00:50:27


    Bloggang.com : 㨾
     
  7. benyapa

    benyapa ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,088
    ค่าพลัง:
    +5,431
    รอร่วมบุญอยู่นะคะพี่เสือ สิ้นปีพบกันนะคะ สาธุค่ะ
     
  8. BD

    BD เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +419
    เรื่องราวของพระเจ้าตากนี้มีบันทีกอยู่อย่างละเอียดในหนังสือชุด สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตอนความหลงในสงสาร เขียนจากคำบอกเล่าของพระธรรมสิงหบุราจารย์(หลวงพ่อจรัล) วัดอัมพวันโดยสุทัสสา อ่อนค้อม หาซื้ออ่านได้ที่วัดและร้านหนังสือทั่วไปครับ
    พระองค์ท่านบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ที่ถ้ำแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรีในวันสุดท้ายของพระชนม์ชีพด้วยกฎแห่งกรรมของพระองค์ท่านเอง ท่านเป็นศิษย์รับกรรมฐานกับหลวงพ่อในป่าอาจารย์องค์เดียวกันกับหลวงพ่อจรัล คือหลวงพ่อดำหรือที่อ.ประถมบอกว่าคือพระอุตตระเถระนั่นเอง ถ้ามีโกาสผมจะคัดลอกบางส่วนของหนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ท่านมาบอกเล่าให้สมาชิกได้รับทราบ รับรองว่าลึกลับซับซ้อนน่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง
     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,105
    เกิดมาทั้งทีทำดี 3 กรรม
    <!-- Main -->[​IMG]

    ทุกท่านที่เกิดมาเป็นคนนั้น จะทำอะไรถึงจะดี ก็จะขอสรุปว่า
    การที่เราเกิดมาเป็นคนนั้น ไม่ใช่ดีเฉพาะโลกเดียว ดีมันต้องดี 2 โลก โลกที่แล้วไม่ต้องไปพูดถึง
    แต่ว่าโลกนี้และโลกหน้า "สุขในโลกนี้ และดีในโลกหน้า" จะทำอย่างไร เรื่องนิพพานก็ยังไม่อยากพูดถึง

    "สุขในโลกนี้ และดีในโลกหน้า" ขอสรุปว่า "เกิดมาทั้งทีทำดี 3 กรรม เป็นทุนหนุนนำตายแล้วไปสวรรค์"
    นี่คือ "สุขในโลกนี้ และดีในโลกหน้า"

    "ดี 3 กรรม" คืออะไร 1. กรรมกิจ 2. กรรมบท 3 . กรรมฐาน

    "กรรมกิจ"
    ได้แก่ หน้าที่การงานต้องดี ต้องมีความรู้ รู้แล้วเป็น คือ ไม่ใช่รู้แล้วไม่เป็น ประเภทความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
    เมื่อเราทำกรรมกิจในฐานะที่เราเป็นกรรมกร คือทำหน้าที่การงาน ก็ต้องทำให้ประสบความสำเร็จ
    คนที่ประสบความสำเร็จในอาชีพการงานนั้น ก็มีเงินมีทองใช้จ่ายใช้สอยเป็นทุน
    อย่างนี้ "อยู่ก็ไม่ร้อน นอนก็ไม่ทุกข์" ลูกเมียก็สบาย ลูกผัวก็สบาย ดังนั้นเรื่องกรรมกิจนี้ก็หมายถึงว่า
    " ทำแล้วมีเงินทองอย่างสมบูรณ์ " ก็มีความสุข


    "กรรมบท"
    ข้อนี้เป็นข้อที่พัฒนาตนเองไปสู่ความเคารพนับถือ ได้แก่ มีศีล กรรมบทไม่ต้องไปพูดถึงอะไรมาก คือ
    พูดถึง "ศีล" อย่างเดียว อย่างไรก็ตามไม้มีดอกผล คนต้องมีศีล เราจึงเห็นว่าศีลนั้นสำคัญ
    1. ศีลส่งทำให้สูง
    2. ศีลปรุงทำให้สวย
    3. ศีลนำทำให้รวย
    4. ศีลช่วยทำให้รอด

    นี่ก็คือการเกิดมาเป็นคนต้องมีศีล เพราะศีลเป็นบันไดทองของชีวิต ทำให้เราได้รับความเคารพนับถือ
    คนไม่มีศีลนั้นใครจะไหว้ การจัดลำดับของคนนั้นเขาเรียกจัดลำดับตามศีล ไม่มีศีล เขาก็เรียก "ไอ้" เรียก "อี"
    แต่มีศีลเขาก็เรียก "พ่อ" เรียก "แม่" เรียก "คุณ" ดังนั้น กรรมบทเรื่อง "ศีล" เป็นเรื่องสำคัญ เป็นขั้นที่ 2

    และสุดท้ายอีกกรรมคือ "กรรมฐาน"
    กรรมฐานคือ "สมถกรรมฐาน" ใจต้องนิ่ง ใจต้องแน่ ใจจะได้ไม่เน่า
    และเรื่องของวิปัสสนากรรมฐาน ต้องสว่างไม่ใช่มืดบอด เมื่อเรารู้เรื่องกรรมฐาน
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ไตรลักษณ์" ให้เห็นว่า
    "อนิจจัง….ไม่เที่ยง"
    "ทุกขัง….คงสภาพอยู่ไม่ได้"
    "อนัตตา….ไม่ใช่ของเรา ต้องแตกสลายหายไปทุกคน"

    ถ้า " 3 กรรม" นี้แล้ว "กรรมกิจ กรรมบท กรรมฐาน" ถือว่าเป็น "กรรมที่สมบูรณ์แบบ" อยู่ก็สบาย ตายก็ไปสู่สุคติ
    พระพุทธเจ้าสรรเสริญสำหรับบุคคลที่ทำ 3 กรรมนี้ จึงขอฝากให้ท่านทั้งหลายเอาไว้เป็นข้อคิด ข้อปฏิบัติ


    โดย : พระพิพิธธรรมสุนทร วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
    ที่มา http://www.watthummuangna.com/board/forumdisplay.php?f=21&page=12&order=desc
    ภาพจาก googig.com
     
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,105
    อุบายเช็ดน้ำตา
    <!-- Main -->
    [​IMG]

    มีครอบครัวชาวนาครอบครัวหนึ่ง อยู่ด้วยกันทั้งหมด ๖ คน
    มีพ่อแม่ ลูกชาย ลูกสาว ลูกสะใภ้ และหญิงคนใช้ ถึงฤดูทำนาพ่อกับลูกชายก็ออกไปไถนา
    ส่วนพวกผู้หญิงก็ผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้นำอาหารไปส่ง

    วันหนึ่งเกิดเหตุร้าย ลูกชายถูกงูเห่ากัด พ่อแก้ไขไม่ทัน จึงถึงแก่ชีวิตกลางนานั่นเอง

    พ่ออุ้มร่างที่ไร้ชีวิตของลูกมาวางพาดไว้บนคันนา พิจารณาเกิดธรรมสังเวชแล้วก็หันเข้าจับคันไถ ไถนาต่อไป
    มีใครคนหนึ่งผ่านมา จะผ่านไปทางบ้าน เขาจึงฝากสั่งไปถึงพวกบ้านว่า
    วันนี้ให้นำอาหารมาเพียงส่วนเดียวและขอให้ออกมาให้หมดทุกคน

    เมื่อพวกผู้หญิงทางบ้านออกมาถึงนา รู้เรื่องร้ายก็พากันไปยืนดูร่างของชายหนุ่ม
    ซึ่งเคยเป็นลูก, เป็นผัว, เป็นพี่, เป็นนายของแต่ละคนมา เกิดความสังเวชแล้วก็หักใจ
    แยกย้ายกันลงไปเก็บขี้ดินขี้หญ้าปรับปรุงพื้นนาทำงานต่อไป เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

    ขณะนั้น มีชายแปลกหน้าคนหนึ่ง ไม่มีใครทราบว่าเขามาถึงที่นั้นแต่เมื่อไร
    เขามองร่างชายหนุ่มที่นอนตายอยู่บนคันนา แล้วก็ซักถามทุกคนในที่นั้น เริ่มแต่พ่อ เขาถามว่า
    “ลูกชายของท่านที่นอนตายอยู่นี้ สมัยมีชีวิตอยู่เขาคงเป็นลูกที่เลวร้ายมากซีนะ
    ท่านจึงไม่เสียใจ ร้องไห้อาลัยเขา ?”

    ชายผู้พ่อตอบว่า
    “ลูกชายเป็นคนดีมาก คนดีอย่างนี้จะมาเป็นลูกสักกี่คนก็ไม่หนักใจ เพราะเขาไม่เคยทำความยุ่งยากให้เลย
    ส่วนเหตุที่ไม่ร้องไห้นั้น ก็เพราะคิดเห็นว่าความตายของคนก็เหมือนงูลอกคราบ
    งูเมื่อมันสละลอกคราบเก่าทิ้งแล้ว มันก็เลื้อยไปอย่างไม่อาลัย แม้แต่จะเหลียวกลับหลังมาดู ฉันใด
    ดวงวิญญาณที่ออกจากร่างสัตว์แล้วก็ฉันนั้น มีบางเวลาเหมือนกันที่เผลอจะร้องไห้
    แต่พอนึกถึงคราบงูแล้วก็อาย กลัวงูมันจะหัวเราะเยาะเอา ที่ไปนั่งร้องไห้อยู่กับคราบของมัน”

    หันมาถามหญิงผู้เป็นแม่ แม่ก็บอกว่า “ลูกคนนี้เมื่อก่อนที่จะมา (เกิด) เป็นลูก เขาก็ไม่ได้บอก ได้เกริ่นให้รู้ตัว
    ฉะนั้น เวลาไป (ตาย) เขาก็ไม่ได้บอกได้ลา เลยไม่ยอมเสียน้ำตาให้แก่คนไม่มีมารยาทขาดวัฒนธรรมเช่นนี้”

    ถามผู้เป็นภรรยาบ้าง นางตอบว่า
    “การร้องไห้จะเอาดาวเอาเดือน ดูเหมือนจะมีท่าฉลาดกว่าร้องไห้จะให้คนตายแล้วฟื้น
    เพราะดาวเดือนยามตกอับลับแสงรัศมีไปแล้ว มันยังเคยเวียนโผล่มาให้ดูให้ชมในค่ำคืนต่อไป
    ส่วนคนตายแล้วไม่เห็นมีสักรายที่จะฟื้นคืนมา จึงไม่ยอมเสียเวลาร้องไห้”

    เมื่อหันไปถามน้องสาวบ้าง
    หล่อนตอบว่า “หนูยังสาวมีค่าราคาตัวอยู่ที่นวลของใบหน้า
    การร้องไห้จะทำให้หน้าของหนูเสียนวล หนูเสียดายนวลบนใบหน้า จึงไม่ร้องไห้”

    ส่วนหญิงคนใช้ตอบว่า
    “หม้อดินมันแตกแล้วประสานไม่ติด ไร้ประโยชน์หมดคุณค่าฉันใด คนที่ตายแล้วก็ฉันนั้น
    ร้องไห้เศร้าโศกไปอย่างไร เขาก็ไม่อาจจะฟื้นคืนมาเป็นนายให้ความปกป้องคุ้มครองเราได้อีก”

    ชายแปลกหน้าแปลกใจยิ่งขึ้น เมื่อฟังคำตอบของแต่ละคน
    แม้จะตอบไปต่างๆ กัน แต่ก็มีประโยชน์สำหรับตัวผู้ตอบ เพราะมันสามารถที่จะสกัดกั้นน้ำตาได้
    เป็นเหตุผลที่จะช่วยให้ทุกคนพ้นจากการเศร้าโศก ทุกข์ระทม
    จึงยอมรับว่าเหตุผลของแต่ละคนนั้นมีประโยชน์ จึงถามต่อไปว่าเขาทำใจอย่างนี้ได้อย่างไร ?

    ชายผู้หัวหน้าครอบครัวตอบว่า
    เราเจริญกรรมฐานบทหนึ่งเป็นประจำคือ “มรณัสสติ” วันหนึ่งๆ ต้องพยายามนึกถึงความตายให้ได้ชั่วระยะหนึ่ง
    จนกระทั่งรู้สึกว่าความตายเป็นสมบัติของเรา ชายแปลกหน้ากล่าวคำขอบใจ แล้วก็จากไป


    โดย หลวงตาแพรเยื่อไม้
    ที่มา http://www.watthummuangna.com/board/archive/index.php/t-820.html
    ภาพจาก
     
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,105
    เทพีชาวบ้านข้างวัง ดูแล้วยสวยดี เลยก๊อปมาให้ชมกันทั้งชุดครับ แต่ชื่อรุ่นเค้าตั้งชื่อเอง ไม่มีลิขสิทธิ์ จะเอาไพเราะเลิศเลอ หรือขลังแบบนักรบได้ทั้งนั้น เพราะไม่มีมาตรฐานอยู่แล้ว





    <CENTER>สมเด็จวังหน้า รุ่นซ่อมเพดานวัดพระแก้ว หายากแล้วก็สวยมั๊กๆ</CENTER>
    <TABLE borderColor=#f0f0f0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="75%" align=center bgColor=#f0f0f0 border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>รายละเอียด
    [​IMG]


    [​IMG]



    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    Powered by : 212cafe.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2009
  12. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    วันนี้ได้นำเงินไปถวายหลวงปู่เยี่ยม วัดประดู่ทรงธรรมถึงวัดที่จังหวัดอยุธยา ท่านป่วยเป็นอัมพาธและเจาะคอใส่สายยางอยู่จึงไม่สามารถพูดอะไรได้มากนัก แต่แววตาที่เปี่ยมด้วยเมตตา สีหน้าที่อิ่มเอิบในวัยที่ใกล้90ปี นับว่าหาได้ยากยิ่ง ผมนำเงินที่ทางทุนนิธิฯถวาย10000บาท ตัวผมและแม่เพิ่มอีก1500บาท รวมเป็น 11500บาท มาชมภาพกันครับ

    [​IMG]

    [​IMG]

    ภาพอาจดูไม่ชัดเพราะถ่ายจากโทรศัพท์ครับ
     
  13. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    ขอโมทนาบุญกับพี่โสระและทุกๆท่านด้วยครับ
    เอ
     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,105
    เช่นเดียวกัน ในวันอาทิตย์นี้ หลังจากเสร็จจากงานบุญที่ รพ.สงฆ์แล้ว คณะทุนนิธิฯ มีแผนที่จะเดินทางไปกราบนมัสการท่านหลวงปู่ครูบาดวงดีที่ รพ.บำรุงราษฏร์ด้วย โดยจะไปมอบปัจจัยเพื่อช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลท่าน หากใครจะสมทบทุนเพิ่มเติมก็บริจาคร่วมมาที่บัญชีของทุนนิธิฯ ได้ครับ โดยผมมีทุนนิธิฯ มีทุนตั้งต้นให้แล้ว 10,000.-บาท ส่วนที่บริจาคเพิ่มข้ามา ผมจะได้ถอนเงินออกจากบัญชีเพิ่มเติมครับ

    สำหรับงานบุญประจำเดือนนี้ ลืมบอกไป ผมมีชายอังสะของท่านหลวงปู่โสฯ ที่ผ่านการอธิษฐานจิตเป็นกรณีพิเศษสำหรับทุนนิธิฯ แจกให้ทุกท่านที่ไปร่วมงานด้วยครับ
     
  15. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    ผมได้นั่งอ่านอยู่เป็นพักๆ ก็นึกคิดได้ว่า

    นับว่าพอมีวาสนาอยู่บ้างนะ

    ที่ได้ทำความดีในแบบนี้

    เป็นการยากนะที่จักทำบุญ ด้วยใจที่อยากทำบุญ และได้ทำบุญแบบนี้

    เพราะไม่เคยรู้ช่องทางอย่างนี้ แบบนี้

    มันไม่เหนื่อย กำลังใจยังอยู่ดี

    และได้สร้างกุศล ด้วยกำลังใจที่เต็มเปี่ยม

    ตอนนี้ ก็ 9 โรงพยาบาลแล้วครับ

    มันเป็นความสงบสุขอย่างหนึ่ง ที่ไม่อยาก ไม่ร้อน ไม่เหนื่อย

    แต่ให้ดี ให้คลายทุกข์ ให้คลายเจ็บป่วย

    สาธุครับ
     
  16. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    สาธุๆๆ โมทนาบุญกับพี่และทุกๆท่านด้วยครับ
     
  17. benyapa

    benyapa ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,088
    ค่าพลัง:
    +5,431
    ขออนุโมทนากับพี่เสือ คุณโสระ และทุก ๆ ท่านด้วยนะคะ สาธุค่ะ
     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,105
    เดลิเวอรี่จ้า...




    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5"><tbody><tr> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td></tr></tbody></table>
     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,105
    [​IMG]
    <table align="center" border="0" width="80%"> <tbody> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> </tbody> </table>
    <table align="center" border="1" bordercolor="#dddddd" width="96%"> <tbody> <tr> <td bordercolor="#ffffff"> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="100%"> <tbody> <tr bgcolor="#99cc00"> <td align="center" width="8%">[FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, AngsanaUPC]ลำดับ[/FONT]</td> <td align="center" width="52%">[FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, AngsanaUPC]ชื่อ[/FONT]</td> <td align="center">[FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, AngsanaUPC]โดย[/FONT]</td> </tr> <tr bgcolor="#f7f7f7"> <td align="center">[FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, AngsanaUPC]1[/FONT]</td> <td>หลักการทำสมาธิเบื้องต้น</td> <td>สมเด็จพระญาณสังวรฯ</td> </tr> <tr bgcolor="#fffeee"> <td align="center">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]2[/FONT]</td> <td align="center"> </td> <td align="center" width="40%">
    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต​
    </td> </tr> <tr> <td align="center" bgcolor="#f7f7f7">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]3[/FONT]</td> <td bgcolor="#f7f7f7"> </td> <td bgcolor="#f7f7f7">
    หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#fffeee"> <td align="center">4</td> <td bgcolor="#fffeee"> </td> <td>
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี​
    </td> </tr> <tr> <td align="center" bgcolor="#f7f7f7">5</td> <td bgcolor="#f7f7f7">สงบจิตด้วยการนั่งสมาธิ</td> <td bgcolor="#f7f7f7">หลวงพ่อชา สุภัทโท</td> </tr> <tr> <td align="center" bgcolor="#fffeee">6</td> <td bgcolor="#fffeee">สมาธิ</td> <td bgcolor="#fffeee">หลวงปู่คำดี ปภาโส</td> </tr> <tr> <td align="center" bgcolor="#f7f7f7">7</td> <td bgcolor="#f7f7f7"> </td> <td bgcolor="#f7f7f7">
    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#fffeee"> <td align="center">8</td> <td> </td> <td>
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน​
    </td> </tr> <tr bgcolor="#fffeee"> <td align="center" bgcolor="#f7f7f7">9</td> <td bgcolor="#f7f7f7">แนวทางปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน</td> <td bgcolor="#f7f7f7">พระอาจารย์ภัททันตะ</td> </tr> <tr bgcolor="#fffeee"> <td align="center">10</td> <td>วิธีทำสมาธิแบบง่ายๆ</td> <td>หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม</td> </tr> <tr bgcolor="#fffeee"> <td align="center" bgcolor="#f7f7f7">11</td> <td bgcolor="#f7f7f7">สมาธิเพื่อชีวิต</td> <td bgcolor="#f7f7f7">หลวงพ่อพุธ ฐานิโย</td> </tr> <tr bgcolor="#fffeee"> <td align="center">12</td> <td>สมาธิ</td> <td>หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ</td> </tr> <tr bgcolor="#fffeee"> <td align="center" bgcolor="#f7f7f7">13</td> <td bgcolor="#f7f7f7">การเจริญภาวนา พระครูเกษมธรรมทัต </td> <td bgcolor="#f7f7f7">สุรศักดิ์ เขมรํสี</td> </tr> <tr bgcolor="#fffeee"> <td align="center">14</td> <td>วิธีบำเพ็ญสมาธิเบื้องต้น พระธรรมวิสุทธิกวี</td> <td>พิจิตร ฐิตวณฺโณ</td> </tr> <tr bgcolor="#fffeee"> <td align="center" bgcolor="#f7f7f7">15</td> <td bgcolor="#f7f7f7">การทำสมาธิ</td> <td bgcolor="#f7f7f7">พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก</td> </tr> <tr bgcolor="#fffeee"> <td align="center">16</td> <td>สมาธิในชิวิตประจำวัน พระธรรมโกศาจารย์</td> <td>ประยูร ธมฺมจิตฺโต</td> </tr> <tr bgcolor="#fffeee"> <td align="center" bgcolor="#f7f7f7">17</td> <td bgcolor="#f7f7f7">แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา</td> <td bgcolor="#f7f7f7">อาจารย์แนบ มหานีรานนท์</td> </tr> <tr bgcolor="#fffeee"> <td align="center">18</td> <td>สมาธิ</td> <td>ท่านธรรมรักษา</td> </tr> <tr bgcolor="#fffeee"> <td align="center" bgcolor="#f7f7f7">19</td> <td bgcolor="#f7f7f7">พระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัว</td> <td bgcolor="#f7f7f7">พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร</td> </tr> <tr bgcolor="#fffeee"> <td align="center">20</td> <td>สมาธิในชีวิตประจำวัน</td> <td>พ.ญ.อมรา มลิลา</td> </tr> <tr bgcolor="#fffeee"> <td align="center" bgcolor="#f7f7f7">21</td> <td bgcolor="#f7f7f7">การทำสมาธิ</td> <td bgcolor="#f7f7f7">ขวัญ เพียงหทัย</td> </tr> </tbody> </table> </td> </tr> </tbody> </table>
    [​IMG]
     
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,105

    [​IMG]

    ... ใจของเรานี่มันอยู่ในกรง

    ยิ่งกว่านั้นมันยังมีเสือที่กำลังอาละวาดอยู่ในกรงนั้น

    ด้วยใจที่มันเอาแต่ใจของเรานี้

    ถ้าหากมันไม่ได้อะไรตามที่มันต้องการแล้วมันก็อาละวาด

    เราจะต้องอบรมใจด้วยการปฏิบัติภาวนาสมาธิ

    นี่แหละที่เราเรียกว่า "การฝึกใจ"


    …. ขอให้จำไว้ว่า ถึงจะขี้เกียจ ก็ให้พยายามปฏิบัติไปขยันก็ให้ปฏิบัติไป
    ทุกเวลาและทุกหนทุกแห่งนี่จึงจะเรียกว่า "การพัฒนาจิต"


    ถ้าหากปฏิบัติตามความคิดความเห็นของตนแล้ว

    ก็จะเกิดความคิดไป ความสงสัยไปมากมาย

    มันจะพาให้คิดไปว่า "เราไม่มีบุญ เราไม่มีวาสนา

    ปฏิบัติธรรมก็นานนักหนาแล้วยังไม่รู้ยังไม่เห็นธรรมเลยสักที"

    การปฏิบัติธรรมอย่างนี้ ไม่เรียกว่าเป็น "การพัฒนาจิต"

    แต่เป็น "การพัฒนาความหายนะของจิต"





    เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย:วัดหนองป่าพง - Wat Nong Pah Pong
     

แชร์หน้านี้

Loading...