ชมรมนักปฏิบัติธรรมและคนมีองค์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Pleased, 30 พฤษภาคม 2009.

  1. ควายดำ

    ควายดำ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +0
    ควายดำมาอนุโมทนาด้วยค่ะ ....บรือออ.บรึออ...:z3
     
  2. GUYTHUM

    GUYTHUM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    1,354
    ค่าพลัง:
    +1,088
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=kz-kSfkaI2I"]เชิญดูหนังขายยา ของเขมร แบบจะๆเต็มตา....4444[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2009
  3. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    พระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์‏
    เป็นพระโบราณทรงบำเพ็ญสำเร็จพระโพธิญาณด้วยพระองค์เอง ตั้งแต่เมื่ออดีตอันยาวนานจนมิอาจคำนวณนับจำนวนกัปกัลป์ได้ โพธิจิตของพระองค์ท่านได้สำเร็จด้วยการพิจารณาจนถึงที่สุดแห่งกระแสเสียง และทรงนิ่งอยู่ในอารมณ์ธรรมชาติของกระแสนั้น จนบรรลุถึงจุดนิ่งสุดของความนิ่งทั้งปวง อันเป็นธรรมชาติแห่งสุญญตา ด้วยจิตที่นิ่งที่สุดในสุญญตานี้ จึงทรงเป็นอกริยาที่เหนือผัสสะ ความเกิดดับ ความหวั่นไหว และไม่หวั่นไหวทั้งปวง เสียงของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนในทุกหนทุกแห่ง ล้วนอยู่ในสายตาความรู้เห็นของพระองค์ทั้งสิ้น ไม่มีเสียงใดในโลกหรือนอกโบกที่จะพ้นไปจากพระกระแสแห่งความรู้เห็นของ พระองค์พระนามของพระองค์ “กวนอิม” จึงมีความหมายที่ลึกซึ้งว่า “ผู้เงี่ยหูฟังเสียงร้องของโลก”ด้วยพระบารมีอันสั่งสมมานานของพระองค์ท่าน จึงทรงสามารถสำแดงแปลงพระกายได้ถึงพันพระเศียรพันพระกร พันพระเนตร ตลอดจนสามารถเนรมิตกายเพื่อโปรดสรรพสัตว์ในรูปกายต่าง ๆ ได้มากมายมหาศษลตามที่ปรากฏในพระสัทธธรรมปุณฑริกสูตรฉบับภาษาจีน (เมียวฮวบไหน่ฮัวเกง) ได้กล่าว่า พระองค์ท่านมีนิรมาณกาย 32 ปางใหญ่ ด้วยบุญญาภินิหารและอิทธิปาฏิหาริยันล้นพ้นของพระองค์ท่านทรงโปรดสรรพสัตว์ สุดที่จะประมาณได้ ซึ่งไม่มีพระโพธิสัตว์องค์ใดที่จะโปรดได้มากเสมอเหมือนปางที่ชาวโลกนิยมบูชาพระองค์ท่านมากที่สุดคือ ปางเพศสตรีโดยชาวพุทธมหายานในประเทศอินเดียเอ่ยพระนามพระองค์ท่านตามภาษาสันสกฤตว่า “อวโลกิเตศวร” ครั้นพระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีน จึงได้รับการแปลชื่อพระองค์ท่านตามศัพท์เป็นภาษาจีนว่า “กวนซืออิม” ซึ่งพระธรรมาจารย์กุมารชีพได้แปลความหมายว่า “ผู้เพ่งเสียงแห่งโลก” ต่อมาเนื่องจากคำว่า “ซือ” ไปตรงกับพระนามของจักรพรรดิถังไท่จง คือ หลี่ซือหมิง ดังนั้นจึงมีพระราชโองการให้ตัดคำว่า “ซือ” ออกเหลือแต่คำว่า “กวนอิม” นอกจากพระนามกวนอิมนี้แล้ว ก็ยังมีบางคนเอ่ยพระนามพระองค์ท่านว่า “กวนจื๋อไจ๋” ซึ่งสมณะเฮียนจั่งหรือที่ชาวไทยรู้จักกันดีในนามพระถังชำจั๋ง ได้เป็นผู้แปลใหม่มีความหมายว่า “ผู้เพ่งโดยอิสระ” แต่คนทั่วไปยังนิยมออกพระนามว่า “พระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์” พระแม่มหาเมตตา มาจนทุกวันนี้ด้วยพระนามที่ขึ้นต้นด้วย “พระแม่” นี้ ทำให้บางคนคิดว่าพระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ ทรางเป็นเพศสตรีอันอ่อนแอ ต่ำต้อยกว่าบุรุษ ซึ่งสำหรับปุถุชนทั่วไปแล้วย่อมเป็นเล่นนั้น แต่สำหรับพระองค์ท่านย่อมอยู่เหนือกฏเกณฑ์ เพราะคำว่า “เพศ” นี้ มีอยู่เฉพาะในมวลสัตว์ และใช้สำหรับผู้ที่ยังไม่สำเร็จเท่านั้น พระอริยเจ้าทุกพระองค์หรือผู้ที่สำเร็จแล้วย่อมอยู่เหนือคำว่าเพศ พระองค์ท่านทรงโปรดสรรพสัตว์ด้วยรูปปางต่าง ๆ ตั้งแต่ปางพุทธะลงมาจนถึงปางเทพ ยักษ์ มนุษย์ และอมนุษย์ โดยไม่จำกัดทั้งเพศและวัย รูปปางที่ปรากฏตามเพศวัยต่าง ๆ ในการโปรดสัตว์ของพระองค์ท่านนี้ เป็นภาวะที่เกินปัญญาของคนธรรมดาจะรู้ได้ พระองค์ท่านก็ทรงเป็นพระองค์ท่าน ปรากฏการณ์ก็คือปรากฏการณ์ การจะจำกัดพระองค์ท่านในรูปปางนั้น เพศนั้น วัยนั้น ตามปรากฏการณ์เสียทีเดียวย่อมไม่น่าจะถูกต้อง เพราะด้วยจิตศรัทธาที่แน่วแน่มั่นคง การบูชาย่อมเป็นประโยชน์ และเข้าถึงพระองค์ท่านได้โดยไม่จำกัดว่าเป็นรูปปางใดส่วน คำว่ากรรมหรือกฎแห่งกรรมนั้น เป็นสิ่งคู่ไปกับการเกิดดับในสรรพสัตว์ เหมือนเงาตามตัวโดยไม่มีการยกเว้น แต่สำหรับพระองค์ท่านมูลเหตุแห่งกรรม ได้ระงับไปด้วยจิตแห่งสุญญตา อันเป็นภาวะที่เหนือทั้งเกิดดับ และกรรมทั้งปวง เมื่อกรรมไม่มี กฎแห่งกรรมก็ไม่เกิด พระองค์ท่านจึงทรงเหนือซึ่งความหมายของคำว่าเพศ กรรม และกฎแห่งกรรม ด้วยอำนาจแห่งธรรมชาติของสุญญตา ผู้ที่บูชาพระองค์ท่านด้วยความเพียร หากมีความปรารถนาที่จะได้คู่ครอง ปรารถนาที่จะได้บุตรธิดา ปรารถนาที่จะมีทรัพย์สมบัติปรารถนาที่จะมีสุขภาพแข็งแรง ปรารถนาที่จะได้ฌานสมาบัติ ปรารถนาที่จะได้มรรคผลนิพพาน ความปรารถนาทั้งหมดนี้ก็จะสามารถสมหวังได้ ด้วยอำนาจแห่งพระบารมีของพระองค์

    คำว่า “แม่” นอกจากจะมีความหมายสำคัญอยู่ที่การเป็นผู้ให้กำเนิดแล้ว ยังเป็นคำที่ดีที่สุด มีความหมายที่สุด สำคัญที่สุด ประเสริฐที่สุด มีคุณค่าที่สุด ลึกซึ้งที่สุด อบอุ่นที่สุด เมตตาที่สุด ให้อภัยที่สุด น่ายกย่องที่สุด และน่าเคารพรักบูชาที่สุด ไม่มีคำใดในโลกนี้จะมีค่าเหมือน ไม่มีคำในโลกนี้จะอบอุ่นเกิน ไม่มีความรักใดในโลกนี้จะบริสุทธิ์เท่า ไม่มีความรักใดในโลกนี้ที่จะยิ่งใหญ่เกิน เป็นความรักที่เต็มใจเสียสละและพร้อมจะให้ได้ทุกอย่าง เป็นความรักที่เปี่ยมด้วยความเมตตาอย่างสุดซึ้ง ไม่มีสิ่งใดที่จะให้ไม่ได้สำหรับความรักของคำว่า “แม่” จากความสำคัญทั้งหมดดังกล่าวนี้ คำว่า “แม่” จึงได้ปรากฏรวมอยู่ในพระนามของพระองค์ท่านด้วย อันเป็นการแสดงถึงความยกย่องที่สุด นอบน้อมที่สุด เคารพบูชาที่สุด

    การ บูชาพระองค์ท่านจะทำให้มีความรู้สึกเหมือนอยู่กับแม่ อยู่ใกล้แม่ ในโลกนี้ไม่มีผู้ใดจะรู้และเข้าใจถึงเสียงของสรรพสัตว์สรรพสิ่งได้ดีเท่า พระองค์ และไม่มีผู้ใดในโลกจะเมตตาเกินพระองค์ จงไว้วางใจในความรักความเมตตาของพระองค์ท่าน และมอบถวายความรักความบูชาไว้กับพระองค์ผู้ที่อยู่ใต้ความรักความเมตตาของ พระองค์ เคราะห์กรรมภัยพิบัติจะดับสูญ ทุกสิ่งจะคลี่คลายไปในทางที่ดี ชีวิตจะร่มเย็นเป็นสุขสมปรารถนาด้วยพระบารมี
     
  4. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    ประวัติ



    พระแม่กวนอิมปางพันมือ
    หรือ
    พระแม่กวนอิมปางพันเนตรพันกร
    เป็นปางหนึ่งของพระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร



    เมื่อประมาณหนึ่งหมื่นปีมาแล้ว เกิดอุทกภัย ครั้งใหญ่ในประเทศจีน ฝนตกหนักน้ำในแม่น้ำฮวงโหหรือแม่น้ำวิปโยคท่วมท้น ผู้คนจำนวนมากถูกกระแสน้ำพัดพาไป พุทธศาสนิกชน ได้สวดมนต์วิงวอน พระโพธิสัตว์กวนอิมขอให้ทรงช่วย ทำให้พระองค์ต้องเสด็จลงมาช่วยผู้ที่ถูกน้ำท่วม แต่การมีเพียง สองมือย่อมช่วยไม่ทันเหตุการณ์ พระองค์จึงทรงตั้งจิตอธิษฐาน ว่าขอให้มีพันเนตรพันกร จะได้ช่วยคนได้ครั้งละพันคน



    พุทธศาสนิกชนชาวจีน จึงสร้างองค์สมมติพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรปางพันเนตรพันกรขึ้น องค์สมมติ พระแม่กวนอิมปางพันเนตรพันกร ที่อุทยานศาสนา ฯ องค์นี้ สร้างในประเทศจีน และสลักด้วยไม้การบูรหอม เป็นองค์ไม้แกะสลักที่สูงใหญ่ที่สุดในโลก



    จะสังเกต ได้ว่าแต่ละพระหัตถ์มีพระเนตรอยู่กลางฝ่าพระหัตถ์ อันเป็นสัญลักษณ์แสดงถึง
    ความเอื้ออาทรที่จะโปรดสัตว์ผู้อยู่ในห้วงทุกข์อันหาขอบเขตมิได้
    สำหรับพระหัตถ์ 1,000 พระหัตถ์นั้น บางพระหัตถ์ทรงถือศาสตราวุธ บางพระหัตถ์ทรงถือคัมภีร์ บางพระหัตถ์ทรงถือลูกประคำ บางพระหัตถ์ทรงถือดอกบัว บางพระหัตถ์ทรง
    ถือแก้วจินดามณี บางพระหัตถ์ทรงถือพลองทองประดับหยก บางพระหัตถ์ทรงถือคนโทน้ำทิพย์ บางพระหัตถ์ทรงถือกิ่งหลิว บางพระหัตถ์ทรงประทานพร ล้วนแล้วแต่มีความหมายทั้งสิ้น



    ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะบางส่วนที่สำคัญคือ



    พระหัตถ์บนสุดทรงถือสุริยัน-จันทรา มีความหมายแทนปัญญา ให้รู้เท่าทันอารมณ์ที่มีกุศล-อกุศล รู้เท่าทันความพอใจ-ไม่พอใจ รู้เท่าทันสุข-ทุกข์ เห็นแจ้งถึงเหตุปัจจัยในธรรมชาติของโลก ซึ่งประกอบด้วยของคู่กัน เช่น มีสว่างก็มีมืด มีดีก็มีชั่ว มีรวยก็มีจน มีหญิงก็มีชาย มีได้ก็มีเสีย ฯลฯ



    พระหัตถ์ระหว่างกลางพระวรกายทรงประณมกร มีความหมาย คือ ผู้ที่รู้แท้จริงย่อมมีสัมมาคารวะอ่อนน้อมถ่อมตน เคารพพุทธะและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เคารพสัจธรรม เคารพผู้อาวุโส เคารพฟ้าดิน เคารพความจริงในความดี เคารพสิทธิเสรีภาพของปวงสรรพสัตว์ และเคารพในสิ่งชอบธรรม เพื่อขอขมาในสิ่งต่างๆ ที่เคยล่วงเกินต่อกันด้วยกาย วาจาใจ เป็นการขออโหสิกรรมหมดสิ้นเวรภัย



    พระหัตถ์ถัดลงมาทรงโอบอุ้มโลก มีความหมายคือ ผู้รู้ย่อมมีความเมตตากรุณาโดยอุ้มชูสรรพสัตว์ช่วยให้พ้นทุกข์ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยจิตเมตตากรุณา และมีอภัยทาน สังคมใดมีความเมตตากรุณาย่อมมีแต่ความสงบสุขและร่มเย็น
    พระหัตถ์ถัดลงมาพระหัตถ์ขวาทรงถือลูกประคำและพระหัตถ์ซ้ายทรงถือเชือก มีความหมายว่า ผู้รู้ย่อมไม่ประมาท ต้องฝึกตนเองอยู่เสมอ ยืดมั่นในศีลธรรมและเจริญสมาธิเพื่อให้เกิดปัญญา รู้เท่าทันตัณหา รู้เท่าทันความคิดกุศล-อกุศล รู้เท่าทันอารมณ์พอใจไม่พอใจอยู่ตลอดเวลา อันเป็นการพัฒนาตนเองทุกขณะจิต



    พระหัตถ์ทรงถือคันศรและลูกศร มีความหมายคือ ให้มีชีวิตอยู่อย่างมีเป้าหมายปลายทาง มีความแน่วแน่ที่จะข้ามให้พ้นวัฎสงสารแห่งการเวียนว่ายตายเกิดในทะเลทุกข์



    พระหัตถ์ทรงถือคัมภีร์และสมุด มีความหมายว่า ให้ทบทวนศึกษาพระธรรมอยู่เสมอเพราะความจำความรู้ก็เป็น อนิจัง เรียนมาแล้วก็ลืมได้ จึงเพียรพยายามศึกษาทบทวนเสมอ



    ส่วนพระหัตถ์อื่นๆ ขออธิบายอย่างย่นย่อ คือ



    พระหัตถ์ทรงถือดอกบัว หมายถึงความบริสุทธิ์
    พระหัตถ์ทรงถือคนโทน้ำทิพย์ หมายถึงน้ำทิพย์มนต์รักษาโรคและเพื่อประทานพรเสริมสิริมงคลแก่สัตว์โลก
    พระหัตถ์ทรงถือพระแสงดาบ หมายถึงปัญญาฆ่ากิเลส
    พระหัตถ์ทรงถือพระแสงขวาน หมายถึง ธรรมาวุธปราบมารขจัดความโลภ โกรธ หลง และมิจฉาทิฐิ
    พระหัตถ์ทรงถือธรรมจักร หมายถึงทรงรับภาระโกยสัตว์โลกและสืบทอดพระพุทธศาสนา
    พระหัตถ์ทรงถือเชือกบ่วงบาศ หมายถึงเครื่องช่วยฉุดสัตว์โลกให้พ้นจากภยันตราย
    ทุกพระหัตถ์ที่ทรงถือสิ่งต่างๆนั้น ล้วนเป็น"ปริศธรรม"เพื่อช่วยให้ผู้สักการบูชาพระองค์มีจิตน้อมไปสู่ความศรัทธาเลื่อมใสในพระธรรม ครองตนอยู่ในความดีงาม มีความประพฤติดีปฏิบัติชอบ มีความสำรวม สมาธิมั่นคง กอร์ปไปด้วยปัญญารู้ทันมารอารมณ์และสิ่งที่มากระทบอายตนะ
    เพื่อบรรลุธรรมความหลุดพ้นในที่สุด

    เจ้าแม่กวนอิม พระโพธิสัตว์ ของพระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในอินเดีย และได้ผสมผสานกับความเชื่อพื้นถิ่นดั้งเดิมของจีน คือตำนานเรื่องพระธิดาเมี่ยวซ่าน ก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ Sir Charles Eliot ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่างๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน พออารยธรรมพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์"
     
  5. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    พระโพธิสัตว์กวนอิมในตำนานฝ่ายมหายาน

    พระโพธิสัตว์กวนอิม (ประสูติ 19 เดือนยี่จีน) ชาติสุดท้ายเป็น ราชธิดานาม เมี่ยวซ่าน เดิมเป็นเทพธิดา มาจุติยังโลกมนุษย์เพื่อมาช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยแก่มวลมนุษย์ เป็นราชธิดาองค์สุดท้ายของกษัตริย์ เมี่ยวจวง ซึ่งมีราชธิดา 3 องค์ องค์โตชื่อ เมี่ยวอิม องค์รองชื่อ เมี่ยวหยวน เยาว์วัยเป็นพุทธมามกะ รู้แจ้งในหลักธรรมลึกซึ้ง ตั้งพระทัยแน่วแน่จะบำเพ็ญภาวนา เพื่อหลุดพ้นสังสารวัฏ ออกบวชวันที่ 19 เดือน 9 พระเจ้าเมี่ยวจวงไม่เห็นด้วย จะบังคับให้เลือกราชบุตรเขย เพื่อจะได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อไป แต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านไม่สนพระทัยเรื่องลาภ ยศ สรรเสริญ อันจอมปลอม แม้จะถูกพระบิดาดุด่าอย่างไร องค์หญิงก็ไม่เคยนึกโกรธเคืองแต่อย่างใด

    ต่อมาองค์หญิงสามได้ถูกขับไปทำงานหนักในสวนดอกไม้ เช่น หาบน้ำ ปลูกดอกไม้ ทั้งนี้เพื่อทรมานให้เปลี่ยนความตั้งใจ แต่ก็มีเหล่ารุกขเทวดามาช่วยทำแทนให้ทั้งหมด พระบิดาเมื่อเห็นว่าไม่ได้ผล จึงรับสั่งให้หัวหน้าแม่ชี นำองค์หญิงสามไปอยู่ที่วัดนกยูงขาว และให้เอางานของแม่ชีทั้งวัดมอบให้องค์หญิงทำคนเดียว แต่องค์หญิงมีพระทัยเด็ดเดี่ยว ไม่เกี่ยงงานการต่างๆ ก็มีเหล่าเทพารักษ์มาช่วยทำแทนให้อีก พระเจ้าเมี่ยวจวงเข้าพระทัยว่า พวกแม่ชีไม่กล้าเคี่ยวเข็ญใช้งานหนัก ก็ยิ่งทรงกริ้วหนักขึ้น สั่งให้ทหารเผาวัดนกยูงขาวจนวอดเป็นจุณไป พร้อมกับพวกแม่ชีทั้งวัด มีแต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านเท่านั้นที่ปลอดภัยรอดชีวิตมาได้

    พระเจ้าเมี่ยวจวงทรงทราบดังนั้น จึงรับสั่งให้นำตัวราชธิดาไปประหารชีวิต เทพารักษ์คอยคุ้มครองเจ้าหญิงอยู่ โดยเนรมิตทองทิพย์เป็นเกราะห่อหุ้มตัว คมดาบของนายทหารจึงไม่อาจระคายพระวรกาย ดาบหักถึง 3 ครั้ง 3 ครา พระบิดาทรงกริ้วยิ่งนัก โดยเข้าพระทัยว่านายทหารไม่กล้าประหารจริง จึงให้ประหารนายทหารแทน แล้วรับสั่งให้จับเจ้าหญิงไปแขวนคอ ทว่าผ้าแพรที่แขวนคอก็ขาดสะบั้นลงอีก

    ทันใดนั้นปรากฏมีเสือเทวดาตัวหนึ่งได้นำเจ้าหญิงขึ้นพาดหลังแล้วเผ่นหนีไปที่เขาเซียงซัน ต่อมา เทพไท่ไป๋ได้แปลงร่างเป็นชายชรามาโปรดเจ้าหญิง ชี้แนะเคล็ดวิธีการบำเพ็ญเพียรเครื่องดับทุกข์ จนสามารถบรรลุมรรคผลสำเร็จธรรม วันที่ 19 เดือน 6 ข้างฝ่ายพระบิดาเข้าพระทัยว่า เจ้าหญิงถูกเสือคาบไปกินเสียแล้ว จึงไม่ได้ติดใจตามราวีอีก

    ต่อมาไม่นานบาปกรรมที่พระองค์ก่อไว้ส่งผล เกิดป่วยด้วยโรคร้ายแรง ไม่มียารักษาให้หายได้ เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านได้ทรงทราบด้วยญาณวิถีว่า พระบิดากำลังประสบเคราะห์กรรมอย่างหนัก ด้วยความกตัญญูกตเวทีเป็นเลิศ มิได้ถือโทษโกรธการกระทำพระบิดาแม้แต่น้อย ทรงได้สละดวงตาและแขนสองข้าง เพื่อรักษาพระบิดาจนหายจากโรคร้าย ว่ากันว่า ภายหลังสำเร็จอรหันต์ ได้ดวงตาและพระกรคืน เคยแสดงปาฏิหารย์เป็นปางกวนอิมพันมือ องค์หญิงเมี่ยวซ่านนั้น ตอนแรกเป็นชาวพุทธ ตอนหลังเทพไท่ไป๋ได้มาโปรด ชี้แนะหนทางดับทุกข์ เหตุนี้พระโพธิสัตว์กวนอิมจึงเป็นเทพทั้งฝ่ายพุทธและฝ่ายเต๋าในเวลาเดียวกัน

    บทสวดมนต์เจ้าแม่กวนอิม

    คาถาสวดพระนามพระโพธิสัตต์กวนอิม

    นำโม กวงซีอิม ผู่สัก ( 3 หรือ 5 หรือ 9 จบ)

    แก้ พระแม่กวนอิมพระมหาโพธิสัตว์

    นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก ( กราบที่ 1 )

    นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก ( กราบที่ 2)

    นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก ( กราบที่ 3)

    นำโมฮู๊ก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโค่ว กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก ทั่งจี้โต โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียออฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ซ่าผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งหลีซิง เจ็กเฉียก ใจเอียง ห่วยอุ่ยติ๊ง นำโมม่อออ ปวกเยี่ยปอล้อบิ๊ก ( กราบ 1 จบ )


    ที่มา
     
  6. pkawatr9

    pkawatr9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    112
    ค่าพลัง:
    +210
    อนุโมทนา.อา.อาๆๆ ๆ ๆ(เสียงกังวานจากแดนสุขาวดี) นำ มอ ออ. นี.. ท้อ ฮุก
     
  7. Jexxy

    Jexxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    228
    ค่าพลัง:
    +437
    ในหัว มัน สวด แต่ อันนี้ -*- ดัง ก้อง มา จะ ครึ่ง ปี แหละ T_T

    • นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย • นำ มอ ออ ลี เย • ผ่อ ลู กิด ตี ซอ ปอ ลา เย • ผู่ ที สัต ตอ พอ เย • หม่อ ฮอ สัต ตอ พอ เย • หม่อ ฮอ เกีย ลู นี เกีย เย • งัน• สัต พัน ลา ฮัว อี • ซู ตัน นอ ตัน เซ • นำ มอ สิด กิด ลี ตอ อี หม่ง ออ ลี เย • ผ่อ ลู กิด ตี สิด ฮู ลา เลง ถ่อ พอ • นำ มอ นอ ลา กิน ซี • ซี ลี หม่อ ฮอ พัน ตอ ซา เม • สะ พอ ออ ทอ เตา ซี พง • ออ ซี เย็น • สะ พอ สะ ตอ นอ มอ พอ สะ ตอ นะ มอ พอ เค • มอ ฮัว เตอ เตา • ตัน จิต ทอ • งัน ออ พอ ลู ซี • ลู เกีย ตี • เกีย ลอ ตี • อี ซี ลี • หม่อ ฮอ ผู่ ที สัต ตอ • สัต พอ สัต พอ • มอ ลา มอ ลา • มอ ซี มอ ซี ลี ทอ ยิน • กี ลู กี ลู กิด มง • ตู ลู ตู ลู ฟา เซ เย ตี • หม่อ ฮอ ฮัว เซ เย ตี • ทอ ลา ทอ ลา • ตี ลี นี • สิด ฮู ลา เย • เจ ลา เจ ลา • มอ มอ ฮัว มอ ลา • หมก ตี ลี • อี ซี อี ซี • สิด นอ สิด นอ • ออ ลา ซัน ฮู ลา เซ ลี • ฮัว ซอ ฮัว ซัน • ฮู ลา เซ เย • ฮู ลู ฮู ลู มอ ลา • ฮู ลู ฮู ลู ซี ลี • ซอ ลา ซอ ลา • สิด ลี สิด ลี • ซู ลู ซู ลู • ผู่ ถี่ เย ผู่ ถี่ เย • ผู่ ถ่อ เย ผู่ ถ่อ เย • มี ตี ลี เย • นอ ลา กิน ซี • ตี ลี สิด นี นอ • ผ่อ เย มอ นอ • ซอ ผ่อ ฮอ • สิด ถ่อ เย • ซอ ผ่อ ฮอ • หม่อ ฮอ สิด ถ่อ เย • ซอ ผ่อ ฮอ • สิด ทอ ยี อี • สิด พัน ลา เย • ซอ ผ่อ ฮอ • นอ ลา กิน ซี • ซอ ผ่อ ฮอ • มอ ลา นอ ลา • ซอ ผ่อ ฮอ • สิด ลา เซง ออ หมก เค เย • ซอ ผ่อ ฮอ • ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ ออ สิด ถ่อ เย • ซอ ผ่อ ฮอ • เจ กิด ลา ออ สิด ถ่อ เย • ซอ ผ่อ ฮอ • ปอ ทอ มอ กิด สิด ถ่อ เย • ซอ ผ่อ ฮอ • นอ ลา กิน ซี พัน เค ลา เย • ซอ ผ่อ ฮอ • มอ พอ ลี เซง กิด ลา เย • ซอ ผ่อ ฮอ • นำ มอ ห่อ ลา ตัน นอ ตอ ลา เย เย • นำ มอ ออ ลี เย • ผ่อ ลู กิต ตี • ชอ พัน ลา เย • ซอ ผ่อ ฮอ • งัน สิด ติน ตู • มัน ตอ ลา • ปัด ถ่อ เย • ซอ ผ่อ ฮอ <!--Signature-->
     
  8. pkawatr9

    pkawatr9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    112
    ค่าพลัง:
    +210
    อนุโมทนาบุญด้วยครับ..... ถ้าหากว่าเสียงสวดบทนี้อยู่ในหัวคุณเกือบครึ่งปีแล้ว ขออนุญาตแนะนำว่าคุณควรปฏิบัติถือศีลสมาธิอย่างจริงจังนะครับ แสดงว่าสื่อบารมีจากอดีตกำลังมา บทนี้คือบทมหาธารณี(ไต่ปุยจิ่ว)84 ภาคนิมารกายขององค์มหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งถือว่าสูงสุด ดินปกป้องฟ้าคุ้มครองมหาบารมียิ่งใหญ่อเนกอนันต์ ปฏิบัติได้พระองค์จะเปิดให้เราได้รู้อะไรมากมายในคำว่าปัจจัตตัง และจะเข้าใจว่าความจริงไม่มีภาคอินเดีย ภาคจึน ภาคไทย ใดๆ แต่จะเข้าใจความสมมติและความเป็นหนึ่งเดียวแต่ต้องมีบารมีมากพอ ศรัทธาสวดๆๆๆๆๆๆๆ
    hello11
     
  9. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    *0*ประมาณนั้นpig_ballet
     
  10. pkawatr9

    pkawatr9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    112
    ค่าพลัง:
    +210
    แสดงความมีอยู่จริงและความเป็นหนึ่งเดียวแห่งพระองค์ครับ ส่วนพระธรรมใน84ภาคนั้นเป็นการสอนการปฏิบัติธรรมของสัตว์โลกให้เข้าใจถึงสัจจธรรมอันแท้จริง

    ส่วนเรื่อง*0*นั้น จะอยู่ในปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร(ปอลอมิกตอซิมเกง) ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติขั้นสูงสุดเท่านั้นจึงจะเข้าถึงปรัชญานี้ ขอนำคำแปลมาส่วนหนึ่งนะครับ " ไม่มีวิชชา ไม่มีอวิชชา ไม่มีความสิ้นไปแห่งวิชชาและอวิชชา จนถึงไม่มีความแก่ ความตาย และไม่มีความสิ้นไปแห่งความแก่และความตาย ไม่มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไม่มีญาณ(ปัญญา) ไม่มีการบรรลุถึงซึ่งปัญญา และไม่มีอะไรต้องบรรลุอยู่ต่อไป" และนี่แหละครับคือความเป็นปัจจัตตังอันยิ่งใหญ่ที่พระพุทธองค์ไม่ทรงกล่าว ผู้ปฏิบัติทั้งหลายเมื่อศึกษาตำราแต่อย่าติดตำรา(ปริยัติ) ลงปฏิบัติเพื่อพิสุจน์แผนที่นั้น(ปฏิบัติ) การทะลุทะลวงเข้าถึงแตกฉานถึงสภาวะแห่งความจริงหรือความมีอยู่จริง(ปฏิเวธ) และเมื่อสามารถปฏิบัติรู้แจ้งในปอลอมิกตอซิมเกงนี้ได้ นั่นก็คือสภาวะอยู่เหนือสมมติเข้าถึงความมีอยู่จริงสูงสุดทางพุทธเรียกว่า นิพพาน



     
  11. Jexxy

    Jexxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    228
    ค่าพลัง:
    +437
    มีแค่เพียงหนึ่งเดียว เท่านั้น แต่ จะมีรูปลักษณะใด นั้น ก็สุดแท้แล้วแต่มนุษย์เราจะกำหนด ขึ้นมา.............เห็น คือ เห็น ....เกิด คือ เกิด.....เมื่อดับไป จักเป็นความ ว่างเปล่าแล.............ทุกสรรพสิ่งคือ ความว่างเปล่า เพราะ ทุกๆสรรพสิ่ง เกิด ขึ้นได้ แม้จะคงอยู่ได้ ช้า นาน สุดท้าย ก็ต้องดับไป.....


    งิ -*- มือพิมพ์ ไปเองน๊า เค้าไม่เกี่ยว
     
  12. Likely

    Likely เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    4,151
    ค่าพลัง:
    +3,821
    http://palungjit.org/threads/ปรัชญาปรมิตาหทัยสูตร-the-heart-sutra.108249/
     
  13. สมรปราง

    สมรปราง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2008
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +263
    อ่านแล้วทำให้นึกถึงคำโต้ตอบบางส่วน..

    ท่านแม่..ลืมบทสวด ต้องใช้คาถาอะไรเนี่ยนะ? นู๋จำไม่ได้..
    ลืมก็ช่างมันเถอะ..ก็พูดเอาง่ายๆๆ ใช้จิตพูดไม่ใช่การเปล่งวาจา ทุกอย่างจะสัมฤทธิ์ผลด้วยจิตที่เป็นสมาธิ.. ลองดู

    ท่านแม่..ตำราชื่อ"หนทางแห่งการหลุดพ้น"อะไรก็ไม่รู้ อ่านยากจัง 2-3 หน้าแรกก็ปวดหัวแล้ว..พยายามอ่าน 2 รอบแล้วไม่สำเร็จ

    ..ใครให้นู๋อ่านละลูก
    ...ไม่รู้มือมันหยิบเอง ....ให้อ่าน มีคนเอามาถวายเมื่อวาน
    ...นู๋ทำไม่ถูกต้อง ธรรมะอยู่ในธรรมชาติไม่ได้ใช้ตาอ่าน ให้ใช้จิตอ่าน.. จิต (สมอง) ไม่ยอมเปิดรับจะเข้าใจได้อย่างไร?
    ให้ใช้จิตสัมผัสสภาวะรอบข้างไม่ได้ให้ใช้ตาดู
    ให้ใช้จิตศึกษาให้ถ่องแท้ ไม่เข้าใจก็ถาม..ให้เข้าใจ ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากการปฏิบัติ การฝึกฝนและบุญบารมีที่สั่งสมไว้ วันนี้ไม่ได้พรุ่งนี้ก็เอาใหม่ อย่าท้อถอย การนั่งสมาธิเพื่อขัดเกลาจิตใจเท่านั้นจะเกิดปัญญา ต้องได้ปัญญาญาณก่อนถึงจะเข้าสู่การหลุดพ้น

    ...หลุดพ้นแล้วก็ไม่ต้องใช้อะไรแล้วลูกเอ๋ย..sleeping_rb
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2009
  14. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +3,083
    ขอจอง 1 ที่สำหรับรุ่น 5-1/2552 ครับ

    ให้เพื่อนชื่อ นิธิ ครับผม

    ขอบคุณครับ
     
  15. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    พระโอวาทพระแม่องค์ธรรม

    “ต่อให้ลูกเป็นเทพเทวาพุทธะมาเกิด
    หากไร้ซึ่งบุญกุศลยากกลับคืนนิพพาน<O:p</O:p
    ฟังแม่เตือนต้องวิริยะโดยทั่วกัน<O:p</O:p
    ช้าอีกก้าวยากที่จะได้สร้างบุญ”
    <O:p</O:p
    “เป็นผู้นำเป็นถันจู่ภาระใหญ่<O:p</O:p
    หนึ่งคนหลงอาจพาคนตกต่ำ<O:p</O:p
    หากผู้นำมีปัญญาสักหนึ่งคน<O:p</O:p
    จะเกิดผลนำคนหมื่นแสนบรรลุจริง”
    <O:p</O:p
    “โอวาทฝากถันจู่นำพุทธบริกร<O:p</O:p
    ต่างควรจะขยันหมั่นเพียร วิริยะ<O:p</O:p
    หาวิธีฉุดช่วยคนหลงส่งขึ้นฝั่ง<O:p</O:p
    รีบเร่งปลุกเวไนยฟื้นตื่นศรัทธา”
    <O:p</O:p
    “ใจจะต้องละมุนนุ่มเหมือนกลุ่มเมฆ<O:p</O:p
    เจตนาเช่นสายน้ำ ไม่ขาดสาย<O:p</O:p
    สมัครสมานเคารพกันทั้งน้อยใหญ่<O:p</O:p
    จะก้าวไปหรือทิ้งไว้ให้เห็นควร”
    <O:p</O:p
    “ถ้าคล้อยตามคนทำผิดโทษมหันต์<O:p</O:p
    บรรทัดฐานคือหลักธรรมตามครรลอง<O:p</O:p
    ความโลภโกรธรักลุ่มหลงจงตัดไป<O:p</O:p
    ธรรมกายจะใสสดหมดจดกัน”
    <O:p</O:p
    “บุญยิ่งล้ำตำแหน่งสูงย่อมมีภัย<O:p</O:p
    ให้รอบคอบเหมือนอยู่ขอบเหวตกมาหนัก<O:p</O:p
    ปีนยิ่งสูงตกยิ่งหนักประจักษ์ชัด<O:p</O:p
    ลูกฉลาดไม่ควรพลาดเป็นคนโง่”
    <O:p</O:p
    “บำเพ็ญตนให้เกรงสามโบราณว่า<O:p</O:p
    พิจารณาเก่งเข้าใจคิดสะกิดตน<O:p</O:p
    สำรวมสามใครทำตามย้อนมองตน<O:p</O:p
    สี่ละเว้นอย่าพลั้งพลาดคือปราชญ์เมธี”
    <O:p</O:p
    บัดนี้กาลเวลาภัยพิบัติมาถึงแล้ว องค์ธรรมมารดาไม่อาจทนเห็นลูกๆ ถูกทำร้าย ดังนั้นจึงหย่อนสายทอง ลงไปชี้ทางสว่างเผยแผ่อนุตตรธรรมทั่วหล้า
    <O:p</O:p
    ส่งพระศรีอริยเมตตรัยปกครองเทวจักร มอบอำนาจให้บัญชาเหล่าทวยเทพรวมทุกศาสนาให้เป็นธรรมที่เที่ยงตรงพระบรรพจารย์เทียนหยาน นิรมานกายของหลิงเมี่ยวเทียนจุนคุมธรรมจักร มอบอำนาจให้บัญชาเหล่าทวยเทพบนนิพพานไม่เหลือพุทธบุตร แดนปัจฉิมก็ไม่เหลือพระโพธิสัตว์ ล้วนลงมายังโลกช่วยเหลือธรรม “ใต้ฟ้าดินนี้มีเพียงพระบัญชาขององค์ธรรมมารดาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ผู้คล้อยตามย่อมเจริญรุ่งเรืองผู้ฝ่าฝืนย่อมย่อยยับ ซึ่งแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน”
    <O:p</O:p
    การปกโปรดครั้งนี้ ในอดีตนั้นไม่เคยมีมาก่อน เป็นบุญสัมพันธ์พิเศษสนองกาลนี้อย่างพอเหมาะ บนโปรดภพเทวาล่างโปรดวิญญาณภูตผี กลางโปรดสาธุชนชายหญิง รวมสรรพศาสตร์ให้คืนสู่รากอันเที่ยงตรง<O:p</O:p
    การขัดเกลาไม่ห่างจากการปฏิบัติจะต้องอดทนสั่งสอนคนตั้งมหาปณิธาน บำเพ็ญปฏิบัติอย่างแท้จริง ตนเที่ยงตรงแล้วช่วยให้ผู้อื่นเที่ยงตรง อย่าทำเพียงผิวเผินเพื่อเอาหน้าถูไถไปวัน ๆ หรือละทิ้งกลางคัน จะได้ไม่พาตนให้ตกต่ำยากที่จะกลับตัวใหม่

    <O:p</O:p
    แม้จะเป็นเหล่าเทพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงจุดิ หากไร้ซึ่งบุญกุศลแท้จริง ก็ยากกลับคืนสู่เบื้องบน โดยเฉพาะการเป็นผู้นำประธานธรรมสถานนั้นมีภาระหน้าที่ หนักมาก หนึ่งคนผิดพลาดเบาปัญญา คนพันหมื่นจะพากันตกต่ำ คนหนึ่งมีปัญญา คนนับหมื่นย่อมถูกยกระดับขึ้นด้วย จึงต้องมีความขยันขันแข็ง หาวิธีนำพาเวไนย ให้เกิดความศรัทธา มีจิตใจที่สามารถปรับเปลี่ยนพลิกแพลง ยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ อย่าพากันไปสู่ความมัวหมอง ควรยึดหลักสัจธรรมเป็นพื้นฐาน ขจัดรัก โลภ โกรธหลง ฟื้นฟูธรรมกายให้บริสุทธิ์
    <O:p</O:p
    ตำแหน่งยิ่งสูงยิ่งต้องระวัง หากพลาดพลั้งจะตกลงสู่เหวลึก ดังนั้นวาจาและการกระทำต้องสอดคล้องกัน มีความยำเกรงสาม ไตร่ตรองเก้า สำรวมสาม ข้อห้ามสี่ จึงจะเป็นเมธีอย่างแท้จริง
    <O:p</O:p
    ยำแกรงสาม<O:p</O:p
    1. ยำเกรงในพระโองการฟ้า<O:p</O:p
    2. ยำเกรงผู้มีคุณธรรม<O:p</O:p
    3. ยำเกรงโอวาทอริยะ
    <O:p</O:p
    ไตร่ตรองเก้า<O:p</O:p
    1. ไตร่ตรองในการดู ให้รู้แท้<O:p</O:p
    2. ไตร่ตรองในการฟัง ให้รู้ชัด<O:p</O:p
    3. ไตร่ตรองสีหน้าตน ให้ดูดี<O:p</O:p
    4. ไตร่ตรองท่าทีของตน ให้นบนอบ <O:p</O:p
    5. ไตร่ตรองวาจา ให้พูดดี<O:p</O:p
    6. ไตร่ตรองเคารพงาน ให้ตั้งใจ <O:p</O:p
    7. ไตร่ตรองการถามไถ่ ให้ชัดเจน<O:p</O:p
    8. ไตร่ตรองอารมณ์โทสะ ให้ระงับ<O:p</O:p
    9. ไตร่ตรองสิ่งที่ได้ ให้รู้ควร
    <O:p</O:p
    สำรวมสาม<O:p</O:p
    1. ความนึกคิด วันนี้ดีหรือไม่<O:p</O:p
    2. กับเพื่อนพ้อง ผิดคำสัตย์มีหรือไม่<O:p</O:p
    3. ทบทวนสิ่งที่เรียน ให้เข้าใจกระจ่างแจ้ง
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ข้อห้ามสี่<O:p</O:p
    1. สิ่งไม่ควรพูด อย่าพลั้งเผลอ<O:p</O:p
    2. สิ่งไม่ควรมอง อย่ามอง สิ่งที่บัดสี<O:p</O:p
    3. สิ่งที่ไม่ควรฟัง อย่าฟัง คำอัปรีย์ <O:p</O:p
    4. สิ่งไม่ควรทำ อย่าทำ ไร้จริยา<O:p</O:p

    ที่มา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2009
  16. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    พระโอวาท“พระอนุตตรฯ มารดา”

    - สุรานารี ทั้งพาชี กีฬาบัตร
    มันผูกมัด มอมเมาเจ้า เหล่าพุทธจิต
    อารมณ์เจ็ด* กามคุณหก* เข้าใกล้ชิด
    มันปกปิด อนุตตรญาณ อันดั้งเดิม

    - ทะเลอยาก กระชากคลื่น ไม่เคยหลับ
    ความหลงรัก เหมือนขื่อคล้อง จองจำเจ้า
    ความฟุ้งเฟ้อ เหมือนเชือกรัด ผูกมัดเอา
    ลาภยศเล่า เหมือนแหอวน ล้อมกายใจ

    - ทุกอย่างเหมือน หินเหล็กไฟ สว่างวาบ
    แล้วก็ดับ ไม่คงอยู่ นานนักได้
    เหมือนดอกมะเดื่อ บานฉาบฉวย โรยราไป
    สร้างกรรมไว้ ให้แมลง ไชผลพรุน

    อารมณ์เจ็ด คือ ความยินดี โกรธ เศร้า สุข รัก แค้น และอยาก
    กามคุณหก คือ รูป เสียง กลิ่น รู้สึกสัมผัส อารมณ์

    - คนงมงาย หมายโลกีย์ ไม่มีรู้แจ้ง
    เหมือนมดแมลง ชีวิตทุกข์ หลงสุขศรี
    สามหมื่นหกพันวัน ใครจะอยู่ ถึงร้อยปี
    ไม่คิดที หรือเมื่อไร ได้สุขจริง

    - เริ่มชีวิต เด็ก เติบใหญ่ แก่แล้วตาย
    ลิ้มรสหลาย ทั้งสุขสม ระทมทุกข์
    เกิดแก่เจ็บตาย มีใครหรือ จะรอดหลุด
    ไม่ยั้งหยุด ชั่วพริบตา ความชรามาถึงตัว

    - มามือเปล่า ไปมือเปล่า เอาอะไรก็ทั้งยาก
    เหลือเพียงซาก เป็นวิญญาณ สุสานผี
    จะร่ำรวย สูงศักดิ์ใด ไม่พ้นคดี
    ต้องใช้หนี้ เป็นสัตว์-คน เกิดวนเวียน

    - ตั้งแต่เกณฑ์ขาล หลายหมื่นปี จนบัดนี้
    ทุกข์ทวี ไม่สิ้นสุด วัฏสงสาร
    ออกจากร่างโน้น เข้าร่างนี้ เหมือนย้ายบ้าน
    เป็นหนุ่มแซ่จาง สาวแซ่ลี้ ไม่มีอะไรเป็นของตัว

    - ยิ่งกลับชาติ ยิ่งลืมตัว กลั้วเกลือกลึก
    จนลืมนึก ถึงพระแม่ฯ ญาติของเจ้า
    จากนิพพาน จุติลง ณ เชิงเขา*
    เป็นพันธุ์เผ่า สายเดียวกัน ญาณชีวี

    - ญาณชีวิต* แม้เป็นอริยะ ก็ไม่ขยาย
    ไม่กลับกลาย หดเล็กกว่า แม้สามัญชน
    กำเนิดเดียวกัน ผู้รู้จริง ได้มรรคผล
    ใครหลง-วน เป็นปุถุชน หล่นโลกันตร์

    - สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สำเร็จได้ ไปจากคน
    มิใช่เกิดคน พร้อมกับเป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์
    ข้อเท็จจริง หวังว่าลูก จะได้คิด
    ตื่นใจจิต กราบอาจารย์จริง กลับต้นกำเนิดเดิม

    ที่มา mindcyber.com!
     
  17. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    พระโอวาท“พระอนุตตรฯ มารดา”

    <CENTER>นำบทข้อสี่
    จริงหรือสมมติ แยกให้ออก สมมุติหรือจริง
    สมมติหรือจริง หากสำนึกรู้ จะอยู่เหนือโลก
    สร้างกุศล ประกาศธรรม เป็นพุทธโฆษก
    เปลี่ยนเปรโลก หาชีวิตจริง ร่วมกลับกำเนิดเดิม
    </CENTER>ข้อสี่
    - เตือนพุทธบุตร รุดบำเพ็ญ ให้แข็งขัน
    คลื่นป่วนปั่น ในทะเลทุกข์ ของโลกกว้าง
    ชีวิตสั้น เหมือนแมลง เพียงโมงยาม
    มีใครบ้าง หลุดรอดพ้น พญายม

    - สู้ตรากตรำ ย่ำเท้าทน จนจรดค่ำ
    แบกงานกรำ คร่ำเหมือนควาย วิ่งวนป่า
    ไม่นานนัก สักกี่สิบปี เกิด เจ็บ มรณา
    ที่ผ่านมา เหมือนน้ำค้าง จางหายไป

    - เพื่อชื่อเสียง ลาภฐานะ กระเสือกกระสน
    ลูกเมียตน เคยหลงรัก จักเหมือนฝัน
    โลกโลกีย์ น่าเวทนา เกินกว่ารำพัน
    หลงพัวพัน ตัณหาหก เจ็ดอารมณ์ฉุดจมไป

    - ต่อให้ลูก มีธนสาร อันล้นเหลือ
    ข้าวเหลือเฟือ นาพันไร่ กินได้แค่อิ่ม
    ต่อให้ลูก มีตึกระฟ้า ครองแผ่นดิน
    ที่นอนจริง เพียงแปดศอก เท่านั้นเอง

    - ต่อให้ลูก มีเงินทอง กองเท่าภูเขา
    ไม่ได้เอา ไปสักบาท เมื่อตักษัย
    ต่อให้ลูก สรวมแพรพรรณ งามเพียงไร
    ร้อนหนาวได้ คุ้มแดดลม พอสมควร

    - ต่อให้เจ้า เสพอาหาร พิสดารเหลือ
    อร่อยเนื้อ ชีวิตเขา เจ้ารับบาป
    ต่อให้เจ้า เล่นสำราญ หวานกำซาบ
    เหมือนฝันลับ ชั่วเวลา ไม่ช้านาน

    - ต่อให้ลูก มีลูกเมีย สวยเลอเลิศ
    ต่างกระเจิด ไม่ร่วมไป ในเมืองผี
    ต้องหลั่งน้ำตา ให้มลทินห้า* ของโลกีย์
    ตรองให้ดี อย่าหลงใหล นะลูกยา

    - โลกโลกีย์ เหมือนสถาน สำราญเล่น
    ใครที่เป็น ปู่ลูกหลาน กันมาก่อน
    หากสำนึก ร่วมบำเพ็ญ อย่านิ่งนอน
    สร้างบุญพร้อม กลับบ้านเดิม แดนนิพพาน

    มลทินห้า คือความไม่ดีงามทั้งห้าของสภาวะโลกโลกีย์ คือ การเกิด การเห็น การวิตกทุกข์ร้อน ชะตากรรม และภัยพิบัติที่เป็นมลทิน

    - บำเพ็ญอนุตตรฯ จะเป็นมงคล ทั้งครอบครัว
    ตายแต่ตัว ญาติร่วมอยู่ ณ แดนสวรรค์
    แยบยลวิเศษ ไม่เคยพบ แต่โบราณ
    เป็นวิเศษกาล ใครหลับหลง น่าเวทนา

    - คนบ้ายศ ยิ่งยศแล้ว ยังอยากทะยาน.
    บ้าเงินล้าน กี่สิบหมื่น ว่าไม่มาก
    โลภหลงใหล ไม่คิดถึงวัน พลันต้องตายจาก
    กรรมจำพราก ไม่เหลืออะไร ไปพบพญายม

    - ตื่นตัวได้ รีบเพียรกลับ บ้านนิพพาน
    น่าสงสาร ลงนรก เพราะจิตหลง
    ฟ้าดินแยก สองหนทาง ด้วยจิตส่ง
    จิตพลาดลง ชั่วขณะ จะเศร้าโศรกชั่วกาลนาน

    - ทุกข์ทรมาน ในนรกร้าย ไม่อาจบอกเล่า
    มีกระจกเงา ส่องกรรมเจ้า เอาออกเผย
    หากทำดี ชาติหน้ามี สุขชมเชย
    สุขเสวย หมดบุญแล้ว ยังไม่แคล้วกลับลงมา

    - กรรมชั่วมาก ยากที่เจ้า จะเถียงได้
    ตนทำไว้ โทษอย่างไร ต้องได้รับ
    ภูเขามีด กะทะน้ำมัน เครื่องบั่นสับ
    โม่เลื่อยสลับ บดเนื้อเลือด เชือดให้หมากิน

    - ทั้งแก่เฒ่า ตกสะพาน แม่น้ำเวทนา*
    ทุกข์หนักหนา ในนรกใหญ่ สิบแปดขุม
    พูดถึงทุกข์นี้ สาหัสนัก น้ำตารุม
    เสื้อเปียกชุ่ม มิอดใจ ยากที่จะไขความ

    - ก้าวพลาดพลั้ง ไม่ยกเว้น เป็นเช่นว่า
    สิ้นกายา อยากกลับสรวง ต้องตกต่ำ
    ฟังแม่เตือน บำเพ็ญอนุตตรฯ สุขเหลือล้ำ
    มุ่งใจกรำ ตรงต่อปณิธาน จิตมั่นเกรียงไกร

    - ในวัฏสงสาร บรรพบุรุษเก้าชั้น ชะเง้อหา
    เมื่อไรหนา เจ้าจะส่งบุญ หนุนช่วยฉุด
    เจ้าผิดพลาด ตกลำพัง ยังพอพูด
    แต่บรรพบุรุษ ตกอเวจีตาม น้ำตานอง

    - หมกอเวจี หกหมื่นปี ทุกข์เพียงไหน
    รอโปรดใหม่ฯ* ธรรมกาลหน้า เวลาเหมาะ
    ได้ขึ้นเรือธรรม จะมาทันหรือ กาลจำเพาะ
    จะเกิดเหมาะ ได้รับธรรมใหม่ ใครกล้ารับรอง

    แม่น้ำเวทนา เป็นเขตแดนระหว่างโลกมนุษย์กับนรก ซึ่งวิญญาณ ผีทุกคนจะต้องข้ามสะพานไปด้วยความลำบากแสนสาหัส
    รอโปรดใหม่ฯ คือ รอจนกว่าเบื้องบนจะโปรดประทานวิถีธรรม ให้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง

    - เร่งคืนนิพพาน โอกาสนี้ จะดีกว่า
    ตามแม่มา คืนวิสุทธา อย่าหลับใหล
    ถึงเพียงนี้ จบโอวาท ให้พักไว้
    หยุดเขียนไข ทบทวนซ้ำ ย้ำความนัย


    ที่มา mindcyber.com!
     
  18. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    ปัญญาคืออะไร ปัญญาเกิดได้อย่างไร‏

    ปัญญาคืออะไร


    ปัญญาคือความรู้จริง เห็นชัดในสรรพสิ่ง รู้แล้วชัด ชัดแล้วกว้างขวางด้วย ปัญญาที่ออกมาจากจิตใจหมายถึงสติที่ออกมาจากจิตใจอันดีงาม เป็นตัวสั่งให้เราทำการ ปัญญาคือความคิดในทางบวก ใจที่มีแต่ความดี ไม่มีความชั่วแฝง ความคิดนั้นเป็นแค่เปลือกนอกของปัญญาเท่านั้นเอง ปัญญาไม่ใช่ความฉลาด ไม่ใช่กลโกงเล่ห์เพทุบายที่เกิดขึ้นในโลกมนุษย์นี้ แต่เป็นเสมือนเพชรที่แข็งแกร่ง ดุจดั่งมีดที่คมจนตัดกิเลสได้สิ้น ดุจดังความสว่างที่ไม่มีจุดดำคำว่าปัญญาเราอยากจะได้ก็ได้แต่ต้องผ่านการฝึกฝน ผ่านความยากหนึ่งครั้ง ก็จะเพิ่มพูนขึ้นหนึ่งครั้ง

    พระอาจารย์จี้กง
    พุทธสถานฮุ่ยจื้อ อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์
    23 พฤษภาคม 2542


    ปัญญาเกิดได้อย่างไร

    ปัญญาเกิดได้ด้วยจิตใจที่เปิดกว้างไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตนน้อมรับฟังทุกความเห็น ทุกคำติชม ไม่เลือกเขาไม่เลือกเรา ไม่เลือกชอบไม่เลือกชัง สามารถอยู่ร่วมกับทุกสภาวะได้อย่างกลมกลืนสอดคล้องนี่จึงเรียกว่าปัญญาที่ใสกระจ่างและกลมกล่อม อยู่ร่วมกับสรรพสิ่งได้เสมือนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ อยู่ในตัวท่านแล้วนะค้นหาให้เจอตัดทิ้งความยึดมั่นถือมั่นของตัวเองลงให้ได้ มองให้ออก เห็นให้ชัดเหมือนที่เราเห็นคนอื่นชัด เราจะต้องเห็นตัวเองให้ชัด เฉกเช่นเห็นคนอื่นชัดว่าเขามีดีเลวอย่างไร เมื่อไรที่เห็นตัวเองชัดกว่าเห็นคนอื่น เมื่อนั้นปัญญาได้ถูกจุดขึ้น เมื่อไรที่เห็นคนอื่นไม่มีสิ่งผิดเลย แต่เห็นแต่ตัวเรามีความผิดเต็มไปหมด เมื่อนั้นปัญญาเริ่มสว่าง เฉกเช่นเดียวกับพุทธะก็ได้กล่าวว่า เมื่อใดที่เห็นคนเป็นคน เท่านั้นยังไม่พอ ต้องสามารถเห็นคนแล้วแยกแยะได้ออกว่า คนมีดีมีชั่ว มีเลยมีร้าย แต่เท่านั้นยังไม่พอ ต้องสามารถก้าวให้พ้น ดี ชั่ว เลว ร้าย แล้วไม่เห็นอะไรในตัวคนเห็นเขาก็คือสรรพสิ่งดียวกับธรรมชาติในโลกนี้ เห็นเขาก็เหมือนสรรพสิ่ในใต้หล้านี้ซึ่งม่แตกต่างจากเรา หากเราทำได้เช่นนี้ ความทุกข์ไม่มีจากใจท่านเป็นแน่แท้ ถูกหรือไม่ เป็นเรื่องที่ยากใช่หรือไม่แต่ทุกท่านต้องเคยได้สัมผัสกันมาแล้ว เมื่อเห็นเขาเป็นเขา เรายังรู้สึกรักรู้สึกห่วงใช่หรือไม่ เมื่อเห็นเขามากขึ้น เรากลับมีทั้งรักทั้งชัง ทั้งห่วงหรือไม่ อยากห่วง แต่ถ้าเมื่อไรเราก้าวพ้นคำว่า รัก ชัง ห่วง ไม่ห่วง แล้วเห็นเขาเหมือนไม่เห็นเขา หรือเห็นเขาเหมือนเห็นเขา นั่นแหละคือการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในตัวเขาแล้ว สามารถเข้าใจในจิตใจเขาแล้วและถ้าเกิดรู้ถึงหนึ่ง อีกสรรพสิ่งก็เหมือนๆ กัน สรรพสิ่งในโลกนั้นต่างกันเพียงรูปลักษณ์ภายนอก แต่เนื้อแท้จริงแล้วเหมือนกันหมด ไม่แตกต่าง มนุษย์ทุกคนมีร่างกายจิตใจเหมือนกันจะต่างกันก็ตรงที่นิสัยความเคยชิน ใช่หรือไม่ และที่เราไม่สามารถก้าวพ้นได้ ก็เพราะว่าเราเห็นนิสัยความเคยชินมากกว่าเห็นตัวเขาเป็นเขา จิตของเรากลับถูกปรุงแต่ง ไม่สามารถเห็นธรรมชาติเดิมแท้ในตัวของสรรพสิ่งและสรรพชีวิตได้ จึงทำให้ใจของท่านไม่บริสุทธิ์ มีความยึดติด มีความแบ่งและมีความแตกแยก เมื่อจิตไม่รวมเป็นหนึ่ง การกระทำสิ่งใดย่อมยากลำบากมองสิ่งใดยอมไม่แจ่มชัดพอเข้าใจที่เราพูดบ้างไหม

    พระโพธิสัตว์กวนอิม
    สถานธรรมเหยินเต๋อ อ.เมือง จ.ลำปาง
    1 มิถุนายน 2545


    มนุษย์เอาความรู้และปัญญามาผนวกกัน อยากมีปัญญาก็ไปหาความรู้ นั่นเป็นปัญญาของคนทางโลก แต่ในทางธรรม การจะมีปัญญาต้องศึกษาให้มี ทั้งความรู้ มีคุณธรรม และมีการฝึกฝนปฏิบัติจริงจึงจะเรียกว่าเป็นผู้มีปัญญา หากว่ามีปัญญาอยู่เพียงคนเดียว ไม่นำออกไปปฏิบัติ มีปัญญาไหม รู้ว่ามีปัญญาจริง รู้แยกแยะออก แต่ถึงเวลาเห็นความเดือดร้อนของผู้อื่น เราก็ทำเฉยๆ คนนี้มีปัญญาไหม

    พระอาจารย์จี้กง
    พุทธสถานอิ๋งเซียน ดอนเมือง กรุงเทพฯ
    7 พฤษภาคม 2547
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2009
  19. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    มหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=497 border=0><TBODY><TR align=middle><TD colSpan=2>มหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
    (บทสวดมนต์ของพระโพธิสัตว์กวนอิม)
    </TD></TR><TR><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR><TD width=234>กวัน จื้อ ไจ้ ผู ซ่า </TD><TD width=263>พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์</TD></TR><TR><TD>สิง เซิน ปวอ เหย่อ พัว หลัว มี่ ตวอ สือ </TD><TD width=263>เมื่อได้ปฏิบัติซึ้งแล้วซึ่งปัญญาปารมิตา</TD></TR><TR><TD>เจ้า เจี้ยน อู่ อวิ้น เจีย คง </TD><TD>เพ่งเห็นขันธ์ทั้งห้า มีความเป็นศูนย์</TD></TR><TR><TD>ตู้ อี๋ เชี่ย ขู่ เอ้อ </TD><TD>จึงข้ามพ้นสรรพทุกข์ทั้งปวงได้</TD></TR><TR><TD>เซ่อ ลี่ จื่อ </TD><TD>สารีบุตร </TD></TR><TR><TD>เซ่อ ปู๋ อี้ คง คง ปู๋ อี้ เซ่อ</TD><TD>รูปไม่อื่นไปจากศูนย์ ศูนย์ไม่อื่นไปจากรูป</TD></TR><TR><TD>เซ่อ จี๋ ซื่อ คง คง จี๋ ซื่อ เซ่อ </TD><TD>รูปคือความศูนย์ ความศูนย์คือรูป</TD></TR><TR><TD>โซ่ว เสี่ยง สิง ซื่อ อี้ ฟู่ หยู ซื่อ</TD><TD>เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เช่นเดียวกัน</TD></TR><TR><TD>เซ่อ ลี่ จื่อ ซื่อ จู ฝ่า คง เซี่ยง</TD><TD>สารีบุตร ธรรมทั้งปวง มีความศูนย์เป็นลักษณะ</TD></TR><TR><TD>ปู้ เซิง ปู๋ เมี่ย </TD><TD>ไม่เกิดไม่ดับ</TD></TR><TR><TD>ปู๋ โก้ว ปู๋ จิ้ง</TD><TD>ไม่มัวหมองไม่ผ่องแผ้ว</TD></TR><TR><TD>ปู้ เจิง ปู้ เจี่ยน</TD><TD>ไม่เพิ่มไม่ลด</TD></TR><TR><TD>ซื่อ กู้ คง จง อู๋ เซ่อ </TD><TD>ฉะนั้น ในความศูนย์จึงไม่มีรูป</TD></TR><TR><TD>อู๋ โซ่ว เสี่ยง สิง ซื่อ </TD><TD>เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ</TD></TR><TR><TD>อู๋ เอยี่ยน เอ๋อ ปี่ เสอ เซิน อี้ </TD><TD>ไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กายใจ</TD></TR><TR><TD>อู๋ เซ่อ เซิง เซียง เว่ย ชู่ ฝ่า</TD><TD>ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรม</TD></TR><TR><TD>อู๋ เอยี่ยน เจี้ย ไหน่ จื้อ อู๋ อี้ ซื่อ เจี้ย</TD><TD>ไม่มีจักษุธาตุ กระทั่งไม่มีมโนธาตุ</TD></TR><TR><TD>อู๋ อู๋ หมิง </TD><TD>ไม่มีอวิชชา</TD></TR><TR><TD>อี้ อู๋ อู๋ หมิง จิ้น</TD><TD>ไม่มีความสิ้นไปแห่งอวิชชา</TD></TR><TR><TD>ไหน่ จื้อ อู๋ เหลา สื่อ </TD><TD>กระทั่งไม่มีความแก่ ความตาย</TD></TR><TR><TD>อี้ อู๋ เหลา สื่อ จิ้น</TD><TD>และก็ไม่มีความสิ้นไปแห่งความแก่ความตาย</TD></TR><TR><TD>อู๋ ขู่ จี๋ เมี่ย เต้า </TD><TD>ไม่มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค</TD></TR><TR><TD>อู๋ จื้อ อี้ อู๋ เต๋อ </TD><TD>ไม่มีญาณ และก็ไม่มีการได้อะไร</TD></TR><TR><TD>อี่ อู๋ สว่อ เต๋อ กู้ </TD><TD>เพราะไม่มีอะไรจะได้</TD></TR><TR><TD>ผู ถี ซ่า ตว่อ</TD><TD>พระโพธิสัตว์</TD></TR><TR><TD>อี ปวอ เหย่อ ปวอ หลัว มี่ ตัว กู้ </TD><TD>ด้วยเหตุดำเนินตามปัญญาปารมิตา</TD></TR><TR><TD>ซิน อู๋ กว้า ไอ้</TD><TD>จิตย่อมไม่ขัดข้อง</TD></TR><TR><TD>อู๋ กว้า อ้าย กู้</TD><TD>เพราะจิตไม่ขัดข้อง</TD></TR><TR><TD>อู๋ โหยว ข่ง ปู้</TD><TD>จึงไม่มีความสะดุ้งกลัว</TD></TR><TR><TD>เอวี่ยน หลี เตียน เต่า เมิ่ง เสี่ยง </TD><TD>ละจากความวิปลาสและความเพ้อฝัน</TD></TR><TR><TD>จิ้ว จิ้ง เนี่ย ผัน</TD><TD>มีพระนิพพานเป็นที่สุด</TD></TR><TR><TD>ซัน ซื่อ จู ฝอ </TD><TD>พระพุทธเจ้าทั้งสามกาล</TD></TR><TR><TD>อี ปวอ เหย่อ ปวอ หลัว มี่ ตวอ กู้ </TD><TD>เนื่องด้วยดำเนินตามปัญญาบารมี</TD></TR><TR><TD>เต๋อ อา โน่ว ตัว หลัว ซัน เหมี่ยว ซัน ผู ถี</TD><TD>จึงได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ</TD></TR><TR><TD>กู้ จือ ปวอ เหย่อ ปวอ หลัว มี่ ตวอ</TD><TD>ฉะนั้น จึงทราบว่าปัญญาปารมิตา</TD></TR><TR><TD>ซื่อ ต้า เสิน โจ้ว </TD><TD>เป็นมหาศักดามนตร์</TD></TR><TR><TD>ซื่อ ต้า หมิง โจ้ว</TD><TD>เป็นมหาวิทยามนตร์</TD></TR><TR><TD>ซื่อ อู๋ ซั่ง โจ้ว </TD><TD>เป็นอนุตตรมนตร์</TD></TR><TR><TD>ซื่อ อู๋ เติ๋ง เติ่ง โจ้ว </TD><TD>เป็นอสมมนตร์</TD></TR><TR><TD>เหนิง ฉู อี๋ เชี่ย ขู่</TD><TD>สามารถดับสรรพทุกข์ได้</TD></TR><TR><TD>เจิน สือ ปู้ ซวี</TD><TD>นี่เป็นสัจจะไม่ผิดพลาด</TD></TR><TR><TD>กู้ ซวอ ปวอ เหย่อ ปวอ หลัว มี่ ตวอ โจ้ว </TD><TD>ฉะนั้น จึงประกาศปัญญาปารมิตามนตร์</TD></TR><TR><TD>จี๋ ซวอ โจ้ว เอวีย</TD><TD>ดังนี้</TD></TR><TR><TD>เจีย ตี้ เจีย ตี้ </TD><TD>คติ คติ</TD></TR><TR><TD>ปวอ หลัว เจีย ตี้ </TD><TD>ปราคติ</TD></TR><TR><TD>ปวอ หลัว เซิง เจีย ตี้</TD><TD>ปราสังคติ</TD></TR><TR><TD>ผู ถี ซ่า ผวอ เฮอ</TD><TD>โพธิสวาหะ
    </TD></TR><TR><TD>(กราบ 3 ครั้ง) </TD><TD>แปลโดย อาจารย์เสถียร โพธินันทะ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    sleeping_rb
     
  20. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    มหากรุณาธารณีสูตร

    <CENTER>“โชย ซิ่ว โชย งั่ง บ่อ ไหง ไต่ ปุย ซิม ทอ ลอ นี จิ่ว” 3 จบ
    “ปึง ซือ ออ นี ทอ ยู ไล้” 3 จบ
    </CENTER>

    คำอ่าน
    นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย . นำ มอ ออ ลี เย . ผ่อ ลู กิด ตี ชอ ปอ ลา เย . ผู่ ที สัต ตอ ผ่อ เย . หม่อ ฮอ สัก ตอ ผ่อ เย . มอ ฮอ เกีย ลู นี เกีย เย งัน . สัก พัน ลา ฮัว อี . ซู ตัน นอ ตัน เซ . นำ มอ สิด กิด ลี ตอ อี หม่ง ออ ลี เย . ผ่อ ลู กิด ตี สิด ฮู ลา เลง ถ่อ พอ . นำ มอ นอ ลา กิน ชี . ซี ลี หม่อ ฮอ พัน ตอ ซา เม . สะ พอ ออ ทอ เตา ซี พง . ออ ซี เย็น . สะ พอ สะ ตอ นอ มอ พอ สะ ตอ . นอ มอ พอ เค . มอ ฮัว เตอ เตา . ตัน จิต ทอ งัน ออ พอ ลู ซี . ลู เกีย ตี . เกีย ลอ ตี . อี ซี ลี . หม่อ ฮอ ผู่ ที สัก ตอ . สัต พอ สัต พอ . มอ ลา มอ ลา . มอ ซี มอ ซี ลี ทอ ยิน . กี ลู กี ลู กิด มง . ตู ลู ตู ลู ฟา เซ เย ตี . หม่อ ฮอ ฮัว เซ เย ตี . ทอ ลา ทอ ลา . ตี ลี นี . สิด ฮู ลา เย . เจ ลา เจ ลา . มอ มอ ฮัว มอ ลา หมก ตี ลี . อี ซี อี ซี . สิด นอ สิด นอ . ออ ลา ซัน ฮู ลา เซ ลี . ฮัว ซอ ฮัว ซัน . ฮู ลา เซ เย . ฮู ลู ฮู ลู มอ ลา . ฮู ลู ฮู ลู ซี ลี . ซอ ลา ซอ ลา . สิด ลี สิด ลี . ซู ลู ซู ลู . ผู่ ถี่ เย ผู่ ที เย . ผู่ ทอ เย ผู่ ทอ เย . มี ตี ลี เย . นอ ลา กิน ชี . ตี ลี สิด นี นอ . ผ่อ เย มอ นอ . ซอ ผ่อ ฮอ . สิด ถ่อ เย . ซอ ผ่อ ฮอ . หม่อ ฮอ สิด ถ่อ เย . ซอ ผ่อ ฮอ . สิด ทอ ยี อี . สิด พัน ลา เย . ซอ ผ่อ ฮอ . นอ ลา กิน ชี . ซอ ผ่อ ฮอ . มอ ลา นอ ลา . ซอ ผ่อ ฮอ . สิด ลา เซง ออ หมก เค เย . ซอ ผ่อ ฮอ . ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ ออ สิด ถ่อ เย . ซอ ผ่อ ฮอ . เจ กิด ลา ออ สิด ถ่อ เย . ซอ ผ่อ ฮอ . ปอ ทอ มอ กิด สิด ถ่อ เย . ซอ ผ่อ ฮอ . นอ ลา กิน ชี . พัน เค ลา เย . ซอ ผ่อ ฮอ . มอ ผ่อ ลี เซง กิด ลา เย . ซอ ผ่อ ฮอ . นำ มอ ห่อ ลา ตัน นอ ตอ ลา เย เย . นำ มอ ออ ลี เย . ผ่อ ลู กิด ตี . ชอ พัน ลา เย . ซอ ผ่อ ฮอ . งัน สิด ติน ตู . มัน ตอ ลา . ปัด ถ่อ เย . ซอ ผ่อ ฮอ .

    ใจความเป็นภาษาไทย
    ขอนอบน้อมนมัสการแด่องค์พระอริยะ ผู้ห่างไกลจากบาปอกุศล
    วัตถุประสงค์แห่งบทนี้... พระโพธิสัตว์ทรงสั่งสอนชาวโลก
    ให้ปฏิบัติทางจิตเป็นมูลฐาน พระสัทธรรมทั้งหลายล้วนกำเนิดมาแต่จิต
    เหตุนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความชัดแจ้งแห่งจิต
    และมองเห็นสภาวะแห่งตน จึงจะสามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ
    เมื่อไม่แจ้งชัดในจิตก็ไม่สามารถเห็นสภาวะแห่งตน
    หากแต่จิตมีความมั่นคง ก็สามารถเดินทางสู่พระนฤพานได้
    ขอนอบน้อมคารวะแด่องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (เจ้าแม่กวนอิม)
    ผู้เพ่งเสียงแห่งสรรพสัตว์ผู้ยาก
    พระโพธิสัตว์ผู้สงสารชีวิตแห่งสรรพสัตว์ผู้ตกอยู่ในกองทุกข์
    เขาเหล่านั้นล้วนมีความทุกข์อันเกิดจากการหลงลืมสภาวะเดิมของตน
    จำต้องเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ พระองค์พิจารณาตามนี้
    จึงเกิดเมตตาจิตที่จะโปรดสัตว์
    ขอนอบน้อมคารวะต่อผู้ให้ความตรัสรู้แก่ทุกชีวิต
    หากตั้งใจในธรรม นอบน้อมต่อความแจ้งในสภาวะเดิม
    ก็จะถึงความหลุดพ้น...
    เมื่อน้อมคารวะผู้กล้าหาญก็มีโอกาสที่จะหลุดพ้น
    มวลสรรพสัตว์ในโลกอันไพศาล ถ้ารู้สึกตัวแล้วลงมือปฏิบัติ
    ล้วนถึงความหลุดพ้นได้
    ขอนอบน้อมคารวะต่อผู้มีมหากรุณาจิต
    ... พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีความเมตตากรุณาไม่มีประมาณ
    นำสัทธรรมอันเป็นความดับสูญโดยแท้จริง
    ปลุกให้มนุษย์ฟื้นคืนสภาวะเดิมที่มีอยู่ เข้าถึงสัทธรรมอันบริสุทธิ์
    องค์อริยะผู้อิสระ ผู้มีกายใจอันบริสุทธิ์สะอาด
    ...กาย ใจ จะบริสุทธิ์ได้ ต้องตั้งอยู่ในสัจธรรม ปฏิบัติตนอยู่ในศีล
    การปฏิบัติธรรมต้องถือความสัจเป็นพื้นฐาน
    ใช้ความเพียรเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุสู่อริยสัจ
    ...หากการปฏิบัติธรรมไม่ประกอบด้วยความสัจ
    ก็จะไม่พบหนทางสู่ความสำเร็จ
    เนื่องจากความสัจนั้นเป็นธรรมที่ปราศจากการหลอกลวง
    จิตจึงรวมเป็นหนึ่งได้
    เมื่อมีความสัจ ก็จะมีความเข้าใจ
    เมื่อเข้าใจก็จะมองเห็นความปลอดโปร่ง
    เมื่อปลอดโปร่งก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลง
    และกลับกลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น
    ...ผู้ที่จะนอบน้อมเข้าถึงองค์อริยะ จำต้องปฏิบัติธรรมโดยมานะพากเพียร
    มีจิตใจมั่นคงเป็นหนึ่ง จะกระทำโดยเร่งรีบไม่ได้
    ต้องทำใจให้ว่างเข้าถึงองค์แห่งพระธรรมคัมภีร์
    หมั่นในการปฏิบัติตามหลักธรรม มีความคิดดำริมั่นที่จะก้าวข้ามห้วงแห่ง
    โอฆะ (โอฆะ = การเวียนว่ายตายเกิดในโลกนี้ )
    คิดจะกระทำประโยชน์แก่สรรพชีวิต
    ...ผู้ปฏิบัติต้องจงใจมุ่งไปข้างหน้า ฝึกฝนให้กายและจิตรวมเป็นหนึ่ง
    (เอกัคคตา) เพื่อให้สำเร็จในมรรคผล
    ..ด้วยความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์
    ทรงย้ำเตือนให้ยึดถือพระไตรสรณาคมน์
    ต้องปฏิบัติตนอยู่ในมนุษยธรรม
    ทำตนเป็นตัวอย่างเพื่อให้สาธุชนรุ่นหลังได้รับรู้เป็นแบบอย่าง และเจริญรอยตาม
    สาธุชนผู้ปฏิบัติตามพระพุทธองค์และพระธรรม
    ยิ่งต้องมีความเมตตากรุณาจิตและโพธิจิตเพื่อโปรดสัตว์
    รักษาพระธรรมยิ่งกว่าชีวิตและเผื่อแผ่ทั่วไปไม่มีประมาณ
    ...พระโพธิสัตว์เล็งเห็นว่าชาวโลกถือเอาความรวย,
    มีชื่อเสียง, ศักดินา เป็นที่นิยมศรัทธา อันเป็นการเพิ่มพูนความทุกข์
    พระองค์จึงเตือนจิตให้มนุษย์ จงผ่อนใจในทางโลก
    โน้มน้าวจิตใจมาในทางมรรคผล เมื่อจิตว่างแล้ว
    พระสัทธรรมอันพิสุทธิ์ก็จะเจริญขึ้น
    ...ทุกคนที่ปฏิบัติสามารถรู้ได้เห็นได้ และบรรลุสู่พระพุทธภูมิได้โดยเสมอกัน
    ผู้ที่ทำความดีย่อมได้รับการชมเชย ผู้ทำบาปจะต้องสำนึกและขอขมาโทษ
    ...ไม่ว่านักปราชญ์หรือผู้โง่เขลา เบาปัญญา
    คนหรือสัตว์ ล้วนสามารถหลุดพ้นได้ ถ้าเขาเหล่านั้นปฏิบัติธรรมด้วยความสัจ
    ผู้ปฏิบัติต้องถือพระสัทธรรมเป็นสูญ ไม่ข้องแวะ
    ไม่ติดในรูป ไม่ยึดในจิต ถือเอาสัจธรรมเป็นใหญ่
    และต้องละความวิตกกังวล กำจัดความโกรธ
    ความโลภ ความหลง โดยใช้หลักแห่งปัญญาดับกิเลสให้จิตสงบ
    เป็นอยู่ในโลกนี้โดยสันติสุข
    ความศรัทธาจริงอันต่อเนื่องกัน จิตต้องตรงกับพระธรรม
    ห้ามมิให้มีความคิดทางโลกเกิดขึ้นโดยเด็ดขาด
    ทั้งนี้ เนื่องจากว่าหากปล่อยให้ความคิดทางโลก เกิดขึ้นในจิต กาย ใจ
    ก็จะไม่บริสุทธิ์ ทำให้เกิดการขัดแย้งกับพระธรรม ไม่อาจจะพบความสันติสุขได้
    ความสะอาดจิตสะอาดสดใสไร้ราคะ
    ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีจิตใจที่เด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นไหวต่อการก่อกวนของเหล่ามาร (กามกิเลส)
    หากสามารถตั้งจิตข่มจิตสำรวมกาย วาจา และจิต
    ละทิ้งโลกาวิสัยทั้งหมดก็จะเข้าถึงพุทธสภาวะที่มีอยู่เดิม
    .. ถ้าทำให้จิตมีความสงบนิ่งอยู่ทุกขณะ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน
    ก็จะมีความสำเร็จในธรรมโดยมิรู้ตัว
    ..พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ รวมทั้งพระโพธิสัตว์เจ้าได้หลุดพ้น
    ในขณะที่อยู่ในโลกอันมากล้นไปด้วยกิเลสนี้
    เป็นโลกนาถ มีความเป็นอิสระ
    ...มีกุศลจิตสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มัวหมอง มีรัศมีสว่างรอบกาย
    และสามารถร่วมกับดินฟ้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    รักษาความมีกุศลจิต อย่าทำลายตนเอง อย่าหลงผิดเป็นชอบ
    สิ่งสำคัญ...ต้องรักษาจิตให้บริสุทธิ์
    ผู้มีความกรุณา ผู้ปลดปล่อยทุกข์ เป็นผู้มีจิตในทางธรรม
    ดำรงมรรคมั่นคง มีสติปัญญาเฉียบแหลมยิ่งใหญ่
    ...เมื่อจิตมีความสงบก็สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งชั่วร้ายให้กลับกลายเป็นดี
    กระทำตามโอวาท อย่ามีจิตหลงผิด
    การเน้นปฏิบัติอนัตตธรรม (อนัตตธรรม = ธรรมชาติที่เป็นความไม่มีตัวตน)
    มองเห็นสรรพธรรมเป็นสูญ (สูญ = สูญตา = ความว่าง)
    มองความรุ่งเรืองแห่งลาภยศ สรรเสริญเป็นสูญ
    มองให้เห็นเป็นเงาลวง ทำจิตใจร่างกายให้หมดจด
    พุทธธรรมมีความเสมอภาค อีกทั้งยังอำนวยประโยชน์สุขแก่สัตว์โลก
    ผู้ที่มีปัจจัยแห่งบุญย่อมได้รับความสุข
    ...ความคิดคำนึงเกิดมาแต่จิต จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธานแห่งบุญและบาป
    ผู้ปฏิบัติต้องกำจัดความคิดอันเป็นอกุศล ความคิดฟุ้งซ่าน
    ระงับความวิตกกังวล เพียรพยายามเสาะหาสัจธรรม
    ชำระล้างอายตนะภายในให้สะอาดพิสุทธิ์ ละความห่วงใยใดๆให้สิ้นเชิง
    ความมีอิสระทันที ผู้ปฏิบัติไม่มีเวลาใดที่ไม่เป็นอิสระคือมีอิสระทุกเมื่อ
    การปฏิบัติกระทั่งสำเร็จวิชชาธรรมกาย มีอาสน์ดอกบัวรองรับ
    โดยปกติแล้วผู้ที่มีจิตว่างก็จะมีความสะอาดทั้งกายและจิต
    เมื่อลงมือปฏิบัติแล้วก็สามารถบรรลุมรรคผลได้ และก็จะตั้งอยู่เช่นนั้น ไม่มีวันเสื่อมถอย
    การเกิดความคิดปฎิบัติธรรมสามารถบันดาลให้เทพเจ้ามาปกปักรักษา
    ผู้ปฏิบัติจะต้องสร้างสมบุญบารมีเพื่อเป็นพื้นฐานในการบรรลุสู่มหามรรค (มรรคผล-นิพพาน)
    ผู้ปฏิบัติจะต้องยืนให้มั่นตั้งใจปฏิบัติ
    ไม่ลุ่มหลงด้วยพวกเดียรถี มีความแน่วแน่ มีสมาธิ มีความสงบ
    มีความบริสุทธิ์อันยิ่งใหญ่สามารถข้ามพ้นสังสารวัฏได้
    พระสัทธรรมอันไพศาล สามารถระงับความเกิดดับแห่งกิเลสได้
    ภัยพิบัติต่างๆไม่แผ้วพาน ทุกคนสามารถสำเร็จเป็นพุทธะได้เหมือนกัน
    ...กำจัดความหลงผิด ความเห็นแก่ตัว ปล่อยวางปัจจัยทางโลก
    เมื่อปฏิบัติจิตให้มีสภาพเหมือนอากาศอันโปร่งใส
    ไร้ละอองธุลีแม้แต่น้อย ก็จะได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นพรหมได้
    เมื่อปฏิบัติธรรมเข้าถึงความสมบูรณ์แห่งสภาวะเดิมแล้ว
    จะมีความสว่างปรากฏในกายของตน
    ความโกรธ ดุ สุรเสียงที่เปล่งออกมาดุจเสียงคำรามของฟ้า กระหึ่มไปทั่วสารทิศ
    ...ธรรมเหมือนดังฟ้าร้องคำรามไปทุกสารทิศ
    เป็นเสียงแห่งพรหมเมื่อเหล่ามารได้ยินศัพท์สำเนียงนี้ ก็จะเกิดความสะดุ้งกลัว
    การกระทำดี สามารถทำลายความกังวลแห่งภยันตรายได้
    ธรรมะเป็นสิ่งลึกซึ้ง เข้าใจยาก
    และมีความศักดิ์สิทธิ์ไม่สามารถประมาณ หรือคาดคิดได้ เป็นประโยชน์ที่ไม่มีสิ่งใดทัดเทียม
    ...ผู้ปฏิบัติได้เช่นนี้ ย่อมบรรลุสู่ภูมิแห่งพุทธ
    การชักชวนตามพระศาสนา ทุกสรรพสิ่งให้ดำเนินไปตามธรรมชาติ
    ...ทุกสิ่งปล่อยให้ดำเนินไปตามเหตุปัจจัยปรุงแต่ง อย่าฝืนกระทำตามใจชอบ
    เป็นมหาสติ มีจิตใจมั่นคงสามารถเข้าสู่มหาปัญญา
    ..ผู้ปฏิบัติธรรม มีความสว่างแห่งสติปัญญาอยู่
    ถ้าใช้จิตนี้เป็นฐานใช้ธรรมให้เป็นประโยชน์ ก็จะได้รับฐานธาตุที่สดชื่น
    แต่หากไม่มีจิตใจมั่นคงกำจัดกิเลสในตนไม่หมด
    ก็ไม่มีทางที่จะให้ความว่างแห่งสติปัญญาที่มีอยู่ดั้งเดิมปรากฏออกมาได้เลย.
    ความผ่านธรรมไปถึงธรรมราชา มีความอิสระในธรรม
    การได้พระธรรมกายอันบริสุทธิ์ ได้ดวงแก้วแห่งพระรัตนะ
    ผู้ที่มีธรรม ตั้งอยู่ในขันติธรรม
    ผู้บรรลุธรรม มีความสุขอันแท้จริงยากจะบรรยาย
    เป็นการอนุโมทนาตามเหตุตามปัจจัย
    ...ความสุขที่แท้จริง จะต้องได้จากการปฏิบัติที่ยากลำบาก
    ถ้าสามารถอดทนต่อความยากลำบากก็จะเข้าถึงความสุขอันยิ่งได้
    จะต้องมีความรู้ด้วยตนเอง ผู้จะบรรลุธรรมหากสามารถละการยึดเกี่ยวเข้าถึงสภาวะดั้งเดิม
    ก็จะพบพระพุทธเจ้าได้ทุกพระองค์
    การประกอบพิธีตามปรารถนา ประกอบพิธีกรรมไม่ละจากตัวตน
    การประกอบธรรม โดยปราศจากความคิดคำนึงมีความเป็นอิสระสูง
    ผู้ปฏิบัติเพียงแต่มีความมุ่งมั่น มีความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง
    มีจิตอันเป็นหนึ่งเดียว ก็จะได้เห็นองค์พระโพธิสัตว์
    ความเป็นมหามงคลอันสูงสุด สามารถอำนวยประโยชน์
    และคุ้มครองสรรพสัตว์โดยไม่ละทิ้ง
    น้ำอมฤตทานสามารถอำนวยประโยชน์แก่สัตว์โลกทั้งปวง
    การตรัสรู้ธรรม ตรัสรู้ถึงภูมิจิต ผู้ที่ปฏิบัติจะต้องมีความวิริยะพากเพียรอย่างแรงกล้า
    ปฏิบัติทุกวันทุกคืนเสมอต้นเสมอปลายไม่ท้อถอย
    เป็นการรู้ในธรรม รู้ในจิต ผู้ปฏิบัติจะต้องถือ "ตัวเขา-ตัวเรา"
    เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่เพียงแต่ไม่เห็นลักษณะตัวเขาตัวเรา
    แม้สรรพสัตว์ในทุคติ ก็ต้องถือว่าเท่าเทียมกับเรา
    มหากรุณา ให้ผู้ปฏิบัติต้องเจริญเมตตากรุณาจิต
    เพื่อให้สรรพสัตว์เข้าถึงโพธิมรรค
    ...รักในตนเองเท่าใด ก็ให้รักผู้อื่นเท่านั้น
    นักปราชญ์ผู้รักษาตนเองได้ มีมหากรุณาจิต
    ...ผู้ปฏิบัติจะต้องเคารพนักปราชญ์ เห็นผู้ทำดีจะต้องช่วยกันรักษา
    ผู้ที่เกิดความท้อถอยก็ต้องส่งเสริมให้กำลังใจ
    ความคมของวัชระ ให้คนเรามีความมั่นคงในการปฏิบัติธรรม
    สุรเสียงก้องไปสิบทิศ เป็นสุรเสียงแห่งความปิติยินดี
    ความสำเร็จผล มงคล นิพพาน ระงับภัยเพิ่มพูลประโยชน์
    พระสัทธรรมไม่เกิดไม่ดับ เป็นสภาวะอันสงบมาแต่เดิม
    ความสำเร็จในธรรมทั้งหลาย เข้าถึงพระวิสุทธิมรรคปราศจากขอบเขตอันจำกัด
    สรรพสัตว์เพียงแต่ละวางจากลาภยศชื่อเสียง ก็จะเข้าถึงความหลุดพ้นได้
    ผู้ปฏิบัติถ้าเห็นแจ้งในพระสัจธรรมและความหลอกลวง(ไม่แท้) ก็จะสำเร็จได้ง่าย
    ความไพศาลของพระพุทธธรรม ผู้ใดน้อมนำไปปฏิบัติจะสำเร็จในพระพุทธผล
    ทวยเทพเจ้าต่างได้รับความสำเร็จอันเป็นความว่างเปล่า (สุญญตาธรรม)
    ความสำเร็จด้วยความรัก ความเมตตากรุณา การปกปักษ์รักษา
    แสดงถึงความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์
    พระโพธิสัตว์มุ่งเน้นให้คนปฏิบัติธรรม อีกทั้งยังเปิดเผยหัวใจอันลึกซึ้งของมหามรรคนี้
    เป็นการแสดงความรักของพระโพธิสัตว์ต่อหมู่ชน
    คนเรานั้นมีโรคทางจิตเป็นภัยคุกคาม
    พระธรรมโอสถเท่านั้นที่สามารถรักษาให้หายได้
    สัตว์ทุกประเภทมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน
    สามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิได้เหมือนกัน
    สรรพสัตว์มีโอกาสร่วมรับความสุขสบายทั่วถึงกัน
    บุคคลมีขันติธรรมก็จะเข้าถึงธรรมได้ด้วยดี สามารถสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ไม่จำกัด
    (ต่อเนื่องกับบทก่อน) ความเมตตาอันสูงสุด การใช้วชิรธรรมจักร ปราบเหล่ามารศัตรูได้รับความสำเร็จ
    สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนสำเร็จในความบริสุทธิ์ได้
    จึงไม่ควรประกอบอกุศลกรรมทั้งหลาย
    พุทธธรรมเป็นธรรมที่ไม่มีขอบเขต
    จะต้องปฏิบัติเพื่อได้รับความสุขร่วมกัน
    ย้ำเตือนให้ผู้ปฏิบัติจะต้องประกอบด้วยสติปัญญาเพื่อการหลุดพ้น ละจากกิเลส
    ผู้ปฏิบัติไม่ยึดในทางใดทางหนึ่ง
    ปฏิบัติโดยการพิจารณา พร้อมทั้งมีหิริโอตตัปปะ
    ..มรรคผลนั้นสำเร็จได้ด้วยตนเอง สำเร็จได้ด้วยการพิจารณา
    ในทุกขณะจะต้องพิจารณาจิตของตน รักษาไว้ในทุกเหตุปัจจัยไม่ให้วิตกจิตเกิดขึ้นได้
    รักษาไว้ด้วยความเป็นภัทร (ภัทร = เจริญ,ประเสริฐ)
    เถระเพ่งโดยอิสระ
    เป็นที่รักของผู้เจริญ เป็นที่รักของพระอริยะ
    การปฏิบัติให้ถือเอาสัมมาจิต และความมีสัจเป็นหลัก
    คุณธรรมจะสำเร็จได้ ด้วยสภาวะแห่งเมตตาธรรม
    หากจิตตั้งอยู่ในอกุศลก็ย่อมเป็นการยากที่จะสำเร็จพระอนุตตรธรรม
    พระคาถาทั้งหมดแห่งมหากรุณาธารณีสูตรมาไว้ในประโยคนี้
    มีนัยบ่งบอกถึงความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์
    เพื่อโปรดเหล่าสรรพสัตว์ทั้งปวงให้ได้รับหิตานุหิตประโยขน์ มีพระสัมมาสัมโพธิเป็นหลักชัย
    เน้นย้ำให้พยายามควบคุมกายใจไม่ให้ลื่นไหลไปตามอารมณ์ที่มากระทบ โน้มนำเอาฌานสมาธิเพ่งการเกิดการดับ
    เป็นการสาธยายมนต์สรรเสริญพระอริยะ และกล่าวย้ำถึงการปฏิบัติธรรม
    ต้องละความเป็นตัวตน, บุคคล, เรา-เขา จึงสามารถไม่ให้เกิดความคิดนึกอันเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ได้
    ...ความนึกคิดติดยึดไม่เกิด ความเข้าใจถึงธรรมก็จะเป็นที่หวังได้
    พระสัทธรรมไม่มีความสิ้นสุด บรรดาผู้ปฏิบัติธรรมย่อมมีความบริสุทธิ์เป็นเครื่องอยู่ นำทางสู่แดนสุขาวดี
    ...มีการเกิดย่อมต้องมีการตาย มีความชนะย่อมต้องมีความพ่ายแพ้... แต่ชาวโลกผู้ตกอยู่ภายใต้อวิชชา
    กลับยินดีต่อการเกิดเกลียดชังความตาย ท้ายที่สุดก็ต้องตายอยู่นั่นเอง
    ฉะนั้นหากต้องการรอดพ้นจากความตาย จะต้องค้นหาความเป็นในความตายให้ได้เสียก่อน
    ผู้ปฏิบัติต้องสำรวมตาเห็นรูป ไม่ปรุงแต่งไปตามรูปที่มองเห็น
    สำรวมหูฟังเสียง ไม่ปรุงแต่งไปตามเสียงที่ได้ยิน
    สำรวมจมูกดมกลิ่น ไม่ปรุงแต่งไปตามกลิ่นที่จมูกดม
    สำรวมลิ้นรับรส ไม่ปรุงแต่งไปตามรสที่ลิ้นรับ
    สำรวมกายถูกต้องสัมผัส ไม่ปรุงแต่งไปตามที่ร่างกายถูกต้องสัมผัส
    สุดท้ายสำรวมใจรับรู้อารมณ์ ไม่ปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์ใดๆที่ใจรับรู้
    รวมเรียกว่าสำรวมอินทรีย์ ๖ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ บรรลุเป็นโพธิสัตว์อันบริสุทธิ์
    ...จงเว้นจากการทำบาป เร่งบำเพ็ญสรรพกุศล ชำระจิตให้สะอาดหมดจด...
    นี่คือพระธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    ธรรมเหล่าใดจะสำเร็จได้ด้วยอาศัยใจเป็นประธาน

    ที่มา mindcyber.com!
     

แชร์หน้านี้

Loading...