ตอนที่ ๓ ความเดิมจากตอนที่๒ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่า "การที่มนุษย์จะรับรู้อารมณ์ได้ ย่อมเกิดจากอะตอม โมเลกุล และเซลล์ ของเนื้อเยื่อแห่งอวัยวะต่างๆ ได้รับคลื่นไฟฟ้าจากสมองและหัวใจ ฯลฯ กลายเป็นความจำในระดับเซลล์ต่างๆ สามารถรับรู้ หรือเกิด ธรรมชาติ ที่รู้อารมณ์ ทั้งที่เกิดขึ้นจาการสัมผัสภายนอก และภายในร่างกาย การที่มนุษย์ จะมีธรรมชาติที่รู้อารมณ์ มีสภาพนึกคิด หรือความคิดได้ นอกเหนือจากอวัยวะและระบบการทำงานของร่างกายแล้ว ก็ย่อมมีปัจจัย และเหตุ ที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์อย่างนั้น นั่นก็คือ "เจตสิก " เจตสิก ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก หมายถึง "ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆ ของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๒ อย่าง จัดเป็น อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕" คำว่าธรรมที่ประกอบกับจิต แท้จริงแล้ว ก็คือบรรดา ความรู้ ความเข้าใจ การได้รับการขัดเกลาทางสังคม นับตั้งแต่กรรมพันธุ์ ที่ได้รับจาก บิดามารดา (ปู่,ย่า,ตาทวด,ยายทวด ฯลฯ) และยังหมายรวมไปถึงการที่ร่างกายปรุงแต่งความรู้ ความเข้าใจต่างๆ ก่อให้เกิด อารมณ์ ความรู้สึก นานับ ประการ อันนี้ท่านทั้งหลายคงรู้กันดีว่า มีอารมณ์ ความรู้สึกอย่างไรบ้าง ดังนั้น ธรรมที่ประกอบกับจิต จึงหมายถึง ความรู้ในด้านต่างๆ รวมไปถึงการได้รับการขัดเกลาทางสังคม วัฒนธรรมจารีตประเพณี และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ฯ สิ่งที่ได้กล่าวไปจะถูกจดจำ เก็บไว้ เป็นข้อมูลภายในร่างกาย ก่อให้เกิด อุปนิสัย ความต้องการ ความชอบ ความไม่ชอบ รัก เกลียด โลภ โกรธ หลง และความรู้ ความเข้าใจอันเรียกว่า ธรรมที่ประกอบกับจิต นี้ ย่อมเป็นสิ่งที่มีอยู่ในอวัยวะต่างๆภายในร่างกายของบุคคลนั้นๆ เพราะ จิต ก็คือ อวัยวะต่างๆของร่างกาย และรวมไปถึง ระบบการทำงานร่วมกันของอวัยวะต่างๆอีกด้วย ท่านทั้งหลายหากท่านสามารถระลึกได้ คือมีสติ ท่านก็จะเกิดความรู้ ความเข้าใจ และทึ่ง ในหลักพระอภิธรรมปิฎก ที่สามารถเข้ากันได้และเป็นแบบเดียวกันกับหลักวิทยาศาสตร์ ชีวะวิทยา สรีระร่างกายของมนุษย์ เพียงแต่ศัพท์ภาษาที่ใช้แตกต่างกันเท่านั้น เมื่อท่านทั้งหลายรู้แล้วว่า เจตสิก คือ ความรู้ ความเข้าใจ ในด้านต่างๆ รวมไปถึง การได้รับการขัดเกลาทางสังคม วัฒนธรรมจารีตประเพณี และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ นับตั้งแต่กรรมพันธุ์ เป็นต้นมา แต่คงมีหลายๆท่านที่ยังไม่เข้าใจในคำว่า ธรรมที่ประกอบกับจิต คงคิดว่า เป็นหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาเท่านั้น ซึ่งในทางที่เป็นจริงแล้ว ความรู้ ความเข้าใจ การได้รับการขัดเกลาทางสังคมฯลฯ ล้วนเป็นข้อปลีกย่อยของหลักธรรมะ ไม่ว่าท่านทั้งหลาย จะประกอบกิจกรรม หรือดำเนินชีวิต ในรูปแบบใด ก็ล้วนเป็นข้อปลีกย่อยของหลักธรรมะทั้งสิ้น เหตุก็เพราะ "ธรรมะ ก็คือ ธรรมชาติของการดำเนินชีวิตในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของสรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต" ธรรมะ ทั้งหลายที่มีในทางศาสนา ก็คือ หลักการ หรือวิธีการ หรือแม่แบบแห่งสภาพสภาวะจิตใจ พฤติกรรม การกระทำ ทั้งทางกาย (วาจา) และใจ แต่ธรรมดาในธรรมชาติของมนุษย์ (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) ล้วนย่อมมีพฤติกรรม และการกระทำ รวมไปถึงสภาพสภาวะจิตใจ ทั้งในทางที่ค่านิยมของสังคมเรียกว่า ดี และทั้งในทางที่ค่านิยมของสังคมเรียกว่า ไม่ดี พฤติกรรม การกระทำ และสภาพสภาวะจิตใจ เหล่านั้น ล้วนย่อมเป็นผลจากความรู้ ความเข้าใจ การได้รับการขัดเกลาทางสังคมด้านต่างๆ จึงทำให้เกิดเป็นสิ่งที่หลักพระอภิธรรมเรียกว่า "เจตสิก" นั่นเอง จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ ๓๑ ส.ค. ๒๕๕๒
การประกาศเผยแพร่ธรรมตามความเห็นของตน... อันมิใช่คำสอนขององค์พระศาสดาหรือพระอริยะสงฆ์ ควรพินิจพิจารณาในความสมควรในการเผยแพร่ธรรม.. เป็นกาลอันสมควรและอยู่ในฐานะหรืออฐานะหรือไม่ครับ
คุณขอรับ คุณมีความรู้เกี่ยวกับพระอภิธรรมปิฎกหรือไม่ คุณอ่านอย่างไร จึงคิดว่าข้าพเจ้าประกาศเผยแพร่ตามความเห็นของตน แล้วตัวคุณไม่มองดูตัวคุณบ้างหรือว่า คุณมีความเขลาอ่านหนังสือแล้วไม่รู้จักใช้สมองสติปัญญาคิดพิจารณา แต่ดันใช้ความเขลาเบาปัญญาของตัวคุณกล่าวสบประมาท อันเป็นการมิบังควรอย่างยิ่ง คุณคิดว่าข้าพเจ้าเป็นใคร ทำไมถึงกล้าที่จะเขียนเป็นคำสอนขึ้นมา ข้าพเจ้ายิ่งกว่า พระอริยสงฆ์ที่คุณกล่าวถึงด้วยซ้ำ แล้วคุณรู้หรือว่า คำสอนขององค์พระศาสดา สอนว่าอย่างไร ไหนลองตอบมาซิ ข้าพเจัาก็อยากรู้เหมือนกันว่า พวกคุณมีความรู้ ความเข้าใจ กี่มากน้อย อนึ่ง บทความนี้ ไม่ใช่บทความสำหรับผู้เริ่มต้น แต่เป็นบทความสำหรับบุคคลทั่วไป ยิ่งเป็นบุคคลที่หลงผิด คิดว่ารู้ คิดว่าเข้าใจในหลักพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นด้าน กัมมัฎฐาน อภิญญา ฯ ยิ่งเป็นบทเรียนที่ดียิ่ง แต่ก็อย่างว่า เอาบุคคลที่มีความรู้แค่หางอึ่ง มาเป็นผู้ดูแลเวบ อยากจะทำอย่างไรก็ทำได้ตามแต่ ความรู้ ความเข้าใจอันน้อยนิด ปากก็บอกว่า เผยแพร่ศาสนา แต่ความจริงแล้ว ข้าพเจ้าว่า ตั้งเวบมาเพื่อขัดขวางความเจริญของศาสนามากกว่านะขอรับ (ขออภัย เขียนไปอย่างนั้นแหละนะ ไม่ใช่น้อยใจนะขอรับ แต่อนาถใจ ขอรับ) สุดท้ายอย่าคิดว่า รู้แล้ว สิ่งที่ไม่รู้ยังมีอีกมาก ข้าพเจ้าเองยังไม่กล้าบอกว่ารู้ทั้งหมด เพราะความรู้มีเยอะขอรับ