ทางแห่งการปฏิบัติเพื่อมรรคผล อย่างแท้จริง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นิยายธรรม, 11 สิงหาคม 2009.

  1. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    จิตทำผิดศีลได้ด้วยหรือครับ จิตฆ่าสัตว์ได้ด้วยหรือครับ...จิตลักทรัพย์ได้
    หรือ....จิตผิดกาเมได้หรือ....จิตโกหกได้หรือ....จิตกินเหล้าได้ด้วยหรือ
    ทุกสิ่งอย่างจะเกิดได้ต่อเมื่อ มีกายเป็นตัวกระทำ เมื่อกายไม่ได้ลงมือ
    กระทำก็เท่ากับว่าเราอยู่ปรกติ
    ปัญญาเห็นตามความเป็นจริงว่า ผู้มีจิตกระสับกระส่าย ก็คือเห็นจิตเป็นไตรลักษณ์ จิตเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..และดับไปตลอดเวลา เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว
    ก็ไม่ยึดถือ ซึ่งนำมาแห่งการอยู่อย่างปรกติ
     
  2. นิยายธรรม

    นิยายธรรม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +20
    ตอบท่านบุญพิชิต เรื่องศีล
    ก่อนกายจะละเมิดศีลนั้น ถามว่า ใครเป็นผู้สั่งให้กายกระทำ กายเป็นเพียงผู้รับคำสั่งนะครับ พระพุทธองค์ตรัสว่า "เจตนาหัง ภิกขเว กัมมังวัททามิ" ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่าเจตนานั้นคือกรรม หมายเอาจิตคือผู้ก่อกรรม ละเมิดก็คือจิต ทีนี้ท่านลองมาแยกย่อยดูสิ เช่น ฆ่าสัตว์ ยุงตัวนี้มันกัดเรา เราโมโห คิดในใจจะฆ่ามันให้ตาย นี่คือศีลด่าง ลงมือฆ่าแต่ไม่สำเร็จศีลทะลุ ฆ่าสำเร็จเมื่อไร ขาดทันที ทีนี้ หากเราคิดว่าจะฆ่าล่ะแต่ยังไม่ลงมือ จะถือว่า จิตดวงนี้มีศีลได้อย่างไร เพราะเจตนาละเว้นไม่มีเลย คนที่ไม่มีเจตนาละเว้น ไปขออาราธนาศีลจากพระสักเท่าไรก็ไม่ถือว่ามีศีล เพราะตราบใดยังไม่ตั้งเจตนาจะละเว้นครับ อีกอย่างบางคนละเมิดศีลโดยไม่ตั้งใจ เช่น จะไล่ยุง คือลูบไล่ให้มันไปแต่มันไม่ยอมไป มันเลยตายคามือ อย่างนี้ต้องดูที่จิตเช่นกันว่า ท่านคิดจะฆ่าจริง ๆ หรือเปล่า ถ้าไม่เจตนาจริง ๆ คิดจะไล่จริง ๆ ไม่ขาดครับ ไม่ด่าง ไม่พร้อยด้วย เพราะ เจตนาไม่มีตัวเดียว ลองเอาคิดดูนะครับ
     
  3. นิยายธรรม

    นิยายธรรม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +20
    เรื่องศีลผมก็อธิบายไปตามคำสอนหลวงพ่อบ้าง อธิบายเพิ่มเติมตามจุดที่ปฏิบัติได้และเข้าใจ บางท่านก็ช่วยเสริมให้เข้าใจยิ่งขึ้น ผมจะผ่านเรื่องศีลไปต่อกันที่สมาธิครับ อยากให้ท่านที่ปฏิบัติสมาธิจริง ๆ แล้วคิดว่าเข้าใจ จริง มาโพสต์แนะนำก้นต่อไปครับ
    คำถาม สมาธิเป็นอย่างไร
    คำถาม มี่กี่ระดับ แต่ละระดับมีอาการที่สัมผัสต่างกันอย่างไร อธิบายตามที่ท่าน ได้รับสัมผัสมานะครับ
    คำถาม อย่างไรจึงเรียกว่าเป็นสัมมาสมาธิ
     
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เจ้าของกระทู้ มีความเข้าใจว่า คำว่า สมาธิ มีความหมายว่าอย่างไรบ้างเมื่อแปลเป็นภาษาไทยครับ
     
  5. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    คุณพอจะเข้าใจเรื่องการทำงานของจิตมั้ยครับ ยามใดที่มีผัสสะเกิดการทำ
    งานของขันธ์ก็จะเริ่ม ทีนี้มันขึ้นอยู่ที่จิตตัวรู้ว่า ต้องหยุดการทำงานของขันธ์
    เพื่อมิให้ไปสั่งให้กายกระทำตาม เราจะหยุดการทำงานของขันธ์ได้นะจุดใด
    ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราสามารถใช้สติได้เร็วเท่าไร สติที่ว่านี้ก็คือการระลึกรู้ศีลครับ
    ไม่ให้ไปกระทำตามอกุศลจิตนั้น เราจึงได้ชื่อว่าอยู่อย่างปกติ
    ในความเข้าใจของผม เอาง่ายๆนะครับศีลห้าที่ปุถุชนพึงมีกัน ท่าน
    บัญญัติไว้เพื่อให้กลุ่มชนที่อยู่รวมกัน อยู่กันอย่างปกติมิให้ไปกระทำการใดๆให้
    เป็นที่เดือดร้อนกับผู้อื่นไม่ว่าคนและสัตว์ การที่คุณกล่าวเรื่องจิตกับศีล
    ผมเห็นว่า มันยังไม่ครบองค์ประกอบของการผิดศีล มันจะครบองค์ประกอบก็
    ต่อเมื่อ เกิดอกุศลจิตแล้วกายได้กระทำตามอกุศลจิตนั้น ที่นี้แหละที่เรา
    ถึงจะนำเอาเรื่องศีลขาดศีลทะลุอะไรของคุณมาพิจารณา และมันยังมีกรณีที่
    กายกระทำตามจิตแต่เป็นเรื่องของกุศลจิต จะเห็นได้ว่าจะต้องมีกายเป็น
    ประธานจึงจะสามารถพิจารณาเรื่องศีลได้
    .......ถ้าจะให้ผมพิจารณาเรื่องศีลขาดหรือไม่ ผมมีวิธีพิจารณาดังนี้
    เอาเรื่องยุงนี่แหละครับ สมมุติว่ายุงมากัดเราย่อมเกิดผัสสะขึ้นแล้วจิตยัง
    ไม่ได้ปรุงแต่งอะไร เราเอามือไปปัดไล่ยุงแต่พลาดทำยุงตาย ผมว่านี้ละ
    ครับศีลด่าง หรือในกรณียุ่งกัดเรา เรารู้สึกโกรธจึงตบยุงแต่พลาดยุงบิน
    หนีไปได้นี่ผมเรียก ศีลทะลุ กรณีสุดท้ายยุงกัดเราโกรธจึงตบยุงไปโดนยุง
    ตายอันนี้เรียก ศีลขาดครับ
    .......พอสรุปได้ว่า จิตที่มีอกุศลเพียงอย่างเดียวมันไม่เกี่ยวกับศีลครับ
    แต่ถ้ามีกายมารวมจึงจะเข้าค่ายกรณีเรื่องศีล
     
  6. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ขอเสริม ถ้าเป็นแค่ยุงกัดนี่ อาจจะเป็นเป่ามัน ไม่มีตบ อย่างมากก็เจตนาปัดมัน แต่ถ้าถูกเบียดเบียนคับแค้นในมโนคิดลงมือยังมี แต่คิดปุ๊ปไม่ปรุงถึงอาฆาต จะเห็นโกรธไว และดับไวเช่นกัน โกรธปุ๊ป ความเมตตาเห็นอกเห็นใจมาแทนเลย คิดลงมือปุ๊ปความละอายเกรงกฎแห่งกรรมจะมา คิดทำร้ายปุ๊ปเกรงกริ่งความเศร้าหมอง ความละอายในบาป กลัวทุกข์หนักปรากฎ ^-^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 สิงหาคม 2009
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับเรามาว่ากันเรื่องสมาธิดีกว่า มีบุคคลบางประเภทที่เหมือนทัพพีที่ไม่รู้รสแกง
    ถ้าเข้าใจว่า กายที่ปุพังเน่าเปื่อยนี้ เป็นผู้รักษาศีล แสดงว่าคนตายรักษาศีลได้ดีที่สุด
    ส่วนคนที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ทุกทั่วตัวตนที่ต้องมีจิตเป็นนาย และกายเป็นบ่าว
    นายเป็นผู้ใช้สอยกายให้ทำตามเจตนาที่จิตต้องการ

    เมื่อมีจิตที่ฝึกอบรมมาดีแล้ว ย่อมใช้สอยกาย วาจา ในทางที่ถูกที่ควร
    ส่วนจิตที่คิดสกปรก ย่อมพากาย วาจา ไปในทางที่ผิดที่ควรครับ

    คำถาม สมาธิเป็นอย่างไร...สภาวะจิตสงบตั้งมั่น

    คำถาม มี่กี่ระดับ แต่ละระดับมีอาการที่สัมผัสต่างกันอย่างไร อธิบายตามที่ท่าน ได้รับสัมผัสมานะครับ....
    คำว่ากี่ระดับนั้นถ้าว่าตามตำราก็๓ระดับ ไปเปิดอ่านเองได้ครับ
    ถ้าว่าตามความเป็นจริงแล้วมีเพียงแค่ อุปจารสมาธิกับอัปปนาสมาธิเท่านั้น
    ในระดับอุปจารสมาธินั้น ยังรับรู้เรื่องราวสิ่งแวดล้อมได้อยู่ ส่วนอัปปานสมาธินั้น
    เป็นสมาธิที่ตัดอารมณ์และผัสสะภายนอกออกหมด มีธรรมอันเอกผุดขึ้นณ.ภายในครับ
    เป็นสภาวะธรรมที่อ่อนควรแก่การงานครับ


    คำถาม อย่างไรจึงเรียกว่าเป็นสัมมาสมาธิ.....สัมมาสมาธิ...
    จิตสงบตั้งมั่นชอบโดยปราศจากอารมณ์ใดๆทั้งสิ้น

    แตกต่างจากสมาธิที่มีมาก่อนพุทธศาสนา
    เป็นสภาวะที่จิตสงบตั้งมั่นโดยยังต้องอาศัยอารมณ์ที่มาจากภายนอกกาย
    เช่นรูปที่ปราศจากกามเป็นอารมณ์(รูปฌาน)และอารมณ์ที่ปราศรูป(อรูปฌาน)

    ;aa24
     
  8. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    คำถาม สมาธิเป็นอย่างไร

    เป็นอาการของจิตอย่างหนึ่ง ที่เราไปกำหนดรู้ หรือกำหนดสติ ในสิ่งๆเดียวกัน
    เช่น กำหนดสติในรูป พิจารนารูป เพียงอย่างเดียว ยกตัวอย่างลม พิจารนารูปของลม มีอาการรู้ คือสติ รู้ว่าเข้า รู้ว่าออก อันนี้คือกำหนดสติรู้ใน สิ่งเดียวกันจะเกิดเป็นสมาทิ

    คำถาม มี่กี่ระดับ แต่ละระดับมีอาการที่สัมผัสต่างกันอย่างไร อธิบายตามที่ท่าน ได้รับสัมผัสมานะครับ

    แต่ละระดับของสมาทินั้น วัดได้จากความตั้งมั่นของสติ มีสติอยู่กับจิตที่เกิดรับรู้ในสิ่งๆเดียว มากก้จะยิ่ง มีสมาทิมาก สิ่งอื่นที่ไม่ได้อยู่ในขอบเจตกำหนดรู้ก้จะเปรียบเสมือนไม่มี แต่เราไม่ได้กำหนดรู้ที่สิ่งอื่นนั้นหรือสิ่งอื่นนั้นไม่อาจแทรกความตั้งมั่นของสติที่เป็นสมาทิได้ ความระเอียดในการตั้งมั่นตามตำรามีอทิบายไว้หมดแล้วปติบัติก้จะได้เห็นตามนั้น

    คำถาม อย่างไรจึงเรียกว่าเป็นสัมมาสมาธิ

    จิตตั้งมั่นในสิ่งที่ถูก
     
  9. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
  10. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +39,008
    ผมว่าเจ้าของกระทู้เขาก็พอมีความเข้าใจในระดับหนึ่ง ลองให้ความเห็นดูบ้างครับ
    อนุโมทนากับทุกๆความเห็นครับ
    ผมถนัดเป็นผู้ดูซะแล้ว แหะๆๆๆ
     
  11. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +39,008
    ไม่ใช่เจ้าของกระทู้แต่อยากฟัง
    ขออนุญาตนะครับ ยังไงก็คนหลังเขาเหมือนกันนะครับ อิ อิ
     
  12. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ดีครับ ศาสดาท่านว่าอย่าประมาท เรายังไม่สิ้นทุกข์ แม้จะภาวนาได้ ต่อให้เห็นแล้วซึ่งอริยสัจจ์ หรือต่อให้เห็นถึงมรรคเบื้องบน หากบารมียังไม่เต็ม ก็ต้องเติม ต้องศึกษาเพิ่มเติมเสมอ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ^-^
     
  13. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เพราะมีรูปนี้จึงมีนามนี้ เพราะมีกายนี้จึงมีจิตนี้ ถ้าไม่มีรูปนี้แล้วก็ไม่มีนามนี้ ถ้าไม่มีกายนี้แล้วก็ไม่มีจิตนี้ นี่คือการละสักกายะทิฐิ ที่ผมมีและใช้เป็น คติ
     
  14. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    ;aa35
    เพราะ ผลของกรรมไม่ดี กลายมาเป็นอุปสรรค เป็นหมอกควันบังทาง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เลยต้องขัดเกลากิเลส กระทำกรรมดี
     
  15. Amoxcycol

    Amoxcycol Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    296
    ค่าพลัง:
    +65
    อันที่จริงพวกเราก็รู้กันหมดเลยเนาะ ?

    หากยังไม่หลุดวัฐสงสาร ภพหน้าจะไปโพสเวปอะไรหนอ หรือจะมีอะไรเปลี่ยนไป
    ของสื่อในการศึกษาธรรม อนัตตาจริงนั้นแหละ
     
  16. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    คำว่า บริสุทธิ์ เจ้าของกระทู้คิดว่า อะไรคือ บริสุทธิ์ และ บริสุทธิ์จากอะไร จิตนั้นเป็นสิ่งสมมติให้รู้อาการต่างๆที่มากระทบ หากเราไปเข้าใจว่าสิ่งสมมตินั้นมีตัวตนเห็นความบริสุทธิ์ เป็นสีขาวบ้าง สีใสบ้าง ว่างเปล่าบ้าง อันนี้เรียกบริสุทธิ์ได้อย่างไร ตรองดู ส่วนตัวผมจากอันเดิมเรื่องสักกายะทิฐิ พระอริยะบุคคล เห็นเหมือนกันหมดครับ ที่ต่างไปคือ ส่วนที่ต้องอาศัยปัญญาเป็นตัวแยกแยะ ซึ่งจะเห็นว่าปัญญา พระโสดาบัน<พระสกิทาคามี<พระอนาคามี<พระอรหันต์ พระอริยะบุคคลทุกระดับต้องละสังโยชน์ ๓ ชนิดแรกได้แล้วอย่างถาวรจึงจะเป็นพระอริยะบุคคลได้ ดังนั้นพระสกิทาคามี มีปัญญามากขึ้นอีกระดับแม้ละสังโยชน์เพิ่มอีกไม่ได้แต่กิเลสก็เบาบางลงอย่างเห็นได้ชัด ต่อมาเป็นพระอนาคามีมีปัญญามากขึ้นไปอีกละสังโยชน์เพิ่มได้อีก ๒ เป็น ๕ ทุกสิ่งที่ละได้ของพระอริยะบุคคลจะไม่มีวันย้อนกลับมาอีก หากกลับมาแสดงว่ายังไม่ใช่พระอริยะบุคคล สุดท้ายพระอรหันต์ ละเพิ่มที่เหลืออีก ๕ เป็น ๑๐ ครบ จบกิจ ด้วยปัญญาอันยิ่งยวด (อ้างอิงจาก โพธิธรรมทีปนี) เรื่องจิต ของพระอริยะบุคคลผู้เข้าถึงกระแส (โดยความเห็นของกระผมนะครับ) คือ เข้าถึงอริยะสัจ ๔ ก็ย่อมมีความบริสุทธิ์แตกต่างกัน บริสุทธิ์ 60% 70% 80% 100% ตามลำดับ(เจตนาเปรียบเทียบความจริงมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอกครับเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ไม่มีเจตนาลบหลู่ปรามาสพระอริยะเจ้าครับ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2009
  17. นิยายธรรม

    นิยายธรรม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +20
    ถามท่านว่ากายนี้เกิดมาอย่างไร ถ้าไม่ใช่เพราะจิตมันยังพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์กระทบใจ เทวดาไม่มีกายหยาบ (รูปมนุษย์) แต่กายละเอียดของเทวดา มนุษย์มองไม่เห็นด้วยตาเปล่านอกจากทิพจักขุญาน เพียงแต่กายเทวดานั้น เป็นไปตามกำลังกรรม เหมือนเราปั้นดินน้ำมัน เรามีความสามารถจะปั้นได้เท่าไหน ก็ได้เท่านั้น เราทำดีแค่ไหน กายเราจะสวยได้แค่นั้น ความเห็นผมคือ ถ้ายังไม่ละความพอใจ หรือ ไม่พอใจ ส่วนใดส่วนหนึ่งในโลกนี้ ยังต้องเกิดมามีร่างกายอีก พระอนาคามีท่านละ ราคะ(พอใจ)ปฏิฆะ (ไม่พอใจ) จึงไม่มีร่างกายที่ต้องเกิดอีก นิพพานบนชั้นพรหมไปเลย

    ส่วนบางท่านอยากทราบทัศนะคติผมเรื่องสมาธิ ผมจะอธิบายจากการปฏิบัติ นะครับไม่กางตำรา มีบ้างใช้คำเรียกจากตำราเพื่อให้เข้าใจ บางส่วน ที่เป็นตัวสีแดงจะยกมาจากประสบการณ์พบปะพระอริยะเจ้าและท่านอธิบายอารมณ์ที่เกิดขึ้นให้ฟัง

    สมาธิคือความตั้งใจ มั่น ในการทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
    สมาธิมีกี่ ระดับ ตอบ 3 ระดับ
    1. ขณิกสมาธิ สมาธิเล็กน้อย ทรงตัวอยู่ได้แค่ชั่วประเดี๋ยวเดียวแล้วก็ฟุ้งซ่าน
    2.อุปจารสมาธิ สมาธิใกล้ฌาน ทรงตัวได้นานขึ้น เป็นสุขมากขึ้น ระดับนี้บางคนเกิดปิติทั้ง 5 แล้วแต่จะเจอตัวไหน บางท่านบำเพ็ญมาทางพุทธภูมิ ต้องเจอหมดทั้ง 5 อย่างครบ สมาธิระดับนี้ สามารถจะทำทิพย์จักขุญานให้เกิดได้ หากฝึกกสิณ จะทรงได้ประมาณ 5-10 นาทีแล้วก็ฟุ้งซ่าน
    3.อัปปณาสมาธิ สมาธิระดับฌาน 1-4 และอรูปฌาน เรื่องฌานจะไม่อธิบายเพราะหลายคนเข้าใจแล้วถ้าไม่เข้าใจกรุณา ไปเปิดหนังสือวิสุทธิมรรค
    แต่จะบอกอารมณ์ของฌานแบบคร่าว ๆ ให้อ่านพอนึกภาพออก คือ ฌานตั้งแต่ระดับ 1-4 นั้นจิตจะสงบนิ่งละเอียดไปตามลำดับ แค่ปฐมฌานนี้ก็พอที่จะระงับกิเลศ เพราะนิวรณ์ตัวกั้นจิตนั้น ถูกระงับไปหลังเข้าสู่ปฐมฌาน ไม่มีอารมณ์คิดอีก 2-3 ไม่อธิบาย เพราะอธิบายยากรู้แค่ ลมหายใจแผ่วเบาทุกที ยิ่งฌาน 3 เหมือนตัวเราแข็งแบบเป็นหินไม่อยากขยับ พอฌาน 4 เท่าที่ประสบ มันเหมือนเราหายไปอยู่อีกที่นึงที่สว่างโพลง มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์มาก ลมหายใจหายไปคือร่างกายหายใจปกติ แต่จิตเริ่มแยกจากประสาททางกายเต็มที่ไม่ได้ยินเสียงหรือรับสัมผัสทางกายทั้งสิ้น รู้ว่าร่างกายเรานั่งหรือนอนอยู่ท่าไหนอย่างไร ฌานระดับนี้เหมาะสำหรับการห้ำหั่นกิเลสมาก คือทรงไว้ให้เต็มกำลังดูจิตพอลดกำลัง(ลดของมันเอง)ให้หยุดที่ระดับอุปจารสมาธิแล้วพิจารณาทางวิปัสสนาญาน จะสามารถตัดกิเลสให้ขาด ได้ขึ้นอยู่กับกำลังใจ ถ้าเข้มแข็งมาก ภายใน 7 วัน ปานกลาง 7 เดือน อ่อนแอ 7 ปี บางท่านได้อรูปฌาน หวนมาทำวิปัสสนาท่านว่าแค่หมากแหลกก็เป็นอรหันต์
    อารมณ์ฌานพระอริยะเจ้าตามที่ได้ฟังจากท่านมา ท่านบอกว่าอารมณ์เบา ๆ ไม่เหมือนตอนเป็นโลกียะ ท่านอธิบายว่า อย่างตอนโกรธ เขาด่ามานี่ถ้าเป็นฌาณโลกี นี่ต้องตั้งท่าจับลม ท่านที่คล่องนี่แค่เข้าไม่ทันออก ความโกรธระงับทันที แต่แค่ใช้กำลังฌานกดมันไว้ ความจริงไม่พอใจ แต่กดไว้ ส่วนฌานของโลกุตตระ นั้น เวลาเขาด่ามามันรู้ว่าด่ากระทบแล้วตกไปไม่เกิดอารมณ์โกรธ ราคะก็เช่นกัน มันอารมณ์เบา ๆ สบาย ๆ ไม่ต้องตั้งท่าจับลมหายใจ
    ผมอธิบายได้แค่นี้แหละครับ
     
  18. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +39,008
    เขาเรียกว่า รู้ไปหมดแต่อดไม่ได้ครับ หุ หุ หุ
     
  19. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ถ้าเรายังมีความพอใจยินดีในรูปนามทั้งหลายนี้เรียกว่า สักกายะทิฐิไหมครับ และการละสักกายะทิฐินี้คือ ความไม่พอใจยินดีในรูปนามนี้หรือเปล่าครับ นอกจากท่านนิยายธรรมแล้วใครอยากตอบก็ตอบได้นะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2009
  20. Amoxcycol

    Amoxcycol Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    296
    ค่าพลัง:
    +65
    ก็ถูกนะ เพราะความประพฤติความเคยชิน ทำให้ไม่ค่อยสังเกตุความผิดปรกติตน
    เข้าใจว่านั้นคือศีล เพราะไม่เข้าใจเหตุแห่งทุกข์ เล่นกับกิเลส ตัวเองเสมือนเป็นเีรา เพราะไปยึดเราเป็นเีีรา ธรรมเป็นเรา หากเราไม่มีเราก็ย่อมหลุดได้

    อนุโมทนาคุณเปลือกไม้ กับคนหลังเขาเหมือนกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...