ปู่ครูพระเวทย์ประทานพรพ่อปู่มหาจิณดามณีมนต์พัดโบก ผงยาพญายักขราชาแก้คุณไสย์ หน้า 27

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย พระคันธวงศ์, 1 มิถุนายน 2009.

  1. พระคันธวงศ์

    พระคันธวงศ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +407
    ไม่เป็นไรหรอกโยม
     
  2. krit90

    krit90 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +2,222
    แฝดพราย เลี่ยมพลาสติกคล้องคอร่วมกับพระได้หรือเปล่า หรือพกติดตัวได้หรือไม่ครับ
     
  3. พระคันธวงศ์

    พระคันธวงศ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +407
    พกติดตัวได้ ทางที่ดีเอาห้อยต่ำกว่าพระ
     
  4. ขมังเวทย์

    ขมังเวทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +1,829
    <TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 100%; mso-cellspacing: 0cm; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 0cm; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 0cm; BACKGROUND: white; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: #ece9d8" vAlign=top><?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p> </o:p>
    <TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 100%; mso-cellspacing: 0cm; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 0cm; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: transparent"><TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 100%; mso-cellspacing: 0cm; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 0cm; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: transparent"><o:p> </o:p>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 0cm; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: transparent" vAlign=top>


    พระแม่ธรณีบีบมวยผม


    คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง

    โดย ราม วัชรประดิษฐ์


    <o:p></o:p>

    <TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 20%; mso-cellspacing: 3.7pt; mso-table-lspace: 2.25pt; mso-table-rspace: 2.25pt; mso-table-anchor-vertical: paragraph; mso-table-anchor-horizontal: column; mso-table-left: left" cellSpacing=5 cellPadding=0 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 0.75pt; BACKGROUND: #400040; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0.75pt; BORDER-BOTTOM: #ece9d8"><?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype id=_x0000_t75 stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o:preferrelative="t" o:spt="75" coordsize="21600,21600"><v:stroke joinstyle="miter"></v:stroke><v:formulas><v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"></v:f><v:f eqn="sum @0 1 0"></v:f><v:f eqn="sum 0 0 @1"></v:f><v:f eqn="prod @2 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @0 0 1"></v:f><v:f eqn="prod @6 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="sum @8 21600 0"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @10 21600 0"></v:f></v:formulas><v:path o:connecttype="rect" gradientshapeok="t" o:extrusionok="f"></v:path><o:lock aspectratio="t" v:ext="edit"></o:lock></v:shapetype><v:shape id=_x0000_i1025 style="WIDTH: 150pt; HEIGHT: 157.5pt" alt="" type="#_x0000_t75"><v:imagedata o:href="http://www.khaosod.co.th/news-photo/khaosod/2009/08/bud06080852p1.jpg" src="file:///C:\DOCUME~1\ying\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.jpg"></v:imagedata></v:shape><o:p></o:p>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>คติความเชื่อเรื่อง การก้มกราบแผ่นดิน หรือการบูชาแม่พระธรณี นั้น อยู่กับมนุษย์อุษาคเนย์มาไม่น้อยกว่า 3,000 ปีแล้ว โดยเฉพาะในอินเดีย มีมาก่อนพุทธศาสนาเสียอีก

    ในสมัยนั้นจะนับถือผีเป็นหลัก ผีสำคัญยุคแรกๆ คือ "ผีน้ำและผีดิน" ต่อมาเรียกชื่อด้วยคำยกย่องว่า "แม่พระคงคากับแม่พระธรณี" ในขณะที่ชาวไทยสมัยโบราณบูชา "แม่พระธรณี" เพื่อให้แผ่นดินมีความสงบสุข และร่มเย็น เพราะเชื่อว่า แม่พระธรณี เป็นเทพผู้คุ้มครองแผ่นดิน

    "พระแม่ธรณี" เป็นเทพมารดาแห่งโลก เพราะเป็นผู้ที่มีคุณต่อสรรพชีวิตบนโลก

    ชื่อ "พระแม่ธรณี" มีปรากฏในพุทธประวัติความว่า ...เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงผจญกับเหล่าพวกพญามารทั้งหลาย พญามารได้ออกอุบายต่างๆ นานา เพื่อให้พระพุทธองค์ทรงเกิดกิเลสตัณหา แต่พระพุทธองค์ทรงไม่ยินดียินร้าย และในครั้งนั้นเองพระแม่ธรณีทรงแสดงปาฏิหาริย์ปราบเหล่าพญามารโดยทรงบีบมวยผมให้น้ำไหลออกมาท่วม พวกพญามารทั้งหลายให้พ่ายแพ้ไป <o:p></o:p>

    <TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 20%; mso-cellspacing: 3.7pt; mso-table-lspace: 2.25pt; mso-table-rspace: 2.25pt; mso-table-anchor-vertical: paragraph; mso-table-anchor-horizontal: column; mso-table-left: right; mso-table-top: middle" cellSpacing=5 cellPadding=0 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 0.75pt; BACKGROUND: #400040; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0.75pt; BORDER-BOTTOM: #ece9d8"><v:shape id=_x0000_i1026 style="WIDTH: 150pt; HEIGHT: 246.75pt" alt="" type="#_x0000_t75"><v:imagedata o:href="http://www.khaosod.co.th/news-photo/khaosod/2009/08/bud06080852p2.jpg" src="file:///C:\DOCUME~1\ying\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image002.jpg"></v:imagedata></v:shape><o:p></o:p>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขณะเดียวกัน ก็มีชื่อ "แม่พระธรณี" ปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง อาทิ หนังสือเทศน์มหาชาติปฐมสมโพธิกถา ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นต้น โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น นางพระธรณี พระแม่วสุนธราพสุธา ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน คือผู้ทรงไว้ซึ่งทรัพย์สมบัติ อันหมายถึงแผ่นดินนั่นเอง สำหรับชาวไทยทั่วไปจะเรียกกันติดปากว่า แม่พระธรณีบ้าง พระแม่ธรณีบ้าง

    การสร้างรูปเคารพของพระแม่ธรณี สำหรับประเทศไทยเท่าที่สามารถสอบทานได้ พบตำราเก่าแก่สมัยอยุธยา บันทึกเรื่องราวการจัดสร้างนางเทพเทวาที่เป็นรูปแบบแม่ธรณีขึ้นบูชาเพื่อการอำนวยผลทางความมั่นคงและป้องกันสิ่งเลวร้าย

    ตำรานี้บอกเล่าต่อกันมาว่ายังเก็บรักษาอยู่ที่ วัดคฤหบดี กรุงเทพฯ

    ทางภาคอีสาน ก็มีวิชาเฉพาะที่เกี่ยวกับแม่พระธรณีหลายอย่าง เช่น ตะกรุดหัวใจพสุธา ในสายสมเด็จลุน แห่งนครจำปาสัก แม้ในพิธีเบิกโขลนออกจับช้าง ก็ยังมีมนต์ที่กล่าวอ้างถึงแม่พระธรณี

    ทางภาคเหนือ ก็มีพิธีกรรมเกี่ยวกับแม่พระธรณีอยู่หลากหลาย และที่นับถือเป็นประเพณี เช่น พิธีบนนางธรณี

    แม่พระธรณีในศิลปะไทยที่มีปรากฏอยู่ จะทำเป็นรูปหญิงสาว รูปร่างอวบใหญ่ล่ำสันอย่างได้สัดส่วน มีความงามประดุจเทพธิดา นั่งในท่าคุกเข่า แต่ยกเข่าขวาขึ้นสูงกว่าเข่าซ้าย บางแห่งสร้างให้อยู่ในท่ายืน แต่ที่เหมือนกันก็คือ มวยผมปล่อยยาว มือขวายกข้ามศีรษะไปจับไว้ที่โคนมวยผม ส่วนมือซ้ายจับมวยผม แสดงท่ากำลังบิดให้สายน้ำไหลออกมาจากมวยผม ส่วนเครื่องทรงไม่มีแบบแผนที่แน่นอนตายตัว ตามแต่จินตนาการของผู้สร้าง

    การบูชาแม่พระธรณี มีหลายตำรา ยกมาสัก 1 ตำรา คือ ตั้งนะโม 3 จบ ว่า พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แล้วว่า "อิติปิโสภะคะวาสะวาอะระหัง สุคะโตสวาหะ" 3 จบ แล้วสวดต่อด้วย "ตัสสาเกษีสะโต ยะถาคงคา โสตังปะวัตตันติ มาระเสนา ปฏิฐาตุง อาสักโภนโต ปะลายิงสุปาริมานานุภาเวนะมาระ เสนาปะราชิตาทิโส ทิสัง ปะลายันติ วิทังเสนติอะเสสะโต" อย่างน้อย 3 จบ แต่ถ้าจะให้ดีต้อง 21 จบ เพราะกำลังของแม่พระธรณี คือ 21

    คาถานี้ ใช้ได้ตามอธิษฐาน ทำน้ำมนต์แก้คุณเสนียด หรือถ้ามีศัตรูให้เขียนชื่อนำแม่ธรณีทับไว้ แล้วอธิษฐานให้อภัยต่อกัน สวดให้ครบ 7 วัน ฝ่ายตรงข้ามจะแพ้ภัยตัวเองไป

    ที่สำคัญต้องไม่จองเวรต่อกันครับผม

    หน้า 29<o:p></o:p>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><o:p></o:p>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><o:p></o:p>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <o:p> </o:p>
     
  5. พระคันธวงศ์

    พระคันธวงศ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +407
    อนุโมทนา
     
  6. rose_tk4

    rose_tk4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2006
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +189


    ไม่ทราบว่าท่านได้จัดส่งมาให้หรือยังคะ
    เพราะยังไม่ได้รับอ่ะค่ะ

    กลัวส่งมาแล้วไม่ถึง

    ถ้ายังไม่ได้ส่งก็ไม่เป็นไรค่ะ
    รอได้
     
  7. พระคันธวงศ์

    พระคันธวงศ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +407
    จัดส่งให้แล้ว
     
  8. พระคันธวงศ์

    พระคันธวงศ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +407
    เสนอพระผงเกษารุ่นแรกครูบาแก้ว

    เสนอยอดวัตถุมงคลหลวงพ่อพระครูปัญญาวราภรณ์ ครูบาแก้ว วัดศรีชุม อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ รุ่นแรกผงมวลสารมหามงคลผสมเส้นเกษาหลวงพ่อพร้อมเหลี่ยมทองจากวัด ส่วนใจเช่าบูชาติดต่อได้ที่ พระอาจารย์เกษม กตธัมโม วัดศรีชุม โทร 081-0291613
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      47
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      55
  9. พระคันธวงศ์

    พระคันธวงศ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +407
    เตรียมตัวพบกับสุดยอดผ้ายันต์

    เตรียมพบกับผ้ายันต์สุดยอดมหาเศรษฐี มหาโภคทรัพย์ นั้นคือ ผ้ายันต์เศรษฐีทั้งห้า สุดยอดยันต์แห่งมหาโภคทรัพย์สมบัติทวีคุณ และเข้มขลังทั้งศาสตร์และศิลป์แห่งแผ่นดินล้านนา เขียนมือทุกผืน
    GetAttachment[2].jpg
    ตัวอย่างเศรษฐีทั้งห้าหน้าเทพ
    GetAttachment[1].jpg
    ตัวอย่างเศรษฐีทั้งห้าหน้ามนุษย์
     
  10. marnburapa

    marnburapa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    415
    ค่าพลัง:
    +178
    หลวงพ่อคับ อยากทราบว่า

    กุมารพรายแฝด
    กุมารทองพรายเพิ่มพูน

    ต่างกันอย่างไรคับ
     
  11. rose_tk4

    rose_tk4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2006
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +189
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 สิงหาคม 2009
  12. พระคันธวงศ์

    พระคันธวงศ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +407
    ต่างกันเพียงพรายแฝดมีอยู่2องค์
     
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,470
    ค่าพลัง:
    +21,327
    อนุโมทนาครับ
     
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,470
    ค่าพลัง:
    +21,327
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 47

    ๑๐. เรื่องเมณฑกเศรษฐี [๑๙๑]

    ข้อความเบื้องต้น

    พระศาสดา เมื่อทรงอาศัยภัททิยนครประทับอยู่ในชาติยาวัน๑ ทรง

    ปรารภเมณฑกเศรษฐี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สุทสฺสํ วชฺชมญฺเสํ"

    เป็นต้น.

    พระศาสดาเสด็จไปภัททิยนคร

    ได้ยินว่า พระศาสดาเมื่อเสด็จเที่ยวจาริกไปในอังคุตตราปถชนบท

    ทั้งหลาย ทรงเห็นอุปนิสัยโสดาปัตติผลของคนเหล่านี้ คือเมณฑกเศรษฐี ๑,

    ภรรยาของเศรษฐีนั้น ชื่อว่านางจันทปทุมา ๑, บุตรชื่อธนัญชัยเศรษฐี ๑,

    หญิงสะใภ้ชื่อนางสุมนเทวี๒ ๑, หลานสาวชื่อวิสาขา ๑, ทาสชื่อปุณณะ ๑,

    จึงเสด็จไปสู่ภัททิยนคร ประทับอยู่ในชาติยาวัน . เมณฑกเศรษฐีได้สดับ

    การเสด็จมาของพระศาสดาแล้ว.

    เหตุที่ได้นามว่าเมณฑกเศรษฐี

    ถามว่า " ก็เพราะเหตุไร เศรษฐีนั่นจึงชื่อว่า เมณฑกเศรษฐี ?"

    แก้ว่า ได้ยินว่า แพะทองคำทั้งหลายประมาณเท่าช้าง ม้าและโคอุสภะ

    ชำแรกแผ่นดินเอาหลังดุนหลังกันผุดขึ้นในที่ประมาณ ๘ กรีส ที่ข้างหลัง

    เรือนของเศรษฐีนั้น. บุญกรรมใส่กลุ่มด้าย ๕ สีไว้ในปากของแพะเหล่านั้น.

    เมื่อมีความต้องการด้วยเภสัชมีเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น

    หรือด้วยวัตถุมีผ้าเครื่องปกปิด เงินและทองเป็นต้น ชนทั้งหลายย่อมนำ

    กลุ่มด้ายออกจากปากของแพะเหล่านั้น. เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย

    ผ้าเครื่องปกปิด เงินและทอง ย่อมไหลออกจากปากแพะแม้ตัวหนึ่ง ก็เป็น

    ของเพียงพอแก่ชาวชมพูทวีป. จำเดิมแต่นั้นมา เศรษฐีนั้นจึงปรากฏว่า

    เมณฑกเศรษฐี.

    บุรพกรรมของท่านเศรษฐี

    ถามว่า ก็บุรพกรรมของเศรษฐีนั้นเป็นอย่างไร ? แก้ว่า ได้ยินว่า

    ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี เศรษฐีนั้นเป็นหลานของ

    กุฎุมพีชื่ออวโรชะ ได้มีชื่อว่า อวโรชะ ซึ่งมีชื่อพ้องกับลุง. ครั้งนั้น

    ลุงของเขาปรารภเพื่อจะสร้างพระคันธกุฎีเพื่อพระศาสดา. เขาไปสู่สำนัก

    ของลุงแล้ว กล่าวว่า " ลุง แม้เราทั้งสองจงสร้างรวมกันทีเดียว" ใน

    เวลาที่ถูกลุงนั้นห้ามว่า " เราคนเดียวเท่านั้นจักสร้างไม่ให้สาธารณะกับด้วย

    ชนเหล่าอื่น" จึงคิดว่า "เมื่อลุงสร้างคันธกุฎีในที่นี้แล้ว, เราควรได้ศาลา

    รายในที่นี้" จึงให้คนนำเครื่องไม้มาจากป่า ให้ทำเสาอย่างนั้น คือ "เสา

    ต้นหนึ่งบุด้วยทองคำ, ต้นหนึ่งบุด้วยเงิน, ต้นหนึ่งบุด้วยแก้วมณี" ให้

    ทำขื่อ พรึง บานประตู บานหน้าต่าง กลอน เครื่องมุงแลอิฐแม้ทั้งหมด

    บุด้วยวัตถุมีทองคำเป็นต้นเทียว ให้ทำศาลารายสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ประการ

    แด่พระตถาคตในที่ตรงหน้าพระคันธกุฎี ในเบื้องบนแห่งศาลารายนั้น

    ได้มีจอมยอด ๓ ยอด อันสำเร็จแล้วด้วยทองคำอันสุกเป็นแท่งแก้วผลึก

    และแก้วประพาฬ. ให้สร้างมณฑปประดับด้วยแก้ว ในที่ท่ามกลางแห่ง

    ศาลาราย. ให้ตั้งธรรมาสน์ไว้. เท้าธรรมาสน์นั้นได้สำเร็จด้วยทองคำสีสุก

    เป็นแท่ง แม่แคร่ ๔ อันก็เหมือนกัน. แต่ให้กระทำแพะทองคำ ๔ ตัว

    ตั้งไว้ในภายใต้แห่งเท้าทั้ง ๔ แห่งอาสนะ. ให้กระทำแพะทองคำ ๒ ตัว

    ตั้งไว้ภายใต้ตั่งสำหรับรองเท้า. ให้กระทำแพะทองคำ ๖ ตัว ตั้งแวดล้อม

    มณฑป: ให้ถักธรรมาสน์ด้วยเชือกเส้นเล็กสำเร็จด้วยด้ายก่อนแล้ว จึงให้

    ถักด้วยเชือกอันสำเร็จด้วยทองคำในท่ามกลาง แล้วให้ถักด้วยเชือกสำเร็จ

    ด้วยแก้วมุกดาในเบื้องบน; พนักแห่งธรรมาสน์นั้น ได้สำเร็จด้วยไม้

    จันทน์. ครั้นให้ศาลารายสำเร็จอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะกระทำการฉลองศาลา

    จึงนิมนต์พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุ ๖ ล้าน ๘ แสน ได้ถวายทานตลอด

    ๔ เดือน. ในวันสุดท้ายได้ถวายไตรจีวร. บรรดาภิกษุเหล่านั้น จีวรมี

    ค่าพันหนึ่ง ถึงแก่ภิกษุผู้ใหม่ในสงฆ์แล้ว. ฯลฯ

    .......ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสอนุบุพพีกถาแก่เศรษฐีนั้น. ในเวลาจบ

    เทศนา เศรษฐีนั้นบรรลุโสดาปัตติผล แล้วกราบทูลความที่ตนถูกพวก

    เดียรถีย์กล่าวโทษแล้วห้ามไว้แด่พระศาสดา. ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะ

    ท่านเศรษฐีนั้นว่า " คฤหบดี ขึ้นชื่อว่าสัตว์เหล่านั้นย่อมไม่เห็นโทษของตน

    แม้มาก, ย่อมโปรยโทษของชนเหล่าอื่นแม้ไม่มีอยู่กระทำให้มี ราวกะบุคคล

    โปรยแกลบขึ้นในที่นั้น ๆ ฉะนั้น " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

    ๑๐. สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ

    ปเรสํ หิ โส วชฺชานิ โอปุนาติ ยถาภุสํ

    อตฺตโน ปน ฉาเหติ กลึว กิตวา สโฐ

    "โทษของบุคคลเหล่าอื่นเห็นได้ง่าย, ฝ่ายโทษ

    ของตนเห็นได้ยาก; เพราะว่า บุคคลนั้น ย่อมโปรย

    โทษของบุคคลเหล่าอื่น เหมือนบุคคลโปรยแกลบ,

    แต่ว่าย่อมปกปิด (โทษ) ของตน เหมือนพรานนก

    ปกปิดอัตภาพด้วยเครื่องปกปิดฉะนั้น."
    ................ฯลฯ...............
     
  15. ขมังเวทย์

    ขมังเวทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +1,829
    อืม...องค์ที่อยู่กลางผ้ายันต์ชื่อ เมณฑกเศรษฐี มีแพะอยู่ด้านหลัง ในตำนานล้านนา กล่าวว่า ท่านอยากใด้อะไร ก็เอามือล้วงเอาในปากแพะ หรือเพียงนึกอยากใด้แพะก็คายมาให้ แล
     
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,470
    ค่าพลัง:
    +21,327
    <table border="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td style="padding: 4px 4px 12px;"> <table border="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td> รื่องอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    ความพิสดารว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี จ่ายทรัพย์ตั้ง ๕๔ โกฎิ ในพระพุทธศาสนาเฉพาะ


    วิหารเท่านั้น. เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวัน ไปสู่ที่บำรุงใหญ่ ๓ แห่งทุก


    วัน, ก็เมื่อจะไป คิดว่า " สามเณรก็ดี ภิกษุหนุ่มก็ดี พึงแลดูแม้มือของเรา ด้วยการ


    นึกว่า เศรษฐีนั้นถืออะไรมาบ้าง ดังนี้ ไม่เคยเป็นผู้ชื่อว่ามีมือเปล่าไปเลย, เมื่อ


    ไปเวลาเช้าให้คนถือข้าวต้มไป บริโภคอาหารเช้าแล้วให้คนถือเภสัชทั้งหลาย มีเนยใสเนย


    ข้นเป็นต้นไป. ในเวลาเย็น ให้ถือวัตถุต่างๆ มีระเบียบดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้


    และผ้าเป็นต้น ไปสู่วิหาร. ถวายทาน รักษาศีล อย่างนั้นทุก ๆ วัน ตลอดกาลเป็นนิตย์


    ทีเดียว.

    การหมดสิ้นแห่งทรัพย์ของเศรษฐี



    ในกาลต่อมา เศรษฐี ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งทรัพย์. ทั้งพวกพาณิชก็กู้หนี้เป็นทรัพย์ ๑๘



    โกฏิจากมือเศรษฐีนั้น. เงิน ๑๘ โกฏิแม้เป็นสมบัติแห่งตระกูลของเศรษฐี ที่ฝังตั้งไว้


    ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เมื่อฝั่งพังลงเพราะน้ำ (เซาะ) ก็จมลงยังมหาสมุทร. ทรัพย์ของเศรษฐี


    นั้นได้ถึงความหมดสิ้นไปโดยลำดับ ด้วยประการอย่างนี้.

    เศรษฐีถวายทานตามมีตามได้



    เศรษฐีแม้เป็นผู้อย่างนั้นแล้ว ก็ยังถวายทานแก่สงฆ์เรื่อยไป. แต่ไม่อาจถวายทำให้


    ประณีตได้. ในวันหนึ่ง เศรษฐี เมื่อพระศาสดารับสั่งว่า " คฤหบดี ก็ทานในตระกูล ท่าน


    ยังให้อยู่หรือ ? " กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ทานในตระกูลข้าพระองค์ยังให้อยู่ ก็แลทานนั้น



    (ใช้) ข้าวปลายเกรียนมีน้ำส้มพะอูมเป็นที่ ๒"

    เมื่อมีจิตผ่องใสทานที่ถวายไม่เป็นของเลว



    ทีนั้น พระศาสดา ตรัสกะเศรษฐีว่า " คฤหบดี ท่านอย่าคิดว่า ' เราถวายทานเศร้าหมอง.



    ' ด้วยว่าเมื่อจิตประณีตแล้ว, ทานที่บุคคลถวายแด่พระอรหันต์ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้า


    เป็นต้น ชื่อว่าเศร้าหมองย่อมไม่มี. คฤหบดี อีกประการหนึ่ง ท่านได้ถวายทานแด่พระ


    อริยบุคคลทั้ง ๘แล้ว; ส่วนเราในกาลเป็นเวลามพราหมณ์นั้น กระทำชาวชมพูททวีปทั้ง


    สิ้น ให้พักไถนา ยังมหาทานให้เป็นไปอยู่ ไม่ได้ทักขิไณย บุคคลไรๆ แม้ผู้ถึงซึ่งไตรส


    รณะ. ชื่อว่าทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย ยากที่บุคคลจะได้ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุ


    นั้น ท่านอย่าคิดเลยว่า 'ทานของเราเศร้าหมอง' ดังนี้ แล้ว ได้ตรัสเวลามสูตร แก่


    เศรษฐีนั้น.


    เทวดาเตือนเศรษฐีให้เลิกการบริจาค



    ครั้งนั้น เทวดาซึ่งสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูของเศรษฐี เมื่อพระศาสดาและสาวกทั้งหลายเข้า


    ไปสู่เรือน. ไม่อาจจะดำรงอยู่ได้เพราะเดชแห่งพระศาสดาและพระสาวกเหล่านั้น คิดว่า



    " พระศาสดาและพระสาวกเหล่านี้จะไม่เข้าไปสู่เรือนนี้ได้ด้วยประการใด. เราจะยุยง


    คฤหบดีด้วยประการนั้น: แม้ใคร่จะพูดกะเศรษฐีนั้น ก็ไม่ได้อาจเพื่อจะกล่าวอะไร ๆ



    ในกาลที่เศรษฐีเป็นอิสระ คิดว่า "ก็บัดนี้เศรษฐีนี้เป็นผู้ยากจนแล้ว. คงจักเชื่อฟังคำของ


    เรา " ในเวลาราตรี เข้าไปสู่ห้องอันเป็นสิริของเศรษฐี ได้ยืนอยู่ในอากาศ.

    ขณะนั้น เศรษฐีเห็นเทวดานั้นแล้วถามว่า " นั่นใคร ? "


    เทวดา. มหาเศรษฐี ข้าพเจ้าเป็นเทวดาสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูที่ ๔ ของท่าน มาเพื่อต้อง


    การเตือนท่าน.


    เศรษฐี. เทวดา ถ้าเช่นนั้น เชิญท่านพูดเถิด.


    เทวดา. มหาเศรษฐี ท่านไม่เหลียวแลถึงกาลภายหลังเลย จ่ายทรัพย์เป็นอันมากใน


    ศาสนาของพระสมณโคคม. บัดนี้ ท่านแม้เป็นผู้ยากจนแล้ว ก็ยังไม่ละการจ่ายทรัพย์


    อีก. เมื่อท่านประพฤติอย่างนี้ จักไม่ได้แม้วัตถุสักว่าอาหารและเครื่องนุ่งห่ม โดย



    ๒-๓ วันแน่แท้; ท่านจะต้องการอะไรด้วยพระสมณโคคม ท่านจงเลิกจากการบริจาค


    เกิน (กำลัง) เสียแล้วประกอบการงานทั้งหลาย รวบรวมสมบัติไว้เถิด.
    เศรษฐี. นี้เป็นโอวาทที่ท่านให้แก่ข้าพเจ้าหรือ ?


    เทวดา. จ้ะ มหาเศรษฐี.


    เศรษฐี. ไปเถิดท่าน. ข้าพเจ้า อันบุคคลผู้เช่นท่าน แม้ตั้งร้อย ตั้งพัน ตั้งแสนคน ก็


    ไม่อาจให้หวั่นไหวได้. ท่านกล่าวคำไม่สมควร จะต้องการอะไรด้วยท่านผู้อยู่ในเรือนของ


    ข้าพเจ้า. ท่านจงออกไปจากเรือนของข้าพเจ้าเร็ว ๆ.




    </td></tr><tr><td valign="top">
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,470
    ค่าพลัง:
    +21,327
    เทวดาถูกเศรษฐีขับไล่ไม่มีที่อาศัย

    เทวดานั้น ฟังคำของเศรษฐีผู้เป็นโสดาบันอริยสาวกแล้ว ไม่อาจดำรงอยู่ได้ จึงพาทารกทั้งหลายออก

    ไป, ก็แล ครั้นออกไปแล้วไม่ได้ที่อยู่ในที่อื่น จึงคิดว่า " เราจักให้ท่านเศรษฐีอดโทษแล้วอยู่ในที่เดิมนั้น

    เข้าไปหาเทพบุตรผู้รักษาพระนคร แจ้งความผิดที่ตนทำแล้ว กล่าวว่า " เชิญมาเถิดท่าน, ขอท่านจงนำ

    ข้าพเจ้าไปยังสำนักของท่านเศรษฐี ให้ท่านเศรษฐีอดโทษแล้วให้ที่อยู่ (แก่ข้าพเจ้า). "


    เทพบุตรห้ามเทวดานั้นว่า "ท่านกล่าวคำไม่สมควร, ข้าพเจ้าไม่อาจไปยังสำนักของเศรษฐีนั้นได้"


    เทวดานั้นจึงไปสู่สำนักของท้าวมหาราชทั้ง ๔ ก็ถูกท่านเหล่านั้นห้ามไว้ จึงเข้าไปเฝ้าท้าวสักกเทวราช

    กราบทูลเรื่องนั้น แล้ว ทูลวิงวอนอย่างน่าสงสารว่า " ข้าแต่เทพเจ้า ข้าพระองค์ไม่ได้ที่อยู่ ต้องจูงพวก

    ทารกเที่ยวระหกระเหิน หาที่พึ่งมิได้. ขอได้โปรดให้เศรษฐีให้ที่อยู่แก่ข้าพระองค์เถิด."


    ท้าวสักกะทรงแนะนำอุบายให้เทวดา


    คราวนั้น ท้าวสักกะ ตรัสกะเทวดานั้นว่า " ถึงเราก็จักไม่อาจกล่าวกะเศรษฐีเพราะเหตุแห่งท่านได้ (เช่น

    เดียวกัน). แต่จักบอกอุบายให้แก่ท่านสักอย่างหนึ่ง. "


    เทวดา. ดีละ เทพเจ้า ขอพระองค์ทรงพระกรุณาตรัสบอกเถิด.




    ท้าวสักกะ. ไปเถิดท่าน. จงแปลงเพศเป็นเสมียนของเศรษฐี ให้ใครนำหนังสือ (สัญญากู้เงิน) จาก

    มืเศรษฐีมาแล้ว (นำไป) ให้เขาชำระทรัพย์ ๑๘ โกฏิ ที่พวกค้าขายถือเอาไป ด้วยอานุภาพของตนแล้ว

    บรรจุไว้ให้เต็มในห้องเปล่า. ทรัพย์ ๑๘ โกฏิ ที่จมลงยังมหาสมุทรมีอยู่ก็ดี. ทรัพย์ ๑๘ โกฏิ ส่วนอื่น ซึ่ง

    หาเจ้าของมิได้ มีอยู่ในที่โน้นก็ดี. จงรวบรวมทรัพย์ทั้งหมดนั้น บรรจุไว้ให้เต็มในห้องเปล่าของเศรษฐี

    ครั้นทำกรรมชื่อนี้ให้เป็นทัณฑกรรมแล้ว จึงขอขมาโทษเศรษฐี.


    เศรษฐีกลับรวยอย่างเดิม


    เทวดานั้น รับว่า " ดีละ เทพเจ้า " แล้วทำกรรมทุก ๆ อย่างตามนัยที่ท้าวสักกะตรัสบอกแล้วนั่นแล ยัง

    ห้องอันเป็นสิริของท่านเศรษฐีให้สว่างไสว ดำรงอยู่ในอากาศ เมื่อท่านเศรษฐีกล่าวว่า " นั่น ใคร " จึง

    ตอบว่า " ข้าพเจ้าเป็นเทวดาอันธพาล ซึ่งสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูที่ ๔ ของท่าน. คำใด อันข้าพเจ้ากล่าว

    แล้วในสำนักของท่านด้วยความเป็นอันธพาล. ขอท่านจงอดโทษคำนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด. เพราะข้าพเจ้า

    ได้ทำทัณฑกรรมด้วยการรวบรวมทรัพย์ ๕๔ โกฏิ มาบรรจุไว้เต็มห้องเปล่า ตามบัญชาของท้าวสักกะ.

    ข้าพเจ้าเมื่อไม่ได้ที่อยู่ ย่อมลำบาก. "


    เศรษฐีอดโทษแก่เทวดา


    อนาถบิณฑิกเศรษฐี จินตนาการว่า " เทวดานี้กล่าวว่า "ทัณฑกรรม อันข้าพเจ้ากระทำแล้ว" ดังนี้. และ

    รู้สึกโทษ (ความผิด) ของตน. เราจักแสดงเทวดานั้นแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า." ท่านเศรษฐี นำเทวดา

    นั้นไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลกรรมอันเทวดานั้นทำแล้วทั้งหมด.


    เทวดาหมอบลงด้วยเศียรเกล้า แทบพระบาทยุคลแห่งพระศาสดากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า

    พระองค์ไม่ทราบพระคุณทั้งหลายของพระองค์ ได้กล่าวคำใดอันชั่วช้า เพราะความเป็นอันธพาล. ขอ

    พระองค์ทรงงดโทษคำนั้นแก่ข้าพระองค์ ให้พระศาสดาทรงอดโทษแล้ว จึงให้ท่านมหาเศรษฐีอดโทษ

    ให้ (ในภายหลัง).


    เมื่อกรรมให้ผล คนโง่จึงเห็นถูกต้อง

    พระศาสดา เมื่อจะทรงโอวาทเศรษฐีและเทวดา ด้วยสามารถวิบากแห่งกรรมดีและชั่วนั่นแล จึงตรัสว่า "

    ดูก่อนคฤหบดี แม้บุคคลผู้ทำบาปในโลกนี้ ย่อมเห็นบาปว่าดี ตลอดกาลที่บาปยังไม่เผล็ดผล. แต่เมื่อใด

    บาปของเขาเผล็ดผล, เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นบาปว่าชั่วเเท้ ๆ; ฝ่ายบุคคลผู้ทำกรรมดี ย่อมเห็นกรรมดีว่า

    ชั่ว ตลอดกาลที่กรรมดียังไม่เผล็ดผล, แต่เมื่อใด กรรมดีของเขาเผล็ดผล. เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นกรรมดี

    ว่า ดีจริง ๆ " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า


    ปาโปปิ ปสฺสติ ภทฺร ยาว ปาป น ปจฺจติ


    ยทา จ ปจฺจติ ปาป อถ (ปาโป) ปาปานิ ปสฺสติ.


    ภโทฺรปิ ปสฺสติ ปาป ยาว ภทฺร น ปจฺจติ


    ยทา จ ปจฺจติ ภทฺร อถ (ภโทฺร) ภทฺรานิ ปสฺสติ.


    แม้คนผู้ทำบาป ย่อมเห็นบาปว่าดี ตลอดกาลที่บาปยังไม่เผล็ดผล, แต่เมื่อใด บาปเผล็ดผล,


    เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นบาปว่าชั่ว, ฝ่ายคนทำกรรมดีย่อมเห็นกรรมดีว่าชั่ว ตลอดกาลที่กรรมดียัง


    ไม่เผล็ด ผล แต่เมื่อใด กรรมดีเผล็ดผล เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นกรรมดีว่าดี."


    แก้อรรถ

    บุคคลผู้ประกอบบาปกรรมมีทุจริตทางกายเป็นต้น ชื่อว่าคนผู้บาปในพระคาถานั้น.


    ก็บุคคลแม้นั้น เมื่อยังเสวยสุขอันเกิดขึ้น ด้วยอานุภาพแห่งสุจริตกรรมในปางก่อนอยู่ ย่อมเห็นแม้บาป

    กรรมว่าดี.


    บาทพระคาถาว่า ยาว ปาป น ปจฺจติ เป็นต้น ความว่า บาปกรรมของเขานั้น ยังไม่ให้ผลในปัจจุบันภพ

    หรือสัมปรายภพเพียงใด. (ผู้ทำบาป ย่อมเห็นบาปว่าดี เพียงนั้น). แต่เมื่อใดบาปกรรมของเขานั้นให้ผล

    ในปัจจุบันภพหรือในสัมปรายภพ. เมื่อนั้น ผู้ทำบาปนั้น เมื่อเสวยกรรมกรณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันภพ และ

    ทุกข์ในอบายในสัมปรายภพอยู่ ย่อมเห็นบาปว่าชั่วถ่ายเดียว.


    ในพระคาถาที่ ๒ (พึงทราบเนื้อความดังต่อไปนี้). บุคคลผู้ประกอบกรรมดีมีทุจริตทางกายเป็นต้น ชื่อว่า

    คนทำกรรมดี. คนทำกรรมดีแม้นั้น เมื่อเสวยทุกข์อันเกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งทุจริตในปางก่อน ย่อมเห็น

    กรรมดีว่าชั่ว.


    บาทพระคาถาว่า ยาว ภทฺร น ปจฺจิต เป็นต้น ความว่ากรรมดีของเขานั้น ยังไม่ให้ผล ในปัจจุบันภพหรือ

    ในสัมปรายภพเพียงใด. (คนทำกรรมดี ย่อมเห็นกรรมดีว่าชั่วอยู่ เพียงนั้น). แต่เมื่อใด กรรมดีนั้นให้ผล,

    เมื่อนั้นคนทำกรรมดีนั้น เมื่อเสวยสุขที่อิงอามิส มีลาภและสักการะ เป็นต้นในปัจจุบันภพ และสุขที่อิง

    สมบัติ อันเป็นทิพย์ในสัมปรายภพอยู่ ย่อมเห็นกรรมดีว่า ดีจริง ๆ ดังนี้.


    ในกาลจบเทศนา เทวดานั้น ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. พระธรรมเทศนา ได้มีประโยชน์แม้แก่บริษัทผู้มา

    ประชุมกัน ดังนี้เเล.


    เรื่องอนาถบิณฑิกเศรษฐี จบ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 สิงหาคม 2009
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,470
    ค่าพลัง:
    +21,327
    จิตตคฤหบดี

    เอตทัคคะในทางผู้เป็นธรรมกถึก


    จิตตคฤหบดีผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของอุบาสกทั้ง

    หลายผู้เป็นธรรมกถึก ก็โดยเหตุ ๒ ประการ คือโดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ เพราะท่าน

    แสดงให้ผู้อื่นเห็นเป็นอย่างชัดเจนในคุณข้อนี้ของท่าน และไม่เพียงเนื่องจากเหตุ

    ข้อนี้เท่านั้น แต่ยังเป็นการแต่งตั้งโดยเหตุที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอด

    แสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้


    ๐ ตั้งความปรารถนาไว้ในอดีต

    ได้ยินว่า จิตตคฤหบดีนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือน

    สกุล กรุงหังสวดี ต่อมา ฟังธรรมกถาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนา

    อุบาสกคนหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าอุบาสกผู้เป็นธรรมกถึก จึงทำ

    กุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้นบ้าง ครั้นสิ้นชีวิตลง ก็เวียนว่ายอยู่ใน

    ภพภูมิเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป

    ๐ ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า

    ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ บังเกิดในเรือนแห่งนายพรานเนื้อ ต่อมาใน

    เวลาที่เขาสามารถจะทำการงานในป่าได้แล้ว วันหนึ่ง เมื่อฝนตกอยู่ เขาได้ถือเอา

    หอกเข้าไปในป่าเพื่อจะฆ่าเนื้อ ขณะที่กำลังมองดูเนื้อตัวหนึ่งอยู่ ก็แลเห็นภิกษุรูป

    หนึ่งห่มผ้าบังสุกุลคลุมศีรษะนั่งอยู่บนหลังแผ่นหินที่เงื้อมเขาแห่งหนึ่ง ก็เกิดกุศล

    จิตขึ้นว่า พระผู้เป็นเจ้า นั่งกระทำสมณธรรมอยู่รูปเดียว เราจักนำอาหารมา เพื่อ

    พระผู้เป็นเจ้านั้น ดังนี้

    เขาคิดดังนั้นแล้ว จึงได้รีบกลับไปเรือน ปิ้งเนื้อที่ได้มาเมื่อวานไว้ที่เตาหนึ่ง แล้ว

    หุงข้าวที่อีกเตาหนึ่ง ในระหว่างนั้นก็เห็นภิกษุสองรูปเที่ยวบิณฑบาตอยู่ จึงได้รับ

    บาตรของท่านแล้วนิมนต์ให้นั่งเหนืออาสนะที่จัดไว้ ให้รับอาหารแล้วสั่งคนที่อยู่ใน

    บ้านว่า พวกท่านจงเลี้ยงดูพระผู้เป็นเจ้า ส่วนตัวเองก็ใส่ข้าวลงในหม้อ เอาใบไม้

    ผูกปากหม้อแล้วถือหม้อเดินไป ระหว่างทางก็เลือกเก็บดอกไม้นานาชนิด ห่อด้วย

    ใบไม้ ไปสู่ที่พระเถระนั่งแล้วกล่าวว่า

    “ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงทำความสงเคราะห์แก่กระผมเถิด”

    ดังนี้แล้ว รับบาตร ให้เต็มด้วยภัตแล้ววางไว้ในมือของพระเถระ กระทำการบูชา

    ด้วยดอกไม้เหล่านั้น ตั้งความปรารถนาว่า

    “บิณฑบาตอันมีรสนี้ พร้อมด้วยดอกไม้เครื่องบูชา ยังจิตของข้าพเจ้าให้ยินดีฉันใด

    ขอบรรณาการพันหนึ่ง จงมายังจิตของข้าพเจ้าให้ยินดีในที่ที่ข้าพเจ้าเกิดแล้วๆ

    ฉันนั้น และขอฝนดอกไม้มีสี ๕ สีจงตก”

    พระเถระเห็นอุปนิสัยของเขาแล้ว บอกให้กรรมฐานมีอาการ ๓๒ เป็นอารมณ์

    เขาทำกุศลจนตลอดชีวิตบังเกิดในเทวโลก ในสถานที่เกิดก็มีฝนดอกไม้ทิพย์

    ตกลงตามพื้นที่ประมาณแค่หัวเข่า ทั้งตนเองก็ประกอบด้วยยศยิ่งกว่าเทวดาองค์

    อื่นๆ

    เขาเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์พุทธันดรหนึ่ง


    ๐ ในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็บังเกิดในสกุลเศรษฐี ณ นครมัจฉิกาสัณฑะ แคว้นมคธ

    เวลาเขาเกิด ฝนดอกไม้ ๕ สี ตกลงประมาณแค่หัวเข่าทั่วพระนคร ครั้งนั้น บิดา

    มารดาของเขาคิดว่า เหตุที่เกิดขึ้นเสมือนหนึ่งจะเป็นการกำหนดชื่อบุตรของตน

    แม้ในวันเกิด ทั่วพระนครก็วิจิตรด้วยดอกไม้ ๕ สี จึงขนานนามเขาว่า จิตตกุมาร

    ต่อมาเขาดำรงอยู่ในฆราวาสวิสัย เมื่อบิดาล่วงลับไป ก็ได้ตำแหน่งเศรษฐีในนคร

    นั้น


    ๐ จิตตคฤหบดีได้ฟังธรรมจากพระมหานามะ

    สมัยหนึ่ง พระเถระชื่อว่ามหานามะ ซี่งเป็นหนึ่งในจำนวนพระเถระปัญจวัคคีย์ ได้

    จาริกไปถึงนครมัจฉิกาสัณฑะ จิตตคฤหบดีเมื่อได้พบท่านก็เลื่อมใสในอิริยาบถ

    ของท่าน จึงรับบาตรแล้วนิมนต์มายังเรือน บูชาด้วยบิณฑบาต เมื่อท่านฉันเสร็จ

    แล้ว พระ เถระเห็นอุปนิสัยของจิตตคฤหบดีนั้น เมื่อแสดงธรรมจึงแสดงเฉพาะ

    สฬายตนวิภังค์เท่านั้น ไม่ช้านัก จิตตคฤหบดีก็บรรลุโสดาปัตติผล เพราะตนมีการ

    พิจารณาเห็นสังขารอันทุกข์บีบคั้นแล้วในภพก่อน

    จากนั้นคฤหบดีก็นำไปยังสวนของตนที่ชื่อ อัมพาฏกวัน ปรารถนาจะอุทิศสวนแห่ง

    นั้นให้เป็นอาราม จึงได้กล่าวถวายสวนอัมพาฏกวัน ให้เป็น อัมพาฏการาม เมื่อ

    เวลาที่จิตตคฤหบดีได้หลั่งน้ำถวายพระอารามนั้น มหาปฐพีก็ได้หวั่นไหวเพื่อจะ

    บอกเหตุว่า “พระพุทธศาสนาตั้งมั่นแล้ว”

    จิตตคฤหบดีให้สร้างวิหารใหญ่ และที่อยู่ในอุทยานถวายพระเถระ นิมนต์ให้

    ท่านอยู่รับบิณฑบาตในเรือนตนเป็นนิตย์ พระอารามนั้นก็ได้เป็นอารามที่ท่าน

    เศรษฐีได้สร้างขึ้นเพื่อพวกภิกษุผู้มาจากทิศทั้งปวงแล้ว โดยมีพระสุธรรมเถระได้

    เป็นเจ้าอาวาสอยู่ในมัจฉิกาสัณฑ์

    ๐ อิสิทัตตะออกบวชเพราะได้อ่านสาส์นจากคฤหบดี

    จิตตคฤหบดีนั้นได้มีสหายคนหนึ่งชื่อว่า อิสิทัตตะ.เป็นบุตรของนายเกวียนคนหนึ่ง

    ในวัฑฒคาม แคว้นอวันตี อิสิทัตตะเป็นอทิฏฐสหาย (คือสหายที่ไม่เคยเห็นหน้า

    กัน) กับท่านคฤหบดี วันหนึ่ง อิสิทัตตะได้รับสาสน์ที่จิตตคฤหบดี เขียนพรรณนา

    พระพุทธคุณส่งไปให้ จึงเกิดความเลื่อมใสในพระศาสดา บวชในสำนักของพระ

    มหากัจจายนเถระ ได้บำเพ็ญวิปัสสนาแล้ว ต่อกาลไม่นานนักก็ได้บรรลุพระ

    อรหันต์

    ครั้นเมื่อท่านบรรลุพระอรหันต์แล้ว ก็คิดว่า จักเดินทางไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค

    เจ้า จึงได้อำลาพระเถระ แล้วเดินทางไปสู่มัชฌิมประเทศโดยลำดับ

    วันหนึ่ง ท่านพระอิสิทัตตเถระเดินทางมาถึงและพักอยู่ที่อัมพาฏการามนั้น เมื่อฉัน

    เสร็จในเรือนของเศรษฐีแล้ว ท่านเศรษฐีได้ถามปัญหากับท่านพระสุธรรมเถระผู้

    เป็นประธานสงฆ์ แต่ท่านพระเถระไม่อาจแก้ปัญหาได้ ท่านพระอิสิทัตตเถระจึงได้

    ขอโอกาสเป็นผู้วิสัชนาปัญหาแก่อุบาสก และได้แก้ปัญหาให้กับท่านเศรษฐีได้

    อย่างกระจ่างแจ้ง ท่านจิตตเศรษฐีจึงถามท่านพระเถระและได้โต้ตอบกันดังนี้

    จิตตเศรษฐี : ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าอิสิทัตตะมาจากไหน ฯ

    อิสิทัตตเถระ : ดูกรคฤหบดี อาตมภาพมาจากอวันตีชนบท ฯ

    จิตตเศรษฐี : ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กุลบุตรมีนามว่าอิสิทัตตะในอวันตีชนบทเป็น

    สหายที่ไม่เคยเห็นกันของข้าพเจ้า ได้ออกบรรพชามีอยู่ พระคุณเจ้าได้เห็นท่าน

    หรือไม่ ฯ

    อิสิทัตตเถระ : ได้เห็น คฤหบดี ฯ

    จิตตเศรษฐี : ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ ท่านผู้มีอายุรูปนั้นอยู่ที่ไหนหนอ ฯ

    เมื่อจิตตคฤหบดีได้ถามอย่างนี้ ท่านอิสิทัตตะได้นิ่งอยู่ ฯ

    จิตตเศรษฐี : ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอิสิทัตตะของข้าพเจ้า คือพระคุณเจ้าหรือ ฯ

    อิสิทัตตเถระ : ใช่ละ คฤหบดี ฯ

    จิตตเศรษฐี : ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอให้พระคุณเจ้าอิสิทัตตะจงชอบใจอัมพาฏกวัน

    อันเป็นที่น่ารื่นรมย์ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์เถิด ข้าพเจ้าจักบำรุงด้วยจีวรบิณฑบาต

    เสนาสนะ และคิลานเภสัชบริขาร

    อิสิทัตตเถระ : ดูกรคฤหบดี ท่านกล่าวดีแล้ว ฯ

    ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระอิสิทัตตะแล้ว ภิกษุผู้

    เถระทั้งหลาย ลุกขึ้นจากอาสนะกลับไป

    ลำดับนั้น พระเถระผู้เป็นประธานได้ให้โอกาสท่านพระอิสิทัตตะว่า ดีแล้ว ท่านอิสิ

    ทัตตะปัญหาข้อนั้นแจ่มแจ้งแก่ท่าน มิได้แจ่มแจ้งแก่ผม ต่อไป ถ้าปัญหาเช่นนี้พึง

    มีมาในกาลใด ท่านนั่นแหละพึงกล่าวตอบปัญหาเช่นนั้น

    ในกาลนั้นครั้งนั้นแล ท่านอิสิทัตตะเมื่อทราบว่าเป็นสหายคฤหัสถ์กับจิตตเศรษฐี

    กันมาก่อน จึงคิดว่า บัดนี้ ไม่ควรอยู่ในที่นี้ ได้เก็บเสนาสนะ ถือเอาบาตรและจีวร

    เดินทางออกจากราวป่าชื่อมัจฉิกาสณฑ์ ไม่ได้กลับมาอีกเหมือนกับภิกษุรูปอื่นที่

    ได้ออกเดินทางจากไป ฯ


    ๐ คฤหบดีอ้อนวอนพระพระมหกะให้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์

    สมัยหนึ่ง เศรษฐีคฤหบดีได้นิมนต์พระภิกษุทั้งหลายภายในพระอาราม ให้มารับ

    ภัตตาหารที่เรือนเศรษฐี ครั้นเมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายฉันเสร็จแล้ว ลดมือจาก

    บาตร ลุกจากอาสนะแล้วจากไป จิตตคฤหบดีจึงได้ตามไปส่งภิกษุผู้เถระทั้งหลาย

    สมัยนั้นแลอากาศได้เกิดร้อนจัด ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้เดินไปด้วยความยาก

    ลำบาก ท่านพระมหกะซึ่งเป็นผู้อ่อนกว่าทุกองค์ในภิกษุสงฆ์หมู่นั้น ได้พูดกะพระสุ

    ธรรมเถระผู้เป็นประธานว่า

    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เป็นการดีทีเดียวถ้าจะมีลมเย็นพัดมา และมีแดดออกอ่อนๆ ทั้ง

    ฝนพึงโปรยลงมาทีละเม็ดๆ

    พระเถระกล่าวว่า ท่านมหกะ เป็นการดีทีเดียว ถ้าจะมีอย่างที่ท่านว่านั้น ครั้งนั้นแล

    ท่านพระมหกะได้บันดาลอิทธิฤทธิ์ให้มีลมเย็นพัดมา และมีแดดอ่อน ทั้งให้มีฝน

    โปรยลงมาทีละเม็ดๆ ฯ

    จิตตคฤหบดีเห็นดังนั้นก็คิดว่า ภิกษุผู้อ่อนกว่าทุกองค์ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ เป็นผู้มี

    ฤทธานุภาพเห็นปานนี้ทีเดียว ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้ไปตามที่อยู่ แม้

    ท่านมหกะก็ได้ไปยังที่อยู่ของตน จิตตคฤหบดีเข้าไปหาท่านพระมหกะถึงที่อยู่

    ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ขอร้องว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอ

    พระคุณเจ้ามหกะจงแสดงอิทธิปาฏิหารย์ที่เป็นอุตริมนุสธรรมแก่ข้าพเจ้าเถิด

    ท่านพระมหกะพูดว่า ดูกรคฤหบดีถ้าเช่นนั้น ท่านจงปูผ้าห่มที่ระเบียง แล้วจงเอา

    ฟ่อนหญ้ามาโปรยลงที่ผ้านั้น

    จิตตคฤหบดีได้รับคำท่านพระมหกะแล้วจึงปูผ้าห่มที่ระเบียง แล้วเอาฟ่อนหญ้ามา

    โปรยลงที่ผ้านั้น

    ครั้งนั้นแล ท่านพระมหกะได้เข้าไปสู่วิหารใส่ลูกดานแล้วได้บันดาลฤทธิ์ให้เปลว

    ไฟแลบออกมาโดยช่องลูกดานและระหว่างลูกดานไหม้หญ้า ไม่ไหม้ผ้าห่ม

    ครั้งนั้นจิตตคฤหบดีได้สลัดผ้าห่มแล้ว ตกใจ ขนลุกชัน ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง

    หนึ่ง

    ลำดับนั้นแล ท่านพระมหกะได้ออกจากห้องแล้วได้ถามจิตตคฤหบดีว่า ดูกร

    คฤหบดีการบันดาลอิทธาภิสังขารเท่านี้ เป็นการเพียงพอหรือ

    จิตตคฤหบดีได้กล่าวว่า ท่านมหกะผู้เจริญ เป็นการเพียงพอแล้ว ขอพระคุณเจ้า

    มหกะจงชอบใจอัมพาฏกวนารามที่น่ารื่นรมย์ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์เถิด ข้าพเจ้า

    จักบำรุงด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานเภสัชบริขาร

    ท่านพระมหกะได้กล่าวว่า ดูกรคฤหบดี นั่นท่านกล่าวดีแล้ว

    ครั้งนั้นแลท่านพระมหกะได้เก็บเสนาสนะ ถือบาตรและจีวรเดินทางออกจากราว

    ป่าชื่อมัจฉิกาสณฑ์ ไม่ได้กลับมาอีก เหมือนกับภิกษุรูปอื่นๆ ที่เดินทางจากไป

    ฉะนั้น ฯ

    ๐ คฤหบดีชักจูงอเจลกัสสปผู้สหายให้เลื่อมใสพุทธศาสนา

    สมัยนั้นแล อเจลก (นักบวชเปลือย) ชื่อกัสสปผู้เคยเป็นสหายของจิตตคฤหบดีเมื่อ

    ครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ได้ไปถึงราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ จิตตคฤหบดีได้สดับข่าวว่าอเจ

    ลกัสสปมาถึงจึงได้เข้าไปหาแล้วได้ปราศรัยกันพอสมควร ครั้นแล้วได้ถามอเจ

    ลกัสสปว่า ท่านกัสสปผู้เจริญ ท่านบวชมานานเท่าไร

    อเจลกัสสปตอบว่า : ดูกรคฤหบดี เราบวชมาได้ประมาณ ๓๐ ปี ฯ

    จิตตคฤหบดี : ท่านผู้เจริญ ก็ตลอดเวลา ๓๐ ปีมานี้ ท่านได้บรรลุคุณพิเศษอะไรๆ

    ที่เป็นญาณทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยม บ้างหรือไม่ ฯ

    อเจลกัสสป : ดูกรคฤหบดี ตลอดเวลา ๓๐ ปีมานี้ คุณพิเศษอะไรๆ ที่เป็นญาณทัส

    สนะวิเศษชั้นเยี่ยมที่เราบรรลุนั้น ไม่มี นอกจากการประพฤติเปลือย การเป็นคน

    โล้น และการสลัดฝุ่น ฯ

    อเจลกัสสป : ดูกรคฤหบดี ก็ท่านได้เข้าถึงความเป็นอุบาสกมาแล้วนานเท่าไร ฯ

    จิตตคฤหบดี.: ท่านผู้เจริญ สำหรับข้าพเจ้าได้เข้าถึงความเป็นอุบาสกมาแล้ว ๓๐

    ปี ฯ

    อเจลกัสสป : ดูกรคฤหบดี ก็ตลอดเวลา ๓๐ ปีมานี้ คุณวิเศษชั้นเยี่ยม

    อย่างบริบูรณ์ ที่ท่านบรรลุแล้ว เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุก มีอยู่หรือ ฯ

    จิตตคฤหบดี : ท่านผู้เจริญ แม้คฤหัสถ์ก็พึงมีธรรมเช่นนั้นได้ เพราะข้าพเจ้าย่อม

    จำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก

    วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

    ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่าเราเข้าทุติยฌาน...

    ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วย

    กาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌาน...

    ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราเข้าจตุตถฌาน...

    ก็แหละข้าพเจ้าพึงพยากรณ์ก่อนพระผู้มีพระภาคไซร้ ก็จะไม่เป็นการน่าอัศจรรย์

    สำหรับข้อที่พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงพยากรณ์ข้าพเจ้าว่า ไม่มีสังโยชน์ที่จิตต

    คฤหบดีประกอบแล้ว มีแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้กลับมาสู่โลกนี้อีก ฯ

    เมื่อจิตตคฤหบดีกล่าวอย่างนี้ อเจลกัสสปได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ธรรมที่พระผู้มี

    พระภาคตรัสดีแล้ว น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแล้วหนอ เพราะในพระธรรมวินัย มี

    คฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มขาว บรรลุคุณวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ ที่เป็นธรรมเครื่องอยู่

    ผาสุกเช่นนั้น ดูกรคฤหบดี ขอให้ข้าพเจ้าพึงได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย

    นี้ ฯ

    ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้พาเอาอเจลกัสสปเข้าไปหาภิกษุผู้เถระถึงที่อยู่

    แล้วกล่าวว่า

    ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อเจลกัสสปผู้นี้เคยเป็นสหายของข้าพเจ้าเมื่อครั้งยัง

    เป็นคฤหัสถ์ ขอพระเถระทั้งหลายจงให้อเจลกัสสปผู้นี้บรรพชาอุปสมบทเถิด

    ข้าพเจ้าจักบำรุงเธอด้วยจีวรบิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร

    อเจลกัสสปได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยแล้ว ท่านพระกัสสปอุปสมบท

    แล้วไม่นาน หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่

    กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวช

    เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัด

    ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ

    เป็นอย่างนี้มิได้มี

    ท่านพระกัสสปได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ


     
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,470
    ค่าพลัง:
    +21,327
    ๐ คฤหบดีบรรลุอนาคามิผล

    โดยสมัยอื่น พระอัครสาวกทั้งสอง สดับกถาพรรณนาคุณของจิตตคฤหบดีแล้ว ใคร่

    จะทำความสงเคราะห์แก่คฤหบดีนั้น จึงได้ไปสู่มัจฉิกาสัณฑนคร จิตตคฤหบดีทราบ

    การมาของพระอัครสาวกทั้งสองนั้นจึงไปต้อนรับสิ้นทางประมาณกึ่งโยชน์ พาพระ

    อัครสาวกทั้งสองนั้นมาแล้ว นิมนต์ให้เข้าไปสู่วิหารของตน ทำอาคันตุกวัตรแล้วอ้อน

    วอนพระธรรมเสนาบดีว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมปรารถนาฟังธรรมกถาสักหน่อย”

    ครั้งนั้น พระเถระกล่าวกะเขาว่า “อุบาสก อาตมะทั้งหลายเหน็ดเหนื่อยแล้วโดยทาง

    ไกล อนึ่ง ท่านจงฟังเพียงนิดหน่อยเถิด” ดังนี้แล้ว ก็กล่าวธรรมกถาแก่เขา

    คฤหบดีนั้นฟังธรรมกถาของพระเถระอยู่แล บรรลุอนาคามิผลแล้ว เขาไหว้พระอัคร

    สาวกทั้งสองแล้วนิมนต์ว่า

    “ท่านผู้เจริญ พรุ่งนี้ขอท่านทั้งสอง กับภิกษุพันรูป รับภิกษาที่เรือนกระผม”

    แล้วจึงมานิมนต์พระสุธรรมเถระเจ้าอาวาสภายหลังว่า

    “ท่านขอรับพรุ่งนี้แม้ท่านก็พึงมากับพระเถระทั้งหลาย”


    ๐ พระสุธรรมเถระด่าคฤหบดี

    พระสุธรรมเถระนั้นก็โกรธว่าอุบาสกนี้ มานิมนต์เราภายหลัง จึงปฏิเสธ แม้อันคฤหบดี

    อ้อนวอนอยู่บ่อยๆ ก็ปฏิเสธแล้วนั่นแหละ

    ในวันรุ่งขึ้นจิตตคฤหบดีได้จัดแจงทานใหญ่ไว้ในที่อยู่ของตน ในเวลาใกล้รุ่ง

    ฝ่ายพระสุธรรมเถระก็คิดจะไปดูว่า พรุ่งนี้คฤหบดีจะจัดแจงสักการะ เพื่อพระอัคร

    สาวกทั้งสองไว้เช่นไร รุ่งขึ้นจึงได้ถือบาตรและจีวรไปสู่เรือนของคฤหบดีนั้นแต่เช้า

    ตรู่

    เมื่อไปถึงเรือนคฤหบดีแล้ว แม้คฤหบดีจะกล่าวนิมนต์ให้นั่งเ พระสุธรรมเถระนั้นก็

    ปฏิเสธว่า “เราไม่นั่ง เราจักเที่ยวบิณฑบาต” แล้วก็เที่ยวตรวจดูสักการะที่คฤหบดี

    เตรียมไว้เพื่อพระอัครสาวกทั้งสอง เมื่อเห็นแล้วก็ใคร่จะเสียดสีคฤหบดีโดยชาติ จึง

    กล่าวว่า “คฤหบดีสักการะของท่านล้นเหลือ แต่ก็ขาดอยู่อย่างเดียวเท่านั้น”

    คฤหบดี “อะไร ขอรับ ?”

    พระเถระ ตอบว่า “ขนมแดกงา คฤหบดี”

    ครั้นพระเถระถูกคฤหบดีรุกรานด้วยวาจาอุปมาด้วยกา ก็โกรธแล้วกล่าวว่า

    “คฤหบดี อาวาสนี้เป็นของท่าน เราจักหลีกไป”

    แม้คฤหบดีจะห้ามถึง ๓ ครั้ง แต่พระเถระก็มิฟัง หลีกไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูล

    คำที่จิตตคฤหบดี และตนกล่าวแล้ว


    ๐ พระสุธรรมเถระถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม

    พระศาสดาตรัสว่า “อุบาสกอันเธอด่าด้วยคำเลว เป็นคนมีศรัทธาเลื่อมใส” ดังนี้แล้ว

    ทรงปรับโทษแก่พระสุธรรมเถระนั้นนั่นแล แล้วรับสั่งให้สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม

    (กรรมอันให้ระลึกถึงความผิด) แล้วส่งไปว่า “เธอจงไป แล้วให้จิตตคฤหบดียกโทษ

    เสีย”

    พระเถระไปในที่นั้นแล้วกล่าวแสดงโทษของตน พร้อมกับขอให้คฤหบดียกโทษให้

    แต่คฤหบดีนั้นปฏิเสธการยกโทษแก่พระเถระ ครั้นเมื่อไม่อาจให้คฤหบดีนั้นยกโทษ

    ให้ตนได้ พระเถระจึงกลับมาสู่สำนักพระศาสดา
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,470
    ค่าพลัง:
    +21,327
    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="94%"> <tbody> <tr> <td class="postbody" valign="top"> <hr> ๐ สมณะไม่ควรทำมานะและริษยา

    แม้พระศาสดาก็ทรงทราบว่าอุบาสกจักไม่ยกโทษแก่พระสุธรรมนั้น ทรงดำริว่า

    ภิกษุนี้ กระด้างเพราะมานะ จึงไม่ทรงบอกอุบายเพื่อให้คฤหบดียกโทษให้เลย

    ทรงส่งให้กลับไปใหม่ โดยประทานภิกษุผู้อนุทูตแก่เธอผู้นำมานะออกแล้ว ตรัส

    ว่า “เธอจงไปเถิด ไปกับภิกษุนี้ จงให้อุบาสกยกโทษ” ดังนี้แล้ว ตรัสว่า

    “ธรรมดาสมณะไม่ควรทำมานะหรือริษยาว่า ‘วิหารของเรา ที่อยู่ของเรา

    อุบาสกของเรา อุบาสิกาของเรา เพราะเมื่อสมณะทำอย่างนั้น เหล่ากิเลส มี

    ริษยาและมานะเป็นต้น ย่อมเจริญ”

    เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

    “ภิกษุผู้พาล พึงปรารถนาความยกย่องอันไม่

    มีอยู่ ความแวดล้อมในภิกษุทั้งหลาย ความเป็นใหญ่

    ในอาวาส และการบูชาในตระกูลแห่งชนอื่น ความ

    ดำริ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้พาลว่า ‘คฤหัสถ์และ

    บรรพชิตทั้งสองจงสำคัญกรรม อันเขาทำเสร็จแล้ว

    เพราะอาศัยเราผู้เดียว จงเป็นไปในอำนาจของเรา

    เท่านั้น ในกิจน้อยใหญ่ กิจไรๆ ริษยาและมานะย่อมเจริญ (แก่เธอ)”

    ๐ พระสุธรรมเถระบรรลุพระอรหัต

    แม้พระสุธรรมเถระฟังพระโอวาทนี้แล้ว ถวายบังคมพระศาสดาลุกขึ้นจาก

    อาสนะ กระทำประทักษิณแล้ว ไปกับภิกษุผู้เป็นอนุฑูตนั้น แสดงอาบัติต่อ

    หน้าอุบาสก ขออุบาสกให้ยกโทษแล้ว พระสุธรรมเถระนั้นเมื่ออุบาสกยก

    โทษให้ด้วยการกล่าวว่า “กระผมยกโทษให้ขอรับ ถ้าโทษของกระผมมี ขอ

    ท่านจงยกโทษแก่กระผม” แล้วท่านพระสุธรรมเถระก็ตั้งอยู่ในพระโอวาทที่

    พระศาสดาประทานแล้ว โดย ๒ - ๓ วันเท่านั้น ก็บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วย

    ปฏิสัมภิทา




    ๐ จิตตคฤหบดีไปเฝ้าพระศาสดา

    ฝ่ายอุบาสกคิดว่า “เรายังไม่ได้เฝ้าพระศาสดาเลย เมื่อบรรลุโสดาปัตติผล

    แล้ว ยังไม่ได้เฝ้าพระศาสดาเหมือนกัน เมื่อดำรงอยู่ในอนาคามิผล เราควร

    เฝ้าพระศาสดาโดยแท้”

    คฤหบดีนั้น ให้เทียมเกวียน ๕๐๐ เล่มเต็มด้วยวัตถุมีงา ข้าวสาร เนยใส น้ำ

    อ้อย และผ้านุ่งห่มเป็นต้นแล้วให้บอกแก่หมู่ภิกษุว่า “พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย

    ใด ประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายนั้นจงไป จักไม่ลำบาก

    ด้วยบิณฑบาตเห็นต้น”


    ดังนี้แล้ว ก็ให้แจ้งทั้งแก่หมู่ภิกษุณี ทั้งแก่พวกอุบาสกทั้งแก่พวกอุบาสิกา

    ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ภิกษุณีประมาณ ๕๐๐ รูปอุบาสกประมาน ๕๐๐

    อุบาสิกาประมาณ ๕๐๐ ออกไปกับคฤหบดีนั้น.เขาตระเตรียมแล้วโดยประการ

    ที่จะไม่มีความบกพร่องสักน้อยหนึ่ง ด้วยข้าวยาคูและภัตเป็นต้น ในหนทาง

    ๓๐ โยชน์ เพื่อชนสามพันคน คือเพื่อภิกษุเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแล และเพื่อ

    บริษัทของตน













    ฝ่ายพวกเทวดาทั้งหลาย เมื่อทราบความที่อุบาสกนั้นออกเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ไปเนรมิตค่ายที่พักไว้ตามระยะทางทุกๆ โยชน์ (๑๖ กิโลเมตร) แล้วบำรุงชนเหล่านั้นด้วยอาหารวัตถุ มีข้าวยาคู ของควรเคี้ยว ภัตและน้ำดื่มเป็นต้น อันเป็นทิพย์ ความบกพร่องด้วยวัตถุอะไรๆ มิได้เกิดขึ้นแก่ใครๆ

    มหาชนอันเทวดาทั้งหลายบำรุงอยู่อย่างนั้น เดินทางได้วันละโยชน์ๆ โดยเดือนหนึ่งก็ถึงกรุงสาวัตถี เกวียนทั้ง ๕๐๐ เล่ม ก็ยังเต็มบริบูรณ์เช่นเดิมนั้นแหละ คฤหบดีได้สละบรรณาการที่พวกเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนำมา ไปแล้ว


    ๐ พระศาสดาทรงแสดงปาฏิหาริย์

    พระศาสดา ตรัสกะพระอานนทเถระว่า “อานนท์ ในเวลาบ่ายวันนี้ จิตตคฤหบดีพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ ผู้แวดล้อมอยู่ จักมาไหว้เรา”

    พระอานนท์ : พระเจ้าข้า ก็ในกาลที่จิตตคฤหบดีนั้นถวายบังคมพระองค์ ปาฏิหาริย์ไรๆ จักมีหรือ ?

    พระศาสดา : จักมี อานนท์

    อานนท์ : ปาฏิหาริย์อะไร ? พระเจ้าข้า

    พระศาสดา : ในกาลที่จิตตคฤหบดีนั้น มาไหว้เรา ฝนดอกไม้ทิพย์ ๕ สี จักตกโดยประมาณเพียงเข่าในบริเวณประมาณ ๘ กรีส (ประมาณ ๕๐๐ เมตร)

    ชาวเมืองเมื่อได้ฟังข่าวนั้นแล้วก็คิดว่า “ได้ยินว่า จิตตคฤหบดีผู้มีบุญมากถึงอย่างนั้น จักมาถวายบังคมพระศาสดาในวันนี้ เขาว่าปาฏิหาริย์อย่างนี้จักเกิดขึ้น พวกเราจักได้เห็นผู้มีบุญมากนั้น” ดังนี้แล้วได้ถือเอาเครื่องบรรณาการไปยืนอยู่สองข้างทาง

    ในกาลที่จิตตคฤหบดีมาใกล้วิหาร ภิกษุ ๕๐๐ รูปมาถึงก่อน จิตตคฤหบดีกล่าวกะพวกอุบาสิกาว่า “พวกท่านทั้งหลาย จงตามมาข้างหลัง” ส่วนตนกับอุบาสก ๕๐๐ก็ได้ไปสู่สำนักของพระศาสดา ท่ามกลางสายตาของมหาชนทั้งหลาย ผู้เข้าเฝ้าอยู่ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า

    คฤหบดีนั้นเข้าเฝ้าพระศาสดา เข้าไปภายในพระพุทธรัศมีมีพรรณะ ๖ จับพระบาทพระศาสดาที่ข้อพระบาททั้งสองถวายบังคมแล้ว ในขณะนั้นเอง ฝนดอกไม้มีประการดังกล่าวมา ตกแล้ว มหาชนเปล่งเสียงสาธุการขึ้นพร้อมกัน

    แล้วพระศาสดาจึงตรัสสฬายตนวิภังค์ โปรดคนเหล่านั้น ตามอัธยาศัยของจิตตคฤหบดี


    ๐ จิตตคฤหบดีถวายทาน

    คฤหบดีนั้น อยู่ในสำนักพระศาสดาสิ้นเดือนหนึ่งแล ได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์ ทั้งสิ้นมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้นั่งในวิหารนั่นแหละ ถวายทานใหญ่แล้ว นิมนต์ภิกษุแม้ที่มาพร้อมกับตนให้อยู่ภายในอารามนั้นแหละบำรุงแล้ว ไม่ต้องหยิบอะไรๆ ในเกวียนของตน แม้สักวันหนึ่ง ได้ทำกิจทุกอย่างด้วยบรรณาการที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนำมาเท่านั้น

    จิตตคฤหบดีนั้น ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า

    “พระเจ้าข้า ข้าพระองค์มาด้วยตั้งใจว่า จักถวายทานแด่พระองค์ ได้พักอยู่ในระหว่างทางเดือนหนึ่ง และในที่นี้เวลาเดือนหนึ่งของข้าพระองค์ก็ได้ล่วงไปแล้ว สิ่งของที่ข้าพระองค์ตั้งใจจะนำมาถวายนั้น ข้าพระองค์ยังมิได้ต้องนำออกมาถวายทานเลย ด้วยว่าของอะไรๆ ที่ได้ถวายทานตลอดเวลาที่ผ่านมานี้ เป็นสิ่งของที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนำมาทั้งนั้น ข้าพระองค์นั้น แม้ถ้าจะอยู่ในที่นี้ไปอีกตลอดปีหนึ่ง ก็จักไม่ได้โอกาสเพื่อจะถวายไทยธรรมของข้าพระองค์แน่แท้ ข้าพระองค์ปรารถนาจักนำของในเกวียนออกถวายเป็นทานแล้วกลับไป ขอพระองค์ จงโปรดให้บอกที่สำหรับเก็บของนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด”

    พระศาสดา ตรัสกะพระอานนทเถระว่า

    “อานนท์ เธอจงให้จัดที่แห่งหนึ่งให้ว่าง ให้แก่อุบาสก”

    พระเถระ ได้กระทำอย่างนั้นแล้ว.ได้ยินว่า พระศาสดา ทรงอนุญาตกัปปิยภูมิแก่จิตตคฤหบดีแล้ว


    ๐ จิตตคฤหบดีเดินทางกลับ

    ฝ่ายอุบาสกกับชนทั้งสามพันคน ซึ่งมาพร้อมกับตน ก็เดินทางกลับด้วยเกวียนเปล่าแล้ว พวกเทวดาก็ได้เนรมิตรัตนะ ๗ ประการบรรจุไว้เต็มเกวียนนั้น

    ในครั้งนั้น พระอานนทเถระ ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า สักการะที่เกิดขึ้นแก่คฤหบดีนั้น จะเกิดเฉพาะเมื่อคฤหบดีนั้นมาเฝ้าพระองค์เท่านั้น หรือแม้ไปในที่อื่นก็เกิดขึ้นเหมือนกัน

    พระศาสดา ตรัสว่า “อานนท์ จิตตคฤหบดีนั้นมาสู่สำนักของเราก็ดี ไป ณ ที่อื่นก็ดี สักการะย่อมเกิดขึ้นทั้งนั้น เพราะอุบาสกนี้เป็นผู้มีศรัทธา เลื่อมใส มีศีลสมบูรณ์ อุบาสกเช่นนี้ ไปประเทศใดๆ ลาภสักการะ ย่อมเกิดแก่เขาในประเทศนั้นๆ ทีเดียว” ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถาว่า

    “ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล เพียบพร้อม
    ด้วยยศ และโภคะ ย่อมคบประเทศใดๆ ย่อมเป็นผู้
    อันเขาบูชาแล้ว ในประเทศนั้นๆ ทีเดียว”


    ๐ ทรงแต่งตั้งเป็นเอตทัคคะผู้เป็นธรรมกถึก

    จิตตคฤหบดีนั้นได้เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในเรื่องการแสดงธรรม โดยมีเรื่องที่เป็นเค้ามูลที่แสดงให้เห็นว่าท่านเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นอยู่หลายเรื่องเช่น

    ท่านได้แสดงธรรมแก้ปัญหาที่เหล่าภิกษุที่อัมพาฏการามได้สงสัยในเรื่อง ธรรมเหล่านี้ คือสังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกันหรือว่ามีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ซึ่งท่านก็ได้แสดงธรรมแก้ข้อสงสัยนั้นจนเป็นที่พอใจของพระสงฆ์เหล่านั้น

    อีกครั้งหนึ่งท่านได้แสดงธรรมโดยละเอียดในเรื่องที่ ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ ได้ขอให้ท่านขยายความภาษิตที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้โดยย่อไว้ว่า

    เธอจงดูรถอันไม่มีโทษ มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มีทุกข์ แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแสตัณหาขาด ไม่มีกิเลสเครื่องผูกพัน ฯ

    ซึ่งท่านคฤหบดีก็ได้ขยายให้ท่านพระกามภูฟังจนท่านพระกามภูได้ชมเชย

    ท่านได้แสดงธรรมแก้ปัญหาที่ท่านพระโคทัตตะที่อัมพาฏการามได้สงสัยในเรื่อง ธรรมเหล่านี้ คือ อัปปมาณาเจโตวิมุติ อากิญจัญญาเจโตวิมุติ สูญญตาเจโตวิมุติ และอนิมิตตาเจโตวิมุติ มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่า มีอรรถเหมือนกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ซึ่งท่านก็ได้แสดงธรรมแก้ข้อสงสัยนั้นจนเป็นที่พอใจของท่านพระโคทัตตะ

    ท่านคฤหบดีได้แสดงธรรมให้อเจลกัสสปผู้สหายให้เลื่อมใสพุทธศาสนา จนขอบวชและต่อมาได้เป็นพระอรหันต์

    ท่านคฤหบดีได้แสดงธรรมให้อเจลกัสสปผู้สหายให้เลื่อมใสพุทธศาสนา จนขอบวชและต่อมาได้เป็นพระอรหันต์

    ท่านคฤหบดีได้มีหนังสือพรรณนาพระพุทธคุณส่งไปให้ อิสิทัตตะผู้เป็นสหายที่ไม่เคยเห็นกันของตน จนอิสิทัตตะเกิดความเลื่อมใสในพระศาสดา บวชในสำนักของพระมหากัจจายนเถระ ได้บำเพ็ญวิปัสสนาแล้ว ต่อกาลไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหันต์

    ต่อมาภายหลัง พระศาสดา เมื่อทรงสถาปนาเหล่า อุบาสกไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ ทรงทำกถาชื่อจิตตสังยุตให้เป็น อัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสก ผู้เป็นธรรมกถึก แล


    ๐ เกิดร่วมสมัยกับพระโพธิสัตว์

    ท่านได้เกิดร่วมชาติกับพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งพระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นมหากัญจนดาบส โดยท่านคฤหบดีได้เกิดเป็นทาสในสมัยนั้น ดังที่ปรากฎในภิสชาดก


    </td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...