โพธิปักขิยธรรมภาคปฏิบัติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย แว๊ด, 24 กรกฎาคม 2009.

  1. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    <TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=560 align=center border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px" vAlign=top><TD class=title style="FONT-SIZE: 12px" width=278 height=65>: ภาคธรรมปฏิบัติ ::<!-- InstanceEndEditable --></TD><TD class=txt9 style="FONT-SIZE: 12px" align=right width=282><!-- InstanceBeginEditable name="name" -->เรื่อง โพธิปักขิยธรรมภาคปฏิบัต
    โดย พระภาวนาวิสุทธิคุณ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๒<!-- InstanceEndEditable -->

    </TD></TR><TR style="FONT-SIZE: 12px" vAlign=top><TD style="FONT-SIZE: 12px" colSpan=2><!-- InstanceBeginEditable name="txt" --><TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px" vAlign=center width=114>[​IMG]</TD><TD style="FONT-SIZE: 12px" width=446>วันนี้จะชี้แจงภาคปฏิบัติธรรม แยกรูปแยกนามในโพธิปักขิยธรรมให้ญาติโยมฟัง เพื่อนำมาเป็นหลักปฏิบัติตาที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ เหตุผลที่ให้ปฏิบัติโดยไม่ห่วงภาควิชาการ ให้ปฏิบัติค้นหาเหตุผลให้กุศลเกิดขึ้นจากวิธีปฏิบัติ ให้ผุดขึ้นมาในดวงใจเองนั้น เพราะท่านทิ้งความรู้เดิมที่เป็นทิฐิมานะในชีวิตของตนให้หมดจากจิตใจไป การปฏิบัติจริงนั้น เกิดจากดวงใจคือภาวนา เป็นปัญญาใสสะอาด ผุดขึ้นมาเอง จึงจะเป็นการปฏิบัติได้ของจริงด้วยความถูกต้อง ดังนั้นจึงต้อง ห้ามดูหนังสือ ห้ามคุยกัน ที่พูดย้ำมานาน คือ กินน้อย นอนน้อย ทำความเพียรมาก


    </TD></TR></TBODY></TABLE>หากปฏิบัติได้ตามองค์ภาวนานี้ ก็จะพบวิชาการ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงศึกษาค้นพบด้วยพระองค์เอง เรียกว่าวิชาพ้นทุกข์ และมาแยกแยะออกไปในรูปนาม ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ บอกหน้าที่การงาน พละ ๕ ประการ เป็นต้น ก็ได้จากวิธีปฏิบัติภาวนานี้ทั้งหมด พระอรหันต์สมัยพุทธกาล มี พระมหากัสสปเถระ เป็นประธานหระชุมกันทำสังคายนา รวบรวมท่องจำแล้ว จารึกเป็นพระไตรปิฎก หยิบยกขึ้นมาเป็นวิชาการให้พวกเราได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมตราบจนทุกวันนี้


    การแสวงหาที่สงบในอรัญราวป่า คือรุกขมูล เป็นการปฏิบัติให้จิตสงบ ในเมื่อจิตสงบไม่ฟุ้งซ่านแล้ว ปัญญาก็เกิดขึ้นในสังขารที่ปรุงแต่ง เกิดเป็นวิญญาณ แสดงท่าทีออกมา โดยแยกรูป แยกนาม ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ออกมาได้ โดยวิธีนี้ถือว่าเป็นข้อปฏิบัติ แต่ ปฏิบัติเกิดก่อนปริยัติ แน่ พระพุทธเจ้าไปปฏิบัติก่อน จนสำเร็จสัมโพธิญาณแล้ว จึงได้แยกแยะออกไป เป็นจิต เจตสิก รูป นิพพาน ออกไปตามรูปการณ์อย่างนี้
    <TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" background=../images/dot01.gif border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px">ในการปฏิบัติจะเหลือ ๒ คือ สติ สัมปชัญญะ ที่กำหนด ใช้สติกำหนดจิต ให้จิตรู้หน้าที่การงานโดยถูกต้อง แล้วจะเหลืออยู่หนึ่งเดียว คือ ความไม่ประมาท ดำเนินชีวิตด้วยความถูกต้อง นี่เป็นหลักปฏิบัติ ต่อไปนี้จะบรรยาย โพธิปักขิยธรรมภาคปฏิบัติ ให้ญาติโยมฟัง


    </TD></TR></TBODY></TABLE><DD style="FONT-SIZE: 12px">คำว่า โพธิปักขิยธรรม แยกออกแล้วมีความหมายอย่างนี้ โพธิ แปลว่า รู้ รู้โดยความหมายของคำว่าโพธินี้ หมายถึงการรู้ที่จะทำให้สิ้นอาสวะ คือ รู้อริยสัจ ๔ ปักขิยะ แปลว่า ที่เป็นฝ่ายโพธิปักขิยธรรม จึงหมายความว่า ธรรมที่เป็นฝ่ายรู้ถึงมรรคผล ถ้าจะแปลสั้น ๆ ก็ว่า ธรรมที่เป็นฝ่ายให้ถึงการตรัสรู้




    <DD style="FONT-SIZE: 12px">โพธิปักขิยธรรมนี้ แบ่งออกเป็น ๗ กอง รวมเป็นธรรมะ ๓๗ ประการ ในธรรม ๓๗ ข้อนี้ จะได้องค์ธรรมที่ไม่ซ้ำกัน ๑๔ องค์ ขอให้ทำความเข้าใจไว้ก่อนตามที่กล่าวน ี้โพธิปักขิยธรรม ๗ กอง ได้แก่
    <TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=5 cellPadding=2 width="34%" align=center border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px">๑. สติปัฏฐาน มี ๔ ประการ </TD></TR><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px" background=../images/dot01.gif>๒. สัมมัปปธาน มี ๔ ประการ</TD></TR><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px">๓. อิทธิบาท มี ๔ ประการ</TD></TR><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px" background=../images/dot01.gif>๔. อินทรีย์ มี ๕ ประการ</TD></TR><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px">๕. พละ มี ๕ ประการ</TD></TR><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px" background=../images/dot01.gif>๖. โพชฌงค์ มี ๗ ประการ </TD></TR><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px">๗. มรรค มี ๘ ประการ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <DD style="FONT-SIZE: 12px">กองที่ ๑ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ ที่ปฏิบัติอยู่ ณ บัดนี้ สติ ความระลึกรู้อารมณ์ เป็นธรรมฝ่ายดี รู้ทันอารมณ์ในสติปัฏฐาน ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม สติที่ระลึกรู้ กาย เวทนา จิต ธรรม มีจุดประสงค์จำแนกเป็น ๒ ทาง คือ
    <TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px" vAlign=center align=middle width=22 background=../images/dot01.gif></TD><TD style="FONT-SIZE: 12px" width=523>๑. ถ้าเจริญสมถภาวนา ก็พิจารณาตั้งมั่นในบัญญัติ เพื่อให้จิตสงบ มีอานิสงส์ให้บรรลุ ฌานสมาบัติ


    ๒. ถ้าเจริญวิปัสสนาภาวนา สติก็พิจารณาตั้งมั่นอยู่ในรูปนาม เพื่อให้ เกิดปัญญา เห็นพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีอานิสงส์ให้บรรลุถึงมรรค ผล นิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>การพิจารณาไตรลักษณ์ก็เพื่อให้รู้สภาพตามความเป็นจริงว่า สิ่งทั้งหลายที่ยึดถือเป็นตัวตน เป็นชายหญิงนั้น ล้วนแต่เป็นเพียงรู้เป็นเพียงรูปกับนามเท่านั้น และรูปนามเหล่านั้นยังมีลักษณะเป็น อนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา หาแก่นสารไม่ได้เลย จะได้ไม่ติดอยู่ในความยินดีพอใจ อันเป็นการเริ่มต้นที่จะให้ถึงการดับทุกข์ต่อไป ฉะนั้นสติปัฏฐาน ๔ จึงเป็นทางสายเอก จัดว่าเป็นทางสายเดียวที่สามารถให้ผู้ที่ดำเนินตามทางนี้ ถึงความรอบรู้ความจริงจนบรรลุพระนิพพาน

    ดังนั้นผู้ปรารถนาจะบรรลุถึงมรรค ผล นิพพาน ต้องเริ่มต้นด้วยสติปัฏฐาน เพื่อบรรลุญาณธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
    ญาณธรรม คือ ธรรมที่ควรรู้มีอยู่ ๕ ประการ ได้แก่


    ๑. สังขาร คือ ธรรมที่ปรุงแต่ง ได้แก่ จิต เจตสิก รูป
    ๒. วิกาล คือ ธรรมที่เปลี่ยนแปลงผันแปร ได้แก่ ธรรมที่เปลี่ยนแปลง ผันแปรของสัตว์ ที่เป็นไปในภพต่าง ๆ
    ๓. ลักษณะ คือ ธรรมที่เป็นเหตุให้รู้ให้เห็น ได้แก่ลักษณะของสภาวะ
    ๔. นิพพาน คือ ธรรมที่พ้นจากกิเลส คือ อสังขตธรรม อสังขตธรรมนี้เราก็จะมองเห็นเด่นชัดเช่นเดียวกัน
    ๕. บัญญัติ คือ ธรรมที่สมมติใช้พูดจาเรียกขานกัน ได้แก่ อัตถบัญญัติ และสัททบัญญัติ


    อารมณ์ของสติปัฏฐาน มี ๔ อย่าง คือ
    ๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ สติที่ตั้งมั่นพิจารณากายเนือง ๆ ได้แก่สติที่กำหนดรู้ ที่เรากำหนดอยู่ ณ บัดนี้ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก อิริยาบถใหญ่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถย่อย ได้แก่การเคลื่อนไหว คู้เหยียด เหยียดขา เป็นต้น เพื่อให้ตระหนักว่า การยืน การเดิน นั่ง นอน อันเป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายนั้น เกิดจากธาตุลมที่มีอยู่ในร่างกาย โดยอำนาจของจิต
    <TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px" width=475 background=../images/dot01.gif>ทางธรรมะ เรียกว่า รูป คือ รูปที่เกิดจากจิต หาได้มีผู้ใดมาบงการแต่อย่างใดไม่ ในบางแห่งจะพบว่าพิจารณากายในกาย หรือ กายในอันเป็นภายใน กายในอันเป็นภายนอก คำเหล่านี้เป็นภาษาธรรมะ อธิบายกันเป็นหลายนัย เช่น กาเยกายานุปัสสี แปลว่าเห็นกายในกาย คำว่า กาเย หมายถึง รูปกับกาย คือ กัมมัชรูป แต่ร่างกาย มีทั้งจิต เจตสิก และรูป


    </TD><TD style="FONT-SIZE: 12px" align=right width=45>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ส่วนคำว่า กายานุปัสสี หมายเพียงให้ กำหนดดูแต่รูปธรรม เท่านั้น คือดูรูปอย่างเดียว ไม่ใช่ดูจิต เจตสิกที่มีอยู่ในร่างกายด้วย คำว่า กายในกาย หมายตรงว่า รูปในรูป แต่ในร่างกายนี้มีมากมายหลายรูป แต่ให้พิจารณาดูรูปเดียวในหลาย ๆ รูปนั้น เช่นจะพิจารณาลมหายใจ เข้าออก พองหนอ ยุบหนอ คือ ลมหายใจเข้าก็พอง ลมหายใจออกก็ยุบ ก็พิจารณาวาโยธาตุแต่รูปเดียว เรียกว่าอานาปาณสติ ลมหายใจเข้าออก พองหนอ ยุบหนอ เรียกว่า อานาปาณสติ ส่วนคำว่า กายในอันเป็นภายใน และกายในอันเป็นภายนอกนั้น ถ้าพิจารณาดูรูปในกายของตนเองก็เป็นภายใน รูปในกายผู้อื่นถือว่าเป็นภายนอก ดังนี้


    ๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเวทนานี้ ใช้ในการเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว ต่างกับพิจารณากาย ใช้ได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา เพราะจะเพ่งเวทนาโดยความเป็นอารมณ์ของสมถกรรมฐานให้เกิดฌานจิตหาได้ไม่ การพิจารณาเวทนา จะเป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อุเบกขาเวทนาก็ดี เป็นธรรมชาติที่ไม่มีรูปร่างสัณฐานที่จะให้เห็นได้ด้วยตา จึงมิใช่รูปธาตุ แต่เป็นนามธาตุ


    เวทนาจะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุปัจจัย จะห้ามไม่ให้เกิดก็ห้ามไม่ได้ ครั้นเมื่อหมดเหตุปัจจัยก็จะดับไปเอง หมดไปเอง เป็นต้น อนึ่ง ความหมายเวทนาในเวทนานี้ และเวทนาในเวทนาอันเป็นภายใน ภายนอกก็เป็นทำนองเดียวกับกายในกายตามที่กล่าวมาแล้ว ความจริงเวทนาก็เกิดอยู่ทุกขณะ ไม่มีเวลาว่างเว้นเลย คนทั้งหลายก็รู้สึกสุขบ้าง ทุกข์บ้าง เพราะไปยึดว่า เราสุข เราทุกข์ จึงไม่อาจรู้สภาวะความเป็นจริงได้ เวทนานี้เวลาเกิดขึ้นก็จะเกิดแต่อย่างเดียว เป็นเจตสิกธรรม ปรุงแต่งให้จิตรับรู้


    ๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งจิต ก็คือวิญญาณขันธ์ ที่กำหนดพิจารณาจิต ก็เพื่อให้รู้เท่าทันว่า จิตที่กำลังเกิดอยู่นั้นเป็นจิตชนิดใด จิตเป็นโลภ จิตโกรธ จิตหลง จิตฟุ้งซ่าน จิตที่เป็นสมาธิ หรือ ไม่เป็นสมาธิ เพื่อให้ประจักษ์ชัดว่า ที่มีความรู้สึกโลภ โอกาสรัทธา ฟุ้งซ่าน เกียจคร้าน เป็นอาการของจิต เป็นธรรมชาติที่เป็นนามธรรม ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่มาปรุงแต่ง เพื่อรับอารมณ์ เมื่อหมดเหตุปัจจัย อาการนั้น ๆ ก็ดับไปเอง ไม่มีอะไรเหลืออยู่ อันสภาวธรรมที่เรียกว่า จิต นั้น เป็นธรรมชาติที่ไม่มีตัวตน เห็นด้วยตาก็ไม่ได้ จึงไม่ใช่รูปธรรม แต่เป็นนามธรรม เป็นนามจิต ไม่ใช่นามเจตสิก เช่นเวทนา เป็นต้น ที่ว่าจิตในจิต หรือ จิตภายใน จิตภายนอกนั้น ก็เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเหมือนกัน


    ๔. ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งธรรม มีนิวรณ์ อุปาทานขันธ์ อายตนะ โพชฌงค์ อริยสัจ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ เป็นสติในการเจริญวิปัสสนาแต่อย่างเดียว เป็นการพิจารณาให้รู้ให้เห็นทั้งรูปทั้งนาม จึงกล่าวได้ว่า การพิจารณา กาย เวทนา และจิต ย่อมรวมลงได้ใน ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้งสิ้น สรุปแล้วการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็เพื่อให้เกิดปัญญารู้ว่า กายก็สักแต่ว่ากาย เวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา จิตก็สักแต่ว่าจิต ล้วนแต่เป็นเพียงธรรมชาติ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนเราเขา แม้แต่สติหรือปัญญาที่รู้ก็เป็นเพียงธรรมชาติเท่านั้น ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ พิจารณาทั้งรูปธรรม นามธรรม ปัญญารู้แจ้งเห็นชัดทั้งรูปทั้งนาม แยกจากกันเป็นคนละสิ่งคนละส่วน รูปก็ส่วนรูป นามก็ส่วนนาม ไม่ปะปนกัน ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน รู้เห็นเช่นนี้ จัดว่าเข้าถึง นามรูปปริจเฉทญาณ อันเป็นญาณต้น ที่เป็นทางให้บรรลุถึงมรรคและผลต่อไป


    ผลที่ได้รับจากการเจริญสติปัฏฐาน ๔ นั้นก็คือ


    ๑. พิจารณา กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน อารมณ์ที่พิจารณาก็คือ รูปขันธ์ เหมาะแก่มัณฑบุคคลที่มีตัณหาจริต เพราะนิมิตที่ได้จากการพิจารณา ได้แก่ อสุภสัญญา จะประหาร สุภสัญญา

    ๒. พิจารณา เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน อารมณ์ที่พิจารณา คือ เวทนาขันธ์ ซึ่งเป็นอารมณ์ละเอียด เหมาะแก่บุคคลซึ่งมีตัณหาจริต เพราะนิมิตที่ได้จากการพิจารณาได้แก่ ทุกขสัญญา ทำให้ประหาร สุขสัญญา เสียได้

    ๓. พิจารณา จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน อารมณ์ที่พิจารณาคือ วิญญาณขันธ์ ซึ่งมีอารมณ์ไม่กว้างขวางนัก เหมาะแก่มัณฑบุคคลที่มีทิฏฐิจริต เพราะนิมิตที่ได้จากการพิจารณาได้แก่ อนิจจสัญญา ทำให้ประหาร นิจจสัญญา เสียได้


    ๔. พิจารณา ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อารมณ์ที่พิจารณา คือ ทั้งรูปทั้งนาม ซึ่งมีอารมณ์กว้างขวางมาก เหมาะแก่บุคคลที่มีทิฏฐิจริต เพราะนิมิตที่ได้จากการพิจารณาได้แก่ อนัตตสัญญา ทำให้ประหาร อัตตสัญญา เสียได้ ฉะนั้นการเจริญสติปัฏฐาน ก็เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นรูปเห็นนามที่เคยเห็นว่า สวยงาม เห็นว่าเป็น ความสุขสบาย เห็นว่า เที่ยง เห็นว่าเป็นตัวตน จะได้รู้ว่าของจริงแท้นั้นเป็นประการใด
    โดยการเข้าใจเห็นแจ้งว่า สภาวะนั้นประกอบด้วย ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา การเจริญสติปัฏฐาน ควรกระทำด้วยความมีสติสัมปชัญญะ
    <!-- InstanceEndEditable -->

    </DD></TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG][​IMG][​IMG]
    <!-- InstanceBeginEditable name="next back" --><!-- InstanceEndEditable -->

    http://www.jarun.org/v5/th/lrule04p0501.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กรกฎาคม 2009
  2. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +9,766
    สาธุ

    ท่านอธิบายความหมายของ กายในกาย จิตในจิต เวทนาในเวทนา ได้อย่างละเอียดดีมาก
    เชื่อมโยงกับความรู้ด้านพระอภิธรรมอื่น ๆ ได้อีกมาก

    ยังต้องอ่านแล้วอ่านอีก หลายหลายรอบ

    ผู้ดูแลช่วยขยาย Font ตัวใหญ่ขึ้นกว่านี้ได้ก็จะเป็นพระคุณยิ่ง
     
  3. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    พองยุบ คับ
     
  4. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    ที่จริงในหนังสือ ยังมีมากกว่านี้ แต่ในเวปไซด์ของหลวงพ่อ มีพิมพ์มาแค่บางส่วนค่ะ
     
  5. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงพ่อสบายดีไหมครับ หมายถึง หลวงพ่อที่เขียนนี่ครับ ขอกราบสักการะท่านไว้ ณ ที่นี้
    พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    อนุโมทนาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...