เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราฯทรงบรรลุญาณที่ 15 เล่าโดย พระราชสุทธิญาณมงคล(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม)

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย Lukhgai, 30 พฤษภาคม 2009.

  1. Lukhgai

    Lukhgai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    3,000
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +8,240
    [​IMG]

    เรื่องนี้ เล่าโดย พระราชสุทธิญาณมงคล(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) วัดอัมพวัน สิงห์บุรี ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ด้วยองค์ของท่านเองครับ...
    หลังจากการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่าของปวงพสกนิกรชาวไทย เมื่อวันอังคารที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เวลา ๒๑ นาฬิกา ๑๗ นาที รวมพระชนมายุได้ ๙๔ พรรษา ๘ เดือน ๗๒ วัน ในวันรุ่งขึ้นหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรีได้รีบสั่งทันที (ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงที่พระภิกษุกำลังเข้าพรรษา) ว่าให้รีบตั้งโต๊ะถวายเครื่องสักการะ แด่สมเด็จย่า ตามที่ต่าง ๆ ของวัด โดยเฉพาะภายในพระอุโบสถ ท่านได้สั่งโต๊ะถวายเครื่องสักการะชุดใหม่ พร้อมทั้งสั่งพระภิกษุสามเณร และอุบาสกอุบาสิกาภายในวัดว่า “เริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจะขอนำพุทธศาสนิกชนทั้งฝ่ายบรรพชิต และคฤหัสถ์ของวัดอัมพวัน สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม เพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลให้สมเด็จย่า ไม่จำเป็นจริง ๆ แล้ว เราจะไม่ขาดการลงโบสถ์ เราตั้งใจนำเอาความดีถวายเป็นพระราชกุศลให้กับท่านให ้จงได้
    ซึ่งความเป็นจริงแล้ว การทำวัตรสวดมนต์ และการปฏิบัติธรรมถวายเป็นพระราชกุศลนั้น หลวงพ่อได้เริ่มทำมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๗ แล้ว เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ห ัวฯ ในโอกาสที่พระองค์ทรงครองราชย์ครบรอบ ๕๐ ปี และนอกจากนั้นทุกวันที่ ๙ ของทุกเดือน หลวงพ่อจัดทำบุญใหญ่ สวดบทพระธรรมจักรถวายเป็นพระราชกุศล
    เริ่มตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา หลวงพ่อลงนำพระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกา ผู้ปฏิบัติธรรมวัดอัมพวัน ทำวัตรสวดมนต์ นั่งเจริญสมาธิวิปัสสนากรรมฐาน สวดมนต์ถวายพระพร และอุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จย่าทุกวัน โดยแทบไม่มีวันไหนที่หลวงพ่อไม่ลงนำบำเพ็ญกุศลเพื่ออ ุทิศส่วนกุศลเลย นอกเสียจากว่าวันนั้น ท่านมีภารกิจที่ต้องเดินทางไปที่ไกล ๆ กลับไม่ทันจริง ๆ หรือเกิดเหตุสุดวิสัยจริง ๆ เท่านั้น
    นอกจากนั้น ในวาระทำบุญครบ ๗ วัน ๕๐ วัน และ ๑๐๐ วันของสมเด็จย่า หลวงพ่อได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์สวดสดับปกรณ์ พร้อมทั้งเลี้ยงอาหารพระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาภายในวัดทั้งหมด และเลี้ยงอาหารแก่ผู้ต้องหาในเรือนจำกลางจังหวัดสิงห ์บุรีตลอดทั้งวัน พร้อมทั้งถวายปัจจัยแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพื่อถวายเข้ามูลนิธิสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชินี อีก ๑๐๐,๐๐๐ บาท
    หลวงพ่อท่านมักนำธรรมะ และ ความดีของสมเด็จย่ามาเทศน์เป็นตัวอย่าง ให้พุทธ ศาสนิกชนทั้งหลายที่มาฟังธรรม และมักมีผู้มาสอบถามหลวงพ่อ ถึงการปฏิบัติธรรมของสมเด็จย่า เมื่อครั้งทรงปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ จ.กรุงเทพมหานคร โดยมีพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ ป.ธ.๙) เป็นพระอาจารย์ผู้ถวายกรรมฐาน เนื่องจากหลวงพ่อได้มีโอกาสร่วมอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย


    เมื่อท่านพระมหาสุภาพ เขมรํสี เจ้าคณะ ๕ และท่านพระมหาไสว ญาณวีโร วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ได้เข้าขอสัมภาษณ์หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี เพื่อสอบถามหลวงพ่อเกี่ยวกับเรื่องนี้ และหลวงพ่อได้เล่าถวาย ตามคำสัมภาษณ์ดังนี้
    ผู้ให้สัมภาษณ์ พระราชสุทธิญาณมงคล(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) วัดอัมพวัน สิงห์บุรี
    ผู้สัมภาษณ์ พระมหาสุภาพ เขมรํสี ,พระมหาไสว ญาณวีโร
    ถาม สมเด็จย่าทรงเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่วัดมหาธาตุเป็นเวลาเท่าไร?
    ตอบ พระองค์ทรงเข้าปฏิบัติและประทับอยู่เป็นเวลา ๑๕ วัน ในระหว่างการปฏิบัติ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จทรงเยี่ยมเป็นประจำ
    ถาม ครั้งนั้น พระเดชพระคุณฯ เข้าปฏิบัติอยู่ก่อนแล้วใช่หรือไม่?
    ตอบ ผมไปปฏิบัติก่อนแล้ว คือ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๕ ก็อยู่ไปเรื่อย ๆ ๑ เดือนผมยังไม่ได้ฟังเทศน์ลำดับญาณเลย
    ถาม คำว่า “หนอ” เป็นของพม่าใช่หรือไม่ คนไทยจึงไม่นิยมปฏิบัติ?
    ตอบ เรื่องนี้มีคนถามมาก ท่านเจ้าคุณอุดมวิชชาญาณ อธิบายว่า คำว่า “หนอ” ไม่ใช่ของพม่า เป็นคำของพระพุทธเจ้า ชาวมคธรัฐใช้พูดกันเรียกว่า วต ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า อญฺญา สิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ หรือ ดังที่พระยสกุลบุตรกล่าวว่าที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ “หนอ” เป็นภาษาไทย แปลมาจากบาลีว่า วต เป็นภาษาธรรม สมเด็จพระศรีนครินทราฯ ทรงถามว่า ไม่ใช้หนอได้ไหม กำหนดเพียง พอง-ยุบ อย่างเดียวหรือใช้พุทโธได้ไหม ท่านเจ้าคุณอาจารย์อธิบายว่า หนอ หรือ วต สามารถตัดกิเลสได้ เพราะเป็นการยึดเหนี่ยวใจให้อยู่กับสติ จึงใส่หนอไว้ ถ้าไม่ใส่หนอไว้จิตมันไม่ค่อยอยู่ มันวิ่งออกไปข้างนอกมากมาย หมายความว่า เพื่อต้องการให้จิตช้าลง ถ้าไม่มี “หนอ” แล้วกำหนดไม่ได้ มคธที่ว่า หนอ นี้ไม่ได้หมายความ พอทำได้แล้วราคาวิเศษหลายล้านจริง ๆ ผมรับรองได้ “หนอ” นี่แหละเป็นการกระตุ้นเตือนให้จิตเข้าไปผนวกบวกกับสติได้ง่าย ถ้ากำหนดเพียง พอง-ยุบ มีแต่จะทำให้จิตใจร้อยรน “หนอ” เป็นการล้างจิตให้เยือกเย็น โดยมีสติสัมปชัญญะ เป็นการดึงจิตให้อยู่กับที่ได้
    ถาม การปฏิบัติของสมเด็จย่า ได้ผลเป็นประการใด?
    ตอบ การเดินจงกรมนี้ กระผมได้คติมาจากหลวงพ่อในป่า การเดินจงกรมโดยภาวนาว่า “พุทโธ” อย่างนี้ท่านกล่าวว่า เอาพระพุทธเจ้าไปภาวนาไว้ที่เท้าได้อย่างไร “พุทโธ” ต้องอยู่ที่จิต เท้าย่าง เท้าเหยียบ มีสติในการเดิน ทำไมเอาพระพุทโธเหยียบที่เท้า ตรงนี้ต้องไปช่วยกันแก้เสีย
    ทีนี้สมเด็จย่าทรงเล่าว่า เดินจงกรมตั้งแต่ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ เดินได้ทุกระยะ เลื่อนระยะขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่ใช่เลื่อนให้วันนี้ ระยะที่ ๑ ขวา ย่าง หนอ ซ้าย ย่าง หนอ พรุ่งนี้ระยะที่ ๒ ยกหนอ เหยียบหนอ ไม่ใช่อย่างนั้น ต้องเพิ่มระยะให้ตามสภาวะของญาณเวลาส่งอารมณ์ ท่านเจ้าคุณอุดมวิชชาญาณถวายพระพรว่า การกำหนดพอง ยุบ เป็นอย่างไร พระองค์ทรงเล่าว่า จิตกำหนดพองหนอมันหายไป จิตตั้งใหม่กำหนด ยุบหนอ ขณะได้ยินเสียงสติรู้เสียงมันอยู่ที่โน่น หูมันอยู่ที่นี่ เวลาเดินขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ดีเหลือเกิน พอเดินไปหวิวโซเซ พอตั้งหลักปุ๊บเดินได้ตรงชัดมาก พระองค์ทรงเล่าเอง ผมจดไว้และพระองค์ทรงได้สดับเทศน์ลำดับญาณด้วย ในโบสถ์วัดมหาธาตุ ซึ่งมีพระพิมลธรรม (อาสภมหาเถระ) เป็นองค์ประธาน
    ถาม พระเดชพระคุณฯ มีโอกาสได้สนทนากับสมเด็จย่าเป็นการส่วนตัวหรือไม่?
    ตอบ ไม่มี ได้แต่ฟังอย่างเดียว ในการสนทนาระหว่างสมเด็จย่ากับท่านเจ้าคุณอาจารย์นั้น ยังมีพระครูประกาศสมาธิคุณ อีกรูปหนึ่งที่เข้าฟังด้วย
    ถาม มีบางท่านกล่าวว่า ญาณไม่มี แม้แต่ประโยค ๙ ก็กล่าว พระเดชพระคุณฯ มีความเห็นอย่างไร?
    ตอบ คำว่า “ญาณ” ตัวนี้ แปลว่า รู้รอบ รู้ซึ้งในจิตใจเองอย่างแจ้งชัด ของจริงทุกสิ่งเป็นพระไตรลักษณ์ “ญาณ” ต้องรู้จริง รู้แจ้ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป รู้เหตุการณ์ รู้ข้างขึ้น ข้างแรม รู้เด็ก รู้ผู้ใหญ่ รู้กาลเทศะ รู้บุญรู้บาป รู้คุณ รู้โทษ รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ จึงเรียกว่า “ญาณ
    ถ้านั่งแล้วไม่เกิดอะไรขึ้น ไม่ได้ผล เดี๋ยวเกิดอันนี้ขึ้นได้ผลแล้ว เหมือนท่านมหานั่ง ไม่มีใครมาสอน ปวดก็ไม่มี อะไรก็ไม่มี แปลว่าครูไม่มา นั่งสบาย หลับสบาย ชื่นใจบ้าง เย็นใจบ้าง นั้นแหละ ถ้าครูมาสอนต้องเรียนเลย ปวดหนอ ที่ว่าญาณหอบเสื่อมันมีตำราที่ไหน หอบหนีไปเอง นั่งกำหนด พองหนอ กลุ้มใจ มารมาแล้ว มารไม่มี บารมีไม่เกิด มารมาแล้วต้องสู้ แต่สู้มารไม่ได้ หนีเลย
    ถาม ท่านผู้หญิงดิฐการภักดีมีความประสงค์ที่จะเขียนหนังสือเกี่ยวกับวิปัสสนากับสมเด็จย่า อย่างที่พระคุณท่านได้กล่าวไปนี้?
    ตอบ ผมเป็นพยานได้ พระองค์ปฏิบัติจนได้ฟังเทศน์ลำดับญาณวันสุดท้าย ท่านเจ้าคุณอาจารย์บอกว่า ขอถวายพระพร ธรรมวิเศษเกิดขึ้นแล้ว ขอให้ธรรมวิเศษเกิดขึ้นภายใน ๕ นาที ๑๐ นาที ก่อนที่จะเป็นอย่างนี้ หลังจากสอบอารมณ์ ท่านเจ้าคุณอาจารย์หันมาบอกกระผมว่า “เธอจำไว้ สมเด็จย่าได้เข้าถึงญาณที่ ๑๕ จวนจะถึงญาณที่ ๑๖ แล้ว คืออย่างนี้ ถวายพระพรขอพระองค์อย่าได้บรรทม ให้เดินจงกรม ๒ ชั่วโมง นั่ง ๒ ชั่วโมง เดินระยะที่ ๑ ถึงระยะที่ ๖ อย่างละ ๓๐ นาที ขณะนั้นผมนั่งฟังอยู่เวลาบ่าย ๓ โมง สอบอารมณ์วันต่อมา พระองค์เล่าว่า “วันนี้วูบไปไม่รู้สึก ข้างในรู้หมดเลยมีอะไรบ้าง มันจะไหวติงอย่างไร ข้างนอกไม่รู้ไม่ได้ยิน” พระองค์ท่านทรงเดินจงกรมแล้ว อธิษฐานนั่งกำหนดภายใน ๓ ชั่วโมง ผมรู้ว่าไปนั่งอยู่ตรงไหน พอครบ ๓ ชั่วโมงค่อย ๆ ออก ลืมตาแล้วก็ยังดึงมือไม่ออก ลืมตาเฉย ๆ สักพักใหญ่จึงคลายมือออกมาแล้วกราบพระอาจารย์ ๓ หน แล้วพนมมือพูดกับพระอาจารย์ท่านเจ้าคุณอาจารย์บอกว่า “คนถึงธรรมอ่อนน้อมไปหมดเลย เห็นไหม...”
    ที่มา/หนังสือกฎแห่งกรรม เล่ม 10
    :: ภาคชีวประวัติ:: เรื่อง หลวงพ่อเล่าเรื่องสมเด็จย่า
    โดย พระนรินทร์ สุภากาโร

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 พฤษภาคม 2009
  2. Lukhgai

    Lukhgai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    3,000
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +8,240
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    หมายเหตุ , เพื่อเป็นการจดจารึกเป็นจดหมายเหตุแห่งเกียรติยศไว้ในประวัติศาสตร์แห่งวงการวิปัสสนากรรมฐานในประเทศไทยให้แพร่หลายไปในสากลสืบต่อไป ก็ใคร่จักแสดงความนัยสืบต่อไปอีกหน่อยหนึ่งว่า ในโอกาสเดียวกันนี้ ยังได้มี"พระเถระสำคัญ"อีกรูปหนึ่ง ซึ่งไปเข้ารับการแก้กรรมฐานและฟังลำดับญาณพร้อมกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อปีพ.ศ. 2498 รุ่นเดียวกันด้วย....... <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    นั่นก็คือ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร นั่นเอง <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> DSC0234511.gif </TD></TR></TBODY></TABLE>


    พร้อมนี้ "หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ"ยังได้มอบ"ภาพถ่าย"พร้อม"ลายเซ็นรับรอง" ถึงความ"ถูกต้องร่องรอย"ตามพระพุทธวิปัสสนวิธีอย่างแท้จริงแห่งสำนักปฏิบัติแห่งนี้มาถวายเป็นอนุสรณ์ไว้ประจำที่คณะ 5 วัดมหาธาตุฯอีกด้วย <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> DSC02345111.gif </TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระธรรมสิงหบุราจารย์(จรัญ ฐิตฺธมฺโม) วัดอัมพวัน สิงห์บุรี พระวิปัสสนาจารย์ผู้มีชื่อเสียงที่สุดองค์หนึ่งในยุคนี้ (สมัยที่ยังหนุ่มอยู่) ซึ่งเคยไปปฏิบัติกรรมฐานแนวสติปัฏฐานที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ จนทำให้ได้อยู่และรู้เห็นในเหตุการณ์อันเป็นอุดมมงคลยิ่งดังกล่าวข้างต้นด้วยองค์เอง <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> 1193661643(1).jpg </TD></TR></TBODY></TABLE>


     
  3. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>เพื่อความกระจ่างเกี่ยวกับญาณทั้ง 16 ขั้น ผมขออนุญาตเพิ่มเติมข้อมูลให้ทุกท่านได้เข้าใจครับ

    โมทนาครับ

    <HR>[​IMG]
    พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)


    วิปัสสนาภูมิ ตอนที่ 9 ญาณ 16
    โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)



    ณ โอกาสบัดนี้ อาตมาภาพจะได้แสดงพระธรรมเทศนา ตามหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ตามหัวข้อที่ได้กำหนดไว้ คือเรื่องญาณ 16 เพื่อให้คณาจารย์ นิสิต และญาติโยมทั้งหลายได้มีโอกาสฟัง เพื่อพิจารณาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หลังจากที่บรรดานิสิตทั้งหลายได้มาเข้าอบรมปฏิบัติกรรมฐานตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2534 เป็นต้น แล้วก็มาสิ้นสุดวันนี้ 8 ตุลาคม 2534 ก็ถือโอกาสบรรยายธรรมเกี่ยวกับเรื่อง ญาณ 16 คือ ลำดับขั้นตอนของวิปัสสนาที่จะเกิดขึ้น ว่าเกิดขึ้นเป็นไปอย่างไร ตั้งแต่ญาณที่ 1 ไป จนกระทั่งถึงญาณที่ 16 ตั้งแต่โลกิยะขึ้นไปจนถึงโลกุตตระ ถึงขั้นละกิเลสเป็นสมุจเฉท เป็นไปอย่างไร ก็จะนำมาแสดงพอสังเขป พอเข้าใจ ตามเวลาที่กำหนดให้

    หลังจากผู้มีศรัทธาต่อการประพฤติปฏิบัติกรรมฐาน ได้ลงมือประพฤติปฏิบัติเจริญวิปัสสนา คือตั้งสติกำหนดรู้รูปนามที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทุกอริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน คู้ เหยียด เคลื่อนไหว ทุกขณะ ได้เจริญสติกำหนดให้เป็นไปโดยติดต่อกัน มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ พิจารณากาย อย่างเช่น ลมหายใจเข้า หายใจออก อิริยาบถยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถต่างๆ ทั้งหมด การก้ม การเงย การคู้เหยียด เคลื่อนไหว กำหนดเวทนา การเสวยอารมณ์ สบายกาย ไม่สบายกาย ดีใจ เสียใจ เฉยๆ กำหนดจิตที่ขณะคิดนึกไปสู่อารมณ์ต่างๆ ก็กำหนดที่สภาพจิตใจ จิตเห็น จิตได้ยิน จิตรู้กลิ่น จิตรู้รส จิตรู้สัมผัส จิตคิดนึก มีสติรู้เท่าทันจิต และกำหนดรู้ถึงสภาวธรรมในจิตใจที่ปรุงแต่งจิตใจ เช่น ความพอใจ ไม่พอใจ สงบ ไม่สงบ สภาวธรรมที่ปรุงแต่งในจิตใจต่างๆ มีความเป็นปกติไม่บังคับ มีสติรู้เท่าทันรูปนามที่กำลังปรากฏเป็นปัจจุบัน ชั่วขณะแวบเดียวๆ ขณะเห็นนิดหนึ่ง ขณะได้ยิน ขณะรู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส คิดนึก มีความติดต่อกันอยู่ก็เกิดวิปัสสนาญาณขึ้น

    ญาณที่ 1 เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นญาณที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง รูปธรรมนามธรรม คือ มองเห็นความต่างกันของธรรมชาติ 2 อย่าง คือเห็นรูปก็เป็นลักษณะธรรมชาติอย่างหนึ่ง เห็นนามก็เป็นลักษณะธรรมชาติอย่างหนึ่ง เช่นว่า เห็นว่าการเคลื่อนไหวก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ไม่สามารถจะรับรู้อะไรได้ ตัวมันเองไม่สามารถจะรับรู้อารมณ์ได้ เป็นเพียงแต่ธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาแล้วก็สลายตัวไป จัดว่าเป็นรูปธรรม ส่วนตัวที่เข้าไปรู้ เป็นธรรมชาติที่สามารถจะรับรู้อะไรได้ จัดเป็นนามธรรม เห็นความต่างกันของธรรมชาติ 2 อย่าง คือเห็นรูปก็อย่างหนึ่ง เห็นนามก็อย่างหนึ่ง อย่างนี้เรียกว่า สามารถแยกรูปแยกนามได้ เห็นรูปเห็นนามต่างกันไม่ว่าจะเป็นทวารอื่นก็ตาม ขณะที่เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง มากระทบกาย มีสติรู้ทัน ก็เห็นว่า เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง นั้นก็เป็นแต่ธรรมชาติ ที่มากระทบแล้วก็สลายไป ไม่สามารถจะรับรู้อะไรได้

    ส่วนตัวจิตใจเป็นตัวที่เข้าไปรู้ได้ เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง เป็นนามธรรม หรือลมหายใจที่เข้าออกกระทบโพรงจมูก หายใจเข้าเย็น หายใจออกร้อน เป็นตัวที่ไม่สามารถจะไปรับรู้อะไรได้ มีหน้าที่กระทบแล้วก็สลายไป เป็นรูปธรรม ส่วนตัวจิตที่เข้าไปรับรู้ลมหายใจ สามารถที่จะรับรู้อะไรได้ ก็ไปรับรู้ลมหายใจ เป็นนามธรรม เห็นลมหายใจก็อย่างหนึ่ง เห็นตัวที่เข้าไปรู้ลมหายใจก็อย่างหนึ่ง อย่างนี้ก็เรียกว่า มีปัญญาแยกสภาวรูปนามได้ ก็จะทำให้เข้าใจว่า ในชีวิตนี้มันไม่มีอะไร ในเนื้อแท้จริงๆ แล้วมีแต่รูปกับนามเกิดขึ้นเท่านั้น ปราศจากความเป็นสัตว์เป็นบุคคล ในขณะที่จิตไปสัมผัสรูปนามนั้น ก็ไม่มีสัตว์บุคคล ตัวตนอะไรต่ออะไร เมื่อผู้ปฏิบัติทำความเพียรต่อไป เจริญสติกำหนดรูปนามยิ่งขึ้นไปก็จะขึ้นถึงญาณที่ 2

    ญาณที่ 2 เรียกว่า ปัจจยปริคคหญาณ คือ เห็นเหตุปัจจัยของรูปนาม คือจะเห็นว่า รูปนามนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน มีความเกี่ยวข้องเป็นปัจจัยกันเช่นขณะที่การก้าวไปๆ การคู้ การเหยียด การเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นไปเพราะว่ามีธรรมชาติอย่างหนึ่งเป็นตัวเหตุปัจจัย คือมีจิต จิตปรารถนาจะให้กายเคลื่อนไหว กายก็เคลื่อนไหวไป จิตปรารถนาจะยืน กายก็ยืน จิตปรารถนาจะเดิน กายก็เดิน จิตปรารถนาจะนอน กายก็นอน คือลมก็ไปผลักดันให้กายนั้นเป็นไป อย่างนี้เรียกว่า นามเป็นปัจจัยให้เกิดรูป นามคือจิตใจเป็นปัจจัยให้เกิดรูป

    รูปที่ก้าวไป รูปที่เคลื่อนไหว เกิดขึ้นมาได้เพราะว่าจิตเป็นปัจจัย ส่วนรูปบางอย่างรูปเป็นปัจจัยให้เกิดนาม เช่นเสียง เสียงมีมากระทบประสาทหู เสียงเป็นรูป เมื่อกระทบประสาทหูซึ่งเป็นรูปด้วยกัน ก็เกิดการได้ยินขึ้น เกิดการรับรู้ทางหูขึ้น ก็จะมองเห็นว่ามันเป็นเหตุปัจจัยกัน เสียงมากระทบจึงเกิดการได้ยินขึ้น เรียกว่ารูปเป็นปัจจัยให้เกิดนาม เย็นร้อนอ่อนแข็งอ่อนตึง เป็นรูปมากระทบกายก็เกิดการรับรู้ซึ่งเป็นนามเกิดขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมมีความเพียรดูรูปนาม เห็นความเกิดดับ เห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของรูปนามอยู่เสมอก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 3

    ญาณที่ 3 สัมมสนญาณ ในสมมสนญาณนี้ก็เป็นญาณที่เห็นไตรลักษณ์ คือเห็นอนิจจัง ความไม่เที่ยงของรูปนาม เห็นทุกขัง คือความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ของรูปนาม เห็นอนัตตา ความบังคับบัญชาไม่ได้ของรูปนาม แต่ว่าการเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในญาณที่ 3 นี้ยังเอาสมมุติบัญญัติมาปน ยังมีสุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการได้ฟังมา เอาจินตามยปัญญาความตรึกนึกคิดมาปนอยู่ด้วย ยังไม่บริสุทธิ์ในความเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ทำให้รู้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ยังมีสมมุติบัญญัติ มีปัญญาที่ได้จากการได้ฟัง จากการคิดพิจารณาขึ้นมา ก็เกิดเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติได้ทำความเพียร กำหนดดูรูปนามเรื่อยไปก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 4

    ญาณที่ 4 คือ อุทยัพพยญาณ ในอุทยัพพยญาณนี้ ก็แบ่งเป็น 2 ตอนเป็น ตรุณอุทยัพพยญาณ อย่างหนึ่ง กับเป็น พลวอุทยัพพยญาณ อย่างหนึ่ง คือ เป็นอุทยัพพยญาณอย่างอ่อน กับอุทยัพพยญาณอย่างแก่ คือ ญาณที่ 4 อย่างอ่อนกับญาณที่ 4 อย่างแก่ ในขณะที่ญาณที่ 4 อย่างอ่อน คือตรุณอุทยัพพยญาณนี้ ก็จะทำให้เกิด วิปัสสนูปกิเลสขึ้น ที่จะทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง วิปัสสนูปกิเลส คือกิเลสที่จะทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง คือทำให้วิปัสสนาไม่เจริญขึ้น จะไม่ก้าวหน้า จะหยุดชะงัก ทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นหลงติดอยู่ในวิปํสสนูปกิเลสเหล่านั้น วิปัสสนาก็ไม่เจริญขึ้น ทำวิปัสสนากรรมฐานไม่ก้าวหน้า อยู่แค่นั้น เพราะฉะนั้นเป็นสิ่งที่นักปฏิบัติจะต้องทำความเข้าใจว่า เมื่อถึงขณะนั้นแล้วมันจะเกิดวิปัสสนูปกิเลสขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ให้รู้ทัน วิปัสสนูปกิเลสนี้ที่จริงมันก็เป็นธรรมฝ่ายดี เช่น ปิติ ความสุข ความสงบ เป็นธรรมฝ่ายดี แต่มันเสียตรงที่ว่าเกิดความไปยินดีพอใจติดใจในสิ่งเหล่านั้น เรียกว่ามีนิกันตความไปพอใจ วิปัสสนาญาณก็ไม่เจริญ วิปัสสนูปกิเลส ที่เกิดมี 10 ประการนั้น

    ประการที่ 1 ก็คือ โอภาส โอภาส ได้แก่ แสงสว่าง เกิดความสว่างขึ้นในใจ จิตใจของบุคคลนั้นจะรู้สึกเกิดความพอใจกับสิ่งอัศจรรย์ในใจที่มันปรากฏขึ้น มีความสว่างในจิตในใจขึ้น มีเหมือนเป็นแสงสว่างอยู่ทั่วตัว เกิดความยินดีพอใจ เมื่อเกิดความยินดีพอใจรูปนามก็มองไม่เห็น ไม่เห็นรูปนาม เพราะมัวติดอยู่กับแสงสว่างเหล่านั้น เรียกว่ามี นิกันติ

    ประการที่ 2 เกิดญาณะ ญาณะก็คือ ความรู้ เกิดความรู้แก่กล้าขึ้น มีความรู้สึกว่าตัวเองนั้นรู้อะไรทะลุปรุโปร่งไปหมด จะคิดจะนึกจะพิจารณาอะไรมันเข้าใจไปหมด ก็เกิดความพอใจยินดีติดใจในความรู้ของตนที่เกิดขึ้น วิปัสสนาญาณก็ไม่เจริญก้าวหน้า

    ประการที่ 3 ก็คือ ปีติ ได้แก่ความอิ่มเอิบใจ จะมีความอิ่มเอิบใจอย่างมาก อย่างแรงกล้า จิตใจมีความปลื้มอกปลื้มใจปิติอิ่มเอิบอย่างมาก แล้วก็เกิดความยินดีพอใจในปีติเหล่านี้ วิปัสสนาก็ไม่เจริญ

    ประการที่ 4 เกิดปัสสัทธิ คือความสงบอย่างแรงกล้า จิตใจมีความสงบอย่างมาก มีความนิ่ง ความสงบ ลงไปอย่างมาก แล้วก็เกิดความพอใจเกิดความยินดี พอใจในความสงบ ที่จริงความสงบมันเป็นเรื่องดี แต่มันไปเสียที่เกิดความยินดีพอใจ ตัวความยินดีพอใจเป็นโลภะ มักจะเกิดขึ้นถ้ารู้ไม่ทัน พอเกิดแล้ว การเห็นรูปนามก็ไม่เห็น ไปติดอยู่กับวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้

    ประการที่ 5 เกิดสุขะ สุขะคือความสุขอย่างแก่กล้า คือ ความสบายใจ ใจเย็นสบายมาก แล้วก็เกิดนิกันติ คือความพอใจในความสบาย เป็นโลภะเช่นกัน วิปัสสนาญาณก็เจริญไม่ได้

    ประการที่ 6 เกิดอธิโมกข์ คือตัดสินใจเชื่อ เกิดความเชื่อลงไปอย่างมาก เชื่อถือลงไป แล้วก็ติดใจในความเชื่อถือเหล่านั้น ไม่เห็นรูปนามอีกเหมือนกัน

    ประการที่ 7 เกิดปัคคหะ คือความเพียรอย่างแรงกล้า ผู้ปฏิบัติจะเกิดความเพียรอย่างมาก เพราะทำให้ไม่มีความพอดี ก็ไม่เห็นรูปนามต่อไป เพราะเกิดความติดใจในความเพียรนั้น

    ประการที่ 8 เกิดอุปัฏฐานะ คือ สติ เกิดสติแก่กล้า มีความรู้สึกว่าสตินี้คล่องว่องไวเหลือเกินที่จะกำหนดรู้สภาวธรรมต่างๆ อารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบในส่วนต่างๆ จุดต่างๆ สติมีความรับรู้ว่องไวมาก แล้วก็เกิดความพอใจในสติที่มีสติระลึกรู้ได้เท่าทัน ที่จริงสติเป็นเรื่องดีเป็นสิ่งที่ควรเจริญให้เกิดขึ้น แต่มันไปเสียตรงที่มีนิกันติ คือมีความยินดีพอใจในสติที่เกิดขึ้น วิปัสสนาก็ก้าวไปไม่ได้

    ประการที่ 9 เกิดอุเบกขา คือ ความเฉยๆ จิตใจมีความเฉยมาก ไม่รู้สึกดีใจเสียใจ ใจมีความเฉย แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดนิกันติ พอใจในความเฉยได้ สังเกตได้ยาก มันเฉยแล้วพอใจในความเฉย ไม่โลดโผน วิปัสสนาก็เจริญไม่ได้

    ประการที่ 10 นิกันติ ความยินดีติดใจ เป็นตัวสำคัญที่ทำให้วิปัสสนาญาณไม่เจริญฉะนั้น ก็เป็นที่เข้าใจว่า สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ที่จริงเป็นเรื่องดี ปิติก็ดี ความสุขก็ดี ความสงบก็ดี ความรู้สติก็ดี มันเป็นเรื่องดีเกิดขึ้นมา แต่ว่ามันเสียตรงที่มีนิกันติ คือความเข้าไปยินดีติดใจ ทำให้การเจริญวิปัสสนานั้นไม่ก้าวหน้าเพราะไปติดอยู่แค่นั้น

    วิธีที่จะผ่านวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ไปจะทำอย่างไร ผู้ปฏิบัติก็ต้องมีความแยบคายในการพิจารณาถึงลักษณะความยินดีพอใจที่เกิดขึ้น สังเกตให้ออกว่าขณะนี้เกิดความพอใจ เช่นเกิดความสงบ มีความรู้สึกพอใจในความสงบอยู่ ก็ให้รู้ทันว่า นี่ลักษณะของความพอใจ เกิดปีติ และเกิดความพอใจในปีติก็รู้ว่านี่พอใจๆ เกิดสติ เกิดปัญญา แล้วพอใจ ก็รู้เท่าทันความพอใจ ถ้าเกิดการที่เข้าไปรู้เท่าทันลักษณะของความพอใจได้ ความพอใจนั้นก็จะหลบหน้าไป ก็กลับเป็นปกติขึ้นก็จะก้าวขึ้นสู่อุทัพพยญาณอย่างแก่ คือ

    ญาณที่ 4 อย่างแก่ ในญาณที่ 4 อย่างแก่ก็จะเห็นความเกิดดับของรูปนาม มีความบริสุทธิ์ของการเห็น เห็นรูปเกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ กำหนดไปตรงไหนเห็นแต่ความเกิดดับไปหมด เสียงดังมากระทบหูได้ยิน กำหนดรู้ก็เห็นมันเกิดดับไปเลย ใจที่คิดนึกกำหนดรู้เห็นความเกิดดับไป เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง มากระทบกำหนดรู้ถึงความเกิดดับไปทันที ไม่ว่าจะอารมณ์ส่วนไหนก็ตามที่ปรากฏอยู่ เห็นความเกิดขึ้นดับไปอย่างรวดเร็ว นี่เป็นญาณที่ 4 จากนั้น ถ้าผู้ปฏิบัติทำความเพียรต่อไปไม่ลดละ เพ่งดูรูปนามที่เกิดดับ เกิดดับ อยู่อย่างนั้นเรื่อยไป ก็จะขึ้นสู่ญาณที่ 5

    ญาณที่ 5 เรียกว่า ภังคญาณ ในภังคญาณนี้จะเห็นแต่ฝ่ายดับ เห็นรูปนามนั้นดับไป ดับไปด้วยความเร็วเพราะรูปนามเกิดดับรวดเร็วถี่มาก เมื่อญาณแก่กล้า ความรู้สติปัญญาแก่กล้าเข้าไปทันกับรูปนามที่ดับเร็ว มันก็เลยเห็นแต่ดับๆ ๆ ๆ เห็นแต่ฝ่ายดับไป ดับไป ท่านอุปมาเหมือนยืนอยู่ในตรอกมองไปปากตรอก ปากตรอกนั้นเห็นรถวิ่งผ่านแว่บ ผ่านไปๆ ๆ ๆ เห็นแต่ฝ่ายดับๆ ๆ ๆ ไป นี่เป็นญาณที่ 5 เมื่อมีความเพียร ไม่ท้อถอย กำหนดดูไปเรื่อยๆ เห็นรูปนามเกิดดับ ดับไป ดับไป ดับไป ก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 6

    ญาณที่ 6 เรียกว่า ภยญาณ จะเห็นรูปนามที่มันดับไปนั้นแต่เกิด ความรู้สึกขึ้นในใจว่าเป็นภัยเสียแล้ว เห็นว่ามันเป็นภัย ก่อนนั้นเคยหลงไหล แต่ตอนนี้รู้สึกว่าเป็นภัย คือรูปนามที่ประกอบเป็นชีวิตเป็นอัตภาพเป็นชีวิตจิตใจ ซึ่งดูไปแล้วเป็นแต่รูปนาม มันจะเห็นว่าก็มันดับอยู่อย่างนี้ มันย่อยยับ ต่อหน้าต่อตา ไม่ว่าส่วนไหนมันก็ดับไปหมด สิ่งที่ปรากฏให้รู้ดับไป ตัวที่รู้ดับไป ตัวผู้รู้ดับไป มันมีแต่ความดับไป ดับไป มันรู้สึกว่าเป็นภัย เป็นภัยเสียแล้ว ไม่ใช่สิ่งที่น่าอภิรมย์เสียแล้วในชีวิตนี้ เป็นภัย

    ญาณที่ 7 อาทีนวญาณ ก็จะเกิดความรู้สึกว่าเป็นโทษ ในขณะที่เห็นรูปนามดับไป ดับไป เกิดความรู้สึกว่าเป็นโทษ นอกจากจะเห็นภัยแล้ว ยังรู้สึกว่าเป็นโทษอีก

    ญาณที่ 8 คือ นิพพิทาญาณ นิพพิทาญาณนี้จะรู้สึกเบื่อหน่าย ในเมื่อรูปนามเป็นภัยเป็นโทษมันก็รู้สึกเบื่อหน่ายไม่ได้ติดใจเลยในรูปนามนี้ มันน่าเบื่อจริงๆ แต่ก็ไม่หนี ไม่ท้อถอย ก็ยังคงดูต่อไป แต่บางคนก็อาจจะเลิกรา เบื่อมากๆ เข้า เมื่อเพียรพยายามต่อไปก็จะขึ้นญาณที่ 9

    ญาณที่ 9 มุญจิตุกัมยตาญาณ คือ มีความรู้สึกใคร่จะหนีให้พ้น เมื่อมันเบื่อแล้วก็ใคร่จะหนี มีความรู้สึกอยากจะหนีไป เหมือนบุคคลที่อยู่ในกองเพลิง มันก็อยากจะไปให้พ้นจากกองเพลิงเหล่านี้ จากนั้นเมื่อเพียรพยายามต่อไปก็จะขึ้นญาณที่ 10

    ญาณที่ 10 ปฏิสังขาญาณ ในปฏิสังขาญาณนี้มันจะหาทางว่าทำอย่างไร ถึงจะพ้นได้ ในเมื่อตอนแรกมันใคร่จะหนี พอถึงญาณอันนี้ก็หาทางที่จะหลุดพ้นให้ได้ เมื่อเพียรพยายามต่อไป ก็จะขึ้นถึงญาณที่ 11

    ญาณที่ 11 สังขารุเปกขาญาณ สังขารุเปกขาญาณนี้ มีลักษณะวางเฉยต่อรูปนาม คือเมื่อกำหนดรู้ หาทางหนี หนีไม่พ้น ยังไงก็หนีไม่พ้น ก็ต้องดูเฉยอยู่ การที่ดูเฉยอยู่นี้ทำให้ สภาวจิตเข้าสู่ความเป็นปกติในระดับสูง ไม่เหมือนบุคคลทั่วไป บุคคลทั่วไปเวลาเกิดเห็น ทุกข์เห็นโทษเห็นภัยนี้สภาวะของจิตใจจะดิ้นรนไม่ต้องการ จะกระสับกระส่ายดิ้นรน แม้แต่ในวิปัสสนาญาณก่อนหน้าสังขารุเปกขาญาณ ก็ยังมีลักษณะความดิ้นรนของจิต คือยังมีความรู้สึกอยากจะหนี อยากจะให้พ้นๆ สภาวะของจิตยังไม่อยู่ในลักษณะที่ปกติจริงๆ มันก็หลุดพ้นไม่ได้ แต่เมื่อมันดูไปจนถึงแก่กล้าแล้วไม่มีทางก็ต้องวางเฉยได้ ซึ่งในขณะที่เห็นความเกิดดับเป็นภัยเป็นโทษน่าเบื่อหน่ายอยู่อย่างนั้นมันก็ยังวางเฉยได้ แม้จะถูกบีบคั้นอย่างแสนสาหัส แทบจะขาดใจมันก็วางเฉยได้ เมื่อวางเฉยได้มันก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 12

    ญาณที่ 12 อนุโลมญาณ เป็นญาณที่เป็นไปตามอำนาจกำลังของอริยสัจจ์ที่จะสอดคล้องต่อไปในโลกุตตรญาณ จากนั้นก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 13 เรียกว่า โคตรภูญาณ

    ญาณที่ 13 โคตรภูญาณ คือญาณที่มีหน้าที่โอนโคตรจากปุถุชนก้าวสู่ความเป็นอริยะ ในขณะนั้นจะทิ้งอารมณ์ที่เป็นรูปนามไปรับนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ว่าโคตรภูญาณยังเป็นโลกิยะอยู่ ตัวมันเองเป็นโลกิยะ แต่มันไปมีอารมณ์เป็นนิพพาน แล้วจากนั้นก็จะเกิดมัคคญาณขึ้นมา

    ญาณที่ 14 มัคคญาณ มัคคญาณนี้เป็นโลกุตตรญาณ จะทำหน้าที่ประหารกิเลสระดับอนุสัยกิเลส ทำหน้าที่รู้ทุกข์ ละเหตุแห่งทุกข์ แจ้งนิโรธความดับทุกข์ เจริญตนเองเต็มที่ คือองค์มรรค 8 มีการประชุมพร้อมกัน ทำหน้าที่ละอนุสัยกิเลสแล้วก็ดับลง มีนิพพานเป็นอารมณ์

    ญาณที่ 15 ผลญาณ ผลญาณเป็นโลกุตตรญาณ เกิดขึ้นมา 2 ขณะ เป็นผลของมัคคญาณ ทำหน้าที่รับนิพพานเป็นอารมณ์ 2 ขณะ แล้วก็ดับลง

    ญาณที่ 16 ปัจจเวกขณญาณ ญาณพิจารณา มรรค ผล นิพพาน เป็นโลกิยญาณ ญาณพิจารณา เหมือนคนที่ผ่านเหตุการณ์อะไรมา ก็จะกลับพิจารณาสิ่งที่ผ่านมา แต่ญาณนี้ พิจารณามรรคที่ตนเองได้ พิจารณาผลที่ตนเองได้ พิจารณาพระนิพพาน และถ้าคนมีหลักปริยัติ ก็จะพิจารณากิเลสอันใดที่ละไปได้แล้ว กิเลส อันใดที่ยังเหลืออยู่ และถ้าคนไม่มีหลักปริยัติก็พิจารณาแค่ มรรค ผล นิพพาน ในระหว่างที่ญาณก้าวขึ้นสู่อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณนี้ ท่านก็อุปมาให้ฟังเหมือนกับบุคคลที่จะก้าวกระโดดข้ามฝั่ง

    ฝั่งมันอยู่ไกลก็โหนเถาวัลย์ ก็ต้องอาศัยกำลังที่วิ่งมาอย่างแรง วิ่งมาด้วยความไว แล้วก็เหนี่ยวเอาเถาวัลย์โยนตัวขึ้นไป ในขณะที่โยนตัวขึ้นไปก็เหมือนเป็นอนุโลมญาณคล้อยไป พอข้ามไปถึงฝั่งหนึ่งก็ปล่อยเถาวัลย์นั้น ในขณะที่ปล่อยนั้นเหมือนกับโคตรภูญาณ คือปล่อยอารมณ์ที่เป็นโลกิยะได้แก่รูปนาม ไปรับนิพพานซึ่งเป็นโลกุตตระเป็นอารมณ์ แล้วก็ตกลงถึงพื้น ในขณะตกลงถึงพื้นเหมือนเป็นมัคคญาณ แล้วพอตั้งหลักได้ก็เป็นผลญาณเกิดขึ้น หลังจากนั้นก็พิจารณา แต่ว่าในสภาวธรรมของโลกุตตระมันเป็นธรรมที่พ้นโลก

    ผู้ปฏิบัติที่เข้าถึงแล้วก็ไม่สามารถนำมาแสดงให้แจ่มแจ้งได้ เพราะมันเป็นเรื่องที่รู้ได้เฉพาะตน บุคคลอื่นที่ยังเข้าไม่ถึงจะไม่สามารถจะทำความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง เพราะว่าความคิดความอ่านของปุถุชนก็จะมีความรู้สึกที่อยู่ในโลก เป็นไปในโลกนี้ มันจะมีขอบเขตของการนึกคิดความเข้าใจอยู่ในโลก ส่วนสภาพโลกุตตรธรรมที่พ้นโลกนั้น ปุถุชนจะคิดไปไม่ถึงเลย จะไม่สามารถจะทำความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ นี่ก็เป็นการแสดงลำดับความเป็นไปพอสังเขปของวิปัสสนาญาณ ที่ทำให้บรรลุความเป็นอริยบุคคล ผ่านญาณ 16 รอบที่ 1 ก็ได้สำเร็จเป็นโสดาบันกิเลสยังไม่หมด

    แต่ว่าตัดออกไปได้บางส่วน แต่ส่วนไหนที่ตัดขาดไปแล้วจะไม่เกิดขึ้นในจิตใจอีกเลย เช่น ความสงสัยจะไม่เกิดขึ้นอีกเลย ความโลภที่ประกอบไปด้วยความเห็นผิดหมดไปเลยจากจิตใจ จะมีเห็นอย่างถูกต้อง เข้าใจอย่างถูกต้อง แต่ว่าก็ยังมีความโลภบางอย่าง มีโทสะบางอย่าง แต่ว่าไม่รุนแรงถึงขนาดที่จะกระทำอกุศลกรรมชนิดที่จะนำไปสู่อบาย โสดาบันนี้ ศีล 5 จึงบริสุทธิ์ จะไม่ล่วงศีล 5 เป็นเด็ดขาด แต่ก็ยังมีความโลภ ยังมีความโกรธ แต่ว่าไม่มีความอาฆาตมาดร้าย ไม่มีความตระหนี่ นี่เป็นลักษณะของโสดาบัน ก็เท่ากับทำลายภพชาติไปมากมาย

    การที่จะเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปก็จะเกิดอย่างมาก 7 ชาติ ก็จะสำเร็จเป็นอรหันต์ ถึงแม้จะขาดความเพียร เกิดไปๆ 7 ชาติ ยังไงก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วก็ปรินิพพาน ก็พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด แต่ถ้าหากบุคคลได้เพียรพยายามต่อไป สามารถที่จะดำเนินผ่านญาณ 16 อีกรอบหนึ่งก็ลักษณะเดียวกัน ผ่านญาณ 16 รอบที่ 2 ก็เป็น สกทาคามิบุคคล ผ่านญาณ 16 รอบที่ 3 ก็เป็น อนาคามิบุคคล ผ่านญาณ 16 รอบที่ 4 ก็หมดสิ้นกิเลส เป็นพระอรหันต์ เป็นอเสขบุคคล ไม่ต้องศึกษาอีกต่อไป พ้นทุกข์

    ฉะนั้น ในขั้นต้นนี้เป็นสิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจให้ดี ส่วนบั้นปลายก็เป็นไปสอดคล้องของมันไปเอง ขอให้เราทำถูกในขั้นต้น คือมีสติกำหนดรู้รูปนามให้ตรงรูปนามที่เป็นปัจจุบัน เราจะเห็นว่าในญาณทุกญาณที่จะส่งไปถึงโลกุตตรญาณนั้น ตั้งแต่ญาณที่ 1 ไปจนถึงอนุโลมญาณ จะมีรูปนามเป็นอารมณ์ทั้งนั้นเลย มีรูปนามเกิดดับ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นอารมณ์ ฉะนั้นรูปนามจึงเป็นทางเดินของวิปัสสนา วิปัสสนาจะต้องมีรูปนามเป็นอารมณ์ ถ้าขณะใดอารมณ์ตกไปจากรูปนามไปดูอย่างอื่น ก็แสดงว่าตกไปจากทางของวิปัสสนา เช่น ไปดูภาพนิมิต ไปอยู่กับความว่าง ไปติดอยู่กับความสงบ ไม่เห็นรูปนาม มันก็ไปได้แค่นั้น

    ฉะนั้นจุดยืนของวิปัสสนาคือมีรูปนามเป็นอารมณ์ตลอดเวลา เราก็เพียรพยายามที่จะกำหนดรู้เท่าทันรูปนามที่เกิดขึ้นให้ได้ปัจจุบันๆ ก็จะเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นไปตามลำดับ ฉะนั้นขั้นต้นเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องทำการศึกษาให้เข้าใจอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม อะไรไม่ใช่รูปไม่ใช่นาม คือ สมมุติบัญญัติ เพื่อกำหนด จะได้ปล่อยวางจากสมมุติบัญญัติคือชื่อต่างๆ ภาษา รูปร่าง ความหมาย ซึ่งเป็นสมมุติบัญญัติออกไป กำหนดให้ตรงปรมัตถ์ และให้ได้ปัจจุบัน และเข้าไปสู่ความปกติ ไม่บังคับ ไม่เคร่งเครียด มันก็จะเห็นธรรมะ เห็นความเป็นจริงของชีวิต

    ตามที่ได้แสดงมาวันนี้ ก็เห็นว่าสมควรแก่เวลา จึงขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ที่สุดนี้ขอความ เจริญในธรรมจงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติธรรมทุกท่านทุกคนเทอญ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา : ::
     
  4. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,166
    กระทู้เรื่องเด่น:
    25
    ค่าพลัง:
    +29,754
    ที่กล่าวว่า

    หลวงปู่สด ไปแก้กรรมฐาน นั้นยังไม่ถูก

    ท่านได้รับเชิญ ให้เข้าลองปฏิบัติ และท่านได้เขียนว่า การกรรมฐานแนวนี้ ถูกต้องตามแนวสติปัฏฐาน

    ส่วนที่ถกเถียงกันมานานหลายชั่วคน กับเรื่องนี้ ว่าท่านเลิกธรรมกายนั้นไม่จริง

    เพราะ ผมยืนยันได้ว่า แม้ก่อนหลวงปู่ท่านจะมรณภาพ ท่านก็ยังสั่งให้สืบทอดวิชชาชั้นสูง ที่เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา

    ผู้รับถ่ายทอดสายตรงคือ หลวงพ่อวีระ คณุตตโม รองเจ้าอาวาสวัดปากน้ำองค์ปัจจุบัน


    และหลวงป๋า ( พระราชญาณวิสิฐ) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสด ธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ก็รับสายตรงมา


    อยากทราบเรื่องจริง ไปถามเองเลย ท่านยังอยู่


    ส่วนเรื่องสมเด็จย่า .......ก็ขออนุโมทนาในมหาบุญบารมีของท่านครับ สาธุ
     
  5. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    คำว่า "แก้" ในที่นี้น่าจะหมายความว่า ทำความเข้าใจให้ถูกต้องตามที่คุณ "โอม" ว่าครับ
    ไม่ได้หมายความว่า ท่านปฏิบัติมาผิดครับ เพราะขนาดหลวงปู่ปานยังให้พ่อฤาษีลิงดำยังมาเรียนกรรมฐาน (วิชาธรรมกาย) กับหลวงพ่อสด เพื่อพิสูจน์ว่า นิพพานไม่สูญเลยครับ

    ดังนั้นสรุปตามนี้นะครับว่า "แก้" คือ มาทดสอบและรับรองว่าจริงครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2009
  6. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    "แก้" อีกความหมาย คือ หลวงปู่สดอาจจะมาแก้กรรมฐานให้คนอื่นก็ได้ครับ นั่น คือ มาทดสอบว่าจริงหรือไม่ เมื่อจริงแล้ว ท่านก็เขียนรับรองให้ว่าจริงครับ

    โมทนาครับ
     
  7. ปัทมินทร์

    ปัทมินทร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +1,393
    สมถเป็นเหตุ วิปัสสนาเป็นผล
    วิปัสสนาเป็นเหตุ ปัญญาเป็นผล
    ปัญญาเป็นเหตุ วิมุตติเป็นผล
     
  8. มหาเต้ย

    มหาเต้ย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +402
    ผู้ปฏิบัติและบรรลุจะทราบได้ตัวเองจึงเปล่าประโยชน์จะนำมาโต้แย้งกัน
     
  9. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    โมทนากับท่าน จขกท. และทุก คคห. ในธรรมทานในครั้งนี้ค่ะ
     
  10. deneta

    deneta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    2,712
    ค่าพลัง:
    +5,723
    ทรงชี้ทางไว้แล้วจะเดินตามได้หรือเปล่าเท่านั้นเอง สาธุ ๆ ๆครับ
     
  11. ต้นน้ำธรรม

    ต้นน้ำธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    681
    ค่าพลัง:
    +437
    อนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ
    การปฏิบัติไม่ว่าแนวทางใดก็เป็นผลดีทุกแนวทาง ครับ
     
  12. วิมลรัตน์

    วิมลรัตน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +302
    ครูบาอาจารย์ท่านได้เพียรพยายามชี้แนะให้เราได้ศึกษาทำความเข้าใจตามก็เพื่อจะได้พากันพ้นทุกข์ ไม่ต้องมาเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดอยู่อย่างนี้ อนุโมทนาค่ะ
     
  13. Numsai

    Numsai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    5,778
    ค่าพลัง:
    +87,677
    ขออนุโมทนาบุญกับคุณโอม และคุณ Komodo ทุกประการค่ะ

    โดยปกติ ตนเองฝึกมโนมยิทธิค่ะ แต่วันหนึ่งเกิดอยากเรียนรู้แนววิชชาธรรมกายขึ้นมา เนื่องจากในประวัติหลวงพ่อพระราชพรหมยานเถระ(หลวงพ่อฤษีลิงดำ) วัดท่าซุง ท่านได้เคยร่ำเรียนมา และระลึกถึงหลวงปู่สด วัดปากน้ำ ท่านเป็นครูอาจารย์องค์หนึ่ง


    จึงค้นคว้าหาความรู้ และลองฝึกแนววิชชาธรรมกายระยะหนึ่ง และพบว่า วิชชาธรรมกาย เป็นของจริง ยืนยันว่า พระนิพพานไม่สูญค่ะ


    ขออนุโมทนาบุญค่ะ


    Numsai
    fishh_
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...