รู้อะไร ก็สักแต่ว่ารู้

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย jiwcrop, 3 เมษายน 2009.

  1. jiwcrop

    jiwcrop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +792
    เมื่อ ดูเข้าไป ดูเข้าไป โดยอาศัยกำลังของสติและจิตอันหนักแน่นแล้ว เราจะเห็นอารมณ์และถ้าเห็นจริง ๆ แล้ว ก็จะรู้ชัดเป็นความรู้ที่มีกำลัง มีอำนาจ ในการต่อสู้กับกิเลสตัณหา เรียกว่าภาวนามยปัญญา

    ภา วนามยปัญญา ไม่ใช่ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการขบคิดพินิจพิจารณาตามเหตุผลในระดับสมอง หรือปัญญาที่เกิดขึ้นจากการได้ยิน ได้ฟังเกิดความทรงจำ คิดได้พูดได้ที่เรียกว่า จินตามยปัญญา และ สุตตมยปัญญา

    แต่ภาวนามยปัญญานั้น อาศัยสติ และสมาธิที่หนักแน่นเข้าไปดูลึก ๆ ภายในจิตจนเห็นอารมณ์ของตนเองอย่างชัดเจน ฉะนั้น การปฏิบัติธรรม คือการพยายามรักษาจิตตั้งเจตนาให้ถูกต้อง เพื่อทวนกระแสแห่งอารมณ์พยายามรักษาอารมณ์ให้รู้อยู่แต่อารมณ์ที่ 1 คือผัสสะ เห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินเสียงก็สักแต่ว่าได้ยิน รู้ก็สักแต่ว่ารู้ แต่ถ้าหลุดไปเป็นอารมณ์ที่ 2 คือเวทนา ก็อย่ายึดมั่นถือมั่น

    ชอบไม่ชอบอย่ายึดมั่นถือมั่น เช่นนี้ไปเรื่อย ๆอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อเกิดกระทบอารมณ์ก็พยายามให้ความรุนแรงของอารมณ์ลดลง ๆเช่น แต่ก่อนเมื่อกระทบอารมณ์ได้ยินเสียงนินทาปุ๊บ จิตก็แล่นไปถึงอารมณ์ที่ 4-5-6 เลย คือเกิดเป็นอุปาทาน ภพ ชาติ ฯปรุงแต่งไปเรื่อย ๆ เกิดทุกข์เดือดร้อนเป็นเดือนเป็นปีก็มีการปฏิบัติคือการพยายามลดอารมณ์ รุนแรงนี้ให้หยุดอยู่แค่อารมณ์ที่ 3, 2, 1 ตามลำดับ

    เคยทะเลาะกับภรรยาแล้วอารมณ์ไม่ดีอยู่ 5-6 วัน ก็ให้ลดลงเหลือ แค่ 1 วัน และต่อไปก็ไม่ต้องทะเลาะเลย เป็นต้น

    นี่คือการพยายามลดความรุนแรงของอารมณ์จากขั้นที่ 6-5-4เป็น 3-2-1 เป็นลำดับ และ เป็นการทวนกระแสแห่งอารมณ์
    เราต้องระมัดระวังและกลัวความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของเรา เพราะ เป็นมูลเหตุ ของบาปอกุศล และความทุกข์ทั้งปวงเมื่อจิตนึกไป คิดไป ปรุงแต่งไปเรื่อย ๆ ตามอำนาจของกิเลสตัณหาแล้วก็จะแสดงออกมาเป็นการกระทำทางกาย ทางวาจา ในที่สุด

    ดังนั้น สิ่ง ที่น่ากลัวที่สุด เป็นอันตรายร้ายกาจที่สุดและเป็นศัตรูผู้จองผลาญก็อยู่ตรงนี้ ตรงที่ ความรู้สึกนึกคิดของตัวเราเองเราจึงต้องไม่ประมาท เหมือนดังที่พระบรมศาสดาได้ทรงย้ำให้พวกเรารู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอเสมือนว่า กำลังอยู่ในห้องที่มีอสรพิษ คอยจ้องอยู่ตลอดเวลา

    ขอขอบคุณเนื้อหาดีดี โดย : konpob
    อ้างอิง
    http://variety.teenee.com/foodforbrain/13996.html
    ;welcome3

     
  2. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,667
    ค่าพลัง:
    +9,239
    "ฉะนั้น การปฏิบัติธรรม คือการพยายามรักษาจิตตั้งเจตนาให้ถูกต้อง เพื่อทวนกระแสแห่งอารมณ์พยายามรักษาอารมณ์ให้รู้อยู่แต่อารมณ์ที่ 1 คือผัสสะ เห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินเสียงก็สักแต่ว่าได้ยิน รู้ก็สักแต่ว่ารู้ แต่ถ้าหลุดไปเป็นอารมณ์ที่ 2 คือเวทนา ก็อย่ายึดมั่นถือมั่น"


    ขออนุโมทนาค่ะ
     
  3. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    อารมณ์ที่เกิดขึ้นในจิต มิอาจหลีกหนีกฏแห่งไตรลักษณ์ อนิจัง ทุกขัง อนัตตา
    เมื่อมีอารมณ์ต่างๆเกิดขึ้น ก็แค่ตามรู้ ตามดูไปเฉยๆ ไม่ต้องไปบังคับอารมณ์ให้อยู่ในอารมณ์หนึ่ง เพราะมันบังคับไม่ได้ ทุกสิ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มันต้องเป็นตามกฏไตรลักษณ์เสมอ คือ
    1. อนิจจัง ความไม่เที่ยง
    2. ทุกขัง เป็นทุกข์
    3.อนัตตา บังคับไม่ได้
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ผมอ่านเนื้อหาที่จขกท.ยกมา ผมรู้สึกแปลกๆนะครับ

    ผมอยากรู้ว่ามีวิธีอย่างไร?ในการทำให้ สติและสมาธิมีกำลัง???
    เป็นไปได้หรือครับว่า ผู้ฝึกใหม่สามารถ รู้สักแต่ว่ารู้ เห็นสักแต่ว่าเห็นฯลฯ

    ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ฝึกใหม่เมื่อรู้ก็ปรุงไปเรียบร้อยแล้วค่อยรู้
    เห็นก็เช่นกัน ได้ยินก็เช่นกันฯลฯ

    ผู้ที่จะทำเช่นนั้นได้ ก็มีเพียงแต่พระอรหันต์เท่านั้นครับ
    รู้ก็สักแต่ว่ารู้ เห็นก็สักแต่ว่าเห็นฯลฯ

    อารมณ์ที่๒คือเวทนาก็อย่าไปยึดมั่นถือมั่น ทำอย่างไรครับ???

    เมื่อจิตแล่นออกไปรับอารมณ์และปรุงแต่งอารมณ์
    เราสามารถฝึกอบรมให้จิตไม่แล่นออกไปรับอารมณ์ได้มั้ยครับ???
    เราสามารถฝึกจิตให้หยุดรู้สึกนึกคิดได้มั้ยครับ???

    ;aa24
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณบุญฯ ผมอ่านแล้วมีข้อสงสัย รบกวนถามดังนี้
    สรุปว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้นในจิตเท่านั้นที่ตกอยู่อำนาจพระไตรลักษณ์ใช่มั้ย???
    ใครครับที่ตามรู้ตามเห็นอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น???

    ในเมื่อคุณบอกว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นบังคับไม่ได้
    แล้วแบบนี้คนที่เกิดอกุศลขึ้นในจิต จะทำอย่างไร???
    ก็ต้องปล่อยให้อกุศลดำเนินต่อไป โดยอย่าไปควบคุมใช่มั้ย???

    เช่นกำลังเกิดอารมณ์โกรธก็ปล่อยให้โกรธไป
    โลภก็ปล่อยให้โลภไป หลงก็ปล่อยให้หลงไป เพราะบังคับไม่ได้ใช่มั้ย???
    ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆแล้ว คุกมีเท่าไหร่ก็ไม่พอขังคนทำชั่วหรอก???

    สัพเพ สังขารา อนิจจา
    สัพเพ สังขารา ทุกขา
    สัพเพ ธรรมา อนัตตา(ไม่ใช่ตน)

    เมื่อสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น จิตย่อมควบคุมและบังคับไม่ให้ยึดถือสิ่งเหล่านั้นว่าเป็นเรา
    ว่าเป็นของเรา ว่านั่นเป็นตนของเรา
    เมื่อจิตเกิดความเบื่อหน่าย ก็คลายกำหนัด
    เมื่อจิตคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้นจากอำนาจพระไตรลักษณ์

    ส่วนสิ่งที่บังคับบัญชาไม่ได้นั้นมีเพียง
    ความแก่ชรา ความเก่าคร่ำคร่า ความเจ็บไข้ได้ป่วยเท่านั้นครับ
    นอกจากนั้นเราสามารถอบรมและควบคุมจิตให้ทำแต่ในสิ่งดีๆที่เป็นกุศลได้ครับ

    ;aa24
     
  6. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    จิตของเราหรือที่เรียกอีกอย่างว่า ความคิด และจิตนั้นยังมีอีกตัวแยกต่างหากที่เรียกว่าสติหรือตัวรู้ ตัวรู้นี่เองที่คอยตามรู้ตามดูอารมณ์ต่างๆ และคอยจำสภาวะอารมณ์ที่เกิดในจิต ซึ่งก็คือ โทษะ โมหะ และโลภะ เมื่อหมั่นรู้หมั่นดูบ่อยๆเข้า จิตก็เกิดความชำนาญจำสภาวะได้เร็วขึ้น ไตรลักษณ์ก็ทำหน้าที่ได้เร็วขึ้น การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปก็เพียงชั่วครู่เดียว เมื่อจิตเห็นสภาวะนี้บ่อย ก็จะเกิดความเบื่อหน่ายและจะตัดตัวอกุศลจิตเอง สิ่งที่กล่าวข้างต้นเป็นเรื่องของจิตใจ ส่วน กาย วาจา ต้องมี ศีล คอยกำกับครับ ไม่ให้ทำตามอารมณ์ที่กำลังเกิด และเราต้องแยกรูป นามออกจากกัน
    เราพยายามบังคับให้อกุศลไม่ให้เกิด มันก็ไม่เกิดชั่วขณะที่เราบังคับมันไว้ แต่มันมิได้หมดไปมันยังแฝงอยู่ในจิต บางท่านเรียกอนุสัย.
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    *คุณบุญฯ ในพระสูตรที่ไหนบอกว่าจิตคือ ความคิด
    ความคิดนึกปรุงแต่งน่าจะเป็น “สังขาร”ครับไม่ใช่จิต
    ตกลงจิตของคุณมีกี่ดวงกันแน่ครับ???
    แล้วสติเกิดขึ้นที่ไหนครับ??? จะเกิดขึ้นลอยๆไม่ได้นะครับ???

    ทำไมคนที่ติดเหล้า ติดยาเสพติด
    จิตเค้าก็เห็นสภาวะนั้นบ่อยๆ เค้าเองก็เบื่อหน่ายในสภาวธรรมนั้น
    ทำไมยังเลิกไม่ได้หละ???

    ในเมื่อจิตใจสามารถตัดตัวอกุศลจิตเองได้แล้ว
    ทำไมยังต้องใช้ศีลในการกำกับกายวาจาด้วยหละ???

    เป็นธรรมดาอยู่เอง เมื่อเราสามารถอบรมจิตให้ละอกุศลธรรมได้แล้ว
    จิตย่อมควบคุมกำกับกาย วาจา ให้อยู่ในกุศลธรรมแต่ฝ่ายเดียว
    ศีลทำหน้าที่รักษาจิต(จิตที่ได้รับการอบรมดีแล้ว)ได้แล้ว
    จะต้องเอาศีลมากำกับ กาย วาจาอีกทำไม???

    คุณบังคับไม่ให้อกุศลเกิดได้อย่างไร???

    ;aa24
     
  8. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    อันความรู้รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว

    แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล

    ถึงลำบากตรากตรำก็<WBR>จำทน

    เกิดเป็นคนควรหมั่นขยันเอย
     
  9. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    *ในขันต์5 มี รูป,เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ เพื่อความเข้าใจเราต้องแยกรูป-นามออกจากกันเสียก่อน รูปก็คือกาย ส่วนนามก็คือ เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ จิตกับนามมีความหมายเหมือนกัน แต่ในจิตยังมีตัว เจตสิกอีกหลายดวง ซึ่งมีทั้งกุศลและอกุศล ดังนั้นสังขารก็คือตัวเจตสิก พวกนามในขันต์5ทั้งหมด ก็คือความคิด เพราะฉะนั้นจิตกับความคิดจึงมีความหมายเดียวกัน ส่วนสติสามารถเกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิกดวงอื่นได้ จึงสามารถตามรู้ตามดูเจตสิกดวงอื่นได้
    *คนติดเหล้าติดยา ไม่เข้ากฎนี้ตั้งแต่ต้นแล้ว คนติดเหล้ายาไม่มีศีล และที่สำคัญ ไม่มีสติที่จะมาตามรู้ตามดูอารมณ์ที่ผมว่านี้ คนติดเหล้ายาปล่อยให้สภาวะของจิตถูกชักจูงโดยสิ่งเสพติด ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นตามสภาวะธรรม ขอเน้นตรงนี้หน่อย คนที่จะเกิดความเบื่อแห่งอกุศลจิต จะต้องฝึกตามรู้ตามดูบ่อยๆจนชำนาญเมื่อเกิดสภาวะใดขึ้นก็รู้และจำสภาวะนั้นได้ แล้วกฎแห่งไตรลักษณ์ก็จะแสดงให้เห็น
    *ที่ว่าต้องมีศีลคอยกำกับหมายถึงคนที่ยังไม่ชำนาญ ยังไม่เข้าใจคำว่ารูป-นาม อย่าลืมนะครับว่าเราจะต้องมีสติหรือตัวรู้ไว้คอยดูอารมณ์ คนที่ยังไม่ชำนาญ อาจขาดสติทำให้อกุศลจิตบังคับ กาย วาจาได้จึงต้องมีศีลไว้คอยกำกับ
    *ที่คุณบอกว่าศีลไว้รักษาจิตคุณอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนไป ศีลเป็นกฎข้อห้ามมิให้ประพฤติปฏิบัติ ดูง่ายอย่างศีล5 เป็นกฎข้อห้ามซึ่งล้วนแล้วแต่ห้ามกายและวาจาเท่านั้น
    *ผมบอกคุณแล้วงัยว่า อกุศลจิตมันเป็นไตรลักษณ์ ผมบังคับมันไม่ได้ ผมใช้สติตามรู้ตามดูไปเฉย แต่มีศีลคอยกำกับ กายและวาจาไว้[​IMG]
     
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อันความรู้รู้(เรื่องจิต)กระจ่างแต่อย่างเดียว

    แต่ให้เชี่ยวชาญ(เรื่องลมหายใจ)เถิดจะเกิดผล

    ถึงลำบากตรากตรำ(นั่งหลังขดหลังแข็ง)ก็จำทน

    เกิดเป็นคนควรหมั่น(ปฏิบัติสัมมาสมาธิ)ขยันเอย

    ;aa24

    ;aa24
     
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณบุญฯ จิตคือธาตุรู้ รู้โดยไม่ต้องคิดได้ไหมครับ???
    ส่วนเจตสิกนั้นเป็นเครื่องปรุงแต่งจิตใช่มั้ย???
    ทั้งกุศลเจตสิก(คิดดี)และอกุศลเจตสิก(คิดไม่ดี)เป็นเครื่องปรุงแต่งจิตใช่มั้ย???

    จิตไม่ใช่ขันธ์๕และขันธ์๕ก็ไม่ใช่จิตครับ
    มีพุทธพจน์รองรับอยู่ดังนี้
    เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณปรวนแปรไป จิตหาปรวนแปรไปด้วยไม่
    แสดงว่าจิตไม่ใช่ทั้งรูปทั้งนามครับ อย่าเอามาปนกันให้มั่วไปหมดครับ

    มีพระพุทธพจน์ดังนี้
    วิสังขารคะตัง จิตตัง
    จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง
    หยุดคิดนึกปรุงแต่งแตกแล้ว
    รู้สักแต่ว่ารู้ เห็นสักแต่ว่าเห็นฯลฯ

    ;aa24
     
  12. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ไม่เข้ากฏได้ยังไงครับ? ในเมื่อเค้าก็รู้ว่ามันไม่ดี
    และก็รู้สึกเบื่อหน่ายกับสภาวที่เป็นอยู่นั้นด้วย
    ทำไมทั้งๆที่ก่อนหน้านี้นั้นก็มีสติรู้อยู่ว่าไม่ดีแต่ให้ชักจูงได้หละ???

    เค้าก็ตามรู้ตามเห็นทุกครั้งก่อนที่จะออกไปเสพสิ่งเหล่านั้น
    คุณลองไปถามดูสิว่าคนเหล่านั้นล้วนอยากจะเลิกได้ทั้งนั้น
    และเห็นกฏแห่งไตรลักษณ์ชัดเจนทุกครั้งเมื่อผ่านมาแล้ว
    พร้อมรู้สึกตัวในตอนเช้า ว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ดีเป็นทุกข์ เพราะอะไร???

    ;aa24
     
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ทำไมจะต้องมีศีลมากำกับในเมื่อคุณบอกว่า
    "อกุศลจิตมันเป็นไตรลักษณ์ ผมบังคับมันไม่ได้"

    ในเมื่อบังคับไม่ได้ จะมีศีลมากำกับเพื่ออะไร???
    เพราะคุณบอกว่าบังคับอกุศลจิตไม่ได้ จะมีศีลเพื่อประโยชน์อะไร???

    ที่ผมบอกว่าให้ศีลคอยรักษาจิตนะถูกต้องแล้ว จำเอาไว้นะ
    ในเมื่อจิตเองมีกฏข้อห้ามประจำจิตอยู่แล้วนั้น
    ยังต้องอาศัยกฏข้อห้ามจากภายนอกอีกทำไม???
    เพราะจิตเป็นนาย กาย วาจาเป็นบ่าว

    ในเมื่อคุณพูดว่า "อกุศลจิตมันเป็นไตรลักษณ์ ผมบังคับมันไม่ได้"
    เป็นไตรลักษณ์หนะ ใช่ คุณบังคับไม่ได้หนะผิดไปแล้ว
    แสดงว่าเมื่อคุณเกิดอกุศลจิตแล้ว ต้องทำตามอกุศลจิตนั้นเหรอ???

    ถ้าเป็นแบบนี้ มีคุกเท่าไหร่ก็ไม่พอขังคนชั่วหรอกครับ
    หรือว่าไม่จริง??? อกุศลจิตต้องบังคับได้สิ
    เราต้องฝึกฝนอบรมจิตเพื่ออะไร??? ถ้าบังคับไม่ได้???

    สติเกิดขึ้นที่ไหนกันแน่??? เกิดขึ้นเองลอยๆไม่ได้หรอก???
    สติต้องสร้างต้องเจริญเท่านั้นครับ

    ;aa24
     
  14. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    คุณธรรมฯครับ ผมจะไม่ย้อนกลับไปคำถามเดิมๆ ซึ่งมันจะเป็นการเถียงกันไปเถียงกันมาหาข้อยุติไม่ได้ เอาเป็นว่าเราต่างคน ต่างปฏิบัติ เคารพซึ่งกันและกันดีกว่าครับ
    ตอนนี้ผมขอรบกวนถามคุณบ้าง
    1.ตอนนี้คุณปฏิบัติกัมฐาน อะไรอยู่ ขอให้อธิบายสิ่งที่คุณปฏิบัติพอสังเขป

    2. คุณเข้าใจคำว่า จิตตานุปัสสนากัมฐาน มั้ยอย่างรัย รบกวนคุณอธิบาย

    สิ่งที่คุณจะตอบเอาตามความเข้าใจของคุณ ไม่ต้องอ้างตำราหรือบาลีนะครับ
    เดียวจะมาเถียงกันเรื่องข้อบาลีอีก
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณบุญฯ ก่อนอื่นผมว่าควรทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่ามั้ย???
    โดยปกติแล้วผมเคารพการปฏิบัติของทุกคน
    แต่เมื่อสงสัยแล้วจะไม่ให้ถามคงไม่ได้ครับ? เพื่อความถูกต้อง
    ที่เราสนทนากันเป็นการถกธรรมกัน
    ไม่ใช่การชวนทะเลาะหรือถกเถียงโดยไม่เอาเหตุผลเลยหนะ???

    อย่าลืมนะว่าคุณได้พูดในส่วนที่คุณปฏิบัติเป็นแบบนิ้
    ในเมื่อผมมีข้อแย้งเพราะรู้สึกว่าขาดเหตุผล
    เมื่อถามไปคุณก็ควรที่จะตอบตามที่คุณได้ผลในการปฏิบัติมา
    โดยคุณควรตอบคำถามผมที่ถามไปเพื่อความเข้าใจตรงกัน
    ในการที่จะถกธรรมกันต่อไปได้ด้วยดี

    จิตรู้โดยไม่ต้องคิดได้มั้ย???
    ตกลงจิตของคุณมีกี่ดวงกันแน่ครับ???
    แล้วสติเกิดขึ้นที่ไหนครับ???
    จะเกิดขึ้นลอยๆไม่ได้นะครับ???
    ฯลฯ ควรตอบครับ

    ;aa24
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ส่วนที่คุณถามผมนั้นผมต้องตอบอยู่แล้วเพื่อความเข้าใจตรงกันในการถกธรรมกันต่อไป

    ณ.ปัจจุบันผมยังทบทวนอานาปานสติกรรมฐานตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตร
    อยู่เป็นประจำทุกวันไม่น้อยกว่าวันละสามครั้งต่อวัน
    หรือทุกครั้งเมื่อมีเวลาว่างและระลึกได้

    เพื่อฝึนฝนการวางจิตให้สงบตั้งมั่นณ.ฐานที่ตั้งของสติ
    เมื่อกระทบอารมณ์ไม่ว่าเป็นภายนอกหรือภายในก็ตาม

    ;aa24
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ก่อนที่จะตอบในข้อ๒นี้ ผมขอถามก่อนว่าคุณรู้จักจิตที่แท้จริงหรือยัง???
    ในเมื่อคุณมีความเข้าใจว่าจิตคือความคิด
    ผมถึงได้ถามว่ารู้โดยไม่ต้องคิดได้มั้ย??? คุณเองก็ไม่ยอมตอบ
    จึงเป็นเหตุให้ผมต้องถามคุณเพื่อความเข้าใจตรงกัน

    พร้อมกันนี้คุณยังมีสติเป็นตัวรู้อีกต่างหากไปจากจิต???
    ผมถึงได้ถามว่าแล้วสติตั้งอยู่ที่ไหน????
    เช่นเคยคุณก็ไม่ยอมตอบคำถามผมอยู่ดี

    ถ้าคุณจะพิจารณาจิตตานุปัสสนากัมฐานนั้น?
    คุณยังไม่รู้คุณลักษณะของจิตที่แท้จริง
    คุณถึงได้ติดอยู่แค่ความคิด
    เพราะคุณบอกเองว่าเมื่อเกิดอกุศลจิต ซึ่งเป็นไตรลักษณ์คุณบังคับไม่ได้
    ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าคุณติดอยู่แค่ความคิด ยังไม่รู้จักจิต
    ถ้าคุณมีพื้นฐานการปฏิบัติอานาปานสติตามหลักมหาสติปัฏฐานมาแล้ว
    คุณย่อมสามารถควบคุมจิตให้ปล่อยวางอกุศลจิตได้ เมื่อมันเกิดขึ้นที่จิต

    ฉะนั้นคุณควรตอบคำถามผมทุกครั้งที่ถาม จึงจะเป็นการถกธรรมกันอย่างแท้จริง
    ไม่ใช่เลี่ยงที่จะไม่ตอบคำถามเพราะไม่เข้าใจ
    ถ้าไม่เข้าใจควรถามผมกลับเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง....

    ;aa24
     
  18. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    คุณธรรมครับ การเรียบเรียงตัวหนังสือผมอาจ วกวน ตกลงอันเนื่องจากผมเห็นคำถามก็ตอบเลย อีกทั้งเราปฏิบัติคนละแนวกัน เพื่อไม่ให้กระทบถึงครูบาอาจารย์ ผมจะขอตอบคำถามคุณสั้นพอเข้าใจ

    * จิตเป็นกระบวนการความคิด เปลี่ยนแปลงได้โดย องค์ประกอบของจิตที่เรียกว่า เจตสิก
    * เจตสิก คือ ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด
    * สติ คือ อาการหนึ่งของจิต ซึ่งเป็นเจตสิกอย่างหนึ่ง
    จิตรู้โดยไม่ต้องคิดได้มั้ย จิตเป็นขบวนการความคิด
    ตกลงจิตคุณมีกี่ดวงกันแน่ ในขณะหนึ่งมีจิตดวงเดียว โดยในจิตนั้นมีเจตสิกเป็นองค์ประกอบหลายดวง แต่จิตจะทรงอยู่ชั่วขณะและแตกดับไป เกิดจิตดวงใหม่ขึ้นวนอยู่เช่นนี้
    สติเกิดขึ้นที่ไหน ดังที่บอกไว้ข้างต้น สติเป็นอาการหนึ่งของจิต สติจะเกิดขึ้นได้ด้วยการระลึกรู้ เหมือนกับว่า อาการหนึ่งไปรับรู้อีกอาการหนึ่งของจิต ซึ้งเมื่อสติเกิดก็จะเห็นอาการอื่นแสดงไตรลักษณ์ให้ดู แม้กระทั่งสติก็จะแสดงไตรลักษณ์ สติจะแสดงได้ก็ต่อเมื่อเราปล่อยให้เป็นธรรมชาติไม่ไปกดไปเพ่ง ซึ่งอาการที่ไปกดไปเพ่งนี้ส่วนใหญ่เรียกว่า สมถกัมฐาน ส่วนการปล่อยให้จิตแสดงอาการไปตามธรรมชาติเรียกว่า วิปัสนากัมฐาน
     
  19. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณบุญฯครับ<O:p</O:p
    ตกลงที่คุณตอบมาผมพอเข้าใจว่าคุณก็พูดมาจากตำรา(อภิธรรม)อยู่ดี
    แต่คุณห้ามผมตอบโดยอ้างตำราและพุทธพจน์<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    ในเมื่อคุณตอบมาผมมีข้อสงสัยผมคงต้องถามต่อนะครับ<O:p</O:p
    คุณเคยระลึกรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออกอย่างเดียวมั้ยครับ???<O:p</O:p
    ระหว่างที่ระลึกรู้(จิตมีสติ)อยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออกต้องคิดมั้ยครับ???
    เจตสิกเป็นเครื่องปรุง(อารมณ์)แต่งจิตต้องอาศัยจิต
    แสดงว่าจิตอยู่ได้โดยไม่ต้องให้เจตสิกอาศัยก็ได้สิครับ???
    โดยจิตไม่รับอารมณ์(เจตสิก)เข้ามาปรุงแต่ง???
    จิตเปรียบเหมือนบ้านอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งตบแต่ง
    แต่สิ่งตบแต่งบ้านอยู่โดยไม่มีบ้านไม่ได้ใช่มั้ย???
    ครับสติเป็นหน้าที่หนึ่งของจิต ที่ต้องเจริญให้มากขึ้นให้ยิ่งขึ้น
    เพื่อจะได้ระลึกตัวทั่วพร้อมในการกระทบกับอารมณ์คือเจตสิกครับ
    ถ้าเราฝึกฝนจนกระทั่งสติกับจิตเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเรียกว่าสติปาริสุทธิง
    ฉะนั้นถ้าจิตมีสติระลึกรู้อยู่ทีฐานที่ตั้งสติอยู่ตลอดเวลา
    ก็ไม่เข้าสู่กระบวนการคิดสิครับ???
    แสดงว่าจิตมีดวงเดียวใช่มั้ย???
    แต่อาการของจิตมีหลายอาการไม่ใช่หลายดวงใช่มั้ย???
    ถ้าจิตทรงอยู่ชั่วขณะและแตกดับ กรรมจะถ่ายทอดไปสู่ดวงใหม่ได้อย่างไร???<O:p</O:p
    ขณะที่เกิดจิตดวงใหม่ขึ้นมารู้มั้ย??? ถ้ารู้แสดงจิตไม่ได้ดับนิ???
    แสดงว่าสติเกิดขึ้นที่จิต เป็นหน้าที่หนึ่งของจิตที่ต้องสร้างสติขึ้นมา
    เพื่อเป็นเครื่องกางกั้นอกุศลจิต ไม่ให้อกุศลเกิดที่จิต
    โดยมีสติเป็นเครื่องกางกั้นใช่มั้ยครับ???
    แสดงว่าจิตเกิดอกุศลแล้วค่อยระลึกรู้(มีสติ)ใช่มั้ย???
    แล้วทำไมไม่ฝึกฝนให้จิตมีสติระลึกรู้ก่อนที่จะมีอกุศลจิตเกิดขึ้นที่จิตหละ???
    ผมถึงได้บอกว่าที่คุณพูดคือการดูจิตที่ติดความคิดไปแล้วใช่มั้ย???
    ก็เมื่อจิตมีสติระลึกรู้อยู่ทุกลมหายใจเข้า-ออกแล้ว
    จะเอาอกุศลเข้าสู๋จิตในตอนไหนครับ???
    ถ้าคุณบอกสติไม่ต้องเพียรเพ่งแล้วสร้างสติได้อย่างไร???
    ถ้าคุณไม่เพ่งคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าขณะนี้มีอารมณ์อะไรเกิดขึ้นที่จิต???

    <O:p</O:pระหว่างสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานแยกออกจากกันไม่ได้หรอกครับ???
    อย่าคิดเองสิครับ คุณเคยทำให้จิตสงบโดยไม่ต้องอาศัยปัญญาได้ด้วยหรือ???
    แสดงว่าคุณไม่เคยฝึกสัมมาสมาธิเลยสิครับ???

    ;aa24
     
  20. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ที่ผมบอกหมายถึง อย่านำชื่อท่านมาใส่ในความเห็นครับ
    คุณธรรมฯครับในหนึ่งวัน เพื่อไม่เกิดกิเลศขึ้นในจิต เรามิต้องทำอาณาปานสติไปทั้งวันเลยหรือครับ สิ่งที่ผมกล่าวข้างต้น การดำเนินชีวิตประจำวัน เราปล่อยให้จิตเป็นไปตามธรรมชาติไม่ไปกดไปเพ่ง ซึ่งในความเห็นของผมมันไม่น่าจะใช่ การเจริญวิปัสสนากัมฐาน
    พระอริยบุคคล ทั้ง4ระดับ เห็นมีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ละสังโยช10ได้ ส่วนที่เหลืออีก3ระดับ ทำมั้ยท่านเหล่านั้นยังอยู่ในสังโยชก็เพราะว่าท่านเหล่านั้นยังคิดอยู่นะซิครับ
    (ขอตัวไปทำธุระก่อนแล้วจะรีบมาตอบเพื่อคุณเข้ามาก่อน)
     

แชร์หน้านี้

Loading...