เราไม่มีในกาย กายไม่มีในเรา

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 26 ธันวาคม 2008.

  1. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    สติ เอาไว้ดูอะไรหละครับ

    1 กาย

    2 เวทนา

    3 จิต

    4 ธรรม


    แรกๆ จะปนเปกันไป เห็นตัวใดจับตัวนั้น ระลึกได้ตัวใดจับตัวนั้น
    แต่เมื่อ แยกกาย แยกเวทนา แยกจิต แยกธรรมได้แล้วจะเป็นดังนี้คือ

    กาย ดูแล้ว จะเป็นฐานขึ้นสู่ เวทนา เมื่อเพิกกายยกจิตขึ้นสู่เวทนา
    เพิกเวทนาขึ้นสู่จิต เพิกจิตขึ้นสู่ธรรม

    ทีนี้ เมื่อ มาถึงระดับปรมัตแล้ว กาย กับ เวทนา เราก็จะไม่เอาสติไปตามรู้มันหรอก
    เพราะว่า มันไม่สำคัญ เพราะว่า กิเลสไม่ได้อยู่ที่ กาย และ ไม่ได้อยู่ที่เวทนา
    แต่มันอยู่ที่จิต จิตเป็นอกุศล รู้ จิตเป็นกุศลรู้ เมื่อรู้ดีที่จิตแล้ว จิตประกอบด้วยมหากุศล แล้ว จะไม่สนใจที่จะเอาสติไปจับที่จิต เพราะว่า มันไม่ปรากฎกิเลส ก็จะมองตามความเป็นจริง จะปรากฎธรรมขึ้นประจักษ์ มองด้วยธรรม ด้วยความเป็นจริง

    ก็ สรุปว่า เมื่อ จิตมีองค์ปัญญาดีแล้ว สติจะวนเวียนอยู่กับ 2 ตัวคือ จิตตานุปัสสนาและ ธรรมนุปัสสนา ก็ไปๆ มาๆ ระหว่าง 2 ตัวนี้

    ข้อนี้ ก็แสดงให้เห็นว่า สติไม่ได้ตามจับทุกอริยาบท
    ทีนี้ เมื่อ สมมติหมดไป ทุกอย่างมันออกจากธรรม เมื่อนั้น ไม่ต้องกำหนดสติปัฎฐาน มันก็จะเป็นมหาสติ มหาปัญญาแจ้ง ไป ไม่ได้กำหนด ธรรมานุปัสสนา ไม่ได้กำหนด จิตตานุปัสสนา เพราะว่าไม่ต้องไปดูลักษณะอะไรมันอีก

    แต่ เป็น ธรรมล้วนๆ ออกจากใจ ไม่ต้องกำหนดรู้ กำหนดดูอาการเหล่านั้น

    ข้อนี้ขอบอกไว้ก่อนว่า เป็นรายละเอียด แต่ส่วนมากก็จะเป็นเช่นนี้กันหมด เมื่อแยก องค์ธรรมออกจากกันได้แล้ว เพราะเดี๋ยวจะมีนาย ธรรมภูติมาแย้งอีกว่า ผมปฏิรูปธรรม
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อนุโมทนากับท่าน บุคคลทั่วไป 1คน ด้วยนะครับ เริ่มตื่นแล้วหลังจากหลับมายาวนาน
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ขอแสดงความคิดเห็นนะครับ...
    ท่านผู้ที่จะเจริญสติปัฏฐาน 4
    แล้วบรรลุธรรมได้ 7 วัน 7 เดือน 7 ปี นั้น

    ท่านมีสติตลอดเวลาครับ(ผมว่า ท่านที่มีสติตลอดเวลา เป็นพระอรหันต์แล้วครับ..เพราะฉนั้น หากยังอยู่ในการฝึกฝน ก็ยังเผลออยู่...ไม่มี สติ ตลอดเวลา)
    ไม่ใช่มีสติชั่วครั้งชั่วคราวแบบนี้
    การฝึกสติปัฏฐาน แรกๆ จะเกิด สติมั่งไม่เกิดมั่ง ....
    ...แรกๆเมื่อศึกษาวิธีการเข้าใจเมื่อฝึกปฏิบัติ จะพบว่า เริ่มมีสติ พอฝึกไป ก็จะเริ่ม รู้ว่าเผลอ บ่อยขึ้น เมื่อฝึกไปนานๆๆเข้า ก็จะยิ่ง รู้ว่า เผลอขึ้นมากต่อวัน
    เช่น แรกๆ รู้ว่าเผลอ 1 ครั้งต่อวัน (เริ่มมีสติ)
    ต่อไปก้เริ่มรู้ว่า เผลอ 5 ครั้งต่อวัน (เริ่มมีสติเพิ่มขึ้น)
    ต่อไปก้เริ่มรู้ว่า เผลอ 30 ครั้งต่อวัน (เริ่มมีสติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)
    ต่อไปก็จะเร่มรู้ว่าเผลอ 50 - 100 - 200 - 500 ครั้ง มันจะเริ่มรู้ว่าเผลอขึ้นเรื่อยๆ...

     
  4. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    ถึง..คุณขันธ์

    ขอร่วมแสดงความเห็นนิดนึ่ง เรื่องสติปัฏฐาน4
    ..คือพอมีประสพการณ์บ้างเล็กน้อยอ่ะคับ..
    ผมเองพิจารณา กาย กับเวทนา พอพิจารณาเวทนาจนแตกเห็นในรายละเอียดชัด ว่าทุกข์เวทนาของกายก็ส่วนกาย จิตก็ส่วนจิต ไม่จำเป็นต้องรับเอามาเกี่ยวเนื่องกัน เกิดปัญญาในส่วนนี้คือมาอ่ะคับ...
    น้อม จิตตรึกธรรม ในขณะทำสมาธิอยู่นั้น ว่า แล้วจิตละ จิตก็บอกขึ้นมาว่า ในเวทนาก็มีจิตอยู่..สุข..ทุกข์..ก็เพราะจิต สติที่ทำสมถะนั้นก็คือจิตรวมเป็นสมาธิ แล้วธรรมละ จิตก็บอกอีกว่า รวมทั้งหมดนั้นคือธรรม กาย เวทนา จิต 3อย่างนี้รวมก็เรียกว่าธรรมคือธรรมชาติ ของเหตุปัจจัยที่เอามาปรุ่งรวมกัน
    ดั่งคำที่ว่า สัพเพ ธัมมา สังขารา ...ธรรมทั้งหลายล้วนเกิดจากการปรุ่งแต่ง..
    ....ก็มาตรงกับ คำหลวงพ่อบอกอีกว่า..
    ผู้มีตัญหาจริต พิจารณา กาย กับเวทนาเหมาะ...เมื่อแจ้งใน2ข้อที่เหลือย่อมแจ้งหมด..
    และโดยส่วนตัวแล้ว ...ชื่อเวทนา คือทุกขเวทนา ตราบใดที่ยังละกิเลสเครื่องร้อยรัดไม่หมด ทุกขเวทนา ย่อมไม่หมดไปจากเรา
    กิเลสทั้งหลายล้วนเป็นเหตุ ให้เกิดทุกข์

    จากข้อความคุณขันธ์ ที่ผมลบออกไปนะเห็นด้วยนะคับ
    มีแค่ "เมื่อถึงระดับปรมัติ" กาย กับ เวทนา เราก็จะไม่เอาสติไปตามรู้มันหรอก

    ผมสงสัยอ่ะคับ ปรมัติที่ว่าอ่ะ ระดับไหนคับเพราะ สกิทาคามี ก็ยังละไม่ได้ โน่นพระอนาคามี ถึงละ ทิฎฐิมานะได้ ละกามราคะได้ แล้วประสาอะไรกับพวกผมที่ยังไม่ถึงไหนเลย ต่อให้ได้ โสดา ก็ยังละ โลภ โกรธ ราคะ ไม่ได้สักตัว
    แหม......ข้อธรรมนี้สูงจังอ่ะคับ สาธุ
    ....ประโยชน์เลยน้อยไปหน่อยแก่ผู้ฝึกไหม่......
     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    นอนดึกเหมือนกันนะครับท่าน นัท
     
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ทัสนะที่เป็นปรมัต แยกรูป นาม ออกก็ หันมาดูที่จิตได้
    แม้ว่า จะไม่เป็นปรมัตที่สุด ก็ให้หันมาดูที่จิต ก็เป็นจิตตภาวนา คืออะไรเกิดกับจิตให้รู้
    แม้เวทนาเกิด ก็ให้เห็นว่าเป็นที่จิต ทุกอย่างลงสู่จิตหมด

    แล้วค่อยๆ แยกระหว่างธรรม กับ กิเลสออก แยกอกุศล และ กุศลออก จำเป็นสภาวะเอาไว้
    ว่า อะไรๆ ที่ปรากฎกับจิต ที่ดีก็จำเอาไว้ ที่ไม่ดีให้ละ ค่อยๆ แยก ค่อยๆ ละอายตนะหยาบๆ ไป ความรู้สึกอะไรหยาบๆ ค่อยๆ ละไป

    ก็จะค่อยๆ เหลือแต่อายตนะที่ละเอียด เมื่อใดจิตตั้งมั่น รู้ ก็ให้พิจารณา เดินหน้าไปเลย
    เมื่อได้อย่างนี้แล้วเราจะมีหลักใจ คือ เริ่มแยกออกว่า อะไรดี อะไรไม่ดี
    ไอ้ที่ไม่ดีก็ละ ถ้ายังละไม่ได้ ก็ให้ใช้อุบายธรรม ทั้งกำลัง สมาธิ ปัญญา ต่อสู้
    แล้ว กุศลธรรมที่เพียรนั้นจะกล้าแกร่ง แล้วจะค่อยๆ เฉียบคมมีกำลัง ประหารกิเลส เป็นส่วนๆ เป็นลำดับได้เอง
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    เมื่อมองดูที่จิตแล้วว่า อะไรเกิดที่จิต ความรู้สึกต่างๆ อายตนะ สัมผัส เวทนา อะไรต่างๆ รวมถึงความรู้สึกที่เป็นตัวตน ความคิดต่างๆ ความปรุงต่างๆ นี้ให้แยกออกเป็น กุศลและอกุศล
    เพียรละ อกุศล ให้มาก ตัวนี้ตรงๆ เลย
    ทำกุศลให้มาก อย่าไปคิดว่าเป็นธรรมพื้นๆ นี้แหละง่ายที่สุด แต่เฉียบคมที่สุด

    แล้วก็ ทำสมาธิบ้าง ตามความเหมาะสม แต่ให้เป็นกิจวัตร

    แล้วพอถึงธรรม จะพบว่าธรรมอยู่ตรงหน้า จะมีปัญญาธรรมตัวหนึ่งทำให้เรารู้สึกว่า
    พระพุทธองค์อยู่ตรงหน้าไม่ได้ไปไหน แม้ไม่ได้เห็นรูป แต่จะปรากฎว่า เหมือนเราอยู่ใกล้ท่าน ฟังธรรมจากท่านโดยตรง เมื่อปรากฎความรู้สึกนี้จะมีปีติขึ้น เหลือประมาณ
    นั่นแหละ ธรรมประเสริฐเกิดขึ้น ที่เรียกว่า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา
     
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ปัญหา ก็คือว่า บางทีเราก็แยกไม่ออกว่า ที่เราเป็นอยู่นี้มันอกุศลหรือว่ากุศล
    แล้วมันมีสติตื่นอยู่ หรือว่าคล้อยตามเพลงกิเลส
    ก็ปัญหานี้จะหมดไป หากว่าเรามีสมาธิ และ ปราศจากนิวรณ์ มีจิตควรค่าแก่การงาน มันจะเห็น ความรู้ ตื่น เบิกบาน ดุจดังเด็กที่มีแรงอยากเล่น นั่นเล่นนี่ เพราะกิเลสมันน้อย

    ก็ ลองตั้ง บทสวดดู แล้วลองดูซิว่า พอตั้งภาวนาปั๊บ มันล้มหายไปไหม พอตั้งปั๊บล้มหาย
    แสดงว่า กิเลสเอาไปกินแล้ว สภาวะจิตตอนนั้น เต็มไปด้วยนิวรณ์ธรรม ก็ให้ หาอุบายภาวนา มาตั้ง สมาธิ และสติ ใหม่
     
  9. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    คนบางคน มีจิตเ็ต็มไปด้วยนิวรณ์ธรรม มันก็กรุ่นอยู่ ทีนี้ มันเต็มไปด้วยนิวรณืแต่ไม่รู้ตัว ก็ดูอยู่นั่นแหละ คอยเจริญสติ ดูนั่นดูนี่ แต่มันไม่รู้ตัวว่า นั่นมันเผลอดูหรือเปล่า

    ก็คอยสังเกตุตนดู ว่า เมื่อใดก็ตาม จิตมันว่างแบบไม่ต้องดูอะไร แล้วก็จิตไม่วุ่นวาย ควรค่าแก่การงาน แสดงว่า นั้นดีแล้ว จำสภาวะนั้นไว้ ประคอง สภาวะนั้นให้มาก แล้วอาศัยสภาวะนั้น พิจารณาให้เห็น อายตนะที่ละเอียดยิ่งๆขึ้นไป กว่าที่เป็นอยู่

    นี่แหละ ทาง บอกหมดแล้ว ที่เหลือไปทำกันเอาเองครับ
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เมื่อโลกเคลื่อนไปตามปกติธรรมชาติของโลก
    เราปฏิบัติธรรม เพื่อ รู้ตัว เพื่อเกิดพลัง และสติปัญญา เพื่อรู้เท่าทันโลก

    การปฏิบัติธรรมแบบ เราทำ(เจตนา กำหนด ตั้งรู้) แล้วรู้ เป็น สมถะ ได้กำลัง
    การปฏิบัติธรรมแบบ เราไม่ทำ(ไม่เจตนา ไม่กำหนด ไม่ตั้งรู้) แล้วรู้ เป็น วิปัสสนา ได้ปัญญา

    จิต หลง เป็น อกุศลจิต (หลงในความดีความชั่ว มียินดี ยินร้าย ชอบใจ ไม่ชอบใจ ...)
    จิต มีสติ เป็น กุศลจิต (เป็นกลาง ต่อทุกสิ่งทั้งดีและชั่ว ไม่ให้ค่า ต่อทุกสิ่ง)

    อีกหนึ่งวิธีของการพิจารณา มองต่างมุม

    ไม่ได้พิจารณาในเรื่องราวของ ดีชั่ว ถูกผิด
    การทำความดี ทำบุญ ทำกุศล ทำให้จิตอิ่มเอิบเป็นสุข
    การทำความชั่ว ทำความเลว ทำให้จิตเป็นทุกข์เศร้าหมอง
    แต่ทั้งสุขชั่วคราวและทุกข์ชั่วคราว นี้ ล้วนเป็นทุกข์

    แต่เมื่อยังต้องทำ โลกยังเคลื่อนไปไม่หยุด การทำความดี ทำบุญทำกุศล จึงสมควรทำ
    เพราะ ทำให้จิตมีความสุข สงบ ตั้งมั่น อยู่ในหนทางแห่งความเจริญทางโลก
    การทำความชั่ว ความเลว สมควรละ ไม่ควรทำ
    เพราะทำแล้วเป็นทุกข์ อยู่ในหนทางของความเสื่อมทางโลก

    ปล. บังเอิญชอบคิด ก็เลย คิดฟุ้งซ่านไปในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2009
  11. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,256
    บังเอิญชอบคิด ก็เลย คิดฟุ้งซ่านไปในโลกธรรม


    คิดมาก ก็ฟุ้งมาก คิดน้อย ก็ฟุ้งน้อย หยุดคิด ก็หยุดฟุ้ง
    คิดเพราะทุกข์ ทุกข์เพราะคิด หยุดคิด ก็หยุดทุกข์
    เพราะจิตส่งออก จึงเป็นทุกข์
    น้อมจิตเข้าฐาน จึงหยุดทุกข์

    (smile)
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ขอบคุณค่ะ
    รู้ตัวว่าชอบคิด พอรู้ตัวว่าคิด ก็หยุดคิด ไปได้
    แต่บางเรื่องคิดแล้ว รู้ตัวแล้ว แต่หยุดคิดไม่ได้ เพราะจิตมีความอยาก
    ก็ปล่อยให้คิด ให้สมอยาก ที่อยากจะคิด หมดอยากได้จริง ก็คงหยุดคิดได้เอง
    จิตมันอยากคิด ดีดี จิตมันอยากโชว์ความคิด ดีดี จิตมันคิดว่ามัน ดี
    ก็เลยต้องปล่อย ดี ออกมา โชว์ในโลกคนอื่นบ้าง
    เพื่อให้จิตมันรู้เองว่า ดี หรือ ไม่ดี เผื่อจิตมันจะรู้ตัว ละวาง ดี ออกได้บ้าง
    ไม่ชอบหยุดทุกข์ แต่ชอบรู้ทุกข์ อะค่ะ (สงสัยเราจะเข้าขั้น ซาดิซึ่ม นะเนี่ย)
    ถ้าหยุด ไม่ชอบ และชอบ ได้เมื่อไหร่ ก็คงหยุดทุกข์ ได้ ล่ะค่ะ

    [​IMG]
     
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ครับ ได้อ่านของทุกท่านแล้วดีครับ โดยเฉพาะของคุณเกสท์และคุณขันธ์
    ส่วนของคุณขันธ์นั้นเป็นธรรมดา(ภาษาไทยกำกวม)
    ผมมีคำถามบ้างตามความเป็นจริงที่ควรรู้

    คุณนัทครับ ผมไม่ได้คิดจะเล่นคำอะไรนะครับหรือแปลเฉพาะเป็นคำๆนะครับ
    เพราะภาษาไทยกำกวม ฉะนั้นการชี้แจงอะไรควรให้ความกระจ่างครับ
    มิฉะนั้นแล้วไปคนละเรื่องคนละราวเลยนะครับ
    อย่าลืมนะครับว่าทุกวันนี้ศาสนาพุทธถึงได้เกิดนิกายต่างๆมากมาย
    ทั้งๆที่ในครั้งพุทธกาล มีเพียงการปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา
    (อริยสัจจ์๔ มรรค๘ สติปัฏฐาน๔)เท่านั้น
    แต่กลับมีพระอริยเจ้าชั้นต่างๆมากมายนะครับ
    ยิ่งนานวันยิ่งลดน้อยลงเพราะอะไร???

    เข้าเรื่องดีกว่านะครับ ถ้าผมเป็นชาวต่างชาติหรือผู้ยังใหม่อยู่ผมจะเข้าใจไหมครับ???
    ย่อมต้องงงเป็นธรรมดาว่ามีด้วยหรือครับ
    ที่รู้ตัวหรือรู้สึกตัวโดยไม่เจตนา ไม่ตั้งใจ ไม่มีสติ

    ที่พวกคุณอธิบายกันมาก็บอกชัดอยู่แล้วนิครับว่า
    ต้องมีการตั้งเจตนามาก่อนหน้านั้นนะครับ
    ส่วนเจตนานั้นก็มี๒ฝ่าย เจตนาที่จะยึดและเจตนาที่จะปล่อย

    ที่พวกคุณหันมาสนใจพุทธศาสนาก็เพราะอยากที่จะฝึกอบรมจิต
    ให้มีเจตนาที่จะปล่อยวาง แล้วก็เพียรพยายามอบรมจิต
    จนกระทั่งมีสติระลึกรู้เท่าที่พลังสติจะมีได้โดยไม่เผลอตัวนะครับ

    เมื่อพอทำได้ บางครั้งก็รู้สึกว่าเราไม่ได้เจตนาเลยทำไมมันรู้หละ???
    แต่เคยเฝ้าสังเกตมั้ยครับว่าที่รู้สึกตัวผุดขึ้นมาเองโดยไม่เจตนา
    เพราะอารมณ์นั้นเราคุ้นเคย(เคยปล่อยวางได้มาหลายครั้งแล้ว)
    เมื่อเราเจออารมณ์นั้นบ่อยๆเราก็จะปล่อยได้เร็วขึ้นโดยลำดับนะครับ

    ;aa24
     
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    มิจฉาทิฎฐิ คนคิดมากคือคนฟุ้งซ่าน นิวรณ์มาก
    ก็ นิวรณ์มาก ทำอย่างไร ก็ไม่มีกำลัง เปรียบดัง คนหนึ่งคน ถูกเชือกผูกไว้ 5 เส้น ตรึงไว้กับสัตว์มีกำลัง 5 ตัว
    แล้วจะไปถึงปลายทางอย่างไร ในเมื่อสัตว์แต่ละตัวก็ไปตามทิศทางของมัน
    ก็ดูไปสิ สัตว์เหล่านั้นหมดแรงเมื่อไร มันก็หยุด ตอบว่า มันหยุดเดี๋ยวเดียวแหละ แล้วจะต้องดูอย่างนี้ไปตลอด
    เพราะกำลังไม่มี โดนมันลากไปทางนั้นทีทางนี้ที ยังจะอวดเก่งว่า ข้านี้ รู้ นั่นแหละ วิธีที่ว่าจิตเขาอยากจะทำอะไรก็ทำไป

    แล้วทำอย่างไร ก็ต้องไป ฝึกพละให้ดี ให้มาก มีแรงกุศลพุ่งไปข้างหน้า ให้คนมีกำลังมากกว่า สัตว์ที่คอยลากไป
    จะคิดทำอะไร เป็น เอกคตาจิต มีกำลัง จะทำสิ่งใดก็มีกำลังพุ่งตรงไป แล้วจะเกิดสุขตั้งมั่น ประกอบกับทัศนะที่มี
    จะทำให้ทุกอย่าง ง่าย

    ดูให้ดีนะ ไม่อยากเสือก แต่อยากบอก ว่า มันก้ำกึ่งนะ ระหว่าง เข็นครกลงภูเขากับ การปล่อยให้กิเลสเอาไปกิน มันต่างกันนิดเดียว
    เข็นครกลงภูเขา เขาเอาไว้ใช้ตอนที่ จิต ตั้งมั่น ปราศจากนิวรณ์ แล้วจึงค่อยใช้ทัสนะนั้น
    แต่ถ้า มันมีนิวรณ์อยู่ แล้วใช้ทัสนะนั้น คือ การปล่อยไปตามกิเลส

    ถ้าคิดว่า ตนเอง ดีแล้ว ก็ลองพิสูจน์ ด้วยการ สวดมนต์ บทที่ตนท่องได้ แล้ว เอาใจแนบกับบทสวดมนต์ให้ได้ตั้งแต่ต้นจนจบ
    การแนบนี้ ถ้าคนมีสติ สมาธิดี มันจะไม่แกว่งเลย เป็นเอกคตาจิต เช่น ท่อง พาหุง ก็ขึ้นตั้งแต่ต้นจนจบ
    แต่ ถ้า ไม่มีเอกคตาจิต พอขึ้น พาหุง แว็บ สหัสสมภินิมมิตสาวุธันตัง แว็บ ปากก็ท่องไป ใจก็แว็บ ระลึกได้ ตั้งได้แผล็บเดียว ปากท่องไป ใจแว็บ
    นี้แหละ เรียกว่า กำลังสติไม่มี กำลังสมาธิไม่มี กิเลสมีกำลังมากกว่า

    ทำการทำงาน พอจะทำอะไรหน่อย ใจแว็บไป แปดทิศแปดทาง แบบนี้ เรียกว่า มีนิวรณ์
    คนมีสติสมาธิ มันจะไม่ต้องไปดูอะไร มันไม่คิดเรื่อยเปื่อย เวลาทำอะไร มันจะเฉียบคม มีกำลังต่อเนื่อง
    ไม่วุ่นวาย วกวน ให้สังเกตุใจตนตรงนี้
     
  16. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    คุณ ธรรมภูติ คุณรู้จักเจ้าหนูจำไม ไหม
    แต่ผมจะตอบให้ฟัง เวลา พูดถึงการดูจิต ไม่ใช่ไปดูว่ามันอยู่ตรงไหน เพราะมันไม่มีตำแหน่ง มันเป็นนาม ไม่ใช่รูป
    จะไปให้มัน สัมพัทธ์ กับอะไรหละ ตามธรรมดาสิ่งของที่วางอยู่ เราก็บอกตำแหน่งมันเพราะไปเปรียบเทียบกับ วัตถุสิ่งของอื่นๆ
    แต่ ถ้าเป็นเรื่องของ ความคิด ของใจ ของความรู้สึก จะเปรียบกับสมมติก็ได้แต่ว่า มันเป็นของใคร มันเกิดกับผุ้ใด แต่ว่าจะให้มันเกิดตรงนั้นตรงนี้ มันก็ไม่ใช่จิต

    ผมแนะนำให้คุณ กำหนดสติ อย่าให้มันมีนิวรณ์ มาก ไปทำสมาธิ ก่อน
    แล้วที่ว่า เป็นคนฝึกสมาธิมาดีแล้ว ผมมองว่า คุณยังไม่มีสมาธิเลย มันเป็นมิจฉาสมาธิ ถ้าเปรียบกับ กำลังของสัตว์ก็ประเภทโค กระบือ คือ มีแต่กำลัง แต่ทำอะไรไม่ได้ นั่งสมาธิได้ แต่เอามาใช้อะไรไม่ได้ เพราะยังขาดการสนตะพาย

    การสนตะพาย สมาธิตัวเอง นี้ก็ต้องใช้สติ ยิ่งมีกำลังสมาธิมากยิ่งต้องสนตะพายตรงจุดอ่อน จุดที่ดิ้นไม่ได้ ด้วย ปัญญา
    ในทีนี้
    จุดสนตะพาย ก็คือ ศรัทธา คือ อย่าใช้ปัญญาแบบโลกๆ คิด แต่ให้ลงมือทำ เมื่อจิตนิ่งแล้ว มันก็ไม่ต้องมีอะไรพูดกันมาก
    แต่ถ้าจิตมีนิวรณ์มาก มันก็อธิบายเท่าไร มันก็ไม่จบ แต่เมื่อไม่มีนิวรณ์ จิตตั้งมั่น คุณก็จะไม่สงสัย ไม่ต้องตั้งคำถามมาก มองเห็นเพราะตนเองได้ผ่านมาแล้วด้วยการปฏิบัติ

     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปากท่องไป ใจแว็บ รู้ว่าใจแว๊บ ไป เรียกว่า รู้แบบ วิปัสสนา

    ส่วนการตั้งสติให้มั่นจดจ่ออยู่กับคำสวดมนต์ ทำให้ได้ กำลังสมาธิแบบสมถะ

    เข้าใจว่างั้นนะคะ ก็เลือกการปฏิบัติธรรม ให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์
    ก็มีทำทั้ง 2 แบบ แต่ตอนนี้ทำอะไร เพื่ออะไร อยู่ ก็รู้ตัวอยู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2009
  18. หัตถ์เทพหมื่นวิญญาณ

    หัตถ์เทพหมื่นวิญญาณ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    347
    ค่าพลัง:
    +22
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 4 คน ( เป็นสมาชิก 4 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>หัตถ์เทพหมื่นวิญญาณ, k.kwan, ขันธ์, ธรรมภูต </TD></TR></TBODY></TABLE>
    นับถือในความเพียรของคุณขันธ์ที่พยายามชี้แจงคุณธรรมภูต
    กระทู้นี้ประเทืองปัญญาอย่างยิ่ง
    ทัสนะขยับไปอีกขั้น ก็เพราะกระทู้นี้นี่แหล่ะ
    มีบุญคุณมากเหลือหลาย
    ขอขอบคุณท่านทั้งหลายไว้นะโอกาสนี้ด้วย...
     
  19. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    อย่าลืม ว่า จิตนี้เปรียบเหมือนน้ำ มันมีทางไหนอยู่มันก็ไหลไปทางนั้น
    เคยสร้างมาอย่างไรแต่อดีตชาติ พอสบช่องปั๊บมันไหลไปตามทางที่เคยสร้างมานั้นแหละ

    คนบางคน มีจิตใจดีงามมีกุศล แต่ลองให้มันโมโหขัดใจหน่อยเดียวแหละ มันกลายเป็น บ้าๆบอ ไปเลย นี่หมายความว่า เขาเคยสร้างทางแห่ง โทสะไว้ลึกมาก มันไหลไปแรง ยั้งไม่ได้เลย
    บางคน ไม่ค่อยจะโมโห แต่ขี้กลัว ขี้ขลาด
    บางคน ไม่ค่อยมีสติ ไม่ค่อยมีสมาธิ ทำอะไรตั้งมั่นได้เดี๋ยวเดียว
    บางคนขี้เกียจ บางคนจะทำอะไรก็ง่วง

    นี้เราขุดป่า ถางทางกันมาแล้วตามกรรมของตนทั้งสิ้น ไอ้ช่องที่เคยสร้างกุศลก็มี ก็เป็นคนใจบุญ เป็นคนใฝ่ทางธรรม
    ทำอะไรนิดอะไรหน่อยก็กลายเป็่น ท่านมหา ศรัทธาธรรม ก็เพราะว่า ใจมันเคยเป็นอย่างนั้นมา

    ก็ ละทางอกุศล ขุดทางกุศลให้มาก ไม่ต้องกลัวว่า มันจะหลง ไอ้ที่มันหลงเพราะมันมีช่องทางอกุศลอื่น ไม่ใช่ทางกุศล
    ดูอย่าง ใบไม้ คนดีโลกลืม มันมีกุศลคือ ชอบธรรม แต่เดี๋ยวๆ วกลงเรื่องต่ำ เดี๋ยววกไปเรื่อง อุตริ เพราะเขาถางทางมาแบบนั้น

    ก็ให้เลือกถางทางที่ถูกต้อง แล้วมันจะไหลลงสู่ มหาสมุทรคือ พระนิพพานเอง ขอให้ทำให้ตรงเถิด
    นี่ง่ายที่สุดแล้ว ส่วนเรื่องพิจารณาธรรม อันนี้ก็ถือว่า เป็น มหากุศลที่เราก็ต้องทำ ไม่ใช่ว่า บอกว่ามันไปเองแล้วจะไปขัดแย้งกับการพิจารณาธรรมที่ถูก แต่มันสอดคล้องกันนั้นแหละ แต่ต้องไปด้วยกัน
     
  20. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ก็ จะเป็นวิปัสสนาก็ได้ แต่เป็นวิปัสสนา ที่เป็น สติหลังกาล
    และ สติที่ไม่มีกำลัง เพราะกิเลสมีกำลังมากกว่า สติปัญญา
    ผมก็เปรียบเทียบให้เห็นแล้วว่า สัตว์มีกำลัง 5 ตัวลากคนไปแต่ละทิศ
    ยังจะบอกว่า รู้ ยังจะบอกว่า เป็นวิปัสสนา

    การทำวิปัสสนา เขาให้ทำเมื่อจิตมีกำลังเป็นหนึ่ง จึงจะเห็นตามความเป็นจริงที่ยิ่งกว่า การเห็นธรรมดาที่เปรียบเหมือนโดนสัตว์ลากไป
    การโดนสัตว์ลากไป แล้วรู้ ใครๆ ก็รู้ ไม่ต้องวิปัสสนาก็รุ้ได้
    คนธรรมดา เขาก็รู้ตัวกัน ว่าเขาไม่มีสติ เขามีสติน้อย
    แล้วมันเพียงพอหรือ ถ้าเช่นนั้นแล้วคนทั่วไป เขาก็วิปัสสนากันทุกคนแล้ว

    หลักแห่งวิปัสสนาจริงๆ มันจะต้องมีจิตตั้งมั่น มีกำลัง ที่จะถอนอุปาทาน มีกำลังที่จะตัดเชือกผูกให้ขาดไป

    ไม่เช่นนั้นมันก็สับสนอยู่อย่างนั้นแหละ ไม่เฉียบคม เพราะว่า ปล่อยให้มันไปตามกิเลส
    ไม่เรียกว่า วิปัสสนา ที่แท้จริง

    การมีวิปัสสนาที่แท้จริงคือ ค้นคว้า หาความจริง ที่เกิดขึ้นกับใจ แล้ว แยก กิเลสกับธรรมให้ออก โดยใช้ หลักแห่งไตรลักษณ์ มา

    เปรียบกับ กองขยะและกองทรัพย์รวมกัน เราก็ต้องค่อยๆ คัดสรร แยกออก

    เพราะว่า อะไร เพราะว่า ใจเรามันมีกิเลสอยู่ มีอุปาทานอยู่มันก็บัง มันก็เอานั่นเอานี่มารวมกัน เราก็มองไม่เห็นสิ่งที่แท้จริง
    บ้างก็ว่า มันเกิดแล้วมันก็ดับ ก็ไอ้ที่เห็นอยู่ มันเกิดมันดับ แต่ไอ้ที่ไม่เห็นหละ
    ลองไปพิจารณาดูแล้วกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...