พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    วันนี้ ช่วงบ่ายไปทำบุญที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) วัดมหาธาตุ ครับ

    ได้รับหนังสือ "ทำดีอย่างไร จึงจะได้ดี" โดยพระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
    อธิการบดี มจร. ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้ ครับ
    1. ทำดีให้ "ถูกดี" หมายถึง มีหน้าที่อะไร ก็ขอให้เราทำให้ดีที่สุด
    2. ทำดีให้ "ถึงดี" หมายถึง ทำความดีอย่างต่อเนื่อง ให้นานพอที่ความดีจะให้ผล
    3. ทำดีให้ "พอดี" หมายถึง การทำดีนั้นจะต้องพอดี อย่าตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไป

    ขอบคุณ ที่มาหนังสือ "ทำดีอย่างไร จึงจะได้ดี"
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ระวัง! ยาแก้หวัดปลอม อ้างส่วนประกอบ “สูโดเอฟีดรีน-ไตรโพลิดีน” ไม่มีเลขทะเบียน-ตำรับยา
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9510000149217
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>19 ธันวาคม 2551 14:22 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=313 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=313>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> อย.เตือนระวังการลักลอบจำหน่ายยาแก้หวัดปลอม อ้างมีส่วนประกอบสูโดเอฟีดรีน-ไตรโพลิดีน ขณะที่ตรวจวิเคราะห์แล้วไม่พบส่วนประกอบสำคัญ ฉลากยาไม่แสดงเลขทะเบียน-ตำรับยา แถมระบุใช้เฉพาะสถานพยาบาล เผยของแท้ที่ฉลากมีเลขทะเบียนตำรับยา ไม่ต้องมีข้อความ “ใช้เฉพาะสถานพยาบาล” ระบุเร่งสืบสวนและติดตามจับกุมผู้ลักลอบกระทำผิด ดำเนินคดีตามกฎหมาย พร้อมแฉจับกุมผู้ลักลอบขายยามีส่วนประกอบสูโดเอฟีดรีนใช้ในทางที่ผิดเพียบ

    วันนี้ (19 ธ.ค.) นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับแจ้งว่ามีการลักลอบจำหน่ายยาแก้หวัดปลอม ให้กับร้านขายยาและสถานพยาบาลบางแห่ง ทั้งนี้ผู้เสนอขายจะแอบอ้างว่าได้ยามาจากผู้ผลิตโดยตรง ซึ่งยาดังกล่าวมีลักษณะเป็นเม็ดกลมแบนสีขาว ที่สำคัญฉลากยาไม่ได้แสดงเลขทะเบียนตำรับยาไว้ แต่แสดงข้อความ “ใช้เฉพาะสถานพยาบาล” และแสดงสูตรส่วนประกอบว่าในยา 1 เม็ด ประกอบด้วยสูโดเอฟีดรีน (Pseudoephedrine ) HCI 60 mg. และ ไตรโพลิดีน (Tripolidine) HCI 2.5 mg. ซึ่งภายหลังจากการตรวจสอบพบว่ายาดังกล่าวไม่มีส่วนประกอบของตัวยาสำคัญทั้ง 2 รายการ ตามที่ระบุไว้บนฉลาก จึงจัดว่าเป็นยาปลอม โดยผู้บริโภคสามารถสังเกตลักษณะยาดังกล่าวที่ถูกต้องได้ คือ ฉลากยาต้องแสดงเลขทะเบียนยา และไม่มีข้อความ “ใช้เฉพาะสถานพยาบาล”

    “ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาได้มีการจับกุมผู้ลักลอบซื้อ ขายยาที่มีสูตรส่วนประกอบของสูโดเอฟีดรีน ส่งออกไปยังต่างประเทศเพื่อใช้ในทางที่ผิด จนก่อให้เกิดปัญหาต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย และยังส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคอีกด้วย ทั้งนี้ อย.ได้ทำหนังสือแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดต่างๆ เพื่อให้เตือนร้านขายยาในจังหวัดต่างๆ และกวดขันในการดำเนินการกับผู้ลักลอบผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายยาปลอมอย่างเคร่งครัดด้วย” เลขาธิการ อย.กล่าว

    นพ.พิพัฒน์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ได้ทำหนังสือแจ้งเตือนไปยังผู้อนุญาตขายยาในเขตกรุงเทพฯ สมาคมร้านยา ชมรมร้านขายยาแห่งประเทศไทย โดยขอความร่วมมือให้ซื้อยาจากผู้ผลิตยา หรือผู้นำเข้าฯ หรือผู้แทนจำหน่ายยา หรือร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น และต้องมีเอกสารการซื้อขายยา ประกอบเป็นหลักฐานทุกครั้ง

    ทั้งนี้ อย. กำลังอยู่ในระหว่างการเร่งรัดสืบสวนและติดตามจับกุมผู้ลักลอบกระทำผิด เพื่อนำมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป สำหรับผู้ผลิตมีโทษจำคุก 3 ปี-ตลอดชีวิต ปรับ 1 หมื่น - 5 หมื่นบาท ส่วนผู้จำหน่าย มีโทษจำคุก 1-20 ปี ปรับ 2 พัน -1 หมื่นบาท หากผู้บริโภคพบเบาะแสการกระทำผิดดังกล่าวสามารถแจ้งเบาะแสมาได้ที่สายด่วน อย. โทร.1556 หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สำหรับเรื่องของการเก็บค่าธรรมเนียมรักษาบัญชี

    ตามที่คุณnongnooo บอกมาครับ

    เนื่องจากปัจจุบันต้องมีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด จึงเกิดมาตรการนี้ขึ้น แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า บัญชีอย่างไหนมีลักษณะอย่างไร

    บัญชีออมทรัพย์ หรือบัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี บัญชีสองประเภทนี้ เป็นบัญชีที่มีดอกเบี้ยเกิดขึ้น และดอกเบี้ยนั้นนำมาทบกับต้นเงิน (ในกรณีที่ดอกเบี้ยนั้นออกมานำฝากในบัญชีแล้ว)

    การปิดบัญชีที่ระบุเพียงตัวเลขในสมุดบัญชีนั้น แล้วแต่ธนาคารจะปฎิบัติ

    โดยปกติแล้ว บัญชีออมทรัพย์จะมีการคิดดอกเบี้ยทุกวัน เพียงแต่ดอกเบี้ยที่คิดได้นั้น นำไปเก็บไว้ยังหน่วยความจำของระบบงานธนาคาร เมื่อถึงระยะเวลา ระบบงานของธนาคารจะนำดอกเบี้ยที่เก็บไว้ในหน่วยความจำของระบบงานธนาคาร ออกมาเข้าบัญชีของลูกค้า เช่น บัญชีออมทรัพย์ จะมีการจ่ายดอกเบี้ยทุกๆ 6 เดือน บัญชีเงินฝากประจำ แล้วแต่ประเภท เช่น 3 เดือน , 6 เดือน , 12 เดือน , 24 เดือน หรือมากกว่านั้น

    เมื่อปิดบัญชีโดยกรอกตัวเลขในสมุดนั้น เวลาเราไปปิดบัญชี เราต้องสอบถามกับธนาคารด้วยว่า มีการจ่ายดอกเบี้ยสะสมออกมาหรือไม่ อย่างไรด้วย ส่วนนั้นหากว่าเราไม่ได้ นั่นแสดงว่า ธนาคารไม่ได้จ่ายดอกเบี้ยในส่วนนั้น ต้องสอบถามกับเจ้าหน้าที่ของธนาคารครับ มีอยู่ 2 กรณีที่เราไม่ได้ดอกเบี้ยในส่วนนั้น ผู้ที่ได้ผลประโยชน์ก็มีเพียง 2 ฝ่าย คือ ธนาคาร หรือเจ้าหน้าที่ของธนาคาร

    ดอกเบี้ยที่ธนาคารไม่ได้จ่ายออกมาให้กับเจ้าของบัญชีนั้น ธนาคารจะนำไปเป็นรายได้ของธนาคารเอง

    ส่วนเรื่องของค่ารักษาบัญชี เรื่องนี้แล้วแต่ธนาคารที่จะกำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำว่า จะต้องมีเงินอยู่ในบัญชีเท่าไหร่ ธนาคารจะไม่คิดค่าธรรมเนียมการรักษาบัญชี แต่เท่าที่ทราบมา บางธนาคารไม่น้อยกว่า 500 บาท บางธนาคารไม่น้อยกว่า 1,000 บาท ซึ่งหากต่ำกว่านั้น ก็จะมีกำหนดระยะเวลาว่า หากไม่มีการเคลื่อนไหวบัญชี ในระยะเวลาที่ธนาคารกำหนด (บางแห่ง 6 เดือน , บางแห่ง 1 ปี ) ธนาคารก็จะคิดค่าธรรมเนียมการรักษาบัญชี ส่วนจะคิดค่าธรรมเนียมเท่าไหร่นั้น ธนาคารแต่ละแห่งจะคิดไม่เท่ากันครับ

    บัญชีเงินฝากนั้น แนะนำว่า ไม่ควรที่จะเปิดหลายๆแห่ง อย่างมากน่าจะไม่เกิน 3 ธนาคาร และในแต่ละธนาคาร ก็ไม่ควรที่จะเปิดมากกว่า 2 บัญชี เดี๋ยวจะงง และจะลืมได้ ที่สำคัญ หากมีบัญชีน้อยแห่ง เรามีเงินเข้าบัญชี เงินถอนออกจากบัญชี ยอดเงินที่เข้าและออก จะมีจำนวนที่สูง ซึ่งเป็นผลดีกับเรา เวลาที่เราจะไปขอกู้เงินกับธนาคาร


    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    บัญชีเงินฝากประจำ หากเป็นประเภทฝากประจำ 3 เดือน เจ้าของบัญชีต้องการถอนเงิน ก่อนครบกำหนด ธนาคารจะไม่จ่ายดอกเบี้ยให้ แต่หากเป็นประเภทฝากประจำ ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ธนาคารต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ แต่จ่ายในอัตราของดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ครับ

    .
     
  5. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    ขอแบ่งปันเรื่องที่พบมาในวันนี้ ครับ
    1. ร้านค้า หลายๆ แผง คนขาย ไม่ได้มา เพราะ รายได้ น้อยกว่า รายจ่าย (ค่ารถ, ค่าเช่า)
    2. แท็กซี่ เริ่มบ่น ว่า ผู้คนประหยัดมากขึ้น หาลูกค้ายากขึ้น
    3. ร้านค้าบางร้าน ยังขายไม่ได้ ตีไข่ไม่แตก
     
  6. katicat

    katicat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +524
    เมื่อวานนี้09:19 PMffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>
    newcomer <O:p></O:p>
    ขอสอบถามว่าไปซื้อ "ปลาดุก"และ "ปลาช่อน" 1 ตัน จากที่ไหน ครับ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    นั่นสิ ผมก็นึกสงสัยอยู่เหมือนกัน ว่าจะไปหาปลาดุกปลาไหล 1ตัน=1,000 กิโลกรัมที่ไหน หากไม่สั่งล่วงหน้า ไม่รู้ว่าผมคิดมากไปหรือเปล่าที่พลันแว๊บไปถึงเรื่องการสั่งล่วงหน้า ก็เป็นความตั้งใจที่ดีและเตรียมการที่ดีในการทำความดี แต่ที่สงสัยคือหากไปพบโดยบังเอิญ 1 ตันนี่คงต้องรวบรวมหลายๆร้าน อานิสงค์จะสูงกว่า การสั่งล่วงหน้าหรือเปล่า<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    หากสั่งล่วงหน้า เขาก็ต้องไปเร่งจับเพื่อมาให้เราปล่อย ส่วนอานิสงค์ก็เป็นแบบนักโทษที่กำลังรอวันประหาร อีก 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน ข้างหน้า แล้วเกิดมีพระบรมราชโองการอภัยโทษให้ลดทอนน้อยลงนั่นคือปลาดุกที่สั่งล่วงหน้า รู้ตัวล่วงหน้าว่าไม่ต้องตาย.....<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    หากพบโดยบังเอิญ เท่ากับเราได้บำเพ็ญวิริยะบารมีหนึ่งในบารมี 10 และทานบารมี อีกหนึ่งในบารมี 10 กรรมเดียวแต่ได้ 2 เด้งและลึกๆในแง่ของอานิสงค์ เหมือนนักโทษที่กำลังจะเอาคอเข้าเครื่องประหารอยู่แล้วเดชะบุญที่มีผู้ใจบุญมาไถ่ชีวิตไปเสียก่อน...<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ประเด็น 2 แบบนี้ หากได้ทำไปทั้ง 2 อย่างจะวิเศษมาก ทั้งสั่งล่วงหน้า แต่ไม่รู้ว่าจะเป็นกรรมดี(ตั้งใจปล่อยจริงๆแบบไม่คิดอะไร)+กรรมไม่ดี(เร่งให้พ่อค้าจับสัตว์มากขึ้นเพื่อมาให้เราทำบุญ)อานิสงค์นี้จะให้เราเกิดเมตตามหานิยมสูงผู้หลักผู้ใหญ่รักใคร่ชอบพอ การงานเจริญๆยิ่งขึ้นไป<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ส่วนแบบพบโดยบังเอิญนี่อานิสงค์ให้เราแคล้วคลาดจากอันตรายแบบได้ผลที่สุด<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ขออภัยด้วยครับ หากจิตผมแว๊บบ่อย...<O:p></O:p>


    มีหลายคนสงสัยเรื่องการปล่อยปลาของคณะเราค่ะ เดิมเราไม่ได้ปล่อยกันมากขนาดนี้ พอเริ่มปล่อยมากขึ้นเรื่อยๆก็เลยต้องหาที่ค้าส่ง ก็เลยได้มารู้จักเจ้าค้าส่งปลาที่ตลาดไท ซึ่งค้าส่งปลาให้ตลาด และร้านอาหาร ซึ่งถ้าเราจะปล่อยปลาพรุ่งนี้ คืนนี้เราก็โทรไปบอกเค้า เหมาปลาและจ่ายค่ารถ ไม่ได้สั่งจองกันล่วงหน้าค่ะ วันรุ่งขึ้นเค้าจะเอาปลาใส่ลังมีน้ำไปจอดที่ท่าน้ำที่เรานัดกันค่ะ

    ติดต่อซื้อปลาได้ที่ คุณเก๋ 081-9050599 เราจะปล่อยกันที่ท่าวัดทองบน ยานนาวาค่ะ

    ปกติปลาดุกราคาตั้งแต่ 34บาทขึ้นไปตามขนาดค่ะ
     
  7. katicat

    katicat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +524
    [​IMG]

    ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๑ ร่วมระลึกถึงพระองค์ท่านในวันคล้ายวันประสูติ
    เสด็จเตี๋ยของลูกประดู่ หรือหมอพรของชาวบ้าน

    ขอพระองค์ทรงพระเจริญ สถิตย์ในหฤัยตลอดกาล
     
  8. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    โมทนาสาธุครับ บุญแต่ละอย่างที่พี่ทำนั้น เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจให้กับผมในการทำสิ่งดีๆต่อไปครับ
     
  9. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    ช่วงนี้ผมได้ถูกขอให้ช่วยสอนนักศึกษาพยาบาล และ นักศึกษาแพทย์ที่มาฝึกงาน
    จึงเป็นโอกาสเพราะโดยส่วนตัวผมเองไม่ชอบสอนวิชาการเท่าไรนัก เนื่องจากผมคิดว่าพวกเขามีโอกาสได้รับจากอาจารย์ซึ่งเก่งกว่าผมอยู่แล้ว
    สิ่งที่สอนส่วนใหญ่จึงเป็นประสบการณ์ที่ผมได้สั่งสมจากการออกมาทำงานในชุมชน เพื่อมุ่งหวังในการสร้างจริยธรรม และ แรงบันดาลใจให้แข็งแรง
    เพราะผมเชื่อว่าในขณะที่พวกเขาถูกสอนอยู่ในมหาวิทยาลัยนั้น ความรู้สึกดีๆยังมีอยู่เต็มเปี่ยม
    แต่สิ่งเหล่านี้ถ้าไม่แน่นหนาพอมักจะถูกแรงกดดันต่างๆเมื่อออกมาทำงานจริงทำให้ค่อยๆจางลงทีละน้อย
    จึงได้แต่หวังว่าการเล่าประสบการณ์ต่างๆให้ฟังนั้น จะยังประโยชน์ใดๆได้บ้างเพื่อให้พวกเขาได้จบมาทำงานช่วยเหลือผู้อื่น

    แต่เดิมการสอนของผมจะไม่ค่อยสอดแทรกเรื่องพุทธศาสนามากนัก แต่ปัจจุบันก็จะมีการเสริมบ้างแต่จะไม่มากเกินไปเพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกเบื่อ
    เพราะคิดว่ายุคปัจจุบันกลุ่มที่สนใจนั้นอาจจะไม่มากนัก อีกทั้งผมเองก็ไม่ได้รู้ซึ้งในพระธรรมมากมายอะไร เป็นผู้ที่พยายามศึกษาอยู่เช่นกัน
    การตอบรับเท่าที่ได้ก็รู้สึกว่าดีพอสมควร ตอนนี้เขาก็ดูจะตอบอย่างเต็มใจที่จะจบมาทำงานให้กับชาวบ้าน ไม่มุ่งหวังแต่เงินตอบแทนเพียงอย่างเดียว

    ในอนาคตก็กำลังจะทำโครงการภายในโรงพยาบาลเอง เพื่อหวังว่าจะช่วยชาร์จไฟของผู้ที่ทำงานมานานแล้วเริ่มจะหมดไฟ
    เพื่อให้โรงพยาบาลนี้เกิดการบริการด้วยใจให้ได้มากที่สุดจนกว่าผมจะกลับไปเรียนต่อ
    หากท่านใดมีคำแนะนำใดๆ ก็ขอน้อมรับไว้ด้วยความขอบคุณอย่างสูงครับ
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 35 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 32 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, ร่มโพธิ์, ake7440+ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    บุคคลทั่วไป 32 คน
    วันนี้วันศุกร์ ไม่ได้ไปไหนกันหรือครับ
     
  11. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 57 คน ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 56 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>ake7440 </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- currently active users -->
    <!-- popup menu contents -->ยิ่งดึกยิ่งเยอะนะครับ หุหุ
     
  12. gnip

    gnip สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2008
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +14
    ขอโมทนาบุญค่ะ ถูกต้องตามที่พี่เหมียวแจ้งค่ะ ถ้าหากต้องการซื้อปลาเป็นจำนวนมากสามารถซื้อได้ที่ท่าปลา แพปลา หรือตลาดค้าส่งใหญ่ ส่วนที่ต่างจังหวัดก็ต้องเป็นตลาดที่ประจำจังหวัด 1 ตันถือว่าเป็นจำนวนไม่เยอะค่ะ เพราะเท่าที่ญาติที่ขายปลาอยู่วันๆก็มากมายกว่านี้หลายเท่านัก...
     
  13. พรสว่าง_2008

    พรสว่าง_2008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2008
    โพสต์:
    356
    ค่าพลัง:
    +402
    เรียนแจ้งคุณ เอ ที่ผมได้ร่วมบุญสร้างวิหารที่วัดป่าโนนจ่าหอมนั้น ได้รับเบี้ยแก้แล้วนะครับ ขอบคุณครับ
     
  14. พรสว่าง_2008

    พรสว่าง_2008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2008
    โพสต์:
    356
    ค่าพลัง:
    +402
    **-**

    และต้องขอขอบพระคุณ คุณ Sithiphong ด้วยครับ ที่ได้บอกบุญให้ผมได้ร่วมทำบุญในครั้งนี้
     
  15. พรสว่าง_2008

    พรสว่าง_2008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2008
    โพสต์:
    356
    ค่าพลัง:
    +402
    เรียนแจ้ง คุณ Sithiphong ได้รับหนังสือแล้วครับ 3 เล่ม ขอบคุณครับ
     
  16. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    โมทนาสาธุครับ
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    โมทนาสาธุครับ
    ไว้จะโทร.ไปบอกนะครับ ว่า ให้อ่านเล่มไหนเป็นเล่มแรก เล่มไหนเป็นเล่มที่ 2 เล่มไหนเป็นเล่มสุดท้าย
    ส่วนการอ่าน ครั้งแรกให้อ่านผ่านๆไปก่อน ครั้งที่สองให้อ่านแล้วคิดตามไปด้วยครับ

    .
    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วิถีแห่งปราชญ์แท้ ของพระพรหมคุณาภรณ์

    http://hilight.kapook.com/view/32133


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก นิตยสาร ฅ คน


    "ทุกข์สำหรับเห็น สุขสำหรับเป็น". . . นี่คือแก่นสาระแห่งพระพุทธศาสนาที่สอนเรื่องการมีชีวิต และสิ่งนี้เองที่ปรากฏให้เห็นอย่างแจ่มชัดในวิถีแห่งปราชญ์ ปราชญ์แท้ๆ ผู้ทำให้ธรรมะปรากฏเป็นรูปธรรมได้ในทุกอิริยาบถ

    เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2481 ณ บ้านเลขที่ 49 ตลาดใต้ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ตลาดเล็กๆ ที่ประกอบไปด้วยหมู่เรือนแถวไม้สองชั้นบุราณ เรียงรายเป็นแนวยาวขนานไปกับแม่น้ำท่าจีน กลางร้านค้าผ้าจีนของ ท่านมหาสำราญ กับ แม่ชุนกี อารยางกูร "เด็กชายประยุทธ์ อารยางกูร" เด็กชายตัวเล็กๆ ได้ถือกำเนิดเกิดขึ้น และนับตั้งแต่นั้นมา เด็กชายขี้โรค ผอมบอบบาง แต่มีสติปัญญาเป็นเลิศผู้นี้ ก็เติบโตขึ้นมาเพื่อเป็นปราชญ์แท้คนสำคัญแห่งยุคสมัย และปัจจุบันเด็กชายผู้นี้คือ "พระพรหมคุณาภรณ์" (ป.อ. ปยุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

    ครอบครัวอารยางกูร เป็นครอบครัวคนชั้นกลาง ทำธุรกิจการค้า แต่ฐานะไม่ได้มั่งคั่ง เพราะมีค่าใช้จ่ายมาก อันเนื่องมาจากท่านมหาสำราญมีลูกหลายคน และให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อเรื่องการศึกษาเล่าเรียน พยายามส่งเสียลูกชายให้ได้เรียนสูงๆ ไปตามกำลังความสามารถ นอกเหนือไปจากการอบรมสั่งสอนในครอบครัว ในเรื่องความซื่อตรง ซึ่งท่านเล็งเห็นว่าเป็นหัวใจสำคัญในการประกอบการค้า ส่วนแม่ชุนกีก็เป็นแม่ที่ดีเธอให้ความยอมรับต่อความคิดของท่านมหาสำราญผู้เป็นสามี ถึงแม้หลายต่อหลายครั้ง ที่ครอบครัวจะต้องประสบปัญหาต่างๆ แต่พื้นฐานของครอบครัวที่รักใคร่กลมเกลียวกัน ประกอบกับคุณธรรมหลายๆ ข้อที่เด็กๆ ได้รับจากพร่ำสอน อบรม รวมถึงความอดทนเข้มแข็งของบุพการี ทำให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตนั้นๆ มาได้เสมอ


    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    เด็กชายประยุทธ์ เติบโตมาด้วยพื้นฐานเป็นคนใจเย็นและใจดี ขยันขันแข็ง อดทน ไม่เคยทะเลาะกับใคร และยังพร้อมกับให้ความสำคัญกับคนอื่นๆ มากกว่าตัวเอง

    สมัยเด็กเด็กชายประยุทธ์จะเป็นเด็กขี้โรค ผอม บอบบาง โดยอายุยังไม่ครบขวบก็ป่วยเป็นโรคทางเดินอาหาร และท้องร่วงอย่างรุนแรง ครั้นพอบรรพชาเป็นสามเณรก็เกิดเป็นไส้ติ่งอักเสบ เป็นโรคปอด รักษาจนหายตอนหลังก็เป็นโรคแพ้อากาศ หายใจไม่สะดวก ต่อมาก็เข้ารับการผ่าตัด เนื่องจากเป็นหูอักเสบหรือ มาสตอยด์ และในช่วงที่เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ก็เกิดเป็นนิ่วในกรวยไต และความที่ชอบเขียนหนังสือและจริงจังเสมอ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อที่แขนเกิดเกร็งและอักเสบอย่างรุนแรง ถึงขนาดยกแขนไม่ได้ ต่อมาหลอดลมอักเสบ ตับไม่ปกติ ลำไส้พับ ไวรัสเข้าตา อักเสบ บวม ต้องปิดตาทั้ง 2 ข้าง อีกทั้งยังป่วยด้วยเส้นเสียงอักเสบ แพทย์สั่งห้ามพูด นอกจากนั้นยังมีอาการผิดปกติของกรามบนและกรามล่างไม่ได้ส่วน ต้องเข้าเฝือกรักษาอยู่นาน

    แม้พระพรหมคุณาภรณ์จะอาพาธบ่อยแต่ท่านจะไม่รู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจเท่าไหร่ โดยบอกว่าเป็นเรื่องธรรมดา และการเป็นโรคนั่นโรคนี้บ่อยๆ ถือเป็นประสบการณ์ส่วนตัวไปอีกด้านหนึ่ง ซึ่งท่านเคยบอกไว้ว่า ... ถึงแม้ร่างกายเราจะป่วย แต่ใจของเราจะไม่ป่วยไปด้วย ...

    สำหรับการศึกษา เด็กชายประยุทธ์ เข้าศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนประชาบาลวัดยาง ด้วยความขยันและเป็นเด็กฉลาด แม้ว่าจะเจ็บป่วยบ่อยครั้ง แต่เด็กชายประยุทธ์ก็ใช้เวลาเพียง 3 ปีในการศึกษาจนสำเร็จระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จากนั้นท่านมหาสำราญก็ได้ก็พาเข้ากรุงเทพมหานคร เพื่อเข้ามาศึกษาต่อ โดยเด็กชายประยุทธ์สามารถสอบติดโรงเรียนวัดปทุมคงคาได้ และเข้ามาอาศัยอยู่กับพี่ๆ ที่เข้ากรุงเทพมหานครมาก่อนหน้านี้ ที่วัดพระพิเรนทร์ โดยอยู่ในการดูแลของพระศรีขันธโสภิต เจ้าอาวาส

    เด็กชายประยุทธ์เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย เรียนหนังสือเก่ง จึงเป็นที่รักของครูและเพื่อนๆ แต่เส้นทางทางโลกของเด็กชายประยุทธ์ เปลี่ยนไปเมื่ออายุได้ 12 ปี ด้วยเหตุผลทางด้านสุขภาพ เนื่องจากมีอาการเจ็บป่วยคุกคามอยู่ตลอด โดยเฉพาะโรคท้องเสีย



    [​IMG]


    [​IMG]



    . . . วันแรกของการเปิดภาคเรียนขึ้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เด็กชายประยุทธ์กลับบ้านมาก่อนเวลาเลิกเรียน เพราะอาการท้องเสียกำเริบอย่างหนัก ซึ่งประจวบกับที่ท่านมหาสำราญเดินทางมาหาลูกๆ ที่กรุงเทพมหานครพอดี ท่านเห็นอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง จึงสงสารลูก ท่านจึงหารือกับพี่ๆ ของเด็กชายประยุทธ์ ซึ่งมีความเห็นว่า ควรจะให้เด็กชายประยุทธ์บวชเรียนเสีย และกลับไปอยู่บ้านที่จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเด็กชายประยุทธ์ก็ไม่ได้โต้แย้งอะไร

    . . . นี่คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ชีวิตของเด็กชายประยุทธ์ กลายมาเป็นปราชญ์ทางธรรมคนสำคัญแห่งยุคสมัย. . .

    10 พฤษภาคม 2494 ณ วัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เด็กชายประยุทธ์ อารยางกูร ก็เข้าบวชเป็นสามเณร โดยมีหลวงพ่อวัดบ้านกร่าง พระครูเมธีธรรมสาร เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งตลอด 1 ปีที่วัดบ้านกร่าง นอกเหนือจากการมุมานะเรียนนักธรรมตรีแล้ว สามเณรประยุทธ์ยังให้ความสนใจในการอ่าน โดยค้นเอาเอกสารเก่าๆ สมุดข่อยโบราณ หนังสือธรรมมะ ตลอดจนแบบเรียนภาษาอังกฤษและสารคดีความรู้ต่างๆ และจากการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ใส่ตัวเองเสมอ ทำให้สามเณรประยุทธ์สามารถสอบนักธรรมตรีในปีแรกที่บวชเรียนได้

    จากนั้นก็ได้ไปเรียนนักธรรมโทและบาลี ณ สำนักเรียนวัดปราสาททอง กับหลวงพ่อพระวิกรมมุนี เจ้าอาวาส และเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งถึงแม้ว่าสุขภาพจะไม่ดี แต่สามเณรประยุทธ์ก็ไม่เคยขาดเรียน ไม่เคยหลับในห้องเรียน ทั้งยังทุ่มเทในการเรียนอย่างเอาจริงเอาจัง ทุกครั้งที่ว่าง สามเณรประยุทธ์จะไปขลุกตัวอยู่ที่หอสวดมนต์ เพื่ออ่านหนังสือธรรมะ และจะมีสมุดจดบันทึกเล่มหนึ่ง ที่เส้นบรรทัดค่อนข้างถี่ เอาไว้สำหรับจดสรุปความหรือย่อความ จากเนื้อหาในหนังสือหรือบทเรียนต่างๆ เล่มโตๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องกลับไปอ่านหนังสือนั้นอีก จากนั้นสามเณรประยุทธ์จึงไปสอบนักธรรมโท พร้อมกับเดินทางเข้ามาศึกษาบาลีต่อที่กรุงเทพมหานครอีกครั้ง โดยมาพำนักที่วัดพระพิเรนทร์เหมือนเดิม



    [​IMG]

    [​IMG]


    ในปีแรกที่มาพำนักอยู่ที่วัดพระพิเรนทร์อีกครั้งของสามเณรประยุทธ์ ก็สอบธรรมเอกได้ สำหรับบาลีนั้นสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค เมื่อ พ.ศ. 2498 จากนั้นสามเณรประยุทธ์ก็มุ่งมั่นเรียนบาลี และสอบได้ประโยคสูงขึ้นทุกปี ต้นปี พ.ศ. 2504 แม่กองบาลีสนามหลวงได้ประกาศรายชื่อพระภิกษุสามเณรผู้สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค จำนวน 11 รูป ปรากฏว่า สามเณรประยุทธ์ อารยางกูร วัดพระพิเรนทร์ สอบได้ลำดับที่ 6 ซึ่งก่อนหน้านี้มีเพียงสามเณร 3 รูปเท่านั้นที่สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค (ในวงการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ของคณะสงฆ์ไทย ถือว่าสามเณรที่สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค สำคัญต่อตนเองและพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง เพราะจะต้องเป็นผู้มีวิริยะอุตสาหะอย่างแรงกล้า มีความจำเป็นเลิศ มีความเข้าใจภาษาบาลีอย่างลึกซึ้ง และจะต้องเขียนหนังสือได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนทุกตัวอักษร จึงจะสอบได้ เขียนผิดแม้แต่ตัวเดียวก็สอบตก หลายท่านจึงบอกว่าเรื่องนี้เป็นบุญวาสนาด้วย)

    หลังจากที่สามเณรประยุทธ์ สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ รับสามเณรประยุทธ์ อารยางกูร เป็นนาคหลวง อุปสมบทเมื่อวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (กิตติโสภณมหาเถร) วัดเบญจมบพิตร ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายานามว่า ปยุตฺโต มีความหมายว่า ผู้เพียรประกอบแล้ว

    ต่อมา พระมหาประยุทธ์ ปยุตฺโต ก็ตัดสินใจสอบเข้าศึกษาต่อในมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ควบคู่ไปกับการเรียนบาลี ซึ่งหันมาใช้วิธีอ่านและเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะไม่มีเวลาไปเรียนในชั้นเรียนปกติ และในการศึกษาวิชาสามัญของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ปรากฏว่าท่านก็มีผลการเรียนดีเยี่ยม จวบจบปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 ในปี 2504 และได้บรรจุเป็นอาจารย์ประจำในแผนกเตรียมพุทธศาสตร์ พร้อมกันนี้ยังเป็นอาจารย์สอนในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยเป็นกำลังหลักในการปรับปรุงหลักสูตร ซึ่งยังใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    บนวิถีแห่งปราชญ์แท้ พระมหาประยุทธ์ใช้ความวิริยะ อุตสาหะ ทำงานตามที่อาจารย์มอบหมาย ทั้งๆ ที่ก็มีภาระงานอื่นๆ มากมาย จนสามารถแปลหนังสือแล้วเสร็จออกได้เมื่อ พ.ศ. 2506 ให้ชื่อว่า จารึกอโศก และในปี 2506 มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระมหาประยุทธ์ ปยุตฺโต ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเลขาธิการรูปที่สอง จวบจนปี 2507 ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการ ฝ่ายวิชาการ เป็นการทำงานฝ่ายบริหารอย่างเป็นทางการ ซึ่งท่านก็ทำได้ดี แต่ต่อมาไม่นานท่านก็ได้ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อหันมาทำงานด้านวิชาการอย่างเดียว จนทำให้ท่านเป็นที่รู้จักและได้รับการยกย่องในฐานะพระนักวิชาการตั้งแต่อายุยังน้อย แต่บทบาทของท่านนับวันจะแผ่ขยายออกไปในหมู่ปัญญาชนคนสำคัญทั่วประเทศ

    นอกจากจะแปลหนังสือแล้ว พระมหาประยุทธ์ยังเขียนตำราเรียนธรรมะภาษาอังกฤษขึ้นสองเล่ม และยังขยายฐานต่อยอดด้วยความประสงค์จะให้พระนิสิตรู้คำศัพท์เพิ่มเติม จึงคิดทำ Dictionary of Bhuddhism ซึ่งพัฒนาการต่อมาได้กลายเป็นตำนานการทำงานหนังสืออ้างอิงทางพุทธศาสนาที่สำคัญ และหนังสือพุทธธรรม ฉบับปรับปรุง และขยายความ ซึ่งต่อมากลายเป็นหนังสือที่ถูกกล่าวขานยกย่องในเวลาต่อมาว่า เป็นหนังสืออ้างอิงพุทธศาสนาเล่มสำคัญที่สุด ร่วมสมัย และไม่เคยมีหนังสือเช่นนี้มาก่อน และท่านยังมีผลงานเขียนที่ตีพิมพ์เป็นหนังสือจำนวนมาก หลายเล่มถูกนำไปตีพิมพ์ซ้ำนับร้อยครั้ง แต่ท่านเจ้าคุณฯ ยืนยันว่าจะไม่รับค่าลิขสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น ต่อการจัดพิมพ์หนังสือของท่าน แต่หากมีผู้มอบถวาย ท่านจะบริจาคต่อไปยังโรงเรียน องค์กรการกุศลต่างๆ การบริจาคนี้รวมไปถึงเงินบริจาคจากการไปเป็นองค์ปาฐกหรือแสดงธรรมตามที่ได้รับนิมนต์ ที่ได้กระทำมาตลอดยาวนานกว่าสี่สิบปี

    ในห้วงเวลานี้เองที่พระมหาประยุทธ์มีกิจนิมนต์มากมายมหาศาล ต้องไปแสดงปาฐากถาตามสถาบันการศึกษา องค์กรต่างๆ ไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในหัวข้อต่างๆ รวมทั้งรับนิมนต์ไปสอนวิชาพระพุทธศาสนา ที่มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกาถึงสามครั้ง อีกทั้งยังมีแขกมาพบท่านที่กุฏิโดยตรงแทบทุกวันไม่ได้ขาด แม้ในยามเจ็บป่วย แต่ท่านก็ไม่ได้แสดงความรู้สึกใดๆ หากแต่ต้อนรับด้วยอัธยาศัยอันงาม ตอบปัญหาข้อซักถามอย่างละเอียดลออทุกแง่มุม แขกบางท่านใช้เวลา 5-6 ชั่วโมง กว่าจะกราบนมัสการลากลับก็ล่วงเข้า 5 ทุ่ม 2 ยาม โดยหารู้ไม่ว่าท่านอาพาธ และหลังจากแขกกลับไปแล้ว ท่านก็ยังต้องทำงานต่อจนดึกดื่น บางครั้งงานเร่งก็ทำถึงรุ่งเช้า จนลูกศิษย์เกรงว่าสุขภาพจะทรุดลงกว่าเดิม จึงถามท่านว่า เหตุใดท่านเจ้าคุณฯ ไม่บอกไปว่ามีงานเร่งอยู่ หรือกำลังอาพาธ ให้กลับไปก่อน ซึ่งท่านเจ้าคุณฯ มักจะกล่าวว่า "ทำอย่างนั้นไม่ได้ เป็นพระต้องมีปฏิสันถาร"

    ตลอดระยะเวลายาวนานแห่งการทำงานหนัก เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จนในที่สุดองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้ถวายรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ ประจำปี พ.ศ. 2537 และในปีถัดมา สถาบันนวนาลันทา ประเทศอินเดีย ได้ถวายตำแหน่งตรีปิฎกกาจารย์ อันหมายถึง อาจารย์ผู้รู้แตกฉานในพระไตรปิฎก และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทั้งหมด ที่มีผู้ถวายแด่ท่านเจ้าคุณฯ ในระยะเวลายี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา รวมกับปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต ที่ท่านสำเร็จมาจากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นับรวมแล้วมีมากถึง 16 ใบ แต่ท่านเจ้าคุณฯ มิได้คิดว่ารางวัลที่เชิดชูเกียรติสำคัญนัก เพราะท่านระลึกเสมอว่า . . .

    "ไม่ว่าจะมอบถวายรางวัลนี้แด่ท่านหรือไม่ ก็มิได้ทำให้พระเป็นอะไรขึ้นมา นอกจากความเป็นพระ รางวัลที่แท้จริงนั้น มิได้อยู่ที่การได้มอบให้อะไรที่เราเรียกว่าเป็นรางวัลรูปธรรม รางวัลที่แท้จริงจะเกิดขึ้นเมื่อประชาชน สังคม และมนุษย์โดยทั่วไป มีความร่มเย็นเป็นสุข"


    [​IMG]


    [​IMG]


    ปฏิปทาจริยาวัตรอันงาม สงบเย็น แห่งท่านเจ้าคุณฯ นั้นไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปเลย เป็นเช่นไรก็เป็นเช่นนั้น ตั้งแต่ยังเป็นพระมหาประยุทธ์ จวบจนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ จากชั้นสามัญ เป็นชั้นราช ชั้นเทพ ชั้นธรรม มาโดยลำดับ กระทั่งปี 2547 ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ "พระพรหมคุณาภรณ์" แล้วก็ตาม ท่าก็ยังให้เกียรติผู้อื่นอย่างไม่เลือกวรรณะ การศึกษา ไม่เคยแสดงท่าท่าเป็นผู้มีความรู้อย่างลึกซึ้ง ในยามที่นักวิชาการมาสนทนากับท่าน ท่านมักเป็นผู้ฟังมากกว่าผู้พูด รับฟังทัศนะคติของผู้อื่นด้วยความเมตตา ไม่เคยทำให้คู่สนทนารู้สึกเสียหน้า หรือแสดงภูมิใดๆ ข่มผู้สนทนาให้รู้สึกว่าตนเองรู้น้อย

    ทั้งทางด้านวัตรปฏิบัตินั้น ท่านเจ้าคุณฯ ก็ไม่เคยรบกวนผู้อื่นเลย ทุกวันนี้ท่านยังซักเครื่องอัฐบริขารของท่านเองอยู่ แม้ในช่วงหลังจะมีพระบางรูปช่วยเหลือท่านที่กุฏิ ด้วยเป็นห่วงสุขภาพและวัยที่เพิ่มขึ้น แต่ท่านมักจะบอกกับพระรูปนั้นอยู่เสมอว่า "ไม่เป็นไร เดี๋ยวผมทำเองได้"

    อย่างเวลาฉันท่านจะมีแค่ปิ่นโตเถาเล็กๆ ไม่มีการจัดสำรับหรูหรา เพราะท่านไม่อยากให้ญาติโยมลำบาก อีกทั้งท่านเจ้าคุณฯ ยังห่มจีวรสีสดที่ตัดเย็บจากผ้าธรรมดาทั่วๆ ไป สวมรองเท้าแตะยาง และเป็นที่รู้กันในหมู่ผู้ใกล้ชิดว่าในกุฏิของท่านจะไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆ เลย จะมีก็แต่เพียงวิทยุ ที่ท่านใช้เปิดฟังข่าวสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เสริมบางตัวที่สำคัญกับการทำงานเผยแพร่ของท่าน หรือหากมีสิ่งของใดๆ เสีย ท่านก็จะลงมือซ่อมแซมเอง ไม่ว่าจะเป็น นาฬิกา วิทยุ เครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ จึงเป็นที่รู้กันดีว่างานอดิเรกของท่านคือ การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้นั่นเอง

    ท่านเจ้าคุณฯ เป็นผู้สมถะอย่างยิ่ง มักน้อย หลีกเลี่ยงสิ่งของฟุ่มเฟือยทุกชนิด สมดังที่ท่านมักแสดงธรรมในเรื่องความสันโดษในวัตถุ แต่ไม่ถือสันโดษในกุศลธรรม และสิ่งที่เห็นได้เกือบทุกพื้นที่ภายในกุฏิของท่านเจ้าคุณฯ คือ หนังสือและชั้นเก็บหนังสือ จึงเป็นแบบอย่างของพระสงฆ์ ทั้งในเรื่องความเป็นอยู่ง่าย และการไม่รบกวนใคร

    ตลอดชีวิตของพระมหาประยุทธ์ แม้จะเผชิญเรื่องราวต่างๆ มากมายแต่ไม่เคยเลยสักครั้งที่ศิษย์หรือคนใกล้ชิดจะพบว่าท่านกำลังโกรธเคือง หงุดหงิด รำคาญใจ แม้แต่อาการเจ็บป่วยที่เป็นอุปสรรคในการทำงาน ก็ไม่อาจทำให้ท่านแสดงอาการใดๆ ออกมาให้เห็น ซึ่งท่านเจ้าคุณฯ กล่าวว่า "อาตมาเป็นประเภทหนักเหตุผล พิจารณาที่เหตุ และผล ไม่ใช้อารมณ์ตัดสินปัญหา ทุกข์เป็นสิ่งเรารู้ทันแล้วก็หาทางแก้ เราจะก้าวไปสู่จุดหมาย คือมีความสุขเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความสุขที่มากขึ้นเรื่อยๆ นั้นเป็นเพราะทุกข์น้อยลง จนกระทั่งไม่มีทุกข์เหลือเลย เพราะอาตมามีความคิดนี้อยู่ในใจตลอดเวลา คือทำอะไรต้องทำให้สำเร็จ มีอุปสรรคอะไรก็ต้องพยายามเอาชนะให้ได้ แล้วเวลาทำอะไรก็ต้องพยายามทำให้ดีที่สุด" ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่านใจสงบเย็นปกติสม่ำเสมอ

    และในที่สุดหลังจากจำพรรษาที่วัดพระพิเรนทร์มายาวนานร่วม 40 พรรษา ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของท่าน ทำให้สุขภาพเสื่อมทรุด ท่านจึงต้องย้ายไปพักฟื้นฟูสุขภาพอยู่ในที่ศาลากลางสระ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ที่ญาติโยมสร้างถวายถึง 3 ปี ในห้วงเวลานั้นหลายคนอาสาพาท่านไปดูที่ดินใหม่ ที่จะถวายให้ใช้สร้างวัด กระทั่งมาพบที่ดิน 11 ไร่ ด้านหลังพุทธมณฑล ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่ดี สงบร่มรื่น และเหมาะสมที่จะเป็นสัปปายะ สำหรับการพำนักอาศัยของท่านในบั้นปลาย ญาติโยมจึงบริจาคซื้อที่ดินเพื่อสร้างวัดขึ้น จนกระทั่งได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ตั้งเป็นวัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2531 มีชื่อว่า "วัดญาณเวศกวัน" หมายความว่า ป่าแห่งความรู้ หรือป่าของผู้เข้าสู่ญาณ

    การถือกำเนิดแห่งปราชญ์แท้ๆ แม้เพียงสักคนในท่ามกลางยุคสมัยอันแห้งแล้งประหลาดพิกลเช่นนี้ จักก่อให้เกิดความหวังใหม่ๆ ในความเข้าใจในทางสติปัญญาขึ้น ในชุมชนชาวพุทธ และโดยเฉพาะคณะสงฆ์







    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก TV บูรพา
    [​IMG]



    [​IMG]

    นิตยสาร ฅ คน ฉบับที่ 38 เดือนธันวาคม พ.ศ.2551


    แนะนำเนื้อหาในนิตยสาร ฅ คน ฉบับที่ 38 เดือนธันวาคม พ.ศ.2551



    [​IMG] เรื่องจากปกวิถีแห่งปราชญ์แท้
    ทุกข์สำหรับเห็น สุขสำหรับเป็น นี่คือแก่นสาระแห่งพระพุทธศาสนาที่สอนเรื่องการมีชีวิต และสิ่งนี้เองที่ปรากฏให้เห็นอย่างแจ่มชัดในวิถีแห่งปราชญ์ ปราชญ์แท้ๆ ผู้ทำให้ธรรมะปรากฏเป็นรูปธรรมได้ในทุกอิริยาบถ ​

    [​IMG] พุทธธรรม: สี่ทศวรรษแห่งองค์ปัญญาร่วมสมัย
    ชีวิตคืออะไร พุทธศาสนามีคำตอบให้กับคำถามสากลนี้อย่างชัดเจนมานานกว่าสองพันห้าร้อยปี คำตอบนี้ถูกบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก ที่คนร่วมสมัยมีโอกาสเข้าถึงได้ด้วยหนังสือสำคัญที่สุดของโลกเล่มนี้ ​

    [​IMG] มองโลกอย่างปราชญ์
    ในบรรดาผลงานทั้ง 327 เรื่อง ของท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ที่ถูกตีพิมพ์เป็นเล่ม ได้ฝ่าข้ามพรมแดนความรู้เฉพาะสาขาต่างๆ เท่าที่มีอยู่ และเปิดสอนกันในโลกร่วมสมัย ไปสู่ความรู้ทั่วตลอดอันเปิดกว้าง และอิสระ ​

    [​IMG] คนกับวิถี ศรีประจันต์ ชาติภูมิสถาน
    หมู่เรือนแถวริมน้ำอันเป็นตลาดเก่าโบราณ ที่นี่ คือ นิวาสสถานของครอบครัวอารยางกูร ที่ซึ่งเด็กชายคนหนึ่งถือกำเนิดขึ้นมา จวบจนปัจจุบัน ชีวิตและวิถีของผู้คนยังดำเนินอยู่เช่นเมื่อศตวรรษก่อน ​

    [​IMG] ของฝากนักอยากเขียน แดนอรัญ แสงทอง
    เปรียบตนเองเป็นผลไม้ลูกที่สุกช้า ใช้ชีวิตที่ผิดพลาด โง่เขลา มานาน กว่าจะรู้ซึ้งถึงโลกโลกุตร แต่หากชีวิตเขามิได้เป็นเช่นนี้ ก็คงไม่มี เงาสีขาว ​
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เปิดรายละเอียดเทียบตำแหน่งข้าราชการใหม่แทน "ระบบซี" จากระดับซี 1 สุดถึงระดับซี 11
    http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1229252815&grpid=10&catid=02


    หลังจากที่ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้เต็มรูป มีผลในการยกเลิกระบบ"ซี" จึงต้องมีการออกกฎ ก.พ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. 2551 เพื่อจัดระดับตำแหน่งเดิมให้เป็นไปตามตำแหน่งใหม่ 4 ประเภท คือ บริหาร อำนวยการ วิชาการ และทั่วไปซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

    <STYLE> P { margin: 0px; } </STYLE>
    ตำแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ


    (1) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้


    (ก) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งตาม (2) (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ)
    (ข) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
    (ค) อัครราชทูตที่เป็นรองหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต รองหัวหน้าคณะผู้แทนถาวร แห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ รองหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การ การค้าโลก และหัวหน้าสถานกงสุลใหญ่
    (ง) รองหัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี ได้แก่ รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รองเลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รองผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ และรองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
    (จ) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น


    (2) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้


    (ก) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ ปลัดกระทรวง และปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี
    (ข) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
    (ค) ผู้ว่าราชการจังหวัด
    (ง) เอกอัครราชทูตที่เป็นหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต หัวหน้าคณะผู้แทนถาวร แห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง
    (จ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง และรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
    (ฉ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี และ อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ รองผู้อำนวยการ สำนักงบประมาณ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ และรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
    (ช) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่ รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
    (ซ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรง ต่อรัฐมนตรี ได้แก่ รองเลขาธิการสภาการศึกษา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
    (ฌ) หัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือ ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ และเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
    (ญ) ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง
    (ฎ) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง


    ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มี 2 ระดับ


    (1) ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ได้แก่ ตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก ดังต่อไปนี้


    (ก) หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรมซึ่งแบ่งส่วนราชการภายในกรมในราชการบริหารส่วนกลางตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
    (ข) หัวหน้าสำนักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
    (ค) นายอำเภอ
    (ง) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น


    (2) ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ได้แก่ ตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ ดังต่อไปนี้


    (ก) หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรมซึ่งแบ่งส่วนราชการภายในกรมในราชการบริหารส่วนกลางตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
    (ข) หัวหน้าสำนักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
    (ค) นายอำเภอ
    (ง) ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
    (จ) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง


    ตำแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ


    (1) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ได้แก่ ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น โดยใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ


    (2) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้


    (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงในงานวิชาการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก
    (ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของ ผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงในงานวิชาการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก


    (3) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้


    (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหา ที่ยากมาก
    (ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของ ผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมาก ในงานวิชาการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก


    (4) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ได้แก่ ตำแหน่งที่ต้องดำเนินการศึกษา วิจัย สั่งสมความรู้หรือผลการศึกษาวิจัยในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้มีการค้นคว้าอ้างอิงต่อไปได้ และสอน ฝึกอบรม หรือเผยแพร่ความรู้ในระดับกรม ดังต่อไปนี้


    (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมาก และมีผลกระทบในวงกว้าง
    (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง หรือกรม ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมาก และมีผลกระทบในวงกว้าง


    (5) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ตำแหน่งที่ต้องดำเนินการศึกษา วิจัย สั่งสมความรู้หรือผลการศึกษาวิจัยในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้มีการค้นคว้าอ้างอิงต่อไปได้ และสอน ฝึกอบรม หรือเผยแพร่ความรู้ในระดับกระทรวง และระดับชาติ ดังต่อไปนี้


    (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากเป็นพิเศษ และมีผลกระทบในวงกว้างระดับนโยบายกระทรวงหรือระดับชาติ
    (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง ซึ่งมี ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถ เป็นที่ยอมรับ ในระดับชาติ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากเป็นพิเศษ และมีผลกระทบในวงกว้างระดับนโยบายกระทรวงหรือระดับชาติ


    ตำแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ ดังต่อไปนี้


    (1) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ได้แก่ ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งปฏิบัติงานตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ


    (2) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้


    (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงาน ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยาก
    (ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของ ผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงาน ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยาก


    (3) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้


    (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานค่อนข้างสูง ในงานเทคนิคเฉพาะด้าน หรืองานที่ใช้ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัว ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่ค่อนข้างยากมาก
    (ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของ ผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานค่อนข้างสูง มีงานในความรับผิดชอบที่หลากหลาย ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่ค่อนข้างยากมาก


    (4) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ได้แก่ ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มี ทักษะพิเศษเฉพาะตัว โดยมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ ในความสามารถ ในงานที่ใช้ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัวสูงมาก ปฏิบัตงานที่ต้องคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเองและเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ


     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เผยเงินประจำตำแหน่ง ขรก.ระบบใหม่ทุกระดับ 7 อัตราตั้งแต่ 3,500-21,000 บาท มีผลบังคับใช้ทันที
    http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1229001059&grpid=10&catid=01


    ประกาศใช้กฎ ก.พ.ว่า เงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนระบบใหม่กว่า 3 แสนคนทุกระดับ มี 7 อัตรา ตั้งแต่3,500 -21,000 บาท ประเภททั่วไปได้รับ ได้รับ 4 สาขา ช่างศิลปกรรม -นาฏศิลป์ -ดุริยางคศิลป์ -คีตศิลป์ ประเภทวิชาการมีนับร้อยสายงาน

    <STYLE> P { margin: 0px; } </STYLE>(คลิกอ่าน ก.พ.เผยเงินเดือนใหม่ เม.ย.52 ลุ้นขึ้นปีละ 8-12% เปิดบัญชีลำดับ "แท่ง" ข้าราชการใช้แทน "ระบบซี" )


    ผู้สื่อข่าว"มติชนออนไลน์"รายงานเมื่อวันที่ 11 ธันวาคมถึงความคืบหน้ากรณี พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กำหนดการกำหนดตำแหน่งข้าราชการใหม่เป็น 4 ประเภทคือบริหาร อำนวยการ วิชาการและทั่วไปโดยยกเลิกระบบ"ซี"ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคมเป็นต้นไปว่า คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.)ได้ออกกฎ ก.พ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551ให้มีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันโดยให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้


    ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานตามบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ ก.พ. นี้ในตำแหน่งประเภทใด ระดับใด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญในอัตรา ดังนี้


    (1) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 10,000 บาท(รองอธิบดีหรือเทียบเท่า ซี 9 เดิม)


    (2) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 14,500 บาท(อธิบดีหรือเทียบเท่า ซี 10 เดิม)


    (ก) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการ(ที่มีระดับเทียบเท่าปลัดกระทรวงหรือซี 11 เดิม)


    (ข) ผู้ว่าราชการจังหวัด



    (ค) เอกอัครราชทูตที่เป็นหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต หัวหน้าคณะผู้แทนถาวร แห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง


    (ง) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง และ รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี


    (จ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี และอยู่ใน บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ รองผู้อำนวยการ สำนักงบประมาณ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ และรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ


    (ฉ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่ รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ


    (ช) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรง ต่อรัฐมนตรี ได้แก่ รองเลขาธิการสภาการศึกษา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา


    (ซ) หัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือ ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ และเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ


    (ฌ) ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง


    (ญ) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.พ. กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้



    (3) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 21,000 บาท


    (ก) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ ปลัดกระทรวง และปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี


    (ข) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี และอยู่ในบังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ


    (ค) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

    (ง) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี ได้แก่ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา


    (จ) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.พ. กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้


    (4) ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 5,600 บาท


    (5) ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา10,000 บาท


    (6) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 3,500 บาท มี 26 สายงาน


    (7) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 5,600 บาท มี 26 สายงาน


    (8) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 9,900 บาท มี123 สายงาน


    (9) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 13,000 บาท มี42 สายงาน


    (10) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 15,600 บาท มี 42 สายงาน


    (11) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 9,900 บาท มี 4 สายงาน ได้แก่ 1. สายงานปฏิบัติงานช่างศิลปกรรม 2. สายงานนาฏศิลป์ 3. สายงานดุริยางคศิลป์ และ4. สายงานคีตศิลป์


     

แชร์หน้านี้

Loading...