พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. สำรวจโลก

    สำรวจโลก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    553
    ค่าพลัง:
    +579
    จิตเห็นจิต
    จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ...
    มรดกธรรมจากอริยสัจจ์แห่งจิต หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    ยังคงไพเราะและกังวาลอยู่ในใจเสมอมา
    แต่คงยากยิ่งนักที่จิตอันโง่เขลานี้จะเข้าใจได้ว่าจิตเห็นจิต
    เป็นเช่นไร หากมิได้ผ่านการสั่งสอน

    บ่มเพาะการ ดูจิตด้วยความเมตตาอย่างล้นเหลือ

    ด้วยคำแล้วคำเล่าจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    ด้วยคำแล้วคำเล่าที่หลวงพ่อเมตตาชี้ให้เห็นว่า
    O O เผลอไปแล้วนะ
    O O เพ่งไปแล้วนะ

    O O ให้รู้สิ่งที่ปรากฏด้วยจิตที่เป็นกลาง
    และอีกมากมายหลากหลายสภาวธรรม

    ที่หลวงพ่อเมตตาชี้ให้ดูตลอดเวลา ๘ ปีที่ผ่านมา
    แม้วันนี้จะแค่เพิ่งเข้าใจได้บ้างว่า จิตเห็นจิต เป็นเช่นไร แม้วันนี้ จิตจะยังไม่เห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง
    แม้วันนี้ยังต้องพากเพียรหัดดูจิตไปจนกว่า
    จิตได้เห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง ในวันข้างหน้าก็ตาม
    แต่ก็ขอจดบันทึกดูจิตตอนนี้เอาไว้ เพื่อเตือนความจำว่า

    จิตเห็นจิต นั้นเห็นได้อย่างไร
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2008
  2. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ตอนนี้อยู่เพชรบุรีครับ อ่าไปนิมนต์พระพิมพ์สมเด็จเจ้าฟ้าพิมพ์เล็กรวมเจ็ดองค์พระประจำวันครับ หุ หุ
     
  3. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    อื๋ย.....เกือบไป ไม่ใช่ผมนาครับ เป็นท่านลุงข้างบ้านนะครับ หุ หุ
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ยินดีด้วยครับ
    อย่าลืม ยืมมาชมกันด้วยนะครับ ในวันที่นัดพบกันครับ

    .
     
  5. Shinray01

    Shinray01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,675
    ค่าพลัง:
    +2,309
    สัจธรรมของคลื่นในสภาวธรรมทั้ง ๓ ประการนั้น ๓ ประการคือ ๑. อนิจจัง ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ๒. ทุกขัง ความแปรปรวนไม่สามารถคงทนอยู่ในสภาวะเดิมได้ ๓. อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตนเพราะไม่ได้อยู่ในอำนาจการบังคับบัญชาของเราได้เมื่อเราศึกษาสัจธรรม ๓ ประการนี้ จนขึ้นใจชัดเจนแล้วเราก็จะดำเนินการปฏิบัติในลำดับต่อไป เราจะต้องย้อนกลับไปดู ผู้ดู คือ
     
  6. Shinray01

    Shinray01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,675
    ค่าพลัง:
    +2,309
    อาจจะอ่านลำบากหน่อยเนื่องจากคอมยังมีปัญหาเว้นบรรทัดอะไรไม่ได้เดี่ยวจะหาทางแก้ปัญหาคอมนะครับ
    ชีวิตคนเราก็เหมือนคื่ลนมีเกิดก็ต้องมีดับเป็นไปตามวัฏจักรแห่งสังขารไปเรื่อยจนกว่าเราจะลุถึงสัจธรรมมรรคผลนิพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2008
  7. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    จะลงเป็นอันดับแรกเอาฤกษ์ซะหน่อย สุดหล่อของผมมาขอเล่นเกมส์อีกแล้ว เดี๋ยวต้องหาเวลาย่องมาใหม่
    ;aa24
     
  8. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    หุหุ นึกว่าคุณ nongnooo จะเริ่มมีกับเขาบ้าง ที่แท้ก็ท่านลุงนี่เอง หุหุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2008
  9. Shinray01

    Shinray01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,675
    ค่าพลัง:
    +2,309
    ชีวิตลาภยศเงินทองคนเราก็เหมือนดาวที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าที่ส่องแสงสว่างผู้คนที่อยู่ข้างล่างมองดูแล้วว่าดีสวยงามยกย่องเชิดชูแต่เมื่อถึงคราวก็ตกลงมาข้างล่างแสงสว่างที่เคยเจิดจ้าย่อมดับตกลงมาเป็นแค่ก้อนดินไปเปรียบได้ว่าคนเกิดมารวยมีเกียรติลาภยศสรรเสริญเมื่อถึงคราวว่าสักวันก็ต้องเสื่อมลาภยศเมื่อถึงคราวตายก็ไม่ต่างอะไรจากคนอื่นที่ร่างกายเน่าเปื่อยเป็นแค่เศษดินธรรมดาที่คนเหยียบย้ำ
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    การตัดสิน สามารถตัดสินว่า ไม่มีใครสมควรได้ ก็ได้นะครับ

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมมีกิจกรรมมาให้สมาชิกชาววังหน้า และสมาชิกชมรมพระวังหน้าอีกแล้วครับ

    จากรูป

    [​IMG]

    เมื่อเห็นรูปนี้แล้ว มีความคิดเห็นอย่างไร (ให้อธิบายความคิดเห็น ,ความรู้สึก ที่มีต่อรูปนี้) เมื่ออธิบายความคิดเห็นและความรู้สึกแล้ว ให้นำธรรมะ (หากมีการแจ้งว่า เป็นพระสูตร หรือ ธรรมะบทไหนในพระไตรปิฎกมาลงด้วย ยิ่งเป็นการดี) มาอธิบายให้สอดคล้องกับความคิดเห็นและความรู้สึกที่ได้โพสก่อนหน้านี้

    ผมมีรางวัลให้ 2 รางวัลก็คือ
    รางวัลที่ 1 พระพิมพ์หลวงปู่ บุเงิน 1 องค์ ,บุนาค 1 องค์
    รางวัลที่ 2 ลูกสะกด (ลงรัก) 2 ลูก

    การให้คะแนน
    ผมจะแบ่งคะแนน ออกเป็น 2 ส่วน แต่คะแนนท่านที่จะได้รับพระพิมพ์หรือวัตถุมงคลทั้ง 2 รางวัล ต้องมีคะแนนของทั้งสองส่วน คือ
    1.ผมตัดสิน 50 %
    2.ผมขอให้สมาชิกชาววังหน้า และสมาชิกชมรมพระวังหน้า โหวตโพสของท่านที่เข้าร่วมกิจกรรม อีก 50 %
    (โดยให้โหวตเพียง 2 ท่าน หากโหวตท่านใดเป็นอันดับ 1 ให้ลงเป็นชื่อแรก และหากโหวตท่านใดเป็นอันดับ 2 ให้ลงเป็นชื่อที่ 2 เช่น
    1.คุณเพชร (อันดับ 1)
    2.คุณnongnooo (อันดับ 2)
    แต่สำหรับการโหวตครั้งนี้ ผมไม่มีพระพิมพ์และหรือวัตถุมงคลมอบให้นะครับ)
    การตัดสิน สามารถตัดสินว่า ไม่มีใครสมควรได้ ก็ได้นะครับ


    ผมให้เริ่มการอธิบายความคิดเห็น,ความรู้สึกต่อรูปดังกล่าว พร้อมทั้งอธิบายธรรมะที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็น,ความรู้สึกต่อรูปดังกล่าว นี้ตั้งแต่วันนี้ (16 พฤศจิกายน 2551) เวลาประมาณ 17.00 น.

    สิ้นสุดการอธิบายความคิดเห็น,ความรู้สึกต่อรูปดังกล่าว พร้อมทั้งอธิบายธรรมะที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็น,ความรู้สึกต่อรูปดังกล่าว ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา 18.00 น.

    หลังจาก(วันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา 18.00 น.)นั้น ผมขอให้สมาชิกชาววังหน้า และสมาชิกชมรมพระวังหน้า โหวตโพสของท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 2 ท่าน สิ้นสุดการโหวต วันที่ 21 พฤศจิกายน 2551 เวลา 18.00 น.

    เวลานั้น ขอให้ใช้เวลาในเว็บพลังจิตเป็นเวลาที่ผมระบุ

    การโพสทั้งการอธิบายความคิดเห็นและความรู้สึก และการโหวต สามารถโพสได้ในกระทู้ใด กระทู้หนึ่งก็ได้ หรือทั้งสามกระทู้ก็ได้
    ( กระทู้ พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้..... จากเว็บพลังจิต หมวดพระเครื่องและวัตถุมงคล
    กระทู้ "พระวังหน้า ที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้....." จากเว็บอกาลิโก หมวด 108 โทรโข่ง
    และชมรม พระวังหน้า )

    ขอขอบคุณทุกๆท่านที่เข้าร่วมกิจกรรม ขอให้โชคดีทุกๆท่านครับ
    อย่าลืม อ่านให้ละเอียดนะครับ และกิจกรรมครั้งนี้ ผมถือว่าค่อนข้างยาก ทำการบ้านให้ละเอียดนะครับ

    โมทนาสาธุครับ
     
  12. Shinray01

    Shinray01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,675
    ค่าพลัง:
    +2,309
    อันนี้ก็ไม่เป็นไรครับกิจกรรมครั้งนี้ธรรมคือธรรมชาติหากเราพิจารณาธรรมชาติตรงกับคำสอนหลวงปู่มั่นว่าหากพิจารณาธรรมะย่อมมีอยู่ทุกย่อมหญ้าและพุทธทาสภิกขุธรรมเกิดจากต้นไม้พูดหินสอนทำให้ผมได้พิจารณาธรรมจากธรรมชาติรอบๆๆตัวแล้วนำไปใช้ในชีวิตเวลาเจอปัญหา
     
  13. Shinray01

    Shinray01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,675
    ค่าพลัง:
    +2,309
    ผมดูภาพก็รู้สึกว่าตอนเช้ามีดวงอาทิตย์มีแสงสว่างตกกลางคืนก็มีดวงดาวท่ามกลางความมืดมิดชีวิตคนเรามีทั้งด้านมืดแล้วสว่างมีสุขแล้วทุกข์แต่ถ้าเราทุกข์ดวงดาวเปรียบดั่งปัญญาที่จะเป็นแสงสว่างนำทางและแก้ไขผ่าฝันปัญหาต่างท่ามกลางความมืดมิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2008
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    น่าจะทำการบ้านมาใหม่ครับ

    .
     
  15. Shinray01

    Shinray01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,675
    ค่าพลัง:
    +2,309
    ผมว่าจะดูแล้วพิจารณาไปเรื่อยอาจจะได้เห็นความคิดดีๆก็ได้นะครับ อิอิสู้สู้
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมมีกิจกรรมมาให้สมาชิกชาววังหน้า และสมาชิกชมรมพระวังหน้าอีกแล้วครับ

    จากรูป

    [​IMG]

    เมื่อเห็นรูปนี้แล้ว มีความคิดเห็นอย่างไร (ให้อธิบายความคิดเห็น ,ความรู้สึก ที่มีต่อรูปนี้) เมื่ออธิบายความคิดเห็นและความรู้สึกแล้ว ให้นำธรรมะ (หากมีการแจ้งว่า เป็นพระสูตร หรือ ธรรมะบทไหนในพระไตรปิฎกมาลงด้วย ยิ่งเป็นการดี) มาอธิบายให้สอดคล้องกับความคิดเห็นและความรู้สึกที่ได้โพสก่อนหน้านี้

    ผมมีรางวัลให้ 2 รางวัลก็คือ
    รางวัลที่ 1 พระพิมพ์หลวงปู่ บุเงิน 1 องค์ ,บุนาค 1 องค์
    รางวัลที่ 2 ลูกสะกด (ลงรัก) 2 ลูก

    การให้คะแนน
    ผมจะแบ่งคะแนน ออกเป็น 2 ส่วน แต่คะแนนท่านที่จะได้รับพระพิมพ์หรือวัตถุมงคลทั้ง 2 รางวัล ต้องมีคะแนนของทั้งสองส่วน คือ
    1.ผมตัดสิน 50 %
    2.ผมขอให้สมาชิกชาววังหน้า และสมาชิกชมรมพระวังหน้า โหวตโพสของท่านที่เข้าร่วมกิจกรรม อีก 50 %
    (โดยให้โหวตเพียง 2 ท่าน หากโหวตท่านใดเป็นอันดับ 1 ให้ลงเป็นชื่อแรก และหากโหวตท่านใดเป็นอันดับ 2 ให้ลงเป็นชื่อที่ 2 เช่น
    1.คุณเพชร (อันดับ 1)
    2.คุณnongnooo (อันดับ 2)
    แต่สำหรับการโหวตครั้งนี้ ผมไม่มีพระพิมพ์และหรือวัตถุมงคลมอบให้นะครับ)
    การตัดสิน สามารถตัดสินว่า ไม่มีใครสมควรได้ ก็ได้นะครับ


    ผมให้เริ่มการอธิบายความคิดเห็น,ความรู้สึกต่อรูปดังกล่าว พร้อมทั้งอธิบายธรรมะที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็น,ความรู้สึกต่อรูปดังกล่าว นี้ตั้งแต่วันนี้ (16 พฤศจิกายน 2551) เวลาประมาณ 17.00 น.

    สิ้นสุดการอธิบายความคิดเห็น,ความรู้สึกต่อรูปดังกล่าว พร้อมทั้งอธิบายธรรมะที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็น,ความรู้สึกต่อรูปดังกล่าว ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา 18.00 น.

    หลังจาก(วันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา 18.00 น.)นั้น ผมขอให้สมาชิกชาววังหน้า และสมาชิกชมรมพระวังหน้า โหวตโพสของท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 2 ท่าน สิ้นสุดการโหวต วันที่ 21 พฤศจิกายน 2551 เวลา 18.00 น.

    เวลานั้น ขอให้ใช้เวลาในเว็บพลังจิตเป็นเวลาที่ผมระบุ

    การโพสทั้งการอธิบายความคิดเห็นและความรู้สึก และการโหวต สามารถโพสได้ในกระทู้ใด กระทู้หนึ่งก็ได้ หรือทั้งสามกระทู้ก็ได้
    ( กระทู้ พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้..... จากเว็บพลังจิต หมวดพระเครื่องและวัตถุมงคล
    กระทู้ "พระวังหน้า ที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้....." จากเว็บอกาลิโก หมวด 108 โทรโข่ง
    และชมรม พระวังหน้า )

    ขอขอบคุณทุกๆท่านที่เข้าร่วมกิจกรรม ขอให้โชคดีทุกๆท่านครับ
    อย่าลืม อ่านให้ละเอียดนะครับ และกิจกรรมครั้งนี้ ผมถือว่าค่อนข้างยาก ทำการบ้านให้ละเอียดนะครับ
    http://palungjit.org/showthread.php?t=22445&page=1220
    โมทนาสาธุครับ
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  17. Shinray01

    Shinray01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,675
    ค่าพลัง:
    +2,309
    ขอบพระคุณพี่สิทธิพงามากเลยนะครับที่มีกิจกรรมดีมาให้ร่วมขอตัวไปอ่านหนังสือนะครับวันจันทร์สอบฟิสิกส์
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE id=table1 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD width="48%">
    คนขยันย่อมไม่พร่าประโยชน์ชั่วตามกาล
    </TD><TD width="3%"> </TD><TD width="48%">กาลาคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ
    ขุ,ชา,ฉกฺก. ๒๗/๑๙๕
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD>
    คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
    </TD><TD> </TD><TD>วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ
    ขุ.สุ. ๒๕/๓๖๑
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD>
    คนมีธุระหมั่นทำการงานให้เหมาะเจาะ ย่อมหาทรัพย์ได้
    </TD><TD> </TD><TD>ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ
    ขุ.สุ. ๒๕/๓๖๑
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD>
    ประโยชน์ย่อมไม่สำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยเบื่อหน่าย
    </TD><TD> </TD><TD>น นิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ
    ขุ.ชา.จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๓๓
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD> </TD><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR vAlign=top><TD>
    คนที่ผลัดวันประกันพรุ่งย่อมเสื่อม ยิ่งว่ามะรืนนี้ยิ่งเสื่อม
    </TD><TD> </TD><TD>หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ
    ขุ.ชา.วีส. ๒๗/๔๖๖
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD> </TD><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR vAlign=top><TD>
    ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด ย่อมตั้งตนได้ด้วยต้นทุนแม้น้อย
    เหมือนคนก่อไฟน้อยขึ้นฉะนั้น
    </TD><TD> </TD><TD>อปฺปเกนปิ เมธาวี ปาภเฏน วิจกฺขโณ
    สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ อณุ ํ อคคึว สนฺธมํ
    ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๒
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD> </TD><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR vAlign=top><TD>
    ผู้ขยันในหน้าที่การงาน ไม่ประมาท
    เข้าใจเลี้ยงชีพพอสมควร จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้
    </TD><TD> </TD><TD>อฏฺฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ อบฺปมตฺโต วิธานวา
    สมํ กปฺเปติ ชีวิตํ สมภตํ อนุรกฺขติ
    อง.อฏฺฐก. ๒๓/๒๙๘
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD> </TD><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR vAlign=top><TD>
    ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
    ส่วนผู้ปรารภความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวก็ประเสริฐกว่า
    </TD><TD> </TD><TD>โย จ วสฺสสตํ ชีเว กุสีโต หีนวีริโย
    เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย วิริยํ อารภโต ทฬฺหํ
    ขุ.ธ. ๒๕/๓๐
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD> </TD><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR vAlign=top><TD>
    ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย และเห็นการปรารภความเพียร
    เป็นความปลอดภัย แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี.
    </TD><TD> </TD><TD>โกสชฺชํ ภยโต ทิสฺวา วิริยารมฺภญฺจ เขมโต
    อารทฺธวิริยา โหถ เอสา พุทฺธานุสาสนี.
    ขุ. จริยา. ๓๓/๕๙๕.
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD> </TD><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR vAlign=top><TD>
    ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก
    ผู้มีปกติเพ่งพิเนิจดำเนินไปแล้ว จักพ้นจากเครื่องผูกของมาร.
    </TD><TD> </TD><TD>ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ ฌายิโน มารพนฺธนา.
    ขุ. ธ. ๒๕/๕๑.
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD> </TD><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR vAlign=top><TD>
    อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์ เพราะขับไล่ความหลับ ความเกียจคร้าน
    ความบิดขี้เกียจ ความไม่ยินดี และความเมาอาหารนั้นได้ด้วยความเพียร.
    </TD><TD> </TD><TD>นิทฺทํ ตนฺทึ วิชิมฺหิตํ อรตึ ภตฺตสมฺมทํ
    วิริเยน นํ ปณาเมตฺวา อริยมคฺโค วิสชฺฌติ.
    สํ. ส. ๑๕/๑๐.
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD> </TD><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR vAlign=top><TD>
    ผู้ใดเกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
    แต่ผู้ปรารภความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้นั้น.
    </TD><TD> </TD><TD>โย จ วสฺสสตํ ชีเว กุสีโต หีนวีริโย
    เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย วิริยํ อารภโต ทฬฺหํ.
    ขุ. ธ. ๒๕/๓๐.
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD> </TD><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR vAlign=top><TD>
    ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว
    ปรารภความเพียรตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก
    </TD><TD> </TD><TD>สพฺพทา สีลสมฺปนฺโน ปญฺญวา สุสมาหิโต
    อารทฺธวิริโย ปหิตตฺโต โอฆํ ตรติ ทุตฺตรํ
    สํ.ส. ๑๒/๗๔
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ความเพียร
    http://www.tipitaka.com/peern.htm

    (1) เล่มที่ ๒๐
    [๒๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงคุณของธรรม ๒ อย่าง คือ
    ความเป็นผู้ไม่สันโดษในกุศลธรรม ๑
    ความเป็นผู้ไม่ย่อหย่อนในความเพียร ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เราเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่บุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเสีย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพธิญาณอันเรานั้นได้บรรลุแล้วด้วยความไม่ประมาท ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม อันเรานั้นได้บรรลุแล้วด้วยความไม่ประมาท
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้เธอทั้งหลายจะพึงเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่บุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเสีย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตต้องการนั้น ด้วยความรู้ยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ต่อกาลไม่นานเลย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จักเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่บุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเสีย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
    <HR width="100%">
    • (2) ๙. นาวาสูตร ว่าด้วยการสิ้นและไม่สิ้นไปแห่งอาสวะ
      เล่มที่ ๑๗
      [๒๖๐] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ เราไม่กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของผู้ไม่รู้ ไม่เห็น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่อย่างไร จึงมีความสิ้นแห่งอาสวะ. เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ว่ารูปดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปดังนี้ ความดับแห่งรูปดังนี้ เวทนาดังนี้ ... สัญญาดังนี้ ... สังขารดังนี้ ... วิญญาณ ดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณดังนี้ จึงมีความสิ้นไปแห่งอาสวะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงมีความสิ้นไปแห่งอาสวะ.

      [๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่ประกอบภาวนานุโยคอยู่ จะพึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ขอจิตของเราพึงพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้ ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น จิตของเธอย่อมไม่พ้นไปจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้เลย. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า เพราะเธอไม่อบรม เพราะไม่อบรมอะไร เพราะไม่อบรมสติปัฏฐาน ๔ เพราะไม่อบรมสัมมัปปธาน ๔ เพราะไม่อบรมอิทธิบาท ๔ เพราะไม่อบรมอินทรีย์ ๕ เพราะไม่อบรมพละ ๕ เพราะไม่อบรมโพชฌงค์ ๗ เพราะไม่อบรมอริยมรรคมีองค์ ๘. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้นพึงเป็นของอันแม่ไก่ไม่นอนทับด้วยดี ไม่กกด้วยดี ไม่ฟักด้วยดี แม่ไก่นั้นถึงจะเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ขอลูกของเราพึงทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปากออกมาโดยความสวัสดี ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ลูกไก่เหล่านั้นก็ไม่สามารถจะทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยความสวัสดีได้. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ทั้งนี้เพราะไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟองนั้น อันแม่ไก่ไม่นอนทับด้วยดี ไม่กกด้วยดี ไม่ฟักด้วยดี แม้ฉันใด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่ประกอบภาวนานุโยคอยู่ ฉันนั้นเหมือนกันแล ถึงจะเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ขอจิตของเราพึงพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น จิตของเธอย่อมไม่พ้นไปจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้เลย. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า เพราะเธอไม่อบรม เพราะเธอไม่อบรมอะไร เพราะไม่อบรมสติปัฏฐาน ๔ เพราะไม่อบรมสัมมัปปธาน ๔ เพราะไม่อบรมอิทธิบาท ๔ เพราะไม่อบรมอินทรีย์ ๕ เพราะไม่อบรมพละ ๕ เพราะไม่อบรมโพชฌงค์ ๗ เพราะไม่อบรมอริยมรรคมีองค์๘. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุประกอบภาวนานุโยคอยู่ ถึงจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ขอจิตของเราพึงพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น จิตย่อมพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า เพราะเธออบรม เพราะอบรมอะไร เพราะอบรมสติปัฏฐาน ๔ เพราะอบรมสัมมัปปธาน๔ เพราะอบรมอิทธิบาท ๔ เพราะอบรมอินทรีย์ ๕ เพราะอบรมพละ ๕ เพราะอบรมโพชฌงค์ ๗ เพราะอบรมอริยมรรคมีองค์๘. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้นอันแม่ไก่นอนทับด้วยดี กกด้วยดี ฟักด้วยดี แม่ไก่นั้นถึงจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ขอลูกของเราพึงทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีดังนี้ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น ลูกไก่เหล่านั้นสามารถทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดี. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ทั้งนี้ เพราะไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟองนั้น อันแม่ไก่นอนทับด้วยดี กกด้วยดี ฟักด้วยดี แม้ฉันใด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุประกอบภาวนานุโยคอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ถึงจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ขอจิตของเราพึงพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้ ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น จิตของเธอย่อมพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า เพราะว่าเธออบรม เพราะอบรมอะไร เพราะอบรมสติปัฏฐาน ๔ เพราะอบรมสัมมัปปธาน๔ เพราะอบรมอิทธิบาท ๔ เพราะอบรมอินทรีย์ ๕ เพราะอบรมพละ ๕ เพราะอบรมโพชฌงค์ ๗ เพราะอบรมอริยมรรคมีองค์๘.

      [๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รอยนิ้วมือย่อมปรากฏ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือย่อมปรากฏที่ด้ามมีดของนายช่างไม้ หรือลูกมือของนายช่างไม้ แต่นายช่างไม้หรือลูกมือของนายช่างไม้นั้น หารู้ไม่ว่าวันนี้ด้ามมีดของเราสึกไปประมาณเท่านี้ วานนี้สึกไปประมาณเท่านี้ วันก่อนๆ สึกไปประมาณเท่านี้ นายช่างไม้หรือลูกมือของนายช่างไม้นั้น มีความรู้แต่ว่าสึกไปแล้ว โดยแท้แล แม้ฉันใด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุประกอบภาวนานุโยคอยู่ หารู้ไม่ว่า วันนี้อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้วประมาณเท่านี้ วานนี้สิ้นไปแล้วประมาณเท่านี้ หรือวันก่อนๆ สิ้นไปแล้วประมาณเท่านี้ก็จริง ถึงอย่างไรนั้น เมื่ออาสวะสิ้นไปแล้ว เธอก็มีความรู้แต่ว่าสิ้นไปแล้วๆ ฉันนั้นเหมือนกันแล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรือที่เขาผูกด้วยพรวน แล่นไปในสมุทร จมลงในน้ำสิ้น ๖ เดือน โดยเหมันตสมัย เขาเข็นขึ้นบก พรวนเหล่านั้นถูกลมและแดดกระทบแล้ว ถูกฝนตกรดแล้วย่อมผุ และเปื่อยโดยไม่ยากเลย ฉันนั้นเหมือนกันแล.
      จบสูตรที่ ๙.
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ความเพียร
    http://www.tipitaka.com/peern.htm

    (3) เล่มที่ ๑๑
    [๓๔๓] กุสีตวัตถุ ๘
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้จะต้องทำการงาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องทำการงาน ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่หนึ่ง ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุทำการงานเสร็จแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อยแล้ว ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้งนี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สอง ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อยควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สาม ฯ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดินทางไปถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สี่ ฯ
    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ ร่างกายของเรานั้นเหน็ดเหนื่อยไม่ควรแก่การงาน ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่ห้า ฯ
    ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้นเหน็ดเหนื่อย ไม่ควรแก่การงานเหมือนถั่วราชมาสที่ชุ่มน้ำ ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่หก ฯ
    ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ความสมควรเพื่อจะนอนมีอยู่ ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่เจ็ด ฯ
    ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้ได้ไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้ได้ไม่นาน ร่างกายของเรานั้นยังอ่อนแอ ไม่ควรแก่การงาน ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่แปด ฯ

    [๓๔๔] อารัพภวัตถุ ๘ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องทำการงานเธอมีความคิดอย่างนี้ว่า การงานเราจักต้องทำ เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่สะดวกที่จะใส่ใจถึงคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียรเสียก่อนที่เดียว เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่หนึ่ง ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุทำการงานเสร็จแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ เราทำการงานเสร็จแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่สามารถที่จะใส่ใจถึงคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่สอง ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ไม่สะดวกที่จะใส่ใจถึงคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำใจให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้งเธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่สาม ฯ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเดินทางไปถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ไม่สามารถที่จะใส่ใจถึงคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้-*แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่สี่ ฯ
    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการเธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ ร่างกายของเรานั้นเบาควรแก่การงาน ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่เรายังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่ห้า ฯ
    ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการเธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ ร่างกายของเรานั้นมีกำลังควรแก่การงาน ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่หก ฯ
    ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว การที่อาพาธของเราจะพึงเจริญขึ้นนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่เจ็ด ฯ
    ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้แล้วไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้แล้วไม่นาน การที่อาพาธของเราจะพึงกำเริบนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ควรที่เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่แปด ฯ
     

แชร์หน้านี้

Loading...