พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรื่องที่พี่ขอ มีเพียงเรื่องเดียวก็คือ เรื่องของประวัติหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรครับ เนื่องจากคณะพี่เองมีความเชื่อตามที่เคยนำประวัติของหลวงปู่ท่านลงในกระทู้นี้ หรือหน้าแรกครับ

    หากมีความเห็นที่แตกต่าง สามารถที่จะไปตั้งกระทู้ใหม่ได้ ไม่มีปัญหาอะไร

    ส่วนเรื่องที่นำมาลงบางเรื่องเช่น เรื่องของสุขภาพหรือการรักษาโรคต่างๆ พี่หมอเอก เห็นว่า ไม่ถูกต้อง ก็มาท้วงติงกัน เพื่อที่ผู้อ่านจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องไป หากเรานำเรื่องที่ไม่ถูกต้องนำมาโพส จะเป็นกรรมเยอะครับ เพราะว่าท่านผู้อ่านมีหลายๆท่าน ยิ่งมากท่านก็ยิ่งมากกรรม ต่างกรรมต่างวาระครับ

    เตือนมาด้วยความห่วงใยนะครับ
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 20 คน ( เป็นสมาชิก 4 คน และ บุคคลทั่วไป 16 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, :::เพชร:::+, ake7440+, nongnooo+</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ยากหรือเปล่าครับคุณเพชร ,คุณnongnooo และน้องหมอ

    .
     
  3. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    คืนนี้หายไปกันหมดเสียแล้ว ส่วนผมยังอยู่เวรไป เล่นลมไป อ่านกระทู้ไป คนไข้มาเรื่อยๆ ทำให้ไม่มีโอกาสพักอย่างที่หวังไว้ในตอนแรก แต่ก็ทำให้ได้มีโอกาสทำบุญกับคนไข้และเล่นลมเพิ่มเติมครับ

    ขอถือโอกาสร่วมกิจกรรมกับท่านปาทานเลยละกันครับ พรุ่งนี้มีคลีนิกเบาหวานคงไม่มีเวลาโพส
     
  4. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    สัมมาทิฏฐิ

    เล่มที่ ๑๔
    [๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิของพระอริยะ
    อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์
    ๗ เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ
    อันมีเหตุบ้างมีองค์ประกอบบ้าง ฯ

    [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
    สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
    ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
    ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ
    ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ

    [๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
    ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล
    ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล
    สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
    ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี
    โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
    มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี
    สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในโลกไม่มี
    นี้มิจฉาทิฐิ ฯ

    [๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ
    สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
    สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑

    [๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
    ทานที่ให้แล้ว มีผล
    ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
    สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
    ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว มีอยู่
    โลกนี้มี โลกหน้ามี
    มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
    สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
    ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในโลกมีอยู่
    นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

    [๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
    สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
    ผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฐิได้ ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็น อเนกบรรดามี
    เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฐิสลัดได้แล้ว
    และกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
    เพราะสัมมาทิฐิเป็นปัจจัย ฯ
    ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้...
    ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้...
    ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้...
    ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้...
    ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้...
    ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้...
    ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้...
    ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้...
    ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้ทั้งอกุศลธรรมลามก
    เป็นอเนกบรรดามี
    เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาวิมุตติ สลัดได้แล้ว
    และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
    เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย



    <HR width="100%">
          • เล่มที่ ๒0
            [๑๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง
            ซึ่งจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
            หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง
            เหมือนกับมิจฉาทิฐินี้เลย
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นผิด
            อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
            ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง ฯ

            [๑๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง
            ซึ่งจะเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง
            เหมือนกับสัมมาทิฐินี้เลย
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นชอบ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง ฯ

            [๑๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง
            ซึ่งเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป เหมือนกับมิจฉาทิฐินี้เลย
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นผิด
            กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
            และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ

            [๑๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง
            ซึ่งเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น
            หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป เหมือนกับสัมมาทิฐินี้เลย
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นชอบ
            อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
            และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ

            [๑๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง
            ซึ่งเป็นเหตุให้มิจฉาทิฐิที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
            หรือมิจฉาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น เหมือนกับการทำในใจโดยไม่แยบคายนี้เลย
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในใจโดยไม่แยบคาย มิจฉาทิฐิที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
            และมิจฉาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น ฯ

            [๑๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง
            ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือสัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น เหมือนการทำในใจโดยแยบคายนี้เลย
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในใจโดยแยบคาย
            สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
            และสัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น ฯ

            [๑๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง
            ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เหมือนกับมิจฉาทิฐินี้เลย
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฐิ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ

            [๑๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง
            ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เหมือนกับสัมมาทิฐินี้เลย
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฐิ
            เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
    ในส่วนของตัวผมเองนั้น ผมยึดสัมมาทิฏฐิเป็นที่ตั้ง โดยจิตหวังมุ่งสู่พระนิพพาน จึงทำทานรักษาศีลภาวนา ครับ
    และด้วยความที่รู้ว่าตนอ่อนด้อยปัญญา จึงยึดองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสรณะ โดยอาศัยพระธรรมคำสอนของพระองค์เป็นหลักยึดครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2008
  5. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    อนุโมทนา

    ๖. วิหารวิมาน ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในวิหารวิมาน

    เล่มที่ ๒๖
    ท่านพระอนุรุทธเถระได้ถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่า
    [๔๔] ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เมื่อท่านฟ้อนอยู่ เสียงอันเป็นทิพย์น่าฟัง รื่นรมย์ใจ ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วน ทั้งกลิ่นทิพย์อันหอมหวนยวนใจ ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วน เมื่อท่านไหวกายกลับไปมา เสียงของเครื่องประดับช้องผมก็ดัง เสียงไพเราะดุจเสียงดนตรีเครื่อง ๕
    อนึ่ง เสียงมงกุฎที่ถูกลมรำเพยพัดให้หวั่นไหว ก็กังวานไพเราะดุจเสียงดนตรีเครื่อง ๕ แม้พวงมาลัยบน เศียรเกล้าของท่านมีกลิ่นหอมชวนให้เบิกบานใจ หอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศดุจต้นอุโลก
    ฉะนั้น ดูกรนางเทพธิดา อาตมาถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร?
    นางเทพธิดาตอบว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นางวิสาขามหาอุบาสิกาเป็นสหายของดิฉัน อยู่ในเมืองสาวัตถี ได้สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์
    ดิฉันเห็นมหาวิหารนั้นแล้ว มีจิตเลื่อใสอนุโมทนา
    ก็วิมานอันเป็นที่รักนี้อันดิฉันได้แล้ว เพราะการอนุโมทนาด้วยจิตบริสุทธิ์แต่อย่างเดียวเท่านั้น วิมานนี้เป็นวิมานอัศจรรย์น่าดูน่าชม โดยรอบสูง ๑๖ โยชน์ เลื่อนลอยไปในอากาศ ได้ตามความปรารถนาของดิฉัน ดิฉันมีปราสาทเป็นที่อยู่อาศัย อันบุญกรรมจัดแจงเนรมิตให้เป็นส่วนๆ งามรุ่งโรจน์ตลอดร้อยโยชน์โดยรอบทิศ
    อนึ่ง ที่วิมานของดิฉัน มีสระโบกขรณีเป็นที่อาศัยของหมู่มัจฉาชาติ มีน้ำใสสะอาด มีท่าอันลาดด้วยทรายทอง ดารดาษไปด้วยปทุมชาตินานา ชนิดพร้อมทั้งบัวขาว เกษรแห่งบัวทั้งหลายอันลมรำเพยพัด ย่อมหอมฟุ้งเจริญใจ มีรุกขชาติต่างๆ อันบุญกรรมปลูกไว้ใกล้วิมาน คือ ไม้หว้า ขนุน ตาล มะพร้าว วิมานนี้กึกก้องไปด้วยเสียงดนตรีต่างๆ และกึกก้องไปด้วยหมู่นางอัปสร แม้นรชนใดได้เห็นวิมานนี้ด้วยความฝัน นรชนนั้นก็พึงปลื้มใจ วิมานอันมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ น่าอัศจรรย์ น่าดูน่าชมเช่นนี้ เกิดแต่ดิฉันเพราะกุศลกรรมทั้งหลาย ควรทำบุญโดยแท้.

    พระอนุรุทธเถระเมื่อจะให้นางเทพธิดาบอกที่เกิดของนางวิสาขามหาอุบาสิกา จึงกล่าวถามด้วยคาถาความว่า วิมานอันอัศจรรย์น่าดูน่าชมนี้ ท่านได้แล้วเพราะการอนุโมทนาด้วยจิตอันบริสุทธิ์อย่างเดียวเท่านั้น
    นางนารีอันมีนามว่าวิสาขาได้ถวายทานและได้สร้างมหาวิหาร ไปเกิดที่ไหน ขอท่านจงบอกคติของนางวิสาขานั้นแก่อาตมาด้วยเถิด?
    นางเทพธิดานั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นางวิสาขามหาอุบาสิกาเป็นสหายของดิฉัน ได้สร้างมหาวิหารถวายแด่สงฆ์และได้ถวายทานแด่สงฆ์ เป็นผู้รู้ธรรมแจ่มแจ้ง เธอได้บังเกิดในหมู่ทวยเทพชั้นนิมมานรดี เป็นประชาบดีของท้าวสุนิมมิตวดี ผู้เป็นใหญ่ในชั้นนิมมานรดีนั้น วิบากแห่งกรรมของนางวิสาขามหาอุบาสิกานั้น อันใครไม่ควรคิด ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันได้พยากรณ์ที่เกิดของนางวิสาขาที่พระคุณเจ้าถามว่า นางวิสาขานั้นบังเกิด ณ ที่ไหน โดยถูกต้องแล้ว ถ้าอย่างนั้น ขอพระคุณเจ้าได้ชักชวนแม้ชนเหล่าอื่นว่า ท่านทั้งหลายจงปลื้มใจถวายทานแด่สงฆ์เถิด และจงมีใจเลื่อมใสฟังธรรม การได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์เป็นการได้ด้วยแสนยาก อันพวกท่านได้แล้ว พระพุทธเจ้ามีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม มีพระฉวีวรรณดุจทองคำ เป็นอธิบดีแห่งมรรคา ได้ทรงแสดงธรรมใดไว้ว่า เป็นทางสวรรค์ ทางนั้นเป็นทางอันประเสริฐ ท่านทั้งหลายจงปลื้มใจถวายทานแด่สงฆ์ ที่บุคคลถวายทักษิณาแล้วมีผลมาก บุคคลเหล่าใดอันพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้วว่า
    คู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ เหล่านี้ บุคคลเหล่านั้นเป็นพระทักขิไณยบุคคล สาวกแห่งพระสุคต ทานอันบุคคลถวายแล้วในพระทักขิไณยบุคคลเหล่านั้น มีผลมาก ท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออริยมรรค ๔ จำพวก
    และท่านผู้ตั้งอยู่ในอริยผล ๔ จำพวก พระอริยบุคคล ๘ จำพวกนี้ ชื่อว่าสงฆ์ เป็นผู้ปฏิบัติซื่อตรง ดำรงมั่นอยู่ในปัญญาและศีล
    เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้มุ่งบุญ ถวายทานในท่านเหล่านี้ หรือทำบุญปรารภการเวียนเกิดเวียนตาย ทานที่ถวายในสงฆ์ย่อมมีผลมาก พระสงฆ์นี้เป็นผู้มีคุณความดีอันยิ่งใหญ่ ยังผลให้เกิดแก่ผู้ถวายทานในท่านอย่างไพบูลย์ ยากที่จะปริมาณได้ว่าเท่านี้ๆ เหมือนทะเลยากที่จะคาดคะเนได้ว่ามีน้ำเท่านี้ๆ ฉะนั้น พระสงฆ์เหล่านี้แล เป็นผู้ประเสริฐ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร เป็นเยี่ยมในหมู่นรชนเป็นแหล่งสร้างแสงสว่าง คือ ญาณของชาวโลก ได้แก่ นำเอาแสงสว่าง คือ พระสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้วมาชี้แจง ปวงชนผู้ใคร่ต่อบุญเหล่าใด ถวายทานมุ่งตรงต่อสงฆ์ ทักษิณาของเขาเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นทักษิณาที่ถวายดีแล้ว เป็นยัญวิธีที่เซ่นสรวงถูกต้อง จัดเป็นบูชากรรมที่บูชาแล้วชอบ เพราะทักษิณานั้นจัดเป็นสังฆทาน มีผลมาก อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้รู้แจ้งโลก ทรงสรรเสริญ ชนเหล่าใดยังท่องเที่ยวอยู่ในโลก มาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้ เกิดปีติโสมนัส ก็จะกำจัดมลทิน คือ ความตระหนี่ พร้อมทั้งความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความลังเลใจและการตีตนเสมอท่าน อันเป็นมูลฐานเสียได้ ทั้งจะไม่เป็นผู้อันผู้รู้ติเตียน แต่นั้นก็จะเข้าถึงสถานที่อันเป็นแดนสวรรค์.
    จบวิหารวิมานที่ ๖

    เรื่องของการอนุโมทนาก็เช่นกัน ดังที่ได้เคยเล่าไว้แล้วว่า ทุกวันนี้ที่ตามอ่านกระทู้นี้อยู่
    ปัจจุบันก็ได้มา 600 กว่าหน้าแล้วนั้น นอกจากได้เรียนรู้ถึงเรื่องราวพระวังหน้า ก็ยังได้รับรู้ประวัติศาสตร์ ความรู้ต่างๆมากมายประกอบ
    เหนือสิ่งอื่นใดคือได้เห็นตัวอย่างพี่ๆผู้มีจิตอันเป็นกุศล ที่ทุ่มเทแรงกายใจเพื่อพระศาสนา จึงได้ขออนุโมทนาร่วมกับจิตอันเป็นกุศลนั้นตามที่ได้อ่านกระทู้ร่วมมาทุกๆวัน ซึ่งก็ได้ประโยชน์กับตนเองจริงๆดังที่เคยเล่าไว้แล้ว
    และก็ได้ข้อสรุปที่เห็นพ้องกับที่ท่านปาทานเคยกล่าวไว้ว่า บุญนั้นให้ทำหลายๆทาง หลายๆอย่าง เหมือนการสร้างบ้าน ต้องมีหลายองค์ประกอบ ก็ทำให้ได้นึกย้อนคิดไปว่าจริงดังว่าจริงๆ
    นอกจากนี้ เมื่อนำไปใช้กับชีวิตประจำวัน ก็จะทำให้เราลดความอิจฉาริษยาลงได้อีกด้วย พร้อมทั้งเมื่ออนุโมทนาแล้วหากเราย้อนมาดูตนเองว่าเราได้คิด หรือ ได้ทำอย่างที่ผู้นั้นได้ทำแล้วหรือยัง ก็จะเป็นการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิของตนให้ยิ่งขึ้นไปครับ
     
  6. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    มงคลสูตรในขุททกปาฐะ

    เล่มที่ ๒๕
    [๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
    อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
    ครั้งนั้นแล ครั้นปฐมยามล่วงไป เทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก
    ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้า
    พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
    [๖] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี
    ได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล
    พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า
    การไม่คบคนพาล ๑
    การคบบัณฑิต ๑
    การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

    การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑
    ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน ๑
    การตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

    พาหุสัจจะ ๑
    ศิลป ๑
    วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑
    วาจาสุภาสิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

    การบำรุงมารดาบิดา ๑
    การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑
    การงานอันไม่อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

    ทาน ๑
    การประพฤติธรรม ๑
    การสงเคราะห์ญาติ ๑
    กรรมอันไม่มีโทษ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

    การงดการเว้นจากบาป ๑
    ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑
    ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

    ความเคารพ ๑
    ความประพฤติถ่อมตน ๑
    ความสันโดษ ๑
    ความกตัญญู ๑
    การฟังธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

    ความอดทน ๑
    ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑
    การได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑
    การสนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

    ความเพียร ๑
    พรหมจรรย์ ๑
    การเห็นอริยสัจ ๑
    การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

    จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ๑
    ไม่เศร้าโศก ๑
    ปราศจากธุลี ๑
    เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

    เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว
    เป็นผู้ไม่ปราชัยในข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน
    นี้เป็นอุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯ
    จบมงคลสูตร

    สำหรับพระสูตรนี้ เมื่อพิจารณาครบถ้วนแล้ว ก็คงคล้ายๆการสรุปความ สำหรับเรียงความเรื่องหนึ่ง ตั้งแต่ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว
    จะขาดตกที่ยังไม่ได้พูดถึงก็คงเป็นเรื่องของ สัมมาคารวะ ความเคารพที่มีต่อผู้หลักผู้ใหญ่ และ บุคคลที่น่านับถือ
    รวมไปถึง ความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ พร้อมที่จะรับคำสอนจากอาจารย์ และ พี่ๆทุกๆท่านอยู่เสมอครับ
     
  7. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    ขออนุญาตินำกลับมาให้อ่านกันอีกครั้งครับ อยากให้พี่บางท่านได้ดูครับ

    ภาพปริศนา ? "พระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก" ความเข้าใจผิดอันคลาดเคลื่อน
    [​IMG]

    ใครก็ตามที่ผ่านสายตาไปยังหนังสือซึ่งรวบรวมเรียบเรียงเรื่องราวของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม มาบ้างแล้ว อย่างน้อยต้องพบภาพพระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก

    ภาพที่เข้าใจกันว่าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

    อันเป็นภาพที่ปรากฏบนหน้าหนังสือเกี่ยวกับอัตโนประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) อยู่บ่อยๆ จนมีบางท่านเข้าใจคลาดเคลื่อนตลอดมา แท้จริงภาพนี้มีการเข้าใจผิดมาอย่างเนิ่นนาน

    ในนิตยสาร "ชุมนุมจุฬาฯ" ปีที่ 14 เล่มที่ 3 ฉบับ 23 ตุลาคม พ.ศ.2503 ปรากฏการตีพิมพ์ภาพนี้ทั้งบรรยายว่า

    "พระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระปิยมหาราช เมื่อทรงพระเยาว์กำลังทรงพระอักษรกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆสิตาราม

    ภาพโดยความเอื้อเฟื้อของ พล.ร.ต.หลวงสุวิชาแพทย์"

    หากสังเกตจะพบว่าสมณศักดิ์ของท่านนั้นผิด สมณศักดิ์ของท่านซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ "พระธรรมกิติ" ในปี พ.ศ.2395 ขณะนั้นท่านมีอายุได้ 64 ปีแล้ว

    ในปี พ.ศ.2397 ทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ "พระเทพกวี" จนกระทั่งปี พ.ศ.2407 ทรงสถาปนาเป็น "สมเด็จพระพุฒาจารย์"

    ขณะเดียวกัน ในคำแถลงจากสาราณียกรของหนังสือ "ชุมนุมจุฬาฯ" ดังกล่าว ก็ว่า "พระบรมฉายาลักษณ์ขององค์สมเด็จพระปิยมหาราชในสมัยยังทรงพระเยาว์อันเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่หาดูได้ยาก อัญเชิญมาประดับเป็นศรีแก่เล่ม เนื่องในวาระสำคัญนี้ด้วย" ยิ่งเสริมความเชื่อเป็นอันมากว่า คือ พระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ครั้งทรงพระเยาว์

    แท้จริงภาพนี้มีที่มาในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2524 หน้า 33 ปรากฏการตีพิมพ์ภาพใบนี้ พร้อมคำอธิบายจาก "นิวัติ กองเพียร" ว่า รูปนี้ไม่ใช่รัชกาลที่ 5 กับสมเด็จพระพุฒาจารย์ เหตุผลประกอบดังนี้

    1. รูปนี้ได้มาจากหนังสือฝรั่งชื่อ "SIAM"

    2. พัดรองที่วางพิงผนังอยู่นั้น เป็นพัดที่นิยมทำก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาไม่มีความนิยมในการทำพัดรองอีกเลย

    3. ถ้ารูปนั้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์จริง ท่านต้องห่มดองและรัดประคดอก มิใช่อย่างที่เห็นในรูป แม้แต่พระรุ่นเก่าที่วัดระฆังโฆสิตาราม ที่เคยเห็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ก็ยืนยันว่ามิใช่สมเด็จแน่

    4. เจ้านายหลายพระองค์ ที่เป็นพระธิดาหรือพระโอรสก็ยืนยันว่า มิใช่พระราชบิดาแน่นอน

    หนังสือฝรั่ง "SIAM" ที่ว่า ก็คือ หนังสือชื่อยาวเฟื้อยว่า "TWENTIETH CENTURY IMPRESSION OF SIAM : ITS HISTORY, PEOPLE COMMERCE, INDUSTRIES, AND RESOURCES WITH WHICH IS INCORPORATED AN ABRIDGED EDITION OF TWENTIETH CENTURY IMPRESSIONS OF BRITISH MALAYA"

    แปลชื่อเป็นไทยว่า "เรื่องน่ารู้ของสยามในศตวรรษที่ 20 ว่าด้วยประวัติศาสตร์ พลเมือง พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และทรัพยากร รวมเรื่องน่ารู้ของบริติชมลายาในศตวรรษที่ 20 โดยสังเขป" อันเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์จากลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ.2452 อันเป็นช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ทั้งยังให้คำอธิบายรูปนี้ไว้ว่า "Buddhist Priest and Disciple"



    นอกจากนี้ ในการจัดทำหนังสือเล่มดังกล่าว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระกรุณาประทานภาพส่วนพระองค์ อันเกี่ยวเนื่องกับประเทศสยามให้กับผู้จัดทำหนังสือเล่มนี้ด้วย

    อย่างไรก็ตามแต่ ในหนังสือที่ระลึกงานสงกรานต์ชลบุรี ประจำปี พ.ศ.2507 ในเรื่อง "สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)" อันเขียนโดย อธึก สวัสดิมงคล ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ภาพพระสงฆ์สอนหนังสือเป็นภาพที่เข้าใจผิดและคลาดเคลื่อน ดังในหน้า 11 ที่ให้ข้อมูลความเป็นมาของภาพใบนี้จากลายพระหัตถ์หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตอบคำถามของ อธึก สวัสดิมงคล ว่า

    "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้นไม่ช้าจะเป็นอะไรๆ สักร้อยอย่างเป็นเรื่องหากินทั้งนั้น เดี๋ยวนี้ใครอยากรู้อะไร ก็นั่งวิปัสสนาเอาได้ ไม่ช้าคงต้องร้อนถึงทางการเข้าเล่นด้วยเป็นแน่ มีผู้เอาภาพพระแก่กับเด็กลูกศิษย์สอนหนังสือกัน ฉันจำได้ว่า "โรเบิร์ต เลนส์" ขอประทานให้เสด็จพ่อทรงช่วยทำโปสการ์ดเผยแพร่เมืองไทย และท่านได้ถ่ายรูปฉันแต่งลาวน่าน หญิงเหลือส่องกระจก พร้อมกับทำรูปนี้ด้วย แต่บัดนี้กลายเป็นรูปสมเด็จโตสอนหนังสือพระพุทธเจ้าหลวง แย่จริงๆ น่ากลัวพงศาวดารจะเลอะเทอะกันใหญ่เสียแล้ว"

    สำหรับ โรเบิร์ต เลนส์ เป็นช่างภาพชาวเยอรมัน เจ้าของห้องถ่ายรูปโรเบิร์ต เลสน์ ดำเนินธุรกิจถ่ายรูป เมื่อ พ.ศ.2437 ได้รับพระบรมราชานุญาตให้เป็นช่างภาพราชสำนักรัชกาลที่ 5

    นอกจากนี้ ยังมีผู้กล่าวว่า พระภิกษุในภาพคือ พระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ซึ่งภาพดังกล่าวอาจจะไม่ได้ถ่ายที่ชัยนาท ถ้าหากเป็นหลวงปู่ศุขจริง อาจจะถ่าย ณ ตำหนักเหลืองในวังพลเรือเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ก็เป็นไปได้

    ทั้งนี้ เพราะหลวงปู่ศุข จะมาพำนักที่ตำหนักเหลืองเป็นประจำทุกปี เพื่อมาร่วมงานในพิธีไหว้ครูประจำปีของพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งทรงเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข

    อย่างไรก็ตาม ไม่อาจสรุปได้ว่าเป็นภาพของหลวงปู่ศุข ทั้งนี้ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิสกุล เมื่อครั้งทรงตอบคำถามของ อธึก สวัสดิมงคล ก็มิได้เอ่ยถึงว่าเป็นพระภิกษุรูปใด

    .......บทความคัดลอกจาก มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1302

    <!-- / message --><!-- attachments --><!-- sig -->
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ต้องโพสทั้ง 2 กระทู้และโพสในชมรมด้วยนะครับคุณหมอ

    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ต้องโพสทั้ง 2 กระทู้และในชมรมด้วยนะครับ
    กระทู้ พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้..... จากเว็บพลังจิต หมวดพระเครื่องและวัตถุมงคล
    กระทู้ "พระวังหน้า ที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้....." จากเว็บอกาลิโก หมวด 108 โทรโข่ง
    และชมรม พระวังหน้า

    ส่วนการโหวตนั้น สามารถโหวตให้ตนเองได้หรือจะโหวตให้แต่ท่านอื่น ได้ทั้งนั้น

    ผมเองจะนำกิจกรรมนี้ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินของ "โครงการธนาคารความดี" ด้วยครับ

    เนื่องจากในสิ่งที่ทำในกิจกรรมนี้ ก็เป็นความดีเช่นกัน

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  11. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    มอบให้แบบง่ายๆเลย ..ขอแสดงความยินดีกับคุณตั้งจิตด้วยครับ

    หากทราบประวัติการสร้างพระสมเด็จอรหัง ที่สมเด็จพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน ได้กดพิมพ์พระเป็นปฐมฤกษ์จำนวน ๓ องค์ และมอบให้พระผู้จัดสร้างกดพิมพ์ต่อ จะยิ่งรู้สึกเป็นมหามงคล เป็นความภูมิใจ ที่ได้อาราธนาขึ้นสวมใส่..ความรู้นี้เกิดจากการอ่านหนังสือประวัติพระสังฆราชสุกไก่เถื่อนที่คุณ katicat มีเมตตาส่งมาให้อ่านเป็นธรรมทานกับผมครับ ผมก็เลยขอมอบสมเด็จอรหังที่ทันสมเด็จโตท่านเสก และสมเด็จอรหังปัญจสิริให้พิมพ์ละ ๑ องค์
     
  12. katicat

    katicat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +524
    ขอแสดงความยินดีกับคุณตั้งจิตด้วยนะคะ และโมทนาบุญคุณสิทธิพงศ์และคุณเพชรด้วยค่ะ

    พอดีเมื่อวานเป็นไข้อย่างหนักมากลุกไม่ขึ้นเลย นอนทั้งวันทั้งคืน ยังนึกในใจว่าพรุ่งนี้จะไปพม่าไหวหรือ แฟนก็บอกว่าตัวร้อนมากน่าจะไปโรงพยาบาล ก็อธิษฐานในใจว่าถ้าจะมีบุญได้ไปไหว้เจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ก็ขอให้หายทัน วันนี้เช้าไข้ลดลงไปมาก พอจะลุกได้แล้ว คิดว่าพรุ่งนี้น่าจะไปได้

    ก็เข้ามารายงานตัวและขอลาไปพม่า 7 วัน กลับมาอีกทีวันที่ 20นะคะ

    ขอแสดงความยินดีล่วงหน้ากับคนที่ได้รับรางวัลและโมทนาบุญกับเจ้าของกระทู้ใจดีและแสนดีด้วยค่ะ
     
  13. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    แปลกจังโมไม่ได้ไม่มีปุมให้คลิก???

    ขอบคุณพี่เอก พี่แมว และลุงเพชรด้วยครับที่ร่วมแสดงความยินดีมา

    ขอให้พี่แมวหายป่วยไวๆได้ไปพม่าสบายๆ ไปไหว้สิ่งศักดิ์ที่ไหนทำบุญอะไรก็ขอโมทนาบุญด้วยทุกประการครับ สาธุ
     
  14. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    ขอให้หายป่วยโดยเร็วจะได้ทำบุญด้วยจิตที่สมบูรณ์ครับ อนุโมทนาล่วงหน้าด้วยครับ กดปุ่มไม่ได้เหมือนกัน เวปกำลังทำอะไรหรือเปล่านี่
     
  15. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    ขอให้หายไวๆนะครับ
     
  16. พรสว่าง_2008

    พรสว่าง_2008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2008
    โพสต์:
    356
    ค่าพลัง:
    +402
    **-**

    อันนี้คือหนึ่งในสิ่งที่คุณ Sithiphong เมตตาครับ ใช่พระผงยาวาสนาเนื้อปัญจสิริ ใช่ไหมครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_2398.jpg
      DSC_2398.jpg
      ขนาดไฟล์:
      195.8 KB
      เปิดดู:
      79
    • DSC_2400.jpg
      DSC_2400.jpg
      ขนาดไฟล์:
      186.6 KB
      เปิดดู:
      64
  17. พรสว่าง_2008

    พรสว่าง_2008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2008
    โพสต์:
    356
    ค่าพลัง:
    +402
    **-**

    อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับความเมตตาจาก คุณ Sithiphong ครับ คะแนนร้อยและคะแนนพันหรือเปล่าครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_2401.jpg
      DSC_2401.jpg
      ขนาดไฟล์:
      324.9 KB
      เปิดดู:
      68
    • DSC_2402.jpg
      DSC_2402.jpg
      ขนาดไฟล์:
      84.6 KB
      เปิดดู:
      49
    • DSC_2403.jpg
      DSC_2403.jpg
      ขนาดไฟล์:
      228.9 KB
      เปิดดู:
      58
    • DSC_2404.jpg
      DSC_2404.jpg
      ขนาดไฟล์:
      223.6 KB
      เปิดดู:
      61
  18. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    วันนี้นำธรรมที่เก็บไว้ มาให้พิจ กันขออภัยจริงๆไม่ได้บันทึกว่ามาจากเว็บใด จำก็บ่ได้ อย่างไรก็ขอขอบคุณเว็บที่มาด้วยครับ

    อธิศีลสิกขาในการเจริญพระกรรมฐานโดยพระราชพรหมยานเถระ ffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>


    <HR align=center width="100%" color=white noShade SIZE=1>

    อธิศีลสิกขา

    ในระดับแรก ก่อนที่ท่านจะหวังผลในฌานโลกีย์ซึ่งเป็นระดับของอธิจิตตสิกขานั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงสอนให้รักษาศีลให้เป็นอธิศีลเสียก่อน คำว่าอธิศีลแปลดังนี้ อธิ แปลว่า ยิ่ง เกิน หรือล่วง เฉพาะคำว่า อธิ แปลได้สามอย่างดังนี้ถึงแม้ว่าจะแปลได้เป็นสามนัยก็คงมีความหมายอย่างเดียวกัน คำว่า ยิ่งก็หมายถึงการปฏิบัติยิ่งกว่าหมายถึงการปฏิบัติเคร่งครัดกว่าปกติหรือรักษาศีลยิ่งกว่าชีวิตนั่นเองเกินหรือล่วงก็มีความหมายเหมือนกัน เกินก็หมายถึงปฏิบัติเกินกว่าที่ปฏิบัติกันตามปกติ ล่วง ก็หมายถึงการปฏิบัติล่วง คือเกิน ที่กระทำกันตามปกติ ศัพท์สามคำนี้มีความหมาย
    อย่างเดียวกันการปฏิบัติตามนี้จึงจะจัดเป็นอธิศีล การปฏิบัติเป็นอธิศีลท่านแนะนำไว้ในอุทุมพริกสูตรดังนี้

    จะรักษาศีลไว้ด้วยดี มิให้ขาดมิให้ทำลายแม้แต่ศีลจะมัวหมองก็มิยอมให้เป็น ด้วยมีวิธีรักษาดังนี้
    ๑.จะไม่ทำลายศีลให้ขาดเอง
    ๒. ไม่แนะนำให้คนอื่นทำลายศีล
    ๓.ไม่ยินดีต่อเมื่อเห็นผู้อื่นทำลายศีล

    การปฏิบัติพระกรรมฐานก่อนที่จะหวังให้ฌานสมาบัติอุบัติปรากฏแก่จิตใจนั้นต้องมีศีลบริสุทธิ์เสียก่อนถ้าศีลของท่านยังขาดตกบกพร่อง รักษาบ้างไม่รักษาบ้าง ยังเกรงใจความชั่วคือสังคมที่มอมแมมด้วยความชั่วช้า ที่ต้องมีการดื่มของมึนเมาอวยพรต้องกินเนื้อสัตว์ที่ยังมีชีวิตเพราะถ้าสัตว์ตายก่อนแล้วเนื้อมีรสไม่อร่อยต้องพูดตลบตะแลงให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เกรงใจสังคมที่นิยมมีเมียเก็บเมียอะไหล่ นิยมสะสมสมบัติที่ได้มาโดยมิชอบธรรม เฉพาะอย่างยิ่งการดื่มถึงแม้ว่าท่านจะละมาในวันอื่นๆ ทุกวัน แต่ถ้าวันใดมีการเลี้ยง ก็ต้องดื่มเพื่อสังคมแม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าท่านไม่มีความบริสุทธิ์ ไม่มีศีล เป็นอธิศีลแม้แต่ปกติศีลก็ยังไม่จัดว่าท่านเป็นผู้มีศีล

    ทั้งนี้เพราะการบกพร่องในศีลเป็นความชั่ว จะด้วยกรณีใดก็ตามถ้าท่านล่วงศีลด้วยเจตนาแล้ว ท่านก็เป็นคนเลวสำหรับนักปฏิบัติในศีลท่านจะอ้างว่าท่านล่วงเพื่อสังคมก็ไม่มีทางจะเอาตัวรอดได้เพราะการที่ท่านต้องเกรงใจสังคมที่ชั่วช้าเลวทราม เพราะมุ่งที่จะทำลายความดีสิ่งที่ท่านทำไปนั้นมันเป็นเหตุของความชั่ว ขึ้นชื่อว่าความชั่วแม้แต่นิดหนึ่งก็เป็นความชั่ว

    ของเหม็นที่มนุษย์รังเกียจร่างกายเราทั้งใหญ่ทั้งโต แต่พอสิ่งโสโครกที่มีกลิ่นเหม็นเพียงนิดเดียวมาติดกายเราก็ต้องรีบล้างรีบชำระเพราะรังเกียจในกลิ่นเหม็นที่เราไม่ยอมปล่อยด้วยคิดว่ามันมีจำนวนนิดเดียวร่างกายเรายังว่างจากสิ่งโสโครกนั้นมากมาย เราไม่ปล่อยไว้ก็เพราะคิดว่าสิ่งโสโครกแม้แต่นิดเดียวก็สร้างความเดือดร้อนแก่จิตใจ

    ข้อนี้ฉันใดแม้ศีลที่ท่านรักษาเพื่อเป็นภาคพื้นของสมาธิสมาบัติก็เช่นเดียวกันท่านพร่องในศีลด้วยเจตนาเพียงนิดเดียวท่านไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย เพราะเพียงศีลมีการรักษาแบบหยาบๆท่านยังรักษาไม่ได้ ท่านจะเป็นผู้ทรงสมาธิที่มีอารมณ์ละเอียดกว่านี้ได้อย่างไรผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานมาเป็นเวลาหลายสิบปีที่ไม่ได้สำเร็จผลใดๆแม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้ ก็เพราะพร่องในศีลเป็นสำคัญเมื่อท่านรักษาศีลตามนัยที่กล่าวมาแล้วโดยมั่นคงจนถึงขั้นไม่ต้องระวังหมายความว่าละเสียได้จนชินไม่มีการพลั้งเผลอแล้ว



    และจากหลวงพ่อตอบปัญหา พระภาวนาวิริยคุณ


    <TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 472.5pt; mso-cellspacing: 0cm; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=630 border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 3.75pt; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 3.75pt; PADDING-BOTTOM: 3.75pt; BORDER-LEFT: #ece9d8; WIDTH: 472.5pt; PADDING-TOP: 3.75pt; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=630><TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 424.5pt; mso-cellspacing: 0cm; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=566 border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 3.75pt; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 3.75pt; PADDING-BOTTOM: 3.75pt; BORDER-LEFT: #ece9d8; WIDTH: 64.55pt; PADDING-TOP: 3.75pt; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=86><O:p> </O:p>

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 3.75pt; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 3.75pt; PADDING-BOTTOM: 3.75pt; BORDER-LEFT: #ece9d8; WIDTH: 359.95pt; PADDING-TOP: 3.75pt; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=480>ศีล สมาธิ ปัญญา " เป็นคำที่ชาวพุทธรู้จักกันดี แล้วคำว่า อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา " คืออะไร เกี่ยวข้องกับ "ศีล สมาธิ ปัญญา " ? <O:p></O:p>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>ความจริงแล้วเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา กับอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกัน คือเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ว่าเป็นคนละระดับเท่านั้น


    ศีล สมาธิ ปัญญา คืออะไร



    คำเต็มๆ ของคำว่า "ศีล สมาธิ ปัญญา" ที่เราพูดกันอย่างคล่องปากก็คือ การศึกษาเรื่องศีล การศึกษาเรื่องสมาธิ การศึกษาเรื่องปัญญานั่นเอง



    ศึกษาเรื่องศีล เพื่อเอามาใช้ควบคุมกาย และวาจา ให้มีความสะอาดบริสุทธิ์ คือ ไม่พูด ไม่ทำ ให้วิปริตผิดร่องรอยจนกระทบตนเอง หรือกระทบคนอื่นให้เดือดร้อน



    ศึกษาเรื่องสมาธิ เพื่อเอามาใช้ควบคุมจิต ไม่ให้หนีไปเที่ยว ไม่ให้คิดฟุ้งซ่านในทางที่เป็นอกุศล



    ศึกษาเรื่องปัญญา เพื่อให้รู้เท่าทันโลก รู้เท่าทันชีวิต รู้เท่าทันคน พูดง่ายๆ เพื่อให้รู้เท่าทันตามความเป็นจริง จะได้เลิกโง่เสียที



    อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา คืออะไร



    เมื่อตั้งใจฝึกฝนตนเองไปตามลำดับๆ ตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเอาไว้ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกกันอย่างจริงๆ จังๆ ชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้ว



    จากศีลธรรมดาที่ใช้ควบคุมกาย และวาจาให้สะอาดบริสุทธิ์ ก็กลายเป็น อธิศีล หรือว่าศีลอย่างยิ่งขึ้นมา



    จากสมาธิจิตธรรมดา ที่ใช้ควบคุมจิต ก็กลายเป็นอธิจิต หรือว่าจิตอย่างยิ่งขึ้นมา



    จากปัญญาธรรมดา ก็กลายเป็นอธิปัญญา หรือว่าปัญญาอย่างยิ่งขึ้นมา



    ขั้นตอนการเปลี่ยนจากศีลเป็นอธิศีล



    คุณโยมลองสำรวจตัวเอง โดยใช้ศีล ๕ เป็นเกณฑ์ก็ได้ เมื่อตอนเข้าวัดใหม่ๆ ศีล ๓ ข้อแรก ได้แก่ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ซึ่งเป็นเรื่องของการควบคุมกายและวาจาของเรา



    ยกตัวอย่าง ศีลข้อที่ ๑ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ตอนเข้าวัดใหม่ๆ พวกเราส่วนมากมักจะมีอาการอย่างนี้ คือพอยุงกัดหมับละก็ เงื้อมมือขึ้นเตรียมจะตบทันทีเลย แต่พอจะตบลงไปก็นึกได้ว่า " เรากำลังรักษาศีลอยู่นะ" แล้วก็เอามือลง



    ต่อมารักษาศีลมากเข้า พอยุงกัดหมับ แทนที่จะยกมือขึ้นเตรียมจะตบ แล้วเงื้อค้างอย่างเคย ก็ไม่ทำ กลับเกิดความรู้สึกว่า "เจ้ายุงเอ๊ย ข้าเจ็บแล้ว เอ็งไปหาของอื่นกินบ้างเถอะนะ"



    ครั้นรักษาศีลนานๆ เข้า ใจก็เปลี่ยนไปอีก ที่เคยคิดจะฆ่านั้นหมดไป พอถูกยุงกัด ก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า "สัตว" โลกมันก็เบียดเบียนกันอย่างนี้แหละ"



    เห็นการลัก การขโมย ก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า " สัตว์โลกก็แย่งชิงกันอย่างนี้แหละ"



    เห็นเขาผิดสามี ผิดภรรยากัน ก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า "สัตว์ โลกไม่รู้จักควบคุมใจกันอย่างนี้แหละ"



    จากเมื่อก่อนต้องคอยระมัดระวังในการรักษาศีล พอรักษาศีลจนเกิดความคุ้นเคยมากเข้า จนกระทั่งศีลกับใจได้กลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขึ้นมา ก็เลยไม่ต้องมาคอยระมัดระวัง ในการรักษาศีลอีกต่อไป เพราะว่าใจนั้นสะอาดบริสุทธิ์ ที่จะคิดร้าย พูดร้าย ทำร้ายใครเป็นไม่มี



    จากการรักษาศีลธรรมดาๆ กลายเป็นอธิศีลขึ้นมาได้อย่างนี้ คือ รักษาศีลจนกระทั่งกลายเป็นศีลรักษาเรานั่นเอง



    อุปมาการรักษาศีล
    ถ้าจะอุปมาการรักษาศีลเมื่อตอนเข้าวัดใหม่ๆ เหมือนอย่างกับเอามะขามเปรี้ยวๆ มาจิ้มน้ำตาล รสชาติก็เปรี้ยวๆ หวานๆ กันล่ะนะ พอรักษาศีลนานเข้า จนกระทั่งกลายเป็นอธิศีล



    ก็เหมือนอย่างกับการเอามะขามเปรี้ยวๆ มาแช่อิ่มในน้ำตาล ปรากฏว่ารสเปรี้ยวไม่มีเหลืออยู่เลย หวานสนิทเช่นเดียวกัน อธิศีลก็ทำให้กายและวาจาของเรา สะอาดบริสุทธิ์เกินกว่าที่ใครจะคาดคะเนได้



    ขั้นตอนการเปลี่ยนจากสมาธิจิตเป็นอธิจิต



    การฝึกสมาธิอย่างที่ทำกันอยู่ทั่วไป จากใจที่หยุดนิ่งบ้าง หนีไปเที่ยวบ้าง คิดฟุ้งซ่านบ้าง สงบลงไปบ้าง พอฝึกแบบเอาชีวิตเป็นเดิมพันมากเข้าๆ ใจจะหยุดนิ่งสนิทอยู่ที่ศูนย์กลางกายอย่างถาวร ไม่คิดฟุ้งซ่าน ไม่หนีไปเที่ยวที่ไหนอีกแล้ว ซึ่งเป็นความก้าวหน้าของสมาธิ และนั่นคือเป็นความก้าวหน้าของจิตเราด้วย



    ถึงตอนนี้ไม่ว่าจะหลับตา ลืมตา ใจใสสว่าง ทีเดียว เมื่อใจใส ใจสว่าง จึงต่างจากใจของคนธรรมดาทั่วไป ที่ยังมืดตื้อมืดมิดกันอยู่ ท่านเรียกใจที่มีสมาธิอย่างนี้ หยุดอย่างนี้ว่า อธิจิต หรือว่า จิตอย่างยิ่ง



    ขั้นตอนการเปลี่ยนจากปัญญาเป็นอธิปัญญา
    เมื่อจิตของเราสะอาดอย่างยิ่งด้วยอำนาจแห่งอธิศีล



    มีความสว่างยิ่งกว่าตะวันเที่ยงเป็นอย่างน้อยด้วยอำนาจแห่งอธิจิต สิ่งที่ไม่น่าเชื่อก็เกิดตามมา ลองนึกดูก็แล้วกัน ถ้าใจของเรามีความสว่างยิ่งกว่าตะวันเที่ยง



    ลูกนัยน์ตาของเราก็คงจะมองอะไรได้ทะลุหมด แล้วอาศัยความสว่างที่ปรากฏขึ้นมาอย่างยิ่งนั้น ไม่ว่าจะมองอะไร ย่อมเห็นและรู้ไปตามสภาพความเป็นจริง



    เช่น รู้เรื่องกรรมที่เราเคยสงสัยนักหนาว่าเป็นอย่างไร รู้ว่าบุญบาปเป็นอย่างไร และสามารถมองเห็นได้ชัดเจนว่า กิเลสที่ซุกซ่อนอยู่ในใจ คอยบีบคั้นใจของเราให้มีความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้น เป็นอย่างไร



    ปัญญาที่เกิดจากการเห็นจากภายใน ซึ่งอาศัยความสว่างจากอธิจิต ทำให้เห็นถูกต้องตามความเป็นจริงของทุกสรรพสิ่งทั้งหลาย โดยไม่ต้องเสียเวลาคิดนี้ ท่านเรียกว่า อธิปัญญา



    เพราะฉะนั้น อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา จึงเป็นเสมือนลูกโซ่ที่ต่อเนื่องกันมา จากการที่ได้ศึกษาเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา มาตั้งแต่ต้นนั่นเอง



    คือศึกษาแล้วไม่ศึกษาเปล่า เมื่อรู้และเข้าใจแล้ว ก็เอาชีวิตเป็นเดิมพันในการนำมาประพฤติปฏิบัติ ฝึกฝนตนเอง จนกระทั่งกาย วาจา ใจ เกิดความสะอาดบริสุทธิ์อย่างยิ่ง เกิดความสว่างอย่างยิ่ง แล้วก็ เกิดความสงบอย่างยิ่ง



    เพราะฉะนั้น ความสะอาดบริสุทธิ์ ความสว่าง และความสงบของกายและใจนี้ จึงเป็นเรื่องที่พวกเราทุกคนต้องฝึกกันให้ได้ เพื่อเราจะได้ปิดนรกให้สนิท และเปิดสวรรค์ได้เต็มที่ ยิ่งกว่านั้น ยังสามารถถางทางไปพระนิพพานได้สะดวกสบายเหลือเกิน ตั้งใจฝึกกันให้ดี จะได้ไม่เสียชาติที่เกิดมาเป็นมนุษย์ และได้มาพบพระพุทธศาสนา
    <O:p></O:p>
    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype class=inlineimg id=_x0000_t75 title="Tongue out" stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" alt="" src="images/smilies/tongue-smile.gif" border="0" o:p</v:shapetype>referrelative="t" o:spt="75" coordsize="21600,21600"><v:stroke joinstyle="miter"></v:stroke><v:formulas><v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"></v:f><v:f eqn="sum @0 1 0"></v:f><v:f eqn="sum 0 0 @1"></v:f><v:f eqn="prod @2 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @0 0 1"></v:f><v:f eqn="prod @6 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="sum @8 21600 0"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @10 21600 0"></v:f></v:formulas><V:path o:connecttype="rect" gradientshapeok="t" o:extrusionok="f"></V:path><?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</o:lock><v:shape id=_x0000_i1025 style="WIDTH: 124.5pt; HEIGHT: 35.25pt" alt="" type="#_x0000_t75"><v:imagedata o:href="http://www.kalyanamitra.org/u-ni-boon/main/image/2549/jan/cc_1.gif" src="file:///C:\DOCUME~1\User\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.png"></v:imagedata></v:shape>จากหลวงพ่อตอบปัญหา พระภาวนาวิริยคุณ


    ขอให้เจริญธรรมครับ
    ขอตัวไปโรงเรียนก่อนนะจ๊ะ ไม่ได้ไปเรียนหนังสือ ไปรับลูกน่ะอิอิ




    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <v:shapetype class=inlineimg id=_x0000_t75 title="Tongue out" stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" alt="" src="images/smilies/tongue-smile.gif" border="0" o:p</v:shapetype>referrelative="t" o:spt="75" coordsize="21600,21600"><v:stroke joinstyle="miter"></v:stroke><v:formulas><v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"></v:f><v:f eqn="sum @0 1 0"></v:f><v:f eqn="sum 0 0 @1"></v:f><v:f eqn="prod @2 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @0 0 1"></v:f><v:f eqn="prod @6 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="sum @8 21600 0"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @10 21600 0"></v:f></v:formulas><V:path o:connecttype="rect" gradientshapeok="t" o:extrusionok="f"></V:path><o:lock aspectratio="t" v:ext="edit"></o:lock><v:shape id=_x0000_i1025 style="WIDTH: 187.5pt; HEIGHT: 53.25pt" alt="" type="#_x0000_t75"><v:imagedata o:href="http://www.kalyanamitra.org/u-ni-boon/main/image/2549/jan/cc_1.gif" src="file:///C:\DOCUME~1\User\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif"></v:imagedata></v:shape><O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2008
  19. สำรวจโลก

    สำรวจโลก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    553
    ค่าพลัง:
    +579
    ใช้ให้เป็น<O:p</O:p
    มีลูกศิษย์อยู่หลายต่อหลายคนได้มากราบนมัสการหลวงปู่ดู่ วัดสะแก แล้วก็ตกท้ายด้วยการขอพระเครื่องจากหลวงปู่ หลวงปู่ก็มักจะตอบกับบรรดาลูกศิษย์ที่ศรัทธาในหลวงปู่ว่า "ข้าไม่มีพระอะไรจะให้ ถ้าอยากได้ก็ต้องฝึกวิธีใช้ให้เป็นเสียก่อน"<O:p></O:p>
    ซึ่งท่านก็เมตตามอบให้กับลูกศิษย์ทุกๆคน พร้อมกับแนะแนวทางให้นำไปประกอบในการปฏิบัติ ซึ่งเป็นกุศโลบายของหลวงปู่ ที่ต้องการให้ปฏิบัติและรู้ถึงอานุภาพของพระเครื่อง เพราะท่านเคยบอกเสมอว่า "ของดีต้องใช้ให้เป็น จึงจะรู้ว่าของดี" เพราะในปัจจุบันอย่างที่เรารู้กันว่า เจ้าของคุ้มครองพระโดยเอาไปฝากไว้ในธนาคารหรืออย่างไรก็สุดแท้แต่ แต่ไม่ได้นำมาใช้ ทำให้นึกถึงคำพูดของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ที่กล่าวว่า "ทำบุญให้เป็น ใช้บุญให้เป็น" โดยเฉพาะการภาวนานั้นถือเป็นการทำกุศลสูงสุดในพระพุทธศาสนา หลวงปู่ดู่เคยกล่าวไว้กับศิษย์ใกล้ชิดว่า "พระเครื่องของข้านั้นอยู่ที่คนนำไปใช้ว่าถึงหรือเปล่า ถ้าถึงจริงๆแล้วก็ไปนิพพานได้" คำกล่าวของหลวงปู่นี้มีความหมายอย่างยิ่งคือ เปลี่ยนจิตจากศรัทธาจนเป็น อจลศรัทธา นั่นเอง (ความศรัทธาอย่างยิ่งยวด ทั้งกาย วาจา ใจ โดยไร้ข้อกังขาใดๆทั้งสิ้น)<O:p></O:p>
    ผมได้สรุปมาจากบทหนึ่ง ในหนังสือไตรรัตน์ 2 หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา<O:p></O:p>
    ผมหวังว่าเพื่อนๆสมาชิกคงได้รับประโยชน์นะครับ<O:p></O:p>
    อนุโมทนาครับ
    <O:p>[​IMG]</O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2008
  20. Shinray01

    Shinray01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,675
    ค่าพลัง:
    +2,309
    ไม่ทราบว่าวังหน้าให้อะไรในการยึดแผ่นทองให้เกาะกับวัตถุมงคลหรอครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...