พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ถ้าผมให้ใครหักพระ อย่ากดอนุโมทนา หรืออนุโมทนาในใจเด็ดขาด

    อย่างที่คุณเพชรบอก ผมเองก็เคยหักมาแล้ว แต่เป็นเณร ผมหักพระสมเด็จ เพื่อเตือนให้กับท่านๆนึง (ที่ผมเองถือว่า เป็นครูผมคนนึง เคยบอก เคยสอนหลายๆเรื่อง) ว่า พระสมเด็จในชุดนั้น เป็นเณร

    แต่เคยมีคนที่หักพระสมเด็จ ซึ่งนำไปให้เซียนดู เซียนบอกว่าเก๊ ปรากฎว่า เพียงแค่ 6 เดือน เรียบร้อยครับ ไปนรก ซึ่งมีการตรวจสอบแล้วว่า ไปนรกจริงๆ และทราบถึงขุมด้วยว่า อยู่ขุมไหน
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 9 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 6 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, :::เพชร:::+, ake7440+ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ไปพักผ่อนก่อนนะครับ พรุ่งนี้ มีภาระกิจหลายเรื่องครับ
     
  3. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    ไปด้วยคนครับ เดี๋ยวนอนดูลมหายใจสักหน่อยดีกว่าครับ เป็นต่อ จบแล้ว
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>กฏแห่งกรรมในพระไตรปิฏก : ผลของ ‘คำสาบาน’
    http://www.manager.co.th/Dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9510000131370
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>5 พฤศจิกายน 2551 16:51 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐที่จะคอยป้องกันเรา ทั้งภายในและภายนอกให้รอดพ้นจากอันตรายทั้งหลายทั้งปวง คนที่ไม่มีศีลก็เหมือนกับขาดภูมิคุ้มกันในตัวเอง การที่จะตั้งมั่นอยู่ในศีลตลอดเวลาได้จะต้องอาศัย จิตใจที่เข้มแข็ง ไม่หวั่น ไหวต่อสิ่งต่างๆ ที่มาเย้ายวนยั่วยุ หากจิตใจอ่อนแอ ขาดสติ ก็จะเผลอทำผิดศีลได้ง่าย ดังเรื่องต่อไปนี้
    ในอดีตกาล ในยุคของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ มีอุบาสกผู้เป็นโสดาบันคนหนึ่งกับเพื่อนอีก ๕๐๐ คน ซึ่งอาศัยอยู่ในกิมิลนครต่างขวนขวายในการทำบุญทำทาน ได้พากันปลูกดอกไม้ สร้างสะพานและสร้างที่จงกรม ต่อมาก็ได้สร้างวัดและได้พากันไปทำบุญที่วัดนั้น ภริยาของทุกคนก็ชอบทำบุญเช่นกัน ต่างเอาดอกไม้ ของหอม เป็นต้น ไปบูชาพระเป็นประจำ บางครั้งก่อนไปถึงวัดก็ได้พากันแวะพักเหนื่อยตามร่มไม้ข้างทางด้วยความสบายใจ
    วันหนึ่งมีผู้ชายเจ้าชู้ ๒-๓ คน กำลังนั่งคุยกันอยู่ ได้แลเห็นพวกนางที่พักอยู่ใต้ต้นไม้ ก็เกิดความหลงใหลในความงาม พวกเขาเคยทราบว่าผู้หญิงเหล่านี้เป็นคนมีศีล มีความประพฤติดี มีคุณธรรม จะจีบ ก็คงยาก จึงท้ากันว่า ใครจะทำให้ผู้หญิงสักคนในกลุ่มนี้ทำผิดศีลได้? ถ้าทำได้จะให้ ๑,๐๐๐ กหาปณะ แต่ถ้าทำไม่ได้ต้องจ่ายให้พวกที่เหลือ ๑,๐๐๐ กหาปณะ เช่นกัน ชายคนหนึ่งจึงรับคำท้าทันที
    ชายคนนั้นจึงได้ไปดักรอ เมื่อพวกนางเดินมา เขาก็ดีดพิณและร้องเพลงอย่างไพเราะเพราะพริ้ง หญิงคนหนึ่งได้ฟังแล้วเกิดความหลงใหล ห้ามใจไม่อยู่ ทำผิดศีล นอกใจสามีมาเป็นชู้กับเขา
    เมื่อเพื่อนของชายคนนั้นแพ้พนันจึงยอมจ่ายเงินให้ แต่แอบไปบอกเรื่องนี้กับสามีของหญิงนั้น สามีถามนางว่า เป็นอย่างนั้นจริงหรือ? นางตอบปฏิเสธ แต่สามี ก็ไม่เชื่อ ขณะนั้นนางมองไปเห็นสุนัขพอดี จึงได้ทำการสบถสาบาน ว่า
    “ถ้าฉันทำกรรมชั่วอย่างนั้น ขอให้สุนัขดำตัวหูขาดนี้จงกัดฉันทุกภพทุกชาติ!!”
    ส่วนเพื่อนของนางทั้ง ๕๐๐ คน ก็ช่วยเธอปกปิดความ ผิดว่า ถ้าพวกฉันรู้ ขอให้พวกฉันเกิดเป็นทาสรับใช้นางไปทุกภพทุกชาติ
    ฝ่ายหญิงผู้ประพฤตินอกใจ และรู้ดีว่าตัวทำความผิด ก็เกิดความไม่สบายใจตลอดเวลา ถึงกับซูบผอม กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ไม่นานนักก็ตายและไปเกิดเป็นเวมานิกเปรต อยู่ที่ริมฝั่งสระกัณณมุณฑะแห่งหนึ่ง รอบๆวิมาน ของนางมีสระโบกขรณีเกิดขึ้นสระหนึ่งเพราะบุญที่นางเคยกระทำไว้ ส่วนหญิง ๕๐๐ คนที่เหลือหลังจากตายแล้วก็ไปเกิดเป็นคนรับใช้ของหญิงนั้น ด้วยอำนาจกรรม ที่สบถสาบานไว้
    หญิงนั้นได้เสวยทิพยสมบัติเฉพาะเวลากลางวัน เพราะผลบุญที่ทำไว้ในตอนแรก ครั้นพอถึงเที่ยงคืน พลังแห่งกรรมทำให้พวกนางลุกขึ้นจากที่นอนและเดินไปสระโบกขรณี ซึ่งที่นั่นมีสุนัขดำตัวหนึ่งตัวเท่าลูกแพะ รูปร่างน่ากลัว หูขาด เขี้ยวโง้งยาวคมกริบ มีนัยน์ตาเสมือนกอง ถ่านไม้ตะเคียนที่ลุกโพลงเต็มที่ มีลิ้นเหมือนกลไกแห่งสายฟ้าที่แลบออกมาไม่ขาดสาย มีเล็บโง้งคม มีขนยาวแข็งน่าเกลียด เดินมาจากสระกัณณมุณฑะด้วยความหิว จัด และไล่กัดกินนางจนเหลือแต่กระดูกและคาบไปทิ้ง ไว้ที่สระโบกขรณี แล้วก็หายไป หลังจากนั้นนางก็กลับมามีชีวิตเหมือนเดิม
    แต่ที่ที่พวกนางไปเกิดนั้น ไม่มีผู้ชายเลยแม้แต่คนเดียว พวกนางจึงเกิดความเบื่อหน่าย ใกล้ๆที่พวกนางอยู่ มีแม่น้ำสายหนึ่งไหลออกจากสระกัณณมุณฑะตามช่องภูเขา แล้วไหลต่อไปสู่แม่น้ำคงคา ห่างจากนั้นไม่ไกล มีป่า แห่งหนึ่ง เป็นสวนอันงดงามมีต้นมะม่วง ต้นขนุน และ น้ำเต้า เป็นต้น มีผลเป็นทิพย์ หญิงเหล่านั้นคิดกันว่า พวกเราจะโยนผลมะม่วงเหล่านี้ให้ไหลไปตามแม่น้ำ เผื่อว่าจะมีผู้ชายสักคนเก็บได้ แล้วจะเดินทางมาที่นี้ พวกเราก็จะอภิรมย์กับชายนั้น ว่าแล้วก็พากันโยนผลไม้ลงในน้ำมี ผลหนึ่งลอยไปตามกระแสน้ำในแม่น้ำคงคา จนกระทั่งถึง กรุงพาราณสี
    สมัยนั้น พระเจ้าพาราณสีทรงสรงสนานในแม่น้ำคงคาที่ล้อมไว้ด้วยตาข่ายโลหะ ขณะนั้น ผลไม้ทิพย์ได้ลอยมาติดอยู่ที่ตาข่าย พวกราชบุรุษเห็นผลมะม่วงทิพย์ขนาดใหญ่ สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส จึงนำไปถวายพระราชา พระองค์ทรงเฉือนผลมะม่วงนั้นหน่อยหนึ่งแล้วให้เพชฌฆาตคนหนึ่งในเรือนจำลองชิมก่อน เมื่อเขากินเข้าไปแล้ว รูปร่างหน้าตาก็เปลี่ยนไป หนังไม่เหี่ยวและ ผมไม่หงอก มีรูปร่างสง่างาม เช่นหนุ่มแรกรุ่น พระราชาเห็นดังนั้นจึงลองเสวยผลมะม่วง และได้รับความวิเศษในพระวรกาย จึงตรัสถามราชบุรุษว่า ผลมะม่วงทิพย์นี้ มีอยู่ที่ไหน ราชบุรุษกราบทูลว่าพรานป่าน่าจะรู้
    พระราชาจึงมีรับสั่งให้เรียกพวกพรานป่ามาและพระราชทานทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะแก่พรานป่าคนหนึ่ง เพื่อเป็นรางวัลในการไปเอาผลไม้ทิพย์ พรานป่าได้ออกเดินทางไปยังสระกัณณมุณฑะ พอไปถึงสวนผลไม้ทิพย์ พวกหญิงเหล่านั้นที่มองเห็นเขาเดินมาแต่ไกล จึงวิ่งเข้าไปหาด้วยหมายใจว่า คนนี้เป็นที่พึ่งของเรา เมื่อ พรานป่าเห็นเช่นนั้น ก็ตกใจกลัว รีบวิ่งหนีทันที เขากลับไปหาพระราชาและทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ พระราชาทรงอยาก จะเห็นหญิงเหล่านั้นและอยากบริโภคผลไม้ทิพย์ด้วย จึงออกเดินทางไปกับข้าราชบริพาร ๒-๓ คน พอไปถึงพระองค์ทรงให้ทุกคนรออยู่ห่างๆ และทรงเข้าไปสวนผลไม้ทิพย์เพียงลำพัง
    พวกหญิงเหล่านั้นพอเห็นพระองค์และรู้ว่าเป็นพระราชา ก็ยิ่งเกิดความรักและความนับถือมาก ได้พา ไปสู่วิมาน ให้บริโภคอาหารทิพย์ มีรสเลิศต่างๆ แล้วพวก นางก็พากันเข้าไปนั่งใกล้ตามที่ตนปรารถนา วันหนึ่งพระราชา เสด็จลุกขึ้นในเวลาเที่ยงคืน ทอดพระเนตรเห็นนางเปรตผู้ประพฤติผิดศีล กำลังเดินไปสระโบกขรณี ก็เกิดความสงสัย จึงตามไปดู แล้วพระองค์ก็ทรงเห็นนางกำลังถูกสุนัขกัด ทรงแอบดูอยู่ ๒-๓ คืน ก็ทรงคิดว่าสุนัขนี้คงจะเป็นศัตรูกับนาง จึงทรงพุ่งหลาวอันคมกริบเสียบสุนัขตาย แล้วให้นางลงไปในสระโบกขรณี นางก็กลับมามีรูปสวยดังเดิม จึงตรัสถามว่านางได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกายวาจาใจ หรือเพราะวิบากแห่งกรรมอะไร สุนัขหูด้วนจึงกัดกินอวัยวะน้อยใหญ่เช่นนี้
    นางเปรตจึงเล่าว่า นางได้ประพฤตินอกใจสามีที่เป็นผู้มีศีล และโกหกว่าไม่ได้ทำ ถ้าทำเช่นนั้น ขอให้สุนัขหูด้วนจงกัดกินอวัยวะน้อยใหญ่ของนาง ด้วยวิบากแห่งกรรมชั่ว คือการประพฤตินอกใจสามีและมุสาวาทนั้น ทำ ให้นางต้องเสวยทุกข์อยู่ถึง ๗๐๐ ปี พอนางเปรตเล่าจบ ก็กล่าวขอบคุณพระราชาที่ช่วยตนไว้ และวิงวอนให้ พระองค์จงเสวยกามสุขอันเป็นทิพย์ รื่นรมย์อยู่กับนางต่อไป
    ฝ่ายพระราชาฟังแล้วรู้สึกอยากกลับไปเมืองของพระองค์ ไม่อยากจะอยู่ที่นั้นอีกต่อไป จึงกล่าวว่า “กามสุขอันเป็นทิพย์ เราได้เสวยและได้รื่นรมย์กับท่านแล้ว ดูก่อนนางผู้ประกอบด้วยความงดงาม ขอให้ท่านช่วยนำเรากลับไปเถิด”
    นางเวมานิกเปรตได้ฟังอย่างนั้นก็รู้สึกเสียใจที่ต้องพลัดพรากจากพระราชา ถึงจะอ้อนวอนอย่างไรพระองค์ก็ ไม่ทรงยินยอม นางจึงนำพระราชากลับไปยังพระนคร แล้ว กลับไปยังที่อยู่ของตนตามเดิม เรื่องราวของนางเปรตทำให้พระราชาเกิดความสลดพระทัย จึงทรงบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ มากมาย จนตลอดชีวิตของพระองค์

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    พี่เอก ขอชมองค์จริงจากท่านปาทาน ซิครับ หุ หุ
     
  6. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ผมเพิ่ง ทันยุค ben 10เองครับ ฮีโร่แปลงร่างได้จากนาฬิกามีแปลงเอเลี่ยนได้ 10ตัวครับชอบดูทางการตูนเน็ทเวิร์ก ฝากตัวกับพวกพี่ๆด้วยครับ หุ หุ
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  8. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    ร่วมสมัยจริงๆครับ ดูการ์ตูนเน็ทเวิร์กด้วย
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    โยนิโสมนสิการ

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    http://th.wikipedia.org/wiki/โยนิโสมนสิการ


    โยนิโสมนสิการ (อ่านว่า โยนิโส-มะนะสิกาน)ประกอบด้วย 2 คำ คือ
    • โยนิโส มาจากคำว่า โยนิ ซึ่งแปลว่า เหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด ปัญญา อุบาย วิธี ทาง
    • มนสิการ หมายถึง การทำในใจ การคิด คำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา<SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP>
    ดังนั้น โยนิโสมนสิการ จึงหมายถึง "การทำไว้ในใจโดยแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย" นั่นคือ ความเป็นผู้ฉลาดในการคิด คิดอย่างถูกวิธีถูกระบบ พิจารณา ไตร่ตรองสาวไปจนถึงสาเหตุหรือต้นตอของเรื่องที่กำลังคิด คือคิดถึงรากถึงโคนนั่นเอง แล้วประมวลความคิดรอบด้านจนกระทั่งสรุปออกมาได้ว่าสิ่งนั้นควรหรือไม่ควร ดีหรือไม่ดี เป็นวิถีทางแห่งปัญญา เป็นธรรมสำหรับกลั่นกรองแยกแยะข้อมูลหรือแหล่งข่าว (ปรโตโฆสะ) อีกชั้นหนึ่ง เป็นบ่อเกิดแห่งสัมมาทิฐิ ทำให้มีเหตุผล ไม่งมงาย <SUP class=reference id=cite_ref-1>[2]</SUP>ซึ่งคัมภีร์ชั้นอรรถกถาและฎีกาได้แสดงไวพจน์แจกแจงความหมายเป็นแง่ต่างๆ คือ
    • อุบายมนสิการ เป็นการคิดหรือพิจารณาโดยอุบาย คือ การคิดอย่างมีวิธีหรือถูกวิธี ซึ่งหมายถึง การเข้าถึงความจริง สอดคล้องกับแนวสัจจะ ซึ่งทำให้รู้สภาวลักษณะและสามัญลักษณะของสิ่งทั้งหลาย
    • ปถมนสิการ เป็นการคิดถูกทาง ต่อเนื่องเป็นลำดับ หมายถึง ความคิดที่เป็นระเบียบตามหลักเหตุผล ไม่ยุ่งเหยิงสับสน จิตไม่แว๊บติดพันในเรื่องนี้ แต่เดี๋ยวกลับเตลิดไปคิดอีกเรื่องหนึ่ง จิตยุ่งเหยิงนี้กระโดดไปมา ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน แต่รวมทั้งความสามารถในการชักความนึกคิดไปสู้แนวทางที่ถูกต้อง
    • การณมนสิการการคิดอย่างมีเหตุผล เป็นการสืบค้นตามแนวความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย พิจารณาสืบสาวหาสาเหตุ ให้เข้าใจถึงต้นเค้า หรือแหล่งที่มาซึ่งส่งผลต่อเนื่องตามลำดับ
    • อุปปาทกมนสิการ การคิดการพิจารณาให้เกิดกุศลธรรม เช่น การพิจารณาที่ทำให้มีสติ หรือทำให้จิตใจเข้มแข็งมั่นคง เป็นต้น
    ไขความทั้ง 4 ข้อนี้ เป็นเพียงการแสดงลักษณะด้านต่างๆ ของความคิดแบบโยนิโสมนสิการ ซึ่งการเกิดในแต่ละครั้ง อาจมีลักษณะครบทั้ง 4 ข้อ หรือเกิดครบทั้งหมด หรือเขียนลักษณะทั้ง 4 ข้อนี้สั้นๆ ได้ว่า คิดถูกวิธี คิดมีระเบียบ คิดมีเหตุผล คิดเร้ากุศล<SUP class=reference id=cite_ref-2>[3]</SUP>

    อ้างอิง

    1. <LI id=cite_note-0>^ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546), หน้า 669-670 <LI id=cite_note-1>^ *พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
    2. ^ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546), หน้า 670-671
    หมวดหมู่: บทความที่รอการตรวจสอบรูปแบบ | พุทธศาสนา | อภิธานศัพท์พุทธศาสนา | ภาวนา
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <CENTER>พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)</CENTER>

    [2] โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดยอุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย - reasoned attention: systematic attention; analytical thinking; critical reflection; thinking in terms of specific conditionality; thinking by way of causal relations or by way of problem-solving) และเป็น ฝ่ายปัญญา (a factor belonging to the category of insight or wisdom)
     
  11. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    เกือบลืมแน่ะครับ ไม่ต้องปรึกษาครับช้าไปผมบอกเจ้าตัวไปตั้งแต่เมื่อคืนแล้วครับ หุ หุ
     
  12. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    อาจารย์ผลักดันทั้งที ต้องพยายามกันหน่อยครับ

    พี่หนุ่มครับ เพื่อเป็นการไม่รบกวนเดี๋ยวผมไปขอชมพี่ที่บ้านเลยละกันนะครับ :D
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วิปัสสนา

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    โยนิโสมนสิการ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ผู้สนใจท่านหนึ่งได้เมล์มาถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางผู้ดำเนินการเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ แก่ท่านอื่นๆ ด้วย จึงขออนุญาตนำมาลงเอาไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้
    คำถาม

    ต้องการทราบความหมายของคำว่าโยนิโสมนสิการ พร้อมยกตัวอย่างประกอบด้วยค่ะ ช่วยเมลกลับมาด้วยนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
    ตอบ
    คำว่าโยนิโสมนสิการ จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ให้ความหมายไว้ดังนี้ :
    โยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยแยบคาย, กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย คือ พิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริง โดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะ และความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย หรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา, ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี
    อธิบายเพิ่มเติม
    โดยหลักแล้วโยนิโสมนสิการก็คือหลักการสำคัญของการเจริญวิปัสสนา คือการมีสติเฝ้าสังเกตสภาวะที่ปรากฏตามความเป็นจริงในขณะที่เป็นปัจจุบันนั้นของรูปนาม หรือร่างกายและจิตใจ (โดยเน้นที่ร่างกายและจิตใจของตนเองเป็นหลัก) เพื่อให้เห็นความเป็นไปของรูปนาม หรือร่างกายและจิตใจ โดยเป้าหมายขั้นสูงสุดก็เพื่อให้เห็น หรือให้รู้ธรรมชาติที่แท้จริงของรูปนาม หรือร่างกายและจิตใจ คือความที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวนไปตลอดเวลา ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนาของใคร ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ถ้าขืนไปยึดก็มีแต่ทุกข์ที่จะตามมา ฯลฯ
    เมื่อเห็นความเป็นจริงมากขึ้น และชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ แล้ว ความยึดมั่นถือมั่นที่มีอยู่ก็จะลดน้อยถอยลงไปตามลำดับ จนถึงขั้นทำลายกิเลสได้ในที่สุด (อ่านรายละเอียดได้ในเรื่องต่างๆ ในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) ตั้งแต่เรื่องแรกของหมวดเป็นต้นไป)
    ซึ่งการมีสติเฝ้าสังเกตนี้จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประกอบด้วย (ความจริงแล้วโยนิโสมนสิการก็คือตัวสำคัญที่ทำให้ปัญญาเกิดขึ้นนั่นเอง) และเมื่อสังเกตไปมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว ก็จะได้ข้อมูล (ตามความเป็นจริง) มากขึ้นเรื่อยๆ การพิจารณาโดยแยบคายก็จะตามมา ทำให้เห็นธรรมชาติที่แท้จริงของรูปนาม หรือร่างกายและจิตใจ นอกจากจะเห็นสภาวะที่แท้จริงในแต่ละขณะแล้ว ยังสามารถเห็นความสัมพันธ์ของสภาวะอันนั้นกับเหตุปัจจัยที่ทำให้สภาวะอันนั้นเกิดขึ้นอีกด้วย ยิ่งสังเกตมากขึ้นเท่าใด ปัญญา ความรู้แจ้งในธรรมชาติที่แท้จริงของรูปนาม หรือร่างกายและจิตใจก็จะมากขึ้นเท่านั้น
    ถ้าเป็นการดูแบบไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ไม่มีโยนิโสมนสิการประกอบ ก็จะเป็นเหมือนการเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่ได้ประโยชน์อะไรขึ้นมาเลย
     
  14. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ตอนนี้การ์ตูนนารูโตะ ทาง การ์ตูนเน็ตเวิร์คตอน3ทุ่มสนุกมากครับ ดูจบ นอนตอนเช้าก็ตื่นไปคุยกับเพื่อนที่โรงเรียนประถมได้เลยครับ หุ หุ
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    อานาปานสติสูตร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
    http://www.dhammathai.org/treatment/nivorn/nivorn11.php

    [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจัก เป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร (การปรุงแต่งของจิต - ธัมมโชติ) หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเรา จักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต (จากความโลภ ความโกรธ ความหลง จากความเย่อหยิ่งถือตัว ความเห็นผิด ความลังเลสงสัย จากความหดหู่ท้อถอย ความฟุ้งซ่าน จากความไม่ละอายบาป ไม่สะดุ้งกลัวบาป จากความยึดมั่นในสิ่งทั้งปวง - ธัมมโชติ) หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็น ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด (ความยินดี รักใคร่ในสิ่งทั้งปวง - ธัมมโชติ) หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ
    [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำ ให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้า ยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่ง ในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย (คือเห็นกายชนิดหนึ่งในบรรดากายทั้งหลาย - ธัมมโชติ) มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา จักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียก อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้อยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออก ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด รู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจัก ทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว อานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจัก เป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจ ออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วย ปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ พิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอ เมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภ ความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณา ธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิส (ปิติที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องมีวัตถุมาล่อ - ธัมมโชติ) ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้ ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่นฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น ได้เป็นอย่างดี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้ เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อม เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อม เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อ เธอค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอัน ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรม นั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อม เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิส ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้ ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ ชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึง ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิต ตั้งมั่นฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น ได้เป็นอย่างดี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้ เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร ทำให้ มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ...
    ย่อม เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...
    ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ...
    ย่อมเจริญปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ ...
    ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ...
    ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ake7440 [​IMG]
    พระพุทธรูปแบบคันธารราฐ

    ขอบพระคุณครับ สำหรับข้อมูล search เร็วจริงๆครับ ไม่ใช่แค่คำเล่าลือ สุดยอดครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ____________________________________

    ____________________________________

    ____________________________________

    ____________________________________

    บ้านยังรกอยู่เลย โต๊ะทานข้าว(และรับแขก)ก็วางพระไว้เต็ม รกจริงๆ

    .
     
  17. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ไปช่วยเคลียม๊ะ..
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    โมทนาสาธุครับ
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ake7440 [​IMG]
    พระพุทธรูปแบบคันธารราฐ

    ขอบพระคุณครับ สำหรับข้อมูล search เร็วจริงๆครับ ไม่ใช่แค่คำเล่าลือ สุดยอดครับ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ____________________________________


    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ nongnooo [​IMG]
    พี่เอก ขอชมองค์จริงจากท่านปาทาน ซิครับ หุ หุ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ____________________________________


    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    อ่า อีกแล้วครับ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ____________________________________


    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ake7440 [​IMG]
    อาจารย์ผลักดันทั้งที ต้องพยายามกันหน่อยครับ

    พี่หนุ่มครับ เพื่อเป็นการไม่รบกวนเดี๋ยวผมไปขอชมพี่ที่บ้านเลยละกันนะครับ :D

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ____________________________________

    บ้านยังรกอยู่เลย โต๊ะทานข้าว(และรับแขก)ก็วางพระไว้เต็ม รกจริงๆ
    ____________________________________


    ขอบคุณครับ แค่นี้ก็ซึ้งในน้ำใจแล้วครับ กำลังหาเวลาเคลียอยู่เหมือนกัน
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 18 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 16 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, ake7440+ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    คุณหมอ พี่ฝากเรื่องนึง พี่มีงบประมาณให้ 1,000 บาท ช่วยซื้อยาสามัญประจำบ้าน เช่น พารา ,ไบโอดีน ,ยาเหลือง ,ยาแก้ท้องเสีย(หลายๆอย่าง) ,ยาแก้อักเสบ ,สำลี ,ผ้ากร๊อส และอื่นๆที่คุณหมอเห็นสมควร ส่วนกล่องใส่ยา พี่จะไปซื้อเอง

    พี่ฝากด้วยนะครับ จะไปถวายพระอาจารย์นิล เพราะว่า บนสนส.ผาผึ้ง ไม่ค่อยมีอะไรเลยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...