พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    บุพกรรมของพระพุทธองค์
    คนธรรมะ


    http://www.dhammathai.org/store/karma/view.php?No=244

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>ความนำ
    พระพุทธเจ้าทรงเล่าบุพกรรมของพระองค์ ในพระชาติต่าง ๆ ๑๔ ชาติ ทรงเริ่มพระชาติแรกที่ทรงปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า และได้ถวายท่อนผ้าเก่าผืนหนึ่งแก่พระผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
    ผลแห่งทานนี้ได้เกิดแก่พระองค์ การที่ทรงเล่าบุพกรรมทั้งฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศลนี้ ก็เพื่อเป็นตัวอย่างว่า พระองค์เมื่อยังเป็นปุถุชน ก็ได้ทำดีและทำชั่วมาแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นบทเรียนแก่พวกเรา ดังที่ตรัสไว้ตอนหนึ่งในพุทธาปทาน มีใจความว่า
    เมื่อเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย เห็นความเพียรเป็นความปลอดภัย ก็จงปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    อนึ่ง เรื่องบุพกรรมเล่มนี้ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงกรรมและผลของกรรมที่แต่ละคนได้ทำไว้ ในเรื่องบุญและบาป ที่มักพูดกันว่า ด้วยอำนาจบาปที่ได้กระทำไว้ในชาตินี้ จะกลายเป็นแรงบาปส่งผลให้ไปเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย และกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป

    ด้วยอำนาจบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ในชาตินี้ จะกลายเป็นแรงบุญส่งผลให้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป
    ผลกรรมที่แต่ละบุคคลได้ทำไว้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนดีที่นิยมเรียกว่าบุญ หรือส่วนชั่วที่นิยมเรียกกันว่าบาป ย่อมทำหน้าที่ในการตามให้ผลอย่างเที่ยงตรงและต่อเนื่อง โดยไม่มีอำนาจอื่นใดจะมาเบี่ยงเบนให้เป็นอย่างอื่นไปได้ ส่วนจะตามให้ผลทันตาเห็นในชาตินี้ หรือตามให้ผลในชาติต่อๆไปนั่น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

    ค่านิยมในสังคมปัจจุบันนี้ มีอะไรหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปมาก บุคคลส่วนใหญ่ไม่ค่อยคำนึงถึงบาปบุญคุณโทษกันเท่าไรนัก จนบางครั้งถึงกับมีการพูดว่า ถ้ามัวแต่คำนึงถึงบาปบุญคุณโทษ ก็ไม่ต้องไปทำมาหากินอะไรกันหรอก มีหวังอดตายกันหมด หรือเรื่องบาปบุญคุณโทษเป็นเพียงนิทานหลอกเด็ก ประกอบกับคนทำความชั่วบางคนสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างสุขสำราญ และได้รับการยกย่องนานัปการว่าเป็นผู้มีเกียรติ เป็นผู้ทำคุณงามความดีอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม เพียงแค่การบริจาคเงินให้แก่องค์กรสาธารณกุศลเพียงเล็กน้อย เป็นต้นตัวอย่างที่เห็นกันอยู่นี้เองทำให้คนอีกเป็นจำนวนมากเกิดความรู้สึกสับสน หรือให้ความสำคัญเรื่องบาปบุญคุณโทษน้อยไปได้

    ความจริง เรื่องบาปบุญคุณโทษมิใช่เป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระ เพียงแต่ว่าคนที่ทำความดีและความชั่วยังมิได้ประสบผลของมันโดยตรง จึงทำให้บุคคลอีกส่วนหนึ่งเกิดความเข้าใจสับสนไป แต่เมื่อใดที่ผลของความดีและความชั่วให้ผลโดยตรงแล้วนั่นแหละ บุคคลนั้น ๆ จึงจะยอมรับว่า บาปบุญคุณโทษนั้นมีจริง และให้ผลตามที่แต่ละบุคคลได้ทำไว้ทุกประการ ดังตัวอย่าง เรื่อง บุพกรรมของพระพุทธองค์

    ท่านพระอานนทเถระ เมื่อจะประกาศประวัติอดีตชาติของพระพุทธเจ้าว่าด้วยบุพกรรมเก่า จึงกล่าวว่า

    ณ พื้นศิลาที่น่ารื่นรมย์ ใกล้สระอโนดาตโชติช่วงด้วยรัตนะต่าง ๆ ในละแวกป่า มีดอกไม้มีกลิ่นหอมนานาชนิด พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก มีหมู่ภิกษุหมู่ใหญ่ห้อมล้อม ประทับนั่งที่ศิลาอาสน์นั้น ได้ตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์ว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟังบุพกรรมของเรา ดังต่อไปนี้

    ๑. เรื่อง ถวายผ้าไว้ในอดีต จึงได้รับผลบุญ
    คราวหนึ่ง ขณะที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใกล้สระอโนดาต ได้ตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๑ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    ในชาติก่อน เรา เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพราหมณ์ เห็นภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร จึงได้ถวายผ้าเก่าผืนหนึ่ง ในกาลนั้น ข้าพเจ้าปรารถนาการตรัสรู้ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก ผลของการถวายผ้าเก่าให้ผลในความเป็นพระพุทธเจ้า

    เรื่องนี้ มีกล่าวอธิบายขยายความไว้ว่า หลังจากที่พระสิทธัตถโพธิสัตว์ได้เจริญในศากยสกุล มีถิ่นกำเนิดชื่อว่ากรุงกบิลพัสดุ์ พระบิดามีพระนามว่า
    สุทโธทนะ พระมารดามีพระนามว่า มายาเทวี ทรงครองฆราวาสอยู่ ๒๙ ปี มีปราสาท ๓ หลัง มีชื่อว่า สุจันทะ โกกนุท และโกญจะ มเหสีพระนามว่ายโสธรา โอรสพระนามว่า ราหุล ทอดพระเนตรเห็นนิมิต ๔ ประการ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตายและสมณะแล้วเกิดความสังเวชสลดใจ กลางคืนได้เสด็จทรงม้ากัณฐกะ พร้อมกับนายฉันนะ แล้วเสด็จถึงแม่น้ำอโนมานที รับสั่งให้นายฉันนะนำม้าและเครื่องทรงกลับ แล้วพระองค์ก็ตัดพระโมลีแล้ว ตั้งสัจจะอธิษฐานโยนไปในอากาศว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานทีแล้ว ก็ดำริอีกว่า ผ้าของชาวกาสีอย่างดีเหล่านี้ ไม่สมควรแก่ความเป็นสมณะของเรา ในทันใดนั้นเอง สหายเก่าเมื่อครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า ซึ่งไปเกิดเป็นพรหมชื่อว่า ฆฏิการมหาพรหม ช่วงระยะพุทธันดรหนึ่ง ไม่ถึงความพินาศเลย (คือดำรงอยู่ในชั้นพรหมโลกตลอด) เพราะเคยเป็นเพื่อนกัน จึงคิดว่า วันนี้ สหายเก่าของเราจะบวช เราจะถือสมณบริขาร ๘ อย่างกล่าวคือ ไตรจีวร บาตร มีดน้อย เข็ม ประคดเอว และผ้ากรองน้ำไป เพื่อสหายเก่าของเรานั้นดีกว่า ครั้นแล้ว ก็นำสมณบริขารทั้ง ๘ อย่างนั้น มาถวายด้วยตนเอง พระโพธิสัตว์ก็รับแล้วครองผ้าที่เป็นธงชัยแห่งพระอรหันต์อธิษฐานเพศนักบวชผู้อุดม

    ๒. เรื่อง ห้ามผู้อื่นดื่มน้ำ ทำให้ต้องอดน้ำ
    คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใกล้สระอโนดาต ได้ตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๒ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    ชาติปางก่อน เรา เมื่อครั้งเกิดเป็นนายโคบาล ต้อนโคไปเลี้ยง ได้เห็นแม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่น จึงห้ามมันไว้ไม่ให้ดื่ม ด้วยผลกรรมนั้น ในภพสุดท้ายนี้ เรากระหายน้ำ ก็ไม่ได้ดื่มน้ำตามความปรารถนา
    มีเรื่องกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่า ก่อนที่พระผู้มีพระภาคจะปรินิพพานหลังจากเสวยพระกระยาหารที่นายจุนทกัมมารบุตรจัดถวายแล้ว ได้เกิดอาการพระประชวรอย่างรุนแรงลงพระบังคนหนักเป็นโลหิต(ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด) ทรงมีทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส(กระหายน้ำอย่างมาก) แต่ทรงใช้สติสัมปชัญญะข่มทุกขเวทนาไว้ ตรัสชวนท่านพระอานนท์ ออกเดินทางต่อไปยังกรุงกุสินารา ระหว่างทางทรงหยุดพักและรับสั่งให้พระเถระนำน้ำดื่มมาถวาย แต่พระอานนท์กราบทูลว่า น้ำในแม่น้ำตรงนั้น มีน้ำน้อยและถูกกองเกวียน ๕๐๐ เล่มเหยียบย่ำไปก่อนหน้านั้นแล้วก็ไม่ไปตักมาถวาย จนพระองค์ต้องรับสั่งในครั้งที่ ๓ พระอานนท์จึงไปตักน้ำนำมาถวายให้พระองค์ได้ทรงดื่ม และน้ำที่พระอานนท์ไปตักนั้น กลับเป็นน้ำใสสะอาด น่าอัศจรรย์ใจมาก

    ๓. เรื่อง กล่าวตู่พระอรหันต์ ทำให้ต้องตกนรก
    คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใกล้สระอโนดาด ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๓ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    ในชาติปางก่อน เราได้เคยเกิดเป็นนักเลงชื่อว่าปุนาลิ ได้กล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้ามีนามว่า สุรภี ผู้ไม่ประทุษร้ายใคร ด้วยผลกรรมนั้นเราจึงได้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในนรกเป็นเวลานาน เสวยทุกขเวทนาหลายพันปี ด้วยผลกรรมที่เหลืออยู่นั้น ในภพสุดท้ายนี้ เราจึงได้รับการกล่าวตู่เพราะนางสุนทรีเป็นเหตุ
    เรื่องนี้ มีกล่าวไว้อธิบายไว้ว่า สมัยนั้น ลาภสักการะเกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้าเป็นอันมาก เป็นเหตุให้พวกเดียรถีย์ทั้งหลายอับเฉาสิ้นลาภสักการะไปตาม ๆ กัน ไม่ผิดอะไรกับแสงหิ่งห้อยในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น วันหนึ่ง พวกเดียรถีย์ได้ปรึกษากันหาทางจะทำลายลาภสักการะของพระพุทธเจ้า เพื่อจะทำให้ตนได้ลาภสักการะ ดังที่เคยเป็น จึงขอแรงนางสุนทรีปริพาชิกาผู้มีรูปงามให้ไปทำลายพระพุทธเจ้า โดยให้ไปใส่ความว่าประพฤติร่วมประเพณีกับพระพุทธเจ้า
    นางสุนทรีทำเช่นนั้นอยู่ ๒-๓ วัน พวกเดียรถีย์ก็จ้างพวกนักเลงให้ไปฆ่านางสุนทรี แล้ว หมกไว้ที่ระหว่างกองขยะดอกไม้ใกล้พระคันธกุฎี พวกนักเลงได้ทำตามสั่งทุกประการ เอาละคราวนี้ พวกเดียรถีย์ก็แกล้งโจษจันหานางสุนทรี กราบทูลเรื่องนั้นแก่พระราชา พระราชารับสั่งให้ค้นหาจนทั่ว จึงได้ไปพบศพนางที่กองขณะดอกไม้ พวกเดียรถีย์จึงยกศพนางขึ้นเตียงแล้วหามเข้าไปยังพระนคร ทูลแด่พระราชาว่า สาวกของพระพุทธเจ้าฆ่านางสุนทรี แล้วหมกไว้ในระหว่างกองขยะดอกไม้ด้วยคิดว่า เราจักปกปิดกรรมชั่วที่พระพุทธเจ้าได้ทำไว้
    พระราชาได้ให้ป่าวร้องไปทั่วพระนคร พวกเดียรถีย์ได้เที่ยวป่าวร้องด่าพวกภิกษุในภายในและภายนอกพระนคร แม้กระทั่งในป่า ภิกษุได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระศาสดา พระศาสดาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงกลับโจทมนุษย์เหล่านั้นอย่างนี้ แล้วตรัสคาถาเหล่านี้ว่า คนที่ชอบพูดเท็จ หรือคนที่ทำความชั่วแล้วกล่าวว่า
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>อาชญากรรม-โจรกรรมรถ ปัญหาที่รอการแก้ไข
    http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9510000108819
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ทีมข่าวอาชญากรรม ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>14 กันยายน 2551 12:53 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=160><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>อาชญากรรม-โจรกรรม หน้าที่หลัก รอการแก้ไขจาก ว่าที่ ผบช.น.หลังพบสถิติช่วงการชุมนุมของพันธมิตรฯ การจับกุมทุกคดีเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยแต่คดีสำคัญกลับยังจับไม่ได้

    ผ่านมาแล้วถึง 113 วัน สำหรับการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ปักหลักกันมาอย่างยาวนานเพื่อขับไล่รัฐบาลนอมีนี ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

    แม้ตำรวจต้องมีหน้าที่ดูแลรักษาความเรียบร้อยกลุ่มผู้ชุมนุม แต่การพิทักษ์สันติราษฎร์ก็ยังคงเป็นหน้าที่หลัก ที่ต้องดูแลให้ประชาชนปลอดภัยจากปัญหาอาชญากรรมทั้งหลายทั้งมวล

    กองบัญชาการตำรวจนครบาล เปิดเผยสถิติอาชญากรรม 3 กลุ่ม และสถิติการโจรกรรมรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ เปรียบเทียบระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฎาคม 2550 กับ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฎาคม 2551 ประกอบด้วย

    1.คดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญ 2.คดีชีวิต ร่างกายและเพศ 3.คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ 4.การโจรกรรมรถยนต์ 5.การโจรกรรมรถจักรยานยนต์ โดยมีสถิติการรับแจ้งและจับกุม คือ กลุ่มที่ 1 เดือน พ.ค.2550 ถึง ก.ค.2550 รับแจ้ง 302 คดี จับกุมได้ 169 คดี เดือน พ.ค.2551 ถึง ก.ค.2551 รับแจ้ง 219 คดี จับกุมได้ 172 คดี รับแจ้งลดลงคิดเป็น 27.48 เปอร์เซ็นต์ และสามารถจับกุมได้เพิ่มขึ้นคิดเป็น 22.58 เปอร์เซ็นต์

    กลุ่มที่ 2 เดือน พ.ค.2550 ถึง ก.ค.2550 รับแจ้ง 1,458 คดี จับกุมได้ 797 คดี เดือน พ.ค.2551 ถึง ก.ค.2551 รับแจ้ง 1,308 คดี จับกุมได้ 896 คดี รับแจ้งลดลงคิดเป็น 10.29 เปอร์เซ็นต์ และสามารถจับกุมได้เพิ่มขึ้นคิดเป็น 13.84 เปอร์เซ็นต์

    กลุ่มที่ 3 เดือน พ.ค.2550 ถึง ก.ค.2550 รับแจ้ง 5,337 คดี จับกุมได้ 1,505 คดี เดือน พ.ค.2551 ถึง ก.ค.2551 รับแจ้ง 4,896 คดี จับกุมได้ 1,703 คดี รับแจ้งลดลงคิดเป็น 8.26 เปอร์เซ็นต์ และสามารถจับกุมได้เพิ่มขึ้นคิดเป็น 6.58 เปอร์เซ็นต์

    ส่วนสถิติการโจรกรรมรถยนต์เดือน พ.ค.2550 ถึง ก.ค.2550 รับแจ้ง 296 คดี จับกุมได้ 13 คดี เดือน พ.ค.2551 ถึง ก.ค.2551 รับแจ้ง 267 คดี จับกุมได้ 20 คดี รับแจ้งลดลงคิดเป็น 9.80 เปอร์เซ็นต์ และสามารถจับกุมได้เพิ่มขึ้นคิดเป็น 3.1 เปอร์เซ็นต์

    และสุดท้าย สถิติการโจรกรรมรถจักรยานยนต์เดือน พ.ค.2550 ถึง ก.ค.2550 รับแจ้ง 1,919 คดี จับกุมได้ 126 คดี เดือน พ.ค.2551 ถึง ก.ค.2551 รับแจ้ง 2,009 คดี จับกุมได้ 132 คดี รับแจ้งเพิ่มขึ้นคิดเป็น 4.69 เปอร์เซ็นต์ แต่สามารถจับกุมได้เพิ่มขึ้นคิดเป็น 0.0041 เปอร์เซ็นต์

    จากสถิติพบว่า คดีอาชญากรรมเกี่ยวกับชีวิตและทรัพย์สินลดลง แต่ปัญหาการโจรกรรมรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น และการจับกุมของทุกคดีก็ยังเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อีกทั้งคดีสำคัญๆ จนป่านนี้ก็ยังไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้ เช่นกรณีโจรปล้น 2 แบงก์ที่ตั้งอยู่ใกล้กันย่านปทุมวัน

    สิ่งที่เกิดขึ้นตำรวจคงอ้างไม่ได้ว่าต้องทุ่มกำลังหลักมาเพื่อดูแลกลุ่มผู้ชุมนุม เพราะการดูแลผู้ชุมนุมนั้นไม่ได้มีเพียงกำลังจาก บช.น.แต่มีกำลังหลักจากหน่วยงานอื่นเข้ามาช่วยดูแล คงต้องฝากไปยัง ว่าที่ “ผบช.น.เบื๊อก” พล.ต.ต.สุชาติ เหมือนแก้ว รอง ผบช.น.ต้องแสดงให้เห็นว่ายังคงทำหน้าที่ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์อย่างเต็มที่ อย่าเพียงเข้ามารับตำแหน่งเพียงเพราะเป็นเส้นสายทางการเมืองเท่านั้น...
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE height=34 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-LEFT: 10px">
    6 วิธี แห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

    http://www.thairath.co.th/news.php?section=technology&content=103965
    [13 ก.ย. 51 - 00:20]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]

    ข่าวชุมนุมประท้วงทางการเมืองติดต่อกัน 3 เดือนกว่าทำให้มีทั้งคนที่พอใจและไม่พอใจ ท่ามกลางความคิดเห็นที่แตกต่างกันนี้ เราจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้อย่างไรเป็นอีกคำถามหนึ่งที่หลายคนกำลังครุ่นคิด


    ภิกษุธรรมทูต หรือภิกษุฟับคำ จากหมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส กล่าวปาฐกถาธรรม ​
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ประวัติความเป็นมาของกระทรวงกระทรวงการคลัง

    [​IMG]

    http://www.mof.go.th/mofhistory/main.htm#history1

    การคลังของไทย ก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    การคลังของไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411-2453)
    พระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติ(จุลศักราช 1237)
    การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง พ.ศ. 2435
    การคลังของไทย ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
    การคลังของไทย ตั้งแต่สมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงปัจจุบัน
    ธนาคารแห่งประเทศไทย

    การคลังของไทย ก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของแผ่นดิน การภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ซึ่งรัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่เพียงผู้ เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือสัตยาบัน รวมทั้งการค้ำประกันหนี้ของส่วนราชการและองค์การรัฐ สถาบันการเงินและรัฐวิสาหกิจ
    การบริหารการคลังของไทยได้ดำเนินมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา แต่ยังมิได้จัดตั้งหน่วยงานเพื่อทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ รัฐบาลมีรายได้จาก ส่วยสาอากร หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า ภาษีอากร 4 ชนิด ได้แก่ จังกอบ อากร ส่วย และ ฤชา ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ได้มีการจัดระเบียบการปกครองฝ่ายพลเรือนเป็น 4 แผนก เรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งประกอบด้วย กรมเมือง กรมวัง กรมพระคลัง และ กรมนา โดยกรมพระคลังทำหน้าที่รักษาราชทรัพย์ผลประโยชน์ของบ้านเมือง มีขุนคลังเป็นหัวหน้าบังคับบัญชา และมีพระคลังสินค้าเป็นที่เก็บและรักษาส่วยสาอากร

    [​IMG]


    ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - 2031) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงแก้ไขระบบราชการวางระเบียบการคลังการส่วยสาอากรและเศรษฐกิจให้รัดกุมทันสมัย ให้ตราพระราชบัญญัติทำเนียบราชการ โดยแบ่งราชการออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือนซึ่งใช้มาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ฝ่ายทหารมีสมุหพระกลาโหม เป็นหัวหน้าดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายกเป็นหัวหน้าดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีเช่นเดียวกัน และมีตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์อีก 4 ตำแหน่ง คือ
    1. เสนาบดีกรมเมือง บังคับบัญชาการรักษาพระนครและความนครบาล
    2. เสนาบดีกรมวัง บังคับบัญชาการที่เกี่ยวกับพระราชสำนักและพิจารณาคดีความของราษฎร
    3. เสนาบดีกรมพระคลัง บังคับบัญชาเกี่ยวกับการจัดการรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้จากส่วยสาอากรและบังคับบัญชากรมท่าซึ่งเกี่ยวกับการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และยังมีหน้าที่เกี่ยวกับกรมพระคลังสินค้าการค้าสำเภาของหลวงด้วย
    4. เสนาบดีกรมนา บังคับบัญชาการเกี่ยวกับเรื่องนาและสวน การเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร
    ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367 - 2394) พระองค์ทรงสนพระทัยที่จะปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศ ในยุคนั้นทางราชการมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินมากกว่าในแผ่นดินก่อนๆ ทรงพยายามหาวิธีเพิ่มรายได้แผ่นดินด้วยการให้ผูกขาดการเก็บภาษีอากร โดยอนุญาตให้เจ้าภาษี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนในประเทศไทยเป็นผู้จัดเก็บภาษีอากรจากราษฎรโดยตรง ในแต่ละปีเจ้าภาษีจะเสนอรายได้สูงสุดในการจัดเก็บภาษีอากรแต่ละชนิดให้แก่รัฐบาล เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐบาลแล้ว เจ้าภาษีจัดแบ่งส่งเงินรายได้แก่รัฐบาลเป็นรายเดือนจนครบกำหนดที่ได้ประมูลไว้เป็นการเริ่มระบบเจ้าภาษีนายอากรนับแต่นั้นมา

    </B>ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2394 - 2411) ไทยได้เปิดประตูการค้ากับประเทศตะวันตก นับตั้งแต่ได้มีการลงนามใน สนธิสัญญาบาวริง กับประเทศอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2398 และกับประเทศอื่นๆ บทบัญญัติในสนธิสัญญาบาวริงมีผลให้ไทยต้องยกเลิกการค้าแบบผูกขาด โดยระบบพระคลังสินค้าอย่างเด็ดขาด เลิกล้มการเก็บภาษีเบิกร่องหรือค่าปากเรือ มีการจัดตั้ง ศุลกสถาน (Customs House) หรือ โรงภาษี จัดเก็บภาษีขาเข้าในอัตรา "ร้อยชักสาม" และภาษีขาออกตามที่ระบุไว้ในท้ายสัญญา ระบบการศุลกากรแบบใหม่ก็นำมาใช้นับแต่ครั้งนั้น
    ภายหลังสนธิสัญญาบาวริง การค้าขายระหว่างไทยกับต่างประเทศเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว พ่อค้าชาวต่างประเทศได้นำเงินเหรียญดอลล่าร์เม็กซิกันมาขอแลกเป็นเงินไทยมาก จนกระทั่งเงินบาทพดด้วงที่มีอยู่ไม่พอใช้หมุนเวียน ดังนั้นใน พ.ศ. 2403 รัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง โรงกษาปณ์สิทธิการ ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ผลิตเงินเหรียญด้วยเครื่องจักร มีทั้งที่ทำด้วย ทองคำ เงิน ดีบุก และทองแดงในราคาต่างกัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • mofban2.gif
      mofban2.gif
      ขนาดไฟล์:
      5.8 KB
      เปิดดู:
      886
    • img1.gif
      img1.gif
      ขนาดไฟล์:
      55.4 KB
      เปิดดู:
      1,266
    • img2.gif
      img2.gif
      ขนาดไฟล์:
      80.7 KB
      เปิดดู:
      871
    • img3.gif
      img3.gif
      ขนาดไฟล์:
      32.7 KB
      เปิดดู:
      880
    • img6.gif
      img6.gif
      ขนาดไฟล์:
      46.1 KB
      เปิดดู:
      894
    • img7.gif
      img7.gif
      ขนาดไฟล์:
      27.9 KB
      เปิดดู:
      839
    • img8.gif
      img8.gif
      ขนาดไฟล์:
      17.6 KB
      เปิดดู:
      987
    • img9.gif
      img9.gif
      ขนาดไฟล์:
      32.7 KB
      เปิดดู:
      842
    • img10.gif
      img10.gif
      ขนาดไฟล์:
      123.7 KB
      เปิดดู:
      884
    • img11.gif
      img11.gif
      ขนาดไฟล์:
      39.7 KB
      เปิดดู:
      870
    • img12.gif
      img12.gif
      ขนาดไฟล์:
      27.7 KB
      เปิดดู:
      810
    • img13.gif
      img13.gif
      ขนาดไฟล์:
      37.5 KB
      เปิดดู:
      851
    • img14.gif
      img14.gif
      ขนาดไฟล์:
      36 KB
      เปิดดู:
      794
    • img15.gif
      img15.gif
      ขนาดไฟล์:
      23.6 KB
      เปิดดู:
      802
    • t_img1.gif
      t_img1.gif
      ขนาดไฟล์:
      11.5 KB
      เปิดดู:
      62
    • t_img2.gif
      t_img2.gif
      ขนาดไฟล์:
      26 KB
      เปิดดู:
      958
    • t_img4.gif
      t_img4.gif
      ขนาดไฟล์:
      22.1 KB
      เปิดดู:
      851
    • t_img5.gif
      t_img5.gif
      ขนาดไฟล์:
      34.8 KB
      เปิดดู:
      877
    • t_img6.gif
      t_img6.gif
      ขนาดไฟล์:
      16.9 KB
      เปิดดู:
      870
    • t_img7.gif
      t_img7.gif
      ขนาดไฟล์:
      26.2 KB
      เปิดดู:
      890
    • t_img8.gif
      t_img8.gif
      ขนาดไฟล์:
      20.9 KB
      เปิดดู:
      794
    • t_img9.gif
      t_img9.gif
      ขนาดไฟล์:
      61.5 KB
      เปิดดู:
      851
    • t_img10.gif
      t_img10.gif
      ขนาดไฟล์:
      44.3 KB
      เปิดดู:
      924
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.mof.go.th/mofhistory/history2.html


    การคลังของไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411 - 2453)
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัตินั้น ทรงมีพระชันษาได้ 16 พรรษาเท่านั้น จึงมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ระหว่าง พ.ศ. 2411 - 2416 ครั้นเมื่อทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว ได้ทรงรับมอบอำนาจการปกครองแผ่นดินจากเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ และทรงเริ่มพระราชกรณียกิจในการปรับปรุงแก้ไขการบริหารราชการแผ่นดินให้ทันสมัยทันที ได้มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานการคลัง ซึ่งนำไปสู่การสถาปนากระทรวงการคลังขึ้นในรัชกาลนี้

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    </B>
    การตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ พ.ศ. 2416
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า การบริหารการคลังของประเทศประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากรและการจัดระบบการคลังหลายประการ
    ประการแรกการจัดเก็บภาษีอากรไม่มีการจัดระบบให้ถูกต้อง การเงินของประเทศได้ถูกแบ่งไปอยู่ที่เจ้านายและขุนนางผู้มีอำนาจ โดยอำนาจการจัดเก็บภาษีอากรกระจายไปอยู่ตามกรมต่างๆ เช่น กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระกลาโหม กรมมหาดไทย กรมนา และกรมพระคลังสินค้า เป็นต้น แล้วแต่เจ้ากรมผู้บังคับบัญชากรมนั้นๆ จะจัดเก็บตามประสงค์ ไม่เป็นระเบียบแบบแผนอันเดียวกันที่จะพึงปฏิบัติเยี่ยงอารยประเทศ นอกจากนี้ภาษีอากรที่กรมต่างๆ จัดเก็บได้ ซึ่งจะต้องมอบเงินส่วนหนึ่งให้กรมพระคลังมหาสมบัติ ก็ปรากฏว่าให้บ้างไม่ให้บ้าง กรมพระคลังมหาสมบัติเป็นเพียงแต่เจ้าพนักงานรับเงินหลวง ไม่มีอำนาจบังคับหรือเรียกร้องให้กรมต่างๆ ปฏิบัติตามแต่อย่างใดเพราะไม่มีระเบียบบัญญัติกฎหมายวางไว้ให้ทำเช่นนั้นได้ ทำให้เงินผลประโยชน์ของแผ่นดินรั่วไหลไปทางอื่นเสียเป็นอันมาก
    ประการที่สองระบบเจ้าภาษีนายอากรไม่มีประสิทธิภาพ ตามที่รัฐบาลได้ให้เจ้าภาษีนายอากรรับผูกขาดการเก็บภาษีอากรชนิดต่างๆ และนำเงินส่งรัฐเพื่อเป็นรายได้นำมาทำนุบำรุงประเทศนั้น ปรากฏว่าในระยะแรกเจ้าภาษีนายอากรก็นำเงินส่งราชการเต็มตามจำนวนและตรงเวลา แต่เมื่อนานวันไปเจ้าภาษีนายอากรมักบิดพลิ้วผัดผ่อน ไม่ส่งเงินตามกำหนดและส่งให้ไม่ครบตามจำนวน อีกทั้งยังทำการรีดนาทาเร้นราษฎรให้ได้รับความเดือดร้อน เกิดระบบการยักยอก ฉ้อโกงเงินหลวงของเจ้าหน้าที่และเจ้าภาษีนายอากร จำนวนเงินที่รัฐควรจะได้ก็ไม่ครบตามจำนวนที่พึงได้ เป็นผลกระทบต่อเงินรายจ่ายของแผ่นดิน จนเกือบจะไม่พอใช้ในกิจการต่างๆ
    ประการที่สามการจัดทำบัญชีของกรมพระคลังมหาสมบัติไม่เรียบร้อย นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การทำบัญชีรับและจ่ายเงินของกรมพระคลังมหาสมบัติ มิได้มีปรากฏไว้เป็นแบบอย่างและเป็นหลักฐานให้ตรวจสอบได้ จึงไม่ทราบแน่นอนว่าในแต่ละปี รัฐได้รับเงินเท่าไร และจ่ายราชการไปเท่าไร มีกำไรหรือขาดทุน เมื่อพระคลังมหาสมบัติแต่ละคนดับสูญไป บัญชีนั้นก็สูญหายไปหมด ไม่มีการจัดแจงเรียบเรียงบัญชีไว้สำหรับแผ่นดิน เมื่อสิ้นปีก็มิได้งบบัญชีขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้ทรงทราบเป็นบัญชีข้างที่ไว้สำหรับทรงตรวจดูตัวเงินแผ่นดินว่ามีเงินมากน้อยเพียงใด
    นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา เงินผลประโยชน์รายได้ของแผ่นดินลดลงไปมาก ในขณะที่การใช้จ่ายในกรมพระคลังมหาสมบัติเพิ่มรายการขึ้นทุกปี จนในที่สุดรายได้ไม่พอจ่ายต้องค้างชำระ รัฐบาลต้องเป็นหนี้สินอยู่เป็นอันมาก ดังปรากฏหลักฐานอยู่ในพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงมีไปถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ฉบับลงวันที่ 28 ตุลาคม ร.ศ. 122 ความตอนหนึ่งว่า
    "
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติ จุลศักราช 1237
    http://www.mof.go.th/mofhistory/history3.html

    ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวางระเบียบสำหรับปรับปรุงการคลังของประเทศตามพระราชบัญญัติสำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์ไปแล้ว ทรงพระราชดำริว่า การภาษีอากรอันเป็นเงินผลประโยชน์ก้อนใหญ่สำหรับใช้จ่ายในราชการทนุบำรุงบ้านเมือง และใช้จ่ายเป็นเบี้ยหวัดเงินเดือนข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนนั้น พระคลังมหาสมบัติยังจัดไม่รัดกุมเป็นระเบียบเรียบร้อย เงินผลประโยชน์ของรัฐบาลยังกระจัดกระจายตกค้างอยู่กับเจ้าภาษีนายอากรเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้เงินยังไม่พอใช้จ่ายในราชการและทนุบำรุงบ้านเมืองให้สมดุลย์ จึงทรงปรึกษากับสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หรือเคาน์ซิลเลอร์ ออฟ สเตด (Councillors of State) พร้อมด้วยคณะเสนาบดี ตราพระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติ จุลศักราช 1237 ขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2418 ว่าด้วยกรมต่างๆ ซึ่งจะเบิกเงินส่งเงินของทางราชการ
    พระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังมหาสมบัติฉบับนี้ถือได้ว่าเป็นกฎหมายงบประมาณฉบับแรกของเมืองไทย ดังปรากฏอยู่ในมาตราที่ 1 และมาตราที่ 2 ของพระราชบัญญัติ และจากพระราชบัญญัติฉบับนี้ เห็นได้ว่า กรมพระคลังมหาสมบัติมีฐานะเป็นกระทรวงเพราะใช้คำภาษาอังกฤษเพื่อเรียกอธิบดีว่า มินิสเตอร์ ออฟ ฟิแนนซ์
    เมื่อเปรียบเทียบเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตามที่ปรากฏในพระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังมหาสมบัติกับหน่วยงานในกระทรวงการคลังสมัยปัจจุบัน ก็จะเห็นได้ดังนี้

    1. เจ้าพนักงานบัญชีรับเงิน อำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นี้เป็นหน้าที่ของกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร
    2. เจ้าพนักงานบัญชีจ่ายเงิน และเจ้าพนักงานผู้เก็บเงิน เป็นอำนาจและหน้าที่ของกรมธนารักษ์
    3. ปลัดอธิบดี เทียบเท่ากับ ปลัดกระทรวง และอธิบดีกรมบัญชีกลาง
    4. เจ้าพนักงานใหญ่ ก็คือประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
    กรมพระคลังมหาสมบัติตามที่กล่าวมาแล้วนี้ ก็คือกระทรวงการคลังในปัจจุบันนั่นเอง และโดยที่กรมพระคลังมหาสมบัติได้รับการสถาปนาขึ้น ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2418 จึงถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนากระทรวงการคลัง นับถึงบัดนี้เป็นปีที่ 120
    ประมาณปี พ.ศ. 2431 ได้มีการย้ายศุลกสถานหรือโรงภาษี ซึ่งเป็นที่ทำการของกรมศุลกากรจากปากคลองผดุงกรุงเกษม มาอยู่ที่ริมแม่น้ำ อำเภอบางรัก

    ยกฐานะกรมพระคลังมหาสมบัติเป็นกระทรวง พ.ศ. 2433
    ในปี พ.ศ. 2430 เมื่อสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการจะเสด็จเป็นผู้แทนพระองค์ไปช่วยงานฉลองรัชกาลสมเด็จพระบรมราชินีวิคตอเรีย ครบ 50 ปี ณ ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสสั่งให้ไปพิจารณาดูแบบอย่างการปกครองของประเทศในทวีปยุโรป เมื่อสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการเสด็จกลับมา ก็ถวายรายงานให้ทรงทราบ ในปี พ.ศ. 2433 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติพระธรรมนูญการปกครองแผ่นดินขึ้น กำหนดการปกครองส่วนกลางเป็นกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปการปกครองของไทยให้ทันสมัย กรมพระคลังมหาสมบัติจึงได้รับการยกฐานะเป็นกระทรวง
    พระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ร.ศ. 109
    ใน พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า เมื่อกรมพระคลังมหาสมบัติได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงแล้ว ตำแหน่งเจ้าพนักงานต่างๆ ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติ พ.ศ. 2418 ไม่เพียงพอแก่ราชการที่เป็นอยู่ ตำแหน่งและหน้าที่ของผู้จะมารับราชการตามพระราชบัญญัติเดิมนั้น ก็ยังเป็นการบกพร่อง ขาดเกิน ก้าวก่ายไม่เรียบร้อย สมควรจะได้จัดการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแบ่งกรมและตำแหน่งหน้าที่ ให้เหมาะสมแก่กาลสมัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ตราพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติขึ้น เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2433

    พระราชบัญญัติฉบับนี้ กำหนดให้กระทรวงมหาสมบัติมีหน้าที่สำหรับ รับ จ่าย และรักษาเงินแผ่นดินทั้งสรรพราชสมบัติพัสดุทั้งปวง กับถือบัญชีพระราชทรัพย์สำหรับแผ่นดินทั้งสิ้น และเก็บภาษีอากรเงินขึ้นแผ่นดินตลอดทั่วพระราชอาณาจักร มีเสนาบดีรับผิดชอบบังคับราชการในกระทรวงสิทธิ์ขาด ประกอบด้วยกรมเจ้ากระทรวงและกรมขึ้น รวมเป็นกรมใหญ่ 13 กรม ดังนี้
    กรมเจ้ากระทรวง มี 5 กรม ได้แก่

    1. กรมพระคลังกลาง มีหน้าที่ประมาณการรับจ่ายเงินแผ่นดินว่าด้วยภาษีอากรและบังคับบัญชาราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติทั้งหมด
      [*]กรมสารบาญชี
      มีหน้าที่รับจ่ายเงินแผ่นดินและถือสารบาญชีพระราชทรัพย์ทั้งหมด
      [*]กรมตรวจ
      มีหน้าที่ตรวจบัญชี ตรวจราคา ตรวจรายงานการรับจ่ายเงินแผ่นดิน และสรรพราชสมบัติการภาษีอากรทั้งหมด
      [*]กรมเก็บ
      มีหน้าที่รักษาพระราชทรัพย์ทั้งหมด
      [*]กรมพระคลังข้างที่
      มีหน้าที่จัดการเงินในพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    กรมขึ้น มี 8 กรม แบ่งเป็น 2 แผนก คือ


    <DIR><DIR>1. กรมทำการแผ่นดิน มี 3 กรม คือ

    <DIR><DIR>(1) กรมกระสาปนสิทธิการมีหน้าที่ทำเงินตรา
    (2) กรมพิมพ์ธนบัตร มีหน้าที่ทำเงินกระดาษและตั๋วตรา
    (3) กรมราชพัสดุ มีหน้าที่จัดการซื้อจ่ายของห้างหลวง และรับจ่ายของส่วย

    </DIR></DIR>2. กรมเจ้าจำนวนเก็บเงินภาษีอากรมี 5 กรม คือ


    <DIR><DIR>(1) กรมส่วย มีหน้าที่เร่งเงินค่าราชการตัวเลขและค่าธรรมเนียม
    (2) กรมสรรพากร มีหน้าที่จัดเก็บเงินอากรต่าง ๆ
    (3) กรมสรรพภาษี มีหน้าที่เก็บเงินภาษีต่าง ๆ
    (4) กรมอากรที่ดิน มีหน้าที่เก็บเงินอากร ค่าที่ต่าง ๆ
    (5) กรมศุลกากร มีหน้าที่เก็บเงินภาษีขาเข้า ขาออก

    </DIR></DIR></DIR></DIR>โดยผลแห่งพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กรมสรรพากรจึงถือเอาวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2433 เป็นวันสถาปนากรมและกรมบัญชีกลางกำหนดให้วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2433 เป็นวันสถาปนากรมตามลำดับ




    <TABLE background=bg_yellow.gif><TBODY><TR><TD>การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง พ.ศ. 2435
    http://www.mof.go.th/mofhistory/history4.html

    เพื่อให้การจัดระเบียบราชการส่วนกลางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้แบ่งหน่วยราชการส่วนกลางเป็น 12 กระทรวง จัดสรรอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละกระทรวงให้เป็นสัดส่วน ไม่ก้าวก่ายในการปฏิบัติราชการ โดยมีพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งกระทรวงแบบใหม่ ขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 กระทรวงทั้ง 12 กระทรวงมีดังนี้
    1. กระทรวงมหาดไทย
    2. กระทรวงกลาโหม
    3. กระทรวงการต่างประเทศ
    4. กระทรวงวัง
    5. กระทรวงนครบาล
    6. กระทรวงเกษตราธิการ
    7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
    8. กระทรวงยุติธรรม
    9. กระทรวงยุทธนาธิการ
    10. กระทรวงธรรมการ
    11. กระทรวงโยธาธิการ
    12. กระทรวงมุรธาธิการ
    ทรงประกาศตั้งเสนาบดีเจ้ากระทรวงต่าง ๆ ขึ้นให้มีศักดิ์เสมอกันทั้ง 12 กระทรวง ยุบเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี และเสนาบดีจตุสดมภ์
    พระบรมราชโองการฉบับนี้ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ เป็นเสนาบดีกระทรวงการคลังพระมหาสมบัติ แต่เนื่องจากทรงพระประชวร กรมหมื่นนราธิปประพันธพงศ์ จึงทรงปฏิบัติราชการแทนต่อมาในปีเดียวกัน วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2435 ได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเสนาบดี โดยให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการคลังมหาสมบัติแทน
    ในปี พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระคลังข้างที่ ซึ่งแต่เดิมสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ให้มาสังกัดกระทรวงมุรธาธิการ ปัจจุบัน กรมพระคลังข้างที่ได้เปลี่ยนมาเป็นสำนักงานพระคลังข้างที่สังกัดอยู่ในสำนักพระราชวัง

    [​IMG]

    [​IMG]
    การยกเลิกระบบเจ้าภาษีอากรเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลจัดเก็บภาษีอากรเอง

    นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว การเก็บภาษีอากรจากราษฎรใช้วิธีการประมูลผูกขาด ให้เจ้าภาษีนายอากรรับผูกขาดไปเก็บภาษีจากราษฎรทุกปี ปรากฏว่าวิธีการดังกล่าวนี้ไม่มีประสิทธิภาพรัฐบาลไม่ได้รับเงินผลประโยชน์ครบตามจำนวน ถึงแม้ว่าจะได้มีการปรับปรุงมาตรการต่างๆ เช่น การตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ พ.ศ. 2416 แล้วก็ตาม ในปี พ.ศ.2436 พันเอกพระยาฤทธิรงค์รณเฉท (สุข ชูโต) สมุหเทศาภิบาลมณฑลปราจีนบุรี ได้เสนอให้เจ้าพนักงานของรัฐบาลจัดเก็บภาษีอากรเอง ในสมัยพี่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนสิริธัชสังกาศ เป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการอย่างใด จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมหิศรราชหฤทัย มาเป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (พ.ศ.2439-2449) ทรงทราบเรื่องและทรงเห็นว่าเป็นผลดีสมตามความมุ่งหมายของรัฐบาล จึงมีพระประสงค์จะปรับปรุงแก้ไขวิธีการเก็บภาษีอากร และได้กราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสนอวิธีการปรับปรุงการเก็บภาษีอากรใหม่ยกเลิกการประมูลผูกขาดเก็บภาษีอากรเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลดำเนินการจัดเก็บเอง ครั้นเมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว ก็เตรียมการในเรื่องนี้ต่อไป
    การจ้างที่ปรึกษาชาวต่างประเทศในกิจการคลัง

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อจะทรงปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย จำเป็นต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ แต่ข้าราชการไทยในเวลานั้นยังขาดความรู้และประสบการณ์ จึงทรงเห็นควรจ้างชาวต่างประเทศที่รู้งานเข้ามารับราชการ และเป็นที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้จ้างชาวต่างประเทศที่มีความรู้ในด้านการคลังมาทำงานหลายคน ได้แก่
    - มิสเตอร์ อี.โฟล ริโอ เข้ารับราชการในกรมสารบาญชี เมื่อปี พ.ศ. 2436 ท่านได้วางรูปบัญชีแบบสากลเป็นคนแรก ซี่งใช้ถือปฏิบัติในกรมบัญชีกลางสืบมา
    - มิสเตอร์ เอฟ.เอช. ไยลส์ และ มิสเตอร์ดับเบิลยู เอ. เกรแฮม ชาวอังกฤษจากอินเดีย ช่วยเตรียมวิธีการปรับปรุงให้เจ้าพนักงานของรัฐบาลเป็นผู้จัดเก็บภาษีอากรเอง เมื่อปี พ.ศ. 2440
    - มิสเตอร์ริเวต คาแวค ชาวอังกฤษตำแหน่งที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติใน พ.ศ.2441 ได้เสนอความเห็นให้แยกการสรรพากรออกจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ไปอยู่ในบังคับของกระทรวงมหาดไทย เพื่อมิให้เกิดการทุจริตฉ้อเงินและผลประโยชน์ของแผ่นดิน ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงเห็นชอบด้วย ใน พ.ศ. 2442 จึงให้ยกกรมสรรพากรนอกมาขึ้นกระทรวงมหาดไทย แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้มิสเตอร์ไยลส์ เป็นเจ้ากรมกรมสรรพากรนอก ส่วนมิสเตอร์เกรแฮมได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมกรมสรรพากรใน ขึ้นอยู่กับกระทรวงนครบาล และมิสเตอร์คาแวคก็ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมบาญชีกลาง (พ.ศ.2443-2445)
    การทำงบประมาณแผ่นดิน เพื่อให้การรับจ่ายเงินของแผ่นดินเป็นไปอย่างรัดกุมใน พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก กระทรวงพระคลังมหาสมบัติเริ่มวางระเบียบการจัดงบประมาณรายจ่าย แล้วรวบรวมขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต และจะไม่มีการจ่ายเงินเกินงบประมาณโดยที่มิได้รับความเห็นชอบจากองค์พระมหากษัตริย์เสียก่อน นอกจากนี้ ยังวางระเบียบการควบคุมการใช้จ่ายเงินของกระทรวงและกรมต่างๆ ทั้งหมด การจัดงบประมาณอย่างคร่าวๆนี้ เป็นการกำหนดรายจ่ายมิให้เกินกำลังของเงินรายได้ เพื่อรักษาดุลยภาพและความมั่นคงของฐานะการคลังของประเทศ ใน พ.ศ. 2444 รัฐบาลสามารถจัดพิมพ์งบประมาณรายรับรายจ่ายแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก
    อนึ่ง ในการจัดทำงบประมาณแผ่นดินนี้ โปรดฯให้แยกการเงินส่วนแผ่นดิน และส่วนพระองค์ออกจากกันอย่างเด็ดขาด พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์นั้น ให้ พระคลังข้างที่ เป็นผู้จัดการดูแล
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    การคลังของไทย ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
    http://www.mof.go.th/mofhistory/history5.html

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    ตั้งกรมพระคลังมหาสมบัติ
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี พ.ศ. 2453 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรัดพระคลังในท้องที่ต่างๆทั่วพระราชอาณาจักร เข้ามาอยู่ในบังคับบัญชาของกระทรวงมหาสมบัติ กรมพระจันทบุรีนฤนาถก็ได้ดำเนินการตามแนวทางนี้จนสำเร็จ

    ในพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พ.ศ. 2433 กรมเก็บในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทำหน้าที่เป็นพระคลังแผ่นดินสำหรับจ่ายและรักษาพระราชทรัพย์ทั้งปวงในกรุงเทพมหานคร และเป็นต้นเรื่องรับส่งเงินแผ่นดินถึงพระคลังในหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร แต่ชื่อเรียกกรมเก็บนี้ ไม่เหมาะสมกับขอบเขตหน้าที่การงาน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามกรมเก็บเป็นกรมพระคลังมหาสมบัติ ตามประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม 2454 สำหรับการรวบรัดคลังหัวเมืองมาอยู่ในบังคับบัญชาของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติก็สำเร็จสมบูรณ์ด้วยการโอนคลังในจังหวัดต่าง ๆ แห่งมณฑลกรุงเทพฯ ซึ่งเดิมอยู่ในกระทรวงนครบาลมาขึ้นกับกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2458 เป็นต้นไป
    ในปี พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2456 เพื่อวางระเบียบกำหนดเวลาที่กระทรวงต่าง ๆ จะต้องยื่นงบประมาณต่อกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เวลาที่จะต้องทูลเกล้าฯ ถวาย กับเวลาที่จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตและกำหนดวิธีการจ่ายเงินนอกงบประมาณในระหว่างปี การใช้จ่ายเงินงบประมาณของแต่ละปี กำหนดให้สิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม ของปีงบประมาณนั้น
    การรวมกรมสรรพากรในและกรมสรรพากรนอกเป็นกรมสรรพากร
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีกรมราชการขึ้น 2 กรมคือ กรมสรรพากรในและกรมสรรพากรนอก ขึ้นอยู่ในกระทรวงนครบาล และกระทรวงมหาดไทยตามลำดับ
    ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่าหน้าที่ของกรมสรรพากรในและกรมสรรพากรนอกนี้ ไม่สมควรที่จะอยู่ในกระทรวงฝ่ายปกครอง น่าจะได้มาอยู่ในเสนาบดีที่มีหน้าที่ทางการเงิน เพื่อจะได้จัดการตรวจตราและจัดการให้เป็นประโยชน์งอกงามขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกกรมสรรพากรในและกรมสรรพากรนอกมาขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาพระคลังมหาสมบัติ และรวมกรมสรรพากรในและกรมสรรพากรนอกเป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า "กรมสรรพากร"
    ตั้งกรมตรวจเงินแผ่นดิน
    เนื่องจากเงินรายได้และรายจ่ายของประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้นโดยลำดับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า ควรจะมีการตรวจตราการรับจ่ายและการรักษาเงินให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่เฉพาะสำหรับปฏิบัติการนี้แผนกหนึ่ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง กรมตรวจเงินแผ่นดิน ขึ้นในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติตามประกาศตั้งกรมตรวจเงินแผ่นดิน ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2458 ให้ทำหน้าที่ตรวจตราเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ซึ่งทำการรับหรือจ่ายเงินแผ่นดินและเงินอื่น ๆ ที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบ และอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัตินี้ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้ออกประกาศระบุหน้าที่การงานต่าง ๆ ซึ่งกรมตรวจเงินแผ่นดินจะต้องตรวจตรา และวิธีการที่จะต้องปฏิบัติ
    กรมบาญชีกลาง
    เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมตรวจเงินแผ่นดินนั้น เพื่อมิให้กรมใหม่ที่ตั้งขึ้นนี้ มีหน้าที่ปะปนกับกรมตรวจและกรมสารบาญชี ซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และทรงพระราชดำริเห็นว่านามกรมและหน้าที่ราชการของกรมตรวจเงินในแผ่นดินจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าปะปนกับกรมตรวจและกรมสารบาญชี จึงเปลี่ยนนามกรมตรวจและกรมสารบาญชีเป็นกรมบาญชีกลาง ตามประกาศวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2458 มีหน้าที่จัดระเบียบการประมวลบัญชีเงินรายได้และรายจ่ายของแผ่นดิน และสอบสวนการเบิกจ่ายเพื่อรักษารูปงบประมาณกับเพื่อให้การเบิกจ่ายได้ปฏิบัติไปตามความมุ่งหมายของการงบประมาณ ทั้งกำหนดหน้าที่ของกรมบาญชีกลางไว้
    ตั้งกรมสถิติพยากรณ์
    การวางนโยบายการปฏิบัติราชการของหน่วยงานต่าง ๆ ย่อมต้องอาศัยความรู้ในความเป็นไปของบ้านเมืองและราษฎร เป็นพื้นฐานแห่งนโยบายนั้น สถิติของบ้านเมือง กระทรวงบางแห่งได้เคยเก็บรักษาไว้ แต่เพื่อจะให้ได้รับประโยชน์ยิ่งขึ้นจากสถิติเหล่านี้ก็สมควรมีเจ้าหน้าที่กองกลาง เป็นผู้รวบรวมข้อความและตัวเลขต่าง ๆ แสดงสถิติของบ้านเมืองขึ้นเป็นพยากรณ์สำหรับประโยชน์ทั่วไป พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จังตั้งกรมสถิติพยากรณ์ขึ้นในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2458 ภายหลังได้รับการยกฐานะเป็นกระทรวงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2463
    กรมศุลกากร
    เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2457-2461) ประเทศไทยได้ประกาศสงครามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งเป็นฝ่ายชนะสงครามภายหลังสงครามประเทศไทยถือโอกาสเจรจายกเลิกสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับนานาประเทศ ซึ่งได้ทำไว้ตั้งแต่ครั้งสนธิสัญญาบาวริง โดยเฉพาะในเรื่องพิกัดศุลกากรซึ่งเดิมเราจะเก็บภาษีศุลกากรเกินกว่าร้อยชักสามไม่ได้ ในการนี้รัฐบาลได้ แต่งตั้งให้ ดร.ฟรานซิส บี.แซร์ ที่ปรึกษากระทรวงต่างประเทศ ไปเจรจาแก้ไขสนธิสัญญากับประเทศต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยตามสนธิสัญญาฉบับใหม่ ไทยมีอิสระสมบูรณ์ที่จะตั้งพิกัดอัตราศุลกากรได้เต็มที่

    ในการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีศุลกากร ปรากฎว่าในสมัยที่พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพร้อมพงษ์อธิราช ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดี และ มร.วิลเลียมนันท์ เป็นที่ปรึกษาศุลกากร ทางการได้จัดร่างกฎหมายวางระเบียบวิธีการศุลกากรขึ้นฉบับหนึ่ง โดยอาศัยตามหลักกฎหมายอังกฤษเป็นแบบฉบับ แล้วส่งไปให้นานาประเทศที่มีสัญญาทางพระราชไมตรีกับประเทศไทย พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน หลังจากนั้นจึงประกาศใช้เป็นกฎหมายนั่นคือ พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กิจการศุลกากรได้ดำเนินไปอย่างกว้างขวางมีอิสระสมบูรณ์ทุกประการ
    ส่วนในด้านพิกัดอัตราศุลกากรก็เช่นเดียวกัน ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากรฉบับปฐมฤกษ์ เมื่อปี พ.ศ. 2469 ปีเดียวกันนี้ด้วย
    ใน พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติเงินตรา พุทธศักราช 2471 ในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดให้มีกรมราชการกรมหนึ่งเป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เรียกว่า กรมเงินตรา มีหน้าที่กระทำกิจทั้งปวงอันเกี่ยวแก่การจำหน่ายและถอนคืนธนบัตร ต่อมาทรงพระราชดำริว่า กิจทั้งปวงซึ่งกรมเงินตราจะพึงปฏิบัติดังกล่าวมานี้ กรมธนบัตรซึ่งตั้งขึ้นตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รัตนโกสินทร์ศก 121 ได้ปฏิบัติอยู่แล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามกรมธนบัตรว่า "กรมเงินตรา" และให้อธิบดีกรมบาญชีกลางเป็นผู้บังคับบัญชากรมเงินตรา ตามประกาศเปลี่ยนนามกรมธนบัตรเป็นกรมเงินตรา ณ วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2471

    ในปี พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยุบกรมกระษาปณ์สิทธิการลงมามีฐานะเป็นโรงงานขึ้นกับกรมฝิ่นหลวงหรือกรมสรรพสามิตในปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องมาจากเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง ด้วยเหตุนี้โรงกษาปณ์ไทยจึงหยุดการผลิตเหรียญกษาปณ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    การสรรพากรในสมัยที่พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพากร (พ.ศ. 2473-2478) ได้มีการรวมกรมสุราเข้ามาอยู่ในกรมสรรพากร เนื่องจากพิจารณาเห็นว่ากรมทั้งสองมีหน้าที่และกิจการพิจารณาเห็นว่ากรมเกี่ยวพันกันอยู่ แต่การรวมนี้เป็นไปได้เพียงปีเดียว ก็มีประกาศพระบรมราชโองการแยกกรมสุราออกจากกรมสรรพากรไปตั้งเป็นอีกกรมหนึ่งต่างหาก และโดยที่ทรงพิจารณาเห็นว่า ต่อไปภายหน้าจะมีกิจการอื่นเพิ่มขึ้นอีก สมควรเปลี่ยนนามกรมนี้ให้เหมาะแก่หน้าที่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามกรมสุรา เป็นกรมสรรพสามิตต์


     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    การคลังของไทยตั้งแต่สมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองถึงปัจจุบัน
    http://www.mof.go.th/mofhistory/history6.html

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 คณะราษฎรซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนได้ร่วมกันทำการปฏิวัติ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดและมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ในแถลงการณ์ของคณะราษฎรได้กล่าวถึงการปรับปรุงประเทศทางด้านเศรษฐกิจอยู่ด้วย เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี ก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติด้วย
    ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะกรรมการราษฎรได้ผลักดันให้มีการแก้ไขโครงสร้างของระบบภาษีอากรเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่สังคมยิ่งขึ้น แต่เดิมมาภาระภาษีตกอยู่แก่คนกลุ่มเดียวคือกสิกร เมื่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำลง ก็เกิดความอัตคัดฝืดเคืองทั่วไป ราษฎรประสบความยากลำบากในการประกอบอาชีพและการเสียภาษีให้รัฐ ดังนั้นเพื่อเฉลี่ยภาระแห่งภาษีออกไปในลักษณะที่เป็นธรรม จึงให้ยกเลิกภาษีอากรเก่าๆ ให้มีการจัดเก็บภาษีขึ้นใหม่ให้เหมาะสมแก่ความเจริญของบ้านเมือง ในปี พ.ศ.2475 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีต่าง ๆ ขึ้น การปรับปรุงกฎหมายภาษีอากรครั้งนี้ นับว่าเป็นรากฐานของกฎหมายประมวลรัษฎากรในปัจจุบัน
    นอกจากนี้ คณะกรรมการราษฎรได้พิจารณาปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับกาลสมัย ในการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2476 ได้มีการประกาศใช้กฎหมาย 2 ฉบับ กฎหมายฉบับแรกได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยธรรมนูญราชการฝ่ายพลเรือน พ.ศ.2476 โดยมีสาระสำคัญว่า ให้แบ่งการบริหารราชการแผ่นดินเป็นกระทรวง มีรัฐมนตรีเป็นผู้ว่าการ ในกระทรวงหนึ่งอาจแบ่งราชการออกเป็นกรมเลขานุการรัฐมนตรี กรมปลัด และกรมอื่น ๆ ตามความจำเป็น กฎหมายอีกฉบับหนึ่ง คือ พระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรม พ.ศ.2476 ให้มีกระทรวงรวม 7 กระทรวง โดยกระทรวงพระคลังมหาสมบัติมีกรมขึ้นรวมทั้งกรมเลขานุการรัฐมนตรีและกรมปลัดเป็น 8 กรม ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้เปลี่ยนนามกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเป็นกระทรวงพระคลัง และในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2476 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบกรมในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้


    1.แยกหน้าที่กรมพระคลังมหาสมบัติซึ่งเดิมรวมอยู่ในกรมบาญชีกลาง ไปตั้งเป็นกรมใหม่ขึ้นอีกกรมหนึ่งพร้อมกับได้รวมกรมพระคลังมหาสมบัติ กรมเงินตรา กรมรักษาที่หลวงและกัลปนา และกรมกระษาปณ์สิทธิการเข้าด้วยกัน เรียกชื่อกรมใหม่นี้ว่ากรมพระคลัง กองกระษาปณ์เริ่มทำการผลิตเหรียญกษาปณ์ออกให้ประชาชนจ่ายแลกตามปกติ

    2.เปลี่ยนนามกรมบาญชีกลางเป็นกรมบัญชีกลาง

    3.รวมกรมสรรพสามิตต์และกรมฝิ่นเป็นกรมเดียวกัน แยกออกจากรมสรรพากร เรียกชื่อว่า กรมสรรพสามิตต์และฝิ่น

    ต่อมาในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2476 พระยาพหลพลพยุหเสนาได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศและจัดตั้งคณะรัฐบาลชุดใหม่ขึ้น ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารประเทศอีกครั้งหนึ่ง

    ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2476 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2476 และพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบกรมในกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2476

    4.แก้ไขนามกระทรวงพระคลัง เป็นกระทรวงการคลัง

    5.แก้ไขนามกรมพระคลัง เป็นกรมคลัง

    6.แก้ไขนามกรมสรรพสามิตต์และฝิ่น เป็นกรมสรรพสามิตต์

    จากพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2476 กระทรวงการคลังได้แบ่งส่วนราชการเป็น 8 กรม ได้แก่

    1. สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
    2. สำนักงานปลัดกระทรวง
    3. กรมคลัง
    4. กรมบัญชีกลาง
    5. กรมพัศดุ
    6. กรมศุลกากร
    7. กรมสรรพสามิตต์
    8. กรมสรรพากร
    ในระหว่างที่พระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยทรงดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมศุลกากร (พ.ศ. 2478 - 2481) ได้ทรงปรับปรุงงานด้านศุลกากรเพื่อให้เป็นกรมที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย ผลงานสำคัญคือ การตราพระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2478 เปลี่ยนการเก็บภาษีศุลกากรจากหลักการเก็บตามราคามาเป็นตามสภาพ นับเป็นแม่บทในการเรียกเก็บภาษีอากรของไทยตามแบบอารยประเทศ และยังได้ขยายประเภทของสินที่ต้องเสียภาษีจาก 30-40 ประเภทเป็น 198 ประเภท
    นอกจากนี้ยังทรงรับสั่งให้จัดรวบรวมประมวลคำสั่ง ระเบียบและกฎหมายต่าง ๆ ที่เจ้าพนักงานศุลกากรต้องปฏิบัติ เข้าเป็นหมวดหมู่ เป็นคู่มือของข้าราชการเรียกว่า "ประมวลข้อบังคับศุลกากร พ.ศ.2481" ซึ่งข้าราชการกรมศุลกากรได้ยึดถือเป็นคู่มือการปฏิบัติราชการตลอดมา
    เมื่อนายปรีดี พนมยงค์ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (พ.ศ.2481-2484) ได้แถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรข้อหนึ่งว่า "จะจัดการปรับปรุงภาษีอากรให้ยุติธรรมแก่สังคม" จึงได้มีการปรับปรุงระบบการภาษีอากรครั้งใหญ่ โดยการออกพระราชบัญญัติประมวลรัษฎากร ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2482 ได้ยกเลิกกฎหมายเก่าที่เกี่ยวกับภาษีอากรที่ล้าสมัย
    .


    ธนาคารแห่งประเทศไทย
    http://www.mof.go.th/mofhistory/history7.html

    ในปี พ.ศ.2482 เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามและเหตุการณ์ที่เกิดจากสงครามได้เร่งรัดความจำเป็นต้องจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นในประเทศไทย พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยได้ทรงร่วมมือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเริ่มจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2482 อันเป็นแนวทางไปสู่การตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ.2485 ในสมัยที่ พลเอกเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (2484-2487) ได้มีการตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 จัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ขึ้นเป็นองค์กรอิสระ และ จากพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มประกอบธุรกิจได้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2485 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เป็นผู้ว่าการธนาคารพระองค์แรก (พ.ศ.2485-2489) พระองค์ได้ทรงวางระเบียบแบบแผนและดำเนินการจนธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำรงอยู่เป็นปึกแผ่นมั่นคงตลอดมาจนปัจจุบัน
    การควบคุมปริวรรต

    ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินเนื่องจากความจำเป็นของสงครามมหาเอเชียบูรพา และการที่ประเทศไทยต้องจำยอมเข้าร่วมเป็นสัมพันธมิตรกับประเทศญี่ปุ่น ได้มีผลกระทบกระเทือนต่อการเงินของประเทศในขณะนั้นและภายหลังเป็นอย่างมาก กล่าวคือ การติดต่อค้าขายกับต่างประเทศต้องหยุดชะงักลง ทุนสำรองเงินตราที่เก็บไว้ในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกาก็ถูกกักกัน ไม่สามารถนำมาใช้หนี้ระหว่างประเทศได้ นอกจากนี้ประเทศไทยยังต้องยอมรับภาระหลายประการ อันเป็นผลทำให้เสถียรภาพเงินบาทอยู่ในสภาพไม่มั่นคงพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 นี้ ได้ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการออกกฎกระทรวง ควบคุม จำกัด หรือห้ามการปฏิบัติกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวกับการปริวรรตเงินตราต่างประเทศ ในการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ควบคุมดูแล
    เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจควบคุมธนาคารพาณิชย์ต่างๆ รัฐบาลจึงตราพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2488 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2488 มีหน่วยงานควบคุมโดยเฉพาะคือ หน่วยควบคุมธนาคารพาณิชย์ แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังคงเป็นผู้กำกับการตามพระราชบัญญัติอยู่
    เมื่อพลเอกเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นสมัยที่ 2 (พ.ศ.2494-2500) ได้มอบหมายให้นายเสริม วินิจฉัยกุล ปลัดกระทรวงการคลัง ไปติดต่อคณะสำรวจเศรษฐกิจของธนาคารโลก โดยธนาคารโลกได้ส่งผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาต่าง ๆ มาสำรวจประเทศไทย ซึ่งคำแนะนำในการสำรวจเศรษฐกิจของคณะผู้เชี่ยวชาญนี้ ได้เป็นแนวทางในการวางแผนเศรษฐกิจ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี
    รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง
    </B> โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ.2496 กำหนดให้รัฐบาลสามารถจัดตั้งองค์การของรัฐบาลที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยตรงเป็นพระราชกฤษฎีกาขึ้นได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อดำเนินกิจการอันเป็นสาธารณะหรือเพื่อประโยชน์ในการเศรษฐกิจหรือช่วยเหลือในการครองชีพหรืออำนวยบริการแก่ประชาชนโดยใช้เงินทุนจากงบประมาณแผ่นดิน พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นรากฐานของการก่อกำเนิดรัฐวิสาหกิจต่างๆ
    รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังประกอบด้วย
    1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
    2. ธนาคารออมสิน
    3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
    4. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
    5. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
    6. องค์การสุรา
    7. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
    8. โรงงานยาสูบ
    9. โรงงานไพ่
    10. บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด
    11. บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด
    (หมายเลข 10 - 11 กระทรวงการคลังได้มาด้วยการมอบหนังสือบริคณห์สนธิของผู้ประกอบการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย มีลักษณะเป็นหน่วยงานอิสระ มิใช่รัฐวิสาหกิจ)
    ภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2501 และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลได้พยายามที่จะปฏิรูประบบการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการคลัง
    ได้ตราพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของเงินตรา ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรักษาทุนสำรองเงินตราไว้ก้อนหนึ่ง สินทรัพย์ที่มีอยู่ในทุนสำรองเงินตรามีหลายประเภท
    เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2502 ได้สถาปนาสำนักงบประมาณขึ้น มีฐานะเทียบเท่ากรมในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี งานจัดทำงบประมาณซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังมาตลอด ก็เปลี่ยนเป็นงานของสำนักงบประมาณให้เป็นผู้จัดทำงบประมาณ
    ในวันที่ 18 ตุลาคม 2504 ได้มีการจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังโดยมีฐานะเทียบเท่ากรม ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2504 การจัดตั้งหน่วยงานใหม่นี้ เนื่องจากดำริของนายสุนทร หงส์ลดารมภ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในสมัยนั้น ที่เห็นว่าจำเป็นต้องนำวิทยาการแผนใหม่เข้ามาใช้ในการบริหารและการกำหนดนโยบายการคลังตลอดจนจะต้องมีองค์กรหรือจุดรวมที่จะสามารถประสานกิจกรรมที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและการคลังของประเทศ จึงควรต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานที่เหมาะสม โดยการปรับปรุงสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง และจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ที่ให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในการวางนโยบายการคลังและเศรษฐกิจของรัฐ ตลอดจนเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สำนักงานเศรษฐกิจการคลังจึงก่อตั้งขึ้น โดยยุบกองเศรษฐกิจการคลังและกองสถิติในสำนักงานปลัดกระทรวงมาอยู่ในหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้ และแต่งตั้ง ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้เชี่ยวชาญการคลัง สำนักปลัดกระทรวงการคลังในขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังคนแรก
    ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ.2505 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ขึ้น โดยให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2488 เนื่องจากในขณะนั้น การธนาคารและการเศรษฐกิจได้ขยายตัวขึ้นเป็นลำดับ จึงสมควรได้ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ให้เหมาะสม เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ ตลอดจนให้ความคุ้มครองแก่ผู้ฝากเงินกับธนาคาร
    ใน พ.ศ.2506 กรมศุลกากรได้ปรับปรุงรหัสสินค้าของไทย ทั้งนี้เนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้ปรับปรุงรหัสสินค้าเพื่อนำมารวบรวมสถิติสินค้าเข้าออกของนานาประเทศ ซึ่งในปีเดียวกันนี้ กรมศุลกากรได้เสนอคณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังแต่งตั้งคณะกรรมการพิกัดอัตราศุลกากร ให้ทำหน้าที่กำหนดหรือปรับปรุงแก้ไขพิกัดอัตราศุลกากร
    ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2516 กระทรวงการคลังในสมัยที่นายเสริม วินิจฉัยกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 21 (พ.ศ.2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ.2501 สาระสำคัญของกฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เพื่อประโยชน์ในการดำรงไว้ซึ่งค่าของเงินบาท สมควรจะได้กำหนดสกุลเงินตราต่างประเทศ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราซื้อหรือขายทันทีตามที่ธนาคารพาณิชย์ในราชอาณาจักรจะเรียกให้ซื้อหรือขาย โดยกำหนดให้เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาเป็นเงินตราต่างประเทศนั้น
    ใน พ.ศ.2517 กระทรวงการคลังได้เสนอร่างพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517 และประกาศใช้เป็นกฎหมาย เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 สืบเนื่องมาจากความจำเป็นต้องจัดให้มีตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่มีสภาพสมบูรณ์ภายใต้การควบคุมของทางการอย่างใกล้ชิด และมีมาตรการอันเหมาะสมเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม เพื่อเป็นการระดมเงินทุนในการพัฒนาประเทศและการพัฒนาตลาดทุนในราชอาณาจักร
    ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2522 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 ขึ้น โดยที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ได้ประกาศใช้บังคับมานาน มีบทบัญญัติหลายมาตราไม่เหมาะสมกับกาลสมัย สมควรที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติเดิมและเพิ่มเติมบทบัญญัติใหม่เพื่อให้เกิดความมั่นคงและเป็นหลักประกันแก่การประกอบการธนาคารพาณิชย์ พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการประกอบกิจการด้วย
    วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2522 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ขึ้น เป็นกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการและหลักเกณฑ์ของธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ โดยการกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย</FOTN>
    ในปี พ.ศ.2530 ได้มีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร โดยพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 พิกัดอัตราศุลกากรนี้ได้ใช้ระบบจำแนกประเภทสินค้าและรหัสประเภทพิกัดของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร ที่เรียกว่า ระบบ ฮาร์โมไนซ์ (Harinonized System) โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2531
    ในปี พ.ศ.2531 ได้มีการพิจารณาว่าโครงสร้างอัตราเงินเดือนข้าราชการในขณะนั้นยังไม่เหมาะสมเนื่องจากมีความแตกต่างกับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในลักษณะใกล้เคียงกันในภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจมากประกอบกับกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่าฐานะการคลังของรัฐบาลดีขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจดีขึ้น จึงเห็นสมควรปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนข้าราชการให้เหมาะสมกับภาวะหน้าที่ความรับผิดชอบ และให้เกิดความเป็นธรรมเมื่อเทียบกับกลุ่มอาชีพอื่น ตามบัญชี ก และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2532
    ในปี พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้ง "คณะกรรมการป้องปรามธุรกิจการเงินนอกระบบ" สาเหตุเนื่องมาจากมีการประกอบธุรกิจการเงินนอกระบบ ซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ คณะกรรมการชุดนี้จะกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการเงินนอกระบบทั้งหมด สำหรับให้เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เป็นหลักในการปฏิบัติงาน
    ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2533 รัฐบาลอนุมัติให้ทำการปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนข้าราชการ จากบัญชี ก เป็นบัญชี ข โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2534
    ในปัจจุบัน เศรษฐกิจการค้าของโลกมีการเปลี่ยนแปลงขยายตัวเพิ่มมากขึ้นประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง และมีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงจากประเทศเกษตรกรรม และนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่น มาเป็นการส่งออกผลผลิตในด้านเกษตรกรรมและการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก ขณะเดียวกันสถานการณ์ทั่วโลก มีกลุ่มเศรษฐกิจการค้ารวมตัวกันหลายกลุ่ม ทั้งยุโรป อเมริกา และเอเชีย ตลอดจนประเทศสังคมนิยมต่าง ๆ ก็มีการเปิดการค้าเสรีขึ้นหลายประเทศ ทำให้ประเทศไทยต้องปรับปรุงนโยบายโครงสร้างอัตราภาษี และแผนเศรษฐกิจการค้าให้มีลักษณะเป็นสากล เพื่อรองรับสถานการณ์โลก และเมื่อประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีกับนานาประเทศ ก็จำเป็นต้องดำเนินนโยบายเศรษฐกิจการคลัง เพื่อให้สอดคล้องกับพันธะสัญญาที่ทำไว้ เช่น พันธะภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน พันธะภายใต้องค์การค้าโลก เป็นต้น
    ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2534 ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ประจำปี 2534 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในบริเวณโรงงานยาสูบ ถนนรัชดาภิเษก นับเป็นการประชุมที่สำคัญและยิ่งใหญ่กว่าการประชุมใด ๆ ที่เคยจัดขึ้นในประเทศไทย ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนทางการจากรัฐบาลประเทศต่าง ๆ จำนวน 151 ประเทศ นำโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ/หรือผู้ว่าการธนาคารกลางผู้แทนจากธนาคารพาณิชย์ และสื่อมวลชนทั่วโลก รวมทั้งผู้สังเกตการณ์จากสถาบันการเงิน องค์การระหว่างประเทศ ผู้เข้าประชุมมีจำนวนประมาณ 10,000 คน การจัดประชุมครั้งนี้เป็นการสร้างชื่อเสียงและก่อประโยชน์แก่ประเทศโดยส่วนรวมในด้านต่าง ๆ เป็นอันมาก
    ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax)
    ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 ได้เริ่มมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นครั้งแรก
    การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้มาจากเหตุผลในทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ จากการที่เศรษฐกิจของไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว ฐานะทางเศรษฐกิจการเงินการคลังของประเทศมั่นคงขึ้นมาก ในขณะที่มีการกล่าวถึงความไม่เหมาะสมของโครงสร้างภาษีการค้าต่อเศรษฐกิจของประเทศ อันได้แก่ความซ้ำซ้อนของระบบภาษีการค้าที่เป็นอยู่ และความหลากหลายของโครงสร้างอัตราภาษีนอกจากความบกพร่องของระบบภาษีการค้า ซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตแล้ว ความต้องการเปลี่ยนแปลงระบบภาษีของทางการ ยังเนื่องมาจากเหตุผลทางด้านภาษีอากรอีกด้วย กล่าวคือ ความสามารถในการหารายได้ของรัฐผ่านเครื่องมือทางภาษีการค้าและภาษีศุลกากรได้ลดน้อยลงเป็นลำดับ
    ด้วยเหตุผลดังกล่าว กระทรวงการคลังจึงได้เสนอพิจารณายกเลิกภาษีการค้า และนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวจะมีอัตราเดียวที่ใช้กับสินค้าและบริการทุกชนิด สำหรับสินค้าใดที่มีเหตุผลทางเศรษฐกิจที่จะเก็บสูงกว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มเติมจากภาษีมูลค่าเพิ่ม
    การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้นี้ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อระบบภาษีอากรของประเทศไทยเป็นการปฏิรูปภาษีการค้าครั้งใหญ่ ทำให้ระบบภาษีอากรของประเทศมีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเอื้ออำนวยต่อการลงทุนการส่งออก และการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจ เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีความซ้ำซ้อนของภาระภาษีดังเช่นภาษีการค้า นอกจากนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มทำให้เกิดความเป็นธรรมและความสะดวกต่อการปฏิบัติตามของผู้เสียภาษีอีกด้วย
    ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2535 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยยกเลิกพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 และพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 ตามพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้ ให้มีคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่เรียกว่า "คณะกรรมการ ก.ล.ต." โดยมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจนกำกับดูแลในเรื่องหลักทรัพย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง องค์การที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ การออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ และการป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์
    เมื่อประเทศไทยได้ร่วมกับสมาคมอาเซียนจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนโดยมีเป้าหมายหลักคือ การลดภาษีศุลกากรแก่สินค้าที่ขายระหว่างประเทศภาคีอาเซียนให้เหลือไม่เกินร้อยละ 5 รวมทั้งขจัดมาตรการกีดกันทางการค้าอื่นๆ ภายใน 15 ปี นับจากวันที่ 1 มกราคม พ.ศ 2536 กระทรวงการคลังก็ได้ประกาศลดอัตราศุลกากร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราอากรสินค้าอุตสาหกรรม ที่นำเข้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนให้เหลือไม่เกินร้อยละ 30 นับจากวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการลดภาษีของไทย
    ในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ 2536 กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้คัดเลือกประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ดีในด้านการบริหารเงินทุนเข้าและออก เพราะในช่วงเวลาที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถจัดการใช้ประโยชน์จากเงินทุนต่างประเทศได้ดี</B>

    สืบเนื่องจากการส่งออกมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของไทยมากขึ้น ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) ประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมการส่งออก ดังนั้นการให้ความช่วยเหลือผู้ส่งออกทางด้านการเงิน และการให้บริการอื่นจึงมีความจำเป็น ใน พ.ศ. 2536 ได้มีพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เพื่อดำเนินการจัดตั้งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า (ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ ธสน.ได้เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 เกี่ยวกับนโยบายการเงินของประเทศไทย สำหรับปี พ.ศ. 2537 เป็นเรื่องของการเปิดเสรีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดทิศทางและเป้าหมายไว้ 5 ประการ ดังนี้<B>
    1. ส่งเสริมการพัฒนาตลาดเงินระยะสั้น ด้วยการให้ธุรกิจเอกชนและรัฐวิสาหกิจ ออกตราสารในประเทศให้มากขึ้น
    2. ผ่อนคลายการควบคุมปริวรรตเงินตราให้มากขึ้น ขยายขอบเขตการค้าชายแดน และให้นำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น
    3. จัดตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนในกลุ่มประเทศอินโดจีน และประเทศพม่า
    4. ให้สถาบันการเงินขยายธุรกิจสู่ภูมิภาค และกระจายเงินทุนให้กับลูกค้ารายย่อยมากขึ้น
    5. สนับสนุนการขยายบริการทางการเงินไปต่างจังหวัดให้มากขึ้น เช่นการขยายสาขา ของธนาคารไทยพาณิชย์ และธุรกิจวิเทศธนกิจ (BIBF) รวมทั้งการตั้งสำนักงานสินเชื่อของบริษัทเงินทุนในต่างจังหวัด
    </B> จากนี้ต่อไปในระยะ 5 ปีข้างหน้า กระทรวงการคลังได้วางนโยบายการคลังด้วยการรักษาวินัยด้านการคลังอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง วิธีการคือ รักษาฐานะดุลการคลังไม่ให้ลดต่ำมากไปกว่านี้ และจะต้องรักษางบประมาณให้สมดุลสำหรับนโยบายการเงิน ได้วางกรอบที่จะรักษาเสถียรภาพทางการเงินให้มั่นคง ด้วยการสร้างระบบการเงินที่ทันสมัยภาพของโครงสร้างระบบการเงินไทยต่อไปจะมีความหลากหลาย และเกิดสถาบันการเงินในรูปแบบใหม่เพิ่มขึ้น
    กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารการเงินการคลังของแผ่นดิน การจัดเก็บภาษีอากร และกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวข้องกับการหารายได้ของประเทศ ตลอดจนควบคุมดูแลระบบงานด้านเศรษฐกิจและการคลัง ให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารงานการคลังได้เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย สืบต่อมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการในกรมพระคลังมหาสมบัติขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2418 โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ทรงเป็นเสนาบดีกรมพระคลังมหาสมบัติ และในปี พ.ศ. 2476 จึงเปลี่ยนเป็นกระทรวงการคลังจนถึงปัจจุบัน
    การดำเนินงานของกระทรวงการคลัง ได้ผ่านปัญหาอุปสรรค และวิกฤตการณ์ทางการเงินการคลังหลายครั้งแต่ก็สามารถแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จเรียบร้อยตลอดมา ขณะเดียวกันกระทรวงการคลัง ได้พัฒนาปรับปรุงระบบงานของหน่วยงานในสังกัดให้ทันสมัย และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของโลกที่จะมีผลกระทบต่อประเทศไทย ทำให้การเงินการคลังของประเทศมีเสถียรภาพ และมีความเจริญรุ่งเรืองในทางเศรษฐกิจ อย่างเห็นได้ชัดเจนจนถึงบัดนี้

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=22626


    <TABLE class=tborder id=post108589 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: 0px solid; BORDER-TOP: 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid">09-10-2008, 04:17 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: 0px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" align=right>#1 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: 0px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 0px solid" width=175>มดเอ๊ก[​IMG][​IMG]<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_108589", true); </SCRIPT>
    เพื่อนรักอกาลิโก
    [​IMG]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR style="BACKGROUND-IMAGE: url(images/misc/level/red_faded.gif)"><TD width=5 height=11>[​IMG]</TD><TD width="100%" height=11>[​IMG]</TD><TD width=1 height=11>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR style="BACKGROUND-IMAGE: url(images/misc/level/grey_faded.gif)"><TD width=5 height=11>[​IMG]</TD><TD width="100%" height=11>[​IMG]</TD><TD width=1 height=11>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR style="BACKGROUND-IMAGE: url(images/misc/level/green_faded.gif)"><TD width=5 height=11>[​IMG] <TD><TD width="100%" height=11>[​IMG] <TD><TD width=1 height=11>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​

    [​IMG]

    เป็นสมาชิกเมื่อ: Jun 2006
    โพส: 7,779
    ขอบคุณ: 48
    ได้คำขอบคุณ 2,510 ครั้งจาก 1,756 โพส
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]



    </TD><TD class=alt1 id=td_post_108589 style="BORDER-RIGHT: 1px solid"><!-- icon and title -->ดูโชว์ไอ้เข้มาเยอะแล้ว...ยอมรับเลยว่าน้องคนนี้เด็ดสุด!
    <HR SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message --><TABLE class=ncode_imageresizer_warning id=ncode_imageresizer_warning_1 width=525><TBODY><TR><TD class=td1 width=20>[​IMG]</TD><TD class=td2 unselectable="on">รูปนี้ถูกลดขนาดลง กดที่เเถบนี้เพื่อดูขนาดเดิม ขนาดเดิมของรูป: 700x466 ขนาดของไฟล์: 83KB</TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG]


    [​IMG]
    <!-- / message --><!-- sig -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สมิทธชี้กทม.เสี่ยงภัย"สตอมเซอจ"
    http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=176705&NewsType=1&Template=1

    [​IMG]

    "สมิทธ"ชี้ กรุงเทพฯเสี่ยงภัย"สตอมเซอจ"ระบุ 7 เขตอันตราย บางขุนเทียน ทุ่งครุ ราษฎร์บูรณะ บางบอน จอมทอง บางแค และหนองแขม ด้าน อุตุฯ เตือน เหนือ-อีสาน-ตะวันออก ระวัง “ฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก” ส่วน พิษณุโลก-ลพบุรี-ปากช่อง ยังอ่วม ขณะที่ พายุเฮอริเคน “ไอค์” ถล่มชายฝั่งรัฐเทกซัส ประชาชน 2.9 ล้านคน ได้รับความเดือดร้อน

    เมื่อวันที่ 13 ก.ย. สำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศเตือนภัย “ฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก” ฉบับที่ 13 (329/2551)โดยระบุว่าร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำ บริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย

    ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ เช่นบริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด จันทบุรี และตราด ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ในระยะ 1-2 วันนี้ (13-14 ก.ย. 51) ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทย และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังการเดินเรือในระยะนี้ไว้ด้วย

    ด้าน ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวตอนหนึ่งในการประชุมเสวนา “แผนรับมือวิบัติภัยน้ำทะเลยกตัวสูงขึ้น” หรือ สตอม เซอจ ที่อาคารอเนกประสงค์ ชั้น 5 ม.ธนบุรี ว่าจากการประเมินพื้นที่กรุงเทพฯ มีโอกาสที่จะเกิดภัยพิบัติดังกล่าวในช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค.นี้ และถือเป็นช่วงอันตรายอย่างยิ่ง จากความเร็วของแรงลมที่ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะส่งผลให้คลื่นสูงเฉลี่ย 2.2-4.5 เมตร โดยมีจุดเสี่ยงอยู่ 7 เขต ได้แก่เขตบางขุนเทียน ทุ่งครุ ราษฎร์บูรณะ บางบอน จอมทอง บางแค และหนองแขม ภัยธรรมชาติครั้งนี้ประชาชนไม่สามารถละเลยได้ โดยรัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับระบบการเตือนภัย ระบบการป้องกัน มิให้น้ำเข้ามา ในพื้นที่หลาย ๆ จังหวัด เพราะหากดำเนินการช้าจะมีผลกระทบต่อประชาชน และเกิดความ เสียหายต่อประเทศชาติอย่างมากมาย ซึ่งถ้าเกิดขึ้นจริงความรุนแรงอาจจะเท่าพายุ “นาร์กีส” ก็เป็นได้

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ทางกรุงเทพ มหานครได้จัดเตรียมมาตรการเพื่อรับมือกับ คลื่นพายุซัดฝั่งไว้พร้อมแล้ว โดยได้จัดเตรียมแผนปฏิบัติการ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังเกิดภัยพิบัติ แผนเตือนภัยและแผนการอพยพประชาชน รวมทั้งจัดให้มีการซักซ้อมแผนเตือนภัยและแผนอพยพอีกด้วย ซึ่งหากเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง สามารถแจ้งเตือนประชาชนได้ล่วงหน้า 4-6 วัน ทั้งนี้ประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์ คลื่นพายุซัดฝั่งได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่ www.bangkok.go.th

    ด้านสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ ล่าสุดที่ จ.พิษณุโลก มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหาย 14 หมู่บ้าน 5 ตำบลใน อ.เนินมะปราง และอ.วังทอง บ้านเรือนราษฎรและพื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหายเป็นวงกว้าง ถนนถูกน้ำท่วมขังจนไม่สามารถสัญจรไปมาได้หลายสาย นอกจากนี้น้ำยังท่วมขังในเรือนจำจังหวัด สูงกว่า 1 ฟุตเจ้าหน้าที่ต้องอพยพนักโทษทั้งชาย-หญิง 1,971 คนไปอยู่ในพื้นที่สูงพร้อมระดมกำลังเจ้าหน้าที่เร่งนำกระสอบทรายมากั้นและติดตั้งเครื่องสูบน้ำ

    โดยทางจังหวัด และเจ้าหน้าที่ทหาร พล.ร.4 กองทัพภาคที่ 3 ได้นำกำลังจำนวนหนึ่งลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือประชาชนที่ยังติดอยู่ตามบ้านเรือนและขนย้ายสิ่งของให้แก่ชาวบ้าน นายสมบูรณ์ ศรีพัฒนาวัฒน์ ผวจ.พิษณุโลก เปิดเผยว่าได้สั่งการให้หัวหน้าสำนักงานป้องกัน และ บรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งเตรียมเรือท้องแบนและกำลังเจ้าหน้าที่เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบ อุทกภัยอย่างเร่งด่วน

    ส่วนที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น้ำยังคงท่วมขังกว่า 30 หมู่บ้าน ใน 7 ตำบล และเขตเทศบาลเมืองปากช่อง โดยนายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมด้วย นางต้องฤดี มากบุญ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา นายคณีธิป บุณยเกตุ นอภ.ปากช่อง ได้ออกเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัย พร้อมนำสิ่งของเครื่องใช้ไปมอบให้แก่ประชาชน 5 หมู่บ้านใน ต.หมูสี ที่บริเวณวัดบ้านท่ามะปรางค์ นายคณีธิป กล่าวว่า ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบความเสียหายและให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนโดยด่วน

    ทางด้าน จ.ลพบุรี น้ำป่าจากภูเขาสามยอดและเขาชินแล ที่ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ อ.เมือง ขณะนี้ยังคงขยายเป็นวงกว้างออกไปอีกเป็น 6 อำเภอ มีบ้านเรือนถูกน้ำพัดพังเสียหายไปแล้วหลายหลัง ถนนสายหลัก 2 สายถูกตัดขาด ซึ่งขณะนี้ทางจังหวัดโดย นายจารุพงศ์ พลเดช ผวจ.ลพบุรี ได้ขอกำลังเจ้าหน้าที่ทหารจากหน่วยต่าง ๆ จำนวน 800 นาย เร่งให้ความช่วยเหลือประชาชน พร้อม อพยพมาอยู่ที่สูงเพื่อความปลอดภัย สำหรับ อำเภอที่ถูกน้ำท่วมอยู่ในขณะนี้ ประกอบด้วย อ.สระโบสถ์ หนองม่วง บ้านหมี่ โคกสำโรง ชัยบาดาล และ อ.เมือง โดยน้ำที่ท่วมหนักสุดอยู่ที่ อ.เมือง และ อ.โคกสำโรง มีบ้านเรือนประชาชนถูกน้ำท่วมไปแล้วกว่า 2 หมื่นครัวเรือน

    ที่ จ.เลย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเกิดฝนตกหนักในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณน้ำในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีภูเขาสูง เช่น อ.ภูหลวง ด่านซ้าย เมือง และ ภูกระดึง เพิ่มสูงขึ้น นายโสภณ สุวรรณรัตน์ นอภ. ภูหลวง กล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งการไปยังกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และมิสเตอร์ เตือนภัยประจำพื้นที่ ให้ตรวจเช็กระดับน้ำ เฝ้าระวังน้ำป่าจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำ ล่าสุดเมื่อเวลา 18.30 น. ปริมาณน้ำในแม่น้ำเลยที่ไหลลงมา จาก อ.ภูหลวง มีปริมาณสูงขึ้นเป็นลำดับ เอ่อล้นตลิ่งทำให้ท่วมสะพานข้ามแม่น้ำเลยบ้านบุ่งกกตาลหมู่ 6 บ้านปากเป่งหมู่ 4 ต.วังสะพุง สูง 70 ซม. ถนนสายวังสะพุง-บ้านนาแก รถเล็กไม่สามารถผ่านไปได้

    ขณะที่ผู้สื่อข่าวรายงานจากเมืองพัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ว่าได้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ พายุหมุน หรือ “พายุนาคเล่นน้ำ” บริเวณอ่าวพัทยา ห่างจากฝั่งประมาณ 2 กม. มีความสูงประมาณ 100 เมตรจากพื้นน้ำ ท่ามกลางความตื่นเต้นของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยพายุดังกล่าวได้หมุนตัวไปอย่างช้า ๆ ประมาณ 20 นาที แล้วหายไป นักท่องเที่ยวชาวไทยรายหนึ่ง เปิดเผยว่าขณะที่กำลังนั่งเล่นริมหาดพัทยา ได้สังเกตเห็นนาคเล่นน้ำเริ่มก่อตัวขึ้น จากนั้นเวลาไม่นานนัก เหมือนน้ำหมุนตัวเป็นเกลียวเป็นท่อขนาดใหญ่เชื่อมต่อพื้นน้ำกับท้องฟ้า ก่อนที่จะค่อย ๆ สลายตัวไป

    ด้านสำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองกัลเวสตัน ในรัฐเทกซัสของสหรัฐเมื่อวันที่ 13 ก.ย. ระบุว่า พายุเฮอริเคน “ไอค์” พัดถล่มชายฝั่งรัฐเทกซัสแล้วเมื่อเช้าวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดคลื่นสูงซัดชายฝั่งทางใต้ของสหรัฐ นายแอนดรูว์ บาร์โลว์ โฆษกของนายริค แพร์รี ผู้ว่าการรัฐเทกซัส กล่าวว่า เจ้าหน้าที่กู้ภัยต้องเข้าไปช่วยเหลือประชาชนอีกหลายหมื่นคนที่ยังไม่ได้อพยพออกมาจากพื้นที่เสี่ยงภัย ขณะที่พายุเฮอริเคนไอค์มีกำลังลมแรงขึ้นถึง 177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กลายเป็นเฮอริเคนระดับ 2

    ทั้งนี้ ประชาชนราว 2.9 ล้านคนได้รับความเดือดร้อนไม่มีไฟฟ้าใช้ และทางบริษัทผู้ให้บริการด้านพลังงานเตือนว่า อาจต้องใช้เวลาหลาย สัปดาห์ ก่อนที่การบริการจะกลับสู่ภาวะปกติ นอกจากนี้ ยังมีความวิตกว่า กระแสลมที่แรงจัด อาจทำให้กระจกหน้าต่างของตึกระฟ้าหลายแห่งในฮิวสตัน เมืองใหญ่อันดับ 4 ของสหรัฐ ได้รับความเสียหาย ด้านนักพยากรณ์อากาศรายงานว่า หลังจากพายุเฮอริเคนเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งแล้ว จะก่อให้เกิดฝนตกหนักและลมกระโชกแรงและยังเตือนผู้คนที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งเมืองกัลเวสตัน ให้รีบอพยพหนีเฮอริเคน เพราะถ้ายังปักหลักหลบพายุอยู่ภายในบ้าน ก็จะต้องเสียชีวิตแน่นอน เนื่องจากพายุมีความแรงมาก.
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    11670. การสร้างบุญ 10 ประการ
    โพสโดย ทิฆัมพร ประดิษฐ์กนก - ตอบเมื่อ: 05 เม.ย.2007, 3:43 pm

    http://www.dhammajak.net/board/view...ghlight=&sid=a3881215af4c710489e3a431c183d856

    <TABLE cellSpacing=20 width="85%" border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>การทำบุญจะต้องใช้เงินกันมากๆ ยิ่งทำมากยิ่งได้บุญมาก ความเชื่อเช่นนี้นับว่าไกลจากพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างน่าเป็นห่วง ในการทำบุญที่แท้ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น แม้ไม่ใช้เงินเลย ไม่มีเงินเลย ทุกคนก็มีสิทธิทำบุญหรือเข้าถึงบุญได้อย่างทัดเทียมกันและบุญสูงสุดก็คือบำเพ็ญจิตภาวนาเพื่อให้เกิด ปัญญา การทำบุญจึงต้องมาเชื่อมกับ ปัญญา เสมอ และเราจะเห็นได้จากมรรควิธี ในการทำบุญ ต่อไปนี้ [​IMG]

    มรรควิธีในการทำบุญ ๑๐ ​

    1. ทำบุญด้วยการ "แบ่งปัน" วัตถุ สิ่งของ ปัจจัยสี่
    2. ทำบุญด้วยการ "รักษาศีล"
    3. ทำบุญด้วยการ "เจริญจิตภาวนา"
    4. ทำบุญด้วยการ "อ่อนน้อมถ่อมตน"
    5. ทำบุญด้วยการ "เสียสละช่วยงานคนอื่น บริการสังคม"
    6. ทำบุญด้วยการ "เฉลี่ยความดีให้คนอื่นได้ชื่นชม"
    7. ทำบุญด้วยการ "อนุโมทนา ชื่นชมความสุข ความก้าวหน้าของคนอื่น
    8. ทำบุญด้วยการ "ฟังธรรม ศึกษาหาความรู้ที่มีสารประโยชน์ต่อชีวิต"
    9. ทำบุญด้วยการ "แสดงธรรม แจกจ่ายธรรมทาน วิทยาทาน"
    10. ทำบุญด้วยการ "มีสัมมาทัศนะ เชื่อกฏแห่งกรรม เชื่อตามหลักเหตุผล"​

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ------------------------------------------

    บุญ 10 ประการ
    http://www.daowadung.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=116155
    การทำบุญตามหลักพระพุทธศาสนา
    <MARQUEE scrollAmount=2 scrollDelay=2 width="100%" bgColor=#ffffcc height="1%">ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้รับของที่เลิศ</MARQUEE>
    [​IMG]
    บุญคือคำพูดที่ชาวพุทธได้ยินบ่อยๆ แต่จะมีกี่คนที่เข้าใจในเรื่องของการทำบุญอย่างถ่องแท้ คนพุทธส่วนใหญ่มักจะนึกถึงคือ ต้องใช้เงินในการทำบุญ ต้องเสียเงิน ทั้งๆที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องราวของบุญกุศลนี้อย่างละเอียดมาก แต่คนโดยมากจะรู้จักบุญในแง่ของการบริจาคทานเท่านั้น แม้แต่การให้ทานนี้จะมีกี่คนที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ว่าเวลาให้ควรตั้งใจอย่างไร อธิษฐานอย่างไรให้ทานเพื่อสิ่งใด ส่วนใหญ่แล้วยังไม่มีคนรู้มากนัก ทั้งนี้เป็นเพราะการไม่สดับฟังพระสัทธรรม การไม่ศึกษาธรรมและมีความเชื่ออย่างไม่ถูกต้องตามๆกันมา ทำให้การทำบุญได้อนิสงส์น้อย มีผลน้อย เป็นการทำบุญเจือไปด้วยโลภะ หวังและขอสิ่งต่างๆที่ไม่เป็นกุศล
    ขอให้ท่านทั้งหลายจงมีความพยามยามศึกษาพระสัทธรรมเถิด สิ่งนี้จะเป็นปัญญาติดตามท่านไป ในการเวียนว่ายในวัฏจักรสงสารนี้ ปัญญานี้จะทำให้ท่านประพฤติถูก ปฏิบัติถูกไม่หลงไปในสิ่งไม่ตรงที่มีมากมายในโลกนี้ อนิสงส์ของบุญที่ท่านกระทำจะให้ผลมาก มีอนิสงส์มากสาธุ ขออนุโมทนา
    บุญกริยาวัตถุ10

    1. ทานมัย บุญสำเร็จด้วย การบริจาค
    2. สีลมัย บุญสำเร็จด้วย การรักษาศีล
    3. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วย การเจริญภาวนา
    4. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วย การประพฤติตนอ่อนน้อม
    5. เวยยวัจจมัย บุญสำเร็จด้วย การขวยขวายในกิจที่ควร
    6. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วย การอุทิศส่วนบุญ
    7. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วย การอนุโมทนาบุญ
    8. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วย การฟังพระสัทธรรม
    9. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วย การแสดงพระสัทธรรม
    10. ทิฏฐุชุกัมม์ บุญสำเร็จด้วย การตั้งอยู่ในสัมมาทิฐิ
    บุญ10คือสิ่งที่ควรสะสมไว้ ระลึกถึงบ่อยๆ กระทำบุญด้วยความตั้งใจ ผลบุญที่ได้ย่อมมีกำลังมาก
    ข้อมูลเรื่องของทานและอานิสงส์ของทาน
    http://84000.org/tipitaka/book/bookpn01.html
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2 vspace="0" hspace="0">พระพุทธพจน์ </TD></TR><TR><TD vspace="1" hspace="0">

    เย นํ ททนฺติ สทฺธาย
    </PRE>
    </TD><TD width="60%" vspace="1" hspace="0">

    วิปฺปสนฺเนน เจตสา
    </PRE>
    </TD></TR><TR><TD vspace="1" hspace="0">

    ตเมว อนฺนํ ภชติ
    </PRE>
    </TD><TD vspace="1" hspace="0">อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ</TD></TR><TR><TD colSpan=2 vspace="0" hspace="0">บุคคลเหล่าใดมีใจผ่องใส ย่อมให้ข้าวด้วยศรัทธา
    บุคคลเหล่านั้นย่อมได้ข้าวนั้นเอง ทั้งโลกนี้และโลกหน้า
    </TD></TR><TR><TD vspace="1" hspace="0">
    ตสฺมา วิเนยฺย มจฺเฉรํ
    </TD><TD width="60%" vspace="1" hspace="0">
    ทชฺชา ทานํ มลาภิภู
    </TD></TR><TR><TD vspace="1" hspace="0">ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ</TD><TD vspace="1" hspace="0">

    ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ
    </PRE>
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2 vspace="1" hspace="0">เพราะเหตุนั้นพึงเปลื้องความตระหนี่เสีย แล้วให้ทาน
    บุญเท่านั้น เป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า
    </TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2 vspace="1" hspace="0"><SMALL>จาก เสรีสูตร สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ข้อ ๒๘๔</SMALL></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center bgColor=white border=0><TBODY><TR><TD vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=goldenrod vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></P>
    http://84000.org/tipitaka/book/bookpn01.html

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center bgColor=white border=0><TBODY><TR><TD vspace="0" hspace="0"></TD></TR><TR><TD align=middle vspace="0" hspace="0">ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก</TD></TR><TR><TD align=right vspace="0" hspace="0">ประณีต ก้องสมุทร</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER>สารบัญ</CENTER>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD width="80%" vspace="0" hspace="0">

    เรื่อง
    </PRE></TD></TR><TR><TD width="80%" vspace="0" hspace="0">ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">การใช้ทรัพย์ ๕ ประการ</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">มหาทาน</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">ทานของสัตบุรุษนัยที่ ๑</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">ทานของสัตบุรุษนัยที่ ๒</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">กาลทาน ๕ อย่าง</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">ให้ทานในที่ใดมีผลมาก</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">ทานที่เจาะจงและไม่เจาะจง ๒๑ ประเภท</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">สังฆทาน ๗ ประเภท</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">ถวายภิกษุรูปเดียว ก็เป็นสังฆทาน</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">ทัททัลลวิมาน-แสดงอานิสงส์ของสังฆทาน</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">เรื่องเศรษฐีเท้าแมว</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">ความบริสุทธิ์แห่งทักษณาทาน ๔</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">อานิสงส์ของทาน ๕ อย่าง</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">ทานที่มีผลมาก อานิสงส์มาก ๗</TD></TR></TBODY></TABLE></P><CENTER>-------------------------------------------------------------------------------
    <BIG>ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก</BIG></CENTER>
    คนเราที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ มิได้อยู่โดยลำพังเพียงคนเดียว ย่อมมี พ่อ แม่ พี่ น้อง ญาติ มิตร สหาย ข้าทาส บริวาร และบุตร ภรรยา สามีด้วยกันทั้งนั้น การที่เราจะอยู่ร่วมกับคนเหล่านั้นด้วยความสุข และเป็นที่รักของคนเหล่านั้น นอกจากจะต้องเป็นคนดี มีเมตตากรุณา มีสัมมาคารวะต่อ ผู้ที่ควรคารวะ พูดวาจาอ่อนหวานแล้ว ยังต้องอาศัยความมีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อุดหนุน เจือจานกันเป็นเครื่องผูกใจคนเหล่านั้นด้วย

    ผู้ขอบ่อยๆ ย่อมเป็นที่รังเกียจของผู้อื่นฉันใด ผู้ให้ก็ย่อมเป็นที่รักของผู้อื่นฉันนั้น
    ด้วยเหตุนี้ การให้จึงเป็นการผูกน้ำใจผู้อื่นไว้ได้ประการหนึ่ง ปกตินั้นคนเรามักจะมีความตระหนี่หวงแหนอยู่เป็นประจำใจ ยากนักที่จะหยิบยื่นสิ่งใดให้แก่ใครๆ ได้โดยง่าย เพราะฉะนั้น คนที่สามารถหยิบยื่นของๆ ตนให้แก่ผู้อื่นได้นั้นนับว่าน่าสรรเสริญอย่างยิ่ง ถ้ารู้จักให้เสียครั้งหนึ่งแล้ว ก็ไม่ยากเลยที่จะให้ในครั้งต่อๆไป
    ทั้งๆที่ทุกคนรู้จักการรับ และการให้มาตั้งแต่เด็กๆ เพราะต่างก็เคยรับและเคยให้กันมาแล้ว การรับนั้นไม่ยาก ขอให้รับด้วยความอ่อนน้อมเป็นพอ ส่วนการให้นั้นเชื่อว่าคงมีคนไม่มากนักที่จะให้ได้ถูกต้องให้เกิดประโยชน์ ทั้งฝ่ายผู้ให้และผู้รับ เป็นการให้แบบสัตบุรุษ คือคนดีทั้งหลาย ตามที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ ถ้าไม่ได้ศึกษาเรียนรู้มาก่อน น้อยคนนักที่จะประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้อง แม้แต่ทรัพย์ที่เราขวนขวายแสวงหามา เราก็ยังไม่ทราบว่าจะใช้ทรัพย์นั้นไปในทางใดจึงจะเกิดประโยชน์ ทั้งๆที่พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงแสดง เรื่องการใช้ทรัพย์ ไว้ในอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อาทิยสูตรที่ ๑ (ข้อ ๔) ๕ ประการ คือ
    ๑. ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยสุจริตชอบธรรม บำรุงเลี้ยงตนเอง บิดา มารดา บุตร ภรรยาและบ่าวไพร่ให้มีความสุข ไม่อดยาก
    ๒. ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยสุจริตชอบธรรม เลี้ยงดูมิตรสหายให้อิ่มหนำสำราญ
    ๓. ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยสุจริตชอบธรรม ป้องกันอันตรายอันเกิดจากไฟ จากน้ำ พระราชา โจร หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก เพื่อให้ตนปลอดภัยจากอันตรายนั้นๆ
    ๔. ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยชอบธรรม ทำพลี คือบูชา หรือบำรุงในที่ ๕ สถาน คือ ญาติพลี บำรุงญาติ อติถิพลี ต้อนรับแขก ปุพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ราชพลี บำรุงราชการมีการเสียภาษีอากรเป็นต้น และเทวตาพลี ทำบุญแล้วอุทิศให้แก่เทวดา เพราะว่าเทวดาย่อมคุ้มครองรักษาผู้นั้นด้วยคิดว่า "คนเหล่านี้แม้ไม่ได้เป็นญาติของเราเขาก็ยังมีน้ำใจให้ส่วนบุญแก่เรา เราควรอนุเคราะห์เขาตามสมควร"
    ๕. ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยชอบธรรม บำเพ็ญทักษิณาทานที่มีผลเลิศ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ไว้ในสมณะพราหมณ์ผู้เว้นจากความประมาท มัวเมา ตั้งอยู่ในขันติโสรัจจะเป็นผู้หมั่นฝึกฝนตนให้สงบระงับจากกิเลส ในข้อ ๕ นี้ตรัสสอนให้ใช้ทรัพย์ที่หามาได้ให้ทานแก่ผู้มีศีล ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ปฏิบัติเพื่อความหมดจดจากกิเลส ผู้เป็นทักขิเณยยบุคคล เพราะทานที่ให้แก่ผู้มีศีลมีผลมาก ทำให้เกิดในสวรรค์ ได้รับความสุขอันเป็นทิพย์ นอกจากนั้นผู้ถวายยังอาจบรรลุคุณวิเศษ เพราะธรรมที่ท่านผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบเหล่านั้นยกมาแสดงให้ฟังได้อีกด้วย ผู้มีปัญญาย่อมไม่เสียดายทรัพย์ที่หมดเปลืองไปเพราะเหตุเหล่านี้ เพราะว่าท่านได้ใช้ทรัพย์นั้นถูกทางแล้วเกิดประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นแล้ว โดยเฉพาะทรัพย์คือบุญที่ท่านถวายไว้ในผู้มีศีลเหล่านั้น ยังสามารถติดตามตนไปในโลกหน้าได้อีกด้วย
    ควรหรือไม่ที่เราจะใช้ทรัพย์ให้ถูกต้องตามที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้
    และควรหรือไม่ที่เราจะใช้ทรัพย์นั้นจำแนกแจกทาน
    ด้วยเหตุนี้ จึงควรที่จะรับรู้เรื่องของทาน ตลอดจนการให้ทานที่ถูกต้องไว้บ้าง เพื่อทานของเราจะได้เป็นทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
    คำว่า ทาน ที่แปลว่า การให้ นั้น จัดเป็นบุญเป็นกุศล เป็นความดีอย่างหนึ่ง หมายถึง เจตนาที่เป็นเหตุให้เกิดการให้ก็ได้ หมายถึงวัตถุ คือสิ่งของที่ให้ก็ได้ ทานจึงมีความหมายที่เป็นทั้งนามธรรมและรูปธรรม ถ้าหมายถึงเจตนาที่ให้ก็เป็นนามธรรม ถ้าหมายถึงวัตถุที่ให้ก็เป็นรูปธรรม ในที่นี้จะขอกล่าวถึงทานในความหมายทั้งสองอย่างนี้รวมๆกันไป
    เจตนาที่เป็นเหตุให้เกิดการให้ทานนั้น แบ่งตามกาลเวลาได้ ๓ กาล คือ ปุพเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นก่อน คือเมื่อนึกจะให้ ก็แสวงหาตระเตรียมสิ่งที่จะให้นั้นให้พร้อม มุญจเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะกำลังให้ของเหล่านั้น อปรเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นหลังจากได้ให้เรียบร้อยแล้ว แล้วเกิดความปีติยินดีในการให้ของตน
    บุคคลใดที่ทำบุญหรือให้ทานด้วยจิตใจที่โสมนัสยินดี ทั้งประกอบด้วยปัญญา เชื่อกรรมและผลของกรรมครบทั้ง ๓ กาลแล้ว บุญของผู้นั้นย่อมมีผลมาก
    เจตนาทั้ง ๓ กาลนี้ เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องดับไปเช่นเดียวกับสังขารธรรมอื่นๆ และเมื่อดับไปแล้วสามารถจะส่งผลนำเกิดในสุคติภูมิเป็นมนุษย์และเทวดาได้ ใน พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน แสดงความบุพกรรม คือกรรมในชาติก่อนๆ ของผู้ที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ที่เกี่ยวกับทานไว้มากมาย ตัวอย่างเช่น พระอรหันต์รูปหนึ่งในอดีตชาติได้ถวายผลมะกอกผลหนึ่งแก่พระพุทธเจ้าที่ประทับอยู่ในป่าใหญ่ รูปหนึ่งเคยถวายดอกบุนนาค รูปหนึ่งเคยถวายขนม รูปหนึ่งเคยถวายรองเท้า เป็นต้น นับแต่นั้นมาท่านเหล่านั้นไม่เคยเกิดในทุคติภูมิเลย เกิดอยู่แต่ในสุคติภูมิ เป็นมนุษย์และเทวดาเท่านั้น ตราบจนในชาติสุดท้ายได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
    วัตถุทาน คือสิ่งของที่ให้นั้นก็มีหลายอย่าง กล่าวกว้างๆ ก็ได้แก่ปัจจัย ๔ คือ จีวร ซึ่งรวมทั้งเครื่องนุ่งห่มด้วย บิณฑบาต ซึ่งรวมทั้งอาหารเครื่องบริโภคทุกอย่าง เสนาสนะ ที่อยู่อาศัย คิลานเภสัช คือยารักษาโรค
    ในโภชนทานสูตร อัง. ปัญจก. ข้อ ๓๗ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ทายกผู้ให้โภชนะเป็นทาน ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ อย่างแก่ปฏิคาหก คือ ผู้รับ ๕ อย่าง คือ ๑. ให้อายุ ๒. ให้วรรณะ คือผิวพรรณ ๓. ให้ความสุข คือ สุขกาย สุขใจ ๔. ให้กำลัง คือความแข็งแรงของร่างกาย ๕. ให้ปฏิภาณ คือฉลาดในการตั้งปัญหาและตอบปัญหา
    ถ้าจะพูดให้ละเอียดขึ้นไปอีก พระพุทธองค์ก็ทรงจำแนกวัตถุทานไว้ ๑๐ อย่างคือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน (พาหนะ) ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่อยู่ ที่อาศัย และประทีปดวงไฟ
    ใน กินททสูตร สัง. สคาถ. ข้อ ๑๓๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
    การให้ข้าวและน้ำ ชื่อว่า ให้กำลัง การให้ผ้า เครื่องนุ่งห่ม ชื่อว่า ให้ผิวพรรณ การให้ยานพาหนะ ชื่อว่า ให้ความสุขทั้งกายและใจ การให้ประทีบดวงไฟ ชื่อว่าให้ดวงตา การให้ที่อยู่อาศัย ชื่อว่า ให้ทุกอย่าง คือให้กำลัง ให้ผิวพรรณ ให้ความสุข และให้ดวงตา
    แต่การพร่ำสอนธรรม คือการให้ธรรมะ ชื่อว่าให้สิ่งที่ไม่ตาย เพราะบุคคลจะพ้นจากความตายไม่ต้องเกิดอีกได้ ก็เพราะอาศัยการได้สดับตรับฟังธรรม ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงตรัสว่า
    การให้ธรรมะชนะการให้ (สิ่งอื่น) ทั้งปวง แม้การจะทำทานให้ถูกต้องก็ต้องอาศัยการฟังธรรม
    ใน วนโรปสูตร สัง สคาถ. ข้อ ๑๔๖ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบเทวดาที่มาทูลถามว่า ชนพวกไหนมีบุญเจริญในกาลทุกเมื่อ ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนพวกไหนตั้งอยู่ในธรรมสมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไปสวรรค์ ด้วยข้อความว่า ชนเหล่าใดสร้างอาราม (คือสวนดอกไม้ สวนผลไม้) ปลูกหมู่ไม้ (เพื่อให้ร่มเงา) สร้างสะพาน และชนเหล่าใดให้โรงน้ำดื่มเป็นทาน บ่อน้ำ บ้านเป็นที่พักอาศัย ชนเหล่านั้นย่อมมีบุญเจริญในกาลทุกเมื่อ ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไปสวรรค์
    ซึ่งมีความหมายว่า ชนเหล่าใดทำกุศลมีการสร้างอารามเป็นต้น เหล่านี้ เมื่อระลึกถึงการทำกุศลนั้นในกาลใด ในกาลนั้นบุญย่อมเจริญ คือเพิ่มขึ้น และเมื่อชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในธรรม คือกุศลธรรม ๑๐ มีการไม่ฆ่าสัตว์ เป็นต้น ย่อมเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ ละโลกนี้ไปแล้วย่อมเกิดในสวรรค์
    นอกจากนั้น เจตนาที่เป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต เป็นต้น พระพุทธองค์ก็ตรัสว่าเป็นมหาทาน เป็นทานที่ยิ่งใหญ่ดังที่ตรัสไว้ในปุญญาภิสันทสูตร อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๒๙ ว่า
    การงดเว้นจากปาณาติบาต คือการไม่ฆ่าสัตว์ทั้งด้วยตนเองและใช้ผู้อื่น เป็นการให้ความไม่มีเวร ไม่มีภัยแก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นการให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตสัตว์
    การงดเว้นจากอทินนาทาน คือการถือเอาของที่เจ้าของเขามิได้ให้ทั้งโดยตนเอง และใช้ผู้อื่น เป็นการให้ความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น
    การงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร คือการประพฤติผิดในบุตร ภรรยา สามีของผู้อื่น ชื่อว่า ให้ความบริสุทธิ์แก่บุตร ภรรยา สามีของผู้อื่น
    การงดเว้นจากมุสาวาท คือการกล่าวเท็จ กล่าวไม่จริงชื่อว่าให้ความจริงแก่ผู้อื่น
    การงดเว้นจากสุรา เมรัย และของมึนเมา เสพติด อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ชื่อว่าให้ความปลอดภัยแก่ทุกสิ่ง คือให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตสัตว์ แก่ทรัพย์สินของผู้อื่น แก่บุตร ภรรยา สามีของผู้อื่น และให้แต่คำพูดที่เป็นจริงแก่ผู้อื่น ทั้งนี้เพราะผู้ที่มึนเมาแล้วย่อมขาดสติ เป็นผู้ประมาท สามารถจะประพฤติล่วงศีลได้ทุกข้อ รวมทั้งประพฤติผิดอื่นๆด้วย ด้วยเหตุนี้ผู้ที่อัตคัตขาดแคลนทรัพย์สิ่งของที่จะนำออกให้เป็นทานก็ไม่ควรเดือดร้อนใจ เพราะเราสามารถจะบำเพ็ญทานที่ยิ่งใหญ่เป็นมหาทาน เป็นทานที่ไม่เจาะจง เป็นทานที่แผ่ไปยังสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ด้วยการรักษาศีล ๕ ยิ่งถ้าสามารถจะทำได้ทั้งสองอย่างก็ยิ่งประเสริฐ
    ขอกล่าวถึง ทาน ที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า ทานของอสัตบุรุษและทานของสัตบุรุษ ตามที่แสดงไว้ใน อสัปปุริสสูตร และ สัปปุริสสูตร อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ดังต่อไปนี้
    ทานของอสัตบุรุษ คือทานของคนไม่ดี มีอยู่ ๕ อย่าง คือ ให้โดยไม่เคารพ ๑ ให้โดยไม่ยำเกรง ๑ ไม่ให้ด้วยมือของตนเอง ๑ ให้โดยทิ้งขว้าง ๑ ไม่เห็นผลในอนาคตแล้วให้ ๑
    ส่วน สัตบุรุษ ย่อมให้ทานโดยเคารพ ๑ ให้โดยยำเกรง ๑ ให้ด้วยมือของตนเอง ๑ ให้โดยไม่ทิ้งขว้าง ๑ เห็นผลในอนาคตจึงให้ ๑
    อีกนัยหนึ่ง แสดงว่า ทานของสัตบุรุษ มี ๕ อย่าง คือให้ทานโดยศรัทธา ๑ ให้ทานโดยเคารพ ๑ ให้ทานตามกาลอันควร ๑ เป็นผู้มีจิตคิดอนุเคราะห์ให้ทาน ๑ ให้ทานโดยไม่กระทบตนและผู้อื่น ๑ ถ้าตรงข้ามกับ ๕ ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นทานของอสัตบุรุษ

    <CENTER><BIG>ทานของสัตบุรุษนัยที่ ๑</BIG></CENTER> ๑. ให้ทานโดยเคารพ คือให้โดยความเต็มใจ ไม่ได้ให้ด้วยความเกรงกลัวหรือจำใจให้ เวลาให้ก็ให้ด้วยกิริยาที่นอบน้อมยิ้มแย้มแจ่มใส
    ๒. ให้ทานโดยยำเกรง คือเคารพในทานของตนและเคารพในผู้รับ การเลือกให้แต่ของดี ของมีประโยชน์ ของสะอาดมีรสดี เป็นต้น ชื่อว่าเคารพทานของตน อีกประการหนึ่งผู้ที่ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ ผู้ที่ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ ผู้ที่ให้ของที่ดี ย่อมได้ของดี ผู้ที่ให้ของที่ประเสริฐย่อมเข้าถึงสถานที่ประเสริฐ นรชนใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดี ให้ของที่ประเสริฐ นรชนนั้นจะบังเกิดในที่ใดๆ ย่อมมีอายุยืน มียศ นี้เป็นพระดำรัสของพระพุทธเจ้า
    การเลือกผู้รับที่สมควรแก่ของ และเลือกผู้รับที่เป็นผู้มีศีล มีคุณธรรม ชื่อว่า เคารพในผู้รับ ข้อนี้มิได้หมายความว่าถ้าผู้รับเป็นสัตว์ดิรัจฉาน หรือเป็นผู้ไม่มีศีลแล้ว ไม่ต้องให้ ควรให้ทั้งสิ้น แต่ของที่ดี ของที่ประณีต ของที่สะอาด มีรสเลิศ ย่อมสมควรแก่ผู้รับที่เลิศ คือผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรม ผู้มีศีลยิ่งกว่าผู้อื่น ยิ่งให้แก่ผู้มีศีลจำนวนมากเป็นประโยชน์สุขแก่ผู้มีศีลจำนวนมาก ที่เรียกว่า สังฆทาน ยิ่งมีผลมากจนประมาณไม่ได้ว่าเท่านั้นเท่านี้ชาติ
    ๓. ให้ด้วยมือของตน ข้อนี้หมายความว่า เวลานี้เราเป็นมนุษย์ มีมือ มีเท้า มีอวัยวะครบบริบูรณ์ เราจึงควรทำทานนั้นด้วยมือตนเอง ไม่ควรใช้ผู้อื่นทำแทนอยู่เสมอๆ ถ้าจะใช้ก็ควรใช้เป็นบางครั้งบางคราวในเวลาจำเป็น นอกจากนั้นแล้วควรทำทานด้วยมือของตนเอง เพราะนอกจากจะทำให้เกิดเจตนาที่เป็นบุญในขณะที่กำลังให้แล้ว ในวัฏฏะอันยาวนานนี้ เราไม่อาจทราบได้ว่าเราจะเกิดเป็นคนมือขาดเท้าขาดเมื่อใดถ้าเราเกิดเป็นคนมือขาดแล้ว แม้ของมีอยู่และเราอยากให้ทานด้วยมือของเราเอง เราจะให้ได้อย่างไร นอกจากจะอาศัยผู้อื่นทำแทนเท่านั้น
    ๔. ให้โดยไม่ทิ้งขว้าง ข้อนี้หมายถึงไม่ทิ้งขว้างการให้ คือให้อยู่โดยสม่ำเสมอ ให้อยู่เป็นประจำ
    ๕. เห็นผลในอนาคตจึงให้ หมายความว่า ให้เพราะเชื่อว่า ทานมีจริง ผลของทานมีจริง ทานทำให้เกิดในสวรรค์ได้จริง แม้เกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นผู้มั่งคั่งบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สิน หรือเชื่อว่าทานเป็นการขัดเกลาความตระหนี่ เป็นบันไดก้าวไปสู่สวรรค์และมรรคผล นิพพานได้ สัตบุรุษท่านเชื่ออย่างนี้จึงให้ทาน
    ถ้าเป็นทานของอสัตบุรุษ ก็มีนัยตรงข้ามกับที่กล่าวนี้

    <CENTER><BIG>ทานของสัตบุรุษนัยที่ ๒</BIG></CENTER> ๑. ให้ทานโดยศรัทธา ผู้ที่เป็นสัตบุรุษ คือคนดีทั้งหลายนั้นย่อมให้ทานเพราะเชื่อกรรม และผลของกรรมว่ามีจริงจึงให้ ครั้นให้แล้วย่อมเป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปงาม น่าดูน่าเลื่อมใส มีผิวพรรณงดงามในที่ๆ ทานนั้นเผล็ดผล
    ๒. ให้ทานโดยเคารพ คือ ให้ด้วยกิริยาที่เคารพ นอบน้อม ครั้นให้แล้วย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีบุตร ภรรยา ทาส และคนใช้หรือคนงาน เป็นผู้เคารพเชื่อฟัง สนใจสดับรับฟังคำสั่ง ตั้งใจใคร่รู้ในที่ๆ ทานนั้นเผล็ดผล
    ๓. ให้ทานตามกาลอันควร ครั้นให้แล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และย่อมเป็นผู้มีความต้องการที่เกิดขึ้นตามกาลบริบูรณ์ ในที่ๆ ทานนั้นเผล็ดผล คือ เป็นผู้มีทรัพย์มาตั้งแต่วัยเด็ก สามารถจะนำทรัพย์สินนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในขณะที่ยังมีกำลังวังชาแข็งแรง สติปัญญาเฉียบแหลม ไม่ใช่ได้ทรัพย์มาเมื่อหมดกำลังกายและกำลังปัญญาจะนำทรัพย์สินนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์แล้ว
    กาลทาน หรือทานที่ให้ในกาลอันควรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้ใน กาลทานสูตร อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ว่ามีอยู่ ๕ อย่าง คือ
    ๑. อาคันตุกะทาน คือทานที่ให้แก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน หมายความว่าผู้นั้นเป็นผู้มาใหม่ ยังไม่รู้จักสถานที่และบุคคลในถิ่นนั้น เราก็ช่วยสงเคราะห์ให้ที่พักหรือข้าวของต่างๆ เพื่อให้เขาได้รับความสะดวกสบาย แม้พระภิกษุที่จรมาจากที่อื่น ท่านยังไม่รู้จักทางที่จะไปบิณฑบาตเป็นต้น ภิกษุที่อยู่ก่อนหรืออุบาสก อุบาสิกา ก็ช่วยอนุเคราะห์ท่าน ด้วยการถวายอาหารบิณฑบาต และของใช้ที่จำเป็นแก่สมณะ ทำให้ท่านได้รับความสะดวกสบายไม่เดือดร้อน อย่างนี้จัดเป็น อาคันตุกะทาน และเป็นกาลทาน
    ๒. คมิกะทาน คือทานที่ให้แก่ผู้เตรียมตัวจะไป หมายความว่า ให้แก่บุคคลที่เตรียมตัวจะไปยังถิ่นอื่น สัตบุรุษย่อมสงเคราะห์คนที่จะเดินทางไปนั้น ด้วยค่าพาหนะ หรือด้วยยานพาหนะ ตลอดจนเครื่องอุปโภคบริโภคที่สมควร
    ๓. ทุพภิกขทาน คือ ทานที่ให้ในสมัยข้าวยากหมากแพง ผู้คนอดอยาก ได้รับความเดือดร้อน แม้ในสมัยที่น้ำท่วม ไฟไหม้ ผู้คนเดือดร้อนไร้ที่อยู่ การให้ที่พักอาศัย และข้าวของ เครื่องใช้ข้าวปลาอาหารในเวลานั้น ก็จัดเป็นกาลทาน
    ๔. นวสัสสะทาน การให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล ๕. นวผละทาน การให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล
    ที่ข้อ ๔ และข้อ ๕ จัดเป็นกาลทาน เพราะข้าวใหม่ก็ดีผลไม้ที่ออกใหม่ตามฤดูกาลก็ดี มิใช่ว่าจะมีอยู่เสมอตลอดปี มีเป็นครั้งเป็นคราวตามฤดูกาลเท่านั้น สัตบุรุษย่อมนำข้าวใหม่และผลไม้ที่เพิ่งออกใหม่ ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีล แล้วจึงบริโภคเองต่อภายหลัง ท่านที่เคยมีชีวิตอยู่ในชนบทคงจะเคยพบเห็นว่า เวลาที่ข้าวออกรวงเป็นน้ำนม ชาวนาก็จะเก็บเอารวงข้าวอ่อนมาทำเป็นข้าวยาคูถวายพระ ข้าวแก่อีกนิดก็เอามาทำเป็นข้าวเม่า ข้าวสุกแล้วก็เอามาสีเป็นข้าวสารหุง ถวายพระภิกษุผู้ทรงศีลก่อน แม้ชาวสวนเมื่อผลไม้แก่จัดเขาก็จะเก็บเอามาถวายพระเสียก่อน แล้วจึงนำออกขายหรือบริโภคเอง คนที่มิใช่ชาวนาชาวสวนบางคน เมื่อเห็นข้าวใหม่หรือผลไม้ออกใหม่วางขายตามตลาด ก็ซื้อมาแบ่งถวายพระเสียก่อนแล้วจึงบริโภค นับว่าท่านเหล่านี้ ได้ทำบุญของท่านถูกกาละเทศะเป็นอย่างยิ่ง ตรงต่อคำสอนของพระบรมศาสดา ในข้อกาลทาน
    บางแห่งท่านรวมเอาการให้ข้าวใหม่ และการให้ผลไม้ใหม่ไว้เป็นข้อเดียวกัน แล้วเพิ่ม คิลานทาน คือ การให้ทานแก่คนเจ็บไข้ไร้ที่พึ่ง ด้วยยา และอาหารเป็นต้น ซึ่งคิลานทาน นี้ก็สมควรจะเป็นกาลทานได้เช่นกัน
    เพราะเหตุที่กาลทาน เป็นทานที่ให้ในเวลาจำกัดทำไม่ได้โดยสม่ำเสมอ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่าเป็นทานที่มีผลมาก ยิ่งให้ในผู้มีศีลผู้ประพฤติตรงยิ่งมีผลมาก แม้บุคคลผู้อนุโทนาต่อทานของผู้นั้น หรือช่วยเหลือให้ทานของผู้นั้นสำเร็จผล ก็ได้รับผล ทั้งบุญของผู้ให้ก็ไม่บกพร่อง เพราะฉะนั้นบุคคลจึงควรยินดีในการให้ทาน ทานที่บุคคลให้แล้วย่อมมีผลมาก ทั้งยังติดตามไปเป็นที่พึ่งแก่เขาในโลกหน้าด้วย
    ๔. มีจิตคิดอนุเคราะห์จึงให้ หมายความว่า สัตบุรุษนั้นเมื่อเห็นผู้ใดได้รับความลำบาก ขาดแคลนสิ่งใด ก็มีจิตคิดช่วยเหลือคนเหล่านั้นด้วยความเต็มใจ โดยไม่หวังผลตอบแทนโดยไม่คิดว่าเมื่อเราช่วยเหลือเขาแล้ว เขาจะต้องตอบแทนคุณของเรา แต่ช่วยเหลือเพราะต้องการให้คนเหล่านั้นได้รับความสุขสบาย ครั้นให้แล้วย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีโภคะมาก และเป็นผู้มีจิตน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ ที่สูงๆที่ประณีต ที่เป็นของดียิ่งๆ ขึ้นไปในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล
    ๕. ให้ทานโดยไม่กระทบตนและผู้อื่น หมายความว่าไม่กระทบคุณงามความดีของตน และไม่กระทบคุณงามความดีของผู้อื่น บางคนเคยทำทานด้วยทรัพย์สินและเงินทองครั้งละมากๆ แต่บางคนก็ทำเพียงครั้งละเล็กๆ น้อยๆ ตามฐานะของตน คนที่ทำมากบางคนทำแล้วก็ชอบข่มคนอื่น ชอบกล่าววาจาดูถูกผู้อื่นที่ทำน้อยกว่า เป็นการยกตนข่มท่านอย่างนี้ชื่อว่าทำให้คุณงามความดีของตนลดน้อยลง
    เพราะอะไร เพราะเราอุตส่าห์ละความตระหนี่ นำทรัพย์สินเงินทองออกทำบุญให้ทาน แต่แล้วเราก็กลับทำลายความดีของเราเองด้วยการเพิ่มกิเลส คือดูถูก ดูหมิ่นผู้อื่น ทั้งผู้ที่ทำบุญให้ทานน้อยนั้นเกิดได้ยินคำพูดอันไม่เพราะหูนั้นเข้า ถ้าเขาขาดโยนิโสมนสิการ จิตใจที่เป็นกุศลของเขาก็ดับวูบลง แล้วอกุศลคือความโทมนัสเสียใจก็จะเกิดขึ้นแทน อย่างนี้ชื่อว่าทำลาย คุณงามความดีของผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นเสื่อมจากคุณความดี คือกุศลที่มีอยู่ หรือบางคนเป็นผู้รักษาศีล ๕ โดยเคร่งครัดแต่ได้ให้สุรายาเมาเป็นทานแก่ผู้อื่นไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆ ก็ตามทำให้ผู้รับมึนเมา ขาดสติ สามารถจะกระทำบาปอกุศลต่างๆ มีการฆ่าสัตว์เป็นตนได้ อย่างนี้ก็เป็นการให้ที่กระทบความดีของตนและผู้อื่นเช่นกัน เพราะเราเป็นผู้มีศีลอยู่แล้ว แทนที่จะชักชวนคนอื่นให้เขามีศีลอย่างเรา กลับทำให้เขาเสื่อมเสียจากศีล ทานอย่างนี้สัตบุรุษท่านไม่กระทำ สัตบุรุษครั้นให้ทานโดยไม่กระทบตนและผู้อื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และโภคทรัพย์นั้น ย่อมไม่เป็นอันตรายจากไฟ จากน้ำ จากพระราชา จากทายาทหรือจากคนที่ไม่เป็นที่รักในที่ๆ ทานนั้นให้ผล
    นี่คือการให้ทานของสัตบุรุษ ถ้าตรงกันข้ามก็เป็นทานของอสัตบุรุษ
    ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ ถ้าไม่มีเหตุ ผลก็เกิดไม่ได้ทั้งเหตุก็สมควรแก่ผลด้วย คือเหตุดี ผลต้องดี เหตุชั่วผลต้องชั่ว ไม่ใช่เหตุดีแล้วผลชั่ว หรือเหตุชั่วแล้วผลดี ถ้าเป็นอย่างนั้นเหตุก็ไม่สมควรแก่ผล สัตบุรุษท่านทำเหตุ คือทานของท่านดีผลที่ได้รับก็ต้องดีเป็นธรรมดา
    ใน อิสสัตถสูตร สัง. สคาถ. ข้อ ๔๐๕ พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลควรให้ทานในที่ไหน
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า มหาบพิตร ควรให้ทานในที่ที่จิตเลื่อมใส คือจิตเลื่อมใสในที่ใด ในบุคคลใด ควรให้ในที่นั้น ในบุคคลนั้น
    พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลถามต่อไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานที่ให้แล้วในที่ไหนจึงมีผลมาก พระเจ้าข้า
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ทานที่ให้แล้วแก่ท่านผู้มีศีล มีผลมาก ให้ในท่านผู้ไม่มีศีล หามีผลมากไม่
    เพราะฉะนั้น การให้ทานในที่ใด จึงเป็นอย่างหนึ่ง ที่นั้นมีผลมากหรือไม่ เป็นอีกอย่างหนึ่ง
    ด้วยเหตุนี้ หากบุคคลที่ท่านเลื่อมใสเป็นผู้มีศีลทานของท่านย่อมมีผลมาก ยิ่งผู้มีศีลนั้นเป็นผู้ละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว เป็นพระอรหันตขีณาสพแล้ว ทานของท่านที่ถวายในท่านผู้มีศีลนั้น ด้วยจิตผ่องใสยิ่งมีผลมาก
    ถึงแม้พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงแสดงว่า ควรให้ทานในผู้ที่ท่านเลื่อมใส และมีศีลก็จริง แต่พระองค์ก็มิได้ทรงสอนให้ละเลยบุคคลที่ท่านมิได้เลื่อมใส ตลอดจนสัตว์เดรัจฉาน ยาจก วณิพก เป็นต้นเสีย เพราะเห็นว่าได้ผลน้อย ทั้งนี้เพราะขึ้นชื่อว่าบุญแล้วแม้เล็กน้อย ก็ไม่ควรประมาท ปล่อยให้ผ่านไปโดยไม่สนใจ ด้วยว่าน้ำที่หยดลงในตุ่มทีละหยด ก็ยังเต็มตุ่มได้ ฉันใด บุญที่ว่าเล็กน้อยนั้น เมื่อสะสมไว้บ่อยๆ เนืองๆ ก็เป็นบุญมากได้ฉันนั้น
    พระพุทธองค์ตรัสว่า การสาดน้ำล้างภาชนะลงไปในบ่อน้ำครำ ด้วยเจตนาที่จะให้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในที่เหล่านั้นได้รับความสุข ก็ยังมีอานิสงส์ไม่น้อย จะป่วยกล่าวไปไยกับการให้ทานในผู้มีศีล หรือในบุคคลหมู่มากที่ประพฤติปฏิบัติตรง ทั้งโดยเจาะจงและไม่เจาะจง
    ใน ทักขิณาวิภังคสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจำแนกอานิสงส์ของทานที่ให้โดยเจาะจงและไม่เจาะจงไว้ตามลำดับขั้น ถึง ๒๑ ประเภท คือ
    ๑. ให้ทานแก่ดิรัจฉาน มีอานิสงส์ร้อยชาติ คือ ให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ ถึง ๑๐๐ ชาติ ๒. ให้ทานแก่ปุถุชนทุศีล มีอานิสงส์พันชาติ ๓. ให้ทานแก่ปุถุชนผู้มีศีล มีอานิสงส์แสนชาติ ๔. ให้ทานแก่ปุถุชนผู้ปราศจากความยินดีในกาม นอกพุทธศาสนา อย่างพวกนักบวชหรือฤาษีที่ได้ฌานเป็นต้น แม้ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา ก็ยังมีอานิสงส์ถึงแสนโกฏิชาติ
    สี่ประเภทนี้เป็นปาฏิปุคคลิกทาน เป็นทานที่ให้โดยเจาะจง คือให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ และมีผลจำกัด ยังมีปาฏิปุคคลิกทานที่มีผลไม่จำกัด คือให้ผลนับประมาณชาติไม่ได้ มากน้อยตามลำดับขึ้นอีก ๑๐ ประเภท ดังต่อไปนี้
    ๑. ให้ทานแก่บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล ๒. ให้ทานแก่พระโสดาบันบุคคล คือผู้ที่บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ๓. ให้ทานแก่บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ๔. ให้ทานแก่พระสกทาคามีบุคคล ๕. ให้ทานแก่บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ๖. ให้ทานแก่พระอนาคามีบุคคล ๗. ให้ทานแก่บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล ๘. ให้ทานแก่พระอรหันต์ ๙. ให้ทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๐. ให้ทานแก่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    รวมเป็นปาฏิปุคคลิกทาน คือทานที่ให้โดยเจาะจง ๑๔ ประเภท ใน ๑๔ ประเภทนี้ ประเภทที่ ๑ มีผลน้อยที่สุด ประเภทที่ ๑๔ มีผลมากที่สุด
    ทานที่ให้โดยไม่เจาะจงผู้ใดผู้หนึ่งที่เรียกว่า สังฆทาน มี ๗ อย่าง
    ๑. ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (คือภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ๒. ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานไปแล้ว ๓. ให้ทานในภิกษุสงฆ์ ๔. ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ ๕. ให้ทานในบุคคลที่ขอมาจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย ด้วยคำว่าขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า ๖. ให้ทานในบุคคลที่ขอมาจากภิกษุสงฆ์ ด้วยคำว่าขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า ๗. ให้ทานในบุคคลที่ขอมาจากภิกษุณีสงฆ์ ด้วยคำว่าขอได้โปรดจัดภิกษุณีสงฆ์จำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า
    สังฆทานทั้ง ๗ อย่างนี้ ปัจจุบันเราทำได้เพียง ๒ อย่าง คือให้ทานในภิกษุสงฆ์ และให้ทานในบุคคลที่ขอมาจากภิกษุสงฆ์เท่านั้นเพราะพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว ภิกษุณีสงฆ์ก็สูญวงศ์แล้ว
    ขึ้นชื่อว่าสังฆทานย่อมมีผลมาก มากจนประมาณไม่ได้ว่าเท่านั้นเท่านี้ชาติ แม้ในอนาคตกาล จักมีแต่ โคตรภูภิกษุ มีผ้ากาสาวะพันที่คอ หรือผูกข้อมือ เป็นคนทุศีล มีธรรมลามก พระพุทธองค์ ก็ยังตรัสว่า คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะสงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้นก็มีผลนับประมาณไม่ได้ ปาฏิปุคคลิกทานจะมีผลมากกว่าสังฆทาน คือทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้โคตรภูสงฆ์ หาเป็นไปได้ไม่
    [SIZE=+0][/SIZE]
    [SIZE=+0]
    </PRE>[/SIZE]
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://84000.org/tipitaka/book/bookpn01.html

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center bgColor=white border=0><TBODY><TR><TD vspace="0" hspace="0"></TD></TR><TR><TD align=middle vspace="0" hspace="0">ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก</TD></TR><TR><TD align=right vspace="0" hspace="0">ประณีต ก้องสมุทร</TD></TR></TBODY></TABLE>

    แต่ว่าสังฆทาน จะเป็นสังฆทานได้ก็ต่อเมื่อผู้ถวายมีความเคารพยำเกรงต่อสงฆ์เท่านั้น
    วางใจในสงฆ์เสมอเหมือนกันหมด ไม่ยินดีเมื่อได้พระหรือสามเณรที่ชอบใจ หรือไม่ยินร้ายเมื่อได้พระหรือ
    สามเณรที่ไม่ชอบใจ หรือต้องการผู้แทนของสงฆ์ที่เป็นพระเถระ แต่ได้พระนวกะหรือสามเณรก็เสียใจ หรือ
    ได้พระเถระผู้ใหญ่ก็ดีใจอย่างนี้ ทานของผู้นั้นก็ไม่เป็นสังฆทานเพราะขาดความเคารพในสงฆ์ หรือผู้แทนที่
    สงฆ์ส่งไปในนามของสงฆ์ ด้วยเหตุนี้การถวายสังฆทานที่ถูกต้องจึงทำได้ไม่ง่ายนัก

    ในทางพระวินัย ภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป จึงเรียกว่า สงฆ์แต่การถวายไทยธรรมแก่ภิกษุแม้รูปเดียว
    ที่สงฆ์จัดให้เป็นองค์แทนของสงฆ์ ก็จัดเป็นสังฆทาน
    เหมือนกัน ดังมีเรื่องเล่าไว้ใน อรรถกถาปปัญจสูทนี
    ภาค ๓ (หน้า ๗๑๗) อรรถกถาทักขิณาวิภังคสูตร ว่า

    กุฎุมพี คือ เศรษฐีคนหนึ่งเป็นเจ้าของวัดวัดหนึ่ง ได้ไปขอภิกษุรูปหนึ่งมาจากสงฆ์ ด้วยคำว่า
    ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงให้ภิกษุรูปหนึ่งจากสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แม้เขาจะได้ภิกษุทุศีลรูปหนึ่งเขาก็ปฏิบัติต่อ
    ภิกษุรูปนั้นด้วยความเคารพนอบน้อม ตกแต่งเสนาสนะและเครื่องบูชาสักการะพร้อม ล้างเท้าให้ภิกษุนั้น
    เอาน้ำมันทาเท้าให้ แล้วถวายไทยธรรมด้วยความเคารพยำเกรงต่อสงฆ์เหมือนกับบุคคลเคารพยำเกรงต่อ
    พระพุทธเจ้า ภิกษุรูปนั้นฉันภัตตาหารแล้วก็กลับวัด หลังจากนั้นได้กลับมาขอยืมจอบที่บ้านของกุฎุมพีนั้น
    อีกครั้งหนึ่ง คราวนี้กุฎุมพีเอาเท้าเขี่ยจอบให้ คนที่เห็นกิริยาของกุฎุมพีนั้นก็ถามว่า เมื่อเช้านี้ท่านถวายทาน
    แก่ภิกษุรูปนี้ด้วยความเคารพนบนอบอย่างยิ่ง แต่บัดนี้แม้สักว่ากิริยาที่เคารพก็ไม่มี กุฎุมพีตอบว่า
    เมื่อเช้านี้เราเคารพยำเกรงต่อสงฆ์ เราหาได้เคารพยำเกรงต่อภิกษุรูปนี้เป็นส่วนตัวไม่

    การถวายทานในสงฆ์ที่เรียกว่าสังฆทานนั้น คำว่า สงฆ์ ท่านมุ่งเอา พระอริยสงฆ์ คือ
    พระโสดาปัตติมรรค พระโสดาปัตติผล พระสกทาคามิมรรค พระสกทาคามิผล พระอนาคามิมรรค พระ
    อนาคามิผล พระอรหัตตมรรค และพระอรหัตตผล รวมเป็น ๔ คู่ ๘ บุคคล หาได้หมายเอาสมมุติสงฆ์ไม่
    ทั้งนี้เพราะพระอริยสงฆ์นั้นเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุปฏิปันโน คือ ปฏิบัติดี อุชุปฏิปันโน ปฏิบัติ
    ตรง ญายปฏิปันโน ปฏิบัติแล้วเพื่อญายธรรม สามีจิปฏิปันโน ปฏิบัติชอบ ทั้งพระอริยสงฆ์เหล่านั้นยังเป็น
    อาหุเนยโย คือ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาบูชา ปาหุเนยโย เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาต้อนรับ
    ทักขิเณยโย เป็นผู้ควรแก่ไทยธรรมที่เขานำมาถวายด้วยศรัทธา อัญชลีกรณีโย เป็นผู้ควรแก่การกระทำ
    อัญชลี อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ เป็นนาบุญอันเยี่ยมของโลก ไม่มีนาบุญอื่นที่ยิ่งกว่า


    ใน ขุ. วิมานวัตถุ ทัททัลลวิมาน ข้อ ๓๔ กล่าวถึง อานิสงส์ของสังฆทานว่า มากกว่า ทานธรรมดาดังนี้

    นางภัททาเทพธิดาผู้พี่สาว ได้ถามนางสุภัททาเทพธิดาผู้น้องสาวว่า ท่านรุ่งเรืองด้วยรัศมี ทั้งเป็นผู้เรืองยศ ย่อมรุ่งโรจน์ล่วงเทพเจ้าชาวดาวดึงส์ทั้งหมดด้วยรัศมี ดิฉันไม่เคยเห็นท่าน เพิ่งจะมาเห็นในวันนี้เป็นครั้งแรก ท่านมาจากเทวโลกชั้นไหน จึงมาเรียกดิฉันด้วยชื่อเดิมว่า ภัททา ดังนี้เล่า
    นางสุภัททาเทพธิดาผู้น้องสาวตอบว่า ข้าแต่พี่ภัททา ฉันชื่อว่าสุภัททา ในภพก่อนครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ ดิฉันได้เป็นน้องสาวของพี่ ทั้งได้เคยเป็นภริยาร่วมสามีเดียวกับพี่ด้วย ดิฉันตายจากมนุษย์โลกนั้นมาแล้ว ได้มาแล้วเกิดเป็นเทพธิดาประจำสวรรค์ ชั้นนิมมานรดี
    นางภัททาเทพธิดา ถามต่อไปว่า ดูก่อนแม่สุภัททา ขอเธอได้บอกการอุบัติของเธอในหมู่เทพเจ้าเหล่านิมมานรดี ซึ่งเป็นที่ ๆ สัตว์ได้สั่งสมบุญกุศลไว้มากแล้วจึงได้มาบังเกิด เธอได้มาเกิดในที่นี้ เพราะทำบุญกุศลสิ่งใดไว้ และใครเป็นครูแนะนำสั่งสอนเธอ เธอเป็นผู้เรืองยศ และถึงความสุขพิเศษไพบูลย์ถึงเช่นนี้ เพราะได้ให้ทานและรักษาศีลเช่นไรไว้ ดูก่อนแม่เทพธิดา ฉันถามเธอแล้ว นี่เป็นผลของกรรมอะไร โปรดตอบฉันด้วย
    นางสุภัททาเทพธิดา ตอบว่า เมื่อชาติก่อน ดิฉันมีใจเลื่อมใส ได้ถวายบิณฑบาต ๘ ที่แก่สงฆ์ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ๘ รูป ด้วยมือของตน เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น
    นางภัททาเทพธิดาได้ถามต่อไปอีกว่า พี่เลี้ยงดูพระภิกษุทั้งหลาย ผู้สำรวมดี ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวและน้ำ ด้วยมือของตนเองมากกว่าเธอ ครั้นให้ทานมากกว่าเธอแล้ว ก็ยังได้บังเกิดในเหล่าเทพเจ้าต่ำกว่าเธอ ส่วนเธอได้ถวายทานเพียงเล็กน้อย อย่างไรจึงมาได้ผลอย่างพิเศษไพบูลย์ถึงเช่นนี้เหล่าแน่ะแม่เทพธิดา ฉันถามเธอแล้ว นี่เป็นผลเป็นกรรมอะไร โปรดตอบฉันด้วย
    นางสุภัททาเทพธิดาตอบว่า เมื่อชาติก่อน ดิฉันได้เห็นพระภิกษุผู้อบรมทางจิตใจเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ จึงได้นิมนต์ท่านรวม ๘ รูปด้วยกัน มีพระเรวตเถระเป็นประธาน ด้วยภัตตาหาร ท่านพระเรวตเถระนั้นมุ่งจะให้เกิดประโยชน์ อนุเคราะห์แก่ดิฉัน จึงบอกดิฉันว่าจงถวายสงฆ์เถิด ดิฉันได้ทำตามคำของท่าน ทักขิณาของดิฉันนั้นจึงเป็นสังฆทาน อันดิฉันให้เข้าไปตั้งไว้ในสงฆ์ เป็นทานที่ไม่อาจปริมาณผลได้ว่ามีอยู่เท่าไร ส่วนทานที่คุณพี่ได้ถวายแก่ภิกษุด้วยความเลื่อมใสนั้น เป็นรายบุคคล จึงมีผลไม่มาก
    นางภัททาเทพธิดา เมื่อจะรับรองความข้อนั้น จึงกล่าวว่า พี่เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่า การถวายสังฆทานนี้ มีผลมาก ถ้าว่าพี่ได้ไปบังเกิดเป็นมนุษย์อีก จักเป็นผู้รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่ถวายสังฆทาน และไม่ประมาทเป็นนิตย์
    เมื่อสนทนากันแล้ว นางสุภัททาเทพธิดาก็กลับไปสู่ทิพวิมานของตนบนสวรรค์ขั้นนิมมานรดี ท้าวสักกเทวราชได้ทรงสดับการสนทนานั้น จึงตรัสถามนางภัททาเทพธิดาว่า เทพธิดาผู้นั้นเป็นใคร มาสนทนากับเธอ มีรัศมีรุ่งโรจน์กว่าเทพเจ้าเหล่าดาวดึงส์ทั้งหมด
    นางภัททาเทพธิดา เมื่อจะบรรยายข้อที่สังฆทานของเทพธิดาผู้น้องสาวว่ามีผลมาก จึงทูลว่า ขอเดชะ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ เทพธิดาผู้นั้นเมื่อชาติก่อนยังเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษย์โลก เป็นน้องสาวของหม่อมฉัน และยังได้เคยร่วมสามีเดียวกับหม่อมฉันด้วย เธอสั่งสมบุญกุศล คือ ถวายสังฆทาน จึงได้ไพโรจน์ถึงอย่างนี้เพคะ
    สมเด็จอมรินทราธิราช เมื่อจะทรงสรรเสริญสังฆทานจึงตรัสว่า ดูก่อนนางภัททา น้องสาวของเธอไพโรจน์กว่าเธอ ก็เพราะเหตุในปางก่อน คือ การถวายสังฆทานที่ไม่อาจปริมาณผลได้ อันที่จริง ฉันได้ทูลถามพระพุทธเจ้า ครั้งประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ถึงผลแห่งไทยธรรมที่ได้จัดแจงถวายในเขตที่ผลมากของมนุษย์ทั้งหลาย ผู้มุ่งบุญ ให้ทานอยู่หรือทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนเกิดเวียนตาย จะถวายในบุคคลประเภทใดจึงจะมีผลมาก
    พระพุทธเจ้าตรัสตอบข้อความนั้นแก่ฉันอย่างแจ่มแจ้งว่า ท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออริยมรรค ๔ จำพวก และท่านผู้ตั้งอยู่ในอริยผล ๔ จำพวก พระอริยบุคคล ๘ จำพวกนี้ ชื่อว่าสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติตรง ดำรงมั่นอยู่ในปัญญาและศีล เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้มุ่งบุญถวายทานในท่านเหล่านี้ หรือทำบุญปรารภการเวียนเกิดเวียนตาย ทานที่ถวายในสงฆ์ย่อมมีผลมาก พระสงฆ์นี้เป็นผู้มีคุณความดีอันยิ่งใหญ่ ยังผลให้เกิดแก่ผู้ถวายทานในท่านอย่างไพบูลย์ ยากที่ใครจะปริมาณว่าเท่านี้ๆ ได้ เหมือนทะเลยากที่คาดคะเนได้ว่ามีน้ำเท่านี้ๆ ฉะนั้น
    พระสงฆ์เหล่านี้แล เป็นพระผู้ประเสริฐสุด เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียรเป็นเยี่ยมในหมู่นรชน เป็นแหล่งสร้างแสงสว่าง คือญาณของชาวโลก ได้แก่ นำเอาแสงสว่าง คือ พระสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้วมาชี้แจง ปวงชนผู้ใคร่ต่อบุญเหล่าใด ถวายทานมุ่งตรงต่อสงฆ์ทักขิณาของเขาเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นทักขิณาที่ถวายดีแล้ว เป็นยัญวิธีที่เซ่นสรวงถูกต้อง จัดเป็นบูชากรรมที่บูชาแล้วชอบเพราะทักขิณานั้นจัดเป็นสังฆทาน มีผลมาก อันพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าทั้งหลายผู้รู้แจ้งโลก ทรงสรรเสริญ
    ชนเหล่าใดยังท่องเที่ยวอยู่ในโลก มาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้ เกิดปีติโสมนัส ก็จะกำจัดมลทิน คือความตระหนี่ทั้งความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความลังเลในใจ และความวิปลาสอันเป็นมูลฐานเสียได้ ทั้งจะไม่เป็นผู้ถูกผู้รู้ติเตียน ชนเหล่านั้นก็จะเข้าถึงสถานที่ที่เป็นแดนสวรรค์
    จากวิมานวัตถุเรื่องนี้ แสดงชัดว่า สังฆทาน ที่ถวายเจาะจงแด่พระอริยสงฆ์นั้น มีผลมาก มีอานิสงส์มากจริง ทั้งนี้ เพราะเหตุที่พระอริยสงฆ์ท่านประกอบด้วย พระคุณ ๙ ประการดังกล่าวมาแล้ว ทานที่ถวายในท่านเหล่านี้จึงมีผลมาก ถ้ายังเกิดอยู่ตราบใดสังฆทานนี้ก็ให้ผลไปเกิดในที่ดีมีความสุขนับชาติไม่ได้ทีเดียว ยิ่งกว่านั้น พระอริยสงฆ์ท่านยังอาจแสดงธรรมที่ท่านได้เห็นแล้วบรรลุแล้วให้ผู้ถวายได้เห็นตามบรรลุตามเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดจดจากกิเลสเช่นเดียวกับท่านได้อีกด้วย การหมดจดจากกิเลสนี้เป็นอานิสงส์สูงที่สุดสำหรับบุคคลที่ถวายในสงฆ์ ด้วยเหตุนี้ ทานที่ถวายในสงฆ์หรือสังฆทานจึงมีผลมากและอานิสงส์มากอย่างนี้
    ก็พระคุณ ๙ ประการ ของพระอริยสงฆ์นั้น ๔ ประการแรก เป็นพระคุณเฉพาะส่วนตัวของท่าน ๕ ประการหลัง มีอาหุเนยโยเป็นต้น เป็นพระคุณที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่ถวายทานแก่ท่าน คือให้ได้รับผลมาก แม้อุทิศให้แก่เปรต เปรตทราบแล้วอนุโมทนาชื่นชมยินดี ก็ยังพ้นสภาพเปรต เป็นเทวดาได้
    ขอนำเรื่องของ เศรษฐีเท้าแมว ใน ธรรมบทภาค ๕ มาเล่าประกอบไว้ด้วย เรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่
    อุบาสกผู้หนึ่ง ไปฟังธรรมที่วัดเชตวัน ในกรุงสาวัตถีได้ยินพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "บุคคลบางคนให้ทานด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวนผู้อื่น เพราะฉะนั้นเมื่อเขาตายไป เขาย่อมได้รับโภคสมบัติ แต่ไม่ได้รับบริวารสมบัติในที่ๆ เขาไปเกิด
    ส่วนบางคนตนเองไม่ให้ทาน แต่เที่ยวชักชวนคนอื่นให้ให้ทาน เพราะฉะนั้นเมื่อเขาตายไป เขาก็ย่อมได้รับแต่บริวารสมบัติ แต่ไม่ได้รับโภคสมบัติในที่ๆ เขาไปเกิด
    ส่วนบางคนตนเองก็ไม่ให้ทาน ทั้งไม่ชักชวนคนอื่นให้ให้ทานด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อเขาตายไป เขาก็ย่อมไม่ได้รับทั้งโภคสมบัติ และบริวารสมบัติในที่ๆ เขาไปเกิด
    ส่วนบางคนตนเองก็ไห้ทาน ทั้งยังชักชวนคนอื่นให้ให้ทานด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อเขาตายไป เขาก็ได้รับทั้งโภคสมบัติ และบริวารสมบัติในที่ๆ เขาไปเกิด"
    อุบาสกผู้นี้เป็นบัณฑิต ได้ฟังดังนั้นก็คิดจะทำบุญให้ได้รับผลครบทั้งโภคสมบัติและบริวารสมบัติ เขาจึงเข้าไปกราบทูลขอถวายภัตตาหารแก่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกทั้งหมดในวันรุ่งขึ้น พระพุทธเจ้าก็ทรงรับคำอาราธนานั้น อุบาสกนั้นจึงได้เที่ยวป่าวร้องไปตามชาวบ้านร้านตลาดทั้งหลาย ชักชวนให้บริจาคข้าวสารและของต่างๆ เพื่อนำมาประกอบอาหารถวายก็ได้รับสิ่งของต่างๆ มากบ้างน้อยบ้างตามศรัทธาและฐานะของผู้บริจาค อุบาสกคนนั้นเที่ยวป่าวร้องไปอย่างนี้ จนมาถึงร้านค้าของท่านเศรษฐีผู้หนึ่ง ท่านเศรษฐีเกิดไม่ชอบในที่เห็นอุบาสกนั้นเที่ยวป่าวร้องไปอย่างนั้น ท่านคิดว่า "อุบาสกคนนี้เมื่อไม่สามารถถวายอาหารแก่พระพุทธเจ้า และพระสงฆ์สาวกทั้งวัดเชตวันได้ ก็ควรจะถวายตามกำลังของตน ไม่ควรจะเที่ยวชักชวนคนอื่นเขาทั่วไปอย่างนี้"
    เพราะเหตุที่คิดอย่างนี้ แม้ท่านจะร่วมทำบุญกับอุบาสกนั้นด้วย แต่ท่านก็ทำด้วยความไม่เต็มใจ ได้หยิบของให้เพียงอย่างละนิดละหน่อย คือใช้นิ้ว ๓ นิ้วหยิบของนั้น จะหยิบได้สักเท่าไร เวลาให้น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ก็ให้เพียงไม่กี่หยด เพราะเหตุที่ท่านมือเบามาก หยิบของให้ทานเพียงนิดหน่อย คนทั้งหลายก็เลยตั้งชื่อท่านว่า เศรษฐีเท้าแมว เป็นการเปรียบเทียบความมือเบาของท่านกับความเบาของเท้าแมว
    อุบาสกนั้นเป็นคนฉลาด เมื่อรับของจากท่านเศรษฐีจึงได้แยกไว้ต่างหาก ไม่ได้รวมกับของที่ตนรับมาจากผู้อื่นเศรษฐีก็คิดว่า "อุบาสกนี้คงจะเอาเราไปเที่ยวประจานเป็นแน่" เมื่อคิดอย่างนี้ จึงใช้ให้คนใช้ติดตามไปดู คนรับใช้ได้เห็นว่าอุบาสกนั้นนำเอาของของเศรษฐีไปแบ่งใส่ลงในหม้อที่ใช้หุงต้มอาหารนั้นหม้อละนิด อย่างข้าวสารก็ใส่หม้อละเมล็ดสองเมล็ดเพื่อให้ทั่วถึง พร้อมกับกล่าวให้พรท่านเศรษฐีด้วยว่า "ขอให้ทานของท่านเศรษฐีจงมีผลมาก" คนรับใช้ก็นำความมาบอกนาย ท่านเศรษฐีก็คิดอีกว่า "วันนี้เขายังไม่ประจานเราพรุ่งนี้เวลานำเอาอาหารไปถวายพระที่วัดเชตวัน เขาคงจะประจานเรา ถ้าเขาประจานเรา เราจะฆ่าเสีย" ดังนั้นในวันรุ่งขึ้นท่านจึงเหน็บกริชซ่อนไว้แล้วไปที่วัดเชตวัน ในเวลาที่อุบาสกและชาวเมืองช่วยกันอังคาสเลี้ยงดูพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ เมื่อช่วยกันถวายภัตตาหารแล้ว อุบาสกผู้นั้นได้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้เที่ยวชักชวนมหาชนให้ถวายทานนี้ขอให้คนทั้งหลายผู้ที่ข้าพระองค์ชักชวนแล้ว บริจาคแล้ว ทั้งผู้บริจาคของมาก ทั้งผู้บริจาคของน้อย จงได้รับผลมากทุกคนเถิด" ท่านเศรษฐีได้ยินแล้วก็ไม่สบายใจ กลัวอุบาสกจะประกาศว่า ท่านให้ของเพียงหยิบมือเดียว คิดอีกว่า "ถ้าอุบาสกเอ่ยชื่อเรา เราจะแทงให้ตาย" แต่อุบาสกนั้นกลับกราบทูลว่า "แม้ผู้ที่บริจาคของเพียงหยิบมือเดียว ทานของผู้นั้นก็จงมีผลมากเถิด"
    ท่านเศรษฐีได้ฟังดังนั้นก็ได้สติ คิดเสียใจว่า "เราได้คิดร้ายล่วงเกิดต่ออุบาสกนี้อยู่ตลอดเวลา แต่อุบาสกนี้เป็นคนดีเหลือเกิน ถ้าเราไม่ขอโทษเขา เราก็เห็นจะได้รับกรรมหนัก" คิดดังนี้แล้ว จึงเข้าไปหมอบแทบเท้าของอุบาสกนั้น เล่าเรื่องให้ฟังพร้อมทั้งขอให้ยกโทษให้ พระพุทธองค์ทอดพระเนตรเห็นกริยาอาการของท่านเศรษฐีอย่างนี้ก็ตรัสถามขึ้น เมื่อทรงทราบแล้วจึงได้ตรัสว่า "ขึ้นชื่อว่าบุญแล้ว ใครๆ ไม่ควรดูหมิ่นว่าบุญนี้เล็กน้อย ทานที่บุคคลถวายแล้วแก่ภิกษุสงฆ์ อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเช่นนี้ ไม่ควรดูหมิ่นว่าบุญนี้เล็กน้อย คนที่ฉลาดทำบุญอยู่ ย่อมเต็มด้วยบุญ เหมือนหม้อน้ำที่เปิดปากไว้ ย่อมเต็มด้วยน้ำฉันนั้น" ในตอนท้าย พระพุทธองค์ตรัสพระคาถาว่า "บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญเล็กน้อยว่าจะไม่มาถึง แม้หม้อน้ำก็ยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาฉันใด ผู้ฉลาดเมื่อสะสมบุญแม้ทีละน้อยทีละน้อย ก็ย่อมเต็มด้วยบุญฉะนั้น"
    ท่านเศรษฐีได้ฟังแล้วก็ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาบันบุคคล พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ประกอบด้วยประโยชน์อย่างยิ่งอย่างนี้ ถ้าเราหมั่นฟังอยู่เสมอและฟังด้วยความตั้งใจ ก็ย่อมได้ปัญญา ดังเศรษฐีท่านนี้เป็นตัวอย่าง
    จากเรื่องของท่านเศรษฐีผู้นี้ ทำให้ทราบว่าการให้ทานนั้น เป็นเหตุให้ได้รับโภคสมบัติ การชักชวนผู้อื่นให้ทานนั้นเป็นเหตุให้ได้รับบริวารสมบัติ ในที่ๆ ตนไปเกิด
    เพราะฉะนั้น เมื่อใครเขาทำบุญ หรือใครเขาชักชวนใครๆ ทำบุญ ก็อย่างได้ขัดขวางห้ามปรามเขาเพราะการกระทำเช่นนี้เป็นบาป เป็นการทำลายประโยชน์ของบุคคลทั้ง ๓ ฝ่าย คือตนเองเกิดอกุศลจิตก่อน ๑ ทำลายลาภของผู้รับ ๑ ทำลายบุญของผู้ให้ ๑
    และจากเรื่องนี้ก็ทำให้เห็นชัดว่า สังฆทานนั้นมีผลมาก และมีอานิสงส์มาก การที่กิเลสคือความตระหนี่ได้ถูกขัดเกลาออกไป ทำให้จิตใจที่หนาอยู่ด้วยกิเลสเบาบางลงไปได้ชั่วขณะนี้แหละ คืออานิสงส์ที่แท้จริงของบุญ ยิ่งกิเลสถูกขัดเกลาไปได้มากเท่าไร ทานของผู้นั้นก็มีอานิสงส์มากเท่านั้น
    เสื้อผ้าที่สกปรกเปรอะเปื้อนต้องการสบู่หรือผงซักฟอกเข้าไปช่วยชำระล้างให้สะอาดฉันใด จิตใจที่เปรอะเปื้อนด้วยกิเลสก็ต้องการบุญ มีทานเป็นต้น เข้าไปช่วยชำระล้างขัดเกลาให้สะอาดหมดจดฉันนั้น
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา คือทานไว้ ๔ อย่าง คือ
    ๑. ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายกคือผู้ให้ แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคคาหกคือผู้รับ กล่าวคือผู้ให้เป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม ได้ของมาโดยชอบธรรม เป็นผู้เชื่อกรรมและผลของกรรม แต่ผู้รับเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก
    ๒. ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก กล่าวคือผู้รับเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม แต่ผู้ให้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก ได้ของมาโดยไม่ชอบธรรม เป็นผู้ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรม
    ๓. ทักษิณาบางอย่าง ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและปฏิคคาหก คือทั้งผู้ให้และผู้รับเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก
    ๔. ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและปฏิคคาหก คือทั้งผู้ให้และผู้รับเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงามทานที่บริสุทธิ์ทั้งสองฝ่ายอย่างนี้ย่อมมีผลไพบูลย์
    อนึ่ง พระบรมศาสดาตรัสว่า ถ้าทายกคือผู้ให้เป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม ได้ของมาโดยชอบธรรม มีศรัทธาเชื่อกรรมและผลของกรรม และปฏิคคาหกคือผู้รับ เป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม ปราศจากราคะแล้วทานของผู้นั้นเลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย
    อนึ่งใน ทานานิสังสสูตร อัง. ปัญจก. ข้อ ๓๕ พระพุทธองค์ทรงแสดงอานิสงส์ของทานไว้ ๕ อย่างคือ
    ๑. ผู้ให้ทาน ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนหมู่มาก ๒. สัปบุรุษ ผู้สงบ มีพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมคบหาผู้ให้ทาน ๓. กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทาน ย่อมขจรขจายไปทั่ว ๔. ผู้ให้ทาน ย่อมไม่เหินห่างจากธรรมของคฤหัสถ์ คือมีศีล ๕ ไม่ขาด ๕. ผู้ให้ทาน เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
    แล้วทรงสรุปเป็นคาถาว่า ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของสัปบุรุษ (คือ มหาบุรุษ หรือพระโพธิสัตว์) สัปบุรุษผู้สงบ ผู้สำรวมอินทรีย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ สัปบุรุษเหล่านั้น ย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์แก่เขา เขาได้ทราบชัดแล้ว ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ ปรินิพพานในโลกนี้
    ควรอย่างยิ่งที่เราจะสะสมบุญ มีทานเป็นต้น ให้งอกงามเพิ่มพูนขึ้นในจิตใจของเรา เพราะว่าเมื่อไรที่จิตใจของเราเต็มเปี่ยมไปด้วยบุญ เมื่อนั้นกิเลสจะไม่มีหลงเหลืออยู่ในจิตใจของเราเลย
    ใน ทานสูตร อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ข้อ ๔๙ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้ทานที่ให้แล้ว มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก และเหตุปัจจัยที่ทำให้ทานที่ให้แล้วมีผลมาก และมีอานิสงส์มาก ไว้ดังต่อไปนี้
    ๑. บุคคลบางคน ให้ทานด้วยความหวังว่า เมื่อตายไปแล้ว จักได้เสวยผลของทานนี้ เมื่อตายไป ได้เกิดในเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก
    ๒. บุคคลบางคนไม่ได้ให้ทาน เพราะหวังผลของทาน แต่ให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี เป็นบุญ เป็นกุศล จึงให้เมื่อตายไป ได้เกิดในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมากแต่ไม่มีอานิสงส์มาก
    ๓. บุคคลบางคนไม่ได้ให้ทาน เพราะหวังผลของทาน ไม่ได้ให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี แต่ให้ทานเพราะละอายใจที่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย บรรพบุรุษเคยทำมา ถ้าไม่ทำก็ไม่สมควร ครั้นตายลงได้เกิดในเทวโลกชั้นยามา สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก
    ๔. บุคคลบางคน ไม่ได้ให้ทานเพราะหวังผลของทาน ไม่ได้ให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี ไม่ได้ให้ทานตามบรรพบุรุษ แต่ให้ทานเพราะเห็นสมณพราหมณ์เหล่านั้นหุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ ถ้าไม่ให้ก็ไม่สมควร ครั้นตายลงได้เกิดในเทวโลกชั้นดุสิต สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก
    ๕. บุคคลบางคน ไม่ได้ให้ทานเพราะหวังผลของทาน ไม่ได้ให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี ไม่ได้ให้ทานตามบรรพบุรุษ ไม่ได้ให้ทานเพราะเห็นว่า สมณพราหมณ์หุงหากินไม่ได้ แต่ให้ทานเพราะต้องการจำแนกแจกทานเหมือนกับฤาษีทั้งหลายในปางก่อนได้กระทำมหาทานมาแล้ว เขาตายไปได้เกิดในเทวโลกชั้นนิมมานรดี สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก
    ๖. บุคคลบางคน ไม่ได้ให้ทานเพราะหวังผลของทาน ไม่ได้ให้ทานเพราะว่าทานเป็นของดี ไม่ได้ให้ทานตามบรรพบุรุษ ไม่ได้ให้ทานเพราะเห็นว่าสมณพราหมณ์หุงหากินไม่ได้ ไม่ได้ให้ทานเพราะต้องการจำแนกแจกทานเหมือนฤาษีทั้งหลายในปางก่อนได้กระทำมหาทาน แต่ให้ทานเพราะคิดว่า เมื่อให้แล้ว จิตจะเลื่อมใสโสมนัสจึงให้ ครั้นตายไปย่อมเกิดในเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัตดี สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก
    ๗. บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ให้ทานเพราะเหตุที่กล่าวแล้วทั้ง ๖ อย่างข้างต้นนั้น แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต คือให้ทานนั้นเป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจหมดจดจากกิเลสด้วยอำนาจของสมถะและวิปัสสนา จนได้ฌานและบรรลุ จนได้ฌานและบรรลุเป็นพระอนาคามีบุคคล ตายแล้วได้ไปเกิดในพรหมโลก เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในพรหมโลกแล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมาเกิดในโลกนี้อีก คือปรินิพพานในพรหมโลกนั้นเอง ทานชนิดนี้เป็นทานที่มีผลมาก และมีอานิสงส์มาก
    สรุปรวมความว่า ทานชนิดใดก็ตาม เป็นปัจจัยให้ต้องเกิดอีก ทานชนิดนั้นแม้มีผลมาก ได้เกิดที่ดีมีความสุขอันเป็นทิพย์ แต่ทานนั้นก็ไม่มีอานิสงส์มาก เพราะไม่สามารถจะทำให้หมดจดจากกิเลสได้
    ส่วนทานชนิดใดเป็นปัจจัยให้ไม่ต้องเกิดอีก ทานชนิดนั้นชื่อว่ามีผลมากด้วย มีอานิสงส์มากด้วย เพราะทำให้หมดจดจากกิเลส
    ฉะนั้นคำว่า "อานิสงส์มาก" ในที่นี้ จึงหมายถึงการหมดจดจากกิเลสทั้งปวง ไม่ต้องเกิดอีก
    จริงอยู่ การเกิดในสวรรค์แต่ละชั้นนั้น มีความสุขมาก เพราะได้รับกามคุณอันเลอเลิศที่เป็นทิพย์ ละเอียดประณีตขึ้นไปตามลำดับชั้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า กามคุณนั้นเป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของชวนให้หลงใหล เป็นของมีสุขน้อย แต่มีโทษมาก เพราะฉะนั้นเมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรม คือ อนุปุพพิกถา แก่คฤหัสถ์ จึงได้ทรงแสดงโทษของกามไว้ด้วย ผู้ที่ยินดีหลงไหลเพลิดเพลินในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันน่าใคร่ น่าพอใจ ย่อมไม่อาจล่วงทุกข์ไปได้ ผู้ที่จะล่วงทุกข์ได้ก็เพราะเห็นโทษของกาม ก้าวออกจากกามด้วยสมถะและวิปัสสนาเท่านั้น
    ด้วยเหตุนั้น ทานที่เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต ขัดเกลาจิตให้อ่อน ให้ควรแก่การเจริญสมถะและวิปัสสนาจนบรรลุมรรคผลไม่ต้องกลับมาเกิดอีก จึงเป็นทานที่มีผลมาก และมีอานิสงส์มากแม้สังฆทานที่กล่าวว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็เพราะผู้ถวายมีโอกาสได้ฟังธรรมจากสงฆ์แล้วบรรลุอริยสัจธรรม ก้าวล่วงทุกข์ทั้งปวงไม่ต้องกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก
    พระพุทธองค์ทรงมีพระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่แก่สัตว์โลกแม้เมื่อทรงแสดงเรื่องทาน ก็ทรงแสดงให้พุทธบริษัทได้รับประโยชน์ครบทั้ง ๓ ประการ คือ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง คือ มรรค ผล นิพพาน ด้วยเหตุนี้ จึงควรทำใจให้เลื่อมใส บำเพ็ญทานให้เกิดประโยชน์ทั้ง ๓ ประการ จึงจะได้ชื่อว่า ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์อย่างแท้จริง
    ควรหรือไม่ ที่เราจะทำทานชนิดที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD align=right vspace="0" hspace="0"><B><BIG>ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก</BIG></B>
    ประณีต ก้องสมุทร
    </TD></TR><TR><TD align=right vspace="0" hspace="0">ขอขอบคุณ
    คุณนวชนก โพธิ์เจริญ
    [ ผู้คัดลอก และตรวจทาน ]
    </TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0"><SMALL>จัดทำเมื่อ 21 เมษายน พ.ศ. 2545</SMALL></TD></TR><TR><TD align=right vspace="0" hspace="0"><!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1>page="tipitaka";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://truehits1.gits.net.th/data/c0004100.js"></SCRIPT></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ------------------------------------


    </PRE>
    [​IMG]
     
  15. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    อ่านเรื่องทาน แล้ว "อิ่ม" มากครับ ขอบพระคุณพี่หนุ่มที่นำบทความดีๆมาให้เสมอครับ
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>รวบแก๊งมาเลย์ใช้บัตรเครดิตปลอมตระเวนรูดซื้อของ
    http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9510000109013
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ทีมข่าวอาชญากรรม ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>14 กันยายน 2551 21:18 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=160><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์ ธารีฉัตร ผบก.ทท.แถลงข่าวจับกุมผู้ต้องหาปลอมแปลงบัตรเครดิต</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ตำรวจท่องเที่ยวตามรวบ 3 หนุ่มชาวมาเลย์ ตระเวนใช้บัตรเครดิตปลอมรูดซื้อสินค้าในห้างเกสรพลาซ่า ได้สินค้าไปมูลค่าร่วมล้านบาท

    วันนี้ (14 ก.ย.) เวลา 17.00 น.พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์ ธารีฉัตร ผบก.ทท.และ พ.ต.อ.สำราญ ยินดีอารมณ์ ผกก.ฝป.10 บก.ทท.ร่วมกันแถลงข่าวผลการจับกุม นายชง ปู วี อายุ 25 ปี นายชง ปู ฮวด อายุ 29 ปี และ นายเชียง เฮง ทอง อายุ 33 ปี ทั้งหมดเป็นชาวมาเลเซีย พร้อมของกลางบัตรเครดิตธนาคารต่างๆ 8 ใบ เสื้อผ้า แว่นตา และอื่นๆ หลายรายการ รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 1 ล้านบาท โดยจับกุมได้ที่ชั้นใต้ดินห้างเกษรพลาซ่า ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กทม.

    พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์ กล่าวว่า จากการสอบสวนทราบว่า ผู้ต้องหาทั้ง 3 คน เข้าประเทศไทยมาเมื่อวันที่ 12 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยในวันรุ่งขึ้นกลุ่มผู้ต้องหาได้นำบัตรเครดิตที่ปลอมแปลงขึ้นไปตระเวนรูดซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้าดังกล่าว โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ประสานงาน และวางแผนเพื่อจับกุมผู้ต้องสงสัย ต่อมาพบว่าทั้งหมดมีพฤติกรรมซื้อสินค้าแล้วเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที เจ้าหน้าที่จึงแสดงตัวเข้าจับกุม

    พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์ กล่าวต่อว่า บัตรเครดิตดังกล่าวได้มีการทำขึ้นเองที่ประเทศมาเลเซีย และนำมาใช้ที่ประเทศไทย และเมื่อซื้อสินค้ามาแล้วจะนำไปขายต่อในราคาที่ถูกลง โดยผู้ต้องหาทั้งหมดให้การรับสารภาพ จึงแจ้งข้อหามีไว้เพื่อนำออก ใช้ซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ โดยรู้ว่าเป็นของที่ปลอมหรือแปลงขึ้น โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน และแจ้งข้อหาแก่ นายชง ปู วี เพิ่มเติมอีกข้อหาคือเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยหลังจากนี้จะนำตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน สน.ลุมพินี เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    2 สัปดาห์ที่ผ่านมาได้ตั้งจิตปฏิบัติธรรม (อยู่ที่บ้าน) หันห่างจากทีวี อินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์ให้มาก เพราะว่าเป็นช่วงเริ่มขับเคลื่อน เพื่อจะทำให้ดีจริงๆ
    ขอกุศลนี้จงมีกับทุกท่านด้วย
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ท่านใดที่จะไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามสมณโคดม อย่าลืมนำเจดีย์ไปด้วยนะครับ

    จะปิดทองหรือไม่ปิดทอง จะติดเพชรหรือไม่ติดเพชรก็ได้ แต่ขอเป็นเจดีย์ในลักษณะนี้ครับ ส่วนผอบ(ที่ไม่ใช่เจดีย์)ผมใช้ในการบรรจุพระธาตุพระอรหันต์ครับ

    [​IMG]
    โมทนาสาธุครับ
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    โมทนาสาธุครับ

    ;aa14
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

แชร์หน้านี้

Loading...