พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สมเด็จองค์ปฐม วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
    http://www.buddhabhumi.info/buddhabumi/buddha/first_buddha.html

    [​IMG]

    <CENTER>สมเด็จองค์ปฐม วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี</CENTER><HR>


    <CENTER>ประวัติสมเด็จองค์ปฐม</CENTER><B>
    " ท่านสาธุชนทั้งหลาย ตอนนี้ก็มาพูดกันถึงเรื่อง สมเด็จองค์ปฐม สำหรับคำว่า
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สมเด็จองค์ปฐม วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
    http://www.buddhabhumi.info/buddhabu...st_buddha.html


    <CENTER>สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม</CENTER>


    " สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก

    <MENU>1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
    2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทราแท้ (ด้วยความจริงใจ)
    3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
    4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้าและพรหมในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด "
    </MENU>(หมายเหตุ : เทศน์ที่ " เทวสภา " วันที่ 8 สิงหาคม 2535 เวลา 8.00 น. พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน เมตตาเล่าให้ลูกหลานฟังเมื่อ 11 สิงหาคม 2535 เวลา 21.00 น.)

    <HR>

    <CENTER>อานิสงส์การสร้างสมเด็จองค์ปฐม</CENTER>


    หลวงพ่อ : ช่างมาถามเกี่ยวกับลักษณะองค์ปฐม อาตมาบอกสร้างแบบพระพุทธรูปธรรมดา แต่ต้องอ้วนหน่อยนะ คือมีเนื้อมากหน่อย ไม่ใช่อ้วนพุงพลุ้ยนะ และก็เวลาลงไปสอนกรรมฐาน เมื่อเสร็จแล้วเขาก็คุยกัน เขาก็ถามปัญหา ถามไปถามมา เขาถามถึงพระพุทธเจ้าองค์ปฐมว่า ถ้าจะสร้างจะมีอานิสงส์อย่างไร ลุงสองลุง นายบัญชี กับลุงพุฒิ ท่านมายืนอยู่นานแล้ว ท่านไม่มีโอกาสคุย เพราะอาตมาขึ้นไปคุยกับพระซะ ท่านบอกว่า การสร้างองค์ปฐมนี่ ท่านเปลี่ยนบัญชีใหม่ เอาบัญชีมาให้ดู บอกนี่
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    14935. พระกกุสันธพุทธเจ้า

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14935

    โดย น้องนน - ตอบเมื่อ: 18 ก.พ.2008, 3:32 pm

    <TABLE cellSpacing=20 width="85%" border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
    กุกกุสันธพุทธวงศ์ที่ ๒๒
    ว่าด้วยพระประวัติพระกกุสันธพุทธเจ้า
    [๒๓] สมัยต่อมาจากพระเวสสภูพุทธเจ้า มีพระสัมพุทธเจ้าผู้อุดมกว่าสัตว์
    พระนามว่า กุกกุสันธะ มีพระคุณประมาณมิได้ยากที่จะเทียมถึง
    ทรงเพิกภพทั้งปวง ถึงที่สุดแห่งจริยา ทรงทำลายกิเลสดังราชสีห์ทำ
    ลายกรงแล้ว ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม เมื่อพระกุกกุสันธะ
    พุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ทรงประกาศพระธรรมจักร ธรรมาภิสมัย
    ครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สี่หมื่นโกฏิ ในคราวเมื่อพระองค์ทรงแผลงฤทธิ์
    กระทำยมกปาฏิหาริย์ในอากาศ พระองค์ทรงยังเทวดาและมนุษย์ให้
    ตรัสรู้สามหมื่นโกฏิ ในคราวเมื่อทรงประกาศจตุราริยสัจ แก่มนุษย์
    เทวดาและยักษ์ ธรรมาภิสมัยครั้งนั้น จะคำนวณนับมิได้ พระผู้มี
    พระภาคกุกกุสันธะ ทรงมีการประชุมพระภิกษุขีณาสพผู้ปราศจาก
    มนทิน ผู้มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ครั้งเดียวในกาลนั้น พระภิกษุขีณาสพ
    ผู้บรรลุถึงภูมิที่ฝึกแล้ว เพราะสิ้นกิเลสเหตุให้เป็นหมู่คณะมีอาสวะ
    เป็นต้น มาประชุมกันสี่หมื่น สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์ มีพระนามว่า
    เขมะ เราได้ถวายทานมิใช่น้อยแด่พระตถาคตและพระสาวก เรา
    ถวายบาตร จีวร ยาหยอดตา ชะเอมเครือ เราถวายของดีๆ ทุกอย่าง
    ตามที่ภิกษุสงฆ์ปรารถนา แม้พระมุนีกุกกุสันธะผู้เป็นนายกชั้นพิเศษ
    พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่าในภัทรกัปนี้ ผู้นี้จักได้เป็นพระ
    พุทธเจ้าในโลก ....... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธ
    พยากรณ์แม้นั้นแล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง เราอธิษฐานวัตร
    ในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการยิ่งขึ้น นครชื่อว่าเขมวดี ในกาลนั้น
    เรามีชื่อว่าเขมะ เมื่อแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณจึงออกบวชใน
    สำนักของพระองค์ พราหมณ์นามว่าอัคคิทัตตะเป็นพุทธบิดา
    นางพราหมณีชื่อว่าวิสาขา เป็นพุทธมารดา ตระกูลใหญ่ของพระ-
    สัมพุทธเจ้าเป็นตระกูลที่ประเสริฐสุดกว่าตระกูลอื่นๆ มีชาติสูง
    มียศมาก อยู่ในเขมนครนั้น พระองค์ครอบครองอาคารสถานอยู่
    สี่พันปี มีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อกามวัฑฒะ กามสุทธิ
    และรติวัฑฒนะ มีนางสาวนารีสามหมื่นนาง บุตรชายนามว่าอุตระ
    พระพิชิตมารทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงออกผนวชด้วยรถอันเป็น
    ยานพาหนะ บำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม พระกุกกุสันธมหาวีรเจ้า
    ผู้อุดมกว่านรชน ทรงประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน ทรงมี
    พระวิธุรเถระและพระสัญชีวนามเถระเป็นพระอัครสาวก พระเถระ
    ชื่อว่าพุทธิชะเป็นพระพุทธอุปัฏฐาก พระสามาเถรีและพระจัมปนามา
    เถรีเป็นพระอัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกชื่อว่าไม้ซึก
    อัจจุคตอุบาสก และสุมนอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก นันทาอุบาสิกา
    และสุนันทาอุบาสิกา เป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระมหามุนีมีพระองค์
    สูง ๔๐ ศอก พระรัศมีสีเปล่งปลั่งดังทองคำ เปล่งออกไป ๑๐ โยชน์
    โดยรอบ พระองค์มีพระชนมายุสี่หมื่นปี เมื่อทรงดำรงอยู่เท่านั้น
    ทรงช่วยให้ประชุมชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากมาย ทรงแจกจ่าย
    ตลาดธรรมให้แก่บุรุษและสตรี ทรงบันลือสีหนาทในโลกพร้อมทั้ง
    เทวโลกแล้ว เสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก พระองค์ ทรงถึง
    พร้อมด้วยพระดำรัสมีองค์ ๘ ไม่มีช่องเนืองนิตย์ ทุกอย่างหายไป
    หมดแล้ว สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระกุกกุสันธชินเจ้าผู้
    ประเสริฐเสด็จนิพพานที่เขมาราม พระสถูปอันประเสริฐของ
    พระองค์สูงคาวุตหนึ่ง ประดิษฐานอยู่ ณ เขมารามนั้น ฉะนี้แล.​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    14945. พระโกนาคมนพุทธเจ้า
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14945

    โดย น้องนน - ตอบเมื่อ: 19 ก.พ.2008, 5:13 pm

    โกนาคมนพุทธวงศ์ที่ ๒๓
    ว่าด้วยพระประวัติพระโกนาคมนพุทธเจ้า
    [๒๔] สมัยต่อมาจากพระกุกกุสันธพุทธเจ้า พระสัมพุทธนราสภชินเจ้าผู้
    อุดมกว่าสัตว์ เชษฐบุรุษของโลก พระนามว่าโกนาคมนะ ทรง
    บำเพ็ญธรรม ๑๐ ประการบริบูรณ์ ข้ามทางกันดารได้แล้ว ทรงลอย
    มลทินทั้งปวงแล้ว ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม เมื่อพระองค์ผู้
    เป็นนายกชั้นพิเศษของโลก ทรงประกาศพระธรรมจักร ธรรมาภิสมัย
    ครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สามหมื่นโกฏิ และในคราวเมื่อพระองค์
    ทรงทำปฏิหาริย์ย่ำยีวาทะของผู้อื่น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่
    สัตว์สองหมื่นโกฏิ ต่อแต่นั้น พระมุนีสัมพุทธชินเจ้าทรงแผลงฤทธิ์
    ต่างๆ เสด็จไปยังดาวดึงส์เทวโลก ประทับเหนือบัณฑุกัมพลศิลา-
    อาสน์ ทรงจำพรรษาอยู่ ณ ดาวดึงส์นั้น ทรงแสดงพระอภิธรรม ๗
    คัมภีร์ ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ทวยเทพหมื่นโกฏิ แม้
    พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงมีการประชุมพระภิกษุขีณาสพผู้
    ปราศจากมลทิน ผู้มีจิตสงบระงับ คงที่ ครั้งเดียว ในกาลนั้น
    พระภิกษุขีณาสพผู้ล่วงโอฆะทั้งหลายและทำลายมัจจุราชแล้ว มา
    ประชุมกันสามหมื่น สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์พระนามว่าบรรพต
    ถึงพร้อมด้วยมิตรและอำมาตย์ มีพลนิกายและพาหนะมากมาย เรา
    ไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าได้ฟังธรรมอันยอดเยี่ยมแล้ว นิมนต์พระสงฆ์
    พร้อมด้วยพระชินเจ้า ได้ถวายทานตามปรารถนา เราได้ถวายผ้า
    ปัตตุณณะ ผ้าเมืองจีน ผ้าไหม ผ้ากัมพล และรองเท้าทอง แก่
    พระศาสดาและพระสาวก แม้พระมุนีพระองค์นั้น ก็ประทับนั่ง
    ท่ามกลางสงฆ์ตรัสพยากรณ์เราว่า ในภัทรกัปนี้ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธ
    เจ้าในโลก .... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์
    แม้นั้นแล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง เราได้อธิษฐานวัตรในการ
    บำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป เราผู้อุดมกว่านรชน เมื่อ
    แสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ จึงให้ทาน ละราชสมบัติอันใหญ่หลวง
    บวชในพระสำนักพระชินเจ้า พระนครชื่อว่าโสภวดี พระบรมกษัตริย์
    พระนามว่าโสภะ ตระกูลใหญ่ของพระสัมพุทธเจ้าอยู่ในพระนครนั้น
    ยัญทัตตพราหมณ์เป็นพุทธบิดา นางอุตราพราหมณีเป็นพุทธมารดา
    พระองค์ครอบครองอาคารสถานอยู่สามหมื่นปี มีปราสาทอันประเสริฐ
    ๓ ปราสาท ชื่อดุสิต สันดุสิต และสันตุฏฐะ มีนางสาวนารี หมื่น
    หกพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม นางรุจิคุตตาพราหมณีเป็น
    ภรรยา บุตรชายนามว่าสัตถวาหะ พระองค์ผู้เป็นอุดมบุรุษได้เห็น
    นิมิต ๔ ประการ จึงออกบวชด้วยยานช้างยานพาหนะ บำเพ็ญเพียร
    อยู่ ๖ เดือน พระโกนาคมนมหาวีรเจ้า นายกของโลก ผู้อุดมกว่า
    นรชน อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักรที่
    มฤคทายวัน ทรงมีพระภิยโยสเถระ และพระอุตรเถระเป็นพระอัคร-
    สาวก พระเถระชื่อว่าโสตถิชะเป็นพระพุทธอุปัฏฐาก พระสมุททา
    เถรีและพระอุตราเถรีเป็นพระอัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์
    เรียกชื่อว่า ไม้มะเดื่อ อุคคอุบาสกและโสมเทวอุบาสกเป็นอัคร-
    อุปัฏฐาก สีวลาอุบาสิกาและสามาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
    พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระองค์สูง ๓๐ ศอก ประดับด้วย
    พระรัศมีเปล่งปลั่ง ดังทองที่ปากเบ้า พระองค์มีพระชนมายุในขณะ
    นั้นสามหมื่นปี ทรงดำรงอยู่เท่านั้น ทรงช่วยให้ประชุมชนข้ามพ้น
    วัฏสงสารได้มากมาย ทรงยกธรรมเจดีย์อันประดับด้วยผ้าคือธรรม
    ขึ้นแล้ว ทรงร้อยพวงดอกไม้คือธรรมเสร็จแล้ว เสด็จนิพพานพร้อม
    ด้วยพระสาวก พระองค์มีพระลีลาอันใหญ่มีธรรมอันเป็นสิริเป็นเครื่อง
    ปรากฏ สิ่งทั้งปวงหายไปหมดแล้ว สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระ
    โคนาคมนสัมพุทธเจ้า เสด็จนิพพาน ณ ปัพพตาราม พระธาตุของ
    พระองค์แผ่กว้างไปในประเทศนั้นๆ ฉะนี้แล.
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    14946. พระกัสสปพุทธเจ้า
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14946

    โดย น้องนน - ตอบเมื่อ: 19 ก.พ.2008, 5:15 pm

    กัสสปพุทธวงศ์ที่ ๒๔
    ว่าด้วยพระประวัติพระกัสสปพุทธเจ้า
    [๒๕] สมัยต่อมาพระโกนาคมนพุทธเจ้า มีพระสัมพุทธเจ้าผู้อุดมกว่าสัตว์
    เป็นพระธรรมราชา มีพระรัสมีสว่างไสวทรงพระนามว่า กัสสปะ
    ทรัพย์อันเป็นต้นทุนของตระกูล ที่สัตว์เป็นอันมากบูชา พระองค์
    ทรงละทิ้งเสียแล้วทรงเป็นทายกผู้องอาจให้ทาน ยังฉันทะให้เต็ม ทรง
    ทำลายกิเลสดังสัตว์ร้ายแล้ว ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม เมื่อ
    พระกัสสปะผู้เป็นนายกของโลก ทรงประกาศพระธรรมจักร ธรรมา-
    ภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สองหมื่นโกฏิ ในคราวเมื่อพระพุทธเจ้า
    เสด็จจาริกไปในโลกตลอด ๔ เดือน ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มี
    แก่สัตว์หมื่นโกฏิ ในคราวเมื่อพระองค์ทรงทำยมกปาฏิหาริย์แสดง
    ฤทธิ์ต่างๆ ทรงประกาศพระญาณธาตุ ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มี
    แก่สัตว์ห้าพันโกฏิ ในคราวที่พระองค์ทรงแสดงธรรม ณ สุธรรมเทพ-
    นครอันรื่นรมย์ พระชินเจ้าทรงทำให้เทวดาสามพันโกฏิได้ตรัสรู้
    และในคราวทรงแสดงธรรมแก่มนุษย์ เทวดา และยักษ์อีกครั้งหนึ่ง
    มนุษย์เป็นต้นผู้ได้ตรัสรู้ธรรมนั้นจะคณนานับมิได้ แม้พระพุทธเจ้า
    พระองค์นั้นก็ทรงมีการประชุมพระภิกษุขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน
    มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ครั้งเดียว ครั้งนั้นพระภิกษุขีณาสพผู้ล่วง
    สุดภพแล้ว ผู้คงที่ด้วยหิริและศีลมาประชุมกันสองหมื่น ในกาลนั้น
    เราเป็นมาณพ มีชื่อปรากฏ ว่าโชติปาละ เป็นผู้เล่าเรียน ทรงมนต์
    รู้จบไตรเพทถึงที่สุดในคำภีร์ทำนายลักษณะและคัมภีร์อิติหาสะ เป็น
    ผู้ฉลาดในวิชาดูพื้นที่และอากาศ เป็นผู้ใช้วิชา ไม่มีทุกข์ ฆฏิการ
    อุบาสกผู้อุปัฏฐากแห่งพระผู้มีพระภาคกัสสปะ เป็นผู้มีความเคารพ
    ยำเกรง เป็นพระอนาคามี ฆฏิการอุบาสกได้พาเราเข้าไปเฝ้าพระ-
    กัสสปชินเจ้า เราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้วบวชในสำนักของ
    พระองค์ เราเป็นผู้ปรารภความเพียร ฉลาดในวัตรและมิใช่วัตร
    ไม่เสื่อมในที่ไหนๆ ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระชินเจ้าบริบูรณ์
    เล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์เท่าที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้วทุกอย่าง ยัง
    พระศาสนาของพระพิชิตมารให้งดงาม แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเห็นความอัศจรรย์ของเราแล้ว จึงทรงพยากรณ์ว่า ในภัทรกัปนี้
    ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ...... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น
    เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้วยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง เรา
    อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญเพียรบารมี ๑๐ ประการ การให้ยิ่งขึ้นไป
    เรานึกถึงพระพุทธพยากรณ์อย่างนี้แล้ว งดเว้นอนาจาร กระทำกรรม
    ที่ทำได้ยาก เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น พระนครชื่อว่า
    พาราณสี พระบรมกษัตริย์ พระนามว่ากิกี ตระกูลใหญ่ของพระ-
    สัมพุทธเจ้าอยู่ในพระนครนั้น พรหมทัตตพราหมณ์เป็นพุทธบิดา
    นางธนวดีพราหมณีเป็นพุทธมารดา พระองค์ทรงครอบครองอาคาร
    สถานอยู่สองพันปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อหังษะ
    ยสะ และสิริจันทะ มีนางสาวนารีสี่หมื่นแปดพันนางล้วนประดับ
    ประดาสวยงาม นางสุนันทาพราหมณีเป็นภรรยา บุตรชายนามว่า
    วิชิตเสน พระองค์ผู้เป็นบุรุษอุดม ได้เห็นนิมิต ๔ ประการ จึงออก
    บวชพร้อมด้วยปราสาท ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน พระกัสสปมหา-
    วีรเจ้าผู้เป็นนายกของโลกผู้อุดมกว่านรชน อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
    ทรงประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน ทรงมีพระติสสเถระและ
    พระภารทวาชเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าสรรพมิตตะ
    เป็นพระพุทธอุปัฏฐาก พระอนุลาเถรีและพระอุรุเวลาเถรีเป็นพระ-
    อัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกชื่อว่านิโครธ สุมังคล
    อุบาสกและฆฏิการอุบาสก เป็นอัครอุปัฏฐาก วิชิตเสนาอุบาสก และ
    ภัททาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มี
    พระองค์สูง ๒๐ ศอก มีพระรัศมีเปล่งปลั่งดังสายฟ้าในอากาศ
    ดุจพระจันทร์เต็มดวง พระองค์มีพระชนมายุสองหมื่นปี เมื่อทรง
    ดำรงอยู่เพียงนั้น ทรงช่วยให้ประชุมชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากมาย
    ทรงสร้างสระน้ำคือธรรมไว้ ทรงประทานเครื่องลูบไล้ คือ ศีล
    ทรงจัดผ้าคือธรรมไว้นุ่งห่ม ทรงแจกพวงมาลัยคือธรรม ทรงตั้ง
    กระจกเงาอันไร้มลทินคือธรรมไว้ให้มหาชน ด้วยทรงหวังว่า ชน
    บางพวกปรารถนานิพพาน จงเห็นเครื่องประดับของเรา ทรงจัดเสื้อ
    คือศีล เกราะหนังคือญาณ ทรงจัดหนังคือธรรมไว้ให้คลุม และ
    เครื่องรบอย่างดีเลิศให้ ทรงจัดโล่ห์คือสติ หอกคือญาณอันคมกล้า
    ดาบอย่างดีคือธรรม และศาตราวุธเครื่องย่ำยีศัตรูคือศีลไว้ให้ ทรงจัด
    ภูษา คือไตรวิชา พวงมาลัยสวมศีรษะคือผล ๔ เครื่องอาภรณ์ คือ
    อภิญญา ๖ และดอกไม้เครื่องประดับคือธรรม ร่มขาวคือพระสัทธรรม
    อันเป็นเครื่องป้องกันบาป ทรงนิรมิตดอกไม้ คือ ความไม่มีเวรภัย
    ไว้ให้เสร็จแล้ว พระองค์ก็เสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก แท้-
    จริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้ ยากที่จะรู้ได้
    พระธรรมรัตนะที่ตรัสไว้ดีแล้วควรเรียกให้มาดู พระสังฆรัตนะผู้
    ปฏิบัติดี ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า ทั้ง ๓ รัตนะนี้ หายไปหมดทุกอย่างแล้ว
    สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระมหากัสสปชินศาสดา เสด็จนิพพาน
    ที่เสตัพยาราม ทระสถูปของพระองค์ สูงหนึ่งโยชน์ ประดิษฐานอยู่
    ณ เสตัพยารามนั้น ฉะนี้แล.
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    7928. พระปัจเจกพุทธเจ้า (มานพ นักการเรียน)
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7928

    โดย เว็บมาสเตอร์ - ตอบเมื่อ: 19 ก.ย. 2006, 8:36 am

    พระปัจเจกพุทธเจ้า


    หัวข้อ

    พระปัจเจกพุทธเจ้า : พุทธที่ถูกลืม
    องค์ธรรมของบุคคลที่ตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
    หลักคำสอนของพระปัจเจกพุทธเจ้า
    คำเทศน์ของพระปัจเจกพุทธเจ้า (พระองค์หนึ่ง)
    ประวัติของพระสุสิมะปัจเจกพุทธเจ้า
    ความสัมพันธ์ระหว่างพระโพธิสัตว์กับพระปัจเจกพุทธเจ้า
    การบิณฑบาตโปรดสัตว์ของพระปัจเจกพุทธเจ้า
    มติของอรรถกถาเกี่ยวกับคุณธรรมและความรู้
    ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก
    วิถีชีวิตของพระปัจเจกพุทธเจ้า : การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว
    บทสรุป
    คาถาบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า


    พระปัจเจกพุทธเจ้า : พุทธที่ถูกลืม

    ในประเพณีหรือธรรมเนียมของพระพุทธศาสนา พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้า (พุทธะ) ที่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ไม่ว่าทั้งด้านความรู้หรือคุณธรรม แต่ปรากฏว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเป็นพระพุทธเจ้าหรือพุทธะที่ถูกละเลย ไม่ได้รับความสนใจใฝ่ศึกษาจากชาวพุทธเท่าที่ควรจะเป็น

    พระพุทธเจ้า (พุทธะ) มี ๔ ประเภท คือ ๑. พระสัพพัญญูพุทธเจ้า ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า ๓. พระจตุสัจจพุทธเจ้า ๔. พระสุตพุทธเจ้า ประเภทที่ ๓ และที่ ๔ เป็นพระสาวกพุทธเจ้าหรือพระอนุพุทธเจ้า

    พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ซึ่งบำเพ็ญบารมี ๒ อสงไขยกับแสนกัป ตรัสรู้อริยสัจ ๔ เช่นเดียวกับพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้นพระพุทธศาสนา โดยมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ทรงประกาศพระศาสนาเหมือนอย่างสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ก็ยังทรงมีพระคุณต่อโลกอันประมาณมิได้

    พระปัจเจกพุทธเจ้า คือ พุทธะประเภทหนึ่งที่ตรัสรู้อริยสัจ ๔ เฉพาะตนเอง ปรมัตถโชติกา อรรถกถาของสุตตนิบาตอธิบายว่า การบรรลุธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้า เปรียบเสมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มในเมือง ฉะนั้น จึงไม่อาจสอนให้บุคคลอื่นรู้ตามตนได้ (คือสอนได้แต่ไม่อาจให้รู้ตามได้) ไม่ก่อตั้งหรือสถาปนาในรูปสถาบันศาสนา แต่เน้นอนุโมทนาแก่ผู้ถวายทานในท่าน อุบัติขึ้นในช่วงพุทธันดร คือ ช่วงเวลาที่โลกว่างจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น ในปัจจุบันนี้ จึงไม่มีพระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้น

    พระปัจเจกพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญพุทธการกธรรมนับแต่ตั้งความปรารถนาแล้วนานถึง ๒ อสงไขยกับแสนกัป พุทธการกธรรมนั้นได้แก่ บารมี ๑๐ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ และมรรคมีองค์ ๘

    พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลายด้วยพระองค์เองที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน แต่มิได้บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมนั้นและไม่ถึงความเป็นผู้ชำนาญในธรรมที่เป็นกำลังทั้งหลาย

    พระปัจเจกพุทธเจ้า ไม่มีบารมีแก่กล้าพอที่จะเข้าถึงธรรมอันประเสริฐถึงชั้นที่จะโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้และพระปัจเจกพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้นเฉพาะในยุคที่ว่างพระพุทธศาสนาเท่านั้น ในกาลที่ว่างพระพุทธศาสนานั้น บุคคลทั้งหลายย่อมปราศจากศีลธรรม ประกอบแต่กรรมอันเป็นอกุสล พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่สามารถสั่งสอนผู้ที่ไร้ศีลธรรมให้บรรลุถึงธรรมอันประเสริฐยิ่งปานนั้นได้ แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงพระมหากรุณาได้เฉพาะผู้ที่ทรงโปรดได้เท่านั้น ไม่ใช่โปรดได้ทั่วไปทั้งหมด

    พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นทรงสงเคราะห์สัตว์โลกให้ตั้งอยู่ในทาน ศีล เมื่อสัตว์โลกเหล่านั้นละร่างกายไปแล้ว ก็ไปสู่สุคติภูมิ อันมีสวรรค์เป็นต้น ทรงสงเคราะห์บุคคลที่ตกทุกข์ได้ยาก แต่มีศรัทธาเต็มเปี่ยมให้ได้เป็นมหาเศรษฐี ด้วยการออกจากนิโรธสมาบัติ แล้วทรงมารับบิณฑบาต กับบุคคลนั้น

    พระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละองค์มีประวัติคล้ายกันเป็นส่วนใหญ่ คือ เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ หรือคหบดี ในสมัยโบราณที่เบื่อหน่ายในโลกิยสมบัติ ได้ออกบวชศึกษาพระธรรมจนบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ก็ไปชุมนุมที่เขาคันธมาทน์กูฏ ซึ่งเป็นยอดเขาแห่งหนึ่งของเทือกเขาหิมพานต์หรือหิมาลัย มีฝูงช้างฉัททันต์คอยปรนนิบัติอยู่เป็นนิจ ถึงแม้ว่าเรื่องของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้จะจบลงด้วยเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกัน คือ ตัวเอกของเรื่องออกบวชแล้วตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแต่รายละเอียดของเนื้อเรื่องจะแตกต่างกันออกไป

    คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าคือ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือการดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง (เอกะ) ในวรรณคดีพระพุทธศาสนาเปรียบเทียบการดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหมือนกับนอแรด (ขคฺควิสาณกปฺโป) ซึ่งแรดของอินเดียมีเพียงนอเดียว ส่วนแรดในประเทศอื่นมี ๒ นอก็มี แต่กระนั้นก็ตาม พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องมาประชุมพร้อมกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน คือในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นและในวันอุโบสถ คงเห็นแล้วว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น มิได้หลีกเร้นหนีสังคมแต่ประการใด เมื่อมีกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกัน ท่านก็มาประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน ปุถุชนธรรมดาไม่อาจที่จะเข้าใจวิถีชีวิตดังกล่าวของพระปัจเจกพุทธเจ้าได้อย่างลึกซึ้งเพียงพอ

    ในกาลที่ว่างเว้นจากพระศาสนา พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ไม่มีใครเสมอเหมือน สมดังคำพระบรมศาสดาได้ประทานไว้ ในปัจเจกพุทธาปทาน ความว่า

    “...ในโลกทั้งปวงเว้นเราเสียแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าได้เลย...”

    จึงได้มีพระคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าปรากฏขึ้นในโลก บูชาภาวนาสืบกันมาถึงสมัยหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค และหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง เป็นที่สุด ปรากฏผลเลอเลิศ ทั้งในด้านพระกรรมฐาน และลาภผลมั่นคงไม่มีประมาณ ต่อเนื่องมาไม่ขาดสาย

    ลำดับนี้ ขอฟังปัจเจกพุทธาปทาน พระอานนท์เวเทหมุนี ผู้มีอินทรีย์อันสำรวมแล้ว ได้ทูลถามพระตถาคต ผู้ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันว่า ทราบด้วยเกล้าฯ ว่า พระปัจเจกพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไรท่าน เหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นนักปราชญ์ ? ในกาลครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคสัพพัญญูผู้ประเสริฐ แสวงหาคุณใหญ่ ตรัสตอบท่าน พระอานนท์ผู้เจริญ ด้วยพระสุรเสียงไพเราะว่า

    พระปัจเจกพุทธเจ้า สร้างบุญในพระพุทธเจ้าทั้งปวง ยังไม่ได้โมกขธรรมในศาสนาของพระชินเจ้า ด้วยมุข คือ ความสังเวชนั้นแล

    ท่านเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ มีปัญญาแก่กล้า ถึงจะเว้นพระพุทธเจ้าก็ย่อมบรรลุปัจเจกโพธิญาณได้แม้ด้วยอารมณ์นิดหน่อย

    ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าเลย

    เราจักบอกคุณเพียงสังเขปนี้ ของท่านเหล่านั้น ท่านทั้งหลายจงฟังคุณของพระมหามุนีให้ดี

    ท่านทั้งปวงปรารถนานิพพานอันเป็นโอสถวิเศษ จงมีจิตผ่องใส ฟังถ้อยคำดี อันอ่อนหวานไพเราะของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ ตรัสรู้เอง คำพยากรณ์โดยสืบๆ กันมาเหล่าใด ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มาประชุมกัน โทษ เหตุ ปราศจากราคะ และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย บรรลุโพธิญาณด้วยประการใด

    - พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีสัญญาในวัตถุอันมีราคะว่า ปราศจากราคะ มีจิตปราศจากกำหนัดในโลกอันกำหนัด ละธรรมเครื่องเนิ่นช้า การแพ้และความดิ้นรนแล้ว จึงบรรลุปัจเจกโพธิญาณ ณ สถานที่เกิดนั้นเอง ท่านวางอาญาในสรรพสัตว์ ไม่เบียดเบียนแม้ผู้หนึ่งในสัตว์เหล่านั้น มีจิตประกอบด้วยเมตตา หวังประโยชน์เกื้อกูล เที่ยวไปผู้เดียว เปรียบเหมือนนอแรด

    - ฉะนั้น ท่านวางอาญาในปวงสัตว์ ไม่เบียดเบียน แม้ผู้หนึ่งในสัตว์เหล่านั้น ไม่ปรารถนาบุตร ที่ไหนจะปรารถนาสหาย เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น ความเสน่หาย่อมมีแก่บุคคล ผู้เกิดความเกี่ยวข้อง ทุกข์ที่อาศัยความเสน่หานี้มีมากมาย ท่านเล็งเห็น โทษอันเกิดแต่ความเสน่หา จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น ผู้มีจิตพัวพัน ช่วยอนุเคราะห์มิตรสหาย ย่อมทำตนให้เสื่อมประโยชน์ ท่านมองเห็นภัยนี้ ในความสนิทสนม จึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น ความเสน่หาในบุตรและภรรยา เปรียบเหมือนไม้ไผ่กอใหญ่เกี่ยวกันอยู่ ท่านไม่ข้องในบุตรและภริยา ดังหน่อไม้ไผ่ เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น ท่านเป็นวิญญูชนหวังความเสรี จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น เหมือนเนื้อที่ไม่ถูกผูกมัด เที่ยวหาเหยื่อ ในป่าตามความปรารถนา

    - ฉะนั้น ต้องมีการปรึกษากันในท่ามกลางสหาย ทั้งในที่อยู่ ที่บำรุง ที่ไป ที่เที่ยว ท่านเล็งเห็นความไม่โลภ ความเสรี จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น การเล่น (เป็น) ความยินดี มีอยู่ในท่ามกลางสหาย ส่วนความรักในบุตรเป็นกิเลสใหญ่ ท่านเกลียด ความวิปโยคเพราะของที่รัก จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น ท่านเป็นผู้แผ่เมตตาไปในสี่ทิศ และไม่โกรธเคือง ยินดีด้วยปัจจัยตามมี ตามได้ เป็นผู้อดทนต่อมวลอันตรายได้ ไม่หวาดเสียว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น แม้บรรพชิตบางพวก และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน สงเคราะห์ได้ยาก ท่านเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในบุตรคนอื่น จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น ท่านปลงเครื่องปรากฏ (ละเพศ) คฤหัสถ์ กล้าหาญตัดกามอันเป็นเครื่องผูกของคฤหัสถ์ เปรียบเหมือน ไม้ทองหลางมีใบขาดหมด เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น ถ้าจะพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ประพฤติเช่นเดียวกัน อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ พึงครอบงำอันตรายทั้งสิ้นเสียแล้ว พึงดีใจ มีสติเที่ยว ไปกับสหายนั้น ถ้าจะไม่ได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ประพฤติเช่นเดียวกัน อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนพระราชาทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว ดังช้างมาตังคะ ละโขลง อยู่ในป่า ความจริง เราย่อมสรรเสริญสหายสมบัติ พึงส้องเสพสหายที่ประเสริฐกว่า หรือที่เสมอกัน (เท่านั้น) เมื่อไม่ได้สหายเหล่านี้ ก็พึง คบหากับกรรมอันไม่มีโทษ เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น ท่านเห็นกำไลมือทองคำอันผุดผ่องที่นายช่างทองทำสำเร็จสวยงาม กระทบกันอยู่ที่แขนทั้งสอง จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น การเปล่งวาจา หรือวาจาเครื่องข้องของเรานั้น พึงมีกับเพื่อนอย่างนี้ ท่านเล็งเห็นภัยนี้ต่อไป จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร หวาน อร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยสภาพต่างๆ ท่านเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น ความจัญไร หัวฝี อุบาทว์ โรค กิเลสดุจลูกศร และภัยนี้ ท่านเห็นภัยนี้ในกามคุณทั้งหลาย จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น ท่านครอบงำอันตรายแม้ทั้งหมดนี้ คือ หนาว ร้อน ความหิว ความกระหาย ลม แดด เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลาน แล้วเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น ท่านเที่ยวไปผู้เดียว เช่นนอแรด เปรียบเหมือน ช้างละโขลงไว้แล้ว มีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว มีสีกายดังดอกปทุมใหญ่โต อยู่ในป่านานเท่าที่ต้องการ

    - ฉะนั้น ท่านใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ว่า บุคคลพึงถูกต้องวิมุติอันเกิดเองนี้ มิใช่ ฐานะของผู้ทำความคลุกคลีด้วยหมู่ จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น ท่านเป็นไปล่วงทิฏฐิอันเป็นข้าศึก ถึงความแน่นอน มีมรรคอัน ได้แล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลอื่นไม่ต้องแนะนำ เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น ท่านไม่มีความโลภ ไม่โกง ไม่กระหาย ไม่ลบหลู่คุณท่าน มีโมโหดุจน้ำฝาดอันกำจัดแล้ว เป็นผู้ไม่มีตัณหาในโลกทั้งปวง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น กุลบุตรพึงเว้นสหาย ผู้ลามก ผู้มักชี้อนัตถะ ตั้งมั่นอยู่ในฐานะผิดธรรมดา ไม่พึงเสพสหาย ผู้ขวนขวาย ผู้ประมาทด้วยตน พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น กุลบุตรพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มีปฏิภาณ ท่านรู้ประโยชน์ทั้งหลาย บรรเทาความสงสัยแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น ท่านไม่พอใจในการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก ไม่เพ็งเล็งอยู่ คลายยินดีจากฐานะที่ตกแต่ง มีปกติกล่าวคำสัตย์ เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น ท่านละบุตร ภริยา บิดา มารดา ทรัพย์ ข้าวเปลือก เผ่าพันธ์ และกามทั้งหลายตามที่ตั้งลง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น ในความเกี่ยวข้องนี้มีความสุขนิดหน่อย มีความพอใจน้อย มีทุกข์มากยิ่ง บุรุษผู้มีความรู้ทราบว่า ความเกี่ยวข้องนี้ ดุจลูกธนู พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น กุลบุตรพึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนปลาทำลายข่าย แล้วไม่กลับมา ดังไฟไหม้เชื้อ ลามไปแล้วไม่กลับมา พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น พึงทอดจักษุลง ไม่คะนองเท้า มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว รักษามนัส อันราคะไม่ชุ่มแล้ว อันไฟกิเลสไม่เผาลน พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น พึงละเครื่องเพศคฤหัสถ์แล้ว ถึงความตัดถอน เหมือนไม้ทองกวาวที่มีใบขาดแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น ไม่พึงทำความกำหนัดในรส ไม่โลเล ไม่ต้องเลี้ยงผู้อื่น เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีจิตไม่ข้องเกี่ยวในสกุล เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น พึงละนิวรณ์เครื่องกั้นจิต ๕ ประการ พึงบรรเทาอุปกิเลสเสียทั้งสิ้น ไม่อาศัยตัณหาและทิฏฐิ ตัดโทษ อันเกิดแต่สิเนหาแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น พึงทำสุข ทุกข์ โทมนัสและโสมนัสก่อนๆ ไว้เบื้องหลัง ได้อุเบกษา สมถะ ความหมดจดแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น พึงปรารภ ความเพียรเพื่อบรรลุนิพพาน มีจิตไม่หดหู่ ไม่ประพฤติเกียจคร้าน มี ความเพียรมั่น (ก้าวออก) เข้าถึงด้วยกำลัง เรี่ยวแรง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น ไม่พึงละการหลีกเร้นและฌาน มีปกติประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิตย์ พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น พึงปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่ประมาท เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม มีการสดับ มีสติ มีธรรมอันพิจารณา แล้ว เป็นผู้เที่ยง มีความเพียร เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น ไม่พึงสะดุ้งในเพราะเสียงดังสีหะ ไม่ขัดข้อง อยู่ในตัณหาและทิฏฐิ เหมือนลมไม่ติดตาข่าย ไม่ติดอยู่ในโลก ดุจดอกปทุม ไม่ติดน้ำ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น พึงเสพเสนาสนะอันสงัด เหมือนราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำลัง เป็นราชาของเนื้อ มีปกติประพฤติข่มขี่ ครอบงำ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น พึงเจริญเมตตา วิมุติ กรุณาวิมุติ มุทิตาวิมุติ และอุเบกขาวิมุติทุกเวลา ไม่พิโรธด้วย สัตว์โลกทั้งปวง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น พึงละราคะ โทสะและโมหะ พึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลายเสีย ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้น ชีวิต พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น ชนทั้งหลายมีเหตุ เป็นประโยชน์ จึงคบหาสมาคมกัน มิตรทั้งหลายไม่มีเหตุ หาได้ยากใน วันนี้ มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามองประโยชน์ตน ไม่สะอาด พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    - ฉะนั้น พึงมีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา มีปกติเห็นธรรม วิเศษ พึงรู้แจ้งธรรมอันสัมปยุตด้วยองค์มรรคและโพชฌงค์ (พึงรู้แจ้งองค์มรรคและโพชฌงค์) นักปราชญ์เหล่าใดเจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์และอัปปณิหิตวิโมกข์ ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาพระชินเจ้า นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกพุทธเจ้า มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ ทั้งมวลได้ มีจิตโสมนัส มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง เปรียบดังราชสีห์ เช่นกับนอแรด

    พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ มีอินทรีย์ระงับ มีใจสงบ มีจิตมั่นคง มีปกติ ประพฤติด้วยความกรุณาในสัตว์เหล่าอื่น เกื้อกูลแก่สัตว์ รุ่งเรืองในโลกนี้และโลกหน้า เช่นกับประทีป ปฏิบัติเป็นประโยชน์แก่สัตว์ พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ ละกิเลสเครื่องกั้นทั้งปวงหมดแล้ว เป็นจอมแห่งชน เป็นประทีปส่องโลกให้สว่าง เช่นกับรัศมีแห่งทองชมพูนุท เป็นทักขิไณยบุคคลชั้นดีของโลก โดยไม่ต้องสงสัย บริบูรณ์อยู่เนืองนิตย์ คำสุภาษิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นไปในโลกทั้งเทวโลก ชนเหล่าใดผู้เป็นพาลได้ฟังแล้ว ไม่ทำเหมือนดังนั้น ชนเหล่านั้นต้องเที่ยวไปในสังขารทุกข์บ่อยๆ คำสุภาษิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นคำไพเราะ ดังน้ำผึ้งรวงอันหลั่งออกอยู่ ชนเหล่าใดได้ฟังแล้ว ประกอบการปฏิบัติตามนั้น ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้มีปัญญา เห็นสัจจะ คาถาอันโอฬารอันพระปัจเจกพุทธชินเจ้าออกบวชกล่าวแล้ว คาถาเหล่านั้นพระตถาคตผู้สีหวงศ์ศากยราชผู้สูงสุดกว่านรชน ทรงประกาศแล้ว เพื่อให้รู้แจ้งธรรม คาถาเหล่านี้ พระปัจเจกเจ้าเหล่านั้นรจนาไว้อย่างวิเศษ เพื่อความอนุเคราะห์โลก อันพระสยัมภูผู้สีหะทรงประกาศแล้ว เพื่อยังความสังเวช การไม่คลุกคลีและปัญญาให้เจริญ ฉะนี้แล

     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    7928. พระปัจเจกพุทธเจ้า (มานพ นักการเรียน)
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7928

    ๐ องค์ธรรมของบุคคลที่ตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

    เมื่อได้ศึกษาปรมัตถโชติกาแล้ว พบว่า บุคคลที่ตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ต้องประกอบด้วยองค์ธรรม ซึ่งเรียกว่าธรรมสโมธาน (การประชุมธรรม) ๕ ประการ [สุตฺต.อ. ๑/๔๗] คือ

    ๑. ความเป็นมนุษย์ (มนุสฺสตฺตํ) คือ ในชาติที่ตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ต้องเป็นมนุษย์เท่านั้น เป็นเทวดาไม่ได้ ไม่ต้องกล่าวถึงเป็นสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรตหรืออสุรกาย

    ๒. ความถึงพร้อมด้วยเพศ (ลิงฺคสมฺปตฺติ) คือ เป็นเพศชายเท่านั้น จะเป็นผู้หญิง กะเทยและอุภโตพยัญชนก (บุคคลที่มี ๒ เพศในคนเดียวกัน) ไม่ได้ แต่กระนั้นผู้หญิงสามารถเป็นมารดาของผู้ที่ตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้

    ๓. การเห็นท่านผู้ปราศจากอาสวกิเลสทั้งหลาย (วิคตาสวทสฺสนํ) คือ การเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าหรือพระอนุพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง

    ๔. อธิการ (อธิกาโร) คือกระทำอันยิ่ง ต้องบริจาคชีวิตของตนเองแล้วจึงตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

    ๕. ความพอใจ (ฉนฺทตา) คือ ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อทำให้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แม้ว่าจะยากลำบากประสบพบปัญหาอุปสรรคมากเพียงใดก็ตาม อาทิเช่น มีคนกล่าวว่า ใครก็ตามที่สามารถเหยียบสากลจักรวาล อันเต็มไปด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลวไฟได้ ใครก็ตามที่สามารถเหยียบข้ามสากลจักวาลอันเกลื่อนกล่นด้วยหอกและหลาวได้ ใครก็ตามที่สามารถลุยข้ามสากลจักรวาลอันเต็มไปด้วยน้ำปริ่มฝั่งได้ ใครก็ตามที่สามารถก้าวล่วงสากลจักรวาลซึ่งดารดาษด้วยกอไผ่ชั่วนิรันดรได้ จึงตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้ บุคคลที่ตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าบอกว่า “เราสามารถทำเช่นนั้นได้”

    มีคาถาแสดงไว้ว่า

    “มนุสฺสตฺตํ ลิงฺคสมฺปตฺติ วิคตาสวทสฺสนํ อธิกาโร ฉนฺทตา เอเต อภินีหารการณาฯ”

    “มีเหตุแห่งปณิธานขึ้นพื้นฐาน (ก็เพราะธรรมสโมธาน ๕ ประการ) เหล่านี้ คือ ความเป็นมนุษย์, ความถึงพร้อมด้วยเพศ, การเห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ, อธิการ และความพอใจ”


    แต่สำหรับบุคคลที่ตั้งปณิธานเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องประกอบด้วยองค์ธรรมซึ่งเรียกว่า ธรรมสโมธาน ๘ ประการ [สุตฺต.อ. ๑/๔๕] คือ

    ๑. ความเป็นมนุษย์ (มนุสฺสตฺตํ) มีนัยเดียวกับองค์ธรรมของบุคคลที่ตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

    ๒. ความถึงพร้อมด้วยเพศ (ลิงฺสมฺปตฺติ) ก็มีนัยเดียวกัน

    ๓. เหตุ (เหตุ) คือ ความถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหันต์ ในชาติที่ตั้งปณิธานเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าพยายามอย่างเต็มกำลัง จะสามารถเป็นพระอรหันต์ได้

    ๔. การเห็นพระศาสดา (สตฺถารทสฺสนํ) คือการเห็นเฉพาะพระพักตร์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง อาทิเช่นสุเมธบัณฑิตได้เห็นพระทีปังกรพุทธเจ้าเฉพาะพระพักตร์แล้วจึงตั้งปณิธาน

    ๕. การบรรพชา (ปพฺพชฺชา) คือ ความเป็นอนาคาริก ต้องเป็นนักบวชผู้เป็นกรรมวาทีและกิริยวาที อาทิเช่น สุเมธบัณฑิตเป็นดาบสชื่อสุเมธ จึงตั้งปณิธาน

    ๖. ความถึงพร้อมแห่งคุณ (คุณสมฺปตฺติ) คือการได้คุณธรรมหรือธรรมวิเศษมีฌานเป็นต้น อาทิเช่น สุเมธบัณฑิตได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ แล้วจึงตั้งปณิธาน

    ๗. อธิการ (อธิกาโร) มีนัยเดียวกัน

    ๘. ความพอใจ (ฉนฺทตา) มีนัยเดียวกัน

    มีคาถาแสดงไว้ว่า

    “มนุสฺสตฺตํ ลิงฺคสมฺปตฺติ เหตุ สตฺถารทสฺสนํ ปพฺพชฺชา คุณสมฺปตติ อธิกาโร ฉนฺทตา
    อฎฺฐธมฺมสโมธานา อภินีหาโร สมิชฺฌติฯ”

    “ปณิธานขั้นพื้นฐานย่อมสำเร็จได้ ก็เพราะธรรมสโมธาน ๘ ประการ คือ ความเป็นมนุษย์, ความถึงพร้อมด้วยเพศ, เหตุ, การเห็นพระศาสดา, การบรรชา, ความถึงพร้อมแห่งคุณ, อธิการ และความพอใจ”

    ส่วนผู้ที่ตั้งปณิธานเป็นพระอัครสาวกทั้งสองและพระอสีติมหาสาวก ต้องมีองค์ธรรม ๒ ประการ คือ อธิการหรือการกระทำอันยิ่ง (อธิกาโร) และความพอใจ (ฉนฺทตา) [สุตฺต.อ. ๑/๔๘]

    ๐ หลักคำสอนของพระปัจเจกพุทธเจ้า

    ปรมัตถโชติกา [สุตฺต.อ. ๒/๔๑-๔๒] เล่าเรื่องของสุสีมมาณพผู้ปรารถนาจะเห็นเบื้องปลายของศิลปะจึงถูกส่งไปหาฤาษีที่ป่าอิสิปตนะ หลังจากไปป่าอิสิปตนะแล้ว ได้เข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายแล้วถามว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านรู้เบื้องปลายของศิลปะบ้างไหม ?”

    พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า “เออ เรารู้สิท่าน”

    สุสีมมาณพอ้อนวอนว่า “โปรดให้ข้าพเจ้าศึกษาเบื้องปลายของศิลปะนั้นเถิด”

    พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย “ถ้าอย่างนั้นก็บวชเสียสิ ท่านผู้ไม่ใช่นักบวชศึกษาไม่ได้ดอก”

    สุสีมาณพ “ดีละ ขอรับ โปรดให้ข้าพเจ้าบวช แล้วให้ศึกษาเบื้องปลายของศิลปะนั้นเถิด”

    พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นให้เขาบวชแล้ว ไม่สามารถให้เขาเจริญกรรมฐานได้ ให้ศึกษาได้แต่อภิสมาจาร (ความประพฤติที่ดีงาม) อาทิเช่น ท่านพึงนุ่งอย่างนี้ พึงห่มอย่างนี้ เขาศึกษาอยู่ในข้อนั้น แต่เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ไม่นานนักจึงบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ

    ในวรรณกรรมของพระพุทธศาสนา พระปัจเจกพุทธเจ้าสอนแต่เรื่องอภิสมาจารเป็นส่วนใหญ่ บางครั้งท่านก็สอนธรรมเช่นกัน แต่สอนเพียงสั้นๆ อาทิเช่น จงสิ้นราคะ จงสิ้นโทสะ จงสิ้นโมหะ จงสิ้นคติ จงสิ้นวัฏฏะ จงสิ้นอุปธิ จงสิ้นตัณหา โดยไม่มีหลักคำสอนที่เป็นระบบเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    อีกประการหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าคงจะเป็นเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อตรัสรู้แล้วทรงท้อพระทัยที่จะแสดงธรรมแก่หมู่สัตว์ เพราะเหตุที่ว่า “ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยของตรรกวิทยา ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ก็ถ้าเราพึงจะแสดงธรรม สัตว์อื่นไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา ข้อนั้นจะพึงเป็นความเหนื่อยเปล่า ความลำบากเปล่าแก่เรา”

    ท้าวสหัมบดีพรหมจึงทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมแก่หมู่สัตว์ โดยให้เหตุผลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ของพระองค์จงทรงแสดงธรรมเถิด เพราะสัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อยก็มีอยู่ เขาจักเสื่อมเสียเพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมีโดยแท้” [วินย. ๔/๗-๘]

    แต่จากนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสลัดทิ้งความท้อพระทัยเสีย แล้วทรงตัดสินพระทัยแสดงธรรมแก่เวไนยสัตว์

    จากหลักฐานข้างต้นนี้ อาจจะวิเคราะห์ได้ว่า การตัดสินใจเช่นนี้ เป็นคุณลักษณะพิเศษเฉพาะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ส่วนพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นไม่สามารถเอาชนะความคิดที่ว่าธรรมเป็นสิ่งที่บุคคลอื่นรู้ตามได้ยากนั้นได้ จึงไม่ได้เตรียมแสวงหาสาวกและสอนให้รู้แจ้งเช่นเดียวกับตน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นรู้สึกจะสมัครใจช่วยเหลือบุคคลอื่นให้รู้แจ้ง โดยอาศัยความถึงพร้อมแห่งอุปนิสัยของผู้นั้นเป็นหลัก ดังนั้น ท่านจึงมิได้ก่อตั้งสถาบันศาสนาอันประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา เหมือนกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    7928. พระปัจเจกพุทธเจ้า (มานพ นักการเรียน)
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7928

    โดย เว็บมาสเตอร์.

    ๐ ประวัติของพระสุสิมะปัจเจกพุทธเจ้า

    ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองไพสาลี พระเจ้าพิมพิสารจัดการบูชาใหญ่ มีการปราบพื้นที่ทั้ง ๒ ฝั่ง ๘ โยชน์ โรยดอกไม้ ๕ สี แค่เข่า แล้วก็พากันจัดฉัตรให้มีการบูชากันหนัก ฉะนั้นเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงเหยียบพื้นธรณีเมืองไพสาลีเป็นครั้งแรก เกิดฝนตกหนัก บรรดาพระสงฆ์นั่งประชุมกันว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์จริงๆ บรรดาเพื่อนทั้งหลาย ที่พระพุทธเจ้านี่เราอยู่กับท่านมาปีเศษ ยังไม่เคยเห็นองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ แสดงปาฎิหารย์อย่างคราวนี้ เป็นอัศจรรย์มาก ต่างคนต่างชม เวลานั้นพระพุทธเจ้าเสด็จอยู่ในพระมหาวิหาร อาศัยความเป็นทิพย์ของโสตประสาท สมเด็จพระบรมโลกนาถฟังพระคุยกันก็เข้าใจ ฟังรู้เรื่องหมด

    สมเด็จพระบรมสุคตจึงมาพิจารณาว่า เราไปเล่าเรื่องนี้ให้เธอฟัง จะมีประโยชน์กับพวกเธอบ้างไหม ? ก็ทราบว่าเมื่อคุยจบ เล่าเรื่องนี้จบ อานิสงส์จบ บรรดาท่านที่ฟังอยู่ทั้งหลายเหล่านั้น อย่างน้อยจะได้พระโสดาบันถึงอรหันต์ เมื่อเห็นว่าประโยชน์มี องค์สมเด็จพระชินศรีก็เสด็จไป เมื่อเข้าไปใกล้ถึงที่นั่นแล้ว บรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายก็ปูอาสนะ คือปูผ้าอาราธนาองค์สมเด็จพระประทีปแก้วประทับนั่ง โดยจริยาของพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ต้องทำตาม

    ท่านรู้ทุกอย่างแต่ก็ต้องถามว่า เธอนั่งคุยกันเรื่องอะไร บรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายก็กราบทูลให้ทรงทราบ สมเด็จพระบรมโลกนาถจึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่เขาปราบทางให้ราบเรียบก็ดี ๘ โยชน์ โรยดอกไม้ ๕ สีก็ดี กั้นร่มก็ดี เวลาเหยียบ แผ่นดินฝั่งโน้น ฝนตกก็ดี อันนี้ไม่ใช่บารมีที่ตถาคตบำเพ็ญบารมีมาดีเต็มแล้วเป็นพระพุทธเจ้า แล้วก็ไม่ใช่อานุภาพของเทวดาหรือพรหม หรือนาคบันดาล แต่ว่าเป็นผลความดีในกาลก่อนของตถาคตที่ทำบุญนิดๆ หน่อยๆ แต่ว่ามีผลมาก เมื่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าดำรัสอย่างนี้แล้วก็ทรงหยุดอยู่ ในเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสอย่างนั้นแล้ว บรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายที่อาราธนาองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ให้ดำรัสเรื่องราวความเป็นมา

    ท่านจึงตรัสว่าในกาลก่อนนี้ ท่าน (ยังเป็นพระโพธิสัตว์ กำลังบำเพ็ญเพียรสร้างบารมีอยู่) ได้เกิดที่เมืองตักสิลา เป็นพราหมณ์ มีชื่อว่า สังขะ มีลูกชายคนหนึ่งชื่อว่า สุสิมะ ต่อมาเมื่อสุสิมะ โตอายุ ๑๖ ปี ก็อยากจะเรียนไตรเพท เพราะพราหมณ์เขาถือว่าเรียนไตรเพทแล้ว ถ้าจบเป็นพราหมณ์ชั้นดี

    พ่อก็บอกว่ามีพราหมณ์เป็นเพื่อนของพ่ออยู่ในเมือง เขาเก่งมาก ก็พาเขาเข้าไปหาเพื่อนของพ่อที่เป็นพราหมณ์ เพื่อนของพ่อที่เป็นพราหมณ์ก็ดีมาก รู้ว่าเป็นลูกของเพื่อนก็เต็มใจสอนด้วยความเต็มใจ ท่านสุสิมะเรียนไม่ช้าไม่นาน เรียนจบเร็ว มีความฉลาดมาก เพื่อนของพ่อดีใจมาก รักมาก แต่ว่า ท่านสุสิมะ เป็นคนมีปัญญาสูง มีบารมีเต็ม เมื่อเรียนไตรเพทจบ ก็มาใคร่ครวญว่า ความรู้ที่เราเรียนนี้มันได้แต่ในเบื้องต้น กับท่ามกลางความเห็นเท่านั้นเอง เห็นเบื้องต้นกับท่ามกลาง แต่ไม่เห็นที่สุด (เบื้องต้นคือการเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา ท่ามกลางคือการเกิดเป็นพรหม แล้วที่สุดนั้นหมายความว่า หนีจากการเกิดต่อไปคือนิพพาน วิชาของพราหมณ์ไม่มี)

    ท่านสุสิมะ พิจารณาใคร่ครวญแล้วใคร่ครวญอีก แต่มันไม่ถึงที่สุด มองไม่เห็นที่สุดว่ามันจะไปจบชีวิตเมื่อไหร่ นั่นหมายความว่าไอ้เกิด แก่ เจ็บ ตาย นี่มันน่าเบื่อ เราไม่ควรจะเกิด แก่ เจ็บ ตายต่อไป มันควรความรู้ที่เรียน ควรจะพ้นจากการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย จึงเข้าไปหาอาจารย์ ท่านลุงครับ ความรู้ที่ศึกษานี่ ผมมองเห็นแต่เบื้องต้นกับท่ามกลาง แต่ก็ไม่เห็นที่สุด พอจะเข้าใจไหมครับ ที่สุดพอจะสอนผมได้ไหม ท่านพ่อบุญธรรมหรือท่านลุงบอกว่า ฉันก็เห็นแค่นั้นเหมือนกัน เห็นได้แค่เบื้องต้นกับท่ามกลาง ที่สุดก็มองไม่เห็น ท่านสุสิมะ ก็ถามว่า ใครครับที่จะเห็นท่านพ่อ ท่านเพื่อนของพ่อก็บอกเลยว่า ฤาษีในป่า ฤาษีในป่าเห็นที่สุด ท่านสุสิมะ ก็ลาไปหาฤาษีในป่า

    แต่ความจริงพราหมณ์เขาคิดว่าเป็นฤาษี แต่ความจริงเป็น พระปัจเจกพุทธเจ้า เวลานั้น พระปัจเจกพุทธเจ้ามาก เพราะมันเป็นเวลาว่างจากพระพุทธเจ้า เมื่อสิ้นศาสนาพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ก็มีพระปัจเจกพุทธเจ้า บรรลุขึ้นมา ไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้า ถามถึงที่สุดแห่งการปฎิบัติให้พ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย พระปัจเจกพุทธเจ้า บอกคณะของเรามี คณะของเราทุกคนนี่ศึกษาถึงที่สุดด้วยกันทั้งหมด แล้วเมื่อศึกษาถึงที่สุดแล้ว ต่อไปขึ้นชื่อว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มี มีแต่ความสุข มีชีวิตอยู่ก็มี ความสุข ตายไปแล้วก็พ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย ต่อไป

    ท่านสุสิมะ ก็ขอศึกษา บรรดาพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นอาวุโสก็บอกว่า ศึกษาได้ นี่ไม่หวง ใครอยากจะศึกษา ศึกษาได้ ก็ขอเรียนเดี๋ยวนั้น ท่านบอกเรียนเดี๋ยวนี้ไม่ได้หรอก เพราะแต่งตัวไม่เหมือนกัน คนจะเรียนวิชานี้ต้องแต่งตัวเหมือนกัน ถ้าแต่งตัวไม่เหมือนกันเรียนไม่ได้ ทั้งนี้เพระอะไร เพราะว่า สุสิมะศึกษาวิชาของพราหมณ์ แต่งตัวแบบพราหมณ์ ท่านพระปัจเจกพุทธเจ้า ถือว่าเป็น ความรู้ที่ต่ำ และพราหมณ์ทะนงตน ว่าเป็นพวกพรหม เป็นเพศที่สูง เป็นตระกูลที่สูง มานะมันยังมีอยู่ ท่านจึงแก้มานะ ว่าต้องแต่งตัวเหมือนกัน ดูซิว่าเขาจะยอมหรือไม่ยอม แต่ความจริง พระปัจเจกพุทธเจ้า ก็คล้ายคลึงกับพระพุทธเจ้านะ อย่าลืม มีกำลังสูงกว่าพระอรหันต์มาก เป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง แต่ว่าไม่สอนใครเป็นสาธารณะ ต้องการเฉพาะคนที่ศรัทธาไปหาท่าน

    เมื่อท่านสุสิมะ ฟังแล้วก็ตั้งใจ เอ้า ! บวชก็บวช แต่งตัวเหมือนกัน ท่านก็ปลงผม นุ่งสบง ห่มจีวรเหมือนกัน ท่านพระปัจเจกพุทธเจ้า จัดหามาให้ แล้วก็ตั้งใจศึกษา ในที่สุดไม่ช้า ใช้เวลาไม่กี่วันท่านก็บรรลุเป็น พระปัจเจกพุทธเจ้า แต่ว่าการเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เป็นไม่นานอีกเหมือนกัน อยู่ไม่นาน ไม่สักกี่วันนัก ก็เห็นจะประมาณสักเดือนเห็นจะได้มั้ง ท่านก็ต้องนิพพาน ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าท่านบอกกรรมประเภทหนึ่ง ที่ทำให้อายุสั้นจะต้องนิพพานมาถึงท่าน ท่านก็ต้องนิพพาน กรรมประเภทนั้นก็คือ อำนาจของอกุศลกรรมที่มีโทษปาณาติบาต มาตั้งแต่ครั้งอดีตชาติ มันก็มาตามท่าน

    ท่านพระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงนามว่า สุสิมะ นิพพานแล้ว บรรดาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย กับชาวเมือง (เมืองไพสาลี นะ) พากันทำการฌาปนกิจเผาศพท่าน แล้วก็สร้างสถูป สร้างเจดีย์เหมือนกับรูปบาตรคว่ำ บรรจุกระดูกของท่าน ต่างคนต่างไหว้บูชาในเวลานั้น

    ปรากฏว่า สังขพราหมณ์ เห็นลูกชายไปนานก็คิดถึง ก็ไปหาเพื่อน ถามกับเพื่อน ลูกชายอยู่รึเปล่า เพื่อนก็บอกว่าเขาเรียนจบแล้ว เขาไม่พอใจ เขาไม่เห็นที่สุด เขาขอไปเรียนกับฤาษีในป่า ท่านก็ไปที่เมืองไพสาลี ไปจากเมืองตักสิลา ไปเมืองไพสาลีนะ คิดว่าคนแถวนั้นอาจจะรู้เรื่องบ้าง เห็นเขาชุมนุมกันมีการบูชาทำประทักษิณเวียนเทียนพระสถูปก็เข้าไปถาม คิดว่าคนแถวนั้นคงได้ข่าวลูกชายเราบ้าง ก็ไปถามว่า นี่พ่อทั้งหลาย แม่ทั้งหลาย ได้ยินข่าวสุสิมะมานพนี่บ้างไหม คนทั้งหลายเหล่านั้นทำไมเขาจะไม่รู้ล่ะ เขากำลังเวียนเทียนพระสถูปของท่าน อ้อ ! สุสิมะ น่ะรึ ท่านสุสิมะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าตั้งแต่ยังหนุ่ม เด็กมาก อายุประมาณ ๑๖-๑๗ ปี แต่ความดีของท่านมีมาก แต่กรรมบางอย่างทำให้ท่านต้องนิพพานเสียแล้ว

    พวกข้าพเจ้ากำลังเวียนเทียนกับท่านนี่ ทำฌาปนกิจเสร็จก็ทำสถูปใช้เครื่องประดับ แล้วก็เวียนเทียนบูชาความดีของท่าน สังขพราหมณ์ได้ยินดังนั้นก็ร้องไห้เสียใจ เสียใจมากทำยังไงล่ะ เขาบูชากันนี่ท่านเดินทางไม่มีอะไรมาเลย ก็เลยเอาผ้าขาวม้าของท่านที่ติดมานั่นล่ะ ไปกอบทรายข้างนอกใส่ผ้าขาวม้า ห่อมาก็โปรยปรายทาง ทำให้ทางข้างๆ พระสถูปนั้นราบเรียบ คือขนทรายมา ใช้ผ้าขาวม้าห่อ ไม่มีอะไร ใช้ผ้าขาวม้าจนทางเรียบพอใช้ได้ จะให้มันดีเหมือนถนนนั้นไม่ได้ แล้วไปเอาต้นไม้ที่มีดอกมาปลูกข้างๆ พระสถูป แล้วก็เอาน้ำมารดต้นไหม้ แล้วก็มันไม่มีอะไรทำ ธงก็เอาผ้าฉัตร ผ้าขาวม้านี่ทำธงขึ้นไปปักบนยอด มีร่มอยู่คันหนึ่ง เข้าไปกางบนยอดพระสถูป อย่านึกว่าพระสถูปแหลมเปี๊ยบจะดี นี่ไม่ใช่นะ เป็นรูปบาตรคว่ำขึ้นไปได้

    องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา จึงได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกขเว ดูกรภิกษุทั้งหลาย คถาคตทำบุญเล็กน้อยเท่านี้ เป็นปัจจัยให้ได้การบูชาในสมัยนี้ คือที่พระเจ้าพิมพิสาร บูชาก็ดี พระเจ้ามหาลิ เจ้าเมืองไพสาลี บูชาก็ดี นาค คนธรรพ์ เทวดา พรหม บูชาเป็นการใหญ่ ยกฉัตรกันทั่วจักรวาลก็ดี เป็นบารมีในสมัยที่ตถาคตเกิดเป็น สังขพราหมณ์ บูชา ท่านสุสิมะ พระปัจเจกพุทธเจ้า จึง กล่าวเป็นอย่างๆ ว่า

    การที่เขาปราบพื้นที่ให้เรียบ ๘ โยชน์ คือ ฝั่งนี้ ๕ โยชน์ ฝั่งโน้น ๓ โยชน์ รวมเป็น ๘ โยชน์ นั่นล่ะ อานิสงส์มาจากการเกลี่ยทราย เอาทรายมาโปรยปราย ทำให้ทางข้างๆ พระสถูปเรียบพอใช้ได้ มันไม่เรียบเหมือนถนน แต่ทำให้เป็นหลุมเป็นบ่อ ก็ไปทำให้มันเต็มนิดๆ หน่อยๆ พอเป็นทางเรียบดี ท่านบอกอานิสงส์นี้เป็นปัจจัยเขาปราบทางให้เรียบ ๘ โยชน์ ที่ตถาคตจะเดินไปแล้วก็อาศัยที่เอาต้นไม้ดอกมาปลูกข้างๆ สถูป เป็นการบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่มีนามว่า สุสิมะ ก็เป็นเหตุให้ ๒ ฝั่ง เขาเอาดอกไม้ ๕ สี มาโปรยปรายในระหว่างทาง สูงประมาณเข่าที่เราตถาคตเดินไป

    การที่เขาจัดฉัตรให้แก่ตถาคตก็ดี คือร่มให้กับบรรดาพระสงฆ์ก็ดี เพราะอานิสงส์ที่ตถาคตจัดร่ม เอาไปกางไว้บนยอดพระสถูป

    การที่เขาจัดธงทิว ปักเรียงรายตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางทั้ง ๒ ฝั่ง แล้วเทวดาและพรหมและนาค จัดธงแก้วมณีแก้วประพาฬ ธงวิเศษนั้นก็อาศัยผ้าขาวม้าที่เราไปทำธงบนยอดพระสถูป

    การที่ตถาคตเหยียบเมืองไพสาลี เป็นวาระแรกที่เขาถึงแล้วฝนตกใหญ่ก็เป็นปัจจัยจากการนำเอาน้ำมารดต้นไม้ที่เป็นไม้ดอก เป็นปัจจัยให้ฝนตกใหญ่

    เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสเล่าเรื่องนี้จบ บรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายทั้งหมดที่ปุถุชนก็บรรลุพระโสดาบันบ้าง สกิทาคามี และอนาคามี และอรหันต์บ้างเป็นแถว

    ฟังของท่านแล้วก็จำให้ดี การบำเพ็ญกุศลบุญราศีสักเล็กน้อยมันมีอานิสงส์มากอย่างนี้ แต่ว่าเราจะต้องบูชากันด้วยศรัทธาแท้ ขอพวกท่านทั้งหลายที่มีความดี จงรักษาความดีเหมือนเกลือรักษาความเค็ม อย่าให้ความดีถอยไป

    (ย่อมาจากเรื่องบุพกรรมของพระพุทธเจ้า ในหนังสือพระสูตรก่อนนิทรา เทศนาโดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    ๐ ความสัมพันธ์ระหว่างพระโพธิสัตว์กับพระปัจเจกพุทธเจ้า

    ในวรรณคดีพระพุทธศาสนาระบุไว้ บ่อยครั้งว่าพระปัจเจกโพธิสัตว์ เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่ง แต่ไม่อาจเป็นพระอรหันต์ในชาตินั้นได้ แต่ในชาติต่อๆ มาจึงบรรลุปัจเจกโพธิญาณ แต่ในปัญจอุโบสถชาดก [ชา.อ.๖/๒๘๘–๒๙๔] เสนอความสัมพันธ์ที่กลับกันหรือตรงกันข้ามกัน คือ เสมือนหนึ่งว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นอาจารย์ ส่วนพระโพธิสัตว์ [พระโพธิสัตว์ หมายถึง ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางท่านเขียนเป็นพระโพธิสัตต์ คำนี้ตรงกับภาษาบาลีว่า โพธิสตฺต และตรงกับภาษาสันสกฤตว่า โพธิสตฺตฺว] เป็นศิษย์ พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ให้คำแนะนำและความช่วยเหลือแก่พระโพธิสัตว์ขณะเป็นดาบสจนกระทั่งพระโพธิสัตว์นั้นสามารถข่มมานะ (ความถือตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่) ซึ่งขัดขวางมิให้ได้ฌานสมาบัติ

    เรื่องย่อของชาดกนี้มีดังนี้ ในสมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ทราบความที่ดาบสนั้นมีมานะ ดำริว่า ดาบสผู้นี้มิใช่อื่นเลย ที่แท้เป็นหน่อเนื้อแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะบรรลุความเป็นสัพพัญญูในกัปป์นี้แหละ เราต้องข่มมานะของดาบสผู้นี้เสีย แล้วจึงมาจากป่าหิมพานต์ตอนเหนือ ขณะเมื่อดาบสนั้นกำลังนอนอยู่ในบรรณศาลานั่งเหนือแผ่นกระดานหินของดาบสนั้น ดาบสออกมาเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั่งเหนืออาสนะของตนอยู่ จึงเกิดความขุ่นเคืองใจเพราะความมีมานะ ปรี่เข้าไปหาตบมือตวาดว่า ฉิบหายเอ๋ย ไอ้ถ่อย ไอ้กาลกรรณี มานั่งเหนืออาสนะแผ่นกระดานนี้ทำไม ?

    ต่อแต่นั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าจึงกล่าวกะดาบสนั้นว่า พ่อคนดี เพราะเหตุไรพ่อจึงมีแต่มานะ ? ข้าพเจ้าบรรลุปัจเจกโพธิญาณแล้วในกัปป์นี้เอง พ่อก็จะเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า พ่อเป็นหน่อเนื้อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บำเพ็ญบารมีมานานแล้ว ต่อไปจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อว่าสิทธัตถะ บอกชื่อ ตระกูล โคตร และพระอัครสาวกแล้วจึงแนะนำว่า พ่อยังจะมัวเอาแต่มานะ เป็นคนหยาบคายเพื่ออะไรเล่า ? ข้อนี้ไม่สมควรแก่พ่อเลย

    ดาบสนั้นแม้เมื่อท่านกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ยังไม่ไหว้ท่านอยู่นั่นเอง มิหนำซ้ำไม่ถามเสียด้วยว่า ข้าพเจ้าจักเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อไร ? ครั้นพระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า เธอไม่รู้ถึงความเป็นใหญ่แห่งชาติและคุณของเรา หากเธอสามารถก็จงเที่ยวไปในอากาศเหมือนเราแล้วก็เหาะไปในอากาศโปรยฝุ่นที่เท้าของตนลงบนชฎาของดาบสนั้น ไปยังป่าหิมพานต์ตอนเหนือดังเดิม พอท่านไปแล้ว ดาบสมีความสลดใจคิดว่า ท่านผู้นี้เป็นสมณะเหมือนกัน มีสรีระหนัก ไปในอากาศได้ดุจปุยนุ่นที่ทิ้งไปในช่องลม เพราะถือชาติ เรามิได้กราบเท้าทั้งคู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ยังไม่ถามเสียด้วยว่า เราจักเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อไร ? ขึ้นชื่อว่าชาตินี้จะทำอะไรได้ ศีลและจรณะเท่านั้นเป็นใหญ่ในโลก ถ้าเรายังมีมานะอยู่ จักไปนรกได้ที่นี้เราข่มมานะไม่ได้ ก็จักไม่ไปหาผลไม้ เข้าสู่บรรณศาลาสมาทานอุโบสถเพื่อข่มมานะ นั่งเหนือกระดานเลียบเป็นกุลบุตรผู้มีญาณใหญ่ ข่มมานะได้ เจริญกสิณ ได้อภิญญาและสมาบัติ ๘ ตายไปอุบัติ ณ พรหมโลก

    ๐ การบิณฑบาตโปรดสัตว์ของพระปัจเจกพุทธเจ้า

    พระปัจเจกพุทธเจ้าดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยอาหารบิณฑบาตที่ชาวบ้านถวาย เช่นเดียวกับนักบวชอื่นๆ คัมภีร์พระพุทธศาสนาระบุว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าบิณฑบาตมิใช่เพื่อยังชีพเท่านั้น แต่ยังมุ่งให้ประชาชนมีโอกาสประสบกุศลผลบุญโดยการใส่บาตรท่าน

    ทายกที่ถวายทานอย่างสมบูรณ์ คือครบทั้งสามกาล ก่อนถวายทานก็ดีใจ ขณะถวายทานมีจิตเลื่อมใส และถวายทานแล้วปลื้มใจไม่เสียดายไทยธรรมที่ถวายไปแล้ว สามารถพ้นจากอันตราย เราสามารถพบตัวอย่างของข้อนี้ได้จากเรื่องสังขพราหมณ์ ผู้มีชื่อเสียงทางบริจาคทาน ซึ่งวางแผนจะไปสุวรรณภูมิ เพื่อนำทรัพย์มาบริจาคคนยากจนและคนขัดสน

    เรื่องย่อ มีดังนี้ [ชา.อ. ๕/๓๘๕–๓๘๖] ในสมัยนั้น มีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ณ ภูเขาคันธมาทน์ พิจารณาเห็นสังขพราหมณ์กำลังจะเดินทางนำทรัพย์มา จึงตรวจสอบว่า บุรุษนี้ไปหาทรัพย์ จะมีอันตรายในทะเลหรือไม่หนอ ? ก็ทราบว่า จะมีอันตรายจึงคิดว่า บุรุษนั้นเห็นเราแล้ว จะถวายร่มและรองเท้าแก่เรา เมื่อเรืออัปปางกลางทะเล เขาจะได้ที่พึ่งด้วยอานิสงส์ที่ถวายรองเท้า เราจะอนุเคราะห์เขา แล้วเหาะมาลง ณ ที่ใกล้พราหมณ์ เดินเหยียบทรายร้อนเช่นกับถ่านเพลิงเพราะลมแรงแดดกล้า ตรงมาหาสังขพราหมณ์

    สังขพราหมณ์นั้น พอเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้นเกิดความยินดีว่า บุญเขต (เนื้อนาบุญ) ของเรามาถึงแล้ว วันนี้เราควรจะหว่านพืช คือถวายทานลงในบุญเขตนี้ จึงรีบเข้าไปนมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพเจ้า ขอท่านได้ลงจากทางสักหน่อยแล้วเข้าไปที่โคนต้นไม้นี้ เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปที่โคนต้นไม้ ก็พูนทรายขึ้นแล้วเอาผ้าห่มปูลาดนมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วล้างเท้าด้วยน้ำที่อบและกรองใสสะอาด ทาเท้าด้วยน้ำมันหอม ถอดรองเท้าที่ตนสวมออกเช็ด ทาด้วยน้ำมันหอมแล้วสวมรองเท้าให้พระปัจเจกพุทธเจ้า ถวายร่มและรองเท้าด้วยวาจาว่าท่านผู้เจริญขอท่านสวมรองเท้ากั้นร่มไปเถิด

    พระปัจเจกพุทธเจ้า เพื่อจะอนุเคราะห์สังขพราหมณ์จึงรับร่มและรองเท้า และเพื่อจะให้ความเลื่อมใสเจริญยิ่งขึ้นจึงเหาะไปภูเขาคันธมาทน์ให้สังขพราหมณ์แลเห็น

    ด้วยอานิสงส์ของการถวายทานนั้น เมื่อเรืออัปปาง สังขพราหมณ์จึงได้รับการช่วยเหลือจากนางเทพธิดามณีเมขลา ผู้พิทักษ์รักษาทะเล และได้เรือแก้วหนึ่งลำ พร้อมทั้งทรัพย์สมบัติอีกเป็นอันมาก

    แต่ถ้าทายกหลังจากถวายทานแล้ว เกิดความเสียดายไทยธรรมที่ถวายไปแล้ว อานิสงส์ของการถวายทานจึงไม่สมบูรณ์เต็มที่มัยหกสกุณชาดก [ชา.อ.๕/๘๓] เล่าเรื่องเศรษฐีชาวเมืองพาราณสี ซึ่งเกิดความเสียดายหลังจากถวายไทยธรรมแก่พระตครสิขีปัจเจกพุทธเจ้า

    มีเนื้อหาย่อๆ ดังนี้ ในสมัยอดีต เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองพาราณสี มีเศรษฐีชาวเมืองพาราณสีผู้หนึ่ง ซึ่งไม่มีศรัทธา มีแต่ความตระหนี่ ไม่ได้ให้อะไรแก่ใครๆ ไม่สงเคราะห์ใครๆ วันหนึ่งเขาเดินทางไปเฝ้าพระราชา เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าตครสิขี กำลังเดินไปบิณฑบาต ไหว้แล้วจึงถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่านได้ภิกษาแล้วหรือ ? เมื่อท่านตอบว่า มหาเศรษฐี อาตมากำลังเดินไปเรื่อยๆ ไม่ใช่หรือ ? จึงสั่งให้ชายคนหนึ่งว่า ไปเถิด เจ้าจงนำพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นี้ไปบ้านของเรา ให้ท่านนั่งบนแท่นของเรา แล้วให้บรรจุอาหารที่เขาเตรียมไว้สำหรับเราให้เต็มบาตรแล้วถวายไป ชายคนนั้นนำพระปัจเจกพุทธเจ้าไปเรือนแล้วให้นั่ง บอกให้ภรรยาเศรษฐีทราบ ให้บรรจุอาหารที่มีรสเลิศนานาชนิดให้เต็มบาตรแล้วถวายท่านไป ท่านรับภิกษาแล้วได้ออกจากนิเวศน์ของเศรษฐีแล้วเดินไปตามถนน เศรษฐีกลับจากพระราชวังเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าจึงไหว้แล้วถามว่า ท่านผู้เจริญท่านได้รับภิกษาแล้วหรือ ? พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นตอบว่าได้แล้ว ท่านมหาเศรษฐี ปรากฏว่าเศรษฐีนั้นแลดูบาตรแล้วไม่อาจทำจิตให้เลื่อมใสได้ คิดว่าอาหารน ี้ ทาสหรือกรรมกรกินแล้วคงทำงานแม้ที่ทำได้ยาก น่าเสียดายหนอ ! เราเสื่อมเสียทรัพย์สินเสียแล้ว

    ฉะนั้น เพราะการถวายภิกษาแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า เขาจึงได้รับทรัพย์สมบัติเป็นอันมาก แต่ไม่อาจใช้สอยทรัพย์เหล่านั้นได้เพราะไม่สามารถทำอปรเจตนา คือเจตนาดวงหลังให้ประณีต หมายถึงว่า ถวายภิกษาแล้วเกิดความเสียดายในไทยธรรมที่ถวายไป
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    7928. พระปัจเจกพุทธเจ้า (มานพ นักการเรียน)
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7928

    โดย เว็บมาสเตอร์.

    ๐ มติของอรรถกถาเกี่ยวกับคุณธรรมและความรู้
    ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก


    ปรมัตถโชติกา [ขุทฺทก.อ.๑๕๕/๑๕๖] ได้แบ่งประเภทของสรรพสัตว์ ตั้งแต่ระดับต่ำจนถึงระดับสูงไว้ดังนี้

    สัตว์ที่มีวิญญาณมี ๒ ประเภท คือ สัตว์ดิรัจฉานและมนุษย์

    มนุษย์มี ๒ เพศ คือสตรีและบุรุษ

    บุรุษมี ๒ ประเภท คือ ปุถุชนและนักบวช

    นักบวชมี ๒ ประเภท คือเสขะและอเสขะ

    อเสขะมี ๒ ประเภท คือ สุกขวิปัสสกะ (ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน แล้วจึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์ มิได้ทรงคุณวิเศษอย่างอื่นอีก) และสมถยานิก (ผู้เจริญสมถกรรมฐานจนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อ)

    สมถยานิกมี ๒ ประเภท คือ ที่บรรลุสาวกบารมีและไม่บรรลุสาวกบารมี

    กล่าวกันว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นผู้เลิศกว่าผู้ที่บรรลุสาวกบารมี (พระสาวก) เพราะเหตุไรจึงเลิศกว่า ? เพราะมีคุณมาก พระสาวกหลายร้อยรูป แม้เช่นพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นต้น ก็ไม่ถึงแม้ส่วนแห่งร้อยคุณของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์เดียว แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้เลิศแม้กว่าพระปัจเจกพุทธเจ้า เพราะเหตุไร ? เพราะมีคุณมากถ้าว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั่งขัดสมาธิเบียดกันทั่วทั้งชมพูทวีปก็ไม่เท่าส่วนเสี้ยวแห่งคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว

    ปรมัตถโชติกา [สุตฺต.อ. ๑/๔๘] ซึ่งบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับพระปัจเจกพุทธเจ้าไว้เป็นอันมาก บรรยายถึงความแตกต่างทางด้านความรู้ระหว่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ไว้ดังนี้

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสรู้ได้เองและทรงสอนให้บุคคลอื่นรู้ตามได้อีกด้วย (จนกระทั่งถึงบรรลุมรรคผลนิพพาน)

    พระปัจเจกพุทธเจ้า ตรัสรู้ได้เอง แต่ไม่อาจสอนให้บุคคลอื่นรู้ตามได้ แทงตลอดอรรถรสเท่านั้น ไม่สามารถแทงตลอดธรรมรสได้ เพราะว่าพระปัจเจกพุทธเจ้า ไม่อาจเพื่อจะยกโลกุตตรธรรมเป็นบัญญัติขึ้นแสดงได้ การบรรลุธรรมจึงมีแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหมือนความฝันที่คนใบ้ฝัน เหมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มในเมืองฉะนั้น

    พระปัจเจกพุทธเจ้า บรรลุธรรมทั้งหมดรวมถึงฤทธิ์ สมาบัติ และปฏิสัมภิทา มีคุณพิเศษต่ำกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เหนือกว่าพระสาวก ให้บุคคลอื่นบวชได้ ให้ศึกษาอภิสมาจาร ด้วยอุเทศนี้ว่า พึงขัดเกลาจิต ไม่พึงท้อถอย หรือทำอุโบสถโดยเพียงพูดว่า วันนี้อุโบสถ และเมื่อทำอุโบสถประชุมกันทำ ณ รัตนมาลา โคนต้นไม้มัญชุสา ในภูเขาคันธมาทน์

    สรุปได้ว่า เมื่อพิจารณาไม่ว่าด้านคุณธรรม หรือความรู้ พระปัจเจกพุทธเจ้าเหนือกว่าพระสาวก แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเหนือกว่าพระปัจเจกพุทธเจ้า

    ๐ วิถีชีวิตของพระปัจเจกพุทธเจ้า : การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว

    คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าคือ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือการดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง (เอกะ) ในวรรณคดีพระพุทธศาสนาเปรียบเทียบการดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหมือนกับนอแรด (ขคฺควิสาณกปฺโป) [ขุ.จู.ขัคควิสาณสุตตนิทเทส.๓๐/๑๒๔] ซึ่งแรดของอินเดียมีเพียงนอเดียว ส่วนแรดในประเทศอื่นมี ๒ นอก็มี แต่กระนั้นก็ตาม พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องมาประชุมพร้อมกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน คือในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นและในวันอุโบสถ

    คงเห็นแล้วว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น มิได้หลีกเร้นหนีสังคมแต่ประการใด เมื่อมีกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกัน ท่านก็มาประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน ปุถุชนธรรมดาไม่อาจที่จะเข้าใจวิถีชีวิตดังกล่าว ของพระปัจเจกพุทธเจ้าได้อย่างลึกซึ้งเพียงพอ

    ถือได้ว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่าผู้เดียวหรือผู้ดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว โดยเหตุ ๙ ประการ คือ

    ๑. ชื่อว่าผู้เดียว เพราะการบรรพชา หมายถึงว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ตัดกังวลในฆราวาส, บุตร, ภรรยา, ญาติและการสะสมสมบัติ ปลงผมและหนวดแล้ว ครองผ้ากาสายะออกบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความเป็นผู้ไม่กังวล เป็นผู้เดียวเที่ยวไป

    ๒. ชื่อว่าผู้เดียวเพราะไม่มีเพื่อน (เมื่อถึงฐานะเช่นนั้นแล้วไม่ต้องการเพื่อน) หมายถึงว่าพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เมื่อบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้เดียวอาศัยที่อยู่คือป่าและป่าชัฏอันสงัด มีเสียงน้อยปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากลม อยู่โดดเดี่ยวไกลจากพวกมนุษย์สมควรแก่การหลีกเร้น เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยวไป

    ๓. เป็นผู้เดียวเพราะละตัณหา หมายถึงว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่ประมาทมีความเพียร ส่งจิตไปอยู่ กำจัดมารและเสนามาร ละตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ

    ๔. ชื่อว่าผู้เดียวเพราะปราศจากราคะแน่นอน

    ๕. ชื่อว่าผู้เดียวเพราะปราศจากโทสะแน่นอน

    ๖. ชื่อว่าผู้เดียวเพราะปราศจากโมหะแน่นอน

    ๗. ชื่อว่าผู้เดียวเพราะหมดกิเลสแน่นอน

    ๘. ชื่อว่าผู้เดียวเพราะดำเนินสู่ทางเป็นที่ดำเนินไปผู้เดียว (เอกายนมรรค) เอกายนมรรคนั้น หมายถึง สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปธาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗ และมรรคมีองค์ ๘ (คือโพธิปักขิยธรรม)

    ๙. ชื่อว่าผู้เดียวเพราะตรัสรู้ปัจเจกโพธิญาณอันยอดเยี่ยมผู้เดียว หมายถึงว่า รู้แจ้งไตรลักษณ์, ปฏิจจสมุปบาท, อริยสัจสี่นั่นเอง

    ๐ บทสรุป

    บางคนอาจมีความกังขาว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงหรือไม่ ? ขอเฉลยว่าพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริง และมิใช่มีเพียงองค์เดียวเท่านั้นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่มีเป็นจำนวนมาก ไม่เหมือนกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีองค์เดียวเท่านั้น ในช่วงเวลาหนึ่งในที่นี้ขอยกตัวอย่างรายชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าในอดีตเฉพาะองค์สำคัญที่พบในพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามาเสนอไว้ เช่น พระตครสิขี พระอุปริฏฐะ พระมหาปทุม พระมาตังคะ เป็นต้นนอกจากนั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าในอนาคตก็ยังมีปรากฏให้เห็น อาทิเช่น พระอัฏฐิสสระ ซึ่งก็คือพระเทวทัต ก่อนจะมรณภาพโดยถูกแผ่นดินสูบ ขอถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือพระโคตมะ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก ด้วยกระดูกพร้อมด้วยลมหายใจ ด้วยอานิสงส์ดังกล่าว จึงทำให้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในอนาคตได้

    อนึ่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จำเป็นต้องบำเพ็ญบารมีเป็นเวลานานมาก อาจทำให้คนที่ปรารถนาตำแหน่งดังกล่าว เกิดความท้อถอย คลายความเพียรได้ แต่ถ้าจะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมี โดยใช้เวลาเพียงครึ่งหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น


    ๐ คาถาบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า

    สัพเพ ปัจเจกะสัมพุทธา นิโรธะฌานะโกวิทา นิราละยา นิราสังกา อัปปะเมยยา มะเหสะโย ทูเรปิ วิเนยเย ทิสวา สัมปัตตา ตังขะเณนะ เต สันทิฏฐิกะผะเล กัตตะวา สะทา สันติง กะโรนตุ โน

    พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งปวง ทรงปรีชาญาณในนิโรธสมาบัติและฌาณสมาบัติ ทรงปราศจากความกำหนัดยินดี หมดความรังเกียจ ทรงคุณอันหาประมาณมิได้ ทรงแสวงหาคุณอันประเสริฐ ทรงมีมหาทานบารมีเป็นเลิศ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านี้ เห็นหมู่เวไนยสัตว์แม้ในที่ใกล้ไกล ก็ทรงพระเมตตาเสด็จไปช่วยเหลือสัตว์เหล่านั้น ให้ได้รับประโยชน์โดยพลัน โปรดประทานความสงบร่มเย็นทั้งทางโลกและทางธรรม แก่พวกข้าพระองค์ในกาลทุกเมื่อเถิด



    >>>>> จบ >>>>>


    คัดลอกและรวบรวมมาจาก
    วารสารสิรินธรปริทรรศน์
    พระปัจเจกพุทธเจ้า : พุทธที่ถูกลืม
    มานพ นักการเรียน
    อาจารย์ประจำ, ป.ธ.๖, ศน.ม. (พุทธศาสนาและปรัชญา)
    http://www.dharma-gateway.com/
    http://www.buddhabhumi.info/buddhabumi/buddha/prapatjek.html
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    7928. พระปัจเจกพุทธเจ้า (มานพ นักการเรียน)
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7928

    โดย เว็บมาสเตอร์.

    ๐ คำเทศน์ของพระปัจเจกพุทธเจ้า (พระองค์หนึ่ง)

    ความดีของพวกเธอ คือ พรอันประเสริฐสุนทรแล้ว

    ทุกคนทรงได้ในฌาน ตั้งใจอธิษฐานกุศลให้แก่ผู้ปกครองบ้านเมือง ผู้ที่รักษาชาติ ผู้ที่ช่วยชาติ ตลอดจนบรรพบุรุษ

    ความดี คือ การกระทำที่ถูกต้องตามธรรม (ธรรม คือธรรมชาติ) ฉะนั้น เรียกความดีว่า การกระทำที่เป็นคุณ อานิสงส์ของการทำความดีมีมากสุดที่จะพรรณาได้ ความดีแบ่งออกได้เป็น ๓ อย่าง คือ

    - ความดีทางกาย
    - ความดีทางวาจา
    - ความดีทางใจ

    อานิสงส์ที่จะรับความดีได้มากที่สุด คือ อานิสงส์กระทำความดีทางใจ ถ้าทำได้ทั้ง ๓ ทางจะดีมาก ความดีทางกาย คือ การกระทำในบุญ เช่นสร้างพระ ถวายของพระ การกระทำความดีทางวาจา คือ ชอบพูด พูดปรัชญา พูดเตือน การพูดต้องประสงค์ให้ผู้ฟังได้เกิดผลเป็นความดีออกมา ความดีด้วยใจ คือ เจตนาจะกระทำความดี คิดสร้างพระ เป็นต้น รวมแล้วความดีนี้ควรทำทั้ง ๓ ทาง

    อันที่ ๑ ความดีทางกาย มีอานิสงส์ทดแทนเราทางร่างกายเช่นเดียวกัน มีอานิสงส์อย่างน้อย ๕ ชาติ อย่างมาก ๑ กัป ทำความดีด้วยวาจา อานิสงส์อย่างน้อย ๓ ชาติ อย่างมาก ๑ ใน ๓ ของกัป ทำความดีที่ใจ อานิสงส์ ๖ ชาติ อย่างมาก ๑ กัป กับอีก ๑ ส่วน ๒ ถ้าทำความดีพร้อมกันทั้ง ๓ อย่าง ก็ได้ถึง ๑๐ มหากัป เป็นอย่างยิ่ง

    บุญเราทำด้วยพลังแค่ไหน อานิสงส์ทุกชาติก็ขึ้นอยู่กับกรรมตัดรอน คือ บุญมีอยู่ แต่กำลังอ่อน เจ้ากรรมนายเวรนั้น คือ ผู้ที่เคยได้รับทุกข์เพราะเราและยังฝังใจที่จะสนองเรา ส่วนการกระทำที่เราก่อโดยไม่มีผู้สนอง เช่น ด่าพระ ข้ามเศียรพระ เช่นนี้ ผู้คุ้มครองเขาสนองกรรม เหมือนกระทำของปลอมออกมาใช้แล้วตำรวจจับ แต่ถ้าเจ้ากรรมนายเวรเขามาเกิดแล้ว ส่วนก็ยังคงอยู่ คนทำบุญมากก็พ้น เหมือนกับเธอทำงานให้นายจ้าง แล้วทำของเขาเสียหาย แต่เธอเป็นผู้ทำงานเก่งก็พ้นไป

    ศีลเป็นทางนำใจคนให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูก คือ ความดี, สมาธิเป็นสิ่งที่ก่อให้ทุกคนชำระจิตใจออกจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน หัดใจให้เป็นสามัญสำนึก, ปัญญาเป็นแสงสว่างชี้ทางที่ควรจะดำเนิน

    ศีลมีองค์ควบคุม คือ เมตตา กรุณา, สมาธิมีองค์ควบคุม มี มุทิตา อุเบกขา, ปัญญามีองค์ควบคุม คือ อริยสัจ ๔

    เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น เราก็จะรู้ถึงแผนความชั่ว เมื่อประจักษ์แล้วก็เจริญวิธีอันทำให้จิตสงบ คือ วิปัสสนาญาณ เมื่อจิตสงบแล้ว เราจงใช้อิทธิบาท ๔ มี ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ดำเนินไปอย่างสงบ

    คนเราถ้ายืนอยู่ที่สูง ก็จะมองเห็นที่ต่ำสะดวก รู้เห็นแล้วก็วางแผนได้ คิดกันให้พอ คนๆ หนึ่งเดินอยู่ริมแม่น้ำ เขามองไปในน้ำ แล้วรำพึงกับตัวเองว่า สัจจะทำให้เป็นสุข หมายได้อย่างไร รู้ไหม

    สัจจะ คือความจริง ความจริงคือธรรมะ หรือธรรมดา หรือธรรมชาติ ฉะนั้น คนเขายืนอยู่ริมน้ำ เขามองว่าน้ำ มันเป็นเงา เห็นได้ สะท้อนได้ เห็นซึ่งตัวตนของเขา ว่าเขาเป็นคน ฉะนั้น น้ำเป็นธรรมชาติที่ต้องเหลว มีประโยชน์ มีความธรรมดา คือให้ความเห็น คือเห็นรูปได้แก่เรา

    น้ำนั้นให้ความจริง เห็นรูปร่างทั้งส่วนดีและไม่ดี แต่เขารำพึงว่าสัจจะทำให้สุข คือใจของคนถ้ารู้จักมอง รู้จักสะท้อน ดูรูปร่างส่วนดี ส่วนเสียของคนแล้ว รู้คิดให้เป็นธรรมดา ยอมรับนิสัยสันดานของคนว่าเป็นธรรมชาติของคน รู้จักกรรมดี กรรมชั่วว่าเป็นธรรม นั่นเป็นความรู้ เกิดปัญญาแตกฉาน เข้าใจ และคิดออก เขาจึงเป็นสุข

    (จากหนังสือพรสวรรค์ โดยคณะพรสวรรค์)
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 11 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 8 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, :::เพชร:::+, nongnooo+ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    คุณเพชร อย่าลืมที่จะมอบให้ผมนะครับ

    ขอบคุณครับ
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>เข้มอู่ติดแก๊ส ขนส่งฯขอตรวจก่อนติด
    http://www.manager.co.th/Motoring/ViewNews.aspx?NewsID=9510000107972
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>11 กันยายน 2551 17:51 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> ข่าวในประเทศ - ผู้ใช้รถอุ่นใจขึ้น กรมการขนส่งฯ ออกกฎ คุมเข้มอู่ติดแก๊ส ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกก่อนเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์ติดตั้งอุปกรณ์แก๊สอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีผลบังคับตั้งแต่ 21 ต.ค.นี้

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ต่อไปอู่ติดแก๊สจะต้องได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งเสียก่อนจึงจะติดตั้งแก๊สได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ชัยรัตน์ สงวนชื่อ รักษาการอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า กรมการขนส่งทางบก ได้ออกมาตรการเพิ่มความปลอดภัยสำหรับรถใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิง โดยออกกฎกระทรวง กำหนดให้ผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบสำหรับรถที่ใช้ก๊าซ LPG จะต้อง ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกก่อน ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคมนี้ เป็นต้นไป ในระหว่าง ที่ยังไม่ได้รับความเห็นชอบ ผู้ติดตั้งสามารถติดตั้งต่อไปได้จนถึงวันที่ 18 เมษายน 2552 และตั้งแต่ วันที่ 19 เมษายน 2552 เป็นต้นไป ผู้ที่จะติดตั้งก๊าซ LPG ในรถยนต์ได้ จะต้องเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบจาก กรมการขนส่งทางบกแล้วเท่านั้น

    จากมาตรการดังกล่าวส่งผลให้ ตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2552 เจ้าของรถที่ประสงค์ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์สำหรับใช้ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิง จะต้องนำรถไปติดตั้งกับผู้ติดตั้ง ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น

    โดยจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ส่วนควบให้ถูกต้องครบถ้วน ได้แก่ ถังก๊าซ, ลิ้นบรรจุ, ลิ้นระบายความดัน, ลิ้นกันกลับ, ลิ้นเปิดปิด, อุปกรณ์วัดระดับก๊าซเหลว, อุปกรณ์ป้องกันการบรรจุเกิน, อุปกรณ์ระบายความดัน, อุปกรณ์ควบคุมการเปิดปิดลิ้นระยะไกลพร้อมด้วย ลิ้นป้องกันการไหลเกิน, อุปกรณ์ทำไอก๊าซและปรับความดันก๊าซ, อุปกรณ์ฉีดก๊าซ จ่ายก๊าซ หรือผสมก๊าซ, อุปกรณ์รับเติมก๊าซ, ตัวกรองก๊าซ, ท่อนำก๊าซ, เรือนกักก๊าซ, ท่อระบายก๊าซ และข้อต่อต่างๆ ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าว จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ด้วย

    สำหรับผู้ที่ประสงค์จะเป็นผู้ติดตั้งก๊าซ LPG ที่ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถยื่นขอรับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกได้ ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป และตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2552 เป็นต้นไป ผู้ติดตั้งที่ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก จะไม่สามารถติดตั้งก๊าซ LPG ในรถยนต์ได้ตามกฎหมาย

    ส่วนเจ้าของรถที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ขอให้หมั่นตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ และควรนำรถเข้ารับการตรวจสอบอุปกรณ์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สำหรับผู้สนใจเป็นผู้ติดตั้ง หรือเป็นผู้ตรวจและทดสอบที่ได้รับอนุญาต สามารถ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ "ศูนย์ส่งเสริมสนับสนุนการใช้ NGV" หมายเลขโทรศัพท์ 0-2272 -5751-2 หรือ ทางเว็บไซต์ www.dlt.go.th หรือรับฟังข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมงได้ทาง Call Center หมายเลข 1584

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]คุณภาพชีวิต[/FONT] <!-- Show Date -->12 กันยายน 2551 07:10:08
    http://www.innnews.co.th/Qualityoflife.php?nid=132213


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=661 border=0><TBODY><TR><TD class=textHeadBlue>ทุกภาคมีฝนตกชุกหนาแน่นและตกหนัก</TD></TR><TR><TD height=25> </TD></TR><TR><TD><TABLE height=300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=664 border=0><TBODY><TR><TD width=1></TD><TD vAlign=top width=660>
    <!-- [​IMG] -->
    <!-- Show Detail -->กรมอุตุฯรายงานมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่

    กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศประจำวันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2551 เมื่อเวลา 04:00 น. ว่า ร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคกลางตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ เช่น บริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ เลย สกลนคร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา สระบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา กรุงเทพมหานคร นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรีและตราด ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะ 1- 2วันนี้ (12-13 ก.ย.51)



    อนึ่ง คลื่นลมในอ่าวไทย และทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ ในระยะนี้ไว้ด้วย



    พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้ เป็นดังนี้



    กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 องศา สูงสุด 31 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.



    ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ ตาก อุตรดิคถ์ พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 24 องศา สูงสุด 33 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.



    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู สกลนคร ขอนแก่น ชัยภูมิ และ นครราชสีมา อุณหภูมิต่ำสุด 23 องศา สูงสุด 33 องศา ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.



    ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่

    บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยาอุณหภูมิต่ำสุด 24 องศา สูงสุด 30 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม.



    ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23 องศา สูงสุด 31 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร



    ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี อุณหภูมิต่ำสุด 24 องศา สูงสุด 33 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง มากกว่า 2 เมตร



    ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัด ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ อุณหภูมิต่ำสุด 21 องศา สูงสุด 31 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วิถีบุญ-วิถีธรรม : กำเนิดและความสำคัญของ...วันพระ
    http://www.komchadluek.net/column/pra/2004/09/03/02.php




    [​IMG]
    เมื่อพูดถึงวันพระ ย่อมหมายถึงวันสำคัญที่สุดใน ทางศาสนาทุกศาสนา ซึ่งต้องมีวันสำคัญประจำศาสนาของตน ไม่ว่าจะเป็น ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม และอื่นๆ อีกมากมายหลายศาสนา ล้วนแล้วแต่ม ีวันที่ถูกกำหนดขึ้นให้เป็นวันที่ ศาสนิกชน ทุกคนจะต้องปฏิบัติศาสนกิจ เป็นการสักการบูชาพระ ซึ่งเป็นที่เคารพและถือปฏิบัติเป็นประจำ เพื่อย้ำให้เกิดศรัทธาต่อองค์พระ ที่ตนเคารพนับถือตลอดมา
    วันพระในพระพุทธศาสนา เดิมเรียกว่า วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันที่ถูกกำหนดให้เข้าอยู่ประจำเพื่อรักษาศีลปฏิบัติธรรม หรือเรียกว่า อุโบสถศีล คือ ศีลที่ต้องสมาทานรักษาในวันอุโบสถ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการจำศีล ซึ่งถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่พุทธศาสนิกชน จะได้ถือโอกาสเข้าวัดฝึกหัดกายวาจา ฟังธรรม ตลอดจนฝึกหัดขัดเกลากิเลสในใจให้บรรเทาเบาบางลง และถือโอกาสทำบุญบำเพ็ญกุศลไปด้วย ในวันขึ้นหรือแรม ๘ ค่ำ และวันขึ้น หรือแรม ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ ของทุกเดือน

    [​IMG]
    ในมหาชนกชาดก ได้กล่าวถึงเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า คือ เมื่อครั้งที่พระองค์เสวยพระชาติเป็นพระมหาชนกโพธิสัตว์ เดินทางไปค้าขายทางทะเล เกิดพายุ คลื่นในทะเลจัด พัดพาเรือสินค้าอับปางลงกลางมหาสมุทร บรรดาลูกเรือจมลงสู่ก้นทะเลเสียชีวิตทั้งสิ้น หลังจากพายุและคลื่นในทะเลสงบแล้ว พระองค์ต้องว่ายน้ำและลอยคอไปตามแรงซัดของคลื่นทะเลตลอดระยะเวลาอันยาวนานถึง ๗ วัน พอถึงวันอุโบสถพระองค์ก็ทรงบ้วนปากด้วยน้ำทะเลนั่นเอง แล้วอธิษฐานสมาทานศีล ๘ (ศีลอุโบสถ) รักษาอย่างเคร่งครัดตลอดหนึ่งคืนหนึ่งวัน
    นอกจากนี้ยังมีหลักฐานปรากฏใน พระวินัยปิฎก อุโบสถขันธกะ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๐๖ ข้อ ๑๓๒ เป็นหลักฐานยืนยันว่า พระพุทธเจ้าได้เคยทรงอนุญาตให้ภิกษุประชุมกันในวัน ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ มีเรื่องเล่า ดังนี้
    ระหว่างพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เป็นขณะเดียวกันกับพวกปริพาชกอัญเดียรถีย์ (นักบวชต่างศาสนา) มีการรวมตัวกันประชุมกล่าวแสดงหลักคำสอนตามความเชื่อในลัทธิของตน ทำให้ประชาชนต่างพากันแตกตื่นความแปลกใหม่ ให้ความสนใจแนวทางการสอนดังกล่าว และเข้ามามอบตัวเป็นศิษย์มากมาย ส่งผลให้พระเจ้าพิมพิสาร เจ้าครองนครมคธ ครั้นทรงทอดพระเนตรเห็นเช่นนั้น จึงทรงดำริว่า :
    "ระยะนี้ พวกปริพาชกอัญเดียรถีย์ ต่างก็พร้อมใจกันชุมนุม กล่าวแสดงหลักคำสอนของตน แก่ประชาชนในวัน ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ ทำให้ประชาชนที่ไปร่วมรับฟังต่างก็เกิดศรัทธา ไปเข้าพวกเดียรถีย์เป็นอันมาก ถ้าพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า มีการประชุมอย่างนั้นบ้าง ก็คงจักบังเกิดผลดีแก่พระพุทธศาสนาแน่นอน"
    จึงเสด็จเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและกราบทูลเรื่องนั้นให้พระพุทธองค์ทรงทราบ พระพุทธเจ้าจึงตรัสเรียกภิกษุให้มาประชุมพร้อมกันแล้วมีรับสั่งว่า
    ?ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เธอทั้งหลายประชุมพร้อมกันใน (ทุก) วัน ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ แห่งปักษ์?

    [​IMG]
    เมื่อพระสงฆ์มาประชุมพร้อมกัน แล้วแต่ไม่ได้กล่าวไม่ได้แสดงธรรมแต่อย่างใด ต่างพากันนั่งนิ่ง ชาวบ้านก็ตำหนิและเที่ยวประจานให้เกิดความเสียหายว่า พระสงฆ์ประชุมกันแล้วนั่งนิ่งเหมือนสุกรใบ้ถูกขุนไร้คุณค่า เพราะไม่กล่าวธรรมไม่สอนธรรม เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบ จึงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย (แต่นี้ไป) เราอนุญาตให้เธอ ทั้งหลายประชุมกัน กล่าวธรรม แสดงธรรม ใน (ทุก) วัน ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ แห่งปักษ์"
    ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ภิกษุทั้งหลายจึงได้ถือปฏิบัติตามพระพุทธานุญาตตลอดมา และวันที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตนี้เรียกว่า วันอุโบสถ พร้อมทั้งทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์สวดปาติโมกข์ และแสดงธรรมเทศนาเพื่อให้ประชาชนผู้สนใจใคร่เรียนรู้ เข้าร่วมรับฟังอย่างพร้อมเพรียง
    อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้เป็นเรื่องน่าเสียดาย สำหรับวัฒนธรรมของชาวพุทธ ที่เกี่ยวข้องกับวันพระได้เปลี่ยนแปลงจากอดีตมาก พระราชวิจิตรปฏิภาณ (พระพิพิธธรรมสุนทร)
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม บอกว่า เหตุปัจจัยที่คนไม่เข้าวัดทำบุญ ในช่วงวันพระนั้นเกิดจากผู้นำไม่ทำเป็นแบบอย่างให้ผู้ตาม กล่าวคือ
    ประการแรกเกิดจากผู้นำประเทศไม่ได้ทำตัวเป็นผู้นำทางด้านศีลธรรมที่ดี เมื่อผู้นำไม่รู้จักศีลธรรมจึงไม่รู้จักวันพระ บางคนถึงกับไม่มีวัดสำหรับไปทำบุญ ในที่สุดก็ไม่ให้สำคัญกับวันพระและก็ไม่นำคนเข้าวัดปฏิบัติธรรม
    เมื่อเป็นเช่นนี้ระเบียบของสังคมก็ถูกเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะเห็นการเข้าวัดของผู้นำประเทศ เป็นเหตุผลทางการเมือง บางคนเข้าวัดเพื่อเป็นข่าวปรากฏตามสื่อเท่านั้น
    ประการที่สองต้องโทษเจ้าอาวาสหรือสมภารวัด ละเลยประเพณีของตนเอง อย่าไปอ้างหรือโทษสังคมว่าวันพระคนไม่เข้าวัดพระจึงต้องออกบิณฑบาต โดยในปัจจุบันนี้วัดใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ เช่น วัดโพธิ์ วัดชนะสงคราม วัดสุทัศนฯ วัดประยุรฯ ก็ยังคงจัดกิจกรรมทางศาสนาเพื่อให้คนเข้าวัด ที่สำคัญ คือ เจ้าอาวาสจะไม่มีการรับกิจนิมนต์ในวันพระ

    [​IMG]

    ส่วนข้ออ้างสำหรับผู้ไม่เข้าวัด โดยอ้างว่าไม่ตรงกับวันหยุดเสาร์-อาทิตย์นั้น เป็นข้ออ้างของคนบาป เป็นข้ออ้างของคนไม่อยากเข้าวัด วันหยุดเสาร์-อาทิตย์เป็นวันหยุดของสากล แต่วันพระเป็นวันวัฒนธรรมของชาวพุทธ ซึ่งผู้ใหญ่ต้องทำให้เป็นตัวอย่างกับเด็กให้มี ความเคร่งครัดเรื่องศีลธรรม โดยให้เริ่มในวันสำคัญทางศาสนาก่อน เช่น วิสาขบูชา มาฆบูชา และ อาสาฬหบูชา จากนั้นก็เพิ่มการรักษาศีลในวันพระขึ้น(แรม) ๘ ค่ำ และ ๑๔ ค่ำ
    พระราชวิจิตรปฏิภาณ (พระพิพิธธรรมสุนทร) บอกด้วยว่า ในอดีตนั้นชาวพุทธจะเคร่งในเรื่องไม่ฆ่าสัตว์ในช่วงวันโกนกับวันพระ ร่วมทั้งไม่ฆ่าสัตว์ที่ตั้งท้องเป็นอาหารอย่างเด็ดขาด เพราะถือว่าเป็นบาปมาก แต่ปัจจุบันนี้กลับกลายเป็นว่า วันโกนไม่ละวันพระไม่เว้น ถือว่าเป็นของอร่อย การห้ามฆ่าสัตว์ในวันพระ โดยเฉพาะการฆ่าสัตว์ที่มีไข่ เช่น ปลาไข่ ปูไข่ เป็นบาปมหันต์ ถือว่าเป็นภูมิปัญญาในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งของคนโบราณ
    เรื่องและภาพ ธรรมจักร สิงห์ทอง
    คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG] สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
    บริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2543

    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- FOOTER -->
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ดิฉันปล่อยวางหมดแล้ว
    เรื่องนี้หลายคนบอกว่า สะใจ บางคนก็ว่าแรงไป
    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้รับนิมนต์ขึ้นเทศน์ในการจัดอบรมกรรมฐานให้แก่พระและญาติโยม มีผู้สนใจใคร่ธรรมมาเข้าร่วมอย่างเนืองแน่น
    ในวันนั้น หลวงปู่ท่านแสดงธรรมได้อย่างจับใจได้อรรถรส ในเบื้องต้น ท่ามกลาง และปริโยสาน อะไรเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นตัว ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ตลอดจนวิธีดับทุกข์ อะไรที่ควรมั่น อะไรที่ควรปลง ควรปล่อยวาง ไม่ควรยึดมั่นว่าเป็นตัวกูของกู
    ว่ากันว่า หลวงปู่ตื้อ ได้แสดงธรรมให้สาธุชนที่อยู่ ณ ที่นั้น ตรองตามแล้วเห็นจริงได้ เสมือนหงายสิ่งที่คว่ำ เสมือนจุดประทีปโคมไฟในที่มืด เสมือนชี้ทางให้กับผู้ที่หลงทาง...
    อุบาสกอุบาสิกาที่ได้สดับเทศนาของหลวงปู่ตื้อในครั้งนั้นแล้ว ต่างก็รู้สึกปีติ อิ่มเอิบในบุญ รู้สึกปลอดโปร่ง เบากายเบาใจ ต่างก็รู้สึกว่าภายในจิตได้ปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว
    พอหลวงปู่เทศน์จบลง ท่านว่า
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 7 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 5 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, นายสติ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    คุณnongnooo ระวังตาอักเสบนะครับ
     
  17. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ไม่ลืมครับ จะเตรียมน้ำสรงพระทักษิณโมลีธาตุ+พระบรมสารีริกธาตุ สัณฐานที่พระพุทธกัสสปอธิษฐานจิตไว้ด้วยครับ
     
  18. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ปล่าวอักเสบครับ แต่แสบตา จากแสงประกายทองมากกว่าครับ หุ หุ
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 11 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 8 คน ) </TD><TD class=thead width="14%">

    </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, :::เพชร:::+, nongnooo+ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    คุณเพชร อย่าลืมที่จะมอบให้ผมนะครับ

    ขอบคุณครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอบคุณครับคุณเพชร
    .
     
  20. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    กระทู้นี้น่าปักหมุดนะครับ เรจติ้งเยอะมาก ทำงานบุญมาก้อเยอะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...