พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พูดไปอาจไม่มีใครเชื่อ อยากให้ชมงานไม้ละเอียดๆแบบนี้ ซึ่งช่างท่านนี้ไปชมงานศิลป์ของแผ่นดินแล้วแอบถ่ายภาพบุษบกมาลาออกมา แล้วนำมาให้อดีตช่างของกรมศิลปากรที่ฝีมือดีมากๆท่านหนึ่งในสังกัดของเขาซึ่งเอาไว้รองรับงานฝีมือๆ เขาแกะให้ชมเป็นขวัญตาเสร็จ พร้อมบอกว่า ผมแกะให้ชมชิ้นหนึ่ง แล้วต่อไปให้คุณไปหาช่างคนอื่นทำนะ..

    ดูความละเอียดของชิ้นไม้เล็กๆขนาดเท่าครึ่งฝ่ามือครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010272.JPG
      P1010272.JPG
      ขนาดไฟล์:
      262.7 KB
      เปิดดู:
      334
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    คำถวายพระพุทธรูป


    อิมัง มะยัง ภันเต พุทธะรูปัง ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ

    อิมัง พุทธรูปัง ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
    (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย พระพุทธรูปแด่พระภิกษุสงฆ์
    ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับซึ่งพระพุทธรูปนี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ)

    <O:p

    คำจบทาน
    <O:p</O:p

    อิทัง เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ

    (ขอทานนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้สิ้นอาสวะกิเลส) <O:p</O:p

    อิทัง เม ทานัง นิพพานัสสะ ปัจจะโย โหตุ

    (ขอทานนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้ถึงพระนิพพานในปัจจุบันชาตินี้ ขอให้ได้มนุษย์สมบัติ ขอให้ได้สวรรค์สมบัติ ขอให้ได้นิพพานสมบัติ จะนึกประสงค์สิ่งใด ขอจงสมความปรารถนา ทุกประการ อันว่าโรคภัยไข้เจ็บ ความยากจนค่นแค้น และคำว่า "ไม่มี" ขออย่าให้ข้าพเจ้าประสบพบเลย) <O:p</O:p

    <O:p</O:p


    คำภาวนาก่อพระเจดีย์ทราย
    <O:p</O:p

    อิมัง วาลุกัง เจติยัง อะธิฏฐามิ <O:p</O:p

    <O:p</O:p


    คำอธิษฐานเวลาปิดทองลูกนิมิต
    <O:p</O:p

    ขอเดชะ บุญทาน การกุศล ปิดนิมิต อุโบสถ ทศพล เริ่มลูกต้น กลางโบสถ์ โชติตระการ เป็นนิมิต ลูกเอก เสกประสาท งามโอภาส มาศเฉลิม เสริมสัณฐาน เป็นนิมิต เตือนตา สาธุการ ท่ามกลางงาน บุญพิธี ผูกสีมา เกิดชาติหน้า อย่ารู้เข็ญ ได้เป็นใหญ่ รูปวิไล เป็นเสน่ห์ ดังเลขา ปิดนิมิต ลูกทิศ บูรพา ให้ก้าวหน้า เกียรติยศ ปรากฏไกล ปิดนิมิต ลูกทิศ อาคเนย์ ขอให้เท- วาประสิทธิ์ พิสมัย ปิดนิมิต ทิศทัก- ษิณศักดิชัย ให้สมใจ สมบัติ วัฒนา ปิดนิมิต ลูกทิศ หรดี ขอให้ชี- วิตมั่น ชันษา ปิดนิมิต ทิศประจิม อิ่มอุรา ปรารถนา ใดได้ ดั่งใจปอง ปิดนิมิต ทิศพายัพ ดับทุกข์โศก นิราศโรค นิราศภัย ร้ายทั้งผอง ปิดนิมิต ทิศอุดร กรประคอง ได้เงินทอง สมหมาย ทุกรายการ ปิดนิมิต ทิศอีสาน ประการท้าย ให้สมหมาย ได้สุข ทุกสถาน รวมเก้าลูก สุกใส ใจเบิกบาน กว่าจะถึง ซึ่งนิพพาน เมื่อนั้น เทอญ
    -โดยธรรมสาธก-
    <O:p</O:p

    คำถวายของใส่บาตร
    <O:p</O:p

    อิทัง ทานัง สีละวันตานัง ภิขูนัง นยาเทมิ สุทินัง วะตะเม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง นิพานะปัจจะ

    (ข้าพเจ้าขอน้อมถวายทานอันนี้ แด่พระสงฆ์ผู้มีศีลทั้งหลาย ทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้ จงเป็นปัจจัยให้ถึงพระนิพพานด้วยเทอญ)
    หรืออาจกล่าวเป็นภาษาไทยเวลาจบขันข้าวใส่บาตรดังนี้

    ข้าวของข้าพเจ้า ขาวดังดอกบัว ยกขึ้นเหนือหัว ถวายแด่พระสงฆ์ จิตใจจำนง ตรงต่อพระนิพพาน<O:p</O:p
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    คำถวายผ้ากฐิน


    อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะจีวะระทุสสัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะ ทุสสัง ปะฏิคคัณหาตุ ปะฏิคคะเหตะวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

    ทุติยัมปิ ...(อารธนาศีลห้า)
    ตะติยัมปิ ...

    (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย และเมื่อรับแล้ว ขอจงกรานใช้กฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้า ทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)
    <O:p</O:p

    คำถวายผ้าป่า
    <O:p</O:p

    อิมานิ มะยัง ภันเต ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ

    อิมานิ ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆารัตตัง หิตายะ สุขายะ

    (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้าบังสุกุล จีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิษุสงฆ์ ขอพระภิษุสงฆ์จงรับผ้าบังสุกุล จีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)
    <O:p</O:p

    คำถวายผ้าอาบน้ำฝน
    <O:p</O:p

    อิมานิ มะยัง ภันเต

    วัสสิกะสาฏิกานิ สะปะริวารานิ
    ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ
    สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
    อิมานิ วัสสิกะสาฏิกานิ สะปะริวารานิ
    ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
    (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าอาบน้ำฝนกับบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์
    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย

    เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)
    <O:p</O:p

    คำถวายผ้าไตร
    <O:p</O:p

    อิมานิ มะยัง ภันเต

    ติจีวะรานิ สะปะริวารานิ
    ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ
    สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
    อิมานิ ติจีวะรานิ สะปะริวารานิ
    ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
    (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าไตรจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์
    ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับผ้าไตรจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย

    เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)
    <O:p</O:p

    คำถวายหนังสือธรรมะ
    <O:p</O:p

    อิมานิ มะยัง ภันเต ธัมมะโปตถะกานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ

    อิมานิ ธัมมะโปตถะกานิ สะปะริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ นิพพานายะจะ

    (ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายหนังสือธรรมะกับทั้งของบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับหนังสือธรรมะกับทั้งของบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อมรรคผล นิพพาน แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย และขอให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย จงเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณธนสารสมบัติ สิ้นกาลนานเทอญ) <O:p</O:p
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    คำถวายข้าวสาร


    อิมานิ มะยัง ภันเต ตัณฑุลานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ

    อิมานิ ตัณฑุลานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

    (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายข้าวสารกับทั้งบริวารเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ข้าวสารกับทั้งบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)
    <O:p</O:p

    คำถวายยาพระสงฆ์
    <O:p</O:p

    อิมานิ มะยัง ภันเต คิลานะเภสัชชานิ สะปะริวารานิ สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต สังโฆ

    อิมานิ คิลานะเภสัชชานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัญจะ มาตาปิตุอาทีนัญจะ ญาตะกานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

    (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายยาบำบัดความป่วยไข้ กับทั้งเวชภัณฑ์ทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับยาบำบัดความป่วยไข้ และเวชภัณฑ์ทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ญาติทั้งหลาย มีมารดาและบิดาเป็นต้นด้วย สิ้นกาลนานเทอญ)
    <O:p</O:p

    คำถวายเสนาสนะ สร้างกุฏิ วิหารให้สงฆ์
    <O:p</O:p

    อิมานิ มะยัง ภันเต เสนาสะนานิ อาคะตานาคะตัสสะ จาตุททิสัสสะ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ

    อิมานิ เสนาสะนานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

    (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเสนาสนะเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ผู้มีในทิศทั้ง ๔ ที่มาแล้วก็ดี ยังไม่มาก็ดี ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับเสนาสนะเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)<O:p</O:p
     
  6. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    ครับพี่เพชรได้รับแล้วครับ
    ขอบพระคุณมากครับ
    น้องเอthaxx;aa31
    rabbit_scaryrabbit_scaryrabbit_scaryrabbit_scaryrabbit_scary
     
  7. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ง่ายๆ(ง่ายเกินไปนะตัวเอง)
    ขออราธนาเอาคำอธิบายเรื่องทุกข์ ของพระพุทธองค์ในอริยสัจสี่ หนึ่งคืออริยทุกข์ เป็นคำตอบ
    อริยสัจที่ ๑ ทุกข์
    ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจต่างๆ พระองค์ทรงพบความจริงว่า สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนตกอยู่ในความทุกข์ จะเป็นมหาเศรษฐี เป็นนายกฯ เป็นประธานาธิบดี เป็นกษัตริย์ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แม้ที่สุดเป็นพระภิกษุ ก็มีทุกข์ทั้งนั้น ต่างแต่เพียงว่าทุกข์มากหรือทุกข์น้อยและมีปัญญาพอที่จะรู้ตัวหรือเปล่าเท่านั้น พระองค์ได้ทรงแยกแยะให้เราเห็นว่า ความทุกข์นี้มีถึง ๑๑ ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ ได้แก่
    ๑.สภาวทุกข์ คือ ทุกข์ประจำ เป็นความทุกข์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นสภาพธรรมดาของสัตว์ ซึ่งเมื่อเกิดแล้วต้องมีทุกข์ชนิดนี้ มี ๓ ประการได้แก่
    ๑.การเกิดเป็นทุกข์
    ๒.การแก่เป็นทุกข์
    ๓.การตายเป็นทุกข์
    ศาสนาอื่นๆ ในโลก อย่างมากที่สุดก็บอกได้เพียงว่า ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นทุกข์ ส่วนการเกิดกลับถือว่าเป็นสุข เป็นพรพิเศษที่ได้รับประทานจากสรวงสวรรค์ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงทำสมาธิมามาก ทรงรู้แจ้งโลกด้วยดวงปัญญาอันสว่างไสว และชี้ให้เราเห็นว่า การเกิดนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ ทุกข์ตั้งแต่ต้องขดอยู่ในท้อง พอจะคลอดก็ถูกมดลูกบีบรัดดันออกมา ศีรษะนี่ถูกผนังช่องคลอดบีบจนกระโหลกเบียดซ้อนเข้าหากันจากหัวกลมๆ กลายเป็นรูปยาวๆ เจ็บใจขาดเลยเพราะฉะนั้นทันทีที่คลอดออกมาได้สิ่งแรกที่เด็กทำคือ ร้องจ้าสุดเสียงเพราะมันเจ็บจริงๆ และการเกิดนี่เอง ที่เป็นต้นเหตุเป็นที่มาของความทุกข์อื่นๆ ทั้งปวง ถ้าเลิกเกิดได้เมื่อไหร่ก็เลิกทุกข์
    อีกอย่างหนึ่งที่คนมักเข้าใจไขว้เขวกัน ก็คือ คิดว่าชราทุกข์นี่จะมีเอาก็ต่อเมื่ออายุ ๖๐-๗๐ปี แต่จริงๆ แล้วทันทีที่เราเริ่มเกิด เราก็เริ่มแก่แล้วชราทุกข์เริ่มเกิดตั้งแต่ตอนนั้น และค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เซลล์ในร่างกายเริ่มแก่ตัวไปเรื่อยๆ อันนี้ขอให้ทราบกันด้วย
    ๒.ปกิณณกทุกข์ คือ ทุกข์จร เป็นความทุกข์ที่เกิดจากจิตใจหย่อนสมรรถภาพ ไม่อาจทนต่อเหตุภายนอกที่มากระทบตัวเราได้ ผู้มีปัญญารู้จักฝึกควบคุมใจตนเอง สามารถหลีกเลี่ยงทุกข์ชนิดนี้ได้ ทุกข์จรนี้มีอยู่ ๘ ประการ ได้แก่
    ๑.โสกะ ความโศก ความแห้งใจ
    ๒.ปริเทวะ ความคร่ำครวญรำพัน
    ๓.ทุกขะ ความเจ็บไข้ได้ป่วย
    ๔.โทมนัสสะ ความน้อยใจ
    ๕.อุปายาสะ ความท้อแท้กลุ้มใจ
    ๖.สัมปะโยคะ ความเบื่อหน่ายขยะแขยงจากการประสบสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก
    ๗.วิปปโยคะ ความห่วงใย จากการพลัดพรากจากของรัก
    ๘.อาลภะ ความเสียดายจากการปรารถนาสิ่งใด แล้วไม่ได้สิ่งนั้น

    นี่คือผลการวิจัยเรื่องทุกข์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงเป็นเหมือนแพทย์ผู้ชำนาญโรค สามารถแยกแยะอาการของโรคให้เราดูได้อย่างละเอียดชัดเจน

     
  8. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    กึ๋ยส์ ...น้องเอ เดี๋ยวนี้ เป็นคนเล่นของรึ ;15
     
  9. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เล่น"คุณ" ไม่ได้เล่น"ของ"
     
  10. มูริญโญ่

    มูริญโญ่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +583
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ตั้งจิต [​IMG]
    กึ๋ยส์ ...น้องเอ เดี๋ยวนี้ เป็นคนเล่นของรึ ;15
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ความคิดเห็นเหมือนคุณ ..... ตั้งจิต ..... ครับ
     
  11. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ตั้งจิต [​IMG]
    กึ๋ยส์ ...น้องเอ เดี๋ยวนี้ เป็นคนเล่นของรึ


    5555ครับพี่ตั้งจิตครับ
    ขอบพระคุณพี่เพชรครับมาตอบให้แล้วพี่ตั้งจิตคงหายสงสัยแล้วนะครับ
    น้องเอ:z12;aa8
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    http://palungjit.org/showthrea...2445&page=1023
    หน้า 1023

    http://palungjit.org/showthrea...2445&page=1023
    หน้า 1023

    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    สำหรับสมาชิกชาววังหน้า หรือผู้ที่ศรัทธาในองค์หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ,สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ที่ได้มีวาสนาและบารมีครอบครองพระวังหน้านั้น ยังมีวาสนาและบารมีได้มีพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามสมณโคดม และพระบรมสารีริกธาตุ พระปัจเจกพุทธเจ้า ไว้กับตนเองเพื่อสักการะบูชา

    มนุษย์หรือคน แข่งอะไรก็แข่งได้ แต่แข่งเรื่องบุญ ,วาสนา และบารมี แข่งกันไม่ได้ พระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามสมณโคดม และพระบรมสารีริกธาตุ พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่เป็นมงคลสูงที่สุด ไม่ว่าจะเป็นคนหรือมนุษย์ ,เทพเทวาทุกชั้นฟ้า ,องค์พยามัจจุราชเจ้า ,เทพเทวาทุกๆพระองค์ ,พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ ,พระอริยสงฆ์ทุกๆพระองค์ ฯลฯ ต้องบูชาและสักการะพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามสมณโคดม และพระบรมสารีริกธาตุ พระปัจเจกพุทธเจ้า เสมอ

    .

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    พระอรหันต์เเปดทิศ
    http://palungjit.org/showthread.php?t=133646


    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message --><TABLE borderColor=#ff9900 height=100 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=614 align=center border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#ffecd9>พระอรหันต์แปดทิศ

    ทิศบูรพา

    ...........พระอรหันต์ประจำทิศ ได้แก่ พระอัญญาโกณทัญญะ ซึ่งเป็นพระสงฆ์รูปแรกในพระพุทธศาสนา และเป็นพระสงฆ์
    ผู้สำเร็จพระอรหันต์องค์แรก ถ้าท่านใดอยากเป็นผู้ชนะก่อนใคร โบราณถือว่าต้องบูชาพระจันทร์ก่อน เพื่อเสริมส่งให้มีเมตตา
    มหานิยม ให้มีความสำเร็จก่อนผู้ใด
    ตามคติของพระพุทธศาสนา จัดให้พระพุทธรูปปางห้ามญาติ เป็นพระประจำวันจันทร์ (พระพุทธรูปยืน ปางห้าม
    ญาติ ยกพระหัตถ์ขวาแบอยู่ระดับหน้าอก พระหัตถ์ซ้ายห้อยอยู่ข้างตัว หรือพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร ยกพระหัตถ์ทั้ง
    สองแบอยู่ระดับอก) แล้วได้จัดให้พระปริตบทยันทุน เป็นคาถาสวดสำหรับวันจันทร์ โดยสวด 15 จบ เพื่อช่วยให้เกิดโชคลาภ
    คุ้มภัยอันตรายได้ และจะมีความเจริญปราศจากโรคาพยาธิทั้งปวง และยังจัดให้คาถาพระอิติปิโส 8 ทิศ บทกระทู้ 7 แบก
    สำหรับสวดภาวนาประจำวันจันทร์ คือ คาถา " อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา "

    ทิศอาคเนย์

    .................พระอรหันต์ประจำทิศได้แก่ พระมหากัสสป เป็นพระสาวกที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นเลิศกว่าพระอื่น ถือธุดงค
    วัตร เป็นพระสงฆ์ที่มีร่างกายเสมอเหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ มีร่างกายใหญ่โตมาก พระองค์จึงได้ประทาน
    ผ้าสังฆาฎิให้กับพระมหากัสสป ถ้าท่านใดอยากได้ความเป็นใหญ่ มีผู้คนยอมรับนับหน้าถือตาก็ควรบูชาพระอังคาร ซึ่งอยู่
    ประจำทิศอาคเนย์
    ตามคติทางพระพุทธศาสนา จัดให้พระพุทธรูปปางไสยยาสน์ (นอน) เป็นพระประจำวันอังคาร และพระปริตบทขัด
    กรณียเมตตาสูตร เป็นคาถาสวดสำหรับพระอังคาร โดยสวด 8 จบบูชา พระปางไสยาสน์ เพื่อช่วยให้เกิดโชคลาภ และคุ้มภัย
    อันตรายได้ และจะมีความสุขสวัสดีตลอดกาลนาน และยังจัดให้คาถาพระอิติปิโส 8 ทิศ บทเรียกฝนแสนห่า เป็นคาถาภาวนา
    ประจำพระอังคาร คือคาถา " ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง "




    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffecd9>ทิศทักษิณ

    ..............ระอรหันต์ประจำทิศ ได้แก่ พระสารีบุตร ซึ่งเป็นเอตทัคคะ ผู้เลิศทางปัญญา แม้นกำเม็ดทราย 1 กำมือ ก็สามารถนับ
    ได้ ถ้าผู้ใดอยากมีปัญญาเฉลียวฉลาด มีวาจาอ่อนหวานไพเราะ บริสุทธิ์ ก็ให้บูชาพระพุธ ซึ่งชุบมาจากคชสาร
    ตามคติทางพระพุทธศาสนา จัดให้พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เป็นพระประจำวันพุธ (กลางวัน) และจัดให้สวดบทขัด
    พระปริตบทสัพพาสี เป็นคาถาสวดประจำสำหรับวันพุธ โดยสวด 17 จบ เพื่อบูชาพระปางอุ้มบาตร เพื่อช่วยให้เกิดโชคลาภ
    คุ้มภัยอันตรายได้ และจะมีความสุขสวัสดียิ่งๆ ขึ้นไป และยังจัดให้คาถาพระอิติปิโส 8 ทิศ บทนารายณ์เกลื่อนสมุทร เป็นคาถา
    ประจำพระพุธด้วย คือ " ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท "

    ทิศหรดี

    ..............พระอรหันต์ประจำทิศ คือ พระอุบาลี ซึ่งเป็นเอตทัคคะในด้านการทรงพระวินัย เปรียบอยู่ในกฏระเบียบ ซึ่งถ้าผู้ใดต้อง
    การให้บุตรหลานอยู่ในระเบียบวินัยไม่หลงมัวเมาในอบายมุข ก็ควรบูชาพระเสาร์
    ตามคติของพระพุทธศาสนา จัดให้พระพุทธรูปนั่งปางนาคปรก และจัดคาถายะโตหัง เป็นคาถาบทสวดสำหรับพระ
    เสาร์ โดยสวด 10 จบ ตามกำลังวัน บูชาพระนาคปรกเพื่อจะได้ช่วยคุ้มกันอันตรายต่างๆ ช่วยให้เกิดโชคลาภ จะมีความสุข
    ความเจริญ และเกิดความสวัสดี มีมงคลตลอดกาลนานและยังให้บทสวดพระคาถาอิติปิโส 8 ทิศ บทนารายณ์คลายจักร เป็น
    คาถาประจำพระเสาร์อีกด้วยคือ " โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ "




    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffecd9>ทิศปัจจิม

    ...............พระอรหันต์ประจำทิศ คือพระอานนท์ ซึ่งเป็นพุทธอุปัฐาก เลขาส่วนตัวของพระพุทธเจ้า ดูแลทุกอย่าง ตั้งแต่ก่อนตื่น
    นอนและหลังจำวัด แม้ว่าพระพุทธองค์ไปแสดงธรรมเทศนาที่ใด ถ้าพระอานนท์ไม่ได้ไป จะต้องกลับมาแสดงธรรมให้พระ
    อานนท์ฟังโดยเฉพาะอีกครั้ง ผู้ใดอยากให้บุตรหลาน ฉลาด รอบรู้ หูตากว้างไกลก็ควรบูชาพระพฤหัส พระพฤหัสชุบมาจาก
    ฤาษี 19 ตน ซึ่งมีความฉลาด หลักแหลม ปัญญา ดี รอบรู้
    ตามคติของพระพุทธศาสนา จัดให้พระพุทธรูปปางสมาธิ เป็นพระพุทธรูปประจำวันพฤหัส และจัดให้สวดคาถา
    บทขัดพระปริตบทปุเรนตัมโพ โดยสวด 19 จบ ตามกำลังวันบูชาพระปางสมาธิ เพื่อจะช่วยคุ้มอันตรายต่างๆ และช่วยให้
    เกิดโชคลาภด้วย มีความสุขความเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป และยังให้พระสวดพระคาถาอิติปิโส 8 ทิศ บทนารายณ์ขว้างจักร
    ตรึงไตรภพ เป็นคาถาประจำวันพฤหัสบดีด้วยคือ " ภะ สัม มัม วิ สะ เท ภะ "

    ทิศพายัพ

    ..............พระอรหันต์ประจำทิศ คือ พระควัมปติ หรือพระสิวลี ซึ่งเป็นเอตทัคคะเลิศกว่าพระภิกษุทั้งหลายในเรื่องโชคลาภ ซึ่ง
    ตรงกับ นพเคราะห์คือ พระราหูซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งขุมทรัพย์ทั้งหลายทั้งปวง มีอำนาจบารมีเป็นที่เกรงกลัว ผู้ใดอยากให้บุตร
    หลานมีโชคลาภ บารมีต้องบูชาพระราหู ให้คอยปกปักรักษา
    ตามคติทางพระพุทธศาสนา ได้จัดให้พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ เป็นพระปางประจำราหู และกำหนดบทสวด บท
    กินนุ สัน ตะ ระมาโน วะ เป็นบทสวดประจำวันพุธกลางคืน ควรสวด 12 จบ ตามกำลังวัน เพื่อบูชาพระปางป่าเลไลยก์ เพื่อ
    คุ้มภัยให้สิ่งร้ายกลายเป็นดีและจะมีความสุขสวัสดี และได้จัดพระคาถาอิติปิโส 8 ทิศ บทนารายณ์พลิกแผ่นดินเป็นคาถาประจำ
    ราหู คือ " คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ "




    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffecd9>ทิศอุดร

    .............ตรงกับพระอรหันต์ประจำทิศ คือ พระโมคคัลลา ซึ่งเป็นเอตทัคคะในเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ตรงกับนพเคราะห์คือ
    พระศุกร์ ผู้ใดอยากให้มีกิจการการค้ารุ่งเรือง ซื้อง่ายขายคล่อง พูดเป็นเงินเป็นทอง มีความสุขสบายในครอบครัวก็ควรบูชา
    พระศุกร์
    ตามคติทางพระพุทธศาสนา ได้จัดให้พระพุทธรูปยืนปางทรงรำพึง พระหัตถ์ทั้งสองวางทับกันที่หน้าอก เป็นพระ
    ประจำวันศุกร์และได้จัดคาถาบทขัดธชัคคสูตร เป็นบทสวดประจำพระศุกร์ โดยสวด 21 จบ ตามกำลังวันเพื่อช่วยให้เกิดโชค
    ลาภ คุ้มกันภัยอันตรายใดๆ จะมีความสุขสวัสดีตลอดกาลนาน และยังได้จัดพระคาถาอิติปิโส 8 ทิศ บทตวาดฟ้าป่าหิมพานต์
    เป็นคาถาประจำวันศุกร์ คือ " วา โธ โน อะ มะ มะ วา "

    ทิศอีสาน

    ...............ตรงกับพระอรหันต์ คือ พระราหุล ซึ่งเป็นเอตทัคคะในเรื่องของการศึกษา ใคร่ต่อการศึกษาเรียนรู้ ตรงกับนพเคราะห์
    คือพระอาทิตย์ ซึ่งชุบมาจากราชสีห์ผู้ใดอยากให้บุตรหลานมีปัญญาเฉียบแหลม สติปัญญาเป็นเลิศ มีฤทธิ์ มียศ ชื่อเสียงก็ควร
    จะบูชาพระอาทิตย์ และจัดให้พระปริตบทโมรปริต เป็นคาถาสวดสำหรับพระอาทิตย์ ควรสวด 6 จบ ตามกำลังวัน เพื่อให้เกิด
    โชคลาภ คุ้มภัยอันตราย จะมีความเจริญรุ่งเรืองและความสุขสวัสดีตลอดกาล และยังได้จัดเอาคาถาพระอิติปิโส 8 ทิศ บท
    นารายณ์แปลงรูปเป็นคาถาภาวนาสำหรับพระอาทิตย์ด้วยคือ " อะ วิ สุ นุต สา นุ ติ "




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    พระมหากัจจายนะเถระ
    http://www.dhammathai.org/monk/monk33.php

    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระมหากัจจายนะ เป็นบุตรของพราหมณ์ ชื่อว่า กัญจนะ กัจจานโคตร หรือกัจจายนโคตร ปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนี เมื่อเจริญวัยขึ้นแล้วเรียนจบไตรเพท เมื่อบิดาเสียชีวิตแล้ว ได้รับตำแหน่งปุโรหิตแทนบิดา
    ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าจัณฑปัชโชตได้ทรงทราบว่า สมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้แล้ว เสด็จเที่ยวสั่งสอนประชาชนอยู่ ธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอนนั้น เป็นธรรมที่แท้จริง ยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่ผู้ประพฤติปฏิบัติตาม มีพระประสงค์จะทูลเชิญสมเด็จพระบรมศาสดาไปประกาศพระศาสนา ยังกรุงอุชเชนี จึงตรัสสั่งกัจจายนปุโรหิตซึ่งเป็นผู้มีความรู้เรียนจบไตรเพทไปทูลเชิญเสด็จ กัจจายนปุโรหิตทูลลาจะบวชด้วย ครั้นได้รับ พระบรมราชานุญาตแล้ว จึงออกจากกรุงอุชเชนีพร้อมด้วยบริวารทั้ง ๗ คน ครั้นมาถึงที่ประทับพระบรมศาสดาแล้ว พากันเข้าไปเฝ้า พระพุทธองค์ ตรัสเทศนาสั่งสอน ในเวลาจบเทศนาทั้งหมดได้บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมกัน แล้วจึงทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา ครั้นได้อุปสมบทแล้วจึงทูลเชิญอาราธนาพระบรมศาสดาเสด็จไปยังกรุงอุชเชนี ตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต พระบรมศาสดา ทรงรับสั่งว่าเธอไปเองเถิด เมื่อเธอไปแล้วพระเจ้าจัณฑปัชโชตจักทรงเลื่อมใส ท่านพระมหากัจจายนะพร้อมด้วยบริวารทั้งเจ็ดองค์กราบถวายบังคมลา สมเด็จพระบรมศาสดากลับไปสู่กรุงอุชเชนี ประกาศพระพุทธศฤาสนาให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวพระนครเลื่อมใสแล้วจึงกลับมาสู่สำนักของพระบรมศาสดา
    ท่านพระมหากัจจายนะ เป็นผู้ฉลาดในการอธิบายความแห่งคำย่อให้พิสดาร เช่นในครั้งหนึ่งสมเด็จพระบรมศาสดาทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตรโดยย่อมีใจความว่า "ผู้มีปัญญาไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรจะมุ่งหมายสิ่งที่ยังไม่มาถึง เพราะว่าสิ่งใดที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละเสียแล้ว สิ่งใดยังมาไม่ถึง สิ่งนั้นก็ยังไม่ได้ไม่ถึง ผู้ใดเห็นแจ้งธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้าในที่นั้น ๆ ในกาลนั้น ๆ ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ครั้รู้ธรรมนั้นแล้ว พึงให้ธรรมนั้นเจริญเนือง ๆ ความเพียรควรทำเสียในวันนี้แล ใครเล่าจะพึงรู้ว่าความตายจักมีต่อพรุ่งนี้ เพราะว่าความผิดเพี้ยนต่อมัจจุราชที่มีเสนาใหญ่ไม่มีเลย ผู้รู้ที่เป็นคนสงบระงับ ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาท อย่างนี้ชื่อว่าผู้มีราตรีเดียวเจริญ" ครั้นตรัสอย่างนี้แล้วเสด็จลุกเข้าสู่วิหารที่ประทับ ภิกษุทั้งหลายไม่ได้โอกาสที่จะทูลถามเนื้อความที่พระองค์ตรัสโดยย่อให้เข้าใจกว้างขวาง เห็นความสามารถของท่านพระมหากัจจายนะจึงได้อาราธนาขอให้ท่านอธฤบายให้ฟัง ท่านก็อธิบายให้ฟังโดยพิสดารว่า "ท่านผู้มีอายุ เราเข้าใจเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อ ตามความพิสดารว่า เมื่อบุคคลคิดว่าในกาลล่วงแล้ว ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ใจกับอารมณ์ที่เกิดกับใจของเรามีแล้วอย่างนั้น ความกำหนัดพอใจในสิ่งเหล่านั้นก็ผูกพันวิญญาณ เพราะวิญญาณอันความกำหนัดพอใจผูกพันแล้ว ผู้นั้นก็เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่าไม่ตามคิดถึงเรื่องที่ล่วงแล้ว บุคคลตั้งจิตไว้เพื่อหมายจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วว่า ในกาลไกลข้างหน้า นัยน์ตากับรูป เป็นต้น ของเราจักเป็นอย่างนี้ เพราะความตั้งจิตอย่างนั้นเป็นปัจจัยผู้นั้นก็เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ ผู้ที่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่ามุ่งหมายสิ่งที่ยังมาไม่ถึง บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะหมายได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วอย่างนั้น ก็ไม่เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ ผู้ไม่เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่าไม่มุ่งหมายสิ่งที่ยังมาไม่ถึงแล้ว นัยน์ตากับรูปอย่างละ ๒ อันใดเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ถ้าว่าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ผูกพันวิญญาณได้แล้ว บุคคลก็เพลิดเพลินกับสิ่งนั้น ๆ ผู้เพลิดเพลินกับสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่าง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ถ้าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ไม่ผูกพันวิญญาณได้ บุคคลก็ไมาเพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ท่านผู้มีอายุเราเข้าใจเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อตามความพิสดารอย่างนี้ ถ้าท่านทั้งหลายประสงค์ก็จงเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดากราบทูลถามเนื้อความนั้นเถิด พระองค์ทรงเล่าอย่างไร ก็จงจำไว้อย่างนั้นเถิด" ภิกษุเหล่านั้นลาท่านพระมหากัจจายนะกลับมา แล้วเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา กราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญพระมหากัจจายนะว่า" ภิกษุทั้งหลาย กัจจายนะเป็นคนมีปัญญา ถ้าพวกเฮถามเนื้อความนั้นกับเรา แม้เราก็คงแก้เหมือนอย่างที่กัจจายนะแก้แล้วอย่างนั้น เนื่อความแห่งธรรมที่เราแสดงแล้วโดยย่อนั้นเป็นอย่างนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงจำไว้เถิดไ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า "เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้อธิบายเนื้อความโดยย่อให้พิสดาร"
    ท่านพระมหากัจจายนะ ได้ทูลขอให้พระพุทธองค์ทรงแก้ไขพระพุทธบัญญัติบางข้อซึ่งขัดต่อภูมิประเทศ เช่นเมื่อท่านพำนักอยู่ ณ ภูเขาชื่อว่า ปวัตตะ แขวงเมืองกุรุรฆระ ในอวันตีทักขิณาปถชนบท อุบาสกผู้เป็นอุปัฏฐากของท่านคนหนึ่ง ชื่อว่า โสณกุฏิกัณณะมีความประสงค์จะบวชในพระธรรมวินัย แต่ก็ได้เพียงบรรพชา (บวชเป็นสามเณร) เท่านั้น โดยล่วงไปสามปีแล้วจึงได้อุปสมบท เพราะในอวันตีทักขิณาปถชนบทหาภิกษุสงฆ์เป็นคณปูรกะ (๑๐ รูปขึ้นไป) ไม่ได้ เมื่อโสณกุฏิกัณณกะได้อุปสมบทแล้วมีความปรารถนาจะไปเฝ้าพระบรมศาสดา จึงไปลาท่านพระมหากัจจายนะผู้เป็นอุปัชฌาย์ ท่านก็อนุญาต และสั่งให้ไปถวายบังคมพระบาทพระบรมศาสดาด้วยเศียรเกล้าตามคำขอของท่าน แล้วให้กราบทูลขอให้พระองค์ ทรงแก้ไขพระพุทธบัญญัติซึ่งขัดต่ออวันตีทักขิณาปถชนบท ๕ ข้อ คือ
    ๑. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีภิกษุน้อย ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยภิกษุน้อยกว่า ๑๐ รูป ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอุปสมบทในปัจจันตชนบท ด้วยสงฆ์มีพระวินัยธรเป็นที่ ๕ (ด้วยสงฆ์ ๕ รูป)"
    ๒. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีพื้นที่ขรุขระไม่สม่ำเสมอ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตรองเท้าเป็นชั้น ๆ ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรองเท้าเป็นชั้น ๆ ในปัจจันตชนบท"
    ๓. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท พวกมนุษย์ต้องอาบน้ำทุกวัน ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตการอาบน้ำเป็นนิตย์ ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์ในปัจจันตชนบท" (ในมัชฌิมประเทศ คือในเมือง ๑๕ วันภิกษุอาบน้ำได้ครั้งหนึ่ง)
    ๔. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีเครื่องลาด (ที่ปูนั่ง) ที่ทำด้วยหนังสัตว์ มีหนังแพะ หนังแกะ เป็นต้น บริบูรณ์ดีเหมือนมัชฌิมชนบท ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตเครื่องลาดทำด้วย หนังสัตว์ มีหนังแพะ หนังแกะ เป็นต้น ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ มีหนังแพะ หนังแกะ เป็นต้น"
    ๕. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีภิกษุน้อย มนุษย์ทั้งหลายย่อมถวายจีวรแก่ภิกษุผู้จาริกไปภายนอกสีมาด้วยคำว่า พวกข้าพเจ้าถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้ เมื่อพวกเธอกลับมาแล้ว พวกภิกษุในวัดแจ้งความให้พวกเธอทราบ พวกเธอรังเกียจไม่ยินดีรับ ด้วยเข้าใจว่าผ้าผืนนั้นเป็นนิสสัคคียะ (ผิดวินัยจำต้องสละ เพราะล่วงเวลา ๑๐ วันแล้ว) ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสบอกการปฏิบัติในจีวรเช่นนั้น ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อให้ภิกษุยินดีรับจีวรที่ทายกถวาย ลับหลังนั้นได้ ผ้ายังไม่ถึงมือตราบใด จะนับว่าเธอเป็ฤนผู้มีสิทธิ์ในผ้านั้นเต็มที่ยังไม่ได้ตราบนั้น"
    ท่านพระมหากัจจายนะนั้นเป็นผู้มีรูปงาม มีผิวเหลืองดุจทอง มีเรื่องเล่าในอรรถกถาธรรมบทว่า บุตรเศรษฐีมีชื่อว่า โสเรยยะ ในโสเรยยนคร เห็นท่านแล้วนึกในใจว่า ถ้าเราได้ภรรยาที่มีรูปร่างงดงามอย่างท่านพระมหากัจจายนะจักเป็นที่พอใจยิ่ง ด้วยอำนาจอกุศลจิตเพียงเท่านี้เพศชายแห่งโสเรยยเศรษฐีบุตรนั้นกลับเป็นเพศสตรี ได้รับความอับอายเป็นอย่างยิ่งจึงหนีไปอยู่เมืองอื่นจนกระทั่งได้สามีมีบุตรด้วยกันสองคน ภายหลังได้ไปขอขมาให้ท่านพระมหากัจจายนะยกโทษแล้วเพศจึงกลับเป็นบุรุษอีกตามเดิม
    ตามความในมธุรสูตร ท่านอยู่มาถึงภายหลังแต่การปรินิพพาน แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังมีใจความว่า ครั้งหนึ่งพระมหากัจจายนอยู่ที่คุนธาวัน แขวงมธุรราชธานี พระเจ้ามธุรราชธานีอวันตีบุตรเสด็จไปหา ได้ตรัสถามว่า "พวกพราหมณ์ถือว่าพวกเขาเป็นผู้ประเสริฐ บริสุทธิ์ เกิดจากพรหม ท่านเข้าใจว่าอย่างไร" พระมหากัจจายนะทูลตอบว่า "นั้นเป็นแต่คำอ้างของเขา" ท่านชักอุทาหรณ์มาแสดงเป็นข้อ ๆ ที่วรรณะ ๔ เหล่านั้นไม่ต่างอะไรกัน ดังนี้
    ๑. ในวรรณะ ๔ เหล่า วรรณะเหล่าใดเป็นผู้มั่งคั่ง วรรณะเดียวกันและวรรณะอื่นย่อมเข้าเป็นสาวกของวรรณะนั้น
    ๒. วรรณะใดประพฤติอกุศลกรรมบถ เบื้องหน้าแต่มรณะ วรรณะนั้นย่อมเข้าสู่อบายเสมอกันหมด ไม่มีพิเศษ
    ๓. วรรณะใดประพฤติกุศลกรรมบถ เบื้องหน้าแต่มรณะ วรรณะนั้นย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เหมือนกันหมด
    ๔. วรรณะใดทำโจรกรรม ปรทาริกกรรม (การประพฤติล่วงเมียคนอื่น) วรรณะนั้นต้องรับอาญาเหมือนกันหมด ไม่มียกเว้น
    ๕. วรรณใดออกบวช ตั้งอยู่ในศีลในธรรม วรรณะนั้นย่อมได้รับความนับถือ ได้รับบำรุงและรับคุ้มครองรักษาเสมอกันหมด
    ครั้นพระเจ้ามธุรราชได้สดับแล้ว ก็เกิดความเลื่อมใส แสดงพระองค์เป็นอุบาสก ถึงพระเถรเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ พระมหากัจจายนะทูลห้ามว่า อย่าถึงตัวของอาตมภาพเป็นสรณะเลย จงถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นสรณะของอาตมภาพเป็นสรณะเถิด พระเจ้ามธุรราชตรัสถามว่า เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหน ท่านทูลให้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว พระเจ้ามธุรราชตรัสว่า ถ้าพระองค์ทรงทราบพระผู้ทีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่ใด แม้จะไกลักเพียงใดก็ตาม พระองค์จักเสด็จไปเฝ้าให้จงได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานเสียแล้ว ข้าพระองค์ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานแล้ว กับพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ข้อนี้ชี้ให้เห็นว่าท่านพระมหากัจจายนะ อยู่มาถึงภายหลังแต่พุทธปรินิพพาน ท่านดำรงชนมายุสังขารโดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    วันนี้ ผม,ผบทบ.และสองครอบครัว อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระปัจเจกพุทธเจ้า ไปถวายพระอาจารย์รูปหนึ่ง จำนวน 2 พระองค์ เพื่อไปประดิษฐานทางภาคเหนือ 2 แห่ง ขอเชิญมาโมทนาบุญร่วมกันครับ

    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    วันนี้ผมได้รับพระบรมสารีริกธาตุ สันฐานต่างๆ พอสมควร และรับพระธาตุพระอรหันต์ 10 พระองค์ ( 9 พระองค์ตามโพสด้านบน) ส่วนอีกพระองค์คือ พระอุปคุตเถระเจ้า

    อีกทั้งได้รับพระธาตุข้าวบิณฑ์ ,พระธาตุอื่นๆ และข้าวสารหิน

    กราบ กราบ กราบ กราบ กราบ
    sithiphong

    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    สำรับคนบางพวก บางกลุ่ม พวกบัวใต้น้ำ ไม่มีวันที่จะได้พระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามสมณโคดม ,พระบรมสารีริกธาตุ พระปัจเจกพุทธเจ้า ,พระอรหันต์พระองค์ต่างๆ แน่นอน

    ดังนั้น ขอให้ชาววังหน้า จงภาคภูมิใจว่า เราดีมากพอ เรามีวาสนาและบารมีมากพอที่ได้มีโอกาสพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามสมณโคดม ,พระบรมสารีริกธาตุ พระปัจเจกพุทธเจ้า ,พระอรหันต์พระองค์ต่างๆ ที่บ้านเราเองครับ

    และคิดตรรกะง่ายๆก็พอ ไม่ต้องคิดมาก คิดเยอะนะครับ ลองคิดดูนะครับท่านผู้อ่านทุกๆท่าน

    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    พี่ที่ท่านได้มอบพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามสมณโคดม และพระธาตุพระอรหันต์ ถามผมว่า ทำไมไม่นำรูปพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามสมณโคดม ลงในเว็บเพื่อให้ได้สักการะกัน ผมตอบว่า มีปัจจัยหลายประการ(ขอสงวนสิทธิ์ไม่แจ้ง) ที่ไม่ได้นำมาลง แต่ผมจะถ่ายรูปและนำมาลงให้สักการะกันอีกครั้งนะครับ

    ขอบพระคุณพี่ท่านนี้มากครับ

    .
     
  13. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    5555555 อาจจะกังวลใจว่าเวลาไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัดไหน แล้วจะรู้สึกร้อนผิดปกติเพราะพระคาถาบทนี้ สงวนสิทธิ์ไว้สำหรับคณะศิษย์หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรที่ได้รับเมตตาจากอาจารย์ปู่ประถมกันนะครับ...
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    วันนี้ได้มีโอกาสไปสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งมีการนำวัตถุมงคลที่เรียกว่า กรุวัดพระแก้ว มาขาย ซึ่งผู้ขายได้บอกว่า เป็นพระเครื่องของวังหน้า ซึ่งในความเป็นจริงเท่าที่เห็นจะเป็นพระพิมพ์ในปี พ.ศ.2451 ซึ่งมีการประดับพลอยต่างๆ

    เดี่ยวนี้ต้องยัดเป็นวังหน้า อย่าไปทำเช่นนั้นเลย ต้องนึกถึงพระคุณของช่างสิบหมู่แห่งวังหลวง และช่างราษฎร์ที่หลายๆท่านได้เหน็ดเหนื่อยกับการสร้างพระพิมพ์และวัตถุมงคลต่างๆนะครับ

    --------------------------------

    ได้ทราบต่อมาว่า มีผู้ที่มาบูชา(ซื้อ)หลายคนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติที่มาบูชา(ซื้อ)ไป และได้ถูกนำออกไปนอกประเทศเป็นจำนวนมาก

    น่าเสียดายที่คนไทยไม่เห็นคุณค่า แต่คนต่างชาติกลับเห็นคุณค่าและนำออกไปสู่ต่างประเทศครับ

    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    ก็อย่างที่เคยบอกกันไงว่า คนไทยไม่เห็นค่า คนฝรั่งเขาศึกษาประวัติศาสตร์ไทย และดูของเป็นว่าอันไหนเก่า หรือไม่เก่า อย่างที่ผมไปพบ"บังเทียน"ของวังหลวงที่ร้านขายของชำร่วยในโรงแรมในตัวเมืองเชียงใหม่ อันละ ๒๘,๐๐๐ บาท..ไปเมืองนอกก็อีกราคาไม่น่าตำกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาทต่อ ๑ ด้ามครับ ลอง zoom ดูกันเองนะครับว่า เขารู้ว่า ของชิ้นนี้คืออะไร จากคำว่า ...candle.. คนไทยส่วนมากไม่รู้ ไม่เคยเห็น..น่าอายไม๊

    อีกหน่อยถ้าจะดูของต้องตีตั๋วนั่งเครื่องบินไปดูที่เมืองนอกกัน หึ..หึ..
    [​IMG] [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    เรากว่าจะรู้อะไรว่าเป็นอะไรก็สายไปมากๆแล้ว อย่างพระบรมธาตุเขาสามร้อยยอด ชาวไต้หวันเดินทางสั่งการให้ขนใส่ container บรรทุกไปไต้หวัน มากกว่า ๑๐๐ ตัน ยังไม่รู้เรื่องกันเลย ไปถึงที่นั่น ราคาเพิ่มขึ้น ๑,๐๐๐ เท่าประเทศนี้เขาเชื่อในเรื่องศาสตร์แห่งฮวงจุ้ย มีพระอาจารย์เก่งๆดูกระแสบารมีของพระพุทธเจ้าว่าเสด็จมาปรากฎที่แถบนี้ จนเห็นเป็นจริงจัง เดินทางมาสำรวจ และก็ขนไปจำนวนมากดังกล่าว ภายหลังทางอุทยานแห่งชาติก็ห้ามการตัดหินพระบรมธาตุ แต่ก็ห้ามไม่สนิทปาก เพราะเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านแถบนั้นทั้งหมด แถมในเวปนี้ก็มีการตั้งกระทู้ซื้อขายกันโต้งๆแบบนี้ จะเหลือหรือ??...
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ไว้ผมจะถ่ายรูป บังเทียน ที่อยู่ที่บ้านผม นำมาให้ดูกันครับ แต่รูปอาจจะไม่ชัดมากนัก เนื่องจากกล้องในมือถือไม่ค่อยดีครับ

    .
     
  15. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ลงภาพบังเทียนให้เห็นกันจะๆแบบนี้ เผื่อจะไปเดินหา เดินถามคนขายว่ามีหรือไม่กันหรือเปล่า..หุ..หุ...ยังมีอีกมากที่ยังไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเห็นกัน ความจริงวันที่ถ่ายทอดพิธีครองราชย์ครบ ๖๐ ปีของในหลวง เราก็เคยเห็นพระบรมวงศานุวงศ์ทรงใช้กันแล้วนะครับ เพียงแต่คนไม่มี ไม่เคยเห็นก็ไม่รู้จัก คนที่มีเขาก็รู้ เห็นแว๊บแรก เขาก็รู้แล้ว.....
     
  16. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    <CENTER>พระราชปุจฉากับพระพรหมมุนี ในขณะทรงพระผนวช
    พระราชปุจฉา
    พระราชปุจฉากับพระพรหมมุนี ในขณะทรงพระผนวช
    เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม และวันที่ ๓๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙
    </CENTER>


    *พระราชปุจฉาที่ ๑
    ทำไมจึงเรียกพระองค์ว่า "พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"

    *พระพรหมมุนียถวายวิสัชนา...ความว่า
    ทางธรรมะเรียกว่า สมมติซ้อนสมมติ สัจจะซ้อนสัจจะ ความเป็นพระเจ้าแผ่นดินก็เป็น
    สมมติอย่างหนึ่ง เรียกว่า สมมติเทพ ความเป็นภิกษุก็เป็นสมมิตอย่างหนึ่งซ้อนขึ้นใน
    สมมติเทพ ในการเช่นนี้ผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัติให้เหมาะสมกับสมมตินั้นๆ เช่น
    เมื่อได้รับสมมติเป็นพระภิกษุแล้ว ก็ต้องปฏิบัติตามสิกขาบทของพระภิกษุ
    โดยเคร่งครัดจักปฏิบัติแต่หน้าที่สมมติเทพอย่างเดียวไม่ได้ แต่ถ้าหน้าที่ของ
    สมมติเทพไม่ขัดกับสิกขาบทวินัยก็อาศัยได้...

    *พระราชปุจฉาที่ ๒
    ทำไมบางคนสร้างกรรมในชาติไว้มากจึงไม่ได้รับผลของกรรมนั้น
    กลับเจริญมีความสุขอยู่ได้

    *พระพรหมมุนีถวายวิสัชนา...ความว่า
    ที่เขายังมีความเจริญและความสุขอยู่ ก็เพราะกรรมชั่วที่ทำนั้นยังไม่ให้ผล
    ถึงกระนั้นบุคคลผู้ทำกรรมชั่วย่อมจะได้รับความเดือดร้อนในใจภายหลัง
    ที่เรียกว่า "วิปฏิสาร" บางกรณีก็อาศัยผลของกรรมที่สร้างแต่บางก่อน...

    *พระราชปุจฉาที่ ๓
    ทำอย่างไรจะระลึกได้ซึ่งชาติก่อนและชาติหน้า

    *พระพรหมมุนีถวายวิสัชนา...ความว่า
    จะต้องบำเพ็ญตนเองให้สูงขึ้นในการปฏิบัติธรรมและอบรมจิตใจของตนเอง
    ให้สูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นลำดับ เช่น เด็กๆ ระลึกหรือจำวันก่อนไปไม่ได้
    ครั้นเจริญวัยก็จำเหตุการณ์ได้บ้าง และเห็นกาลในอนาคตบ้าง
    เมื่อเจริญเต็มที่แล้วก็เห็นทั้งเหตุในอดีต และอนาคตอันไกล

    *พระราชปุจฉาที่ ๔
    การที่มีคนป่าวข่าวทำให้เสียชื่อเสียงและอาจได้รับผลสะท้อนถึงฐานะครอบครัว
    ตลอดจนญาติพี่น้องตระกูล สมควรที่สมณเพศและคฤหัสถ์จะปฏิบัติตนเช่นไร

    *พระพรหมมุนีถวายวิสัชนา...ความว่า
    ทางสมณเพศ จงกระทำความดีต่อไป ความจริงย่อมหนีความจริงไม่พ้น
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ประทานโอวาสให้แก้ตัว เช่น พระภิกษุถูกใส่ความ
    ก็มีโอกาสแก้ตัวได้ ทางด้านคฤหัสถ์ถ้าจะฟ้องร้องขอความเป็นธรรมจากศาล
    ก็ไม่ผิด แต่ถ้าตั้งใจปฏิบัติชอบต่อไปโดยไม่สะทกสะท้านต่อการใส่ความ
    นานเข้าก็คงมีคนเห็นความดีความชอบเรา จะถือเป็นกรรมก็ได้
    เป็นเรื่องของสังขาร ส่วนเหตุคือ คนอื่นปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราว​


    คัดลอกจากหนังสือ ในหลวงในรอยธรรม โดย ดนัย จันทร์เจ้าฉาย
     
  17. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ก่อนจะหมดเดือนของแม่ ..

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>



    <CENTER>แม่คือพระของเรา </CENTER>




    แม่...เป็นคำที่มนุษย์เปล่งเสียงได้เป็นครั้งแรก
    ถือกันว่าแม่เป็นพรหม เป็นบูรพาจารย์ของลูก
    และมีอุปการะคุณต่อบุตรเป็นอเนกประการ
    ...คนทั่วไปพยายามจะเดินทางไปในที่ต่างๆ
    เพื่อเสาะแสวงหาพระดีๆที่จะไปทำบุญกับท่าน
    ...............ที่ไหนว่าศักดิ์สิทธิ์ก็ไปกัน..........
    ...แต่ทั้งที่เรามีพระประจำตัวอยู่ใกล้เรา
    ....คือ...."มารดา" กลับมองไม่เห็น
    พระที่อยู่กับเราเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์และประเสริฐที่สุด
    ...............ขอให้ทุกคนเร่งสร้างกุศลต่อท่าน........
    และคำนึงอยู่เสมอว่า แม่คือพระของเรา...
    ...............ชีวิตก็จะมีสุข.............
    กว่าการดั้นด้นไปหาพระศักดิ์สิทธิ์ที่ไหนๆ

    ....ความรักของแม่...
    รักใดเล่ารักแน่เท่าแม่รัก
    ผูกสมัครลูกมั่นไม่หวั่นไหว
    ห่วงใดเล่าเท่าห่วงดังดวงใจ
    ที่แม่ให้กับลูกอยู่ทุกครา
    ยามลูกขื่นแม่ขมตรมหลายเท่า
    ยามลูกเศร้าแม่โศกวิโยคกว่า
    ยามลูกหายแม่ห่วงดังดวงตา
    ยามลูกมาแม่หมดลดห่วงใย
    ยามมีกิจหวังให้เจ้าเฝ้ารับใช้
    ยามป่วยไข้หวังให้เจ้าเฝ้ารักษา
    ยามถึงคราวล่วงลับดับชีวา
    หวังให้เจ้าเฝ้าปิดตาเมื่อสิ้นใจ...

    (..จากหนังสือ..วิวาห์พระสมุทร พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ในพระธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยทั่วกันตลอดกาลทุกเมื่อ​
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    วันนี้ได้มีโอกาสไปสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งมีการนำวัตถุมงคลที่เรียกว่า กรุวัดพระแก้ว มาขาย ซึ่งผู้ขายได้บอกว่า เป็นพระเครื่องของวังหน้า ซึ่งในความเป็นจริงเท่าที่เห็นจะเป็นพระพิมพ์ในปี พ.ศ.2451 ซึ่งมีการประดับพลอยต่างๆ

    เดี่ยวนี้ต้องยัดเป็นวังหน้า อย่าไปทำเช่นนั้นเลย ต้องนึกถึงพระคุณของช่างสิบหมู่แห่งวังหลวง และช่างราษฎร์ที่หลายๆท่านได้เหน็ดเหนื่อยกับการสร้างพระพิมพ์และวัตถุมงคลต่างๆนะครับ

    --------------------------------

    ได้ทราบต่อมาว่า มีผู้ที่มาบูชา(ซื้อ)หลายคนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติที่มาบูชา(ซื้อ)ไป และได้ถูกนำออกไปนอกประเทศเป็นจำนวนมาก

    น่าเสียดายที่คนไทยไม่เห็นคุณค่า แต่คนต่างชาติกลับเห็นคุณค่าและนำออกไปสู่ต่างประเทศครับ

    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    ก็อย่างที่เคยบอกกันไงว่า คนไทยไม่เห็นค่า คนฝรั่งเขาศึกษาประวัติศาสตร์ไทย และดูของเป็นว่าอันไหนเก่า หรือไม่เก่า อย่างที่ผมไปพบ"บังเทียน"ของวังหลวงที่ร้านขายของชำร่วยในโรงแรมในตัวเมืองเชียงใหม่ อันละ ๒๘,๐๐๐ บาท..ไปเมืองนอกก็อีกราคาไม่น่าตำกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาทต่อ ๑ ด้ามครับ ลอง zoom ดูกันเองนะครับว่า เขารู้ว่า ของชิ้นนี้คืออะไร จากคำว่า ...candle.. คนไทยส่วนมากไม่รู้ ไม่เคยเห็น..น่าอายไม๊

    อีกหน่อยถ้าจะดูของต้องตีตั๋วนั่งเครื่องบินไปดูที่เมืองนอกกัน หึ..หึ..
    [​IMG] [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    เรากว่าจะรู้อะไรว่าเป็นอะไรก็สายไปมากๆแล้ว อย่างพระบรมธาตุเขาสามร้อยยอด ชาวไต้หวันเดินทางสั่งการให้ขนใส่ container บรรทุกไปไต้หวัน มากกว่า ๑๐๐ ตัน ยังไม่รู้เรื่องกันเลย ไปถึงที่นั่น ราคาเพิ่มขึ้น ๑,๐๐๐ เท่าประเทศนี้เขาเชื่อในเรื่องศาสตร์แห่งฮวงจุ้ย มีพระอาจารย์เก่งๆดูกระแสบารมีของพระพุทธเจ้าว่าเสด็จมาปรากฎที่แถบนี้ จนเห็นเป็นจริงจัง เดินทางมาสำรวจ และก็ขนไปจำนวนมากดังกล่าว ภายหลังทางอุทยานแห่งชาติก็ห้ามการตัดหินพระบรมธาตุ แต่ก็ห้ามไม่สนิทปาก เพราะเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านแถบนั้นทั้งหมด แถมในเวปนี้ก็มีการตั้งกระทู้ซื้อขายกันโต้งๆแบบนี้ จะเหลือหรือ??...
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    ผมเสียดายครับ

    มีหลายสิ่งหลายอย่าง ที่ทราบมา แต่พูดมากไป ก็เป็นภัยกับตัวเช่นกัน เนื่องจากไม่มีหลักฐานเป็นรูปที่กำลังขนออกนอก ก็ลำบากครับ

    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    เหมือนกันครับ ในเมื่อคนในไม่นิยม ยังไม่ยอมรับ พระท่านก็ไม่อยากอยู่ สู้ไปอยู่กับชาวต่างประเทศที่เขาศรัทธาดีกว่า ใกล้เกลือกินด่างกันจริง ก็ต้องปล่อยไป หากผมมีเงินซักหมื่นล้าน รับรองไม่มีเล็ดไปอยู่ที่ไหน ลงอยู่กับผมไม่มีเล็ดครับ...
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ผมเคยนำไปให้ตรวจดูว่า ใช่หรือไม่ ปรากฎว่า บังเทียนที่ผมมีนั้น พระบรมวงศานุวงศ์เคยใช้มาก่อน ซึ่งท่านที่ตรวจให้ผม ยังบอกกับผมว่า พี่ไม่เอาไว้ เพราะเป็นของสูงที่พระบรมวงศานุวงศ์ใช้กัน แต่ผมก็บอกว่า ที่ผมเก็บไว้เนื่องจากไว้เป็นกรณีศึกษากันครับ

    .
     
  19. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    คุณหนุ่ม ผมขอ อยู่กับผม รับรองไม่มีเล็ด..
     
  20. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    การทำบุญในงานมงคล <O:p</O:p
    [​IMG] เมื่อกำหนดวัน แน่นอนแล้ว นิมนต์พระ โดยทั่วไป นิยมนิมนต์ ด้วยวาจา โดยใช้คำ นิมนต์ว่า นิมนต์พระคุณเจ้า (พร้อมด้วยพระสงฆ์กี่รูป) เจริญพระพุทธมนต์ แล้วรับบิณฑบาตเช้า หรือเพล (บอกเวลาเริ่มต้นด้วย) การนิมนต์พระ มาฉันภัตตาหาร นั้น อย่าระบุชื่อ อาหารเพราะ ผิดวินัยสงฆ์ พระฉันเป็นโทษ เพียงแต่บอกแค่ รับบิณฑบาต เท่านั้น [​IMG]<O:p</O:p
    การเตรียมสถานที่
    การจัดอาสนะการจัดอาสนะสงฆ์นั้น ต้องจัดให้สูง กว่าคฤหัสถ์ เช่น การปูเสื่อ ต้องใช้ชาย เสื่อผืนที่พระนั่ง ทับชาย เสื่อผืนอื่นๆ ขึ้นไป ตามลำดับ ถ้ามีอาสนะ นั่งเป็นองค์ๆ ก็ให้จัดห่าง กันพอสมควร ถ้าไม่มีจะใช้ ผ้าขาว หรือพรมปู รองเฉพาะ องค์อีกชั้นหนึ่ง ก็ได้[​IMG]<O:p</O:p
    [​IMG] การจัดตั้งเครื่องสักการะ โดยทั่วไป นิยมตั้งโต๊ะ หมู่บูชาอยู่ ทางขวามือ พระสงฆ์ เครื่องบูชา มีดอกไม้ เทียน ธูป ผ้าขาวปู รองสำหรับ กราบพระ<O:p</O:p
    การโยงสายสิญจน์ โยงเป็น ทักขิณาวัฏ เริ่มพระพุทธรูปก่อน แล้วเวียนไป รอบเคหะสถาน จากซ้ายไป ขวาตาม เข็มนาฬิกา แล้วมาบรรจบ กันที่พระพุทธรูป ตรงฐานพระ ต่อมาก็ วนภาชนะ น้ำมนต์ โดยเป็นทักขิณาวัฏ เช่นเดียวกัน แล้วม้วน สายสิญจน์ วางไว้บนพาน ที่สูงพอควร เพราะสายสิญจน์นี้ เป็นของสูง ผู้ใดจะใช้มือ หรือส่วนใด ของร่างกาย ข้ามไม่ได้
    <O:p[​IMG] [​IMG] [​IMG]</O:p
    ภาชนะสำหรับใส่น้ำมนต์ จะใช้บาตร หรือหม้อน้ำมนต์ หรือขันน้ำ พานรอง ทองเหลือง หรือขันเชิง รองอย่างใด อย่างหนึ่ง (ไม่ควรใช้ขัน เงิน หรือทอง เพราะเป็นวัตถุ อนามาสพระ จับต้องขัดกับ วินัยสงฆ์)<O:p</O:p
    เครื่องประกอบน้ำมนต์ เทียนขี้ผึ้งอย่างแท้ หนักหนึ่งบาท หนึ่งเล่ม ติดไว้ที่ ขอบขันน้ำมนต์ ให้แน่น ของ ที่จะใส่ ในบาตร น้ำมนต์ ตามความนิยม ของแต่ ละท้องที่ เช่น ใบเงิน ใบทอง ใบนาค เป็นต้น นอกนั้น ต้องเตรียม เครื่องประพรม น้ำมนต์ไว้ด้วย ส่วนมากนิยม ใช้หญ้าคา มัดเป็นกำ<O:p</O:p
    การจัดภาชนะ เครื่องใช้สำหรับพระ ถ้ามีมาก ก็จัดองค์ละที่ โดยตั้งทาง ขวามือพระ ถ้ามีน้อยก็จัด ๒ องค์ต่อที่ ส่วนถ้วยน้ำร้อน แก้วน้ำเย็น ต้องใช้องค์ละที่ ตั้งตามลำดับ ความจำเป็น ที่จะใช้คือ จากด้านหลัง มามี กระโถน กระดาษชำระ ภาชนะน้ำเย็น พานหมากพูลบุหรี่ (ปัจจุบันไม่นิยมจัดพานหมากพูลบุหรี่ถวายพระสงฆ์) ส่วนน้ำร้อน น้ำชา ประเคนภายหลัง<O:p</O:p
    การต้อนรับพระสงฆ์ เจ้าภาพจะต้อง คอยต้อนรับ หรือบุคคลที่เจ้าภาพเห็นควรเหมาะสมไว้คอยต้อนรับ พระสงฆ์จาก ประตูบ้าน ถ้าท่าน มิได้สวม รองเท้า มาต้อง ตักน้ำ ล้างเท้า ให้ท่าน แล้วใช้ผ้า แห้งเช็ดเท้าท่านด้วยเมื่อพระ นั่งอาสนะแล้ว ประเคนน้ำ และนั่งสนทนา กับท่าน <O:p</O:p
    [​IMG] เริ่มพิธี [​IMG]

    [​IMG] เจ้าภาพ จุดเทียน ธูป ถ้าเป็นงาน มงคลสมรส ให้คู่บ่าวสาว เป็นผู้จุด เมื่อจุดเทียน ธูป แล้วประเคนสายสิญจน์ กับพระเถระ ผู้เป็นประธาน
    <O:p[​IMG]</O:p
    พิธีกร หรือ เจ้าภาพ (กรณีงานมงคลสมรม ควรให้เจ้าบ่าว กล่าวคำนำ (เพื่อแสดงความเป็นผู้นำครอบครัว) กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย แล้วกล่าวคำ อาราธนาศีล และรับศีล

    <O:p</O:p
    <O:p[​IMG]</O:p

    [​IMG] คำบูชาพระรัตนตรัย [​IMG]<O:p</O:p

    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา<O:p></O:p>
    พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)<O:p</O:p
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม<O:p</O:p
    ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)<O:p</O:p
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต<O:p</O:p
    สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ (กราบ)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คำอาราธนาศีล ๕<O:p></O:p>

    มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ<O:p</O:p
    ติสะระเณนะ สะหะปัญจะ สีลานิ ยาจามะ<O:p</O:p
    ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ<O:p</O:p
    ติสะระเณนะ สะหะปัญจะ สีลานิ ยาจามะ<O:p</O:p
    ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ<O:p</O:p
    ติสะระเณนะ สะหะปัญจะ สีลานิ ยาจามะ<O:p</O:p
    <O:p</O:pรับศีล ๕<O:p</O:p
    ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ<O:p</O:p
    อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ<O:p</O:p
    กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ<O:p</O:p
    มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ<O:p</O:p
    สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมา ทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p[​IMG]</O:p
    <O:p</O:p

    บทสรุปศีล<O:p></O:p>

    อิมานิ ประธานิ สมาธิยามิ.................................................... .... (สาธุ)<O:p</O:p
    สุคะติง ยันติ ................................................................................... (สาธุ)<O:p
    สีเลนะ โภคะ สัมปะทา ............................................................ (สาธุ)<O:p
    สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย ............... (สาธุ)<O:p
    <O:p
    [​IMG] จากนั้น พิธีกร หรือ เจ้าภาพ (กรณีงานมงคลสมรส ควรให้เจ้าบ่าว กล่าว) คำกล่าวอาราธนา พระปริตร<O:p
    <O:p

    [​IMG] อาราธนาพระปริตร [​IMG]<O:p

    วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา<O:p</O:p
    สัพพะทุกขะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะมังคะลัง,<O:p</O:p
    วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา<O:p</O:p
    สัพพะภะยะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะมังคะลัง,<O:p</O:p
    วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา<O:p</O:p
    สัพพะโรคะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะมังคะลัง,

    <O:p[​IMG] [​IMG] [​IMG]</O:p
    <O:p</O:p
    เมื่อพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ถึงบท อะเสวะนา จะ พาลานัง เจ้าภาพ จุดเทียน น้ำมนต์ แล้วยกประเคน พระเถระ ผู้เป็นประธานถ้ามีการ ตักบาตร เริ่มลงมือ ตักบาตร เมื่อพระสงฆ์ สวดถึง บท พาหุงฯ [​IMG]<O:p</O:p
    เมื่อพระสงฆ์ สวดถึง บทพาหุงฯ เตรียมปู อาสนะสำหรับ วางภัตตาหาร แล้วนำ ภัตตาหารมาวาง ไว้ให้พร้อม อย่าลืม จัดสำหรับ พระพุทธด้วย[​IMG]
    <O:p</O:pเมื่อพระสงฆ์ สวดจบ และจัดภัตตาหาร เรียบร้อยแล้ว กล่าวคำถวาย โดยตั้ง นโม พร้อมกัน 3 จบ แล้วกล่าวคำ ถวายข้าวพระพุทธ กล่าวคำ ถวายภัตตาหาร (สังฆทาน)แก่พระสงฆ์ ตามลำดับ [​IMG]<O:p</O:p
    <O:p[​IMG] </O:p

    คำถวายข้าพระพุทธ<O:p</O:p

    อิมัง สูปะพยัญชะนะสัมปันนัง สาลีนัง โภชะนัง อุทะกัง วะรัง สัมมาสัมพุทธัสสะ ปูเชมิฯ<O:p</O:p
    ข้าพเจ้าขอบูชาด้วยโภชนะข้าวสาลี พร้อมด้วยแกงกับ และน้ำอันประเสริฐนี้ แด่พระพุทธเจ้า<O:p

    [​IMG]คำถวายสังฆทาน[​IMG]<O:p</O:p

    อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุ สังโฆ <O:p</O:p
    อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ<O:p</O:p
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ซึ่งภัตตาหารกับของ ที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งภัตตาหาร กับของที่เป็นบริวาร ทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การประเคน ต้องเข้าไป ประเคนให้ใกล้ พระประมาณหนึ่งศอก ยกของที่จะ ประเคนด้วยมือ ทั้งสองจนหมด แล้วยกมือไหว้ หรือกราบ (อย่าประเคนโดยใช้ภาชนะชนกัน)<O:p</O:p
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    ตอนจบพิธี <O:p</O:p
    เมื่อพระสงฆ์ ฉันเสร็จแล้ว เก็บภาชนะ อาหารเรียบร้อยแล้ว วางของ ไทยธรรม ไว้ข้างหน้า พระสงฆ์ แล้วถวาย เครื่องไทยธรรม เครื่องไทยธรรมนี้ สิ่งที่ไม่ควรขาด คือ เทียน ธูป ดอกไม้<O:p</O:p
    เมื่อพระสงฆ์ อนุโมทนา ขณะว่า ยะถา ให้กรวดน้ำ ให้จบ ในตอนนี้ พอพระว่า บท สัพพี พึงประนมมือ รับพรไปจนจบ ถ้าจะให้พระ พรมน้ำมนต์ ก็กราบเรียน ให้ท่านทราบ ในระยะนี้ เสร็จแล้ว กล่าวคำ กราบพระ เป็นเสร็จพิธี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...