พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระวังหน้า ,วังหลวง ,วังหลัง ,วัดระฆัง ,วัดบางขุนพรหม ผู้สร้างพระพิมพ์ ผมเองยืนยันมาตลอดว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ท่านไม่เคยสร้าง มีแต่องค์ที่เป็นพิเศษ ท่านมากดพิมพ์ให้ แต่โดยปกติช่างสิบหมู่แห่งวังหน้า หรือวังหลวง หรือช่างราษฎร์ ซึ่งช่างมีถึง 13 ทีมผู้สร้าง

    ผมเองเคยเข้าไปตอบในเว็บนั้น(ประมาณเดือนกันยายน 2550) แต่เนื่องด้วยเหตุผลหลายๆอย่าง ผมจึงถอยออกมาครับ และปรากฎชื่อผมในหนังสือ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีที่ข้าพเจ้ารู้จัก เล่ม 8 และเล่ม 9 จตุคามรามเทพ รุ่นแรกครับ

    แต่เนื่องจากอะไร ขอไม่ไปท้าวความถึงหรือเล่าให้ฟังอีกรอบ ลองเข้าไปดูในกระทู้นี้ในช่วงนั้นดูเองครับ

    การดูหรืออ่านหนังสืออะไรก็ตาม(ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพระเครื่องต่างๆ ,หนังสือทางวิชาการ ฯลฯ) ต้องดูว่า ผู้เขียนเขียนจากอะไร มีหนังสืออะไรเป็นบรรณานุกรมหรือไม่ และต้องพิจารณาและวิเคราะห์ว่า ผู้เขียน เขียนโดยรู้จริงหรือไม่ อย่างไรด้วยครับ

    .
     
  2. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ก็ดีกันคนละด้านครับ เล่มนี้ผมได้มาเมื่อราว ๓-๔ ปีก่อนที่งานสัปดาห์หนังสือ เล่มละ ๕๐๐ บาท ภายในผู้เขียนได้นำภาพที่ทูลเกล้าถวายพระพิมพ์แด่องค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี มาลงให้ชมกัน(ส่วนมากจะเป็นสมเด็จพระปัญจสิริ ผู้เขียนใช้คำว่าสมเด็จเบญจรงค์) และได้ทำหนังสือถึงสำนักพระราชวังมาก่อนดังที่ผมเคยแจ้งไว้แล้ว ก็ลองตรองดูว่าผู้ถวายพระพิมพ์ชุดนี้เขาจะนำของไม่ดีมาถวายพระองค์ท่านหรือ และพระองค์ท่านก็ได้พระราชทานให้กับบุคคลต่างๆหลายต่อหลายท่าน แต่ความรู้ของผู้เรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ยังสู้ผู้ที่แต่งหนังสือวิเคราะห์พระพิมพ์ฯเล่มละ ๓๐๐,๐๐๐ บาทนั้นไม่ได้ครับ ..
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วันนี้ได้มีโอกาสไปสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งมีการนำวัตถุมงคลที่เรียกว่า กรุวัดพระแก้ว มาขาย ซึ่งผู้ขายได้บอกว่า เป็นพระเครื่องของวังหน้า ซึ่งในความเป็นจริงเท่าที่เห็นจะเป็นพระพิมพ์ในปี พ.ศ.2451 ซึ่งมีการประดับพลอยต่างๆ

    เดี่ยวนี้ต้องยัดเป็นวังหน้า อย่าไปทำเช่นนั้นเลย ต้องนึกถึงพระคุณของช่างสิบหมู่แห่งวังหลวง และช่างราษฎร์ที่หลายๆท่านได้เหน็ดเหนื่อยกับการสร้างพระพิมพ์และวัตถุมงคลต่างๆนะครับ

    --------------------------------

    ได้ทราบต่อมาว่า มีผู้ที่มาบูชา(ซื้อ)หลายคนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติที่มาบูชา(ซื้อ)ไป และได้ถูกนำออกไปนอกประเทศเป็นจำนวนมาก

    น่าเสียดายที่คนไทยไม่เห็นคุณค่า แต่คนต่างชาติกลับเห็นคุณค่าและนำออกไปสู่ต่างประเทศครับ

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระบรมสารีริกธาตุ

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    พระบรมสารีริกธาตุ คือ ส่วนต่างๆของร่างกายขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งพระองค์ได้อธิษฐานให้เหลือไว้หลังจากการถวายพระเพลิงพระสรีระของพระพุทธองค์ที่เมืองกุสินารา

    [แก้] จำนวนพระบรมสารีริกธาตุ

    • ส่วนของพระบรมสารีริกธาตุที่ตั้งอยู่ในลักษณะเดิมมิให้ย่อยเล็กหรือถูกทำลายไป มีพระอุณหิส 1 องค์ พระเขี้ยวแก้ว 4 องค์ และพระรากขวัญ 2 องค์
    • พระบรมสารีริกธาตุที่แตกทำลายมีจำนวนทั้งหมด 16 ทะนานซึ่งมีลักษณะและสีหลายอย่างขึ้นอยู่กับส่วนของพระวรกาย
    [แก้] ลักษณะ

    [​IMG] [​IMG]
    พระบรมสารีริกธาตุ


    • คล้ายเม็ดถั่วแตก
    • กลมเหมือนเมล็ดถั่ว
    • คล้ายข้าวสารหัก
    • คล้ายเมล็ดพันธุผักกาด

    [แก้] อ้างอิง

    • พระปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    <TABLE style="CLEAR: both; BORDER-RIGHT: #90a0b0 1px solid; BORDER-TOP: #90a0b0 1px solid; FONT-SIZE: 90%; BACKGROUND: #fcfcfc; MARGIN: 10px 0px 0px; BORDER-LEFT: #90a0b0 1px solid; WIDTH: 100%; BORDER-BOTTOM: #90a0b0 1px solid" cellSpacing=0 cellPadding=3><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=40>[​IMG]</TD><TD style="COLOR: #696969" align=left>พระบรมสารีริกธาตุ เป็นบทความที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
    <SMALL>ข้อมูลเกี่ยวกับ พระบรมสารีริกธาตุ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ</SMALL>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 81/1000000Post-expand include size: 9013/2048000 bytesTemplate argument size: 606/2048000 bytesExpensive parser function count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:57360-0!1!0!!th!2 and timestamp 20080818015450 -->
    ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/พระบรมสารีริกธาตุ".
    หมวดหมู่: บทความที่รอการตรวจสอบรูปแบบ | พระพุทธเจ้า | วัตถุมงคลในพุทธศาสนา | โครง
     
  6. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    หลังจากผมได้ post ๆ นี้ได้ ๑ ชม. ผมก็เดินทางไปจังหวัดอยุธยาจากที่ลังเลเนื่องจากติดต่อช่างผู้จัดสร้างไม่ได้ การเดินทางครั้งนี้ก็เพื่อไปติดตามงานสร้างบุษบกฯ และเหมือนถูกกำหนดให้มีอันต้องเดินทางไปที่อื่นก่อนอีก ๒-๓ ที่เนื่องจากระหว่างทางติดต่อได้ แต่ทางช่างผู้จัดสร้างก็ติดงานศพ ๒ งานกว่าจะเสร็จก็ราว ๕ โมงเย็นจึงจะได้พบกัน ระหว่างนั้นก็ขับรถไปเรื่อยจนมาที่วัดอโยธยาซึ่งไม่มีแผนว่าจะเดินทางมาเลย และไหนๆก็มาแล้วเนื่องจากได้เกริ่นถึงพระเจดีย์ที่เป็นสถานที่ลงเครื่องศาสตราวุธของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผมจึงขออนุญาตพระองค์ท่านถ่ายภาพมาให้ชมกันว่า สถานที่อย่างนี้ประวัติศาสตร์ไม่ได้บันทึกไว้ จะว่าไม่มีไม่ได้ เพราะชาวอโยธยาทุกคนรู้เรื่องกันดีว่าศักดิ์สิทธิ์และสำคัญอย่างไร สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องราวลี้ลับของสมัยอยุธยาก็เป็นธรรมดาที่สนใจติดตามค้นหากัน

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ท่านเคยเสด็จพระราชดำเนินมาที่วัดอโยธยานี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010218.JPG
      P1010218.JPG
      ขนาดไฟล์:
      244.1 KB
      เปิดดู:
      69
    • P1010219.JPG
      P1010219.JPG
      ขนาดไฟล์:
      246.8 KB
      เปิดดู:
      58
    • P1010220.JPG
      P1010220.JPG
      ขนาดไฟล์:
      270.8 KB
      เปิดดู:
      59
    • P1010222.JPG
      P1010222.JPG
      ขนาดไฟล์:
      270.9 KB
      เปิดดู:
      59
    • P1010223.JPG
      P1010223.JPG
      ขนาดไฟล์:
      267.5 KB
      เปิดดู:
      63
    • P1010225.JPG
      P1010225.JPG
      ขนาดไฟล์:
      279.7 KB
      เปิดดู:
      63
    • P1010226.JPG
      P1010226.JPG
      ขนาดไฟล์:
      301.3 KB
      เปิดดู:
      75
    • P1010227.JPG
      P1010227.JPG
      ขนาดไฟล์:
      281.1 KB
      เปิดดู:
      57
    • P1010229.JPG
      P1010229.JPG
      ขนาดไฟล์:
      261.5 KB
      เปิดดู:
      61
    • P1010230.JPG
      P1010230.JPG
      ขนาดไฟล์:
      259.5 KB
      เปิดดู:
      59
    • P1010231.JPG
      P1010231.JPG
      ขนาดไฟล์:
      262.8 KB
      เปิดดู:
      54
    • P1010234.JPG
      P1010234.JPG
      ขนาดไฟล์:
      266 KB
      เปิดดู:
      53
  7. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    ช่วงนี้ไม่ค่อยได้ทำอะไร เลยไม่ค่อยมีอะไรมาโพส แต่ทีเห็นเฝ้ากระทู้อยู่ตลอดก็เพราะกำลังนั่งไล่อ่านบทความ
    ที่เขาคัดเอาคำสอนหลวงพ่อฤๅษีลิงดำมาสอนอยู่ครับ กำลังสนใจเรื่องกรรมฐาน สมาธิครับ เผื่อจะได้นำไปจดจำก่อน
    จะได้มีความรู้คร่าวๆติดตัว ก่อนจะได้พบอาจารย์ดี จะได้เรียนได้เร็วครับ
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เว็บไซต์พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพระพุทธสาวก

    [​IMG]

    http://www.relicsofbuddha.com/



    ...........เนื่องด้วยพบว่ามีการนำข้อมูลและบทความต่างๆภายในเว็บไซต์ไปจัดพิมพ์ โดยทำการรวมเล่มร่วมกับบทความจากนักเขียนท่านอื่นๆออกจำหน่าย โดยทางเว็บไซต์มิได้ยินยอม หรือรับทราบการนำไปใช้เพื่อการจำหน่ายดังกล่าว แม้บทความของเว็บไซต์ที่ถูกตีพิมพ์ภายในหนังสือเล่มนั้นๆ จะไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ผลงาน แต่ถือเป็นสิทธิ์ของทางเว็บไซต์ ตามความคุ้มครองของ พ.ร.บ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ดังนั้นบทความของเว็บไซต์ ที่ถูกตีพิมพ์ในเอกสารหรือหนังสือใดๆก็ตาม ถือเป็นสิทธิ์ของทางเว็บไซต์พระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุพระพุทธสาวกเช่นเดิม ส่วนบทความจากผู้เขียนท่านอื่นๆ ถือเป็นสิทธิ์ของท่านผู้นั้น ตามที่ได้แจ้งกำกับไว้ในบทความ
    ทางเว็บไซต์ขอแจ้งว่า ทางเราไม่เคยได้อนุญาตให้จัดพิมพ์ บทความ รูปภาพ หรือข้อมูลใดๆ ภายในเว็บไซต์ในเชิงพาณิชย์ นอกเหนือจากการจัดพิมพ์แจกจ่ายเป็นวิทยาทาน โดยไม่คิดมูลค่าเท่านั้น

    คำนำ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width="24%">[​IMG]
    เครื่องหมายเว็บไซต์
    www.RELICSOFBUDDHA.com
    </TD><TD vAlign=top width="76%" bgColor=#f0f0ff>​
     
  9. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ก็อย่างที่เคยบอกกันไงว่า คนไทยไม่เห็นค่า คนฝรั่งเขาศึกษาประวัติศาสตร์ไทย และดูของเป็นว่าอันไหนเก่า หรือไม่เก่า อย่างที่ผมไปพบ"บังเทียน"ของวังหลวงที่ร้านขายของชำร่วยในโรงแรมในตัวเมืองเชียงใหม่ อันละ ๒๘,๐๐๐ บาท..ไปเมืองนอกก็อีกราคาไม่น่าตำกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาทต่อ ๑ ด้ามครับ ลอง zoom ดูกันเองนะครับว่า เขารู้ว่า ของชิ้นนี้คืออะไร จากคำว่า ...candle.. คนไทยส่วนมากไม่รู้ ไม่เคยเห็น..น่าอายไม๊

    อีกหน่อยถ้าจะดูของต้องตีตั๋วนั่งเครื่องบินไปดูที่เมืองนอกกัน หึ..หึ..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC01635.JPG
      DSC01635.JPG
      ขนาดไฟล์:
      95.2 KB
      เปิดดู:
      164
    • DSC01637.JPG
      DSC01637.JPG
      ขนาดไฟล์:
      62.9 KB
      เปิดดู:
      129
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เว็บไซต์พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพระพุทธสาวก

    http://www.relicsofbuddha.com

    http://www.relicsofbuddha.com/page2.htm

    [​IMG] ความหมายของคำว่าพระบรมสารีริกธาตุ [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    "พระบรมสารีริกธาตุ" คือ พระธาตุส่วนย่อยที่บังเกิดแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะ มิได้เป็นคำที่ใช้เรียก พระธาตุของพระอรหันตสาวก หรือพระธาตุเจดีย์ต่างๆ (บางทีเรียกว่า"พระบรมธาตุ" หรือ "พระสารีริกธาตุ" ก็ได้)
    "พระธาตุ" คือ กระดูก หรือ ส่วนของร่างกายต่างๆ เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โลหิต ฯลฯ ที่มีคุณลักษณะเป็นที่แตกต่างจากสามัญชนทั่วไป โดยมีลักษณะคล้าย ' ธาตุ ' ซึ่งหากมองโดย ไม่สังเกตให้ดีแล้ว ก็คล้าย กรวด หิน แก้ว เพชร ฯลฯ
    คำว่า พระบรมธาตุและ พระธาตุ ยังอาจหมายถึงสถูปเจดีย์ต่างๆได้อีกด้วย เช่น พระบรมธาตุไชยา พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุพนม ฯลฯ

    <HR width="35%" noShade>
    [​IMG] ประเภทของพระบรมสารีริกธาตุ [​IMG]
    ..........เนื่องจากพระบรมสารีริกธาตุที่พบนั้น มีความแตกต่างจากอัฐิของบุคคลธรรมดาทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามยังพบลักษณะของ พระบรมสารีริกธาตุที่มีลักษณะเหมือนกระดูกคนเช่นกัน เท่าที่พบเห็นได้ตามพระธาตุเจดีย์ทั่วไป หรือตามพิพิธภัณฑสถานต่างๆทั้งในประเทศไทย ศรีลังกา อินเดีย และ ที่ต่างๆ ทั่วโลก สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
    <TABLE borderColor=#cc6633 cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="26%">[​IMG]

    </TD><TD width="74%">พระบรมสารีริกธาตุ ลักษณะ 'พระธาตุ'

    .......... พระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ จะพบมากในประเทศไทย ศรีลังกา จีน พม่า ฯลฯ มีลักษณะตรงตามพระไตรปิฎก ในประเทศไทยมีประดิษฐานอยู่ที่เจดีย์พระธาตุ ตามวัดต่างๆทั่วไป
    </TD></TR><TR><TD width="26%">[​IMG]

    </TD><TD width="74%">พระบรมสารีริกธาตุ ลักษณะ 'กระดูกคน'

    .......... พระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ จะพบเฉพาะในประเทศอินเดีย ตามโบราณสถานต่างๆ ที่ขุดค้น สำหรับในประเทศไทย รัฐบาลอังกฤษได้มอบให้แก่ประเทศไทย 2 ครั้ง ครั้งแรกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ประดิษฐานอยู่ ณ เจดีย์ภูเขาทอง วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และครั้งที่ 2 รัฐบาลได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ เจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน
    * ในภาพเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินเดีย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <HR width="35%" noShade>[​IMG] คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุ [​IMG]
    ..........คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ ที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน และได้รับการยอมรับจากพุทธศาสนิกชนและพระภิกษุสงฆ์โดยทั่วไป พบว่ามีลักษณะที่มองจากภายนอกคร่าวๆได้ดังนี้
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="13%" rowSpan=6>[​IMG]</TD><TD width="87%">- มีด้วยกันหลายสี ตั้งแต่ใสดั่งแก้วจนกระทั่งขุ่น สีขาวดุจสีสังข์ สีทอง สีดำ สีชมพู สีแดง ฯลฯ</TD></TR><TR><TD width="87%">- มีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ลักษณะเมล็ดข้าวสาร พันธุ์ผักกาด เมล็ดถั่วแตก แก้วใส ฯลฯ </TD></TR><TR><TD width="87%">- หากมีขนาดเล็กมักสามารถลอยน้ำได้ เมื่อลอยด้วยกันจะสามารถดึงดูดเข้าหากันได้ และลอยติดกันเป็นแพ</TD></TR><TR><TD width="87%">- สามารถเสด็จมาเพิ่มจำนวนขึ้นหรือลดลงได้เอง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพระธาตุ</TD></TR><TR><TD width="87%">- เปลี่ยนขนาดและสีสันเองได้ </TD></TR><TR><TD width="87%">- ส่วนมากมักมีน้ำหนักค่อนข้างเบา เมื่อเทียบกับขนาด </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เว็บไซต์พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพระพุทธสาวก

    http://www.relicsofbuddha.com

    http://www.relicsofbuddha.com/page2-1.htm

    [​IMG] พระบรมสารีริกธาตุลักษณะต่างๆ [​IMG]
    คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี ซึ่งเป็นอรรถกถาอธิบายความพระสูตรทีฆนิกาย ในพระสุตตันตปิฎกนั้น พระอรรถกถาจารย์ได้แบ่งลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
    1.นวิปฺปกิณฺณา ธาตุ คือ พระบรมสารีริกธาตุที่ยังคงรูปร่างเดิมอยู่เป็นชิ้นเป็นอัน มิได้แตกย่อยลงไป มีทั้งหมด 7 องค์ ได้แก่ พระนลาฏ (กระดูกหน้าผาก) 1องค์ พระเขี้ยวแก้ว 4 องค์ และพระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า) 2 องค์
    2.วิปฺปกิณฺณา ธาตุ คือ พระบรมสารีริกธาตุส่วนต่างๆขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มิได้คงรูปร่างอยู่เป็นชิ้น แต่แตกย่อยลงเป็นเป็นจำนวนมาก กระจายไปประดิษฐานตามสถานที่ต่างๆ
    ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ท่านได้จำแนกลักษณะและขนาดของพระบรมสารีริกธาตุชนิด วิปฺปกิณฺณา ธาตุ ต่อไปอีกดังนี้ เมื่อพิจารณาจากลักษณะภายนอก แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD width="76%" bgColor=#fffcd9 height="33%"><TABLE cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>1. (สี)เหมือนดอกมะลิตูม (สีพิกุล)
    [อรรถกถาบาลีว่า สุมนมกุลสทิสา]
    ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ ตวงได้ 6 ทะนาน

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD width="76%" bgColor=#f5f5f5 height="33%"><TABLE cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>2. (สี)เหมือนแก้วมุกดาที่เจียระไนแล้ว (สีผลึก)
    [อรรถกถาบาลีว่า โธตมุตฺตสทิสา]
    ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ ตวงได้ 5 ทะนาน

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD width="76%" bgColor=#fffcc8 height="33%"><TABLE cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>3. (สี)เหมือนจุณ หรือ ผงทองคำ (สีทองอุไร)
    [อรรถกถาบาลีว่า สุวณฺณจุณฺณา]
    ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ ตวงได้ 5 ทะนาน

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    และเมื่อพิจารณาจากขนาด ท่านแบ่งได้เป็น 3 ขนาด ได้แก่
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle width="25%">[​IMG]</TD><TD width="75%"><TABLE cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>1.ขนาดเล็ก ประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด
    [อรรถกถาบาลีอธิบายว่า สพฺพขุทฺทกา ธาตุ สาสปวีชมตฺตา]
    บางท่านก็เรียกว่า พระบรมสารีริกธาตุลักษณะเมล็ดพันธุ์ผักกาด
    *บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งมะลิตูม

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle width="25%">[​IMG]</TD><TD width="75%"><TABLE cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>2.ขนาดเขื่อง คือมีขนาดใหญ่ขึ้นมา ประมาณเมล็ดข้าวสารหักกึ่ง
    [อรรถกถาบาลีอธิบายว่า มหาธาตุ มชฺเฌ ภินฺนตณฺฑุลมตฺตา]
    บางท่านก็เรียกว่า พระบรมสารีริกธาตุลักษณะข้าวสาร
    *บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งแก้วมุกดา

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle width="25%">[​IMG]</TD><TD width="75%"><TABLE cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>3.ขนาดใหญ่ คือมีขนาดใหญ่ที่สุด ประมาณเมล็ดถั่วเขียวผ่ากลาง
    [อรรถกถาบาลีอธิบายว่า อติมหตี มชฺเฌ ภินฺนมุคฺคามตฺตา]
    บางท่านก็เรียกว่า พระบรมสารีริกธาตุลักษณะเมล็ดถั่ว
    *บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งทองอุไร

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    *หมายเหตุ บางตำราที่ระบุขนาด ได้แก่ คำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุของโบราณ; ตำนานพระเจ้าเลียบโลก
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="100%" bgColor=#006633><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#008459>เกร็ดความรู้ว่าด้วยสีพระบรมสารีริกธาตุ</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=150>[​IMG]
    ไข่มุก
    [​IMG]
    moonstone

    </TD><TD vAlign=top>............ในอรรถกถาสุมังคลวิลาสินีกล่าวถึง สีของพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด 3 สี ได้แก่ สีดอกมะลิตูม สีแก้วมุกดา และสีผงทองคำ ทั้งนี้ สีดอกมะลิตูมและสีผงทองคำนั้น สามารถพบเห็นและเปรียบเทียบได้ง่าย แต่สีแก้วมุกดานั้น ชวนให้สงสัยว่าจะเป็นสีอย่างไร
    .............คำว่า มุกดา นั้นมาจากภาษาบาลีว่า มุตฺตา โดยพจนานุกรมได้ให้ความหมายของคำว่า "มุกดา" คือ ไข่มุก, ชื่อรัตนะอย่างหนึ่งในพวกนพรัตน์ สีหมอกอ่อนๆ ซึ่งรัตนะในความหมายหลังมีผู้จำแนกไว้ว่าคือ moonstone(แต่บางท่านก็ว่า มุกดา ในนพรัตน์ของไทยนั้นคือ แก้วใสสีขาว ไม่ใช่ moonstone) ซึ่งหากในความหมายนี้หมายถึงแก้วใสสีขาว หรือ moonstone แล้ว พระบรมสารีริกธาตุสีนี้ จะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปเป็นจำนวนมาก แต่หากหมายถึงไข่มุกแล้ว พระบรมสารีริกธาตุ ที่มีลักษณะสีเหลือบแบบไข่มุกนั้น จะพบเห็นได้ค่อนข้างยาก
    .............อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากคำว่า "แก้วมุกดาที่เจียระไนแล้ว" ในอรรถกถา เป็นไปได้ว่า มุกดา ในที่นี้อาจจะไม่ได้หมายถึงไข่มุก เนื่องจากมีคำว่าเจียระไนเข้ามาประกอบ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แม้คำนี้จะหมายถึงไข่มุก พระบรมสารีริกธาตุที่มีสีในเฉดขาว-เทาไข่มุกทั้งหมด ก็อาจนับอยู่ในกลุ่มสีแก้วมุกดาได้ เช่นเดียวกับพระบรมสารีริกธาตุลักษณะสีทองอุไร ที่นับเอาพระบรมสารีริกธาตุที่มีสีเฉดเหลืองทั้งหมดเข้ามาอยู่ในกลุ่มนี้

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    <HR width="35%" noShade>[​IMG] พระธาตุลอยน้ำ [​IMG]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width="35%">[​IMG]

    [​IMG]
    </TD><TD vAlign=top width="65%" bgColor=#f6f6f6>ตามโบราณาจารย์ต่างๆท่านกล่าวว่า พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุที่มีขนาดไม่ใหญ่นักนั้น สามารถที่จะลอยน้ำได้ ส่วนการลอยน้ำของพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุนั้น จะลอยน้ำโดยที่น้ำจะเป็นแอ่งบุ๋มลงไปรองรับพระบรมสารีริกธาตุไว้ นอกจากนี้อาจปรากฏรัศมีของน้ำรอบๆพระบรมสารีริกธาตุอีกด้วย ทั้งนี้หากทำการลอยพร้อมๆกันหลายๆองค์ พระบรมสารีริกธาตุจะค่อยๆลอยเข้าหากันและติดกันในที่สุด ไม่ว่าจะลอยห่างกันสักเพียงใด
    นี่เองจึงเป็นเหตุให้มีผู้กล่าวว่า หากมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใดแล้ว หากมีการถวายความเคารพเป็นอย่างดีและเหมาะสมแล้ว ท่านก็สามารถที่จะดึงดูดองค์อื่นๆให้เสด็จมาประทับรวมกันได้
    อย่างไรก็ตาม ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ได้ห้ามมิให้ทำการทดสอบพระบรมสารีริกธาตุด้วยการลอยน้ำ โดยถือว่าเป็นการดูหมิ่นคุณขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเหตุการณ์นี้ คุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต ได้เล่าไว้ในงานเขียนของท่านที่เกี่ยวกับพระบรมสารีริกธาตุ และภายหลังท่านจึงได้ทำการขอขมาต่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยเหตุนี้

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    หมายเหตุ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2546 มีรุ่นพี่ท่านหนึ่งที่ได้มาเยี่ยมชมเว็บไซต์นี้ เธอได้ติดต่อมายังผมและถ่ายทอดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเธอ ขณะที่ได้นำพระบรมสารีริกธาตุไปสรงน้ำ คือเมื่ออัญเชิญท่านลงในน้ำ ท่านก็จมลงไปยังก้นภาชนะที่ใช้สำหรับสรงท่านทันที เพื่อนๆของเธอที่ดูอยู่จึงถามว่าไหนว่าพระธาตุท่านลอยน้ำมิใช่หรือ ไหนเล่า? เธอจึงอธิษฐานขอให้ท่านลอย ทันใดนั้นท่านก็ลอยขึ้นมาจากก้นภาชนะนั้น จะเท็จจริงอย่างไรไม่ทราบ เห็นว่าแปลกดีและเกิดกับผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์นี้ด้วย ทั้งที่มิเคยได้เห็นหน้าหรือรู้จักกันมาก่อน จึงได้นำมาให้อ่านกัน

    -------------------------------------

    ยังมีให้ศึกษาต่ออีก ลองเข้าชมเว็บดังกล่าว ตามลิงค์ที่ให้ไว้นะครับ

    .
     
  12. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เรากว่าจะรู้อะไรว่าเป็นอะไรก็สายไปมากๆแล้ว อย่างพระบรมธาตุเขาสามร้อยยอด ชาวไต้หวันเดินทางสั่งการให้ขนใส่ container บรรทุกไปไต้หวัน มากกว่า ๑๐๐ ตัน ยังไม่รู้เรื่องกันเลย ไปถึงที่นั่น ราคาเพิ่มขึ้น ๑,๐๐๐ เท่าประเทศนี้เขาเชื่อในเรื่องศาสตร์แห่งฮวงจุ้ย มีพระอาจารย์เก่งๆดูกระแสบารมีของพระพุทธเจ้าว่าเสด็จมาปรากฎที่แถบนี้ จนเห็นเป็นจริงจัง เดินทางมาสำรวจ และก็ขนไปจำนวนมากดังกล่าว ภายหลังทางอุทยานแห่งชาติก็ห้ามการตัดหินพระบรมธาตุ แต่ก็ห้ามไม่สนิทปาก เพราะเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านแถบนั้นทั้งหมด แถมในเวปนี้ก็มีการตั้งกระทู้ซื้อขายกันโต้งๆแบบนี้ จะเหลือหรือ??...
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระธาตุขามแก่น

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    [​IMG]
    [​IMG]
    พระธาตุขามแก่น

    พระธาตุขามแก่น ตั้งอยู่ที่วัดเจติยภูมิ บ้านขาม หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นปูชนียสถานของจังหวัดขอนแก่น บ้านขามเคยเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นเวลาประมาณ 300 ปี พ.ศ 2332 เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ชื่อ เพี้ยเมืองแมน (ปัจจุบันคือ จังหวัดร้อยเอ็ด) ได้มาตั้งเมืองขามแก่นที่ บ้านขาม พุทธศตวรรษที่ 25 พระยาหลังเขียว หรือโมริย กษัตริย์เจ้าเมืองโมรีย์ (เมืองโมรีย์อยู่ในอาณาเขตของประเทศกัมพูชา) สร้างพระธาตุขามแก่น ตั้งอยู่ในวัดเจติยภูมิ ตำบลบ้านขาม

    [แก้] ตำนานพระธาตุขามแก่น

    พระธาตูขามแก่น มีหลายตำนานเล่าขานกันหลาย ดังนี้
    ตำนานที่หนี่ง
    นับแต่การเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เมื่อถวายพระเพลิงเสร็จ แล้ว พระบรมสารีริกธาตุได้ถูกนำไปประดิษฐานไว้ในที่ต่าง ๆ คือ พระสารีริกธาตุกระโยงหัว (กระโหลกศีรษะ) ฆะฏิการพรหมนำไปไว้บนเทวโลก, พระธาตุเขี้ยวหมากแง (พระเขี้ยวแก้ว) พระอินทร์นำไปไว้บนสวรรค์ชั้นดาวดึงษ์,พระธาตุกระดูกด้ามมีด (พระรากขวัญ ) พระยานาคนำไปไว้เมืองบาดาล
    ครั้งต่อมาโมริยกษัตริย์เจ้านครโมรีย์ (อยู่ในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน) ทราบข่าวภายหลังเพราะอยู่ห่างไกลและเดินทางช้า จึงได้แต่พระอังคารธาตุ (ฝุ่น) แล้วนำไปไว้ที่นครของตน ประมาณพุทธศักราชล่วงมาได้ 3 ปี พระมหากัสสปะเถระเจ้า พร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ นำเอาพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนอก) ไปประดิษฐานไว้ภูกำพร้า (พระธาตุพนมในปัจจุบัน) พระยาหลังเขียว โมริยกษัตริย์ และพระอรหันต์ยอดแก้ว, พระอรหันต์รังษี, พระอรหันต์คันที และไม่ปรากฏชื่ออีก 6 องค์ จึงเดินทางพร้อมอัญเชิญเอาพระอังคารธาตุเพื่อไปบรรจุไว้ในพระธาตุพนมด้วย ระหว่างทางได้มาถึงพื้นที่แห่งหนึ่ง (ที่ตั้งของพระธาตุขามแก่นในปัจจุบัน) มีพื้นที่พื้นที่ดอน ราบเรียบ มีห้วยสามแยก น้ำไหลผ่านรอบดอน และมีต้นมะขามใหญ่ที่ตายแล้วเหลือแต่แก่นอยู่ต้นหนึ่ง
    ขณะนั้นเป็นเวลาพลบค่ำพอดี ประกอบกับพื้นที่มีความเหมาะสมจึงได้พักแรมที่นี่ และนำเอาพระอังคารธาตุไปวางพักไว้บนแก่นของต้นมะขามที่ตายแล้วดังกล่าว พอรุ่งเช้าทั้งคณะก็เดินทางมุ่งหน้าสู่สถานที่ก่อสร้างพระธาตุพนมต่อไป
    พอไปถึงปรากฏว่าพระธาตุพนมได้สร้างเสร็จแล้ว ไม่สามารถนำพระอังคารธาตุบรรจุลงไปได้อีก จึงจำต้องนำเอาพระอังคารธาตุนั้นกลับตามเส้นทางเดิม โดยตั้งใจว่าจะนำกลับไปไว้ที่นครของตนตามเดิม เมื่อมาถึงดอนมะขามซึ่งเคยเป็นที่พักแรม ครั้งก่อน ได้เห็นต้นมะขามใหญ่ที่ล้มตายเหลือแต่แก่นนั้นกลับผลิตดอก ออกผล แตกกิ่งก้านสาขามีใบเขียวชะอุ่มแลดูงามตายิ่งนัก จะเป็นด้วยเทพเจ้าแสร้งนิมิต หรือด้วยอำนาจอภินิหารของพระอังคารธาตุก็มิอาจรู้ได้ เห็นเป็นอัศจรรย์เช่นนั้นจึง พร้อมกันก่อสร้างพระธาตุครอบต้นมะขาม และบรรจุพระอังคารธาตุของพระเจ้าไว้ภายในด้วย โดยมีรูปลักษณะดังที่เราเห็น อยู่ในปัจจุบันนี้ จึง เรียกชื่อพระธาตุนี้ว่า "พระธาตุขามแก่น"
    หลังจาการก่อสร้างพระธาตุเสร็จแล้ว พระยาหลังเขียวพร้อมด้วยบริวารได้สร้างบ้านแปลงเมืองอยู่ตรงนี้ และได้สร้างวัดให้เป็นที่พำนักของพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ ซึ่งมีวิหาร และพัทธสีมาเคียงคู่กับองค์พระธาตุสืบมา ครั้นกาลล้วงมาพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ก็ได้ดับขันธ์ปรินิพพาน ชาวเมืองนำเอาอัฐิธาตุของท่านบรรจุไว้ในพระธาตุองค์เล็ก ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันออกของ อุโบสถในเวลานี้ ต่อมาประชาชนจึงเรียกพระธาตุองค์ใหญ่ว่า ครูบาทั้งเก้าเจ้ามหาธาตุ ส่วนพระธาตุองค์เล็กเรียกว่า ครูบาทั้งแปด
    ตำนานที่สอง
    มีเรื่องราวคล้ายตำนานที่หนึ่ง แต่กล่าวว่าพระอรหันต์ที่อัญเชิญพระอังคารธาตุนั้น มีเพียง 2 องค์เท่านั้น
    ตำนานที่สาม
    แต่เดิม ณ ที่นี้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า ต่อมาเมื่อเริ่มมีชาวบ้านเข้ามาหักล้างถางพง จับจองที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยนั้น ชาวบ้านพบว่ามีตอมะขามที่ตายแล้วเหลือแต่แก่นอยู่ต้นหนึ่ง แต่ต่อมาปรากฏว่าแก่นมะขามนั้นกลับมีการแตกใบ ผลิดอก ดูแปลกประหลาด และพบว่าหากมีใครที่ไปทำการอะไรที่เป็นการดูหมิ่นหรือลบหลู่ตอมะขามนั้น คนผู้นั้นก็จะมีอันเป็นไป ชาวบ้านจึงเกิดความเคารพบูชา และร่วมกันสร้างเจดีย์ครอบตอมะขามนั้นไว้ พร้อมกับบรรจุพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า 9 ประการ ไว้ในนั้นด้วย จึงเรียกเจดีย์ที่สร้างนั้นว่า พระเจ้าเก้าพระองค์ หรือ เจดีย์บ้านขาม ต่อมาจึงเป็นพระธาตุขามแก่น

    [แก้] ประเพณี

    งานฉลองและนมัสการพระธาตุขามแก่น ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 การสักการะ ใช้ธูป เทียน ดอกไม้ ขันแปดเก้า ในวันขึ้น 15 ค่ำ ของทุกเดือน พระธาตุขามแก่น พระธาตุขามแก่นเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่เมืองขอนแก่นและเป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเจติภูมิ บ้านขาม หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง อยู่ห่างจากจังหวัดขอนแก่นประมาณ 30 กิโลเมตร เดินทางไปตามถนนสายขอนแก่น -กาฬสินธุ์ เลี้ยวซ้ายที่หลักกิโลเมตรที่ 12 บ้านโคกสี เป็นถนนราดยางตลอด มีป้ายบอกทางไปพระธาตุ ขามแก่นเป็นระยะๆ จนถึงองค์พระธาตุ พระธาตุขามแก่นมีลักษณะเป็นเจดีย์ฐานสามเหลี่ยมทรงอีสาน องค์พระธาตุสูง 19 เมตร
    ฐานด้านทิศตะวันออกและตะวันตกกว้าง 10.90 เมตรเท่ากัน รอบองค์พระธาตุมีกำแพงแก้วล้อมรอบ ทั้ง 4 ด้าน สูง 1.20 เมตร กำแพงแก้วห่างจากองค์พระธาตุโดยเฉลี่ย 2.30 เมตร ทุกด้านมีประตูเข้าออก ด้านทิศเหนือ 2 ช่อง และทิศใต้ 2 ช่อง กว้างช่องละ 1 เมตร ตำนานพระธาตุขามแก่น ประมาณ พ.ศ. 3 พระมหากัสสปได้นำเอาพระอุรังคธาตุของพระ พุทธเจ้ามาประดิษฐานที่ภูกำพร้าและได้สร้างองค์พระธาตุพนมขึ้น พระยาหลังเขียวโมรียกษตริย์ทราบ ข่าวดังนั้น เกิดศรัทธาใคร่นำพระอังคารมาบรรจุไว้ด้วยกัน จึงได้เดินทางมาพร้อมกับข้าราชบริพาร และพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์
    ในระหว่างเดินทางได้ผ่านดอนมะขามแห่งหนึ่งเป็นเวลาค่ำพอดี จึงได้พา กันพักแรมในสถานที่นี้ ในบริเวณที่พักมีต้นมะขามตายต้นใหญ่ต้นหนึ่ง มีแต่แก่นข้างใน จึงได้เอาพระ อังคารเก็บไว้ในต้นมะขามต้นนี้ ครั้งเมื่อเดินทางต่อไปยังภูกำพร้า ปรากฏว่าองค์พระธาตุพนมสร้างเสร็จไปเรียบร้อยแล้ว จึงต้องเดินทางกลับถิ่นเดิม เมื่อเดินทางมาถึงดอนมะขามบริเวณที่พักที่เดิมก็พบว่าต้นมะขามที่ตายเหลือแต่แก่นต้นนั้น กลับยืนต้นแตกกิ่งก้านสาขา มีใบเขียวชะอุ่ม และดูงามตาเป็นอัศจรรย์ พระยาหลังเขียวและพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ จึงตกลงใจสร้างพระธาตุครอบต้นมะขาม โดยบรรจุพระอังคารของพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยแก้วแหวนเงินทอง โดยทำเป็นพระพุทธรูปแทนพระองค์เข้าบรรจุไว้ในองค์พระธาตุ และก่อสร้างบ้านเรือน ณ บริเวณใกล้ๆพระธาตุ
    ส่วนพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ ก็ได้จัดสร้างวัดเคียงคู่พระธาตุ เมื่อพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ได้ดับขันธ์ปรินิพพาน ประชาชนได้นำพระธาตุของพระอรหันต์บรรจุไว้ในพระธาตุองค์เล็กซึ่งอยู่ใกล้พระธาตุขามแก่นเรียกว่าครูบาทั้งเก้า เจ้ามหาธาตุ มาจนทุกวันนี้ทุกวันเพ็ญ เดือน 6 จะมีงานฉลององค์พระธาตุขามแก่นเป็นงานประจำปี

    [แก้] อ้างอิง

    • หนังสือประวัติพระธาตุขามแก่น. วัดเจติยภูมิ
    • สุพจน์ ทองเนื้อขาว. (2541). ความเชื่อเกี่ยวกับพระธาตุขามแก่น ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
    <!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 38/1000000Post-expand include size: 2051/2048000 bytesTemplate argument size: 557/2048000 bytesExpensive parser function count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:65270-0!1!0!!th!2 and timestamp 20080815024338 -->ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/พระธาตุขามแก่น".
    หมวดหมู่: บทความที่รอการตรวจสอบรูปแบบ | วัดพระธาตุ | จังหวัดขอนแก่น
     
  14. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ใครจะว่ายังไงผมไม่สนใจ เพราะผมไม่ได้รับเงินใครมา promote หนังสือ ของท่านอาจารย์ตรียัมปวาย ผมเห็นร้านค้าหนังสือเก่าเขาตั้งราคาขายเล่มละ ๕๐,๐๐๐ บาท ผมพลิกดูก็ว่างั้นๆ ความรุ้ยังไม่ถึงแก่นความรู้ที่แท้จริง ซึ่งในเวลานั้นผมเข้าใจว่าน่าจะประเมินกันว่า ๑๐๐ % แต่เหตุการณ์ผ่านมาจนเวลานี้องค์ความรู้เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันแล้วห่างกันริบรับ หนังสือวิเคราะห์พระพิมพ์ฯของท่านอาจารย์ปู่ประถมผมประเมินราคาจากเนื้อหาภายใน ถ่ายทอดภูมิความรู้ให้กันแบบสุดๆนำไปใช้งานจริงๆ แล้วแบบนี้ ๓๐๐,๐๐๐ บาทยังถูกไป ...
     
  15. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เขาขนเอาหินพระบรมธาตุดิบๆ ไปแกะสลักเป็นพระรูปพระแม่กวนอิมองค์ใหญ่ องค์เล็กให้บูชากันแพงๆ ไม่ใช่แบบถูกๆ และถางทิ้งถางขว้างแบบของชาวบ้านทำ...
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมเสียดายครับ

    มีหลายสิ่งหลายอย่าง ที่ทราบมา แต่พูดมากไป ก็เป็นภัยกับตัวเช่นกัน เนื่องจากไม่มีหลักฐานเป็นรูปที่กำลังขนออกนอก ก็ลำบากครับ

    .
     
  17. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เหมือนกันครับ ในเมื่อคนในไม่นิยม ยังไม่ยอมรับ พระท่านก็ไม่อยากอยู่ สู้ไปอยู่กับชาวต่างประเทศที่เขาศรัทธาดีกว่า ใกล้เกลือกินด่างกันจริง ก็ต้องปล่อยไป หากผมมีเงินซักหมื่นล้าน รับรองไม่มีเล็ดไปอยู่ที่ไหน ลงอยู่กับผมไม่มีเล็ดครับ...
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ถ้าได้เห็น..(ขอสงวนสิทธิ์ไม่แจ้งนะครับ).. แล้วจะตกใจว่า เป็นไปได้ไงเนี่ย สำหรับคนที่เคยเห็น ตกใจกันทุกคน ไม่เว้นแม้แต่ผมเอง

    ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึง การทดลองทำด้วยตนเอง พิสูจน์ด้วยตนเองครับ

    .
     
  19. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เหมือนเช่นงานบุษบกนี่ ช่างที่ทำสมัยนี้ลดน้อยลงทุกวันๆ คนหนุ่มสาวที่ไหนจะมีความละเอียดรอบคอบพากเพียรเท่าคนโบราณ ช่างที่ทำบุษบกหลังนี้ เปิด web site ขายบุษบกไปที่ต่างประเทศแล้ว รับงานเป็นล้านๆแทน ปัญหาเดียวที่เขาบอกผมคือ กลัว order มากจนทำไม่ไหว เพราะกำลังผลิตน้อย นี่คือปัญหาของเขา ช่วงที่ไปถึง ผมได้พุดคุยกับเขาเรื่องงานสิงป์ของแผ่นดินที่แสดงอยู่ในเวลานี้ เขาก็ไปดูมา และแอบถ่ายบุษบกมาลามาด้วย มาดำเนินการจัดสร้างเป็นต้นแบบ ผมก็เลยขอซื้องานต้นแบบมา ยังไม่ทราบราคาเลย สวยมากครับ
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เอ่อ ผมเชื่อครับ เชื่อสนิทใจว่า อยู่กับคุณเพชร ไม่มีเล็ดลอดออกมาแน่ เหอๆๆๆๆ :z12

    ผมไปพักผ่อนก่อนนะครับ พรุ่งนี้ต้องทำงานอีกแล้วครับ

    ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...