พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    การบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามในรัชกาลที่ 3

    เริ่มแต่ปี พ.ศ.2374
    ครั้นเสร็จการประมาณพุทธศักราช 2391 ได้ทำการฉลองในปีวอก สัมฤทธิศก จุลศักราช 1210 พุทธศักราช 2391
    บันทึกไว้ว่าเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระเมาลี พระพุทธรูปฉลองพระองค์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอุทิศถวายรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น


    .<TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>......
     
  2. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    การบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามในรัชกาลที่ 4
    กระทำเป็นการใหญ่ ดำเนินเรื่อยมาจนปลายรัชกาลก็ยังมิแล้วเสร็จบริบูรณ์
    และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2411 ก็เสด็จสวรรคตด้วยพระโรคไข้จับสั่น จากคราวเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ตำบลหว้ากอ ประจวบคีรีขันธ์
     
  3. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    การบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามในสมัยรัชกาลที่ 5
    ปฏิสังขรณ์ซึ่งค้างมาแต่ปลายรัชกาลที่ 4
    และสำเร็จบริบูรณ์ทันกำหนดสมโภชพระนครครบ 100 ปีในพุทธศักราช 2425


    สมัยรัชกาลที่ ๕ การก่อสร้างและการบูรณะปฏิสังขรณ์อาคารต่าง ๆในวัดพระศรีรัตนศาสดารามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้า ฯให้กระทำขึ้นนั้น ส่วนใหญ่ยังไม่แล้วเสร็จ เพราะพระองค์ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน ในพ.ศ. ๒๔๒๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้า ฯให้บูรณะและปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามครั้งใหญ่จนแล้วเสร็จ พร้อมกับการสมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๒๕ หลังจากนั้นจึงโปรดเกล้า ฯให้สร้างบุษบกตราแผ่นดินขึ้นที่ฐานไพทีของพระมณฑปรวม ๓ องค์เฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ต่อมาในปลายรัชกาลได้เกิดเพลิงไหม้เครื่องบนของพระพุทธปรางค์ปราสาท จึงโปรดเกล้า ฯให้บูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่แต่ยังไม่ทันเสร็จก็ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน
    http://blog.hunsa.com/bambam6335/cms/2<!-- / message --><!-- sig -->
     
  4. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    การบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามในรัชกาลที่ 6
    ที่สำคัญคือ พระพุทธปรางค์ปราสาท หรือปราสาทพระเทพบิดร ในปี 2461 โปรดเกล้าฯ ให้ชะลอพระสุวรรณเจดีย์ทั้งสององค์เลื่อนออกไปจากรักแร้ปราสาท ไปประดิษฐานไว้ที่มุมชั้นทักษิณด้านตะวันออกทั้งสองข้าง
    พระอุโบสถ

    ซ่อมเครื่องทองคำในพระอุโบสถคือ บุษบกที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ฯลฯ
     
  5. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    การบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามในรัชกาลที่ 7
    เป็นวาระที่กรุงรัตนโกสินทร์จะมีอายุได้ 150 ปี ในปี พ.ศ.2475 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามทั่วทั้งพระอาราม เริ่มในปี 2472
     
  6. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    การบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามในรัชกาลที่ 8

    เป็นเพียงการปรับปรุงแก้ไขส่วนที่ชำรุดทรุดโทรม แต่ที่เป็นการสำคัญคือ การซ่อมภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียง
     
  7. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    การบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามในรัชกาลปัจจุบัน
    แบ่งได้ 2 ระยะ คือ

    ระยะที่ 1 แรกเสด็จเสวยราชสมบัติ จนก่อนการสมโภชพระนคร 200 ปี
    ระยะที่ 2 การปฏิสังขรณ์ในโอกาสสมโภชพระนคร 200 ปี และฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
     
  8. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    "ฉันเป็นคนสั่งให้เขาทำ ถ้า มีอะไรผิด ฉันขอรับผิดชอบเอง"

    พระราชกระแสในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งทรงไกล่เกลี่ยความเห็น ที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับการตัดเดือยเสาบุษบก ทรงพระแก้วมรกตเพื่อยกชะลอบุษบกทั้งองค์ลง มาซ่อมบูรณะนั้นเป็นคำรับสั่งที่จับใจ ผู้เขียนอยู่ไม่รู้ลืม ด้วยไม่เพียงแต่ทรง ปกป้องให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานถวายไว้ ด้วยพระเมตตา โดยเฉพาะแก่ตัวผู้เขียนตกอยู่ ในฐานะ "จำเลย" ในขณะนั้นหากยังเป็น สิ่งเตือนใจแก่ทุกฝ่ายให้พึงใช้ความรอบ คอบ ระมัดระวัง สังวรถึงผลที่จะสะท้อนสะเทือนถึงเบื้อง พระยุคลบาทในฐานะที่ทรงเป็นองค์ประธานใน การชุมนุมเหล่าช่างผู้เจนจบวิทยายุทธต่างสำนัก ต่างความคิดต่างหลักการกันแล้วพระราชกระแส ข้างต้นจนเสมือนหนึ่งว่าทรงเข้าถึงหัวใจ ของ "ช่าง" ทุกคนได้เป็นอย่างดี
    ...

    งานซ่อมบูรณะที่มีปัญหา มากอีกชิ้นหนึ่งคือ การซ่อมบูรณะบุษบกทรงพระ แก้วมรกต ซึ่งจากการสำรวจพบว่าพื้นพระอุโบสถ มีการทรุดตัวเล็กน้อย เพราะน้ำหนักบุษบกและ ฐานชุกชีลงที่มุมทั้งสี่มากกว่าที่อื่น เป็นเหตุให้เกิดรอยร้าวที่ฐานชุกชี ตัวฐาน ชุกชีปูนยุ่ยต้องซ่อม องค์บุษบกนั้นทรุดโทรมเสา ที่รับเครื่องบนผุกร่อนจนน่ากลัวอันตราย ขณะ มีรถยนต์แล่นผ่านเสาบุษบกจะไหวอยู่ตลอดเวลา

    เครื่องยอดบุษบกนั้นหนักมาก เสาแต่ละต้น รับน้ำหนักไม่เท่ากัน ทำให้เสียการทรง ตัว เสาด้านหลังทางขวาขององค์พระแก้วมรกต (ด้านตะวันตกเฉียงใต้) รับน้ำหนักมาก ที่สุด คันทวยตัวกลางทางด้านซ้ายขององค์ พระแก้วมรกต (ด้านตะวันตกเฉียงเหนือ) ไม้ ข้างในผุหมดสภาพเหลืองแต่ทองที่หุ้มอยู่ เหล่านี้เป็นต้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารีจึงมีพระราชบัญชาให้ดำเนินการ เรื่องความมั่นคงเป็นการด่วน แต่ต้องไม่ให้ เสียหายทางศิลปะด้วย

    บุษบกนั้นถอดได้เป็น ชิ้น การซ่อมจะต้องนำบุษบกลงมาและต้อง เชิญองค์พระแก้วมรกตออกจากบุษบก เรื่องการ นำบุษบกลงจากฐานชุกชี ผู้เขียนได้เล่าไว้ แล้วในตอนต้น และเป็นเหตุให้ผู้เขียนไม่ กล้าทำสิ่งใดอันเป็นการเสี่ยงให้องค์ประธาน ต้องทรงลำบากพระทัยเช่นนั้นอีก เมื่อจำ เป็นต้องเชิญองค์พระแก้วมรกตลงมา ผู้เขียน จึงกราบทูลขอพระราชทานพระมหากรุณาธิ คุณให้ประทับอยู่ด้วย หากเกิดมีปัญหาใดจะ ได้ขอรับพระราชทานพระราชวินิจฉัยได้ทัน ท่วงที และที่สำคัญคือขอพระบารมีเป็นมิ่งขวัญ เป็นกำลังใจแก่ช่างผู้ปฏิบัติงาน เพราะงานซ่อม บูรณะสิ่งเหล่านี้ มิใช่ความรู้ทางงานช่าง แต่อย่างเดียว หากต้องคำนึงถึงความเลื่อมใสศรัทธา ความ เหมาะสมและประเพณีด้วย ก็ทรงพระกรุณาเสด็จมา ประทับอยู่ในพระอุโบสถด้วยตลอดเวลา 3 ชั่วโมง ที่ช่างดำเนินการ เริ่มด้วยการชะลอเลื่อนองค์พระ แก้วมรกต ไปประดิษฐานไว้ที่บุษบกจำลองในพระอุโบสถ นั้นแล้วผู้เขียนได้ลงไปสำรวจใต้ฐานชุกชี เพื่อดูความมั่นคง พบว่ามีพื้นไม้ถูก ไฟไหม้เป็นรูใหญ่ ช่างแต่ก่อนได้ซ่อมโดย ใช้ปูนโบกปิดไว้ เคร่าไม้ที่รับน้ำหนัก องค์พระแก้วมรกตนั้น ของเดิมคงจะใช้ไม้ หลายชิ้น เพราะมีร่องวางตงไว้ แต่พบว่า มีไม้หน้า ๑ คูณ ๒ นิ้วอยู่เพียงอันเดียว ซึ่งเป็นอันตรายมาก จึงได้เปลี่ยนไม้เคร่าและไม้ พื้นใหม่ให้แข็งแรงสมบูรณ์พร้อมทั้งฉีดยากัน ปลวกภายใต้ฐานโดยเรียบร้อย

    ย้อนกลับมา เรื่องพระปรีชาสามารถในศิลปะการบริหารงานของพระ องค์ท่านกับงานบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตน ศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง งานบูรณะครั้งนั้น นับเป็นการชุมนุมช่างผู้เชี่ยวชาญและนักวิชา การด้านสถาปัตยกรรมไทยที่ยิ่งใหญ่ที่สุด จึงเป็น ผลพลอยได้ให้พระองค์ท่านได้ทรงแสดงพระ ปรีชาสามารถด้านการบริหารอย่างยอดเยี่ยมอีกด้วย เพราะ ในฐานะองค์ประธานคณะกรรมการอำนวยการหรือแม่กอง งานบูรณะปฏิสังขรณ์ เมื่อผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายมีความ เห็นแตกต่างกัน ก็ทรงประนีประนอม ยึดทางสายกลาง ทรงนำความคิดที่ดี ๆ ของแต่ละคน มารวมกัน ไม่ทรงเลือกของคนใดคนหนึ่ง และที่สำคัญคือโปรดที่จะเสด็จมาทรงตรวจ งานอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เสด็จมาทั้งเช้า สาย บ่าย เย็น สุดแต่จะทรงปลีกเวลามาได้ครั้ง ละ ๓-๔ ชั่วโมง ผู้ปฏิบัติงานทั้งหลาย มีโอกาสได้เฝ้าฯ โดยใกล้ชิด เพราะจะทรง ซักถามทรงรับฟังข้อเท็จจริง และทรงติด ตามผลการปฏิบัติ ฉะนั้นเมื่อมีบุคคลภายนอกผู้ หวังดีวิพากย์วิจารณ์งานของช่างด้วยถ้อยคำ ที่ออกจะรุนแรงให้ช่างต้องเสียน้ำใจ จึงทรงออกพระโอษฐ์ได้เต็มที่ว่า

    "ฉันเป็นคน สั่งให้เขาทำ ถ้ามีอะไรผิด ฉันขอรับ ผิดชอบเอง"
    ...
    เขียนโดย ดร.สุวิชญ์ รัศมิภูติ


    http://kanchanapisek.or.th/kp8/sirindhorn/pratep06.html
    มีเรื่องรายละเอียดเรื่องการบูรณะวัดพระแก้วอยู่พอสมควร
     
  9. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    [​IMG]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#224422 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#224422 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    มาจากหนังสือ Bangkok in 1892
     
  10. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    <TABLE class=7pts cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>เรื่องเล่า 4 พระอัจฉริยภาพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯเจ้าฟ้านักอนุรักษ์มรดกไทย </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD background=/themes/dwr/images/line_hor.gif>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    2 เมษายน 2548 เป็นอีกวันหนึ่งที่สำคัญของปวงชนชาวไทย เนื่องเพราะเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของ “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”

    ตลอดระยะเวลา 50 ปีแห่งพระชนมายุ พระองค์ท่านมีพระราชกรณียกิจสำคัญๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อปวงชนชาวไทยมากมาย และหนึ่งในแขนงสาขาที่ปวงชนชาวไทยรู้จักกันดีก็คือ การอนุรักษ์มรดกไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 4 สาขาด้วยกันคือ สถาปัตยกรรม วรรณกรรม ดนตรีไทยและนาฏศิลป์

    ในงานเสวนาเรื่อง “พระราชกรณียกิจในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีด้านการอนุรักษ์มรดกไทย” ซึ่งจัดโดย คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 มี.ค. ที่ผ่านมา

    ทั้งนี้ ในงานดังกล่าวมีวิทยากรที่ล้วนแล้วแต่ถวายงานใกล้ชิดกับพระองค์ท่าน มาเผยถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านในด้านศิลปวัฒนธรรมไทย ตลอดจนพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเทพฯที่ทรงเกี่ยวข้องกับงานอนุรักษ์มรดกไทย

    เรื่องของหนอนกับงานซ่อมวัดพระแก้ว
    เริ่มต้นจาก ดร.สุวิชญ์ รัศมิภูติ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งเคยถวายงานใกล้ชิดกับสมเด็จพระเทพฯ ที่จะมาบอกเล่าถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านในด้านสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเล่าน่าสนใจเกี่ยวกับที่มาของการกำเนิดวันอนุรักษ์มรดกไทย
    ดร.สุวิชญ์เล่าให้ฟังว่า

    “ผมคิดว่า เรามีวันอะไรต่างๆมากมาย น่าจะมีสักวันหนึ่งที่เกี่ยวกับเรื่องของการอนุรักษ์มรดกไทย ก็เลยคิดขึ้นมาและเอาชื่อนี้แหละ ตอนนั้นทำงานรับราชการเป็นรองอธิบดีกรมศิลปากร ก็มาคิดว่าน่าจะเอาวันประสูติกาลของสมเด็จพระเทพฯ เป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย ก็พากันไปขอพระอนุญาตจากพระองค์ท่าน ไปกับเลขาฯ หน้าห้อง ปรากฏว่าพระองค์ท่านไม่รับ พระองค์ท่านบอกว่าเดี๋ยวคนอื่นจะตำหนิเอา เราก็อ้อนวอนอยู่นาน ให้เหตุผลไปว่า บ้านเมืองเรามีสมบัติมรดกทางวัฒนธรรมอยู่มาก คนไม่รู้จะเอาไปไว้ไหน พากันสูญหายไปหมด ถ้าเป็นวันที่ 2 เม.ย. ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ท่าน เป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย ประชาชนก็จะนึกถึงและนำสมบัติต่างๆ มาถวาย พระองค์ท่านก็ทรงส่งต่อให้กรมศิลป์ช่วยดูแล ก็เป็นการช่วยอนุรักษ์มรดกของไทยอีกทางหนึ่ง สุดท้ายพระองค์ท่านก็พระทัยอ่อน ยอม”

    นอกจากนี้ เกร็ดที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งก็เป็นช่วงที่กำลังเตรียมการบูรณะซ่อมแซมวัดพระแก้วเพื่อเตรียมเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี
    ดร.สุวิชญ์เล่าว่า
    “ช่วงนั้นคณะกรรมการเพื่อการบูรณะวัดพระแก้วเปลี่ยนแปลงตลอดงานบูรณะไม่สำเร็จเสียที ผมก็มาคิดว่า คนอย่างเราคงไม่มีบุญบารมีเพียงพอ ก็เลยไปขอพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงเป็นประธาน แต่ในหลวงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพฯ เป็นแทน ปรากฏว่าพอสมเด็จพระเทพฯ ทรงมาเป็นประธาน มีคณะกรรมการเพิ่มมาถึง 8 ชุด เพราะใครก็อยากทำงานถวายพระองค์ท่าน และทุกคณะผมเป็นเลขานุการหมด งานวุ่นวายมาก ผมขอลาออกถึง 5-6 ครั้ง แต่ทุกครั้งท่านผู้หญิงเจริญซึ่งทำงานถวายสมเด็จพระเทพจะเรียกผมไปกินข้าว และพูดเกลี้ยกล่อมจนผมไม่ลาออก เป็นอยู่ 5-6 ครั้ง ที่สุดสมเด็จพระเทพฯ ท่านตรัสว่า อยากกินข้าวก็ไม่บอก ไม่ต้องมาทำเป็นลาออกหรอก ผมจึงไม่กล้าลาออก”

    อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่การบูรณะซ่อมแซมวัดพระแก้วใช้ช่างฝีมือจำนวนมาก แถมช่างแต่ละคนจะอีโก้สูงมาก ไม่มีใครยอมใคร ทะเลาะกัน แต่ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระเทพฯ ที่ทรงวินิจฉัยตัดสินด้วยพระองค์เอง ทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี งานถึงได้สำเร็จทันเฉลิมฉลอง 200ปี พอดี

    “วันหนึ่งผมทำงานอยู่ที่ท้ายวัง ท่านก็ทรงให้คนมาเรียกบอกว่ามีของจะพระราชทาน พอไปถึง ท่านตรัส มีของมาฝาก แล้วก็ล้วงไปในกระเป๋า กำไว้ ให้ผมแบมือ ผมก็รับ ปรากฏว่าเป็นหนอน 4 ตัว ซึ่งพระองค์ท่านก็ทรงทราบว่าผมเกลียดหนอนมาก พระองค์ท่านตรัสกินสิ ผมก็ไม่กิน พระองค์ท่านคว้าหนอนไปเคี้ยวกร้วม 1 ตัว บอกว่า อะไรที่ท่านทำไม่ได้ ท่านไม่ให้ทำตามหรอก ผมก็กลั้นใจเคี้ยวไป 1 ตัว เหลืออีก 2 ตัวท่านก็ตรัสให้กินให้หมด ผมก็บอกว่า อธิบดีเดโช( อดีตอธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้น)ชอบ ท่านก็ทรงให้เรียกมา อธิบดีเกลียดหนอนมากกว่าผมเสียอีก ตั้งแต่นั้นมาอธิบดีเดโชก็งอนผมตลอด เวลาผมยกมือไหว้ก็สะบัดหน้าหนี”

    ดร.สุวิชญ์ สรุปถึงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเทพฯ ในด้านสถาปัตยกรรมว่า ทรงมีพระปรีชาสามารถมาก ขณะเดียวกันพระองค์ท่านก็ทรงพระความกรุณามาก ให้ความเป็นกันเองกับคนทำงาน ไม่ถือพระองค์ และมีความประนีประนอมสูง

    เรื่องพระอารมณ์ขันในงานวรรณกรรม
    ถัดมาก็เป็นพระอัจฉริยภาพในเรื่องของวรรณกรรม...
    ผศ.ดร.ญาดา อารัมภีร อาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้เขียนคอมลัมน์ประจำในนิตยสารสกุลไทย กล่าวถึงงานพระราชนิพนธ์ของพระองค์ว่า มีหลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับความสนพระหฤทัยของพระองค์ท่าน

    กล่าวคือ มีทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง บันเทิงคดี และสารคดี ความเป็นนักเขียน และกวีของพระองค์ท่านมาจากการเป็นนักอ่าน ซึ่งเป็นรากฐานของการเขียน และพระองค์ท่านก็มีทั้งพรสวรรค์และพรแสวง ซึ่งหมายถึงความวิริยะฝึกฝนต่อเนื่องมาโดยตลอด จะเห็นได้ว่าท่านมีสมุดจดบันทึกตลอด นอกจากนั้น ยังมีความเชี่ยวชาญหลายภาษา ไม่ใช่แค่พูด อ่าน และเขียน แต่ลงลึกถึงเรื่องวรรณกรรมกระทั่งสามารถแปลงานวรรณกรรมได้

    อย่างไรก็ตาม เมื่อเจริญพระชนมายุมากขึ้น ลักษณะพระราชนิพนธ์ก็เปลี่ยนไปตาม พระปรีชาสามารถ และความสนพระราชหฤทัยก็เปลี่ยนไป

    “ขณะนี้ท่านทรงสนพระทัยสารคดีท่องเที่ยว ผลงานที่ออกมามีมากกว่า 50 เล่ม จุดประสงค์ก็เพื่อต้องการบันทึกทุกสิ่งทุกอย่างที่เห็นเขียนเป็นหนังสือ และใครซื้อหนังสือพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเทพฯ ก็ได้ทำบุญช่วยเหลือเด็กให้มีทุนการศึกษาไปด้วย เพราะรายได้มอบให้เป็นทุนการศึกษาทั้งหมด ซึ่งท่านทรงให้ความสำคัญมากกับเรื่องของการศึกษา”

    ส่วนเสน่ห์ในงานพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพฯ นั้น ต้องบอกว่า เป็นความรู้ที่คู่กับอารมณ์ขัน ปกตินักวิชาการมักจะไม่ค่อยมีอารมณ์ขัน แต่ท่านมี เช่น ในพระราชนิพนธ์เรื่อง ย่ำแดนมังกร มีตอนหนึ่งที่พระองค์ท่านไปประทับที่เมืองซีอาน ประเทศจีน ตอนหนึ่งว่า ในที่พัก ประตูตู้เหมือนประตูห้องมาก จนเปิดประตูเดินเข้าตู้ไปหลายรอบ ซึ่งอ่านแล้วขำมาก ใช้คำง่ายๆ แต่เห็นภาพทั้งหมด

    เรื่องเล่าจากครูดนตรีไทย
    พระอัจฉริยภาพด้านที่ 3 คือเรื่องดนตรีไทย...
    อ.เฉลิม ม่วงแพรศรี ครูดนตรีไทย ออกตัวว่า พระองค์ท่านทรงเหมือนฝนที่โปรยปรายลงมาในหัวใจของนักดนตรีไทย ทำให้นักดนตรีไทยมีกำลังใจ หากพระองค์ท่านทรงทราบว่ามีนักดนตรีไทยคนไหนเจ็บป่วย พระองค์ท่านจะทรงดูแลตลอด

    “ผมเคยถูกรถชน พระองค์ท่านก็พระราชทานความช่วยเหลือ จำได้ไม่ลืม วันที่ 14 เม.ย. 46 ท่านเสด็จฯ มาเยี่ยมพระอาจารย์ที่โรงพยาบาล เมื่อทรงทราบว่าผมป่วยพักอยู่ที่โรงพยาบาลท่านก็ทรงแวะมาเยี่ยมด้วย”

    นอกจากนี้ เวลาเสด็จผ่านครูดนตรีไทย พระองค์ท่านจะเสด็จโดยพระชงค์(เข่า) ไม่เคยเสร็จโดยเท้า ให้ความเคารพ และไม่ถือชั้นวรรณะเลย

    อ.เฉลิม เล่าถึงความไม่ถือพระองค์และความเป็นกันเองของสมเด็จพระเทพฯ ด้วยว่า “มีวันหนึ่งพระองค์ท่านประทับนั่งใกล้กับศิลปินแห่งชาติท่านหนึ่ง ชื่อตี๋ พระองค์ท่านรับสั่งว่า วันนี้นั่งใกล้ศิลปินแห่งชาติด้วย เราก็เป็นศิลปินแห่งชาติเหมือนกันนะ แล้วก็พูดต่อว่า แต่ชาติหน้านะ คุณตี๋ปลาบปลื้มมาก เอาไปคุยไม่หยุดเลย”

    สนพระทัยเรื่องนาฏศิลป์
    ...และด้านสุดท้ายคือ นาฏศิลป์
    ม.ร.ว.อรฉัตร ซองทอง ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า ในด้านนาฏศิลป์นั้น สมเด็จพระเทพฯ จะทรงดนตรีไทยทุกวันอาทิตย์ เช้าเรียนดนตรีไทย บ่ายเรียนนาฏศิลป์ พระองค์ท่านไม่ได้ทรงอยากเรียนเพื่อจะเป็นนักแสดง แต่อยากศึกษาให้ลึกซึ้งในทุกศาสตร์ศิลป์

    “ความสนพระทัยของพระองค์ท่าน ดิฉันเรียกว่า มีทั้งด้านอนุรักษ์ พัฒนา และสร้างสรรค์ ในด้านอนุรักษ์นั้น พระองค์ท่านทรงให้มีการถ่ายทอดการสอนท่ารำแก่เยาวชน ทรงให้รื้อฟื้นการแสดงต่างๆที่หายไปแล้ว เช่น โขนหน้าจอ เป็นต้น ด้านการพัฒนานั้น ในแต่ละครั้งที่มีการฝึกซ้อมนาฏศิลป์ พระองค์ท่านจะทรงแนะนำ ติชมตลอด จนถึงเรื่องการแต่งกาย ผลงานจึงออกมาประณีตมาก”

    “ส่วนการสร้างสรรค์นั้น พระองค์ท่านเคยมีรับสั่งกับกรมศิลปากรว่า น่าจะมีการแสดงชุดระบำไดโนเสาร์ด้วยนะ ซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อน ผ่านไป 1 ปี กรมศิลป์ก็ยังคิดไม่ออก จนท่านต้องทวง ตอนนั้น อ.เสรี หวังในธรรม ท่านก็ไปคิดท่ามาแล้วรำถวาย ก็เลยมีการแสดงชุดระบำไดโนเสาร์ ความที่พระองค์ท่านสนพระทัยในนาฏศิลป์ วันหนึ่งพระองค์ท่านตรัสว่า ใครว่าคนอ้วนรำละครไม่ได้ ดูเราเป็นตัวอย่างสิ แล้วก็เลยมาถึงดิฉันด้วยว่าอ้วนก็ยังรำละครได้สวยเลย ก็ไม่รู้ว่าชมดิฉันรำสวย หรือรับสั่งทางอ้อมว่าดิฉันอ้วนกันแน่”

    ม.ร.ว.อรฉัตร เล่าถึงความเป็นกันเองของพระองค์ท่านว่า "เวลาที่พระองค์ท่านเสด็จทอดพระเนตรการแสดงนาฏศิลป์ที่โรงละครแห่งชาติ พระองค์ท่านก็โปรดให้ประชาชนเข้าเฝ้าฯ ใกล้ชิด ไม่ถือพระองค์ ประชาชนก็พากันปูเสื่อปูผ้านั่งดูนาฏศิลป์อยู่ใกล้ๆ"

    ขณะเดียวกัน สมเด็จพระเทพฯก็ทรงเป็นคีตศิลป์พระองค์หนึ่ง มีความสนพระทัยและเชี่ยวชาญในเรื่องโคลงฉันท์กาพย์กลอนมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์

    ม.ร.ว.อรฉัตร เล่าว่า ในเรื่องของการสักวา ท่านก็มีพระปรีชาสามารถมาก และมีอารมณ์ขัน ด้วย ดังในตอนที่ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานเปิดศูนย์วิจัยวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ ที่ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เมื่อวันที่ 23 ต.ค. 2530 โดยพระองค์ท่านทรงแสดงสักวาตอนรจนาเลือกคู่ พระองค์ท่านทรงบทรจนา ร่วมกับศิลปินท่านอื่นๆ
    มีตอนหนึ่ง พระองค์ท่านทรงร้องสักวาว่า

    “สักวารจนาแอบดูก่อน
    เห็นมีแต่คนจรไม่รู้จัก
    หมอนก็หมิ่นไม่เข้าท่าน่าขันนัก
    เหมือนเลือกหมูเลือกผักมาต้มกิน
    พระพี่นางชอบอย่างนี้ชีวิตเขา
    มาลัยเราไม่ให้ใครทั้งสิ้น
    แต่หากเป็นพระประสงค์องค์นรินทร์
    ต้องผันผินอย่างฉลาดแคล้วคลาดเอย”


    http://www.dwr.go.th/content/news/detail.php?intContentType=1&intContentID=231

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD background=/themes/dwr/images/line_hor.gif>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>ผู้ประกาศ : ศูนย์สารสนเทศทรัพยากรน้ำ(ผู้จัดการออนไลน์ )
    แก้ไขล่าสุด : 02 เมษายน 2548</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD background=/images/bg_hd01.gif bgColor=#f7fafe height=27><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=fontbold>สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 16</TD><TD class=fontbold2 align=right>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD background=/images/m05.gif></TD></TR><TR><TD width=5 background=/images/m04.gif>[​IMG]</TD><TD bgColor=#f7fafe><TABLE class=fontblacksm cellSpacing=8 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE class=fontblacksm cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD>การบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดย นายจุลทัศน์ พยาฆรานนท์
    เมื่อแรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีแห่งสยามประเทศ ในปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชาธิราช พระปฐมบรมมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถาน ตั้งเป็นพระราชวังขึ้น เป็นที่ที่พระองค์และพระราชสกุลวงศ์ ได้ประทับเป็นพระราชฐานอันสถาพรแห่งใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์มาตั้งแต่สมัยนั้นด้วย

    ในพระราชวังแห่งใหญ่ที่ได้สร้างขึ้นนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชาธิราช ยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถาปนาพระมหาอารามขึ้น ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือแห่งพระราชวัง ประดิษฐานไว้ซึ่งพระพุทธมหามณเฑียรสถานอันวิจิตรด้วยสรรพสิ่งงดงามนานา สำหรับเป็นที่สถิตพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธปฏิมาซึ่งรจนาด้วยแก้วมรกตอันวิเศษเป็นประธานในพระมหาอาราม อันได้รับพระราชทานนามในกาลต่อมาว่า "วัดพระศรีรัตนศาสดาราม"

    วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นพระมหาอารามหลวงที่ได้รับการสถาปนาให้เป็นพระอารามอย่างพระพุทธาวาส ไม่เป็นที่พึงมีพระภิกษุหรือคณะสงฆ์พำนักอยู่ประจำดังเช่นในพระอารามหลวงแห่งอื่น ๆ ในบริเวณจังหวัดอันเป็นพระพุทธาวาสแห่งนี้ยังประดิษฐานไว้ด้วยศาสนสถานเป็นที่สถิตปูชนียวัตถุอันสำคัญยิ่ง เป็นที่ที่พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าทรงนับถือ และเป็นที่เคารพสักการะสำหรับประชาชนคนไทยมาแต่อดีตกาลเป็นลำดับมา

    พระพุทธมหามณเฑียรสถาน พระธรรมมหามณฑป พระมหาธาตุรัตนสถูปเจดีย์กับทั้ง บริวารสถานนานาเอนกเนื่องไปในจังหวัดวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ล้วนได้รับการสถาปนา ขึ้นด้วยการอันวิจิตรประกิดพร้อมไปด้วยศิลปะลักษณะเป็นไปตามคตินิยมในแบบอย่างทางพุทธศิลป์และวิจิตรศิลปกรรม ตามขนบนิยมอันสืบสาย "สกุลช่างชั้นสูงของไทย" ไว้อย่างเพียบพร้อม

    พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ ทรงเป็นพระราชธุระในการบูรณปฏิสังขรณ์ ซ่อมแซม สร้างเสริมและตกแต่งศาสนสถานแต่ละแห่งด้วยการทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และประณีตศิลป์ อันวิจิตรนานาขึ้นในพระมหาอารามแห่งนี้เนื่อง ๆ กันมาโดยลำดับในแต่ละรัชกาล ทั้งนี้เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งพระมหาอารามอันใหญ่ ด้วยเป็นที่สถิตพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธปฏิมากรสำคัญ เป็นที่ที่สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทรงนับถือยิ่ง และเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยทั่วประเทศ กับยังเป็นไปเพื่อความเป็นศรีสง่าแก่บ้านเมืองไทยเรานี้อีกโสดหนึ่งด้วย

    วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์คราวใหญ่คราวแรก เมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่ออายุกรุงรัตนโกสินทร์ยั่งยืนยาวมาถึง ๕๐ ขวบปี กาลครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอและ พระเจ้าน้องยาเธอช่วยกันอำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างเสริมเติมแต่งพระมหาอารามนี้เพื่อการเฉลิมสมโภชพระนครที่เจริญวัฒนาขึ้นมาจนถึง ๕๐ ขวบปี อันเป็นการควรปีติยินดีประการหนึ่ง กับเป็นการประกอบพระราชกิจอันเป็นมหากุศลถวายเป็นศาสนบูชาแด่พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ปูชนียวัตถุอันสำคัญยิ่งยวดอีกประการหนึ่ง

    จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดพระศรีรัตนศาสดารามซึ่งได้รับการสถาปนาขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ จนมาถึงรัชสมัยที่กล่าวนี้ อายุกรุงรัตนโกสินทร์ยืนยาวจะบรรจบครบ ๑๐๐ ปี ควรแก่ความยินดีที่จะให้มีการฉลองสมโภช ตามประเพณีนิยม ก็ในกาลสมัยเดียวกันนี้ วัดพระศรีรัตนศาสดารามมีอายุนานจะบรรจบครบ ๑๐๐ ปีเช่นกัน ทัพสัมภาระที่ประกอบประกิดก่อสร้างขึ้นเป็นศาสนสถานทั่วไปในพระมหาอารามก็ถดถอย หมดอายุ ไม่พอที่จะดำรงทรงสภาพต่อไปได้ก็ปรักหักพักชำรุดอยู่ทั่วไป ไม่เป็นที่พึงเป็นไป ในพระมหาอารามคู่บ้านคู่เมืองแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างเสริมและตกแต่งด้วยความประณีตวิจิตรศิลป์ต่าง ๆ ให้ บริบูรณ์ถาวรงดงามดีขึ้นดังเดิม เป็นการบูรณะพระมหาอารามแห่งนี้คราวใหญ่เป็นครั้งที่สอง

    ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประจวบด้วยอายุกาลของกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งมั่นเติบกล้ามาจนบรรจบครบ๑๕๐ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นโอกาสที่ทั้งทางราชการและประชาชนชาวไทยควรปีติยินดีที่จะจัดให้มีการฉลองสมโภชตามโบราณราชประเพณี ในการนี้ส่วนราชการได้คำนึงถึงธรรมเนียมอันพึงปฏิบัติมาแต่กาลคราวก่อน ๆ ในการฉลองสมโภชพระนครเป็นปฐม คือจะต้องดำเนินการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามพระมหาอารามคู่บ้านคู่เมืองถวายเป็นศาสนบูชาดังนั้นวัดพระศรีรัตนศาสดารามจึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์แก้ไขการชำรุดเสื่อมสภาพ ในศาสนสถานทั่วไปทั้งหมดภายในพระมหาอารามให้คืนคงดีงามให้สมกับพระมหาอารามสำคัญแห่งเดียวของชาติสืบไป การบูรณปฏิสังขรณ์ คราวนี้เป็นการคราวใหญ่ครั้งที่สาม

    กาลล่วงเลยมาจนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กรุงรัตนโกสินทร์ราชธานีอันกว้างใหญ่แห่งสยามประเทศ มีอายุกาลเจริญปีทวีขึ้นจะบรรจบครบ ๒๐๐ ปีในปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ ส่วนราชการและประชาชนต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่าเป็น โอกาสอันควรปีติยินดียิ่งที่ราชธานีอันเป็นที่ตั้งในการบริหารประเทศชาติบ้านเมือง ดำรงมั่นคง ถาวรเจริญวัฒนาอย่างยากที่สมัยใดจะเทียบเสมอได้ สมควรที่จะร่วมกันจัดการฉลองสมโภช โดยโบราณราชประเพณี อันเป็นการแสดงออกซึ่งความปีติยินดีเนื่องในการฉลองสมโภชอายุ พระนคร

    ในการเตรียมงานฉลองสมโภช ๒๐๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ ทางราชการได้คำนึงถึงโบราณราชประเพณีว่าการจัดการฉลองกรุงรัตนโกสินทร์แต่อดีตกาล แต่ละคราวนั้น ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามขึ้นให้ใหม่หมดจนสวยงาม เพื่อถวายเป็นศาสนบูชาแด่พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรเป็นคราวใหญ่ทุกครั้งเช่นกัน ในโอกาสที่ทางราชการดำริจัดงานฉลองสมโภช ๒๐๐ ปีกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ควรที่จะได้ดำเนิน การบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามถวายเป็นศาสนบูชาตามโบราณราชประเพณี ดังที่พึงถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียมอันดียิ่งประการ หนึ่ง กับยังจะเป็นโอกาสในการที่จะอนุรักษ์ ศิลปะสมบัติในด้านพุทธสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และประณีตศิลป์ต่าง ๆ อัน เป็นแบบแผนทางการช่างศิลปะไทยชั้นสูง ซึ่งตกทอดมาแต่อดีตให้ดำรงอยู่เป็นที่ควรเชิดชู สำหรับบ้านเมืองสืบไป

    การดำเนินงานบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในโอกาสฉลองสมโภช ๒๐๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ คราวนี้จัดเป็นงานใหญ่ ทางราชการได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในด้านศิลปกรรมไทยสาขาต่าง ๆ เพื่ออำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามแต่เนิ่น ๆ ตั้งแต่ ปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ มีเวลาทำการบูรณปฏิสังขรณ์ให้สำเร็จเสร็จทันงานฉลองสมโภชพระนครนานถึง ๕ ปี

    การบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามคราวใหญ่ ๆ ซึ่งดำเนินการให้สำเร็จเพื่อร่วมในการฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์แต่ละครั้ง ๆ ในอดีตนั้น พระบาทสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งพระเจ้าลูกยาเธอบ้าง พระเจ้าน้องยาเธอบ้าง ให้ดำรงตำแหน่งแม่กอง นายด้าน อำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์พระมหาอารามให้สำเร็จ ลุล่วงเรียบร้อยทันการฉลองสมโภชพระนครทุกครั้งทุกคราว ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมตามโบราณราชประเพณีดังนี้มาโดยลำดับ

    ในโอกาสดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม คราวฉลองสมโภช ๒๐๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์คราวนี้ คณะกรรมการอำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตระหนักในธรรมเนียมตามโบราณราชประเพณีดังกล่าวประการหนึ่ง กับในส่วนการพิจารณาการดำเนินงานบูรณปฏิสังขรณ์ย่อมจะต้องดำเนินการอนุรักษ์ศิลปะสมบัติในด้านศิลปกรรมมิให้ผิดแผกแปลกไปจากแบบแผนดั้งเดิม ซึ่งเป็นการประณีตละเอียดอ่อนเป็นปัญหาที่ต้องการการวินิจฉัยด้วยความลุ่มลึกและรอบรู้ในศิลป์และศาสตร์ทางศิลปกรรมไทยโดยผู้ทรงวุฒิเป็นเอตทัคคะในศิลปวิทยาเพื่อการชี้แนะวินิจฉัยให้คณะกรรมการสามารถขจัดปัญหาและดำเนินงานลุล่วงไปได้อีกประการ หนึ่งเป็นสำคัญ

    โดยเหตุดังกล่าว คณะกรรมการอำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามจึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเพื่อขอรับพระมหากรุณาธิคุณและพระบรมราชานุญาตโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นประธานกรรมการอำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และยังในส่วนพระบรมมหาราชวังอีกด้วยด้วยเดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมและพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับอัญเชิญเสด็จเป็นแม่กองบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวังดังความปรากฏในคำกราบบังคมทูลรายงานการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตน ศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง ตอนหนึ่งว่า

    "ครั้งถึงปลายปีพุทธศักราช ๒๕๒๓ ใกล้เวลาที่จะมีการสมโภชพระนคร จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้ข้าพระพุทธเจ้า เป็นประธานกรรมการอำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง ฉลองพระเดชพระคุณคิดการดำเนินการให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ทันการกำหนดสมโภชพระนครให้จงได้"

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงรับพระราชภารกิจด้วยความเอาพระทัยใส่ ได้เสด็จมาทรงเป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นประจำ เพื่อการกำหนดแผนงานบูรณะ การจัดหาทุนมาเพิ่มเติมงบประมาณในการใช้จ่าย ทรงพระราชทานพระราชวินิจฉัย และชี้นำการแก้ปัญหาในการบูรณปฏิสังขรณ์ที่นอกเหนือไปจากการเสริมสร้างความมั่นคงแข็งแรงสวยงามแล้ว ยังจะต้องอนุรักษ์แบบแผนศิลปกรรมแบบประเพณีไทยไว้มีให้เปลี่ยนแปลงเป็นอื่นอีกด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกำกับตรวจตราการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามด้วยพระองค์เองเป็นประจำโดยเฉพาะในเวลาเย็นที่ทรงว่างจากพระราชภารกิจประจำวันด้านอื่น ๆ แล้ว ยังไม่แต่ในยามปรกติเท่านั้น โอกาสใดที่เกิดมีปัญหาในการบูรณปฏิสังขรณ์ซึ่งนายด้านทำการซ่อมคณะกรรมการการบูรณะไม่อาจแก้ปัญหาในการดำเนินงาน ทั้งในทางกำหนดหรือตกลงทางรูปแบบศิลปะไทย หรือวิธีการอนุรักษ์ให้ดำเนินไปได้ก็ดี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ทรงพระกรุณาเสด็จมาพระราชทานพระราชวินิจฉัยด้วยพระปรีชาสามารถ และสุขุมคัมภีรภาพยิ่งในศิลป์และศาสตร์แห่งศิลปวิทยาดังจะเห็นได้จากบันทึกความทรงจำในการบูรณะวัดพระแก้ว ของ ดร. สุวิชญ์ รัศมิภูติ รองอธิบดี กรมศิลปากร (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร) ตอนหนึ่งว่า

    "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาเป็นองค์ประธานฯ งานจึงลุล่วงมาด้วยดี ที่ว่าด้วยดีหมายความว่าสามารถฟันฝ่าอุปสรรคจนเสร็จตามกำหนด ทั้งนี้ถ้าไม่ได้พระบารมีของพระองค์ท่านเป็นที่พึ่งพระองค์ท่านทรงวินิจฉัย ตัดสินพระทัยเด็ดขาดไม่มีใครกล้าอุทธรณ์ฎีกา งานจึงเริ่มดำเนินมา ด้วยดี"

    การบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตน ศาสดารามเมื่อครางฉลองสมโภช ๒๐๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ คณะกรรมการอำนวยการปฏิสังขรณ์ได้ตระหนักเป็นอย่างดีว่า พระมหาอารามและพระบรมมหาราชวังนั้น พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกรัชกาลได้ทรงสร้างสิ่งก่อสร้างอันจำเป็นจนครบถ้วนและงานสมบูรณ์พร้อมอยู่แล้ว

    การบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวังในครั้งนี้ นับเป็นการบูรณะครั้งใหญ่เป็นครั้งที่ ๔ นับแต่ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีแห่งสยามประเทศ การบูรณะได้กระทำโดยมุ่งผดุงรักษาแบบแผนของการช่างและแบบอย่างศิลปะประเพณีไทยร่วมกับวิทยาการสมัยใหม่ โดยเฉพาะเรื่องของการเสริมสร้างความมั่นคงแข็งแรงเพื่อการธำรงรักษาให้เป็นศรีสง่าอยู่คู่กรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเกียรติยศในแผ่นดินสืบไป

    การบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้วเสร็จสำเร็จทันการฉลองสมโภช ๒๐๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์นี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้กราบบังคมทูลรายงานการบูรณะ ตอนหนึ่งว่า "กรมศิลปากร" ตลอดจนผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการ และเหล่าช่างนายด้านทำการ ได้ลงมือปฏิสังขรณ์ตามโครงการแต่เดือน ๙ ปีมะเส็งนพศก จุลศักราช ๑๓๓๙ ตรงกับพุทธศักราช ๒๕๒๐ สืบมาจนถึงวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ ปีจอจุลศักราช ๑๓๔๓ ตรงกับพุทธศักราช ๒๕๒๕ ประมวลเวลาที่เหล่าช่างและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ทำการมาด้วยความวิริยะอุตสาหะยิ่งเป็นเวลาถึงกว่า ๔ ปี สิ้นเงิน ๓๕๐ ล้านบาทการแล้วเสร็จทุกสิ่งสรรพสมดังพระราชประสงค์ ทุกประการ"

    พระราชภารกิจอันยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดในการอนุรักษ์มรดกของชาติ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเห็นจะไม่มีการใดยิ่งใหญ่และสำคัญเท่ากับทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นแม่กองงานบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมราชวัง ซึ่งทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพระองค์แรกแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ทรงเป็นแม่กองอำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง ซึ่งอดีตกาลนั้น แม่กองอำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์ ล้วนแต่เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าน้องยาเธอที่เป็นชายทั้งสิ้น

    วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวังได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ให้คืนคง สภาพมั่นคงแข็งแรง สามารถผดุงรักษาแบบแผนทางการช่าง และรูปลักษณะทางศิลปะ ประเพณีไทย งานสรรพสมบูรณ์พร้อมอยู่ในโอกาสฉลองสมโภช ๒๐๐ ปีกรุงรัตนโกสินทร์เป็นศรีสง่าแก่บ้านเมืองดังเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ก็เนื่องด้วยพระบารมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับพระราชภารกิจเอาพระทัยใส่ในการกำกับดูแลอย่างขะมักเขม้น โดยไม่ทรงเห็นแก่ความเหนื่อยยาก

    บ่อยครั้งที่พสกนิกรได้รับทราบจากสื่อมวลชนว่า เมื่อทรงว่างจากพระราชภารกิจประจำวันในเวลาเย็น ได้เสด็จเป็นการส่วนพระองค์ไปทรงตรวจตราการบูรณปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวังคราวละนาน ๆ ซึ่งเป็นที่ชื่นชมโสมนัสในพระวิริยะอุตสาหะและพระราชศรัทธาเป็นที่ยิ่ง สมดังที่ทรงเป็นพระผู้ทรงพระราชูปถัมภกมรดกศิลปกรรมไทยโดยแท้

    (ดูเพิ่มเติมจากเรื่อง กรุงเทพมหานคร เล่ม ๒ การศาสนา เล่ม ๔ ประติมากรรมไทย เล่ม ๑๔ พระราชวังในกรุงเทพมหานคร เล่ม ๑๔)


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. มือใหม่เจ้า

    มือใหม่เจ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    574
    ค่าพลัง:
    +375
    พี่ๆๆครับใช่สมเด็จวังหน้ารึเปล่าครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC09988.JPG
      DSC09988.JPG
      ขนาดไฟล์:
      39.7 KB
      เปิดดู:
      112
    • DSC09989.JPG
      DSC09989.JPG
      ขนาดไฟล์:
      57.4 KB
      เปิดดู:
      137
  13. ทองอ้วน

    ทองอ้วน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +135
    พอดีผมได้ค้นหาหนังสือเกี่ยวกับพระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว แล้วไปเจอหนังสือ 2 เล่มนี้มาครับ .jpg

    .jpg ไม่ทราบว่าใครเคยดูบ้างหรือยังครับ เนื้อหาเป็นอย่างไรบ้างครับ ช่วยแนะนำให้หน่อยครับ ถ้าเนื้อหา น่าสนใจผมก็จะตัดสินใจซื้อมาอ่านศึกษาดูนะครับ ขอบคุณครับthaxx
     
  14. มูริญโญ่

    มูริญโญ่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +583
    <TABLE class=tborder id=post1450035 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>ทองอ้วน<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1450035", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    เข้ามาครั้งล่าสุด: วันนี้ 06:14 PM
    วันที่สมัคร: Jul 2008
    ข้อความ: 24
    ได้ให้อนุโมทนา: 119
    ได้รับอนุโมทนา 140 ครั้ง ใน 24 โพส
    <IF condition="">
    </IF>พลังการให้คะแนน: 0 [​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1450035 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->พอดีผมได้ค้นหาหนังสือเกี่ยวกับพระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว แล้วไปเจอหนังสือ 2 เล่มนี้มาครับ[​IMG]

    [​IMG] ไม่ทราบว่าใครเคยดูบ้างหรือยังครับ เนื้อหาเป็นอย่างไรบ้างครับ ช่วยแนะนำให้หน่อยครับ ถ้าเนื้อหา น่าสนใจผมก็จะตัดสินใจซื้อมาอ่านศึกษาดูนะครับ ขอบคุณครับthaxx
    <!-- / message --><!-- attachments --></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ตุณ ทองอ้วน<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1450035", true); </SCRIPT> ผมว่าหาซื้อ ทีเด็ดสมเด็จฉบับปฏิรูปของอาจารย์พนธ์ นิลผึ้ง เล่มใหญ่ราคาประมาณ 900 บาทน่าจะมีสาระเยอะกว่านะครับ ภาพก็เยอะดีครับ
    2เล่มที่คุณโพสมาสาระจะน้อยกว่านะครับ ต้องบอกก่อนว่าตามความเห็นของผมคนเดียวนะครับคนอื่นอาจจะมีความเห็นไม่ตรงกันก็เป็นได้ครับ
     
  15. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    หุหุ ผมอยากอ่านเล่มละ 300000 น่ะครับท่าน
     
  16. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    หนังสือเล่มนี้เป็นแนววิเคราะห์มีที่มาอ้างอิง ถือว่าเป็นหนังสือที่ดีมากช่วงแรกที่ได้มาผมอ่านเป็น 10 รอบครับ
     
  17. nanodent

    nanodent เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,730
    ค่าพลัง:
    +943
    <TABLE class=tborder id=post1450035 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>ทองอ้วน<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1450035", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    เข้ามาครั้งล่าสุด: วันนี้ 08:27 PM
    วันที่สมัคร: Jul 2008
    ข้อความ: 24
    ได้ให้อนุโมทนา: 119
    ได้รับอนุโมทนา 140 ครั้ง ใน 24 โพส
    <IF condition="">
    </IF>พลังการให้คะแนน: 0 [​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1450035 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->พอดีผมได้ค้นหาหนังสือเกี่ยวกับพระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว แล้วไปเจอหนังสือ 2 เล่มนี้มาครับ[​IMG]

    [​IMG] ไม่ทราบว่าใครเคยดูบ้างหรือยังครับ เนื้อหาเป็นอย่างไรบ้างครับ ช่วยแนะนำให้หน่อยครับ ถ้าเนื้อหา น่าสนใจผมก็จะตัดสินใจซื้อมาอ่านศึกษาดูนะครับ ขอบคุณครับthaxx
    <!-- / message --><!-- attachments --></TD></TR></TBODY></TABLE>


    เห็นด้วยกับเฮียมูครับผมก็ซื้อมาทั้ง 3 เล่มที่กล่าวมา เล่มที่คุณทองอ้วนถามมาผมฟันธงเลยสู้เล่มที่เฮียมูแนะนำไม่ได้จริงๆ
     
  18. ทองอ้วน

    ทองอ้วน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +135
    ขอบคุณครับ คุณ มูริญโญ่ คุณ guawn ส่วนหนังสือที่เล่มละ 300,000 บาท ผมก็อยากอ่านเหมือนกันนะครับแต่หาอ่านยากจริงๆครับ ไม่รู้จะไปเสาะหาอ่านที่ไหนครับ
     
  19. nanodent

    nanodent เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,730
    ค่าพลัง:
    +943
    จากที่ลงสนามตามหาท่านตั้งนานหลายเดือนในที่สุดท่านก็มีเมตตาโปรดให้เจอท่านจนได้...หมายเหตุองค์จริงออกสีเหลืองอมเขียวก้านมะลิอ่อนๆเนื้อหนึกนุ่มไม่แข็งกระด้าง...เหตุเพราะแสงจากโคมไฟจึงออกสีแบบที่เห็นครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • grd001.jpg
      grd001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      166 KB
      เปิดดู:
      89
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2008
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

แชร์หน้านี้

Loading...