วิชชา ธรรมกาย ไม่ได้มาจาก วัดพระธรรมกาย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย jack5487, 28 มิถุนายน 2008.

  1. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,167
    กระทู้เรื่องเด่น:
    24
    ค่าพลัง:
    +29,754
    มงคล38 ประการ ข้อที่ 30 สนทนาธรรมตามกาล

    <TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top> ยามหดหู่ ฟุ้งซ่าน กาลสงสัย
    เป็นสมัย ไต่ถาม ตามเหตุผล
    เพื่อบรรเทา คลี่คลาย หายกังวล
    ควรจะสน- ทนาธรรม ตามที่ควร.




    การได้สนทนากันเรื่องธรรม ทำให้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ และได้รู้ในสิ่งใหม่ๆ ที่เราอาจนึกไม่ถึง หรือเป็นการเผื่อแผ่ความรู้ที่เรามีให้แก่ผู้อื่นได้ทราบด้วย
    ก่อนที่เราจะสนทนาธรรม ควรต้องพิจารณาและคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ


    ๑.ต้องรู้เรื่องที่จะพูดดี
    ๒.ต้องพูดเรื่องจริง มีประโยชน์
    ๓.ต้องเป็นคำพูดที่ไพเราะ
    ๔.ต้องพูดด้วยความเมตตา
    ๕.ต้องไม่พูดจา่โอ้อวด หรือยกตนข่มท่าน



    ข้อปฏิบัติเมื่อมีการสนทนาธรรม


    ๑.มีศีลธรรม คือการเป็นผู้ที่รักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ เป็นนิจศีลอยู่แล้ว การเป็นผู้ปฏิบัติถือเป็นหน้าที่ขั้นต้นในการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี
    ๒.มีสมาธิดี คือการมีจิตใจจดจ่ออยู่กับเรื่องที่สนทนา ไม่ว่อกแวก พร้อมทั้งเป็นผู้ที่หมั่นเจริญสมาธิภาวนาด้วย
    ๓.แต่งการสุภาพ คือการแต่งตัวให้เหมาะสมกับยุคสมัย อยู่ในกรอบประเพณีของสังคมแวดล้อม ณ ที่นั้นๆ ถูกกาลเทศะ
    ๔.มีกิริยาสุภาพ คือมีความสุภาพในท่วงท่าไม่ว่าจะเดิน นั่ง ยืน หรือการกระทำใดๆ การที่มีกิริยางดงาม สุภาพย่อมโน้มน้าวจิดใจผู้พบเห็นให้เกิดความประทับใจที่ดี
    ๕.ใช้วาจาสุภาพ คือการใช้ถ้อยคำที่สุภาพในการสนทนา ไม่ใช้คำหยาบคาย หรือก้าวร้าว
    ๖.ไม่กล่าวค้านพระพุทธพจน์ คือการไม่นำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นข้อสงสัย หรือกล่าวค้าน เพราะสิ่งที่กล่าวไว้ในพระพุทธพจน์ย่อมเป็นความจริงตลอดกาล
    ๗.ไม่ออกนอกประเด็นที่ตั้งไว้ คือการพูดให้อยู่ในหัวข้อที่ตั้งไว้ ไม่พูดแบบน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง
    ๘.ไม่พูดนานจนน่าเบื่อ คือการเลือกเวลาที่เหมาะสมตามสถานการณ์ เนื่องจากเรื่องบางเรื่องอาจไม่จำเป็นต้องขยายความมากเกินไป




    [MUSIC]http://www.dhammakaya.org/wmp.asx[/MUSIC]


    </TD></TR></TBODY></TABLE></B></U>









    OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO


    ตอนแรกตั้งใจว่า จะตอบคุณขันธ์อยู่นะ


    แต่ตอนนี้...............


    จะคิดว่า ผมแก้ต่าง หรือ ตอบไม่ได้ ก็แล้วแต่จะปรุงแต่ง


    คุยกับ คุณบุคคลทั่วไป 3 คน คุ้มกับการใช้เวลา และการปรุงกรรม



    .....เราห้ามคนอื่นไม่ให้คิด ไม่ให้ปรุงไม่ได้
    แต่ถ้าจะเลือกคุยกับใคร เวลาใด นั่นเป็นสิทธิ์ของเรา


    พระพุทธองค์ และ บัณฑิตทั้งหลาย ท่านไม่ใช่จะตอบทุกคนทุกเวลา

    ผมเอาเวลาไปปั้นพระ และ เอกสารทอดผ้าป่าต่อก่อนนะครับ


    พี่จะว่าอะไรผมก็ตามแต่เจตนาครับ


    ปล. ยังรอพี่เล่าวิธีเข้าถึงธรรมกายในสมัยเดิมๆที่พี่เคยใช้อยู่นะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 กรกฎาคม 2008
  2. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    กระทู้นี้เพิ่งพบเจอนะครับ สนทนากันดูออกรสชาติดีจัง


    แต่เพิ่งอ่านได้เล็กน้อย ดูเหมือนจะพูดคนละเรื่องเดียวกันอยู่นะครับ เดี๋ยวขอค่อยๆ อ่านดูก่อน แต่ขอแสดงความเห็นส่วนตัวบ้าง ดังนี้


    การดับกิเลสการดับทุกข์นั้น บางท่านว่าเพียงไปรู้เห็นตามความเป็นจริงแล้วละมันเสีย บางท่านว่าต้องดับกิเลส บ้างว่าต้องปล่อยวาง ถามว่าจะเชื่ออย่างไรดี ตอบว่า จะทำอย่างไรก็ทำเถิด กิเลสหมดไปจากขันธสันดานแล้วหลุดพ้นได้จริงไหมล่ะ ถ้าทำได้จริงก็อนุโมทนาล่ะครับ


    ประเด็นของเรื่องวิชชาธรรมกายขั้นปราบมารนั้น ต้องเข้าใจให้ชัดก่อนว่า เป็นเรื่องของการแก้ทุกข์ร้อนที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ของส่วนรวม ส่วนการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นส่วนตัวนั้น วิชชาธรรมกายเรียกว่าทำวิชชาสะสางธาตุธรรมส่วนตัวให้หลุดล่อนไปจากขันธสันดานไปทุกกายจนสุดหยาบสุดละเอียด วิธีการก็คือ โพธิปักขยธรรม 37 ประการนั่นเอง (ธรรมกายนั้น ได้แก่ โลกุตตรธรรมซึ่งจะเข้าถึงได้ด้วย โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีสติปัฎฐาน ๔ เป็นต้น ตลอดจนกระทั่งอริยธรรมมีองค์ ๘ ประการ และความรู้ในอริยสัจ ๔ ประการ เป็นธรรมกาย ข้อมูลจาก "ธรรมกาย" ในแนวคิดพระธรรมปิฎก http://palungjit.org/showthread.php?t=137507)

    ทีนี้เรากำลังพูดกันคนละเรื่องเดียวกันหรือเปล่าไม่ทราบ แต่ผู้พูดคือผู้ที่ถือหลักปฏิบัติคนละแบบตีความหมายของวีธีบรรลุธรรมต่างกัน แต่ผลยังไม่เกิดแก่ผู้พูดเลยกระมัง ก็อ้างกันไป บางท่านอาจจะอ้างการปฏิบัติสติปัฏฐาน อ้างวิปัสสนา อ้างต่างๆ นานา แต่ผลก็ยังไม่เกิดแท้จริงคือตนเองผู้อ้างก็ยังไม่หมดกิเลส


    ตอนนี้ขอเสนอแค่นี้ก่อน ผมว่าท่านยังไม่เข้าใจเรื่องการปฏิบัติตามแบบวิชชาธรรมกาย เพียงแต่ท่านเอาความคิดตามประสบการณ์ของท่านมาจับแบบผิวเผินเท่านั้นเองกระมังครับ
     
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ไม่ใช่เรื่องเดียวกันหรอกครับ ธรรมกายนั้นมีวิธีที่แตกต่างกันไป คือ การนั่งสมาธิ แล้วปริกรรมคำว่า สัมมาอรหัง แล้วกำหนดดูแก้วกลางกาย มองดิ่งเข้าไปลึกเข้าไป จะเห็นกายทิพย์ออกเป็นชั้นๆ ท่านก็ว่า กายแบบนี้ คือ กายเทวดา กายแบบนี้คือ กายพรหม กายแบบนี้คือ กายพระโสดาับัน ไปจนถึงกายพระอรหันต์ ซึ่งก็ไม่รู้ว่า ใครรับรองหรือ ใครบอก ใครเป็นคนกำหนดกฎเกณฑ์ ก็มิทราบได้ว่า จำแนกกายแต่ละอย่างได้อย่างไร ซึ่งประเด็นนี้เอง ที่ เรียกว่า เดาไป

    เพราะว่า แท้จริงแล้ว พระอริยะบุคคลนั้น ถ้ายังต้องเกิด ก็ต้องมีกาย อยู่ในชั้นใดชั้นหนึ่งใน สุคติภูมิ คือ อาจจะเป็นเทวดา อาจจะเป็นพรหม อาจจะเป็นมนุษย์

    ทีนี้ เราจะบอกว่า กายสว่างเท่านั้นเท่านี้ ละเอียดเท่านั้นเท่านี้เป็น พระอริยะบุคคลไม่ได้
    เพราะ พระอริยะบุคคลนั้น อยู่ที่ใจอันเลยสมมติไปแล้ว ยกตัวอย่างเช่น พระอรหันต์ นี้กายเป็นมนุษย์ แต่ใจเป็นพระอรหันต์ หาอยู่ชั้นใด สวรรค์ก็ไม่เจอ เป็นต้น

    นี้ธรรมกายยังติดใน สมมติ คือ เต็มที่คือ รูปพรหม เพราะวิธีการนั้น ดิ่งสงบไปเรื่อยๆ แต่ยังติดใน รูป ราคะ คือ เห็นความละเอียด ก็ยังชื่นชม ไม่ได้เท่าทันกิเลส อันเป็นนามธรรม
    พอสงบเข้าไปเื่รื่อยๆ มันก็เข้าสู่ ฌาณ รูปที่เห็นกลางกายจึง ละเอียดไปตามภพภูมิตามลำดับ หาได้เป็น วิชชา ของพระพุทธองค์ไม่

    คำว่าธรรมกายใน พระไตรปิฎก คือ นิพพาน คือ กายเป็นธรรม ไม่ใช่รูป
     
  4. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ขันธ์ [​IMG]
    ผมขอให้ ท่านที่มีภูมิด้าน ธรรมกาย เชิญมาถกธรรมกับผม โดยผมจะตั้งคำถามไว้ดังนี้คือ

    1 ในวิชาธรรมกาย มีการ ถอนกิเลสโดยใช้ อะไรเป็นตัวถอน
    2 ในเรื่อง แสงสว่าง ที่กล่าวว่า เมื่อมีแสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เอาเข้าเทียบกับหลัก มหาสติปัฎฐานสี่ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม อย่างไร
    3 คำว่า ไตรลักษณ์ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา นั้นพิจารณาส่วนใด ในธรรมกาย

    เอาสามข้อนี้ ใครที่คิดว่า เชี่ยวชาญในด้านธรรมกาย ผมขอเชิญ
    *********************************************************

    จะขอลองตอบปัญหาที่ไม่น่าเป็นปัญหาดูนะครับ

    1 ในวิชาธรรมกาย มีการ ถอนกิเลสโดยใช้ อะไรเป็นตัวถอน

    - อันที่จริงเราต้องเข้าใจตรงนี้ก่อน ผผมขออธิบายให้ชัดอย่างนี้ ในการฝึกให้เห็นกายในกายจนกระทั่งถึงธรรมกายนั้น มีขั้นตอนของสมถะและวิปัสสนาตามส่วนแห่งการปฏิบัติ ขั้นต้นนั้น การรวมใจให้เป็นหนึ่งจนกระทั่ง ใจหยุดเป็นจุดเดียวกันเห็นดวงปฐมมรรคนั่นคือใจที่อยู่ในสภาพของสมถะ เมื่อเราพัฒนาใจไปจนกระทั่งเห็นกายในกาย ตั้งแต่ กายมนุษย์ละเอียด ทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด พรหมหยาบ พรหมละเอียด อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด นี่เรียกว่ากายโลกีย์ เป็นขั้นฝึกสมถะ ตั้งแต่รูปฌาณอรูปฌาณ พิจารณานรก-สวรรค์ กายในกายเหล่านี้มีกิเลสอะไรบ้างเราต้องเข้าไปพิจารณา และเมื่อเข้ากายในกายต่อไป จนกระทั่งถึงธรรมกาย ตั้งแต่ธรรมกายโคตรภู โสดา สกิทาคามี อนาคามี จนถึงธรรมกายพระอรหัตต์(ทั้งหยาบและละเอียด) นี่คือขั้นโลกุตตระ ขั้นวิปัสสนาเราพิจารณา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ ให้ตรงตามความเป็นจริง คือเห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกายโลกีย์ทุกกาย ขอยกข้อมูลให้พิจารณากันดังนี้
    ขันธ์ ๕ เป็นภาระอันหนัก พระธรรมเทศนาหลวงพ่อวัดปากน้ำ
    http://gotoknow.org/blog/dhammakaya-laungporsodteach/85810

    วิธี ถอดเบญจขันธ์เบื้องต้นต้องสำรวม ที่จะสำรวมน่ะ ต้องพิจารณาเบญจขันธ์ทั้ง ๕ เสียก่อนว่าเป็นของไม่ดีไม่งาม เป็นของไม่ดีไม่งามนะ เป็นของหนักจริงๆ นะ รู้ว่าเป็นของหนักแล้ว เริ่มต้นทีเดียว เมื่อเห็นว่าหนักละก็เริ่มต้นสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เลยทีเดียว สำรวมระวังไว้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในเวลาที่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มากระทบ คอยระวังไว้สำรวมไว้ให้ดี

    เมื่อระวังให้ดีแล้วสละความยินดี ยินร้ายไม่ให้มากระทบ ไม่ให้ความชอบความไม่ชอบซึ่งเป็นกิเลสหยาบเข้ามากระทบได้ สละเสีย เมื่อสละเช่นนั้น ถ้าว่าเกียจคร้านไม่ได้นะ ต้องหมั่นขยันทีเดียว ต้องมีความเชื่อมั่นว่าปล่อยได้จริง แล้วขยันหมั่นเพียรจริงๆ นั่นแหละจึงจะปล่อยได้

    ถ้าไม่สำรวมระวังปล่อยพลั้งเผลอละก้อ เหมือนดังคนเกียจคร้านมีปัญญาเลวทราม ก็ต้องรัดรึงตรึงตราอยู่ในเบญจขันธ์ทั้ง ๕ ก็บุคคลมีศรัทธา มีความเพียรดี มีความเพียรหมั่นขยัน กลั่นกล้านั้นแหละอาจปล่อยขันธ์ ๕ ได้ล่ะ แต่ว่าวิธีจะปล่อย ท่านชี้แจงแสดงย่อยออกไปเป็นตำรับตำราออกไปเป็นส่วนๆ ให้เป็นตำรับตำราออกไปว่า จกฺขุนา สํวโร สาธุ สำรวมตาได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ อย่างไร ความติดมั่นในรูปารมณ์ก็ไม่มี สำรวมหูได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำเร็จอย่างไร ความติดมั่นในสัททารมณ์ก็ไม่มี หยุดไปได้ สำรวมจมูกได้ ความติดมั่นถือมั่นในกลิ่นก็ไม่มี หลุดไปได้ สำรวมในลิ้นได้ ก็ไม่ติดในรส สำรวมในกายได้ ความสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็ง ก็หลุดไป ยังประโยชน์ให้สำเร็จดังนี้
    เมื่อสำรวมกายได้ สัมผัสก็หลุดไป สำรวมวาจาได้ ที่จะมีโทษทางวาจาก็ไม่มี หลุดไป สำรวมใจได้ โทษทางใจก็ไม่มี ยังประโยชน์ให้สำเร็จเป็นชั้นๆ ไป ดังนี้ ความสำรวมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นแหละ ทั้ง ๖ อย่างสำรวมได้แล้ว ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ทั้งหมด ปรากฏว่าผู้ศึกษาพระธรรมวินัยต้องเป็นผู้มีหลักมีเกณฑ์อย่างนี้ เมื่อมีหลักมีเกณฑ์อย่างนี้แล้ว ได้ชื่อว่าสำรวมดีในสิ่งทั้ง ๖ ประการ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำรวมใจดีแล้วหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้จริงๆ นะ


    เขา ทำกันอย่างไร ต้องทำใจให้หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ที่เคยแสดงอยู่เสมอๆ เข้าสิบเข้าศูนย์ให้ดี ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ พอหยุดนิ่งก็เข้ากลางของกลางๆๆๆๆๆ เป็นลำดับไป เมื่อเข้ากลางของกลางเป็นลำดับ จนกระทั่งถึงดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    เข้าถึงกายมนุษย์ ละเอียด กายมนุษย์หยาบหลุด หยุดอยู่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ถูกส่วนเข้า เข้ากลางของกลาง หยุดเรื่อยไป ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

    เข้าถึงกายทิพย์ กายมนุษย์ละเอียดก็หลุดไป
    เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด กายทิพย์หยาบก็หลุดไป
    เข้าถึงกายรูปพรหม กายทิพย์ละเอียดก็หลุดไป
    เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมหยาบหลุดไป
    เข้าถึงกายอรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียดหลุดไป
    เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมหยาบหลุดไป
    เข้าถึงกายธรรม กายอรูปพรหมละเอียดหลุดไป
    นี่หลุดไป ๘ กายแล้ว
    เข้าถึงกายธรรมโคตรภูละเอียด กายธรรมโคตรภูหยาบก็หลุดไป
    เข้าถึงกายธรรมพระโสดาบันหยาบ กายธรรมโคตรภูละเอียดหลุดไป
    เข้าถึงกายธรรมพระโสดาละเอียด กายพระโสดาหยาบก็หลุดไป
    เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาหยาบ กายพระโสดาละเอียดก็หลุดไป
    เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาละเอียด กายพระสกทาคาหยาบก็หลุดไป
    เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาหยาบ กายพระสกทาคาละเอียดก็หลุดไป
    เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาละเอียด กายพระอนาคาหยาบก็หลุดไป
    เข้าถึงกายพระอรหัตหยาบหรือพระอรหัตตมรรค กายพระอนาคาละเอียดก็หลุดไป
    เข้าถึงกายพระอรหัตละเอียดหรืออรหัตตผล กายพระอรหัตหยาบหรืออรหัตตมรรคก็หลุดไป

    พอเข้าถึงอรหัตตผล เรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนะ เรียกว่าเข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรมจริงๆ หลุดจากธรรมที่ปะปนด้วยกิเลส สราคธาตุสราคธรรม หลุดหมด เบญจขันธ์ทั้ง ๕
    ขันธ์ ๕ ของมนุษย์ ขันธ์ ๕ ของกายมนุษย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียดแล้ว ก็หลุด
    ขันธ์ ๕ ของกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด ก็หลุด,
    ขันธ์ ๕ กายของรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด เข้าถึงอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ก็หลุด, หลุดหมด หลุดเป็นชั้นๆ ไป
    ขันธ์ ๕ ของกายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ถึงกายธรรมเสียแล้ว ก็หลุด, ถึง กายธรรมพระโสดา ขันธ์ ๕ ของกายธรรมโคตรภูหยาบ-โคตรภูละเอียด หลุด, เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาแล้ว กายธรรมของโสดา-โสดาละเอียดหลุด, เข้าถึงกายธรรมของ พระอนาคาหยาบ-อนาคาละเอียดแล้ว กายธรรมของพระสกทาคาหยาบ-สกทาคาละเอียด หลุดออกไปเช่นนี้ เป็นชั้นๆ เช่นนี้เรียกว่ารู้จักสำรวมถูกส่วนเข้าแล้วหลุดเป็นชั้นๆ ไปดังนี้
    เมื่อ หลุดออกไปได้แล้วเห็นว่าหลุดจริงๆ ไม่ใช่หลุดเล่นๆ ถ้าว่าโดยย่อแล้วละก็ พอถึง กายธรรมหยาบละเอียดเท่านั้นไปนิพพานได้แล้ว แต่ว่าหลุดดังนี้เป็นตทังควิมุตติ ประเดี๋ยวก็ กลับมาอีก พอหลุดแค่พระโสดา นั่นเป็นโลกุตตระ ข้ามขึ้นจากโลกได้แล้ว เป็นอริยบุคคลแล้ว แต่ว่าไม่พ้นจากไตรวัฏฏ์ ต้องอาศัยไตรวัฏฏ์ เพราะยังไปนิพพานไม่ได้ ต้องอาศัยกามภพ รูปภพอยู่ แต่ว่าอาศัยอยู่แต่เปลือกนอก ข้างในล่อนจากเปลือกนอกเสียแล้ว อย่างนั้นก็พอ ใช้ได้ แต่ว่ายังไม่ถึงที่สุด

    ต้องถึงที่สุดคือพระอรหัตตผลนั่นแหละ จึงจะพ้นขาดเด็ดเป็น วิราคธาตุวิราคธรรมจริงๆ หลุดได้จริงๆ เช่นนี้ อย่างนี้เอาตัวรอดได้ อย่างนี้ เมื่อรู้จักหลัก ความหลุดพ้นเช่นนี้แล้วก็ตั้งใจให้แน่วแน่ ต้องมีความสำรวมเบื้องต้น ที่ท่านได้ชี้แจงแสดงไว้ใน อารมณ์ที่ไม่งาม แล้วสำรวมระวังให้ดี รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร มีความเพียร มีศรัทธา กล้าหาญไม่ย่อท้อ นั่นแหละคงจะไปถึงที่สุดได้ ทว่าย่อท้อเสียแล้วถึงที่สุดไม่ได้ง่าย ให้เข้าใจ หลักอันนี้ หลักที่แสดงแล้ว ที่แสดงในทางขันธ์ ๕ เป็นของหนักแล้ว คิดสละขันธ์ ๕ นั่นได้ ด้วยความสำรวมระวัง นี้เป็นทางปริยัติ เป็นลำดับไปจนเข้าถึงถอดกายเป็นชั้นๆ ออกไปแล้ว จนกระทั่งถึงพระอรหัต ถึงวิราคธาตุวิราคธรรม กายพระอรหัตหยาบ-พระอรหัตละเอียดนั้น ในแนวนั้นเป็นทางปฏิบัติ ปฏิเวธก็เป็นชั้นๆ เคยแสดงแล้ว


    **********************************************************

    2 ในเรื่อง แสงสว่าง ที่กล่าวว่า เมื่อมีแสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เอาเข้าเทียบกับหลัก มหาสติปัฎฐานสี่ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม อย่างไร

    - ตรงนี้ต้องเข้าใจอาโลกสิณเสียก่อน อันเป็นเรื่องของกสิณแสงสว่างและเรื่องของนิมิต ขอให้อ่านข้อความเพิ่มเต้มในกระทูนี้

    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2007/01/Y5043947/Y5043947.html

    และขออธิบายเพิ่มเติม ดังนี้

    พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ หน้า ๒๗๖ (ขอกล่าวแต่โดยย่อ)


    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ที่พักแรมทำด้วยอิฐในนาทิกคาม เสด็จไปเยี่ยมพระอนุรุทธ์ พระนันทิยะ พระกิมพิละ ณ ป่าโคสิงคสาลวัน


    ตรัสถามถึงการบรรลุคุณพิเศษ ก็กราบทูลถึงคุณพิเศษที่ได้เริ่มต้นแต่รูปฌาณ ๔ จนถึงอรูปฌาณ ๔ และคุณพิเศษที่สูงขึ้นไปกว่านั้นอีกข้อหนึ่ง คือ สัญญาเวทษิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)


    ในส่วนที่เกี่ยวกับคุณพิเศษ กราบทูลว่า รู้สึกว่ามีแสงสว่างและเห็นรูป แต่ไม่นาน แสงสว่างนั้นและการเห็นรูปก็หายไป ไม่ได้บรรลุนิมิตนั้นอีก ตรัสตอบว่า ควรบรรลุนิมิตนั้น แล้วตรัสเล่าถึงเหตุการณ์เมื่อก่อนตรัสรู้ว่า เคยทรงประสบภาวะเช่นนั้นเหมือนกัน แต่ทรงสอบสวนถึงต้นเหตุ ซึ่งทรงแก้ทีละอย่าง ๆ เหตุเหล่านั้นคือ ความสงสัย, การไม่ทำในใจ, ความหดหู่ง่วงงุน, ความหวาดสะดุ้ง, ความตื่นเต้น, ความย่อหย่อน, ความเพียรตึงเกินไป, ความเพียรหย่อนเกินไป, ความอยาก, ความกำหนดหมายต่าง ๆ , การเพ่งรูปมากเกินไป (รวมเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ๑๑ อย่าง) ในที่สุด เมื่อทรงทราบว่าเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตก็ทรงละได้หมดทุกอย่าง


    ตรัสเล่าต่อไปอีกว่า เมื่อทรงบำเพ็ญเพียรไป ก็ทรงรู้สึกว่ามีแสงสว่าง แต่ไม่ทรงเห็นรูปบ้าง ทรงเห็นรูปแต่ไม่ทรงรู้สึกว่ามีแสงสว่างบ้าง ตลอดคืนบ้างตลอดวันบ้าง ตลอดทั้งวันทั้งคืนบ้าง เมื่อทรงสอบสวนถึงเหตุปัจจัยก็ทรงคิดว่าในสมัยใดไม่สนใจรูปนิมิต (เครื่องหมายคือรูป) สนใจแต่โอภาสนิมิต (เครื่องหมายคือแสงสว่าง) ในสมัยนั้นก็รู้สึกว่ามีแสงสว่าง แต่ไม่เห็นรูป;ในสมัยใดไม่สนใจโอภาสนิมิต สนใจแต่รูปนิมิต ในสมัยนั้นย่อมเห็นรูป แต่ไม่รู้สึกว่ามีแสงสว่าง


    ต่อจากนั้นทรงแสดงถึงการที่ทรงรู้สึกว่ามีแสงสว่างน้อย, เห็นรูปน้อย, ทรงรู้สึกว่ามีแสงสว่างไม่มีประมาณ เห็นรูปไม่มีประมาณ, เมื่อทรงสอบสวนถึงเหตุปัจจัยก็ทรงคิดว่า ในสมัยใดสมาธิน้อย ในสมัยนั้นจักษุก็น้อย ทำให้รู้สึกว่ามีแสงสว่างน้อย เห็นรูปน้อย ด้วยจักษุน้อย แต่ในสมัยใดสมาธิไม่มีประมาณในสมัยนั้นจักษุก็ไม่มีประมาณ ทำให้รู้สึกว่าแสงสว่างไม่มีประมาณ เห็นรูปไม่มีประมาณ ครั้นทรงทราบว่าได้ทรงละอุปกิเลสแห่งจิต (ทั้ง ๑๑) ได้แล้ว ก็ทรงคิดว่าได้เจริญสมาธิโดยส่วน ๓ แล้วในบัดนี้


    -->> หมายเหตุ สูตรนี้แสดงหลักวิชาในการปฏิบัติจิตใจชั้นสูง น่าเลื่อมใสเป็นพิเศษในทางปฏิบัติที่แสดงว่า พระพุทธศาสนานั้นมิใช่เรื่องสำหรับพูดเท่านั้น แต่จะต้องอาศัยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในทางปฏิบัติด้วย ที่ยกมาแสดงก็เพื่อให้ช่วยกันพิจารณาว่านิมิตแสงสว่างนี้ แม้แต่พระพุทธองค์ก็ทรงเคยฝึกผ่านมา และทรงยืนยันด้วยว่า ควรบรรลุนิมิตนั้น คือทำให้ยิ่งขึ้น แต่ไม่ใช่ความหมายว่าให้ยึดติดนิมิต ข้อนี้ควรพิจารณา



    ฉะนั้น ในเรื่องของวิชาธรรมกายที่ใช้อาโลกกสิณ คือ กสิณแสงสว่างเป็นนิมิตแล้วย่อรวมเป็นดวงแก้วซึ่งแทนแสงสว่าง ดวงแก้วเป็นเพียงสื่อให้เห็นดวงธรรมที่ประจำอยู่ศูนย์กลางกายของแต่ละคน ไม่ได้สอนให้ติดนิมิต ดวงแก้วเพียงเป็นทางผ่านให้เห็นดวงธรรมประจำกายของจริงเท่านั้น



    ท่านจะฝึกแบบอานาปานัสสติ คือ การกำหนดลมหายใจเข้าออกก็ได้ เพราะที่สุดของลมหายใจเข้าและจุดเริ่มต้นของลมหายใจออกก็คือศูนย์กลางกาย ไม่ต้องนึกเป็นดวงแก้วก็ได้ ตามดูลมหายใจอย่างเดียว แต่เมื่อใดที่ลมหายใจเข้า-ออกยาวเท่ากัน ตรงที่สุดของลมหายใจเข้านั่นเอง ท่านจะเห็นดวงธรรม (ดวงปฐมมรรค) ตรงนั้น เห็นแล้วเอาใจนิ่งตรงนั้น ไม่ส่งใจมารับลมหายใจออกอีก ท่านก็จะเห็นดวงธรรม (ดวงปฐมมรรค) ชัดเจน ดวงธรรมเป็นสื่อให้เห็นกายในกาย และเห็นกายธรรมในที่สุด (กาย ๑๘ กายหลัก) โดยไม่ต้องฝึกนึกดวงแก้วเป็นนิมิตก็ได้



    แต่การฝึกแบบนึกดวงแก้วใสเป็นนิมิตหรือเรียกอีกอย่างว่า อาโลกกสิณ คือ กสิณแสงสว่างนี้ ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในสมถกัมมัฏฐาน ๔๐ วิธี ที่พระพุทธเจ้าทรงรับรอง ประเด็นอยู่ที่ว่าบางท่านคิดว่าทุกอย่างที่เห็นในการฝึกวิชาธรรมกายเป็นเพียงนิมิต ไม่ใช่ของจริง ซึ่งต้องบอกว่า นิมิตที่เราใช้ คือ ดวงแก้วนั้นเป็นเพียงสื่อ เป็นเพียงที่รวมของใจไม่ให้ซัดส่าย เพื่อรวมใจได้ง่าย เมื่อกำหนดนิมิตได้แล้ว นิมิตจะเปลี่ยนเป็นดวงธรรม (ดวงปฐมมรรค) เมื่อเปลี่ยนเป็นดวงปฐมมรรค คือ ดวงใสสว่างโชติมีรัศมีปรากฏขึ้นมาทันที ซึ่งการเปลี่ยนจากนิมิตเป็นดวงปฐมมรรคนี้เกิดเร็วมาก จนใจเราจับการเปลี่ยนแปลงไม่ทัน นี่คือเห็นของจริงละนิมิตได้แล้ว เมื่อเห็นได้ดังนี้ ท่านว่าให้เข้ากลางของกลางตรงกลางดวงใสจะมีจุดเล็กใสโตเท่าปลายเข็ม เอาใจนิ่งไว้ตรงกลางดวงใสเห็นจุดเล็กใส เอาใจนิ่งกลางจุดเล็กใส เมื่อใจนิ่งถูกส่วนเข้า จุดเล็กใสจะว่างออก เห็นกายในกายในว่างใสนั้น คือ เห็นกายมนุษย์ละเอียดหรือกายฝัน นั่งอยู่ในว่างใสนั้น เรานั่งอย่างไรกายฝันก็นั่งอย่างนั้น รูปร่างหน้าตาเหมือนเราแต่งกายเหมือนเรา แต่กายนี้ใสเป็นแก้ว จากนั้นเดินใจตามฐาน ๗ ฐานของกายฝันนั้น (ตรงนี้มีขั้นตอนและรายละเอียด โปรดศึกษาจากหนังสือทางมรรคผล ๑๘ กาย) พอส่งใจมาถึงฐานที่ ๗ ของกายฝัน จะเห็นดวงธรรมเป็นดวงใสในท้องกายฝัน ส่งใจนิ่งกลางดวงธรรม เห็นจุดใสเท่าปลายเข็ม นิ่งกลางจุดใสเท่าปลายเข็ม แล้วเราก็ลำดับดวงธรรม ๖ ดวง ได้แก่ ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ดวงปฐมมรรค) ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ และดวงวิมุตติญาณทัสสนะ รวม ๖ ดวง


    พอจุดใสเท่าปลายเข็มกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะว่างออก จะเห็นกายในกายอีกกาย คือ กายทิพย์หยาบ รูปร่างหน้าตาเหมือนเรา กายใส่ชฎาเครื่องทรงเหมือนอย่างตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ กายขาวใส จากนั้นเราก็เดินใจ ๗ ฐาน ของกายทิพย์หยาบ เห็นดวงธรรมในท้องกายทิพย์หยาบ ลำดับดวงธรรม ๖ ดวง แล้วเห็นกายทิพย์ละเอียด เดินวิชาตามแนวนี้เรื่อยไปจนครบ ๑๘ กาย กายทั้ง ๑๘ กายนี้ เป็นกายในกายหรือเรียกว่ากายละเอียด


    กายทุกกายมีใจครอง ใจ คือ เห็น จำ คิด รู้ เราสามารถพูดคุยสอบถามความรู้กับกายในกายของเราได้ทุกกาย เพราะตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียด (กายฝัน) จนถึงกายธรรมพระอรหัตต์ละเอียด มีศีลมีธรรม เชื่อถือได้ มีเพียงกายมนุษย์หยาบกายเดียวที่เชื่อความรู้ไม่ได้ เมื่อพิจารณาดูแล้ว กายในกายเหล่านี้ไม่ใช่นิมิตแล้ว เพราะทุกกายมีชีวิตจิตใจ พูดคุยด้วยได้ ไม่ใช่เป็นแค่รูปนิมิต ควรพิจารณาให้ดี



    ถาม : มีคนบอกว่า คนนั่งธรรมกายเหมือนยังติดอยู่ในรูป ไม่สามารถจะหลุดพ้นได้ นั่นจริงหรือไม่ ? อย่างไรครับ ?


    ตอบ : ก็บอกแล้วว่า เขาไม่รู้ว่าติดรูปคืออะไร เพราะเขาไปเข้าใจเรื่องธรรมกายเป็นนิมิต และกระผมจะบอกให้ชัดเจนกันตรงนี้ พระคุณเจ้าโปรดทราบ โจมตีกันมานานแล้วว่า ธรรมกายวัดปากน้ำติดนิมิต ติดรูป กระผมอยากจะเรียนถามว่า มีอยู่ตรงไหนที่พระพุทธเจ้า ไม่ให้ใช้นิมิต มีไหม ! ใครเอามาแสดงให้ดูหน่อยได้ไหมครับ ผมจะประกาศให้ก้องทั่วโลก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ไม่มีใครเอาบทนี้มาดูเลย นี่ หลักทำนิพพานให้แจ้ง
    “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความเงียบสงัด จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้
    เมื่อไม่ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่ง วิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้
    เมื่อไม่ยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
    เมื่อไม่ยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลบริบูรณ์ได้แล้ว จักละสังโยชน์ทั้งหลายได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
    เมื่อไม่ละสังโยชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มี ได้เลย”
    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่คลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ ไม่ตามประกอบความยินดี ความพอใจในหมู่อยู่แล้วหนอ เป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความเงียบสงัดแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้ เมื่อถือเอานิมิตแห่งสมาจิตวิปัสสนาจิตได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้”
    คิดดูเถอะ..พระพุทธเจ้าน่ะตรัสให้ทำนิมิต มันเรื่องอะไรเราจะไปปฏิเสธนิมิต มันเป็นฐานสำคัญ นิมิตเป็นอุบายรวมใจให้มาหยุด เพราะใจมันมีตัวตนที่ไหน จะให้ใจหยุด ถึงได้สอนกัน บางท่านก็บอกว่า สมาธิแบบธรรมชาตินั่นถูกต้องแล้ว เท่านี้ก็พอแล้ว ความจริงพอหรือไม่พอ ให้ดูอริยมรรคมีองค์ ๘ : สัมมาสมาธิ คือ การเจริญฌานทั้ง ๔ ตั้งแต่ปฐมฌานน่ะ มันต้องยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต นั่นแปลว่า มันเริ่มมาตั้งแต่บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิตถึงปฏิภาคนิมิตจึงจะได้อัปปนาสมาธิ จึงจะยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร แล้วจึงจะกำจัดถีนมิทธะ และวิจิกิจฉาได้ ประกอบด้วยปีติกำจัดพยาบาท สุขกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะ และเอกัคคตากำจัดกามฉันทะ นั่นแหละนิวรณ์ ๕ ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติแท้ๆ มีสติพิจารณาในนิวรณ์ ๕ อยู่ที่ไหน ? ก็อยู่ที่มีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ นั่นแหละ ไม่ได้มีอยู่ที่ไหน เพราะฉะนั้น ใครตั้งนิมิตขึ้นถูกต้องร่องรอยพระพุทธศาสนาเลย มันผิดที่ไหนกันครับ
    เกจิอาจารย์บางท่านบอกให้พิจารณานิมิตเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็คือพิจารณาให้เห็นนิมิตตามที่เป็นจริงว่านี่..สังขารนิมิต ไม่ว่าจะเอาอะไรมาพิจารณา จะเป็นเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ก็ยกขึ้นมาพิจารณานี่ ก็ให้พิจารณานิมิตนั้นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะนิมิตนั้นเป็นของจริงโดยสมมติ เมื่อพิจารณาแล้วถูกต้องตรงถึงธรรมกาย จะไปปฏิเสธได้ยังไง นิมิตมันต้องเกิดด้วย และถ้านิมิตไม่เกิด หรือไม่ได้ใช้นิมิตแล้วจะยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้อย่างไร นี้มีอยู่ใน ฉักกนิบาต อังคุตรนิกาย ไปเปิดดูได้ทุกท่าน เป็นพระพุทธวจนะด้วย ไม่ใช่เป็นของพระอรหันต์ธรรมดาด้วยซ้ำไป
    เพราะฉะนั้น นิมิตนี่เป็นของต้องมี สมถภูมิ ๔๐ น่ะบอกไว้ชัดเจนเลย กสิณ ๑๐ นี่มันชัดอยู่แล้วก็มันนิมิตอยู่แล้วนี่ จริงๆ แล้ว แม้ อนุสสติ ๑๐ อสุภะ ๑๐ ก็ต้องเห็นนิมิต แต่นิมิตที่เห็นอย่าง อนุสสติ นี่ยังไม่แท้ แปลว่า พิจารณาจริงๆ จะเอาแน่ๆ เช่น เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าคนที่เห็นนิพพาน สัมผัสนิพพาน ซ้อนนิ่งอยู่กลางนิพพานทั้งรู้ทั้งเห็นและได้อารมณ์พระนิพพาน ส่งกระแสพระนิพพานมันผิดตรงไหน แต่นั่นนิพพานไม่เรียกว่านิมิต แต่ว่าสัมผัสได้ด้วยอายตนะที่ละเอียดเสมอกัน
    แต่เทวตานุสสตินี่มันชัดอยู่แล้วมันต้องเห็น แต่ไม่เห็นก็ได้ ก็นั่งท่องเอาว่าเทพยดามี เขาทำกุศลสำคัญ มีศีลกุศล ทานกุศล ภาวนา กุศล เป็นต้น เลยไปเกิดเป็นเทพยดา มีหิริโอตตัปปะ อย่างนี้ก็ได้...ก็ลองดูสิว่า ใจมันสงบได้เท่าไร กระผมว่าสงบได้นิดเดียว แต่ถ้าเป็นผู้สื่อกับเทวดาได้ โดยวิธีการที่ถูกต้องไม่ใช่โดยบังเอิญหรือถูกหลอก อันนั้นล่ะดีที่สุด เป็นนิมิตของจริงโดยสมมติ รู้เลยว่าเทวธรรมมีอะไร อย่างชัดเจนและถ้าคนถึงเทวกายได้เห็นเทพยดา ผมรับรองว่า สงบครับ..สงบแน่ ๆ เพราะขึ้นชื่อว่าสมถกัมมัฏฐาน ต้องสงบจากกิเสลนิวรณ์
    ดังนั้น นิมิต คือ สื่อที่ทำให้ใจรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกสิณ ๑๐ อาโลกกสิณเป็นกสิณครอบจักรวาล เป็นกสิณกลาง ไม่ว่าบุคคลจะมีอัธยาศัยอย่างไรก็ตาม ใช้กสิณนี้กสิณเดียวครอบได้หมด ใช้แก้ไขป้องกันได้เลย กสิณก็คือนิมิตนั่นแหละ
    และแม้แต่คนที่ทำวิปัสสนาไม่ว่าจะสายไหนก็เอานิมิตทั้งนั้น ท่านสูดลมหายใจเข้าออก ท่องพุทโธๆ ไป พอจิตละเอียดหนักท่านเห็นอะไรล่ะ ให้ไปถามผู้ที่ถึงจุดนี้ได้ทุกคน..ก็เห็นดวงใสครับ กระผมเชื่อแน่และรับรอง ๑๐๐% ว่าหลวงพ่อมั่นนี่ท่านเห็นดวงใส แล้วท่านก็เอาเข้ากลางดวงนั้น กลางของกลางดวงนั้น แต่ท่านปฏิเสธการเอาดวงออกนอก ท่านบอกมันไม่ถูกต้อง แต่ดวงใสอยู่ในใจของท่าน อยู่ศูนย์กลางข้างในกายท่าน พิจารณาเช่นนี้ครับ ทิพพจักขุ ทิพพโสต เกิดตรงนั้น เห็นแจ้ง เห็นชัด ก็เห็นจากตรงนั้น ไปถามเอาเถอะครับ
    ยุบหนอพองหนอ นั่งภาวนาก็เห็นครับ ทำไมจะไม่เห็น เห็นตั้งแต่ต้นด้วยซ้ำไป ไปถามดูก็ได้ แต่ก็เห็นด้วยใจหรือจะพิจารณาอะไรก็ตาม ผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม เรารู้จักหรือไม่ก็ตาม นึกออกไปเห็น เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ไม่ใช่นั่งท่องเอานะครับ เห็นน่ะนิมิตทั้งนั้น แต่ต้องเห็นด้วยใจ ทีนี้..นิมิตมันไปหมดตรงไหน ? ไปดูเถอะครับ ตำราวิสุทธิมรรค ท่านแสดงไว้ว่าเมื่ออริยมรรคญาณจะเกิดขึ้นปหานสังโยชน์กำลังแห่งสมถะและวิปัสสนา มีกำลังเสมอกัน จิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะเดียวกันปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้ ได้ชื่อว่าท่านออกจากภาคทั้ง ๒ คือสังขารนิมิตและตัณหาปวัตติ อุภโตวุฏฐานะ ไปดูได้ในปัญญานิทเทส ปวัตติ คือเครื่องปรุงแต่ง ก็ตัณหานั่นแหละหรือสัญโญชน์ อุภโตวุฏฐานะ คือออกจากภาคทั้ง ๒ ทีนี้ ออกจากสังขารนิมิตนี่ครับ วิชชาอื่นกระผมอธิบายไม่ได้เพราะไม่รู้จัก แต่วิชชาธรรมกายน่ะให้พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด จนจิตละเอียดหนัก สมถพละคือกำลังสมาธิ และวิปัสสนาพละมีกำลังเสมอกัน แล้วจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่พิสดารละเอียดไปจนจิตละเอียดหนัก จนวางอุปาทานในขันธ์ ๕ ได้ชั่วคราว หรือ สำหรับพระอรหัตมรรคก็ต้องได้ถาวร หรือปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ ธรรมกายหยาบตกศูนย์ ธรรมกายละเอียดปรากฏเข้าไปในอายตนะนิพพาน หรือซ้อนเข้าไปในพระนิพพาน หรือปรากฏอยู่ในอายตนะนิพพาน ก็ได้อารมณ์พระนิพพาน นั่นจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ จึงออกจากภาคทั้ง ๒ คือ จิตละเอียดหนัก พ้น..หลุดจากสังขารนิมิต คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ในภพ ๓ ตั้งแต่มนุษย์หยาบ มนุษย์ละเอียด ทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด พรหมหยาบ พรหมละเอียด อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ไปจนสุดละเอียด จึงวางอุปาทานในขันธ์ ๕ ได้เบื้องต้นในระดับโคตรภูญาณเป็นเพียงชั่วคราว แต่จะไปได้โดยเด็ดขาดตามระดับภูมิธรรม ที่ปฏิบัติได้ เมื่อมรรคจิตเกิดปหานสัญโญชน์ ได้ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ เช่น โสดาบันบุคคล ก็ปหานสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ แล้วเข้าผลสมาบัติไปเลย ธรรมกายรู้เลยครับ เพราะมันดับหยาบไปหาละเอียด ส่วนหยาบเมื่อมรรคจิตเกิดสมบูรณ์ปหานสังโยชน์ นั่นธรรมกายมรรค เมื่อธรรมกายมรรคเกิดขึ้นธรรมกายผลก็ตามมาเลยชั่วขณะจิตเข้าผลสมาบัติ เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ มันตรง..เข้าใจได้เลย ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก แต่ว่า..วิธีอื่น สายอื่น กระผมไม่เข้าใจว่าละสังขารนิมิตได้โดยวิธีไหน..ผมไม่ทราบ..ไม่เข้าใจเพราะฉะนั้นเรื่องนิมิตได้ โปรดเข้าใจได้เลยว่า พระพุทธเจ้าไม่มีตรัสไว้ตรงไหนเลยว่า..เธอ อย่าใช้นิมิต ถ้าใครเอามา ให้ผมดูสักนิดเถอะครับ

    อ้างอิงจาก http://www.dhammakaya.org/dhmq/detai... อย่างไรครับ



    หลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน


    [​IMG]


    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทานหลัก คือ ธรรมเป็นอารมณ์ของสมถกัมมัฏฐาน อันเป็นพื้นฐานสำคัญให้ถึงธรรมอันเป็นรากเหง้าให้วิปัสสนาเกิด เจริญขึ้น และตั้งอยู่ เพื่อเจริญปัญญาจากการที่ได้เห็นแจ้งและรู้แจ้ง ในสภาวะของสังขารธรรม และวิสังขารธรรมคือพระนิพพานธาตุโดยปรมัตถ์ และในพระอริยสัจ ๔ ตามที่เป็นจริง ไว้หลายวิธี อันผู้เจริญภาวนาพึงเลือกปฏิบัติให้ถูกจริตอัธยาศัยของตน
    ข้าพเจ้าจึงขอเสนอวิธีเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่ให้ผลดีมีประสิทธิภาพสูง ตามหลักปฏิบัติพระสัทธรรมเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงไว้ดีแล้ว คือวิธีเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ให้ถึงธรรมกายมรรคผลนิพพานตามรอยบาทพระพุทธองค์ ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านปฏิบัติได้เข้าถึง ได้รู้เห็นและเป็นธรรมกายแล้ว จึงได้สั่งสอนศิษยานุศิษย์จนตลอดชีวิตของพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่าน และได้ถ่ายทอดสืบต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน ปรากฏผลดีเป็นอย่างสูงแก่ผู้ปฏิบัติด้วยอิทธิบาทธรรม โดยมี หลักปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกาย ให้เกิดอภิญญา และวิชชา คือความรู้ความสามารถพิเศษ ได้แก่ วิชชา ๓ วิชชา ๘ (รวมอภิญญา ๖) ชื่อว่า “วิชชาธรรมกาย” เป็นพื้นฐานสำคัญแก่การเจริญวิปัสสนาปัญญาถึงโลกุตตรปัญญา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้


    ๑. ขั้นสมถกัมมัฏฐาน


    มีหลักวิธีปฏิบัติเบื้องต้นที่สำคัญ ๓ ประการ คือ
    1. กำหนด “ฐานที่ตั้งของใจ” ไว้ ณ ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม และเป็นที่ตั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม
      ศูนย์กลางกายระดับสะดือเป็นที่สุด และเป็นต้นทางลมหายใจ (เข้า-ออก)
    2. กำหนด “บริกรรมนิมิต” คือ นึกให้เห็นด้วยใจเป็นเครื่องหมายดวงแก้วกลมใส ให้ใจรวมอยู่ ณ ศูนย์กลางดวงแก้วกลมใสนั้น ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ (ตามข้อ ๑)
      การเพ่งดวงแก้วกลมใส มีลักษณะเป็นการเพ่งแสงสว่าง (อาโลกกสิณ) กล่าวคือ ถ้าพระโยคาวจรเพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์ ถึงได้อุคคหนิมิต ก็จะเห็นเป็นดวงใสสว่าง หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านจึงใช้ดวงแก้วกลมใส (แทนดวงใสสว่าง) เป็นบริกรรมนิมิต
    3. กำหนด “บริกรรมภาวนา” คือ ท่องในใจด้วยองค์บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆๆ” ที่กลางของกลางจุดเล็กใส กลางดวงแก้วกลมใส ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือนั้น เพื่อประคองใจให้หยุดนิ่งตรงนั้น
      คำว่า “สัมมา” เป็นคำย่อจากคำว่า “สัมมาสัมพุทโธ” แปลว่า พระผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ ซึ่งหมายถึง พระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า ส่วนคำว่า “อรหัง” แปลว่า พระผู้ไกลจากกิเลสและบาปธรรมทั้งปวง ซึ่งหมายถึง พระวิสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า เมื่อบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆๆ” นึกน้อมพระพุทธคุณ คือ พระปัญญาคุณ และ พระวิสุทธิคุณของพระพุทธเจ้ามาสู่ใจเราด้วย เป็นพุทธานุสสติ
    ถ้าผู้ปฏิบัติภาวนากำหนดบริกรรมนิมิต คือ นึกเห็นเครื่องหมายดวงแก้วกลมใสด้วยใจได้ยาก ก็ให้สังเกตลมหายใจเข้า-ออก ที่ผ่านและกระทบดวงแก้ว ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ อยู่ตรงนั้น (เป็นอานาปานสติอีกโสดหนึ่ง) โดยไม่ต้องตามลมหายใจเข้า-ออก ก็จะช่วยให้เห็นดวงนิมิตได้ง่ายเข้า เมื่อเห็นดวงใสปรากฏขึ้นแล้ว ก็ปล่อยความสนใจในลม

    เมื่อรวมใจหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็จะเข้าถึง และได้รู้เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จนถึงธรรมกาย อันเป็นกายที่พ้นโลก เป็นธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ เป็นอุปการะสำคัญต่อการเจริญวิปัสสนาให้เกิดปัญญาจากการที่ได้เห็นแจ้งและรู้แจ้ง
    1. ในสภาวะของสังขาร คือ ธรรมอันไปในภูมิ ๓ ทั้งสิ้น และธรรมที่เป็นไปในภูมิที่ ๔ เฉพาะที่เป็นสังขตธรรม ตามที่เป็นจริง
    2. ในสภาวะของวิสังขาร คือ พระนิพพานธาตุโดยปรมัตถ์ อันเป็นคุณธรรมภายในของพระอริยเจ้า ทั้ง สภาวะนิพพาน ผู้ทรงสภาวะ และ อายตนะนิพพาน ตามที่เป็นจริง และ
    3. ในอริยสัจ ๔ อันเป็นไปในญาณ ๓ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ มีรอบ ๑๒
    <!-- / message --><!-- sig -->__________________


    ๒. ขั้นอนุวิปัสสนา

    เมื่อผู้ปฏิบัติภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว ย่อมสามารถเจริญภาวนาทั้งสมถะและวิปัสสนา ให้เกิดอภิญญา ความรู้ความสามารถพิเศษ และวิชชา ได้แก่ วิชชา ๓ วิชชา ๘ (รวมอภิญญา ๖) จึงชื่อว่า “วิชชาธรรมกาย” ให้เกิดและเจริญความรู้ความสามารถพิเศษ ให้สามารถพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ให้เจริญ “วิปัสสนาปัญญา” เห็นแจ้งรู้แจ้งสภาวะของสังขาร อันประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขตธรรม) ว่ามีสามัญญลักษณะที่เป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ และอนตฺตา อย่างไร อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการเจริญโลกุตตรวิปัสสนา ให้เห็นแจ้งในอริยสัจ ๔ เป็น “โลกุตตรปัญญา” ต่อไป

    กล่าวคือ เมื่อผู้ปฏิบัติภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว
    1. พึงฝึกเจริญฌานสมาบัติให้เป็นวสี แล้วย่อมเกิดอภิญญา มีทิพพจักษุ ทิพพโสต เป็นต้น ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ (การเริ่มเจริญสมถภาวนาโดยการกำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วกลมใสนั้น มีลักษณะเป็นการเพ่งกสิณแสงสว่าง ชื่อว่า “อาโลกกสิณ” อันเป็นกสิณกลาง และมีผลให้เกิดอภิญญาได้ง่าย)
    2. สามารถน้อมไปเพื่อ “อตีตังสญาณ” เห็นอัตตภาพของตนและสัตว์อื่นในภพชาติ ก่อนๆ น้อมไปเพื่อ “อนาคตังสญาณ” เห็นจุติปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปตามกรรม และน้อมไปเพื่อ “ปัจจุปปันนังสญาณ” เห็นสัตว์โลกในทุคคติภูมิ ได้แก่ ภูมิของเปรต สัตว์นรก อสุรกาย และในสุคติภูมิ ได้แก่ เทวโลก และพรหมโลก ตามที่เป็นจริง ตามพระพุทธดำรัสได้
    ให้สามารถรู้เห็นสภาวะของสังขาร ได้แก่ เบญจขันธ์ของสัตว์โลกทั้งหลาย อันปัจจัยปรุงแต่งด้วย ปุญญาภิสังขาร คือความปรุงแต่งด้วยบุญคือกุศลกรรม อปุญญาภิสังขาร คือความปรุงแต่งด้วยบาปคืออกุศลกรรม และ อเนญชาภิสังขาร คือ ความปรุงแต่งที่ไม่หวั่นไหว (ด้วยรูปฌานที่ ๔ ถึงอรูปฌานทั้ง ๔)
    ได้เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์โลกในสังสารจักร อันเป็นไปตามกรรม โดยวัฏฏะ ๓ คือ กิเลสวัฏ กัมมวัฏ และวิปากวัฏ และ
    ให้สามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวะของสังขารธรรม คือธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขตธรรม) กล่าวคือ ธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งสิ้น ว่ามีสามัญญลักษณะที่เป็น อนิจฺจํ ทุกขํ และ อนตฺตา อย่างไร อย่างละเอียด และกว้างขวาง ให้เจริญวิปัสสนาญาณ รวบยอดผ่านถึงโคตรภูญาณของธรรมกายได้อย่างรวดเร็ว และเป็นบาทฐานให้เจริญโลกุตตรวิปัสสนาได้เป็นอย่างดี
    <!-- / message --><!-- sig -->__________________
    .


    ๓. ขั้นโลกุตตรวิปัสสนา

    เมื่อพระโยคาวจรเจริญอนุวิปัสสนา ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ คือ มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายใน และ ณ ภายนอก เห็นแจ้งรู้แจ้งในสามัญญลักษณะของสังขารธรรมทั้งหลายอยู่แล้วนั้น
    ธรรมกายย่อมเจริญฌานสมาบัติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือมีสติพิจารณาเห็นอริยสัจ ๔ ของกายในภพ ๓ แล้วทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ) ดับสมุทัย ปหานอกุศลจิตของกายในภพ ๓ โดยวิธีดับหยาบไปหาละเอียด ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งของธาตุธรรม เห็น-จำ-คิด-รู้ คือ “ใจ” อันกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ยึดครองอยู่ ปหานอกุศลจิต ชำระธาตุธรรม เห็น-จำ-คิด-รู้ คือ “ใจ” ของกายในกาย (รวมเวทนา จิต และธรรม) จากกายสุดหยาบถึงสุดละเอียด จนเป็นแต่ธาตุล้วนธรรมล้วนของธรรมกายที่บริสุทธิ์สุดละเอียด ถึงปล่อยวางอุปาทานในเบญจขันธ์ของกายในภพ ๓ และปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติเสียได้
    ปล่อยขาดพร้อมกันแล้ว ธรรมกายที่หยาบตกศูนย์ ธรรมกายที่บริสุทธิ์สุดละเอียดนั้นจะไปปรากฏในอายตนะนิพพานอันเป็นที่สถิตอยู่ (อายตน=วาสฏฺฐาน) ของพระนิพพานคือธรรมกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตเจ้า ที่ดับขันธ์เข้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ประทับเข้านิโรธสงบตลอดกันหมดนับไม่ถ้วน สว่างไสวด้วยธรรมรังสีของธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม เป็นความสูญ คือว่างอย่างมีประโยชน์สูงสุดเพราะไม่มีสังขาร ชื่อว่า “ปรมัตถสูญ”
    โคตรภูจิต คือ ธรรมกายโคตรภูของพระโยคาวจรนั้นย่อมยึดหน่วงพระนิพพานอันละเอียด ประณีต สุขุมลุ่มลึกนั้นเป็นอารมณ์
    เมื่อมรรคจิต และ มรรคปัญญา อันรวมเรียกว่า มรรคญาณ ของธรรมกายมรรคของพระโยคาวจรนั้นเกิดและเจริญขึ้น ปหานสัญโญชน์ กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ขึ้นไปได้ ย่อมก้าวล่วงข้ามโคตรปุถุชนเป็นพระอริยบุคคลตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ และ ณ บัดนั้น ธรรมกายมรรค ได้แก่ ธรรมกายพระโสดาปัตติมรรค ก็จะตกศูนย์ และปรากฏผลจิต ได้แก่ ธรรมกายพระโสดาปัตติผล เข้าผลสมาบัติ พิจารณาปัจจเวกขณ์ ๕ คือ พิจารณามรรค ผล กิเลสที่ละได้ กิเลสที่ยังเหลือ (ในกรณีเสขบุคคล) และพิจารณาพระนิพพาน ต่อไป
    นี้คือขั้นตอนของเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงมรรคผลนิพพาน ตามรอยบาทพระพุทธองค์ ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ปฏิบัติเข้าถึงได้รู้-เห็น และเป็นธรรมกาย แล้วได้สั่งสอนศิษยานุศิษย์ และได้ถ่ายทอดสืบต่อๆ กันมาถึงปัจจุบัน ข้าพเจ้าขอแนะนำให้ท่านผู้สนใจศึกษาสัมมาปฏิบัติ ให้ทดลองปฏิบัติให้เห็นผลด้วยตนเอง แล้วท่านจะซาบซึ้งในคุณของวิชชาธรรมกาย ด้วยตัวของท่านเอง

    อ้างอิง : http://www.dhammakaya.org/vijja/vijja1.php


    ************************************************

    3 คำว่า ไตรลักษณ์ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา นั้นพิจารณาส่วนใด ในธรรมกาย

    - ต้องพิจารณาในโลกียวิสัย โปรดเข้าไปอ่านเพิ่มเติมที่กระทู้นี้นะครับ

    พระไตรลักษณ์ : พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อวัดปากน้ำ
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2007/03/Y5191533/Y5191533.html

    พิจารณาพระไตรลักษณ์ (๒) : พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อวัดปากน้ำ
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2007/03/Y5192429/Y5192429.html


    หวังว่าคุณผู้ถามจะพอเข้าใจได้บ้าง อันที่จริงเรื่องแบบนี้ผมไม่เห็นเป็นปัญหาอะไรเลย เราเรียนความรู้ในหลักปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนาเพียงแต่เราเข้ากายในกายจนกระทั่งถึงธรรมกาย แล้วปฏิบัติขั้นสมถะและวิปัสสนาสะสางกิเลสให้หมดไปจากขันธสันดานตามวาสนาบารมีกันไปนั่นเอง
    <!-- / message --><!-- sig -->


    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!--MsgFile=0-->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กรกฎาคม 2008
  5. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,210
    ค่าพลัง:
    +23,196
    ได้ความรู้ดีครับ
    อนุโมทนาในภูมิจิต ภูมิธรรมของแต่ละท่าน ที่ถกปัญหาธรรมกันครับ
     
  6. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ ขอให้ถามเป็นข้อๆ แล้วจะพยายามหาคำตอบมาให้ เรื่องยากมีอยู่อย่างเดียวคือ เราเข้าใจธรรมตามสภาวะธรรมที่แท้จริงแลเข้าถึงสภาวธรรมนั้นๆ ได้ตรงตามเป็นจริงแค่ไหน เพราะเราพูดคุยกันอยู่นี้ส่วนใหญ่ได้บ้างไม่ได้บ้าง จึงต้องอาศัยท่านผู้รู้อื่นๆ มาอ้างอิงเพิ่มเติมนะครับ


    ลองคุยกันดูก็ได้ครับ ตามประสาเพื่อนร่วมวัฏฏสงสารกันทั้งนั้น


    แต่ผมอาจจะไม่ค่อยมีเวลาเข้ามาบ่อยนักนะครับ ถ้าถามแล้วเข้ามาตอบช้าก็อย่าต่อว่ากันนะครับ
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คุณ สมถะ สรุปมาได้ไหม เอาข้อความคนอื่นมาพูด นี่ผมไม่ได้แย้งกับคนอื่น ผมแย้งกับคนที่จะมาตอบผม
    ตัวกิเลสมันดิ้นไปได้เสมอ

    ที่ว่า ยกพระสูตรมา ว่า ต้องมีนิมิตก่อนถ้าไม่มีนิมิตแล้ว วิปัสสนาไม่ได้ นี่มันเอามาค้านแบบ เรื่อยเปื่อยแล้ว ท่านว่า ต้องมีสมาธิ แต่ ไม่ใช่เอา นิมิต ตั้งแต่เริ่มต้น ไปจนถึง ที่สุด

    การสางกิเลส ในอานาปานสติ นั้น คือ มีการพิจารณาไตรลักษณ์ตลอด จะเห็นได้ว่า พระองค์ ให้ พิจารณาว่า หายใจเข้า หายใจออก มีอารมณ์แบบนั้นแบบนี้ นี่อานาปานสติ ใช้วิปัสสนาไปในตัว ต้องศึกษาเรื่องอานาปานสติให้ดีก่อน

    สำหรับนิมิต รูป โคตรภูญาณ ที่ทางสายธรรมกายว่ามา นั้นผิดทุกประตู เพราะว่า โคตรภูนั้น คือ ดับไปสิ้นทั้งหมดแล้ว ในสมมติ จะมาเพิก โคตรภูเข้าสู่พระโสดาบัน ข้อนี้เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ มันตลก จิตแห่งโคตรภูนั้น ยังแจ้งกว่า จิตพระโสดาบันตอนเดินมรรคเสียอีก

    แต่ ที่่ว่า โคตรภูนั้น ต่ำกว่าพระโสดาบัน นั้นอยู่ที่ภูมิรู้่ เปรียบเหมือน คนจมน้ำอยู่ ทะลึ่งพรวดขึ้นมาหายใจทีหนึ่ง ย่อมสดชื่นกว่า คนกำลังดำน้ำ แต่ทีนี้ คนดำน้ำเป็นแล้ว ก็รู้ว่า โผล่ขึ้นน้ำนั้นอย่างไร มากกว่า คนทะลึ่งพรวดขึ้นมาแต่ดำน้ำ ว่ายน้ำไม่เป็น

    นี่พระโสดาบันคือ คนมีทิศทาง

    นี่ถูกอวิชชาปิดกันหมดเลย ผมหละเหนือ่ยจริงๆ
     
  8. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ก่อนที่จะ กล่าวเหตุผลใดๆ ในการถามของคุณขันธ์ผมขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่านก่อนว่า ท่านมีความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ในทิศทางใด


    ถามตัวท่านเองแล้วตอบด้วยความจริงใจออกมาก่อนว่าท่านเชื่อหรือไม่เชื่อใน เรื่องเหล่านี้ เราจึงจะพูดคุยกันรู้เรื่องในพื้นฐานของความเห็นที่ตรงกัน


    ๑.ท่านเชื่อหรือไม่ว่า คนเราตายแล้วไม่สูญ
    (หมายเอาการสืบต่อแบบสันตติ เมื่อจุติจิต(ตาย)มีขึ้น ปฏิสนธิจิต(เกิด)ก็ตามมาโดยไม่มีระหว่างคั่น แม้หลังตายแล้วถ้ายังไม่หมดกิเลสก็ต้องเกิดอีก)

    ๒.ท่านเชื่อหรือไม่ ในเรื่องกฎแห่งกรรม (บุญ-บาป) ที่จะนำสัตว์โลก (หลังตาย) ไปสู่สุคติภูมิ หรือไปสู่ทุคติภูมิ
    (หมายเอาความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม(บุญ-บาป)ที่ส่งไปสู่นรก-สวรรค์)

    ๓.ท่านเชื่อหรือไม่ ในเรื่องภพภูมิต่างๆ อันเป็นสถานที่รองรับการเวียนว่ายตายเกิด จนกว่าสัตว์โลกนั้นๆ จะพ้นทุกข์หมดกิเลส
    (หมายเอาความเชื่อเรื่องภพภูมิอันได้แก่ กามภพ(สวรรค์ โลก นรก) รูปภพ(พรหม) อรูปภพ(อรูปพรหม)

    ๔.ท่าน เชื่อหรือไม่ เรื่องวัฏฏสงสารอันยาวนานไม่มีเบื้องต้นเบื้องปลายอันสัตว์ผู้ยังติดอยู่ใน กิเลส ตัณหา อุปาทาน ยังต้องท่องเที่ยวไปตลอดไม่มีสิ้นสุด
    (หมายเอาเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารแบบสันตติ)

    ๕.ท่าน เชื่อหรือไม่ ว่าผู้บำเพ็ญสมาธิภาวนาสามารถมีอิทธิปาฏิหาริย์ เช่น หูทิพย์ ตาทิพย์ ละลึกชาติของตนและคนอื่นได้ แสดงฤทธิ์ทางใจอื่นๆ ได้
    (หมายเอาสมาธิในพระพุทธศาสนาจนถึงขั้นแสดงฤทธิ์ได้)

    ๖.ท่านเชื่อหรือไม่ ว่าผู้บำเพ็ญสมาธิภาวนาสามารถถอดจิตหรือถอดกายทิพย์ไปท่องเที่ยวยังภพภูมิต่างๆ ได้
    (หมายเอาสมาธิที่สามารถเห็นภพภูมิและกายทิพย์ตลอดจนสัตว์ในภพภูมินั้น ๆ ได้)

    ขอให้ท่านตอบมาก่อนแล้วการพูดคุยของเราจะชัดเจนขึ้น ถ้าความเข้าใจตรงจุดนี้ไม่ตรงกันการพูดคุยในเรื่องอื่นๆ ก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะความคิดพื้นฐานของความรู้ไม่ตรงกันแต่แรกแล้ว โปรดตอบก่อนนะครับ

    ถ้าท่านตอบว่า ท่านมีความเชื่อตามนั้น ถ้าเช่นนั้นท่านก็ต้องยอมรับว่า คนเราหลังตายแล้วไม่สูญ ยังมี จิต เจตสิก รูป ที่ยังสืบต่อเป็นสันตติให้ไปเกิดยังภพภูมิใหม่ รวมทั้งบุญและบาปที่ติดตามไป ดังนั้น ท่านก็ต้องยอมรับว่าคนเราไม่ใช่มีแค่กายมนุษย์หยาบที่(นั่งอ่านอยู่นี่) เพียงกายเดียว เพราะกายนี้เมื่อเราตายมันก็เน่าเปื่อยผุพังไป กายละเอียดซึ่งอาจจะเรียกว่า กายทิพย์ นั้นรับช่วงสืบต่อหลังตายโดยไม่มีระหว่างคั่นคือเกิดขึ้นทันที ไปอยู่ยังภพภูมิต่างๆ ตามระดับคุณภาพของจิต ที่มีกรรม(บุญ+บาป) คือการกระทำเป็นตัวสนับสนุน

    เมื่อเข้าใจเช่นนี้ ท่านก็คงไม่ปฏิเสธว่ามีกายในกายที่สืบต่อกรรมคือบุญและบาปของกายมนุษย์ ปัจจุบันนี้รองรับช่วงต่อในสัมปรายภพเบื้องหน้า ฉะนั้นต่อไปก็คือทำอย่างไรเราจะได้พบเห็นกายละเอียดเหล่านี้แม้ในขณะที่เรา ยังมีชีวิตอยู่ อย่าลืมเรื่องที่เราเคยได้ยินกันคือ มีผู้ปฏิบัติจิตภาวนาสมารถถอดเอากายทิพย์ซึ่งเป็นกายละเอียดขณะยังมีชีวิต อยู่ไปท่องเที่ยวยังภพภูมิต่างๆ ได้ เช่นพระภิกษุที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งหลายซึ่งก็มีอยู่มากมาย

    ฉะนั้นเรื่องกายในกายจึงเป็นเรื่องที่ไม่เกินความจริงใดๆ สามารถปฏิบัติให้รู้ให้เห็นได้ วิชชาธรรมกายกล่าวถึงกายในกายซึ่งมีเป็นชั้นๆ เข้าไปจึงเป็นไปได้อย่างแน่นอน อยู่แต่ว่าเราจะเข้าถึงไปรู้ไปเห็นเรื่องเหล่านี้ได้อย่างไร และเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่แค่เป็นเพียงรูปนิมิตอย่างที่บางท่านเข้าใจไปเอง แล้ว แต่เป็นเรื่องของกายในกาย หรือกายซ้อนกายที่ทุกคนมีอยู่แล้ว ตรงนี้เราต้องเข้าใจให้ตรงกันก่อน

    หลวงพ่อวัดปากน้ำโชคดีที่ไปรู้ไปเห็นเรื่องกายในกาย เป็นชั้นๆ เข้าไปถึง 18 กาย จึงได้เข้าถึงกรุวิชชา หลวงพ่อใช้เวลาใครครวญวิชชาอยู่ถึง 8 ปี นั่นคือหลวงพ่อพิจารณาทุกเรื่องจนแน่ใจว่านี่ของจริง ไม่ใช่เรื่องนิมิตแน่นอน เพราะก่อนหน้านี้หลวงพ่อก็เคยไปเรียนกัมมัฏฐานจากครูบาอาจารย์หลายท่าน ย่อมทราบดีว่าอะไรคือของจริงหรือของหลอก ซึ่งหลวงพ่อปรารถตอนนั่งเข้าที่ ณ วัดโบสถ์บน บางคูเวียง ว่าถ้าไม่ได้เห็นของจริงอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงรู้ทรงเห็น เป็นไม่ลุกจากที่ นั่นหมายความว่าความรู้ที่ได้ในครั้งนั้นคือ การเห็นดวงปฐมมรรคและการเห็นเรื่องกายในกาย หลวงพ่อจึงต้องใคร่ครวญพิจารณาเป็นอย่างดีว่าจริงแท้แค่ไหน จนในที่สุดหลวงพ่อตัดสินใจทำวิชชาชั้นสูงที่เรียกว่า ปราบมาร โดยตั้งกองทัพปราบมาร ในวัดปากน้ำ เกณฑ์ผู้ที่ได้ธรรมกายระดับสูงเข้าทำวิชชาที่เรียกว่า "โรงงาน" ทำต่อเนื่องไม่หยุดเลยตลอดเวลา 30 กว่าปี กวดขันกันอย่างนั้นทั้งพระภิกษุและแม่ชีอุบาสิกาและอุบาสก ได้ความรู้ออกมาเป็นตำรา เป็นมรดกธรรม ถึง 4 เล่ม คือ
    มีนักปราชญ์หลายท่านในยุคนั้นเข้าไปสืบความจริงจนเข้าใจในความรู้ของหลวงพ่อวัดปากน้ำว่า นี่แหละของจริง ดังนี้


    พระทิพย์ปริญญา

    เท่าที่ข้าพเจ้าได้ฟังมา วิธีปฏิบัติของหลวงพ่อวัดปากน้ำ มีผู้กล่าวออกความเห็นกันไปหลายอย่างต่าง ๆ กัน พวกหนึ่งว่าเป็นฌานโลกีย์ พวกหนึ่งว่าติดรูป บางพวกว่า ติดนรกสวรรค์ แต่อีกพวกหนึ่งว่าท่านเลยเถิดไปถึงนิพพาน ซึ่งมองไม่เห็น

    ข้าพเจ้าเคยนำวาทะเหล่านี้ไปสนทนากับผู้ปฏิบัติในสำนักหลวงพ่อวัดปากน้ำแล้ว เขาตอบขบขันเหมือนกัน เขาว่าที่ติดรูปนั้นดีนะให้มันรู้ว่าติดรูปเถอะ จะได้มีโอกาสแกะรูปออก แต่ข้อสำคัญว่าเราไม่รู้ว่าติดรูปนี่ซิ เมื่อไม่รู้ว่าติดก็ไม่รู้จักรูป เมื่อเราไม่รู้ว่าติดเราก็ไม่ได้แกะ เมื่อเราไม่แกะมันจะหลุดได้อย่างไร เหมือนของโสโครกติดหลังเสื้อที่เราสวมอยู่ เมื่อเราติดไม่รู้ว่ามันติดเราก็ไม่พยายามเอาออกแล้วมันจะไปไหน ฟังดูก็แยบคายดี
    แต่สำหรับความเห็นของข้าพเจ้านั้น เห็นควรรวมวาทะที่ว่าติดรูปกับวาทะที่ว่าเป็นฌานโลกีย์รวมวินิจฉัยเสียเป็น ข้อเดียว เพราะตามที่ว่านี้คงหมายถึงรูปฌาน เมื่อเช่นนั้นทางที่จะปลดเปลื้องความสงสัยของเจ้าของวาทะเหล่านี้ก็ง่าย ขึ้น

    สมเด็จพระบรมศาสดาก่อนที่จะได้ตรัสรู้นั้น พระองค์ผ่านรูปฌาน อรูปฌานหรือเปล่า ข้อนี้จะต้องรับกันว่าผ่าน ก็เมื่อเช่นนี้ใครจะปฏิเสธได้หรือว่าโลกีย์ฌานนั้นจะไม่เป็นอุปการะแก่ พระองค์ การตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    ความข้อนี้ข้าพเจ้าเคยนำไปสนทนาวิสาสะกับพระเถระบางรูปซึ่งฝักใฝ่ทั้ง ปริยัติและปฏิบัติ ท่านได้กล่าวอุปมาให้ฟังว่าการข้ามแม่น้ำหรือมหาสมุทร ถ้าไม่ใช้เรือหรือเครื่องบินเป็นพาหนะแล้ว มันจะข้ามไปได้อย่างไร ในที่สุดท่านยืนยันว่าฌานโลกีย์นั้นแหละ ยังพระองค์ให้ข้ามถึงซึ่งฝั่งโลกุตตระ

    เมื่อนำเอาบาลีข้างต้นมาประกอบการวินิจฉัยความข้อนี้จะแจ่มใสยิ่งขึ้น เพราะคำว่า “นัตถิ ปัญญา อะฌายิโน” นั้น เป็นหลักอยู่ ซึ่งแปลได้ความอยู่ชัด ๆ ว่า ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ดังนี้เราจะไปยกวาทะติฌานโลกีย์อย่างไรกัน

    อันวาทะที่ว่าติดนรกสวรรค์นั้น ข้อนี้น่าเห็นใจผู้สงสัย เธอคงจะไม่ได้มีโอกาสไปฟังการแสดงธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำเสียเลย เธอคงจะได้ฟังหางเสียงของบางคนที่ฟังไม่ได้ศัพท์จับเอาไปกระเดียดเข้าแล้ว เพราะการแสดงธรรมนั้น เมื่อถึงเรื่องบาปบุญคุณโทษก็ต้องอ้างเรื่องนรกสวรรค์

    ท่านมีอะไรพิสูจน์แล้วหรือว่า นรกสวรรค์ไม่มีท่านมีปัญญาพอจะพิสูจน์แล้วหรือว่า นรกสวรรค์นั้น ไม่มีผู้รู้ ผู้เห็นท่านได้เคยสนใจอ่านวิสุทธิมรรคบ้างหรือเปล่า ถ้าเคยสนใจในคำว่า “ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ” ดีแล้วหรือ ว่ากินความเพียงไร หรือตัวท่านมีภูมิปัญญาเหนือพระคันถรจนาจารย์เหล่านั้น ขอจงใคร่ครวญเอาเอง

    ส่วนวาทะที่ว่าเลยเถิดไปถึงนิพพานนั้นข้าพเจ้าจะขอพูดแต่โดยย่อ เพราะถ้าจะพูดกันกว้างขวางแล้วจะเกินหน้ากระดาษหนังสือเล่มนี้จะต้องเป็น อีกเล่มหนึ่งต่างหาก

    ท่านคงจะได้เคยอ่านคำถวายวิสัชนาของพระเถรานุเถระ ๑๘ ความเห็น ที่พิมพ์แจกกันแพร่หลายอยู่แล้วนั้น ในหนังสือนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชปุจฉาถึงเรื่อง นิพพาน ว่าคืออะไร พระเถรานุเถระ ๑๘ รูป ถวายความเห็นโดยโวหารต่าง ๆ กัน

    แต่ในที่สุดมีรูปหนึ่ง ถวายวิสัชนาหลักแหลมโดยกล่าวว่า แปลคำว่านิพพานนั้นไม่ยาก ข้อยากอยู่ที่ ทำให้แจ้ง ท่านพูดทิ้งไว้เท่านี้เอง

    ขอให้เรามาคิดกันดูทีหรือทำให้แจ้ง หมายความว่ากระไร นี่ก็จะเห็นได้แล้วว่า เรื่องนิพพานนั้นเป็นของยากหรือง่ายคนซึ่งมีปัญญาอย่างสามัญจะพูดได้ไหม เราต้องรู้ตัวดีว่าไม่สามารถ เพราะเป็นวิสัยของมรรคญาณ และการบำเพ็ญให้บรรลุมรรคญาณนั้น ทำกันอย่างไร เรารู้ไหม ถ้าเราไม่รู้จะแปลว่าคนอื่นก็ไม่รู้เหมือนกับเรากระนั้นหรือ สิ่งที่เราก็ไม่รู้ สมควรหรือที่เราจะยกวาทะกล่าวถึงผู้อื่น

    ในที่สุดข้าพเจ้าเห็นว่า ทางดีที่สุด เราควรปฏิบัติตัวของเราเองให้รุดหน้าไปตามแนวปฏิบัติ ดีกว่าจะมามัววิจารณ์ผู้อื่น อย่าลืมคำว่า “สันทิฎฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ”

    อนุสรณ์คุณพระทิพย์ปริญญา
    โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
    เมษายน พ.ศ. ๑๕๒๐

    เหตุที่ได้ไปมาหาสู่นั้น ก็ด้วยต้องการแสวงหาธรรมะ ธรรมะฝ่ายปริยัติ คุณพระไม่ต้องไปแสวงหา เพราะตัวเองเป็นเปรียญ ๖ ประโยค และสำเร็จวิชากฎหมายอีกด้วย ที่ต้องการแสวงหาก็คือธรรมะฝ่ายปฏิบัติ จนในวันหนึ่งได้ไปพบหลวงพ่อที่วัดปากน้ำ ได้สนทนาปราศรัยได้ไต่สวนซักถาม ได้เหตุได้ผล จากวันนั้นก็ได้ไปฟังพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อเสมอ ในที่สุดได้ออกปากลั่นวาจาต่อหน้าหลวงพ่อว่า “ของจริงกระผมพบแล้ว แต่ตัวกระผมจะจริงหรือไม่จริงเท่านั้นเอง”
     
  9. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    นี่ผมจะอธิบายให้ฟัง นี่แหละของจริงไม่ต้องไปหาฟังที่อื่นแล้ว ฟังที่ผมนี่แหละ
    จะว่ายกกตนข่มท่าน หรือ อวดอ้างตัวเองก็ช่างมันเถอะ เพราะผมไม่ต้องการให้ติดกับ ว่าคนมีธรรม จะต้องทำเจี๋ยมเจี้ยมสงบเสงี่ยมเรียบร้อย แต่ต้องการให้เห็นถึงปัญญาที่แท้จริง

    ฟังกันตรงนี้ดีๆ ทวนหลายๆรอบ

    คำว่าบรรลุธรรม นั้นต้อง ละเอียดละออไป จนถึงว่า ปัญญาที่แจ้งนั้นเอง คือ อายตนะ หนึ่ง
    คนที่ สักกายทิฎฐิยังไม่ขาด ก็จะเหมาเอาว่า ปัญญาของเรา แต่กิเลส หรือ อวิชชามันไม่ดับไป มันก็สังเกตุ อายตนะอันละเอียดที่สุดไม่เจอ

    อายตนะหนึ่งนั้นคือ ธรรม คือ ไม่ได้มีตัวตน แต่คือ ธรรม และ จะเป็นจริงเสมอ

    ทีนี้ ตรงโคตรภูญาณ มันคือ อายตนะ หรือ ปัญญานั้นปรากฎชั่วแวบ คือ เห็นสัจธรรมทั้งปวง มันก็ละเอียดมาก จนที่ว่า คนที่ได้มาอาจจะสังเกตุภายหลังว่า เราไม่ได้บรรลุอะไรเลย มีแต่ภูมิรู้เท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว มันแจ้งเลย เปลี่ยนทัสนะเลย
    ซึ่งถ้าหากว่า จะให้มันวิเศษ นั้นมันก็ยังเป็นตัวเป็นตน หาได้มีการแจ้งในทัสนะไม่

    ตรงนี้ละเีอียดมากนะ ต้องศึกษากันดีๆ
     
  10. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ผมว่าเรื่องแบบนี้คุยกันคงไม่ค่อยสนุกเพราะคุณขันธ์น่าจะคิดพิจารณาแบบนักวิปัสสนา ผมเองไม่ทราบว่าคุณขันธ์ปฏิบัติธรรมแบบใดมาก่อน แต่ถ้าต้องการแลกเปลี่ยนกันจริงๆ กรุณาถามเป็นคำถามทีละข้อจะดีกว่าครับ เพื่อสะดวกในการพูดคุยกัน ถามกว้างมากๆ แล้วผมเองก็จับจุดไม่ถูกว่าคุณขันธ์ต้องการคุยเรื่องอะไรแล้วจะตอบอย่างไรดีนั่นเอง
     
  11. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คุณ สมถะ ผมบอกแล้วไงให้คุณเอาคำพูดของคุณ สรุปมา อย่าไปหยิบข้อความคนอื่น
    คุณตั้งประเด็นมาเลย ว่าจะถามว่าอะไร เอาเป็นข้อๆ ที่กระชับ และแทงตรง ถึง มรรคผลเลย
    อย่าเอาคำถามเด็กๆ มา ผมขี้เกียจตอบ

    คุณรู้อะไร ถามมาเลย แล้วผมจะแจงให้ สำหรับ เรื่อง นรก สวรรค์ เกิด แก่ เจ็บตาย ไม่ต้องถามหรอก มันไม่ใช่เรื่อง
     
  12. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ฟังจากคุณขันธ์กล่าว หมายความว่าต้องให้ผมถามคุณขันธ์หรือครับ ลักษณะการตอบเหมือนประหนึ่งว่าตนเองได้มีประสบการณ์บรรลุธรรมแล้ว แต่อาการที่แสดงเหมือนดังร้อนวิชาคืออยากจะพูดบอกความรู้ของตนเองเสียมากกว่าอะไรทำนองนั้น


    เอาเป็นว่าผมไม่รบกวนล่ะครับ เพราะยิ่งคุยกันอาจยิ่งไม่สนุกนัก ผมเพียงต้องการแสดงข้อมูลให้เกิดความเข้าใจเท่านั้น


    จะให้ผมสรุปแบบง่ายๆ ก็ได้ความว่า จะทำอย่างไรแบบไหนก็ทำเถิด กิเลสหมดได้จริงไหมถ้าได้จริงก็อนุโมทนานะครับ


    อันที่จริงกระทู้นี้ตั้งมาอย่างหนึ่งแต่คุยกันไปคุยกันมาไปอีกแบบหนึ่ง ก็ว่ากันไปนะครับ


    ขออภัยคุณขันธ์ด้วย ผมไม่มีเจตนาจะถกกันแบบเอาแพ้เอาชนะ สำหรับผมใครปฏิบัติได้ผลดีกับตนอย่างไร กิเลสเบาบางอย่างไร ผมอนุโมทนาด้วย และเมื่อเราไม่มีใจคิดเบียดเบียนกัน มรรคผลนิพพานก็ถือว่ายังเปิดกว้างสำหรับท่านที่ต้องการบรรลุธรรมเสมอ
     
  13. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ทัสนะ ทั้งหมด ของมนุษย์ ทุกคน ที่ติดกับ ตั้งแต่ยังไม่มีพระพุทธองค์ คือ สักกายทิฎฐิ ตีไม่แตก ดังนั้น มองอะไร ก็เป็นเรื่องถาวร

    แต่ พระโสดาบัน คือ ตีสักกายทิฎฐิแตก มองอะไร ก็เป็นการเกิดดับ ของ สรรพสิ่ง จะไปยึดมั่นถือมั่น สิ่งนั้นสิ่งนี้ถาวร นั้นไม่มี ธรรมทั้งหลายทั้งปวงต้องมีที่ตั้ง มีเหตุปัจจัย จะยกขึ้นมาลอยๆ นั้นไม่มี

    การตีสักกายทิฎฐิแตก นั้น จะต้อง มองสรรพสิ่งเกิดดับ ให้มาก เช่นว่า สรรพรูป สรรพนาม นั้น เกิดดับ ทุกอย่าง ละเอียดไปจนถึงว่า ตัวปัญญา นี้เกิดดับ เวลาปัญญามันเกิด มันมีอายตนะเช่นไร มันดับไปแล้วมันมีอายตนะเช่นไร ถ้ามองกันดีๆ อายตนะแห่งปัญญา เกิด พวกท่านรู้สึก อะไรตรงไหน มีเวทนาไหม มี อารมณ์ไหม ตอบว่า ไม่มี

    ตรงปัญญานั้นแหละคือ อายตนะแห่งธรรม ที่มันปรากฎละเอียดจนเรามองไม่เห็น

    นี่อ่านทวนกันหลายๆ รอบนะ ตรงนี้ เอาให้เห็น ปัญญา ที่เป็นไตรลักษณ์ แล้วเพิก อายตนะอื่นทั้งหมดทิ้งไป
     
  14. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ดีแล้ว คุณ สมถะ กิเลสกับธรรมมันเข้ากันไม่ได้หรอก
    เพราะมันคุยกันคนละโยชน์ ผมพูด เรื่อง ธรรม อันเป็นวิปัสสนาแล้ว คุณยังไปงมโข่งอยู่เรื่อง นิมิต มันจะไปรู้เรื่องกันได้อย่างไร

    แต่อนุโมทนาด้วยกับ ความระงับไม่โกรธ ขอให้อ่าน สิ่งที่ผมพูดให้ดี แล้ว เอาทัสนะให้เกิด จะได้ไม่ไปทางผิด
     
  15. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    เรียนคุณขันธ์ คุณขันธ์น่าจะไปตั้งกระทู้อธิบายธรรมะของคุณให้คนอื่นเข้ามาถามจะดีกว่าไหมครับ ใครสนใจสนทนาด้วยก็ว่ากันไป ส่วนเรื่องวิชชาธรรมกายนั้นวางลงเสียก่อนเถิด อย่ายึดติดเลย ผมเองเห็นแต่คนอื่นพยายามพูดว่าผู้ฝึกธรรมกายยึดติด แต่ผมเองเห็นว่ายิ่งฝึกเรายิ่งปล่อยวาง ท่านที่พยายามคิดว่าผู้ฝึกธรรมกายติด ลองถามตนเองสักนิดว่า ท่านก็ติดอยู่หรือไหมหนอ ถ้าท่านยังพยายามพูดว่าคนอื่นติดก็คงไม่ได้แปลว่าท่านไม่ติดกระมังครับ


    อันนี้คุยสู่กันฟังไม่เกี่ยวกับคุณขันธ์นะครับ เรื่องติดรูป ติดนิมิต ติดอะไรต่อมิอะไรนั้น อย่าด่วนสรุปเช่นนั้นเลย ทุกคนที่ศึกษาพุทธศาสนาย่อมทราบตรงกันว่า พระพุทธองค์สอนให้ปล่อยวาง ธรรมทั้งปวงไม่พึงยึดมั่นถือมั่น วิชชาธรรมกายก็ปฏิบัติกันเช่นนั้น แต่ท่านที่ไม่เข้าใจก็สรุปตีขลุมไปว่าเห็นโน่นเห็นนี่คือการติด อันที่จริงท่านต่างหากที่ติดใจในความเห็นของตนเองว่าถูกและมองคนอื่นว่าผิดไปตามความเห็นของตน แต่ท่านอาจไม่เข้าถึงความจริงของเรื่องนั้นๆ ก็ได้ ท่านมองโลกจากมุมมองของท่าน เอาตนเองเป็นศูนย์กลางในการตัดสินคนอื่น ทีนี้ใครติด ? ผมมองว่าคนที่กล่าวว่าคนอื่นติดนั่นแหละติดอะไรอยู่มากกว่าคนที่เขากล่าวหาเสียอีก อย่างน้อยก็ติดในความเห็นว่าตนถูกคนอื่นผิด การติดในความเห็นเป็นทิฏฐินุสัยนั่นเอง


    เอาล่ะผมจบล่ะครับ
     
  16. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    อ้าว แสดงธรรม แล้ว ทำไมมันหาว่า ทิฎฐินุสัย หละ ถ้าเช่นนั้นที่พระพุทธองค์ ท่านว่า ลัทธิพราหมณ์ผิด นั้นพระพุทธองค์ ก็มีทิฎฐินุสัยนะสิ
     
  17. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ขอเพิ่มเติมเล็กน้อยนะครับ อย่าได้อ้างพระพุทธองค์เช่นนั้นเลย พระองค์หมดกิเลส เราท่านคุยกันอยู่ยังมีกิเลส เรื่องง่ายๆ แค่นี้เองทำไมไม่คิดล่ะครับ คนมีกิเลสก็ต้องมีอนุสัยเป็นสันดานจิตกันทั้งนั้น แต่พระอรหันต์ไม่มีกิเลสเหล่านี้แล้ว เอ...คุณขันธ์นี่คิดแปลกๆ นะครับ นำพระพุทธองค์มาเป็นตัวอย่างได้ไง


    ผมกล่าวแล้วว่าย่อหน้านั้นผมกล่าวกว้างๆ ไม่เกี่ยวกับคุณขันธ์ ถ้าจะเกี่ยวก็คงเป็นความร้อนตัวของคุณไปเองนะครับ


    เอาล่ะผมจะสรุปให้ฟัง ในโลกนี้มีเพียงคนที่ฉลาดที่สุด และคนที่โง่ที่สุดเท่านั้นที่มิอาจเปลี่ยนแปลงได้


    ผมกล่าวเช่นนี้ก็อย่าเพิ่งลุแก่โทสะเลยนะครับ


    เอาเป็นว่าผมยุติจริงๆ แล้วล่ะ ใครจะว่าดีว่าเลวอย่างไร ผมไม่ตอบโต้แล้วนะครับ เจริญธรรมครับ
     
  18. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ก็ไม่ได้เกี่ยวกับคุณขันธ์ นะสิ ผมจึงบอกว่า ถ้าเช่นนั้นแล้ว พระพุทธองค์ก็มีทิฎฐินุสัยนะสิ ก็มันเหมือนกันนี่
    แสดงธรรม แ้ล้วเห็นว่า สิ่งนั้นผิด สิ่งนั้นยังไม่ถูก ก็เรื่องปกติ แล้วทำไมมาหาว่า โทสะอะไรหละครับ
     
  19. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง : ฟังธรรมตามกาล ๑
    เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ : นี้เป็นมงคลอันสูงสุด

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 072sv7.gif
      072sv7.gif
      ขนาดไฟล์:
      424.8 KB
      เปิดดู:
      247
  20. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คุณ สมถะ ผู้มีธรรม ครับ คุณยังมีทิฎฐิ ไม่ตรง ไม่เที่ยง ยังเห็นผิดเป็นชอบ
    ยังไม่แตกฉานในธรรม แล้วทำไม คุณจึงมี ทิฎฐิปิดตนหละ ในเมื่อ ผมแจงธรรมให้เห็น
    แล้ว ถ้าคุณจะรอให้ผมไปถามคุณ คุณยังมีแต่สัญญาเต็มพรืดไป คุณเอาข้อความคนนั้นคนนี้มาแปะ ไม่ได้มาจากธรรมที่เกิดในใจคุณ คุณจะมาอธิบายให้ผมฟังได้อย่างไร

    ถามจริงๆ มีธรรมเกิดในใจบ้างหรือยัง ต้องไปถามตัวเองแบบนี้ ว่า เห็นธรรมอะไรหรือยังที่เราร้องอ๋อ
    หรือ มีแต่ ว่าเขาทำบุญ ก็ทำบุญไป แต่ใจยังไม่ได้เห็นอะไร นี่แบบนี้ ก็เปรียบเหมือนคนอยู่ในที่มืด คนอื่นเขาว่ามาอย่างไร ก็เดินตามเขาไปในความมืด จะไปรู้ไปเห็นธรรมได้อย่างไร

    คนรู้คนเห็นธรรม มันก็เหมือนคนอยู่ในที่มืด แล้วเห็นแสงสว่าง แม้แว็บมาทีเดียวเราก็เดินไปเองถูก ว่าทางทิศนั้นทิศนี้

    นี่ ไปถามตนเอง แล้วก็ไปฝึก ดูรูปนาม ดูจิตตน เรียกว่า จิตตภาวนา ให้ไปหาทีหลวงตามหาบัวเทศ
    อย่าไปฝึก ธรรมกงธรรมกาย มันผิดทิศผิดทาง ไม่ได้เห็นเองรู้เอง เขาว่ามาว่ามีกายอย่างนั้นอย่างนี้ ก็เชื่อเขา
    นี่ประหลาด เชื่อโดยไม่ไตร่ตรอง มันไม่ใช่ ปัจจัตตัง นี่
     

แชร์หน้านี้

Loading...