ตัณหาทีควรตัด..ประเภทของมัน..รู้จักมัน..จะได้ตัดมัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะชาติ, 28 มิถุนายน 2008.

  1. ธรรมะชาติ

    ธรรมะชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +64
    ตัณหา

    <!-- start content -->
    [​IMG]


    <TABLE class=toccolours id=WSerie_Buddhism style="BORDER-RIGHT: #060 1px solid; BORDER-TOP: #060 1px solid; FLOAT: right; MARGIN: 0px 0px 1em 1em; BORDER-LEFT: #060 1px solid; BORDER-BOTTOM: #060 1px solid; TEXT-ALIGN: center" cellSpacing=0 cellPadding=1 width=170><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: 100%" colSpan=2><SMALL>ส่วนหนึ่งของ</SMALL>
    พุทธศาสนา

    [​IMG]

    ประวัติพุทธศาสนา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>ศาสดา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พ้นทุกข์ / ความดับทุกข์</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>ไตรสรณะ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระพุทธ &middot; พระธรรม &middot; พระสงฆ์
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>ความเชื่อและการปฏิบัติ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ศีล &middot; ธรรม
    ศีลห้า &middot; เบญจธรรม &middot; ศีลแปด
    บทสวดมนต์และพระคาถา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>คัมภีร์และหนังสือ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระไตรปิฎก
    พระวินัยปิฎก &middot; พระสุตตันตปิฎก &middot; พระอภิธรรมปิฎก</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>นิกาย</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>เถรวาท &middot; อาจริยวาท (มหายาน) &middot; วัชรยาน &middot; เซน</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>สังคมพุทธศาสนา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%">เมือง &middot; ปฏิทิน &middot; บุคคล &middot; วันสำคัญ &middot; ศาสนสถาน &middot; วัตถุมงคล</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>ดูเพิ่มเติม</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา
    หมวดหมู่พุทธศาสนา</TD></TR><TR><TH colSpan=2>[​IMG] สถานีย่อย</TH></TR></TBODY></TABLE>ตัณหา เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนา หมายถึง ความติดใจอยาก ความยินดี ยินร้าย หรือติดในรสอร่อยของโลก
    ตัณหา ประกอบด้วย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ และ ตัณหาย่อมเจริญแก่ผู้ประพฤติประมาท
    ตัณหา ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดังนั้น ความทุกข์ย่อมเกิดขึ้นบ่อยๆ เมื่อบุคคลยังถอนเชื้อตัณหาไม่ได้
    ในหลักปฏิจจสมุปบาท ตัณหาเกิดจากเวทนาเป็นปัจจัย โดยมี อวิชชาเป็นมูลราก
    ควรเห็นตัณหา เป็นดังเครือเถาที่เกิดขึ้น แล้ว จงตัดรากเสียด้วยปัญญา
    ตัณหาแบ่งออกเป็น ๓ อย่าง

    ควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา ๓ อย่างนี้

    ตัณหา ๖

    ตัณหา ๖ หมวด ได้แก่
    1. รูปตัณหา คือ อยากได้รูป (ที่มองเห็นด้วยตา)
    2. สัททตัณหา คือ อยากได้เสียง
    3. คันธตัณหา คือ อยากได้กลิ่น
    4. รสตัณหา คือ อยากได้รส
    5. โผฏฐัพพตัณหา คือ อยากได้โผฏฐัพพะ (ความรู้สึกทางกายสัมผัส)
    6. ธัมมตัณหา คือ อยากในธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด)
    ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งตัณหาทั้ง๖นี้ เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์
    ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความสูญแห่งตัณหาทั้ง๖นี้ เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์
    ตัณหาทั้ง๖ นี้ ไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน รูปตัณหา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัททตัณหา ฯลฯ ใน คันธตัณหา ฯลฯ ในรสตัณหา ฯลฯ ในโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ในธรรมตัณหา ฯลฯ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
    • <SMALL>จาก ตัณหาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓</SMALL>
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล ๙ ประการ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล ๙ ประการเป็นไฉน การแสวงหาเพราะอาศัยตัณหา ๑ การได้เพราะอาศัยการแสวงหา ๑ การวินิจฉัยเพราะอาศัยการได้ ๑ ฉันทราคะเพราะอาศัยการวินิจฉัย ๑ ความหมกมุ่นเพราะอาศัยฉันทราคะ ๑ ความหวงแหนเพราะอาศัยความหมกมุ่น ๑ ความตระหนี่เพราะอาศัยความหวงแหน ๑ การจัดการอารักขาเพราะอาศัยความตระหนี่ ๑ ธรรมอันเป็นบาปอกุศลหลายประการ คือ การจับท่อนไม้ จับศาตราการทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท กล่าววาจาส่อเสียดว่ามึงๆ และพูดเท็จย่อมเกิดขึ้น ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมมีตัณหาเป็นมูล ๙ ประการนี้แล ฯ
     
  2. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    เป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ ^-^
     
  3. นายวีระศักดิ์ ท

    นายวีระศักดิ์ ท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2006
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +1,003
    อ่านดูจะเข้าใจยาก สรุป ตัณหา แปลว่าความอยาก มี 2 อย่าง
    1.ภวตัณหา ความอยากเป็นโน้น เป็นนี่ เช่น อยากเป็นเศรษฐี อยากเป็นดารา ฯลฯ
    2.วิภาวตัณหา ความไม่อยากเป็น เช่นไม่อยากเป็นคนจน ไม่อยากเป็นคนขี้เหล่ ไม่อยากเป็นคนพิการ
    ตัณหาทางไหนล่ะ? ทางอายตนะ 6 คือ (ตา- เห็น, หู -ได้ยิน,จมูก-ได้กลิ่น, ลิ้น-รส, กาย-สัมผัส, ใจ-สิ่งที่ใจนึกคิด)คื่ออยากทางอายตนะ 6 นี้ และไม่อยากทางอายนตนะ 6 นี้ เช่นตาเห็นสิ่งที่ตนเองชอบ ก็อยากเห็น เช่นคนสวย ดารา ในทางกลับกัน สิ่งที่ตนไม่ชอบก็ไม่อยากเห็น เช่นเห็นคนที่เราเกียจ ศัตรู เราก็ไม่อยากเห็น เท่านั้นเอง
    ขอเพิ่มครับ
    ข้อ 3.กามตัณหา คืออารมณ์อยากใคร่ในกามคุณ 5 มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กรกฎาคม 2008
  4. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    กุศลผลบุญใด ๆ ก็ตามที่ข้าพเจ้าได้ทำมาแล้ว ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศให้<O:p</O:p


     
  5. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    ดับตัญหาเสียก่อนที่ตัญหาจะเกิด

    [​IMG]

    เมื่อความต้องการเกิดขึ้น เรามักจะหาหนทางต่าง ๆ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการที่เกิดขึ้น
    ความต้องการนั้นมีทั้งส่วนที่เป็นกุศล เป็นไปในทางดี และอกุศล เป็นไปในทางที่ชั่ว
    ความต้องการในฝ่ายของกุศลนั้นมักไม่ค่อยก่อให้เกิดปัญหาเท่าใดนัก
    แต่ความต้องการทางฝ่ายอกุศลมักก่อให้เกิดปัญหาขึ้นเสมอ ๆ
    มากบ้างน้อยบ้างตามความเห็นผิดความหลงผิดที่เกิดขึ้น
    บ้างต้องถึงกับติดคุกติดตาราง บ้างก็ต้องลักขโมยให้เป็นที่เดือดร้อน
    เมื่อมีความต้องการเกิดขึ้น คนทั่วไปมักพยายามทำในสิ่งที่ให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เขาต้องการ
    ในขณะที่ดำเนินการเพื่อสนองความต้องการนั้นจะมีจิตฝ่ายกุศลและอกุศลมาประกอบการกระทำจนที่สุดก็ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ
    หากเราได้พิจารณาดูให้เห็นชัดเจนจะเห็นได้ว่า การสนองความต้องการนั้นมีทั้งที่ต้องลงทุนลงแรงเสียเงินเสียเวลา
    เช่นเมื่อเราอยากได้กระเป๋าถือหนึ่งใบ บางคนตอบสนองความอยากนี้โดยไปซื้อกระเป๋าราคาแพงมียี่ห้อที่แพง
    นั่นก็คือนอกจากความอยากได้กระเป๋าถือแล้วยังมีเรื่องของความอยากดีอยากเด่นอยากโอ้อวดอยู่ในนั้นด้วยพร้อมกัน
    บางคนก็ไปซื้อกระเป๋าลักษณะความสวยงามและประโยชน์ใช้สอยใกล้เคียงกับของแบรนด์เนมแต่ราคาถูกกว่าประหยัดกว่ามาใช้
    โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าต้องเป็นของมียี่ห้อหรือไม่
    ก็นับว่าทั้งสองความคิดต่างก็ได้สนองความต้องการด้วยการใช้ทรัพย์เพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการ
    แต่มีการสนองความต้องการอีกแบบหนึ่งซึ่งเป็นการตอบสนองที่ยั่งยืนไม่เบียดเบียนและไม่มีภัย
    นั่นก็คือการหยุดความอยากที่เกิดขึ้น
    ลองดูกันให้ดี การได้มาซึ่งสิ่งของเงินทองบุคคลอันเป็นที่รักนั้น เมื่อได้มาแล้วก็เป็นการทำให้ความต้องการนั้น ๆ สำเร็จ
    แต่แท้ที่จริงการหยุดความต้องการนั้นต่างหาก เป็นการสนองความต้องการที่ถูกต้องแท้จริงและยั่งยืน
    เมื่อลองตรองดู หลังจากได้สิ่งที่เราปรารถนาแล้วความอยาก หรือความต้องการจะดับลงเราจะพ้นไปจากความดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ
    เช่นเดียวกัน ผู้มีปัญญาจะสามารถเห็นความอยากและดับความอยากได้โดยไม่ต้องไปแสวงหาการกระทำใด ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการนั้น<O:p</O:p<O:p</O:p



    คีตเสวี<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2008
  6. ธรรมะชาติ

    ธรรมะชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +64
  7. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
    ตัณหาที่ควรตัด คือ

    ตัณหา ความอยากปฏิบัติธรรม
    ตัณหา ความอยากได้ธรรมะ
    ตัณหา ความอยากมีธรรมะ
    ตัณหา ความอยากได้บุญ-บารมี
    ตัณหา ความอยากเป็นอริยะ
    สำคัญสุด คือ ตัณหา ความอยากได้พระนิพพาน

    เอาตัณหามาเข้าใจธรรมะ
    เอาตัณหามาใช้กับพระนิพพาน

    แล้วจะตรงตามเนื้อหาพระพุทธะอรหันต์หรือท่านทั้งหลาย

    ขออนุโมทนา
     
  8. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
    อยากมี-อยากเป็น-อยากไป จึงทุกข์

    อยากใน กิน-กาม-เกียรติ จึงทุกข์

    อยากมีกินดี-ไม่อยากมีกินไม่ดี จึงทุกข์
    อยากมีกามปราณีต-ไม่อยากไม่มีกามปราณีต จึงทุกข์
    อยากมีเกียรติ-ไม่อยากไม่มีเกียรติ จึงทุกข์

    อยากกินอาหารอร่อยหรูเลิศ-ไม่อยากกินที่มีอยู่ จึงทุกข์
    อยากมีบ้านโต รถสวย แฟนหล่อหุ่นสมาทท่าทางภูมิฐาน
    ภรรยาหุ่นกระชากใจหน้าตาหยดย้อย-ไม่พอใจที่มีอยู่ จึงทุกข์
    อยากให้คนยกมือไหว้ กราบไหว้ เทิดทูล นับถือ ให้เกียรติ ให้ความสำคัญ-ไม่พอใจสิ่งที่มีอยู่ จึงทุกข์

    อยากเป็น ดี-เด่น-ดัง จึงทุกข์

    อยากดี-ไม่อยากไม่ดี จึงทุกข์
    อยากเด่น-ไม่อยากไม่เด่น จึงทุกข์
    อยากดัง-ไม่อยากไม่ดัง จึงทุกข์

    อยากเป็นผู้ดีในสายตาคนอื่น-ไม่อยากเป็นคนเลวในสายตาคนอื่น จึงทุกข์
    อยากเด่นในสายตาคนอื่น-ไม่อยากให้คนมองข้ามหัว จึงทุกข์
    อยากดังคนรู้จักไปทั่ว-ไม่อยากเป็นคนไร้ค่าไร้ความสำคัญ จึงทุกข์


    อยากไปใน โลกธรรม จึงทุกข์

    อยากได้ลาภ-ไม่อยากเสียลาภ จึงทุกข์
    อยากได้ยศ-ไม่อยากเสื่อมจากยศ จึงทุกข์
    อยากได้ความชื่นชม-ไม่อยากได้คำดูถูก-ต่อว่า-นินทา จึงทุกข์
    อยากได้สุข-ไม่อยากได้ทุกข์ จึงทุกข์

    อยากได้เลขเด็ด อยากถูกหวย อยากได้เงินมาลอย ๆ โดยไม่ต้องทำงาน-ไม่อยากถูกหวยกิน
    ไม่อยากแทงบอลผิด จึงทุกข์
    อยากเลื่อนตำแหน่งโดยไม่มีความสามารถ อยากได้สองขั้นโดยไม่มีผลงาน
    อยากเป็นผู้จัดการโดยไม่มีความรู้
    อยากมีตำแหน่งหน้าที่ยศทั้งที่เก่งฉลาดมีความรู้แต่ไม่มีโอกาส(จึงทุกข์) - ไม่พอใจในที่มีอยู่ จึงทุกข์
    อยากให้ได้ดังใจตามที่ปราถนาทุกประการ-พอไม่ได้ จึงทุกข์
    (เมื่อเธอมีหวังจึงผิดหวัง-เมื่อเธอตั้งใจมากก็ต้องเสียใจมากเป็นธรรมดา-หากอยากได้ดังใจก็ต้องมีผิดใจกันเป็นธรรมดา)

    ไม่ยึด-ไม่อยาก-ไม่ทุกข์-ไม่กังวล-ไม่เดือดร้อน-ไม่ลำบาก-ไม่ขมขื่น-ไม่โศกเศร้า-ไม่เสียใจ-ไม่ตรอมตรม

    ทำไปตามเหตุ-ทำเหตุให้เต็ม-ผลจะตามมาเอง-โดยไม่ต้องไปอยาก-นี่คือชีวิตที่ไม่ต้องไปทุกข์เพราะตัวเอง

    ขออนุโมทนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2008
  9. นายวีระศักดิ์ ท

    นายวีระศักดิ์ ท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2006
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +1,003
    อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ ผมเห็นด้วยทุกประการครับ อยากมาก เช่นคืนนี้ตั้งใจจะข้าฌานสัก 4-5 ชั่วโมง แต่ก็เข้าฌานไม่ได้ ทั้งๆที่เคยทำได้ ศรัทธามากก็ไม่ดี ปัญญามากก็ไม่ดี ความเพียรมากก็ไม่ดี ต้องเสมอกันครับ ปฏิบัติไปเถอะไม่ต้องหวังผล แม้พระนิพพาน คิดเสียว่าชีวิตที่เหลือจะปฏิบัติธรรม ทำความดี จำพระอานนท์ได้ไหมครับเร่งความเพียรไม่ยอมนอน แต่พอคิดว่าจะพักผ่อนสักหน่อยแล้วค่อยปฏิบัติต่อ พอเอนกายเท่านั้นเหละ หัวท่านยังไม่ถึงหมอนเลย ท่านก็บรรลุพระอรหันต์
     

แชร์หน้านี้

Loading...