ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center bgColor=#dddddd border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#ffffff><TD><TABLE height=30 cellSpacing=3 cellPadding=3 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BACKGROUND-POSITION: right bottom; BACKGROUND-IMAGE: url(../bg/pagebg11.jpg); BACKGROUND-REPEAT: no-repeat">
    [​IMG]


    <TABLE align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    ท่าน "กล้าธรรม" นำทาง ทั้งเจ็ดสาย
    จากอบาย สู่สุคติ ดำริมั่น
    เพื่อให้เห็น รู้ เน้น เด่นโลกันต์
    กามาวจร ทั้งเจ็ดนั้น อย่าละเลย
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ช่วงนี้ต้องขอโทษด้วยที่นำบทกวีอันจรุงจิต เพื่อเร่งให้ทำใจให้สงบมาลง เนื่องจากสภาวะบ้านเมืองในขณะนี้ดูสับสนวุ่นวาย วันนี้ได้มีโอกาสนั่งรถแท๊กซี 2 คัน จึงได้เจอคนขับรถ 2 คัน 2 อารมณ์ เหมือนกับชาย 3 คนที่เรียงอิฐ คันแรกวิจารณ์บ้านเมืองดูสับสนวุ่นวายทำให้อารมณ์ขุ่นมัว ขับรถแทบชนกับคันอื่นตลอด คันที่ 2 ตอบว่านี่คือประเทศไทย เพราะฉะนั้นสบายใจคือไทยแท้คือเห็นเป็นธรรมดาหรือธรรมชาติของคนไทย นี่ถ้าไม่ได้อ่านเรื่องชายที่เรียงอิฐ เราคงมีอารมณ์ร่วมด้วย ดังนั้น ทั้งข้อคิด และบทกวีที่นำมาลง คราใดคราหนึ่ง อาจทำให้เรามีสติยั้งคิดได้ นับว่าเป็นประโยชน์ได้เหมือนกัน....

    สำหรับพุทธประวัติที่นำมาลงนี้ นำมาจาก bloggang.com travelaround-home มีทั้งหมด ประมาณ 80 กว่าตอน ค่อยๆ เรียนรู้กันไปครับ น่าอ่านและน่าติดตามมาก ท่านจะได้รู้อะไรที่เกี่ยวกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ในกัปปปัจจุบันอีกมาก ขอให้ติดตามให้ตลอดนะครับ ไม่มีในตำราเรียนวิชาศีลธรรมที่คนอายุ สี่สิบกว่าๆ เคยเรียนมาก่อนครับ

    สำหรับข่าวงานบุญช่วงนี้คงเป็นช่วงที่รอการประชุมกรรมการในวันอาทิตย์นี้ครับจึงจะกำหนดวงเงินและรูปแบบเพิ่มเติมใหม่ได้ สำหรับท่านที่ไม่สามารถมาทำบุญด้วยกันกับชาวคณะทุนนิธิฯ ที่ รพ.สงฆ์ ในวันที่ 22/6 นี้ได้ อยู่กับบ้านก็ขอให้ พยายามตื่นเช้าหน่อย ทำบุญใส่บาตรอุทิศให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ในวันคล้ายวันสิ้นชีพตักษัยของท่านน๊ะครับ กรวดน้ำเสร็จแล้วจะขอพรอะไรกับท่านก็ขอไป หากอยู่ในญาณวิถีที่ท่านจะช่วยได้ รับรองสำเร็จแน่นอนครับ อย่าลืมข้าวสวย 1 ถ้วย ผัดผักบุ้งไทย (สีแดงที่ทานกับส้มตำ) กับเกลือเท่านั้น 1 ถุงเล็ก ก็พอ (ทำแบบผักบุ้งไฟแดงที่ทานกับข้าวต้ม) ทำแบบอาหารเจไม่ใส่ซิอิ๊ว หรือน้ำปลา ถวายพระที่รับบาตรท่านไป แล้วบอกเหตุผลกับพระท่านด้วยว่าทำถวายท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เพราะเดี๋ยวท่านจะงง ว่าโยมทำอะไรมาถวายส่วนท่านจะฉันหรือไม่ก็เป็นเรื่องของท่านครับ

    หากมีเรื่องใดที่จะประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมจะได้รีบแจ้งให้ทราบครับ อ้อ..เกือบลืม มีข่าวแจ้งมาจากคุณสติ เหรัญญิกทุนนิธิฯ ว่า มีเงินโอนเข้ามาหลายรายการ แต่ไม่ระบุชื่อผู้โอนเข้ามา จึงขอความกรุณาอีกครั้ง ช่วยแจ้งมาให้ทราบด้วยครับ เพราะหากต้นปีหน้าหาก เราแจกของสำคัญที่สุดให้ รายชื่อจะได้ไม่ตกหล่นครับ


    พันวฤทธิ์
    10/6/51

    ปล. ท่านใดหากพอรู้จักร้านที่ขายเครื่องดูดเสมหะช่วยแนะนำให้ด้วยครับ หากได้ราคามาด้วยยิ่งดีใหญ่ เพราะได้ทราบว่าทาง รพ.ต้องการใช้ครับ อีกอย่างพระสงฆ์ชรา ที่อาพาธ หลายองค์ได้มรณภาพด้วยเสลดพันคอ หากเราช่วยท่านได้แม้เพียง 1 องค์ จะเป็นกุศลมหาศาลเชียว คณะกรรมการทุนนิธิฯ จึงมีแผนที่จะซื้อเครื่องดูดเสมหะถวายให้ รพ.สงฆ์ในช่วงปลายปี ซึ่งหากราคาไม่แพง จะได้วางแผนการใช้เงินในบัญชีเผื่อไว้ และขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับผู้ที่แนะนำครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2008
  3. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    ตอนนี้มีพี่ส่งตังค์มาร่วมบุญ 800 บาท รวมกับพ่อแม่ผม 100 บาท
    รวมเป็น 900 บาท

    ผมและแฟนเตรียมนมถั่วเหลือง + งาดำด้วยครับ 1 ลัง + เล็กน้อย

    คาดว่าใกล้ๆ จะมาเพิ่มอีกครับ

    สาธุครับ
     
  4. pucca2101

    pucca2101 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    5,805
    ค่าพลัง:
    +20,896
    ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ

    วันนี้ได้โอนเงินไปเพื่อร่วมทำบุญเป็นจำนวนเงิน 200 บาท โอนไปเวลา 12.54 น.ค่ะ
     
  5. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    <TABLE width=560 align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD width=420><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#eeeeee border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffcc00 height=22>โ ด ย : อาจารย์บรรเจิด สังข์สวน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>[​IMG] วันอาทิตย์</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>[​IMG] วันจันทร์
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>[​IMG] วันอังคาร
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG] วันพุธ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG] วันพฤหัสบดี
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG] วันศุกร์
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG] วันเสาร์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ลองดูนะครับว่าตรงกับจริตของท่านหรือเปล่า

    ขอขอบคุณ
    แหล่งที่มา >>ClickHere<<
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 17 มีนาคม 2551 0:46:20 น.-->พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๑๕ : พระนางพิมพาประสูติพระโอรส
    <!-- Main -->[SIZE=-1]พระพุทธประวัติ ตอนที่ 15 : ทรงทราบข่าวพระนางพิมพาประสูติพระโอรส

    ทรงสรงสนานน้ำในสระ ราชบุรุษไปทูลว่า
    พระนางพิมพาประสูติพระโอรสแล้ว

    ภายหลังที่เจ้าชายสิทธัตถะเห็นเทวทูต ๔ คือ นักบวช จนตัดสินพระทัยว่าจะเสด็จออกบวชแน่นอนแล้ว ก็เสด็จด้วยรถพระที่นั่ง ที่ปฐมสมโพธิว่า "เทียมด้วยมงคลสินธพทั้ง ๔ มีสีดังดอกโกกนุทปทุมบุปผาชาติ (ดอกบัวสีแดง)" เสด็จไปถึงพระราชอุทยาน

    [​IMG]

    เมื่อเสด็จไปถึง เจ้าชายสิทธัตถะซึ่งแวดล้อมไปด้วยคณานางอเนกนิกรสุรางคศักยราชกัญญา ก็เสด็จลงสรงสนานในสระโบกขรณีที่เรียงรายระดาดาดด้วยเบญจปทุมชาติ เกือบทั้งวัน จนเย็นจึงมีเจ้าพนักงานจากราชสำนักผู้หนึ่ง ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะ รับสั่งให้นำข่าวมาทูลให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงทราบ เจ้าพนักงานกราบทูลว่าพระนางพิมพายโสธราประสูติพระโอรสแล้ว

    พระพุทธโฆษาจารย์ผู้แต่งอรรถกถาธรรมบทได้พรรณนาความตอนนี้ไว้ว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทรงทราบข่าวว่า พระชายาของพระองค์ประสูติพระโอรสแล้ว ทรงเกิดความรู้สึกอย่างหนึ่งซึ่งไม่เคยเกิดกับพระองค์มาก่อนเลย คือ ความรักลูกยิ่งนัก ความรักนั้นเกิดขึ้นแล้ว หนักหน่วงในพระทัย ผูกมัดรัดรึงพระทัยยิ่งกว่าสิ่งใดในโลก จนทรงอุทานออกมาว่า "พันธนัง ชาตัง ราหุลัง ชาตัง" แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "ห่วงเกิดขึ้นเสียแล้ว" คำที่แปลว่า 'ห่วง' ในพระอุทานของเจ้าชายสิทธัตถะ คือ ราหุลัง หรือ ราหุล ต่อมาคำนี้ได้ถวายเป็นพระนามของราหุลกุมาร
    ที่เจ้าชายสิทธัตถะเปล่งอุทานขึ้นว่า "ห่วงเกิดขึ้นเสียแล้ว" นั้น หมายถึงว่า พระองค์กำลังตัดสินพระทัย จะเสด็จออกบวช กำลังจะตัดห่วงหาอาลัยในฆราวาสอย่างอื่น ก็เกิดมีห่วงใหม่ขึ้นมาผูกมัดอีกเสียแล้ว
    [/SIZE]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE borderColor=white cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=2><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 8 มิถุนายน 2551 6:50:33 น.-->ฝึกใจไม่ให้โกรธ : พระนิพนธิ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    <!-- Main -->[SIZE=-1]



    ปรกตินั้น เมื่อโกรธก็มักจะไปเพ่งโทษคนอื่น ว่าเป็นเหตุให้ความโกรธเกิดขึ้น
    คือมักจะไปคิดว่าผู้อื่นนั้นพูดเช่นนั้น ทำเช่นนั้นที่กระทบกระเทือนถึงผู้โกรธ
    การเพ่งโทษผู้อื่นเช่นนี้ ไม่ใช่การทำให้จิตใจตัวเองสบาย ตรงกันข้าม
    กลับเป็นการเพิ่มความไม่สบายให้ยิ่งขึ้น ยิ่งเพ่งเห็นโทษคนอื่น
    มากขึ้นเพียงใด ใจตัวเองก็ยิ่งจะไม่สบายยิ่งขึ้นเท่านั้น


    แต่ถ้าหยุดเพ่งโทษผู้อื่นเสีย เขาจะพูดจะทำอะไรก็ตาม
    ที่เป็นการกระทบกระเทือนถึงตนเองจริงหรือไม่ก็ตาม อย่าไปเพ่งดู
    ให้ย้อนเขามาเพ่งดูใจตนเอง ว่ากำลังมีสุขทุกข์อย่างไร
    มีอารมณ์อย่างไร ใจจะสบายขึ้นได้ด้วยการเพ่งนั้น


    กล่าวสั้น ๆ การเพ่งโทษผู้อื่นทำให้ตัวเองไม่เป็นสุข
    แต่การเพ่งดูใจตนเองทำให้เป็นสุขได้ แม้กำลังโกรธมาก
    หากเพ่งดูใจตัวเองให้เห็นว่ากำลังโกรธมาก ความโกรธก็จะลดลง
    หากเพ่งดูใจตัวเองให้เห็นว่ากำลังโกรธน้อย ความโกรธก็จะหมดไป


    จึงกล่าวได้ว่า ไม่ว่าจะมีอารมณ์ใดก็ตาม โลภ หรือโกรธ หรือหลงก็ตาม
    หากเพ่งดูใจให้เห็นอารมณ์นั้นแล้ว อารมณ์นั้นจะหมดไป
    ได้ความสุขมาแทนที่ ทำให้มีใจสบาย

    ............

    สาเหตุที่แท้จริงอยู่ที่การปรุงของใจ มิใช่อยู่ที่อะไรอื่น
    จะโลภก็เพราะใจปรุงให้โลภ จะโกรธก็เพราะใจปรุงให้โกรธ
    จะหลงก็เพราะใจปรุงให้หลง หรือจะสุขก็เพราะใจปรุงให้สุข
    จะทุกข์ก็เพราะใจปรุงให้ทุกข์ ดังนั้นสิ่งที่ควรระมัดระวังที่สุด
    คือ การปรุงของใจตนเองนี้แหละมิใช่การกระทำของคนอื่น
    คนอื่นจะทำอะไรอย่างไร ถ้าเราระวังการปรุงของใจของเราเองให้ถูกต้องแล้ว
    ความทุกข์ของเราจะไม่เกิด เพราะการกระทำของเขาเลย
     
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ก่อนเข้านอนในวันนี้...และทุกๆ วัน


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center bgColor=#dddddd border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#ffffff><TD><TABLE height=30 cellSpacing=3 cellPadding=3 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BACKGROUND-POSITION: right bottom; BACKGROUND-IMAGE: url(../bg/pagebg11.jpg); BACKGROUND-REPEAT: no-repeat">
    [​IMG]


    <TABLE align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น



    กราบพระบาทสมณเจ้า โคดม
    องค์พุทธบรม เลิศหล้า
    ชี้ทางขึ้นจากตม สู่ห้วง อริยะ
    ข้าฯขอถวายสัตยา มุ่งเข้านิพพาน

    ขอบูชาพระธรรม มงคล
    ธรรมที่จักพาดล สิ้นหล้า
    คำสอนองค์ภูวดล มอบให้ สัตว์เอย
    จักเพียรมิยอมล้า เพื่อเผยแผ่ธรรม

    ขอวันทานอบน้อม พระสงฆ์
    อีกทั้งผู้ธำรง ศาสนา
    ให้พระศาสน์อยู่คง เอื้อสัตว์ โลกเอย
    ขอพรคุ้มเกล้าข้าฯ แกร่งกล้าลุธรรม

    ขอกราบพ่อแม่ผู้ กรุณา
    ด้วยโคลงแทนมาลา. ดอกไม้
    ขอทวยเทพเทวา มอบพร ท่านเฮย
    อีกครูมอบความรู้ให้ . ยิ่งแท้กตัญญู

    กราบบาทยะมุนีผู้ การุณ
    ผู้ปกป้องค้ำจุณ ศาสน์ยิ่ง
    พาข้าฯสู่ธรรมสุน- ทรยิ่ง ไตรธรรม
    อีกท่านอิทธิฯผู้ยิ่ง แกร่งกล้าธรรมงาม

    สองมือข้าต่างธูปเทียน มาลา
    ขอก้มกราบวันทา ผู้เกื้อ
    มวลเหล่ามิตรกัลยา ณธรรมยิ่ง มิตรเอย
    ขอกราบขมาเผื้อ ข้าฯล่วงเกินไป




    ขอขอบคุณ
    http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=1084

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    วิธีนี้คล้ายมากครับ พระอาจารย์ที่ผมบวชแล้วขอไปศึกษากับท่านรูปหนึ่งได้สอนเอาไว้เหมือนกันครับพี่พันวฤทธิ์ครับ

    ขอบคุณครับ
    โมทนาบุญด้วยครับ
    น้องเอ
     
  10. natta_pea

    natta_pea เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    322
    ค่าพลัง:
    +1,515
    วันที่ 9 มิ.ย. 2551 เวลา 17.12 น. ผมได้โอนเงิน 200.- บาท ผ่าน ATM.
    ร่วมทำบุญฯครับ ขอร่วมอนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยครับ
     
  11. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    Update..สารบัญ
    1. บทนำ
    2. <SCRIPT> function confirmDelete(delUrl) { if (confirm("แน่ใจนะคะ ว่่าคุณต้องการ ลบ หน้านี้ออกจากงานเขียน ? ")) { document.location = delUrl; } } </SCRIPT>จุดเริ่มต้นและแนวทางการดำเนินงาน
    3. <SCRIPT> function confirmDelete(delUrl) { if (confirm("แน่ใจนะคะ ว่่าคุณต้องการ ลบ หน้านี้ออกจากงานเขียน ? ")) { document.location = delUrl; } } </SCRIPT>ความคืบหน้าและยอดเงินบริจาค ณ เดือน ธันวาคม 2550
    4. <SCRIPT> function confirmDelete(delUrl) { if (confirm("แน่ใจนะคะ ว่่าคุณต้องการ ลบ หน้านี้ออกจากงานเขียน ? ")) { document.location = delUrl; } } </SCRIPT>พี่ใหญ่ฝากมา...
    5. <SCRIPT> function confirmDelete(delUrl) { if (confirm("แน่ใจนะคะ ว่่าคุณต้องการ ลบ หน้านี้ออกจากงานเขียน ? ")) { document.location = delUrl; } } </SCRIPT>ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน ธันวาคม 2550 #1
    6. ความรู้ปู่ให้มา..พระสมเด็จกรุบางน้ำชน (ปีระกาป่วงใหญ่)
    7. ความรู้ปู่ให้มา..พระสมเด็จปูนสอ "สมเด็จอัศนี"
    8. พระท่าดอกแก้วที่ อ.ประถม อาจสาครสร้าง
    9. ความคืบหน้าและยอดเงินบริจาค ณ เดือน มกราคม 2551
    10. ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มกราคม 2551 #2
    11. ความคืบหน้าและยอดเงินบริจาค ณ เดือน กุมภาพันธ์ 2551
    12. ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2551 #3
    13. การไหว้ 5 ครั้ง (ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรเถร ) วัดเทพศิรินทราวาส
    14. แจ้งกำหนดการร่วมทำบุญเดือน มีนาคม
    15. ภาพพระโลกอุดรที่เรียกว่า "กรุเก่า"
    16. ใบเสร็จรับเงินที่ไปทำบุญมาเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม 2551
    17. ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มีนาคม 2551 #4
    18. ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มีนาคม 2551 #4 หน้า 2
    19. "กระดูก 300 ท่อน" สุดยอดธรรมจากหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
    20. ย้อนหลังกลับมาคุยถึงเรื่อง พระกำลังใจ 2
    21. ชนวนที่ใช้ในการสร้างพระกำลังใจ 2 หน้าที่ 1
    22. ชนวนที่ใช้ในการสร้างพระกำลังใจ 2 หน้าที่ 2
    23. สรุปยอดเงินบริจาคที่ Update ยอดเมื่อวันนี้ 10 เมษายน 2551
    24. ใบโมทนาบัตรเมื่อคราวไปทำบุญเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2551
    25. สรุปรายการพระที่นำมามอบให้เป็นสำหรับผู้ร่วมทำบุญกับทุนนิธิ ฯ
    26. บรรยากาศแบบไทย ๆ ณ บ้านอาจารย์ประถม อาจสาคร ร่วมกับ คณะกรรมการทุนนิธิฯ
    27. พระอีกรุ่นหนึ่งที่เป็นพระที่ อ.ประถมฯ สร้างไว้...
    28. คำบอกเล่าเกี่ยวกับกิจกรรมทำบุญครั้งที่ 5 ของทุนนิธิฯ...จากประธานทุนนิธิฯ
    29. ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน เมษายน 2551 #5
    30. ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน เมษายน 2551 #5-2
    31. รูปขณะที่ทางประธานทุนนิธิฯและคณะกรรมการได้นำกระเช้า ไปกราบเยี่ยมอาการผ่าตัดต้อที่ตาของ อาจารย์ประถม ที่บ้าน
    32. ประชาสัมพันธ์ งานบุญที่ รพ.สงฆ์ ครั้งที่ 6/51
    33. รายละเอียด ก่อนเริ่มการทำบุญ ในวันอาทิตย์ที่ 25/5/2551
    34. รายงานการถอนเงินออกมาเพื่อทำบุญ และ สรุปยอดเงินบริจาคที่ Update ยอดเมื่อ 27/05/08
    35. ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน พฤษภาคม 2551 #6 หน้าที่ 1
    36. ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน พฤษภาคม 2551 #6 หน้าที่ 2
    37. แจ้งข่าว หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร วัดถ้ำเขาประทุน ชลบุรี ได้มรณภาพแล้วด้วยอาการสงบ
    38. แจ้งข่าวเรื่องการทำบุญ รพ.สงฆ์ ในวันที่ ๒๒/๐๖/๒๕๕๑
    <!-- / message --><!-- sig -->__________________
     
  12. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๑๖ : ทรงเปลื้องสังวาลประทานนางกีสาโคตรมี
    <!-- Main -->[SIZE=-1]พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๑๖ : ทรงเปลื้องสังวาลประทานนางกีสาโคตรมี

    ทรงเปลื้องสังวาลประทานนางกีสาโคตรมี
    ซึ่งสดุดีพระคุณ ขณะเสด็จขึ้นสู่ปราสาท

    เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จกลับเข้าเมือง พร้อมด้วยราชบริพารที่ตามเสด็จ สตรีที่ยืนเยี่ยมมองทางสิงหบัญชร หรือหน้าต่างพระตำหนักที่เห็นอยู่นั้น ปฐมสมโพธิบอกว่าเป็น "นางขัตติยราชกัญญองค์หนึ่งแห่งเมืองกบิลพัสดุ์" ทรงพระนามว่า "กีสาโคตมี" เกี่ยวข้องกับเจ้าชายสิทธัตถะในทางพระญาติวงศ์อย่างไร ไม่ได้บอกไว้ แต่ในอรรกถาธรรม บทที่พระพุทธโฆษาจารย์ชาวอินเดียรจนาไว้บอกว่า เธอเป็นธิดาของพระเจ้าอา(หญิง) ของพระพุทธเจ้า ซึ่งหมายถึงพระนางปมิตา และพระนางอมิตา ทั้งสองพระนางนี้เป็นพระกนิษฐา หรือน้องสาวของพระเจ้าสุทโธทนะ แต่เป็นธิดาของพระเจ้าอาพระองค์ไหนแน่ ท่านก็ไม่ได้บอกไว้

    [​IMG]

    พระนางกีสาโคตมี ได้ทรงเห็นเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จกลับจากสรงสนานในสระโบกขรณี ในพระราชอุทยานผ่านมา และทรงเห็นเจ้าชายงามบริบูรณ์ด้วยพระรูปศิริโสภาคย์ ก็ทรงปีติโสมนัส จึงตรัสพระคาถา ชมเจ้าชายสิทธัตถะบทหนึ่ง พระคาถา คือคำกลอน หรือโศลกที่กวีแต่งร้อยกรองความเดิมเป็นภาษาบาลีว่า

    นิพพุตา นูน สา มาตา นิพพุโต นูน โส ปิตา
    นิพพุตา นูน สา นารี ยัสสายัง อีทิโส ปิติ

    ถอดเป็นร้อยแก้วในภาษาไทยว่า "ผู้ใดได้เป็นพระราชมารดา และพระราชบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้นั้นจะมีความสุขดับทุกข์เข็ญ สตรีใดได้เป็นพระชายาสตรีนั้น ก็จะมีความสุขดับทุกข์เข็ญ"

    เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้ยิน ก็ชอบพระทัย ที่ทรงชอบที่สุด คือคำว่า "ดับ" ซึ่งพระองค์ทรงหมายพระทัยถึง "นิพพุต" หรือ นิพพาน จึงทรงเปลื้อง "แก้วมุกดาหาร" เครื่องประดับพระศอราคาแสนกหาปณะ มอบให้ราชบุรุษนำไปมอบให้แก่นางกีสาโคตมี พระนางสำคัญหมายในพระทัยว่า เจ้าชายทรงมีพระทัยปฏิพัทธ์เสน่หาในพระนางก็ทรงเกิดโสมนัสยินดีเป็นอันมาก

    [/SIZE]<!-- End main-->
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE borderColor=white cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=2><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 12 มิถุนายน 2551 7:19:24 น.-->คิดบวก......ชีวิตบวก
    <!-- Main -->[SIZE=-1][​IMG]

    -

    เวลาเจองานหนัก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือโอกาสในการเตรียมพร้อมสู่ความเป็นมืออาชีพ


    เวลาเจอปัญหาซับซ้อน ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบทเรียนที่จะสร้างปัญญาได้อย่างวิเศษ


    เวลาเจอความทุกข์หนัก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือแบบฝึกหัดที่จะช่วยให้เกิดทักษะในการดำเนินชีวิต


    เวลาเจอนายจอมละเมียด ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการฝึกตนให้เป็นคนสมบูรณ์แบบ
    (Perfectionist)


    เวลาเจอคำตำหนิ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการชี้ขุมทรัพย์มหาสมบัต


    ิเวลาเจอคำนินทา ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการสะท้อนว่าเรายังคงเป็นคนที่มีความหมาย


    เวลาเจอความผิดหวัง ให้บอกตัวเองว่า นี่คือวิธีที่ธรรมชาติกำลังสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชีวิต


    เวลาเจอความป่วยไข้ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการเตือนให้เห็นคุณค่าของการรักษาสุขภาพให้ดี


    เวลาเจอความพลัดพราก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบทเรียนของการรู้จักหยัดยืนด้วยขาตัวเอง


    เวลาเจอลูกหัวดื้อ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือโอกาสทองของการพิสูจน์ความเป็นพ่อแม่ที่แท้จริง


    เวลาเจอแฟนทิ้ง ให้บอกตัวเองว่า นี่คือความเป็นอนิจจังที่ทุกชีวิตมีโอกาสพานพบ


    เวลาเจอคนที่ใช่แต่เขามีคู่แล้ว ให้บอกตัวเองว่า นี่คือประจักษ์พยานว่าไม่มีใครได้ทุกอย่างดั่งใจหวัง


    เวลาเจอภาวะหลุดจากอำนาจ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือความอนัตตาของชีวิตและสรรพสิ่ง


    เวลาเจอคนกลิ้งกะล่อน ให้บอกตัวเองว่า นี่คืออุทาหรณ์ของชีวิตที่ไม่น่าเจริญรอยตาม


    เวลาเจอคนเลว ให้บอกตัวเองว่า นี่คือตัวอย่างของชีวิตที่ไม่พึงประสงค์


    เวลาเจออุบัติเหตุ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือคำเตือนว่าจงอย่าประมาทซ้ำอีกเป็นอันขาด


    เวลาเจอศัตรูคอยกลั่นแกล้ง ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบททดสอบว่าที่ว่า 'มารไม่มีบารมีไม่เกิด'


    เวลาเจอวิกฤต ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบทพิสูจน์สัจธรรม 'ในวิกฤตย่อมมีโอกาส'


    เวลาเจอความจน ให้บอกตัวเองว่า นี่คือวิธีที่ธรรมชาติเปิดโอกาสให้เราได้ต่อสู้ชีวิต


    เวลาเจอความตาย ให้บอกตัวเองว่า นี่คือฉากสุดท้ายที่จะทำให้ชีวิตมีความสมบูรณ์
    [/SIZE]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ขอขอบคุณ
    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=it-mommam&month=10-06-2008&group=5&gblog=2
     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


    [๑๕] ราตรียาวแก่คนผู้ตื่นอยู่ โยชน์ยาวแก่คนผู้เมื่อยล้า สงสาร
    ยาวแก่คนพาลผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม ถ้าว่าบุคคลเมื่อเที่ยวไป
    ไม่พึงประสบสหายประเสริฐกว่าตน หรือสหายผู้เช่นด้วย
    ตนไซร้ บุคคลนั้นพึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่น เพราะว่า
    คุณเครื่องความเป็นสหาย ย่อมไม่มีในคนพาล คนพาล
    ย่อมเดือดร้อนว่า บุตรของเรามีอยู่ ทรัพย์ของเรามีอยู่ ดังนี้
    ตนนั่นแลย่อมไม่มีแก่ตน บุตรทั้งหลายแต่ที่ไหน ทรัพย์แต่
    ที่ไหน ผู้ใดเป็นพาลย่อมสำคัญความที่ตนเป็นพาลได้ ด้วย
    เหตุนั้น ผู้นั้นยังเป็นบัณฑิตได้บ้าง ส่วนผู้ใดเป็นพาลมีความ
    สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต ผู้นั้นแลเรากล่าวว่าเป็นพาล ถ้าคน
    พาลเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตแม้ตลอดชีวิต เขาย่อมไม่รู้แจ้งธรรม
    เหมือนทัพพีไม่รู้จักรสแกง ฉะนั้น ถ้าว่าวิญญูชนเข้าไปนั่ง
    ใกล้บัณฑิตแม้ครู่หนึ่ง ท่านย่อมรู้ธรรมได้ฉับพลัน เหมือน
    ลิ้นรู้รสแกงฉะนั้น คนพาลมีปัญญาทราม มีตนเหมือนข้าศึก
    เที่ยวทำบาปกรรมอันมีผลเผ็ดร้อน บุคคลทำกรรมใดแล้วย่อม
    เดือดร้อนในภายหลัง

    และตามมาด้วยบทกวีของคุณเฟื่องฟ้า




    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center bgColor=#dddddd border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#ffffff><TD><TABLE height=30 cellSpacing=3 cellPadding=3 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BACKGROUND-POSITION: right bottom; BACKGROUND-IMAGE: url(../bg/pagebg0.jpg); BACKGROUND-REPEAT: no-repeat">[​IMG]

    ทัพพีไม่รู้รสแกง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2008
  15. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    กราบขอบพระคุณและโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยนะครับที่ได้เสียสละบริจาคทรัพย์เข้ามายังทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม
    โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ

    เมื่อวันอาทิตย์ (8 พ.ค.2551)ที่ผ่านมาผมและน้องธนวัฒน์ได้มีโอกาสไปกราบเยี่ยมคารวะท่าน อาจารย์ ประถม อาจสาคร และพี่จิ๋ว ที่บ้านท่าน เลยถือโอกาสนั้นขออนุญาตถ่ายรูปพระปัญจสิริของท่านอาจารย์ประถม ที่เป็นรุ่นที่ทัน หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร(หลวงปู่ใหญ่)และเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)ได้อธิษฐานจิต ซึ่งเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า "พระปัญจสิริ รุ่นแรก" ซึ่งเป็นรุ่นที่ค่อนข้างหายากแล้วในปัจจุบัน ซึ่งก็ได้ถ่ายไว้หลายรูป(องค์) เลยจะนำมาให้ทุกๆท่านได้ชมและพิจารณาเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาและเก็บสะสมกันต่อไป ส่วนเรื่องราวของพระปัญจสิรินั้นผมจะได้ทยอยนำมาเล่าให้ฟังต่อไปนะครับ งานนี้ต้องขอขอบพระคุณพี่จิ๋วที่เป็นธุระจัดเตรียมพระให้ได้ถ่ายรูปกันและขอขอบคุณน้องธนวัฒน์ที่กรุณาถ่ายรูปพระสวยๆต่างๆให้


    [​IMG]


    [​IMG]



    [​IMG]


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2008
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ข้อมูลพระสมเด็จ "ปัญจสิริ" ข้างต้น ทางคณะกรรมการฯ ได้จัดเตรียมการให้เป็นรูปธรรมไว้หลายเดือนแล้ว ในรูปของการบันทึกเป็นซีดี เพื่อไว้ใช้ศึกษาให้เป็นแนวทางที่ถูกต้อง โดยใส่ชื่อองค์ครูอาจารย์ที่เป็นผู้ที่คิดค้นและเขียนตำราไว้ให้ศึกษากันคือ ท่าน อ.ประถม อาจสาคร เอาไว้ที่รูปเพื่อเป็นสิทธิ์ของท่านด้วย โดยจะมีรูปพระของท่านที่ครอบครองทั้งหมดลงมาให้ศึกษากัน และจะทยอยมาลงให้ทราบทีละพิมพ์โดยบางรูปจะชี้จุดหลักๆ ให้พอสังเกตุว่าควรดูตรงไหนบ้าง แต่จะสงวนไว้ในบางจุดสำหรับผู้ที่จะศึกษาจริงๆ เท่านั้น โดยรูปทั้งหมด มีเป็นร้อยๆ รูปครับ และจะมีพระหลายประเภทไว้ใช้เปรียบเทียบ โดยไม่มีเจตนาที่จะบอกว่าซื้อขายได้หรือไม่ ถ้าใครมั่นใจก็หาเอา และแขวนได้เลย โดยขอให้มาจากแหล่งที่เชื่อใจได้นั้นเป็นพอ เลี่ยมทองแขวนเดี่ยวได้ไม่อายใครก็แล้วกัน
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๑๗ : ทรงเห็นสาวสนม นอนระเกะระกะ
    <!-- Main -->[SIZE=-1]พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๑๗ : ทรงเห็นสาวสนม นอนระเกะระกะ ระอาพระทัย
    ใคร่ผนวช


    ตื่นบรรทมกลางดึก เห็นสาวสนมกรมในนอนระเกะระกะ
    ระอาพระทัย ใคร่ผนวช

    ตั้งแต่เจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่แล้ว ทรงตัดสินพระทัยแน่วแน่ว่าจะเสด็จออกบรรพชาเป็นต้นมา แม้ว่าภายหลังจากนั้นจะทรงเกิดบ่วงขึ้นในพระทัย คือ ทรงมีพระโอรส และมีความรัก แต่ความที่ตั้งพระทัยไว้ว่าจะเสด็จออกบวชก็ไม่เปลี่ยนแปลง

    นับแต่วันที่พระโอรสราหุลประสูติแล้วเป็นต้นมา พระเจ้าสุทโธทนทรงวางพระทัย รู้สึกว่าไม่มีความจำเป็นจะต้องกักขังปิดบังเรื่องของโลกด้วยสิ่งบันเทิงเริงรื่นอีกต่อไป ทรงอนุญาตให้เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกนอกวังได้ตามใจปรารถนา แต่เจ้าชายก็ยังมิได้รู้สึกเป็นสุขหรือสบายพระทัย กลับทรงเคร่งขรึมและคิดหนักกว่าที่เคย พระบิดาทรงสังเกตเห็นและพยายามแก้ไขอยู่ตลอดเวลา ทรงรับสั่งให้จัดหาหญิงระบำและผู้ขับร้องที่ฉลาดที่สุด งามที่สุดมาร้องรำถวายเจ้าชายด้วยหวังที่จะให้เจ้าชายเกิดความพอพระทัยและเพลิดเพลินลืมความทุกข์ แรกๆเจ้าชายก็ทรงทอดพระเนตรเพื่อมิให้ขัดเคืองพระทัยของพระบิดา แต่ภายในจิตใจกลับครุ่นคิดอยู่แต่ปัญหาที่ว่าทำอย่างไรพระองค์และคนทั้งหลายจักหลีกหนีพ้นความแก่ ความเจ็บไข้ และแม้กระทั่งความตายโดยสิ้นเชิง ในที่สุดทรงอ่อนเพลียและได้งีบหลับไป ณ ที่ประทับนั้นเอง

    ในคืนวันเสด็จกลับจากพระราชอุทยาน ปฐมสมโพธิพรรณนาไว้ตอนหนึ่งว่า "
     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    คน 3 คน
    <!-- Main -->[SIZE=-1]<STYLE>body{background-attachment: fixed;background-image:url("http://www.bloggang.com/data/flywithmom/picture/1213269422.jpg");}</STYLE>
    ณ วัดบ้านไร่แห่งหนึ่ง

    >หลวงตาเพิ่งกลับจากการบิณฑบาตเห็นลูกศิษย์วัดนั่งร้องไห้สะอึกสะอื้นจึงเข้าไปถามไถ่ว่าเป็นอะไร
    >ลูกศิษย์ตอบกลับมาว่า 'ผมถูกใส่ร้าย ผมไม่ได้ขโมยเงินในหอพระ แต่ผมเข้าไปปัดกวาดเช็ดถูบ่อย ๆ ทุกคนก็หาว่าผมเป็นขโมย ไม่มีใครเชื่อผมเลย ฮือ ฮือ '

    > หลวงตานั่งลงข้าง ๆ พยักหน้าเข้าใจแล้วสอนลูกศิษย์ว่า
    'เจ้ารู้ไหม ในตัวเรามีคนอยู่สามคน คนแรกคือ คนที่เราอยากจะเป็น
    คนที่สองคือ คนที่คนอื่นคิดว่าเราเป็น คนที่สามคือ ตัวเราที่เป็นเราจริง ๆ'
    ลูกศิษย์หยุดร้องไห้ นิ่งฟังหลวงตา


    > 'คนเราล้วนมีความฝัน ความทะยานอยาก ตามประสาปุถุชนทั่วไป ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย บางครั้งความฝันก็เป็นสิ่งสวยงาม เป็นพลังที่ทำให้เราก้าวเดิน เช่น บางคนอยากเป็นนักร้อง เป็นนักมวย เป็นดารา ถ้าถึงจุดหมายเราก็จะรู้สึกว่าโลกนี้ช่างสว่างไสวสวยงาม ดังนั้นเราควรมีความฝันไว้ประดับตน เพื่อเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงหัวใจ '

    > 'มาถึงไอ้ตัวที่สอง จะเป็นเราแบบที่คนอื่นยัดเยียดให้เป็น บางครั้งก็ยัดเยียดว่าเราดีเลิศ จนเราอาย เพราะจิตสำนึกเรารู้ดีว่ามันไม่จริงหรอก แต่เราก็ยิ้มรับ แต่บางครั้งไอ้ตัวที่สองนี้ก็มหาอัปลักษณ์ จนไม่อยากจะนึกถึง ซ้ำร้ายยังเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะมันเป็นโลกในมือคนอื่น มันเป็นสิ่งแปลกปลอมที่คนอื่นยื่นให้ '

    > 'อย่างคนขับสิบล้อจอดรถอยู่ข้างทางเฉย ๆ เช้ามาพบศพใต้ท้องรถ ก็ต้องขับรถหนี ทั้งที่ศพนั้น ถูกรถชนตายอีกฝั่งแล้วดันถลามาใต้ท้องรถ แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นคนขับสิบล้อ บางคนก็ตัดสินไปแล้วว่าเขาเป็นฆาตกร'

    > 'สมัยที่หลวงตายังไม่ได้บวชเคยไปส่งเพื่อนผู้หญิงที่มีผัวแล้ว เพราะเห็นว่าบ้านเป็นซอยเปลี่ยว ส่งได้สองครั้งก็เป็นเรื่อง ชาวบ้านซุบซิบนินทา หาว่าเป็นชู้กับเมียชาวบ้าน คนที่เห็นนั้นมองคนอื่นด้วยใจที่หยาบช้า ไร้วิจารณญาณ ใจแคบ มองคนอื่นผ่านกระจกสีดำแห่งใจตัวเอง คนเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปในสังคม เจ้าต้องจำไว้นะ ทุกครั้งที่เราว่าคนอื่นเลว คนอื่นไม่ดี ก็เท่ากับเราประจานความมืดดำในใจตัวเองออกมา เห็นสิ่งไม่ดีของใครจงเตือนตัวเองว่าอย่าทำ อย่าเลียนแบบ นั่นแหละวิถีของนักปราชญ์ ถ้าเอาไปว่าร้ายนินทาเรียกว่าวิถีของคนพาล '

    > 'แล้วเราต้องทำตัวอย่างไรละครับในเมื่อเราต้องเจอคนเหล่านั้นเรื่อย ๆ' ลูกศิษย์หยุดร้องไห้แล้วเริ่มสนทนาโต้ตอบหลวงตา

    > 'เจ้าต้องทำความเข้าใจจิตใจมนุษย์ เรียนรู้ว่าความเข้าใจผิดเกิดขึ้นได้ เราห้ามใจใครไม่ได้ สิ่งใดที่เราไม่ได้ทำ ไม่ได้คิด ไม่ได้เป็น แต่คนอื่นคอยยัดเยียดให้เรา เราก็ไม่ควรให้ความสำคัญ เพราะเราสัมผัสได้ว่าสิ่งนั้นไม่มีอยู่จริง ใจเราควรสงบนิ่ง ยังไม่ต้องชำระ ใจคนอื่นต่างหากที่ควรซักฟอกให้ขาวสะอาดกว่าที่เป็นอยู่ เขาเหล่านั้นเป็นบุคคลที่น่าสงสารมีเวลามองคนอื่น แต่ไม่มีเวลามองตัวเอง จงแผ่เมตตาให้เขาไป เข้าใจใช่ไหม'

    > 'เข้าใจครับหลวงตา' เด็กน้อยยิ้มมีความสุขอีกครั้ง




    ขอขอบคุณ

    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=flywithmom&month=12-06-2008&group=2&gblog=9
    [/SIZE]
     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ปุปผวรรคที่ ๕
    ๑. นทีสูตร
    ว่าด้วยเหตุให้ถึงความพินาศ
    [๒๓๗] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย
    มาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำไหลไปจากภูเขา พัดเอาหญ้า ใบไม้ และไม้เป็นต้นไป
    ในภายใต้ ไหลไปสู่ที่ไกล มีกระแสอันเชี่ยว ถ้าแม้ต้นเลาทั้งหลาย พึงเกิดที่ฝั่งทั้งสองข้างแห่ง
    แม่น้ำนั้น ต้นเลาเหล่านั้น พึงน้อมไปสู่แม่น้ำนั้น ถ้าแม้หญ้าคาทั้งหลาย พึงเกิด หญ้าคา
    เหล่านั้น พึงน้อมไปสู่แม่น้ำนั้น ถ้าแม้หญ้ามุงกระต่ายทั้งหลาย พึงเกิด หญ้ามุงกระต่ายเหล่านั้น
    พึงน้อมไปสู่แม่น้ำนั้น ถ้าแม้หญ้าคมบางทั้งหลาย พึงเกิด หญ้าคมบางเหล่านั้น พึงน้อม
    ไปสู่แม่นั้น ถ้าแม้ต้นไม้ทั้งหลาย พึงเกิด ต้นไม้เหล่านั้น พึงน้อมไปสู่แม่น้ำนั้น บุรุษถูก
    กระแสน้ำพัดไปอยู่ ถ้าแม้พึงจับต้นเลาทั้งหลาย ต้นเลาเหล่านั้นพึงหลุดไป บุรุษนั้นพึงถึงความ
    พินาศ มีการหลุดนั้นเป็นเหตุ ถ้าแม้พึงจับหญ้าคา หญ้ามุงกระต่าย หญ้าคมบาง ต้นไม้ หญ้าคา
    เป็นต้นเหล่านั้น พึงหลุดไป บุรุษนั้นพึงถึงความพินาศ มีการหลุดนั้นเป็นเหตุ แม้ฉันใด.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดใน
    อริยธรรม ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม ไม่เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม ไม่ได้รับ
    แนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน หรือ
    เห็นตนในรูป รูปนั้นของปุถุชนนั้นย่อยยับไป ปุถุชนนั้น ย่อมถึงความพินาศ มีข้อนั้นเป็นเหตุ.
    ปุถุชนย่อมตามเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เห็นตนมี
    วิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ วิญญาณนั้นของปุถุชนนั้นย่อมย่อยยับไป
    ปุถุชนนั้นย่อมถึงความพินาศ มีข้อนั้นเป็นเหตุ.
    <TABLE cellSpacing=3 cellPadding=3 width="100%" align=center bgColor=#eeeeee border=0><TBODY><TR><TD align=right></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center bgColor=#dddddd border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#ffffff><TD><TABLE height=30 cellSpacing=3 cellPadding=3 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BACKGROUND-POSITION: right bottom; BACKGROUND-IMAGE: url(../bg/pagebg7.jpg); BACKGROUND-REPEAT: no-repeat">[​IMG]


    <TABLE align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    คนมักเปรย เปรียบไว้ ใกล้จมน้ำ
    เพียงเส้นฟาง ก็ถลำ คว้าเอาไว้
    พระศาสดา เปรียบหญ้า ลอยน้ำไป
    บุรุษไซร้ คว้าไว้ ให้ค้ำคุณ

    เพราะดวงจิต มิใกล้ชิด อริยะ
    ไม่ยอมผละ จากกามคุณ คุครุ่นหนุน
    ไม่เห็นธรรม ไม่ศึกษา พาไร้ทุน
    ดุจบุคคล สิ้นทุน อันสุนทร

    ทรงเปรียบหญ้า คืออัตตา ทั้งห้าขันธ์
    มิคิดบั่น กลับยึดมั่น มิคิดถอน
    ก็คงจม หายลับไป ใต้สาคร
    ไร้อาภรณ์ ช่วยพยุง ให้รุ่งเรือง

    แต่ผู้ใด ไม่ประมาท ชาติอริยะ
    สู่วิเวก เพื่อสละ ตัณหาเนื่อง
    เจริญมรรค ทั้งแปดไว้ ให้เนืองเนือง
    จิตพ้นเครื่อง ผูกมัดไว้ ในวัฏฏา

    ดุจสายน้ำ ไหลไป ไม่ย้อนกลับ
    ใครจะจับ นทีย้อนได้ ในสังสาร์
    ทรงเปรียบบุรุษ ที่เร่งรุด สู่มรรคา
    ทั้งแปดว่า ไม่ย้อนมา สู่ปุถุชน

    "นทีสูตร" เช่นกัน เล่มที่สิบเก้า
    ขอยกเอา มากล่าวเพิ่ม เติมเพื่อหนุน
    ให้ผู้อ่าน ก้าวสู่ทาง ที่ค้ำจุน
    ไว้เป็นทุน ก้าวพ้นภัย ในวัฏฏา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ขอขอบคุณ บทกวีของคุณเฟื่องฟ้า จาก


    http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=1830
     
  20. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    "สมเด็จ"ที่เก่ง"รอบด้าน"และ"เข้าหา"ได้ง่ายที่สุดในยุคนี้

    นั่นก็คือ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสสโร) วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร ปธ.9 กรรมการมหาเถรสมาคมนั่นเอง... <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    คงจะมีน้อยคนนักที่จะรู้ว่า อันสมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานครนั้น ท่านเป็น "พระมหาเถระ"ที่ใช่ว่า จะมีแต่"สมณศักดิ์"อันสูงส่งแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่สมเด็จฯท่านยังถึงพร้อมด้วยอธิคุณอันยิ่งในนานัปประการอีกด้วย อาทิ
    1.เป็นมหาเปรียญถึง 9 ประโยค
    2.เป็นพระที่เคร่งในพระธรรมวินัยอย่างยิ่ง จนได้ชื่อว่าเป็น"ไม้บรรทัด"แห่งวงการคณะสงฆ์
    3.เป็นทั้งหลานและลูกศิษย์ในหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม (ทำให้สมเด็จฯเป็น"หลานศิษย์"ในหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯไปโดยปริยาย)
    4.เคยสร้าง "พระขุนแผนเคลือบ" หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติฯ ด้วยเนื้อหามวลสารเก่าที่เข้มข้นที่สุดเมื่อราวปี 2490 ปลายๆด้วยองค์ของท่านเอง (ปัจจุบัน เช่าหากันแพงมากถึงหลักหมื่น)
    5. รอบรู้ในพุทธศาสตร์และพุทธาคมสายวัดประดู่ทรงธรรมอย่างเจนจบ โดยเฉพาะการลงตะกรุดมหาจักรพรรดิตราธิราชเต็มรูปแบบอย่างโบราณนั้น สมเด็จฯท่านชำนาญและรู้ลึกถึงแก่นอย่างยิ่ง
    หมายเหตุ, ในการนี้ "พุทธวงศ์"เคยเห็นกับตาที่วัดพระแก้ว ตอนที่สมเด็จพระมหาธีราจารย์ลงตะกรุดมหาจักรพรรดิถวายสมเด็จพระพี่นางฯ ตอนเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา โดยสมเด็จฯจะลงตะกรุด,คุมพิธี,บัญชาการนิมนต์พระสวดทุกอย่างด้วยองค์เองทั้งสิ้น

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    และที่สำคัญและน่าชื่นชมอนุโมทนาเป็นพิเศษก็คือ สมเด็จพระมหาธีราจารย์นั้น แม้ท่านจะได้ชื่อว่า "ระเบียบจัด" และตรงเป็น "ไม้บรรทัด"จนภิกษุที่ชอบออกนอกลู่ต้องหนาวสันหลังวาบๆยามได้เห็นท่านแม้เพียงเงาไปตามๆกันก็ตาม(บางงาน มีภิกษุบางรายทำตัวรุ่มร่ามเลอะเทอะหรือไม่เข้าท่าให้สมเด็จฯเห็น ก็จะโดนเอ็ดอย่างไม่ไว้หน้ากลางที่ประชุมเลยทีเดียว!!!) แต่ท่านก็นิยมทำองค์แบบสบายๆ ไม่เจ้ายศเจ้าอย่าง หรือวางฟอร์มวางมาดให้มากเรื่องอันใด อันแสดงถึงความ"จริงใจ"แห่ง"ใจจริง"ที่ไม่มีมายาอันใดอีกด้วย <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    แม้เมื่อถึงวันธรรมสวนะ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ก็ยังอุตส่าห์ลงโบสถ์ทำวัตรร่วมกับพระลูกวัดเสมอๆ โดยไม่ทอดธุระแต่อย่างใด น่าอนุโมทนาสาธุการเป็นที่ยิ่ง <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    เท่านี้ยังไม่พอ เมื่อถึงโอกาสอันควร สมเด็จฯท่านก็จะมานั่งตอบปัญหาข้อธรรมแก่ญาติโยมที่มาร่วมทำวัตรสวดมนต์ให้โดยตรง หรือให้พระลูกวัดตอบแทนแล้วสมเด็จฯท่านคอยเสริมหรือขยายความเพิ่มเติมให้อีกต่างหากด้วย(สุดยอดจริงๆ!!!!!) <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    สาธุ........

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    หนึ่งในอิริยาบถแบบง่ายๆสบายๆ แต่"ไม่ธรรมดา"ของสมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร หนึ่งใน"พระดีกลางกรุง"ที่น้อยคนไม่เคยรู้ไม่เคยทราบมาก่อนฯ <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    ก็เมื่อทราบการเช่นนี้แล้ว ใครที่เคยทอดถอนใจว่า จะหา"พระดีพระแท้"ในกรุงเทพฯเพื่อไปกราบไหว้หรือทำบุญได้อย่างสนิทใจและไม่ยากเย็นที่ไหน "พุทธวงศ์"ก็ชี้ช่องบอกทางให้เรียบร้อยชัดเจนที่สุดตรงนี้องค์หนึ่งแล้ว ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของแต่ละท่านผู้ใฝ่หา"ของจริง"จะเคลื่อนไหวกันเอาเองนะครับ...
    ขออนุโมทนาล่วงหน้าไว้ก่อนเลย...............

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ๏ อัตโนประวัติ

    สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) กรรมการมหาเถรสมาคม, เจ้าคณะใหญ่หนกลาง และเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ แม้จะดูเป็นพระมหาเถระที่เคร่งขรึม พูดจาตรงไปตรงมา แต่ด้วยวัตรปฏิบัติอันงดงามของท่าน มิเคยสักครั้งที่จะทำให้ศรัทธาสาธุชนถดถอยลง

    ยิ่งเมื่อได้สนทนาใกล้ชิดแล้ว จะได้รับรู้และสัมผัสถึงความเมตตา ต่างประทับใจในวัตรปฏิบัติแก่บรรดาศิษยานุศิษย์ทุกคนที่ได้เคารพกราบไหว้

    สมเด็จพระมหาธีราจารย์ มีนามเดิมว่า นิยม จันทนิทร เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2466 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 3 ปีกุน ณ บ้านท่าหิน ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายโหร่ง และนางฮิ่ม จันทนิทร

    ๏ การศึกษาเบื้องต้น

    เมื่ออายุได้ 7 ขวบ เรียนหนังสือวัด ประถม ก กา และมูลบทบรรพกิจ ในสำนักเจ้าอธิการอุ่น วัดหันตรา ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

    อายุ 13 ปี โยมบิดานำไปฝากเรียนนักธรรมบาลี ณ สำนักเรียนวัดตองปุ ต.บ้านเกาะ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา


    ๏ การบรรพชาและอุปสมบท

    ต่อมา อายุได้ 14 ปี โยมบิดาได้นำไปบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดกระสังข์ ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2479 โดยมีพระเทพวงศาจารย์ (ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูโบราณคณิสสร) วัดตองปุ เป็นพระอุปัชฌาย์

    ครั้นอายุครบ 22 ปี ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดพระญาติการาม ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2487 โดยมีพระเทพวงศาจารย์ (ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระโบราณคณิสสร) วัดพนัญเชิง ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสาธุกิจการี (ขม) วัดประดู่ทรงธรรม ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูอุทัยคณารักษ์ (ใหญ่) วัดสะแก ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ได้รับฉายาว่า ​
     

แชร์หน้านี้

Loading...