กระบวนการหยั่งรู้ความจริง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย satan, 22 พฤษภาคม 2008.

  1. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,015
    ค่าพลัง:
    +17,915
    กระบวนการหยั่งรู้ความจริง ( จากหนังสือ ปัญหาในการปฏิบัติธรรม โดย ท่าน มุนี ชอบพนา พระภิกษุผู้ปฏิบัติวิเวกเพียงลำพัง )


    แท้ที่จริงแล้ว สิ่งทั้งหลายทั้งปวงก็มีการดำรงอยู่ตามสภาวะธรมชาติของมันอยู่แล้ว เป็นไปตามความเป็นจริงของมันโดยไม่มีการบิดเบือน อีกทั้งความจริงดังกล่าวก็พร้อมที่จะเปิดเผยตัวของมันเองอยู่ตลอดเวลาว่า มันนั้นไม่เที่ยง ทนได้ยาก ไม่ใช่ตัวตน รอเพียงแต่ว่า เมื่อไหร่มนุษย์จะรู้จักวิธีการเข้าไปกำหนดรู้มันกันเสียที

    แต่มนุษย์กลับปิดบังจิตใจตนเอง ปล่อยให้กิเลสหลอกลวงจนมองภาพของสิ่งทั้งหลายบิดเบือนไปจากความเป็นจริง เป็นการถูกหลอดลวงกันมาด้วยเวลาอันยาวนาน นานจนเกิดความเคยชิน กลายเป็นอาสวะ อนุสัยสืบเนื่องอยู่ในสันดาน

    การเจริญวิปัสสนาจึงเป็นการแก้ไขความเคยชินเก่าๆหรือการกวาดล้างกิเลสอันเป็นเหตุให้จิตไขว้เขว โดยใช้หลักธรรมื้เรียกว่า สติปัฏฐาน ( ที่ตั้งของสติ )

    หลักการของสติปัฏฐานไม่ใช่มีแต่เพียงแค่เรื่องของสติ แต่เป็นกระบวนการที่มีจุดเริ่มต้นจากสติ โดยเฉพาะการทำงานร่วมกันของ สติ สมาธิ ปัญญา ที่มีความพร้อมเพรียงและกลมกลืนเป็นบาทฐานให้แก่กันอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงที่สุด ในขณะเดียวกันต่างก้มีหน้าที่ประจำเฉพาะตนอย่างชัดเจน

    สติ มีหน้าที่กำหนดจิตไว้กับอารมณ์
    สมาธิ คืออาการที่จิตตั้งอยู่ได้ในอารมณ์นั้นๆ
    ปัญญามีหน้าที่พิจารณาตรวจสอบอารมณ์นั้นให้เห็นตามที่เป็นจริง

    ในทางสมถะสติจะมีหน้าที่กำหนดจิตไว้กับอารมณ์ก็เพียงเพื่อให้จิตแน่วแน่อยู่กับอารมณ์นั้น ไม่ให้แส่ส่ายไปที่อื่น ถ้าทำได้ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า สมาธิ และถ้าทำได้อย่างแนบสนิทเต็มที่ระดับสมาธิในภาวะจิตเช่นนั้นเรียกว่า ฌาณ เป็นอันสำเร็จกิจของสมถะ

    ในทางวิปัสสนา สติจะมีหน้าที่อันดับแรกในการเสนออารมณ์ให้แก่ปัญญา โดยกำหนดจิตไว้กับอารมณ์ สมาธิจะมีหน้าที่ส่งเสริมการนำเสนออารมณ์ด้วยอาการที่สามารถรักษาการกำหนดจิตในอารมณ์นั้นให้ตั้งอยู่ได้ และปัญญาจะมีหน้าที่พิจารณาตรวจสอบอารมณ์นั้นให้เห็นตามที่เป้นจริง ในที่สุดทำได้สำเร็จก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า ญาณ

    ตัวอย่าง
    การเจริญอาณาปาณสติ การกำหนดลมหายใจเข้าออกซึ่งมีความรู้สึกเด่นชัดอยู่ 3 จุดคือ อาการกระทบเข้า-กระทบออก ที่ผิวช่องจมูก อาการขยายขึ้น-ยวบลง ที่หน้าอก อาการพอง-ยุบ ที่หน้าท้อง

    ธรรมทั้งสามจะร่วมกันทำงานคือ
    สติ มีหน้าที่กำหนดจิตไว้กับลมหายใจเข้าออก ( ที่จุดใดจุดหนึ่ ) ถือเป็นเบื้องต้นในการนำเสนออารมณ์ให้แก่ปัญญา

    สมาธิ คืออาการที่สามารถรักษาจิตให้กำหนดตั้งอยู่ได้ในลมหายใจเข้าออก เพื่อให้ปัญญามีเวลาตรวจสอบ ( เบื้องต้นแค่ขณิกสมาธิก็เพียงพอแก่ปัญญาแล้ว )

    ปัญญา จะทำหนาที่ตรวจสอบพิจารณาลมหายใจเข้าออกให้เห็นตามความเป็นจริง เช่นเห็นอาการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของลมหายใจเข้าออกเป็นต้น

    มีข้อพึงสังเกตุว่า
    ถ้าเป็นสมถะ สติจะกำหนดจิตไว้กับลมหายใจเข้าออกก็เพียงเพื่อให้จิตตั้งอยู่ได้ในลมหายใจเข้าออกเท่านั้น คือหยุดจบแค่เพียงสมาธิ

    ถ้าเป็นวิปัสสนา จะพลิกอีกเพียงนิดเดียว คือจะเพิ่มปัญญาเข้าไปเห็นอาการตามที่เป็นจริงของลมหายใจเข้าออกด้วย

    ดังนั้น การกำหนดแม้ในอารมณ์เดียวกันนั้น ผู้เข้าใจย่อมจะสามารถปรับเปลี่ยนการปฏิบัติระหว่างสมถะและวิปัสสนาได้โดยง่าย ประดุจพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ แต่สำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจแล้วหน้ามือกับหลังมือก็อยู่ตรงข้ามกันชนิดไม่อาจพบกันได้เลย

    ปัญญาในวิปัสสนานั้น จะเห็นความจริงด้วยความรู้สึกไม่ใช่การนึกคิด การตรวจสอบดังกล่าว ไม่ใช่การยกหัวข้อธรรมะขึ้นมานึกคิดไตร่ตรอง ไม่ใช่จินตมยปัญญา ไม่ใช่นึกว่า ลมหายใจเข้าออกนี้เป็น อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา หรือลมหายใจเข้าออกนี้ เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ไม่ใช่อย่างนั้น

    การนึกคิดไปเช่นนั้น ทำให้จิตตกไปจากลมหายใจเข้าออกซึ่งเป็น โผฏฐัพพารมณ์ ไปอยู่ที่การนึกคิดซึ่งเป็น ธรรมารมณ์ เมื่อลมหายใจเข้าออกไม่ได้ถูกกำหนดเป็น อารมณ์ปัจจุบัน แล้วปัญญาจะเข้าไปเห็นความจริงของลมหายใจเข้าออกได้อย่างไร การนึกคิดมากๆ ท่านเรียกว่า ความฟุ้งซ่าน ถึงแม้จะนึกธรรมะก็อาจจะกลายเป็น ฟุ้งในธรรม ก็ได้

    ดังนั้นในขั้นตอนของภาวนามยปัญญา ปัญญาจะต้องรู้โดยไม่มีภาษาสมมติใดๆทั้งสิ้น ไม่มีคำว่า อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา หรือคำอื่นใดอยู่ในนั้นเลย เป็นการเห็นแต่สภาวะธรรมล้วนๆเห็นอย่างเงียบกริบ


    ยังมีต่ออีกนิดหน่อย...เดี๋ยวคืนนี้จะพิมพ์ให้เสร็จแล้วนำมาโพสต่อครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 พฤษภาคม 2008
  2. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    พระภิกษุ คือ ผุ้ขอ
    พระภิกษุ ปัจจุบัน คือ สมมุติสงฆ์ เพราะไม่ได้บวชโดยพระพุทธเจ้า
    ศาสนาถึงกาลเสื่อม เพราะความไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้ง ไม่พิจารณา ให้เป็นไปตามหลักความจริง ตามธรรมชาติ
    ความหลง หนอ ความหลง
    ความโลภ หนอ ความโลภ
     
  3. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,015
    ค่าพลัง:
    +17,915
    ^^ หวัดดีครับ ลุงเทวดา...ไม่เจอกันนาน สบายดีไหมครับ...^^
     
  4. GoonS

    GoonS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +2,682
    อนุโมทนาครับ

    ชื่อกระทู้น่าสนใจเลยเเวะมาอ่านจนได้เหอๆ
     
  5. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    สบายดีขอรับ
    สุขภาพแข็งแรง ออกกำลังกายทุกวัน วิ่งบ้าง กระโดดเชือกบ้าง ยกน้ำหนักบ้าง ตามเรื่องละขอรับ
    แล้วคุณพ่อมด...หายไปนานเหมือนกันนะ คงร่วมหลายเดือนละมั้ง ข้าพเจ้าเข้ามาได้สัก เกือบเดีอน พึ่งเห็นกระทู้คุณนี้แหละ
    เป็นสุขสบายกาย สบายใจดี หรือเปล่า คุณ พ่อมดฯ
     
  6. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,015
    ค่าพลัง:
    +17,915
    ครับผม...ผมเองก็ไป ต่างจังหวัดบ่อยครับ...ก็มีสุขบ้างมีทุกข์บ้างตามประสาครับ...แต่ก็ยังอยู่ติดตามดูข้อมุลในเว้บพลังจิตอยุ่ตลอดเช่นกันครับผม...ด้วยจิตคารวะ ^^
     
  7. weirchai

    weirchai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    381
    ค่าพลัง:
    +1,411
    แวะมาทักทายเล่นบ้าง ... สวัสดีนะ
     
  8. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,015
    ค่าพลัง:
    +17,915
    นมัสการขอรับหลวงพี่...แขนเป็นอย่างไรบ้างครับ...หายหรือยังครับ ^^
     
  9. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,163
    ค่าพลัง:
    +3,739
    ขอบคุณ คุณพ่อมดโลจิก

    หระทู้นี้ดีมากที่สุด กระทู้หนึ่งเท่าที่เคยอ่านมา เข้าใจง่าย และชัดเจน ในเรื่องการวิปัสสนา เทศง่ายเข้าใจง่าย

    ตั้งแต่กิเลส อาสวะกิเลสนอนเนื่องที่ติดมาในกมลสันดานนับชาติไม่ถ้วน ทำให้ปิดบังทำให้คนไม่รู้เห้นตามความเป็นจริง ทำให้คนไม่เกิดปัญญา ด้วยสติปักฐาน 4 และ สติ สมาะ ปัญญา ทำให้เข้าใจชัดขึ้นเรื่อง สมาธิ ฌาน สมถ และการวิปัสสนาที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดปัญญาญาณที่แท้จริง ไม่ใช่ความนึกคิดเอาแบบจินตามยปัญญา ทำให้เข้าใจชัดเจนว่าวิปัสสนาจะต้องเป็นสภาวะการรู้สึกที่ชัดเจนของขณะนั้น ๆ ไม่ใช่การคิด ถ้าเกิดการคิดในขณะที่คิดว่าวิปัสสนาแสดงว่ามันหลุดออกจากความเป็นจริงของการวิปัสสนา

    คุณพ่อมดโลจิก ถ้าจะกรุณา ช่วยพิมพ์ส่วนที่เหลือมาลงต่อนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2008
  10. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,163
    ค่าพลัง:
    +3,739

    ลองพิจารณาดูอีกนิดหนึ่งว่า ทำไมจึงเรียกพระอรหันต์ว่าภิกษุที่แท้จริง?
    นี้อาจจะตอบ
    ได้เป็น ๒ อย่าง ตามความหมายของคำว่า "ภิกษุ". คำว่าภิกษุ แปลว่า ผู้ขอ ก็ได้ แล้ว คำว่าภิกษุ แปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้

    ถ้าภิกษุแปลว่าผู้ขอ อย่างขอก็ต้องถือว่า พระอรหันต์เท่านั้น มีสิทธิสมควรที่จะ
    เป็นผู้ขอ อย่างเต็มที่ ถ้าไม่ถึงอย่างนั้น ท่านควรจะหากินเองบ้างมากกว่า ถ้าไม่มีความดีความงาม
    ความประเสริฐ ก็ทำให้ถึงที่สุด จึงควรที่จะขอเขาร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่จึงได้ตรัสว่า พระอรหันต์เท่านั้น ที่ควรจะเรียกว่าภิกษุ หรือว่าพระอรหันต์เท่านั้น ที่จะเรียกว่าผู้เห็นภัยในวัฏฏะ นี่

    ที่มา http://www.zboy.net/dmk/d033/d03309.txt


    ศาสนาไม่มีเสื่อม คนต่างหากที่เสื่อม
    และธรรมดามันก็ต้องเป็นอย่างนั้นโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้
    ความโลภ ความโกรธ ความหลง มานะ และ ทิฐิ กิเลสหลัก ๆ ทั้ง 5 ทำให้คนเสื่อม และเป็นเหตุปิดบังไม่ให้คนเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง / ในอีกทางหนึ่งกิเลสทำให้คนเกิดทุกข์และเห็นทุกข์ และเป็นเหตุให้คนค้นหาเพื่อให้เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง

    ซึ่งขึ้นกับบุญวาสนา ปัญญา และ บารมี ของแต่ละคน ที่รู้แล้วก็ต่างหาทางออกเอาตามวิธีของตน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2008
  11. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,015
    ค่าพลัง:
    +17,915
    อนุโมทนากับทุกความคิดเห็นขอรับกระผม เดี๋ยวขอพิมพ์เพิ่มเติมอีกสักหน่อยแล้วจะนำมาโพสอีกทีครับ ^^
     
  12. weirchai

    weirchai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    381
    ค่าพลัง:
    +1,411
    ขอพูดไรหน่อยนะครับ คุณ หาธรรม ที่ว่าพระอรหันต์เท่านั้นมีสิทธิสมควรที่จะเป็นผู้ขออย่างเต็มที่ ถ้าไม่ถึงอย่างนั้น ท่านควรจะหากินเองบ้างมากกว่า ถ้าไม่มีความดีความงามความประเสริฐ ก็ทำให้ถึงที่สุด จึงควรที่จะขอเขาร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่จึงได้ตรัสว่า พระอรหันต์เท่านั้น ที่ควรจะเรียกว่าภิกษุ หรือว่าพระอรหันต์เท่านั้น ที่จะเรียกว่าผู้เห็นภัยในวัฏฏะ นี่

    คำว่าภิกษุนี้ใช้เรียกตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป นั้นคือพระอริยเจ้า คือลูกหลานของพระพุทธเจ้า ส่วนพระเราสมัยนี้เป็นแค่สมมุติสงฆ์เท่านั้นครับเป็นได้แค่ลูกศิกษ์พระพุทธเจ้าครับไม่ใช่พระภิกษุ ถ้าพระองค์ไหนเป็นพระอริยเจ้าแล้วนั้นคือพระภิกษุเต็มตัวครับ เรียกว่าองค์ได้ ส่วนสมมุติสงฆ์ต้องเรียกว่ารูป ถ้าจะให้แต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ขอได้ นั้นศาสนามิจบหรือ สมมุติสงฆ์จะกินจะฉันอะไร เพราะสมัยนี้พระอริยเจ้าหายากเต็มทนแล้ว แต่ก็คิดได้อีกว่าหากสมมุติสงฆ์ปฎิบัติไม่ดีชาวบ้านสามารถติเตียนว่ากล่าวได้และไม่น่าจะให้ข้าวใส่บาตรด้วยซ้ำ ...
     
  13. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,015
    ค่าพลัง:
    +17,915
    อย่างไรก็ดี ในการปฏิบัตินั้น อารมณ์ปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าจิตตกจากอารมณ์ปัจจุบัน ปัญญาก็ไม่สามารถทำงานในอารมณ์นั้นได้ ผู้ปฏิบัติที่จะกำหนดอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งให้เป็น อารมณ์ปัจจุบัน อย่างต่อเนื่อง จะต้องเข้าใจในธรรมชาติของจิตด้วย ธรรมชาติของจิตนั้นรู้ได้ทีละอารมณ์เท่านั้น

    อย่างเช่น การกำหนดอารมณ์หนึ่งพร้อมกับนึกคำบริกรรมในใจอีกอารมณ์หนึ่งไปด้วย รวมเป็นสองอารมณ์ย่อมขัดกับธรรมชาติของจิตที่ว่ารู้ได้ทีละอารมณ์ แต่ที่ดูเหมือนรู้ทั้งสองอารมณ์หรือหลายๆอารมณ์ไปพร้อมๆกัน ก็เพราะจิตนั้นไวมาก สามารถยักย้ายไปมาระหว่างอารมณ์ต่างๆได้รวดเร็วอย่างคาดไม่ถึง ผู้ที่ไม่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์พอไม่อาจรู้เท่าทันธรรมชาติอันนี้ได้เลย ภาวนาก็เลยเป็นภาวนึกไป

    ถ้าการปฏิบัติได้เป็นไปอย่างถูกหลักการและเหตุผลแล้ว การพัฒนากระบวนการหยั่งรู้ความจริงที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจนได้ระยะเวลาที่เหมาะสม จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ญาณทัสสนะ คือความหยั่งรู้หยั่งเห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

    ตรงนี้แหละที่เรียกได้เต็มปากว่า รู้ปฏิบัติ ไม่ใช่รู้ปริยัติแต่เพียงอย่างเดียว

    โอกาสที่จิตจะหลุดพ้นได้ก้ตรงนี้ ตรงที่จิตมันได้ประจักษ์แจ้งในความจริงด้วยตัวจิตเองโดยตรง ไม่มีอะไรปิดบังหรือบิดเบือนอีก เพราะเหตุที่ว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงอยู่เป็นประจำ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นและเสื่อมไปของสิ่งทั้งหลาย สติที่ตั้งมั่นจึงดำรงไว้แต่เพียง สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าอาศัยระลึก เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกไปเสียได้ จึงเป็นผู้ปราศจากความยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก

    ถ้าได้พิมพ์บทความอีกก็จะนำเสนอ อีกในหัวข้อของ รูปแบบการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น สาธุ ^^
     
  14. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,163
    ค่าพลัง:
    +3,739

    ถ้าสงสัย กรุณาเข้าไปตามอ่านในนั้นนะครับ อันนี้ไม่ใช่ผมเขียนเอง เพียงแต่นำมาลงให้พวกเราได้พิจารณา ....

    และที่ผมเข้าใจ ผู้เขียนเขาเขียนเชิงเปรียบเทียบนะครับ

    สำหรับพวกเรา ๆ แล้ว ความศรัทธาไม่มีคลอนแคลนในผู้ทรงศีล ตั้งแต่ 227 ข้อ 10 ข้อ 8 ข้อ 5 (ข้อสมบูรณ์) เราบำรุงรักษาท่านอยู่แล้ว ส่วนพระอริยะตั้งแต่ระดับพระโสดาบันขึ้นไป เราคงไม่ต้องพูดถึง ชีวิตก็ให้ได้

    ผู้มีศีลน้อยไม่ควรว่ากล่าวติเตียนผู้มีศีลมากกว่า อีกอย่างเราไม่รู้ว่าพระรุปไหนเป็นอะไร ๆ ถ้าหากด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ไปล่วงเกินพระอริยเจ้าเข้า บาปกรรมที่ได้เราจะรับไม่ไหว ยังไง ๆ ท่านที่เข้าไปบวชแล้ว ตราบใดที่ยังไม่ปราชิกก็คือท่านยังเป็นพระอยู่ ศีลจะพร่องบ้างเป็นธรรมดา พระที่ยังไม่เป็นพระอริยะตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านก็เป็นปุถุชนนะ เราเป็นคนพุทธ เป็นอุบาสก อุบาสิกา ก็ต้องมีหน้าที่ทำนุบำรุง พระสงฆ์ นักบวช สมณ ชี พรหมณ์ ยิ่งมีศีลมากท่านทำอะไรไม่ได้สะดวก จะให้ไปทำไร่ทำนาหุงหาอาหารไม่ได้ ถ้าเราไม่บำรุงท่านแล้วใครจะทำ วัดวาอารามก็เช่นกันไม่ได้เงินจากรัฐบาล ญาติโยมเองก็ต้องช่วยกันบำรุงรักษา ใครทำบุญกุศลก็เป็นของคนนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2008
  15. weirchai

    weirchai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    381
    ค่าพลัง:
    +1,411
    ครับ ผมไม่สงสัยอะไรหรอกครับ ผมเข้าใจหมดทุกอย่าง ธรรมมะของพระพุทธเจ้าลึกซึ้งและมีมากมาย ไม่มีใครผิดใครถูกหรอกครับ เพียงแต่อาจจะศึกษากันคนละมุมคนละจุดไม่ได้ศึกษาโดยรวมหมดทุดจุด ดังนั้นสรุปว่าข้อไหนเป็นธรรมมะของพระพุทธเจ้าข้อนั้นถูกหมดครับ เพราะผมได้เข้าใจเรื่องหนึ่งว่าตอนนั้นพระที่เป็นอาจารย์ที่อบรมปริวาสท่านเล่าให้ผมฟังว่าเรื่องธรรมมะทางที่ดีอย่า ปุจฉา-วิสัจนา กันเพราะว่าต่างคนต่างมีความรู้ แล้วที่นี้จะเถียงกัน เพราะต่างคนก็ต่างถูกสรุปบทสุดท้ายต่างคนถูกหมดเพราะได้ศึกษาพระไตรปิฎกฉบับเดียวกันนั้นคือธรรมมะพระพุทธเจ้า แต่ต่างคนมีวิธีหลักการพูดไม่เหมือนกันก็เท่านั้นเองครับ แล้วผลสุดท้ายพระที่ตั้ง ปุจฉา-วิสัจนา กันก็ทะเลาะกันจนได้ ดังนั้นจึงได้สติสอนใจว่า ไม่ควรสนทนาธรรมมะขั้นลึกซึ้งกับผู้อื่น หรือว่าคนที่ไม่สมควรจะสนทนาเพราะจะเกิดการทะเลาะกันได้ อันนี้ผมไม่ได้ว่าคุณนะครับ แต่หลักความจริงข้อนี้เปลื่ยนไม่ได้ครับ เพราะบทเรียนที่ผมเคยกับตัวเองมีมากครับ ขนาดพระเถระท่านเจ้าคุณยังทะเลาะกันด้วยเรื่องหลักธรรมก็มีครับ ...
     
  16. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,163
    ค่าพลัง:
    +3,739
    เห็นด้วยนะครับท่าน
     
  17. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,015
    ค่าพลัง:
    +17,915
    ไม่ว่าความคิดเห็นของแต่ละฝ่ายจะเป็นในรูปแบบใดแม้จะไม่ตรงตามมติของฝ่ายเราก็ตามทีอย่าเพิ่งไปปรามาสเขาถ้าเรายังไปไม่ถึงความสิ้นสุดแห่งอาสวะกิเลสที่มักดองอยู่ในขันธสันดานของเรา

    เรื่องความคิดเห็นนี้ก็เป็นเรื่องของ ทิฏฐิ อันมีอยู่ด้วยกันทุกรูปนาม ถ้าเอาอวิชชาใส่เข้าไปก็เป็น มิจฉาทิฏฐิ ถ้าเอาอวิชชาออกมาเสียได้ก็จะเป็น สัมมาทิฏฐิ ซึ่งสัมมาทิฏฐิคือความเห็นที่ตรงกับสัจจะ ส่วนมิจฉาทิฏฐิคือความเห็นที่ไม่ตรงกับสัจจะ แต่จะเป็นมิจฉาทิฏฐิหรือสัมมาทิฏฐิก็ตาม ทิฏฐิก็คือทิฏฐิหาใช่สัจจะไม่ และสัจจะก็คือสัจจะหาใช่สิ่งเดียวกับทิฏฐิไม่ มีแต่คนที่แสดงความเห็นและตัวความเห็นที่ยังไม่ตรงกับสัจจะต่างหากที่ต้องเปลี่ยนแปลงหวั่นไหวอยู่ต่อไป ดังนั้นเมื่อเรารับฟังความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับของเราก็พึงรับฟังเฉยๆสบายๆ หรือจะท่องคาถากันไว้ก่อนก็ได้ว่า ความเห็นก็คือความเห็น ความจริงก็คือความจริง และมีแต่ผู้ปฏิบัติจริงเท่านั้นที่เห็นความจริงและหลุดพ้นจากความลวงทั้งหลาย


    ( จากหนังสือ ปัญหาในการปฏิบัติธรรม โดย ท่าน มุนี ชอบพนา พระภิกษุผู้ปฏิบัติวิเวกเพียงลำพัง )
     
  18. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,015
    ค่าพลัง:
    +17,915
    จิตตานุปัสสนา จากหนังสือพระพุทธเจ้าสอนกรรมฐาน / โดยคุณ ไชย ณ พล

    เห็นจิตในจิตภายใน (ตน)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นจิตภายในเนืองๆอยู่เป็นอย่างไร

    - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเรามีราคะ หรือเมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากราคะ

    - เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเรามีโทสะ หรือเมื่อจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโทสะ

    - เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเรามีโมหะ หรือเมื่อจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโมหะ

    - เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตของเราหดหู่ หรือเมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตของเราฟุ้งซ่าน

    - เมื่อจิตยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่าจิตของเรายิ่งใหญ่ หรือเมื่อจิตไม่ยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไม่ยิ่งใหญ่

    - เมื่อจิตมีขอบเขต ก็รู้ชัดว่าจิตของเรามีขอบเขต หรือเมื่อจิตไร้ขอบเขต ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไร้ขอบเขต

    - เมื่อจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่าจิตของเราตั้งมั่น หรือเมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไม่ตั้งมั่น

    - เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตของเราหลุดพ้น หรือเมื่อจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเรายังไม่หลุดพ้น

    - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าไปในจิตภายนอก


    -------------------------------------------
    เห็นจิตในจิตภายนอก (ตน)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกเนืองๆอยู่เป็นอย่างไร

    - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาบุคคลอื่นอยู่ เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นมีราคะ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากราคะ

    - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นมีโทสะ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโทสะ

    - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นมีโมหะ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโมหะ

    - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นหดหู่ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นฟุ้งซ่าน

    - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นยิ่งใหญ่ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นไม่ยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นไม่ยิ่งใหญ่

    - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีขอบเขต ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นมีขอบเขต หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นไร้ขอบเขต ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นไร้ขอบเขต

    - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่าจิตของของเขาผู้นั้นตั้งมั่น หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นไม่ตั้งมั่น

    - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นหลุดพ้น หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นยังไม่หลุดพ้น

    - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าไปในจิตทั้งภายนอกและภายนอก

    ------------------------------


    เห็นจิตในจิตภายใน (ตน)และภายนอก (ตน)

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกเนืองๆอยู่เป็นอย่างไร

    - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้พิจารณาอยู่ เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ เมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ

    - เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ เมื่อจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ

    - เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ

    - เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่ เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน

    - เมื่อจิตยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่าจิตยิ่งใหญ่ เมื่อจิตไม่ยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ยิ่งใหญ่

    - เมื่อจิตมีขอบเขต ก็รู้ชัดว่าจิตมีขอบเขต เมื่อจิตไม่มีขอบเขต ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีขอบเขต

    - เมื่อจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่าจิตตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น

    - เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตหลุดพ้น เมื่อจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่หลุดพ้น

    - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณา เห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกเนืองๆอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก

    -------------------------------------------------------------
    ภูมิแห่งฤทธิ์ มีมูล16 ประการที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ จากหนังสือพระพุทธเจ้าสอนกรรมฐาน / คุณ ไชย ณ พล

    1.จิตไม่ฟุบลง ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน
    2.จิตไม่ฟูขึ้น ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุจธัจจะ
    3.จิตไม่ยินดี ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะราคะ
    4.จิตไม่มุ่งร้าย ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะพยาบาท
    5.จิตอันความคิดเห็นไม่อาศัย ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความคิดเห็น
    6.จิตไม่พัวพัน ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะ ฉันทะราคะ
    7.จิตหลุดพ้น ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกามราคะ
    8.จิตไม่เกาะเกี่ยว ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลส
    9.จิตปราสจากเครื่องครอบงำ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะถูกกิเลสครอบงำ
    10.เอกัคคตาจิต ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลสต่างๆ
    11.จิตที่กำหนดด้วยศัทธา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่ศรัทธา
    12.จิตที่กำหนดด้วยวิริยะ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน
    13.จิตที่กำหนดด้วยสติ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท
    14.จิตที่กำหนดด้วยสมาธิ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะ อุจธัจจะ
    15.จิตที่กำหนดด้วยปัญญา ย่อมมไหวั่นไหวเพราะอวิชชา
    16.จิตที่ถึงความสว่างไสว ย่อมมไหวั่นไหวเพราะความมืดอวิชชา


    นี่เป็น อริยะฤทธิ์
     
  19. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,015
    ค่าพลัง:
    +17,915
    เมื่อจิตฟุ้งซ่านควรจะทำอย่างไรดี โดย ท่านอาจารย์ มุนี ชอบพนา ( พระในป่า )


    เมื่อนักปฏิบัติธรรมเจอกับความฟุ้งซ่านก็มักจะคิดไปว่า ความฟุ้งซ่านมันคือศัตรูต่อการปฏิบัติ แต่ว่าถึงแม้จะคิดไปว่ามันเป็นศัตรูเช่นนี้แล้วมันก็ใช่จะเบาบางลงได้ มันอาจจะยิ่งแสดงฤทธิ์เดชมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมไปอีก บางคนถึงกับเลิกลาหรือท้อถอยจากการปฏิบัติธรรมเพราะความฟุ้งซ่านเลยทีเดียว เมื่อเลิกปฏิบัติแล้วนี่ ความฟุ้งซ่านมันยิ่งมากกว่าเดิม แต่เพราะอวิชามันมากจึงทำให้มองไม่เห็นความฟุ้งซ่านของตนที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน คนเราเมื่อมาปฏิบัติธรรมแล้วเมื่อได้เห็นความฟุ้งซ่านในจิตตนเองออกมาก็กลับไม่ชอบใจ จึงขอกลับไปสบายแบบไม่รู้ตัวว่าฟุ้งซ่านอยู่นี่คือ วิสัยของปุถุชน

    แล้วความฟุ้งซ่านนี่เป็นศัตรูหรือเป็นมิตรกันแน่ / ก็ตอบได้เลยว่า ความฟุ้งซ่านนี้เป็นศัตรูของผู้ไม่มีปัญญา แต่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีปัญญา

    แล้วทำไมถึงเป็นแบบนั้นล่ะ / นั่นก็เพราะว่า ความฟุ้งซ่านนั้นเป็นสังขารอย่างหนึ่ง และความฟุ้งซ่านนี่เองที่ได้เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปอยู่นั้น ได้แสดงความจริงให้ปรากกว่า เขานี่แหละไม่เที่ยง เขานี่แหละเป็นทุกข์ และเขานี่แหละเป็นอัตตา

    แต่เมื่อความฟุ้งซ่านได้แสดงความเป็นจริงให้ปรากฏต่อหน้าเราแล้ว แต่เรากลับมองเห็นมันเป็นศัตรูต่อการปฏิบัติเอง แต่ไม่ว่าจะเป็นความฟุ้งซ่านหรือความสงบหรือสรรพสิ่งอื่นใดล้วนเป็นธรรมะ เป็นสภาวธรรมแห่งความ เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นความฟุ้งซ่านก็ได้ให้ปัญญาแก่เราได้เหมือนกัน เพียงแต่เราไม่เข้าใจเอง เราจึงไม่ชอบ เข้าใจเองว่าความฟุ้งซ่านนี่ไม่ใช่ธรรมะ ความรำคาญ ความกลัดกลุ้ม ความอึดอัดอะไรต่างๆ ไม่ใช่ธรรมทั้งสิ้น ธรรมะต้องสงบจิตใจต้องเยือกเย็น แต่ความเป็นจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่

    ผู้ปฏิบัติธรรมส่วนมากพอจิตสงบเป็นสมาธิแล้วนั้น ก็หลงเข้าใจว่า พบธรรมะแล้ว บางคนหลงไปว่าได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้วก็มีไม่น้อย ก็ไม่ได้ปฏิเสธว่านั่นไม่ใช่ธรรมะ แต่ว่าธรรมะในระดับนี้เป็นระดับสมาธิไม่ใช่ระดับปัญญา การฝึกสมาธิก็ไม่ใช่ว่าจะทำได้ง่ายๆ ถ้าทำได้ดีใช้ให้เป็นก็เป็นมิตร แต่ถ้าใช้ไม่เป็นมัวหลงติดอยู่กับสมาธิ สมาธินั้นก็กลับกลายเป็นศัตรูในร่างมิตได้เช่นกัน ก้ต้องมาคิดกันล่ะว่า ระหว่างศัตรูที่เรารู้ว่าเป็นศัตรูกับศัตรูที่แฝงอยุ่ในหมู่มิตร อย่างไหนจะน่ากลัวกว่ากัน

    ดังนั้นการศึกษาธรรมะจึงไม่ใช่เรื่องที่จะมาคิดกันว่า จะศึกษาแต่ความสงบอย่างเดียว ความฟุ้งซ่านไม่ศึกษา แต่ถ้าเรานำสองสิ่งนี้มาเปรียบเทียบกันดูก็จะรู้ว่าทั้งความฟุ้งซ่านและความสงบนั้นทั้งคู่มีค่าเท่ากัน เป็นสัจธรรมเดียวกัน

    อะไรให้เจริญ-อะไรให้ละ
    แม้ว่าทั้งความฟุ้งซ่านและความสงบจะมีค่าเท่ากันและเป็นสัจธรรมเดียวกัน แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สิ่งหึ่งควรเจริญ สิ่งหนึ่งควรละเสีย

    ความสงบหรือสมาธินั้น เป็นหนึ่งในมรรคมีองค์ 8 ชื่อว่า สัมาสมาธิ เป็นการทำให้จิตผ่องใส บริสุทธิ์ อ่อนโยนควรค่าแก่การงาน พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ถ้าเป็นมรรคแล้ว เป็นสิ่งที่ควรเจริญ

    ส่วนความฟุ้งซ่านนั้นเป็นกิเลส เป็นสมุทัย คือเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า กิเลสหรือสมุทัยนี้เป็นสิ่งที่ควรละเสีย
     
  20. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,015
    ค่าพลัง:
    +17,915
    ฝ่าฟัน / ลาภ สักการะ ชื่อเสียง / ถือเป็นกิ่งใบ
    ผ่าน / ศีล / ถือเป็นเพียงสะเก็ด
    ผ่าน / สมาธิ / ถือเป็นเพียงเปลือก
    ผ่าน / ปัญญา / ถือเป็นเพียงกระพี้
    เข้าสู่ / วิมุตติ ความหลุดพ้น / จึงจะถือว่าเป็นแก่น เป็นที่สุดของพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
     

แชร์หน้านี้

Loading...