เชิญเข้าร่วมสนทนาพิเศษเรื่อง มิติ ความฝัน ชาติภพ จิตวิญญาณ โดย @โนวา อนาลัย@ [Writer]

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย mead, 8 สิงหาคม 2007.

  1. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    มาร่วมช่วยกันครับ ผนึกกำลังส่งไปถึงที่อื่นๆในโลกรวมทั้งประเทศไทย
    เนื่องจากเบื้องหลังเหตุการณ์ต่างๆที่เราเห็น ทั้งความคิด+การแสดงออก ก่อให้เกิดกระแสพลังงานก่อตัวขึ้นมาคล้ายๆแบบพิมพ์เขียว และจะชัดเจนขึ้นตามลำดับหากการจดจ่อนั้นยังดำเนินต่อไปในทิศทางนั้น

    กระแสพลังจากความเชื่อความศรัทธาของพวกเราจะช่วยเปลื่ยนทิศทางในเรื่องที่ดูเหมือนจะร้ายแรงต่างๆได้มาก-น้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับการตั้งจิตของพวกเราทุกๆคน ขอให้เป็นพลังอันบริสุทธ์ อิสระ สดใส ที่จะนำไปสู่เรื่องความปลอดภัยในทุกๆเรื่อง ขอให้จดจ่อกับข่าวสารต่างๆทั้งหลายไปในทิศทางที่เป็นบวกเสมอๆด้วยความมีสติและไม่ประมาทไปพร้อมๆกัน รวมไปถึงการส่งกำลังใจและการช่วยเหลือกันช่วยผู้ประสบภัยในเบื้องต้น ช่วยได้มากครับ (y)<!-- / message --><!-- sig -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2008
  2. จันทร์เจ้า

    จันทร์เจ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    830
    ค่าพลัง:
    +1,948
    สวัสดีครับ คุณ mead และคุณ zipper ผมไม่แน่ใจว่าช่วงก่อน ใครเป็นคนนำ
    บทความเรื่องพลังของคริสตันมาลง รบกวนช่วยนำ link มาให้ดูอีกทีได้ไหมครับ
    บังเอิญผมไปอ่านเจอเรื่อง Cloud Buster ซึ่งใช้คริสตันในการส่งพลังควบคุมเมฆ
    ผมสงสัยว่ามันทำงานยังไงครับ ส่วน link ข้างล่างนี้แสดงตัวอย่างการใช้งานครับ

    http://palungjit.org/showthread.php?t=125749
     
  3. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    คงเป็นกระทู้วิชาโทรจิต...อันนี้ล่ะครับ
    การใช้วัตถุธาตุ เพื่อสื่อพลังโทรจิต
    [​IMG]
    http://palungjit.org/showthread.php?t=43732

    มีเรื่องการวาดฝันบนฟ้าด้วย Cloud Buster น่าสนใจมากครับ
    ถ้าหากเอาเรื่องเหล่านี้มาผสมผสานกันคงสนุกแน่
    อาจเอาผลึกคริสตันมาช่วยในการสร้างสรรค์พลังงาน
    ที่ไหลเวียนของพื้นดินกับพลังที่อยู่บนฟ้าได้ด้วย
    มีโอกาสเมื่อไหร่น่าทดลองทำกันดูครับ+
    http://palungjit.org/showthread.php?t=125749


    [​IMG]
    ตัวอย่างการใช้งาน ตอนแรกเมฆมีลักษณะแบบนี้

    [​IMG]

    ลองแบ่งเมฆเป็นชิ้นเล็กๆออกมาดู

    [​IMG]
    การเปลี่ยนแปลงจะค่อยๆเป็นไปอย่างช้าๆ หากไม่สังเกตุจะไม่เห็น
    เหมาะสำหรับคนที่มีเวลาว่างมากๆ สามารถดูภาพวีดิโอเต็มๆได้ที่ :
    http://www.youtube.com/watch?v=EI-Fz...eature=related
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2008
  4. VeggieGuy

    VeggieGuy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    3,945
    ค่าพลัง:
    +4,262
    More Information

    คุณรักไร้พ่าย อย่าลืมไปอ่าน "ประวัติศาสตร์ของจิตวิญญาณ" ที่พี่นักเขียนได้กรุณาทำขึ้นเพื่อเป็นวิทยาทานแก่พวกเราผู้สนใจ

    ส่วนด้านล่างนี้ คัดลอก (โดยการยินยอมของสำนักพิมพ์) บางส่วนจากหนังสือ "สนทนากับพระเจ้า เล่ม 1" มาให้พิจารณาควบคู่กัน จะเห็นได้ว่าใจความนั้นคล้ายคลึงกันมากครับ

    -------------------------------------------
    ...แรกเริ่มเลยทั้งหมดที่มีคือ
     
  5. จันทร์เจ้า

    จันทร์เจ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    830
    ค่าพลัง:
    +1,948
    ขอบคุณครับ โดยส่วนตัวแล้วค่อนข้างเชื่อแต่ยังไม่ 100 เปอร์เซนต์
    อย่างไรก็ตาม ผมมีความรู้สึกลึกๆว่าคริสตันน่าจะเป็นอะไรที่มากกว่า
    การเรียงตัวของอะตอมสวยๆเท่านั้น อย่างแม่เหล็กนี้จัดว่าเป็นคริสตัน
    ได้ไหมครับ เคยได้ยินมาว่าเหล็กกับแม่เหล็กมีอะตอมชนิดดียวกัน
    แต่ในแม่เหล็กอะตอมจะมีการจัดเรียงตัวในทิศทางเดียวกันทำให้
    มีอำนาจแม่เหล็กเกิดขึ้นได้ ผมสงสัยว่า แล้วอะตอมชนิดอื่นที่ไม่ใช่เหล็ก
    แต่มีการจัดเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบทำไมไม่เกิดอำนาจแม่เหล็กครับ
    ลองถามดูเผื่อคุณ mead หรือใครอาจทราบคำตอบครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2008
  6. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    [​IMG]

    เป็นคำถามที่น่าสนใจครับว่าทำไมวัตถุธาตุอื่นๆจึงไม่แสดงพลังแบบแม่เหล็กออกมา ทั้งๆที่ธรรมชาติก็มี<WBR>ประจุ<WBR>ไฟ<WBR>ฟ้า<WBR>เดี่ยวๆ เช่น อิเล็กตรอน (electron) และ<WBR>โปรตอน (proton) มีนิวเคลียสเช่นกัน ปรากฏการณ์<WBR>แม่<WBR>เหล็กและปรากฏการณ์<WBR>ไฟ<WBR>ฟ้า<WBR>ซึ่งเป็นปรากฏการณ์<WBR>ธรรม<WBR>ชาติก็น่าจะมี<WBR><WBR>สมุติฐานที่<WBR>คล้าย<WBR>คลึง<WBR>กัน ทราบว่านักวิทย์ฯก็ค้นหาพลังของขั้ว<WBR>แม่<WBR>เหล็ก<WBR>เดี่ยว (magnetic monopole) ในช่วงแรกๆการก่อกำเนิดจักรวาลอยู่เหมือนกัน โดยต้นหาจากแร่ธาตุบนโลกรวมทั้งดวงจันทร์แต่ก็ยังไม่มีใครพบ (ซึ่งไม่ได้หมายความว่าไม่มี) บางทีอุปกรณ์อย่างคริสตันอาจจะมีความลับแฝงอยู่ มี<WBR>พลัง<WBR>ที่<WBR><WBR>ละเอียดยิ่งกว่าแม่เหล็กก็ได้ครับ ผมว่าอะตอมของธาตุเหล่านี้จะมีหน้าที่แตกต่างกันไป มีพลังดึงดูดเหมือนกันแต่เราสังเกตได้ยากเพราะมิติของเรามีเครื่องพรางเฉพาะตัว น่าจะเกิดจากวัตถุประสงค์ของธรรมชาติครับ เรื่องนี้คงต้องขอความเห็นของพี่นักเขียนฯ และท่านอื่นๆช่วยกันหาคำตอบคงสนุกแน่ครับ.. (y)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2008
  7. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    อยากรู้ละเอียดเลยหรือเปล่า เดี๋ยวจะหาข้อมูลมาให้ เริ่มจะพื้นฐานก่อนเลย

    บนตารางธาตุนั้นมีธาตุหลักๆ ที่มีคุณสมบัติเป็นสารแม่เหล็กธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า ferromagnetic ที่อุณหภูมิห้องปกติอยู่ 4 ตัว ได้แก่ เหล็ก (Fe), นิกเกิล (Ni), โคบอลต์ (Co) และ แกโดลิเนียม (Gd) แม่เหล็กถาวรสร้างขึ้นโดยนำวัสดุดังกล่าวไปจัดเรียงอะตอมด้วยสนามแม่เหล็ก

    ส่วนทำไมเวลาปกติเหล็กถึงไม่มีอำนาจแม่เหล็กก็เพราะว่ามันจัดเรียงไม่เป็นระเบียบทำให้อำนาจแม่เหล็กหักล้างกันเอง แต่เมื่อทำให้มันจัดเรียงเป็นระเบียบไปในทางเดียวกันทำให้อำนาจแม่เหล็กมันแรงยิ่งขึ้น

    แล้วทำไมถึงมีแค่ เหล็ก, นิกเกิล, โคบอลต์และ แกโดลิเนียม ที่มีอำนาจแม่เหล็ก อันนี้ค่อนข้างจะยากหน่อยเพราะต้องใช้ความรู้เคมีระดับมหาวิทยาลัยซึ่งผมก็ค่อนข้างจะลืมไปมากเหมือนกัน พอมาอ่านบทความที่เขียนอธิบายก็ต้องทำความเข้าใจนานหน่อย ก็ต้องเข้าใจถึงเรื่องการจัดเรียงของอิเล็กตรอนในอะตอมก่อน (จะพยายามเขียนให้เข้าใจง่ายนะครับ)

    ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าการจัดเรียงของอิเล็กตรอนแบ่งเป็นชั้นๆ ตามระดับพลังงาน ชั้นที่อยู่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุด (ระดับชั้นที่ 1) มีระดับพลังงานต่ำสุด จะเรียกว่าระดับพลังงานชั้น K แล้วชั้นถัดออกมาก็เรียกไล่ไปเป็น L(ชั้นที่ 2), M(ชั้นที่ 3), N(ชั้นที่ 4), O(ชั้นที่ 5), P(ชั้นที่ 6), Q(ชั้นที่ 7)

    สูงสุดตอนนี้ที่พบคือมีอยู่ 7 ชั้น

    แต่ละระดับชั้นจะมีจำนวนอิเล็กตรอนได้มากที่สุด เท่ากับ 2n<sup>2</sup> เมื่อ n คือ ตัวเลขที่แสดงระดับพลังงานที่อิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่

    เช่น n = 1 เป็นวงโคจรหรือระดับพลังงานที่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุด และมีจำนวนอิเล็กตรอนได้มากที่สุดเพียง 2 อนุภาคเท่านั้น สำหรับวงโคจรที่ห่างออกไปก็คำนวณได้ดังนี้
    ระดับพลังงานที่ 2 มีอิเล็กตรอนได้ = 8 อนุภาค
    ระดับพลังงานที่ 3 มีอิเล็กตรอนได้ = 18 อนุภาค
    ระดับพลังงานที่ 4 มีอิเล็กตรอนได้ = 32 อนุภาค

    อิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานนอกสุดเรียกว่า เวเลนซ์อิเล็กตรอน ซึ่งมีได้มากที่สุดเท่ากับ 8 อนุภาค

    ในแต่ละระดับชั้นพลังงาน จะมีระดับพลังงานชั้นย่อยได้ ไม่เกิน 4 ชั้นย่อย และมีชื่อเรียกชั้นย่อย ดังนี้ s , p , d , f ในแต่ละชั้นย่อย จะมีจำนวนอิเล็กตรอนได้ ไม่เกิน ดังนี้

    ระดับพลังงานชั้นย่อย s มีอิเล็กตรอนได้ ไม่เกิน 2 ตัว ระดับพลังงานชั้นย่อย p มีอิเล็กตรอนได้ ไม่เกิน 6 ตัวระดับพลังงานชั้นย่อย d มีอิเล็กตรอนได้ ไม่เกิน 10 ตัว ระดับพลังงานชั้นย่อย f มีอิเล็กตรอนได้ไม่เกิน 14 ตัว เขียนเป็น s<sup>2</sup> p<sup>6</sup> d<sup>10</sup> f<sup>14</sup>


    การใส่อิเล็กตรอนในแต่ละระดับชั้นจะใส่ตามนี้
    [​IMG]
    คือไล่ไป 1s 2s sd 3s 3p 4s 3d
    (1s คือชั้นที่ 1 ระดับพลังงานย่อย s)

    การจัดเรียงอิเล็กตรอนเขียนแทนด้วยแผนภาพออร์บิทัล
    ช่องสี่เหลี่ยมแทนออร์บิทัล โดยแต่ละออร์บิทัลบรรจุได้ 2 อิเล็กตรอน
    [​IMG]

    ใน 1 ออร์บิทัลมีอิเล็กตรอน 2 ตัว เพื่อที่จะให้อิเล็กตรอนสองตัวต่างกันจึงกำหนดเลขควอนตัมสปินจากภาพด้านบนนี้อิเล็กตรอนตัวที่ 1 สปินขึ้น ส่วนตัวที่ 2 สปินลง

    การใส่อิเล็กตรอนในแต่ละชั้นจะใส่อิเล็กตรอนที่เป็นสปินขึ้นให้เต็มออร์บิทัลก่อนแล้วค่อยใส่ตัวที่เป็นสปินลง

    ทีนี้มาดูการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุนิเกิลที่เป็นแม่เหล็กกัน
    การจัดเรียงอิเล็กตรอนของ Ni ซึ่งมี 28 อิเล็กตรอน เขียนได้เป็น 1s<sup>2</sup> 2s<sup>2</sup> 2p<sup>6</sup> 3s<sup>2</sup> 3p<sup>6</sup> 4s<sup>2</sup> 3d<sup>8</sup>

    ซึ่งก็จะได้ออกมาตามรูปนี้

    <object classid="clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000" codebase="http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,29,0" width="250" height="270">
    <param name="movie" value="http://www.il.mahidol.ac.th/course/ap_chemistry/atomic_structure/flash/sheme_cu1.swf">
    <param name="quality" value="high">
    <embed src="http://www.il.mahidol.ac.th/course/ap_chemistry/atomic_structure/flash/sheme_cu1.swf" quality="high" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer" type="application/x-shockwave-flash" width="250" height="270"></embed></object>

    จะเห็นว่าที่ชั้นนอกสุดจะมีอิเล็กตรอนเดี่ยวที่เป็นสปินอัพอยู่สองตัว ซึ่งธาตุที่มีอิเล็กตรอนเดี่ยวอยู่วงนอกนี่แหล่ะจะทำให้เกิดแม่เหล็กโดยถ้ายิ่งมีมากแม่เหล็กก็ยิ่งแรง ธาตุเหล็กจะมีอิเล็กตรอนเดี่ยวอยู่ 4 ตัว

    ช่วงทศวรรษ 1930 (พ.ศ. 2473-82) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน เวอร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก (Werner Heisenberg) พบว่ามีสองเงื่อนไขสำคัญในการเกิดแม่เหล็กถาวร คืออย่างแรก ไม่เพียงแค่อะตอมในวัสดุเท่านั้นที่ทำให้เกิดการเลื่อนไหลของอิเล็กตรอนเหนี่ยวนำเป็นสนามแม่เหล็ก อย่างที่สองคือได้เกิดมีสนามแม่เหล็กเล็กๆ ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องและสะสมกันไปในทิศทางนั้นจนได้เป็นสนามหนึ่งเดียวที่มีความแรงมากพอ ด้วยสองอย่างที่เป็นเงื่อนไขสำคัญซึ่งมีความซับซ้อนนี้เองที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างสภาวะแม่เหล็กถาวร จากระดับพลังงานที่เหมาะสม การจัดอะตอมที่พอดีไม่มีการขับไล่ประจุที่เกินพอ เข้าสู่สภาวะที่สมดุล แบบที่นักฟิสิกส์เรียกกันว่า อันตรกริยาไฟฟ้าสถิต (electrostatic interaction)

    (อธิบายง่ายๆ ก็คือมีการวิ่งของอิเล็กตรอนระหว่างอะตอมอันเนื่องมาจากมีอิเล็กตรอนเกินมาในระดับชั้นนอก ทำให้อิเล็กตรอนวิ่งไปยังอะตอมตัวอื่นได้ง่าย การวิ่งของอิเล็กตรอนทำให้เกิดไฟฟ้า และไฟฟ้านี่แหล่ะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กแบบเดียวกับการปล่อยไฟฟ้าเข้าไปในโลหะแล้วทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก ส่วนอีกข้อก็คือมีสนามแม่เหล็กเล็กๆ ที่เกิดขึ้นจากการที่อิเล็กตรอนวิ่งไปมา วิ่งไปในทิศทางเดียวกันจนทำให้เกิดสนามแม่เหล็กที่แรงขึ้น)


    ตามหลักการพื้นฐานทางกลศาสตร์ควอนตัม มีหลักการสำคัญข้อหนึ่งที่ชื่อว่า หลักการกีดกันของเพาลี (Pauli exclusion principle) ที่กล่าวถึงอิเล็กตรอนซึ่งจับตัวกันเป็นคู่ อย่างน้อยสองคู่ การหมุนสวนทางและจับคู่กันของคู่อิเล็กตรอนซึ่งมิได้มีความแตกต่างกัน เป็นการหักล้างสนามแม่เหล็ก ดังนั้น ค่าผลลัพธ์สุทธิของสนามแม่เหล็กในอะตอมจึงคงมีเฉพาะจากอิเล็กตรอนไร้คู่ในชั้นวงนอกเท่านั้น

    เมื่อลองไล่เรียงดูตามตารางธาตุจะพบว่า อิเล็กตรอนไร้คู่ จะมีปริมาณสูงขึ้นตามอะตอมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเราลองเริ่มต้นที่จำนวนอิเล็กตรอนสองตัวก่อน โดยปกติมันก็คงพยายามที่จะผลักตัวเองให้อยู่ห่างจากอิเล็กตรอนอีกตัวหนึ่งมากที่สุดเพราะต่างก็มีประจุลบด้วยกันทั้งคู่ และเมื่อทั้งคู่อยู่ในระดับวงเดียวกัน จึงมีแรงดึงดูดต่อประจุบวกตรงแกนกลางนิวเคลียสเท่ากัน และเมื่อเป็นเช่นนี้ อิเล็กตรอนตัวหนึ่งตัวใดจึงอาจจะกระเด็นไปสู่วงโคจรของชั้นอิเล็กตรอนในอะตอมใกล้เคียง และทำให้ระดับพลังขับไฟฟ้าสถิต (electrostatic repulsion) รวมทั้งระดับพลังงานในอะตอมนั้นลดลงไปเติมเต็มอะตอมอื่นที่ใกล้เคียงกันเรื่อยไป

    ดังนั้น สาเหตุที่อะตอมของเหล็กมีระดับความแรงของสภาวะแม่เหล็กสูงนั้นเป็นเพราะเหล็กมีอิเล็กตรอนไร้คู่ในวงนอกสุดมากถึงสี่ตัว ผลึกของอะตอมเหล็กที่เกาะเกี่ยวยึดโยงกันด้วยลักษณะการเช่นนี้จึงสร้างสนามพลังงานที่เข้มแข็ง สำหรับเงื่อนไขข้อที่สองตามทฤษฎีของไฮเซนเบิร์กในการเกิดสภาวะแม่เหล็กถาวรคือ การปรับตัวเข้าสู่สภาวะที่สมดุล (alignment) ในการนี้ ไมเคิล โคเอย์ (Michael Coey) นักฟิสิกส์จากวิทยาลัยทรินิตี้ ในดับลิน ได้ให้คำอธิบายเพิ่มเติมว่า การลดระดับพลังงานส่วนเกินของอิเล็กตรอนในการเบียดตัวเข้าสู่ชั้นวงโคจรของอีกอะตอมหนึ่งนั้นจะเกิดโพรงหรือช่องว่างให้อิเล็กตรอนที่หมุนแบบเดียวกันไหลเข้ามาแทนที่กันไปตลอดสายเท่ากับเป็นการปรับสมดุลในสนามแม่เหล็กรวม

    (การที่อิเล็กตรอนวิ่งหลุดไปยังอะตอมอันอื่นทำให้อิเล็กตรอนจากอีกอะตอมวิ่งมาแทนที่ไปเรื่อยๆ)



    ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดแม่เหล็กขึ้นมา ตอนท้ายๆ (ที่เขียนถึงไฮเซนเบิร์ก) งงมั๊ยครับ ผมก๊อปมาทั้งดุ้นเลย อ่านไปยังงงไปเล็กน้อย แต่ถ้าอ่านในวงเล็บน่าจะเข้าใจง่ายขึ้น แต่สรุปการเกิดแม่เหล็กถาวรมี 2 ข้อก็คือ อิเล็กตรอนที่ไม่เสถียรจะหลุดไปยังวงโคจรของอะตอมตัวอื่น จึงทำให้อิเล็กตรอนจากอะตอมตัวอื่นอีกหลุดมายังตัวที่หลุดไปเพื่อชดเชย มันจึงทำให้เกิดเป็นลูกโซ่ หลุดต่อกันไปเป็นทอดๆ และสนามแม่เหล็กต้องวิ่งไปในทิศทางเดียวกันจึงจะเกิดเป็นสนามแม่เหล็กที่แรงได้

    อ้อ ระดับชั้นของอิเล็กตรอนเนี่ย ถ้าจำไม่ผิดนะ จะเป็นการกำหนดขึ้นมาเพื่อให้เข้าใจง่ายนะครับ ถ้าเป็นของจริงถ้าจำไม่ผิดจะเป็นเหมือนกลุ่มหมอกครับ คือแยกระดับชั้นไม่ออกหรอก

    อ้างอิง
    http://www.kruwan.com/web/mod/forum/discuss.php?d=7
    http://www.il.mahidol.ac.th/course/ap_chemistry/atomic_structure/electron_configuration.htm
    http://ecurriculum.mv.ac.th/library2/magazine/update/magnet.htm
     
  8. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    คริสตัลถ้าจะไม่ผิดมันจะมีการจัดผลึกเป็นวงเกลียวนะครับ

    อันนี้เป็นระบบผลึกครับ เอามาฝาก เป็นชนิดของรูปร่างผลึก

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=775 border=0><TBODY><TR><TD width=628 bgColor=white><TABLE width=575 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=549 height=100><DD>ผลึกและระบบผลึก (Crystal and crystal system) ผลึกหมายถึงของแข็งที่ปิดล้อมด้วยผิวหน้าที่เป็นระนาบเรียบ ผลึกเป็นคุณสมบัติของแร่ที่ปรากฏให้เห็นเด่นชัด ในการศึกษาเรื่องรูปผลึกเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นจำเป็นต้องกำหนดแกนสมมติขึ้นภายในรูปผลึก เช่น ผลึกรูปลูกเต๋า เมื่อตั้งแกนสมมติแล้วจะเห็นว่ามีส่วนกว้าง ส่วนยาว และส่วนสูงเท่ากัน จึงกล่าวได้ว่าแกนของลูกเต๋าเท่ากันหมดทั้ง 3 แกน และตั้งฉากซึ่งกันและกัน ในวิชาว่าด้วยผลึก (Crystallography) ได้จัดแบ่งผลึกแร่เป็น 6 ระบบ (Crystal system) รูปผลึกระบบต่างๆ นั้น ต่างกันที่แกนของผลึกแร่งที่สมมติขึ้น ระบบผลึกมีดังนี้คือ

    <DD>1. ระบบไอโซเมตริก (Isometric system) มีแกน 3 แกนเท่ากัน และตัดกันที่กึ่งกลางเป็นมุมฉาก </DD></TD></TR><TR><TD width=549>
    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD width=549>ลักษณะแกนผลึกระบบไอโซเมตริก

    </TD></TR><TR><TD width=549>พลอยที่อยู่ในระบบไอโซเมตริก ได้แก่ เพชร โกเมน สปิเนล สปิเนลสังเคราะห์ แย้ก จีจีจี คิวบิกเซอร์โคเนียสังเคราะห์และสตรอนเทียมทิทาเน็ต เป็นต้น

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD width=628 bgColor=white><TABLE width=575 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=549 height=53><DD><DD>2. ระบบเตตระโกนัล (Tetragonal system) มีแกน 3 แกนตัดตั้งฉากกันที่กึ่งกลาง 2 แผ่น ยาวเท่ากัน ส่วนแกนที่ 3 อาจยาวหรือสั้นกว่าก็ได้ </DD></TD></TR><TR><TD width=549>
    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD width=549>ลักษณะแกนผลึกระบบไอโซเมตริก

    </TD></TR><TR><TD width=549>พลอยที่อยู่ในระบบเตตระโกนัล ได้แก่ เพทาย รูไทล์ รูปไทบ์สังเคราะห์ แคสซิเทอไรต์ และไอโดเครส เป็นต้น


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD width=628 bgColor=white height=205><TABLE width=575 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=549 height=33><DD><DD>3. ระบบออร์โธรอมบิก (Orthorhombic system) มีแกน 3 แกน ตัดตั้งฉากกันที่กึ่งกลาง แกนทั้ง 3 ยาวไม่เท่ากัน </DD></TD></TR><TR><TD width=549>
    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD width=549 height=22>ลักษณะแกนผลึกระบบออร์โธรอมบิก

    </TD></TR><TR><TD width=549>พลอยที่อยู่ในระบบออร์โธรอมบิก ได้แก่ โทแพซ เพริดอต แอนดาลูไซต์ คริสโซเบริล และ ซอยไซต์ เป็นต้น

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD width=628 bgColor=white><TABLE width=575 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=549 height=33><DD>4. ระบบโมโนคลีนิก (Monoclinic system) มีแกน 3 แกนยาวไม่เท่ากัน 2 แกนตั้งฉากกัน ส่วนแกนที่ 3 ตัดทำมุมกับ 2 แกนแรกและไม่ตั้งฉากกับ 2 แกนแรก

    </DD></TD></TR><TR><TD width=549>[​IMG]

    </TD></TR><TR><TD width=549 height=22>ลักษณะแกนผลึกระบบโมโนคลีนิก

    </TD></TR><TR><TD width=549>พลอยที่อยู่ในระบบโมโนคลีนิก ได้แก่ เจดไดต์ เนฟไฟรต์ สปอดูมีน ออร์โธเคลส เอพิโดต มาลาไคต์และอะซูไรต์ เป็นต้น

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD width=628 bgColor=white><TABLE width=575 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=549 height=33><DD>5. ระบบไตรคลีนิก (Triclinic system) มีแกน 3 แกน ไม่เท่ากันและไม่ตั้งฉากกันเลย </DD></TD></TR><TR><TD width=549>
    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD width=549 height=22>ลักษณะแกนผลึกระบบไตรคลีนิก

    </TD></TR><TR><TD width=549>พลอยที่อยู่ในระบบไตรคลีนิก ได้แก่ เทอร์ควอยส์ โรโดไนต์ ไมโครไคลน์ และไคยาไนต์ เป็นต้น

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD width=628 bgColor=white><TABLE width=575 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=549 height=33><DD>6. ระบบเฮกซะโกนัล (Hexagonal system) มีแกน 4 แกน 3 แกนอยู่ในแนวราบเท่ากันและทำมุม 60 องศา ซึ่งกันและกัน แกนที่ 4 ยาวหรือสั้นกว่าก็ได้และตั้งฉากกับ 3 แกนแรก
    พลอยที่อยู่ในระบบเฮกซะโกนัล ได้แก่ ควอรตซ์ คอรันดัม ทัวมาลีน เบริล และโรโดโครไซต์ เป็นต้น
    </DD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]


    Ref
    http://www.geocities.com/modernjewellry/howknow1.html
    http://ebook.nfe.go.th/ebook/html/020/189.htm
     
  9. จันทร์เจ้า

    จันทร์เจ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    830
    ค่าพลัง:
    +1,948
    ไม่งงครับ ยังจำได้ดีอยู่ตั้งแต่สมัยที่เรียนมา ในแบบจำลองที่ศึกษาตอนนั้น
    สุดท้ายแล้วก็จบที่แบบจำลองกลุ่มหมอกอย่างที่คุณ Zipper อธิบายครับ
    จะเห็นคุณสมบัติของอะตอมถูกกำหนดขึ้นมาโดย โปรตรอน กับ อิเล็คตรอน
    และยังทราบว่ามีนิวตรอนรวมอยู่ด้วยจากน้ำหนักอะตรอมที่หายไป ตอนนั้น
    มีการสันนิฐานเกี่ยวกับอนุพันธ์พื้นฐานของอะตอมโดยใช้เพียงแค่สนามประจุไฟฟ้า
    ในการทดลองเท่านั้น จึงทราบแค่เพียงอนุภาคที่มีประจุ (บวก/ลบ) และ ไม่มีประจุเท่านั้น
    ถ้าดูจากสิ่งที่เครื่องมือ Cloud Buster สามารถควบคุมพลังงานในพื้นดินและบนฟ้าได้แล้ว
    ผมคิดว่าอะตอมน่าจะมีอะไรมากกว่า โปรตรอน อิเล็คตรอน และ นิวตรอน ครับ
    ผลึกที่เขาใช้ดูๆแล้วไม่น่ามีอะไรที่จะเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กโลกได้เลย
    (มันอาจเกี่ยวข้องกันแต่ตอนนี้ผมยังไม่ทราบครับ ต้องศึกษาข้อมูลจากผู้อื่นไปเรื่อยๆก่อน)
    ในโลกนี้ น่าจะมีใครทำงานวิจัยเกี่ยวกับการควบคุมพลังงานโดยใช้ผลึกอยู่บ้าง
    ผมสงสัยแบบนี้ได้ คนอื่นก็คงเคยสงสัยแบบนี้เหมือนกัน แต่กลับไม่พบข้อมูลการทดลองเลย
    อาจเป็นเพราะยังไม่ได้รับการยอมรับทางวิทยาศาสตร์ หรือว่าผมคิดมากไปคนเดียวก็ไม่รู้
    ขอบคุณครับสำหรับบทความ มีภาคต่ออีกไหมครับ
     
  10. จันทร์เจ้า

    จันทร์เจ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    830
    ค่าพลัง:
    +1,948
    [​IMG]

    สำหรับเรื่องการเกิดอำนาจแม่เหล็กนั้น ยังมีเรื่องน่าสงสัยอีกเรื่องคือ
    หากอะตอมมีลักษณะทรงกลม อิเล็คตรอนอิสระก็มีสิทธิหลุดไปวงโคจร
    ของอะตอมอื่นได้ทุกทิศทาง แล้วอะไรเป็นตัวกำหนดทิศทางของขั้วแม่เหล็กครับ
     
  11. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    คุณจันทร์เจ้าถามได้ลึกดีครับ ในข้อความที่เขียนๆ มาถ้ามีผิดตรงไหนก็บอกได้นะครับ บางทีอาจจะมีการอ่านแล้วเข้าใจผิดไปก็ได้

    ในบทความนี้ http://ecurriculum.mv.ac.th/library2/magazine/update/magnet.htm มีพูดถึงสารที่ไม่ใช่โลหะแต่ว่ามีอำนาจแม่เหล็กอยู่ แต่ว่าที่พบมันก็ยังน้อยอยู่ ซึ่งสารตัวนั้นมันเป็นพอลิเมอร์คาร์บอนที่
    เรียงตัวเป็นรูปบอลกลม 60 อะตอมต่อโมเลกุล เกาะเกี่ยวกัน หรือที่เราเรียกโมเลกุลนี้ว่าบัคกี้บอล อนาคตถ้าการค้นคว้าเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น เราอาจจะเห็นแม่เหล็กที่ไม่ใช่เหล็กกันก็ได้

    เดี๋ยวจะมาอธิบายกันต่อเรื่องเกี่ยวกับการเกิดแม่เหล็ก แต่ทีนี้เป็นในแนวฟิสิกส์ แต่ผมอ่านดูแล้วทำไมมันไม่ค่อยเหมือนกับคำอธิบายก่อนหน้านี้เนี่ย ก่อนหน้านี้อธิบายไปว่าอิเล็กตรอนที่วิ่งไปมาระหว่างอะตอมทำให้เกิดแม่เหล็ก แต่อันนี้เป็นอธิบายว่าเกิดจากการโคจรของอิเล็กตรอน หรือผมเข้าใจผิดไปตรงไหน???? มาต่อกันเลย

    ทฤษฏีการเกิดแม่เหล็กที่พูดถึงกันบ่อยๆ คือ ทฤษฎีโดเมนของสภาวะแม่เหล็ก (Domain theory of magnetism)

    ทฤษฏีนี้กล่าวว่าในสารแม่เหล็กนั้น ประกอบด้วยไดโพล หรือ โมเลกุลแม่เหล็ก ซึ่งมีแรงกระทำซึ่งกันและกัน และอยู่ในบริเวณหนึ่งๆ เรียกว่า โดเมน ซึ่งมีขั้วชี้ไปทิศเดียวกัน

    สารแม่เหล็กที่ไม่เป็นแม่เหล็กนั้นเป็นเพราะว่า โดเมนแม่เหล็กหันทิศทางกระจัดกระจายไม่เป็นทิศเดียวกัน ทำให้อำนาจแม่เหล็กหักล้างกันเอง

    แต่ถ้ามันวางตัวเป็นระเบียบไปในทิศทางเดียวกัน อำนาจแม่เหล็กก็จะแรงขึ้นมา

    [​IMG]


    ทีนี้ไดโพลแม่เหล็กมาจากไหน เกิดได้อย่างไร?

    เราทราบว่าในอะตอม อิเล็กตรอนเคลื่อนที่รอบๆนิวเคลียสเป็นวงกลม เนื่องจากอิเล็กตรอนมีประจุไฟฟ้า การเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า(ไหลในทิศตรงข้ามกับอิเล็กตรอน)
    และกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นก็เหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก(ในทิศตามกฏมือขวา)

    [​IMG]

    สารที่เป็นแม่เหล็กจะมี magnetic moment ไม่เป็นศูนย์ โดยปกติแล้วถ้าอิเลคตรอนอยู่กันเป็นคู่ (spin up - spin down) magnetic moment มันก็หักล้างกันไป สารแม่เหล็กคือสารซึ่งมีอิเล็กตรอนไม่ครบ shell(มี spin up อิเล็กตรอนที่ไม่ได้จับคู่กับ spin down อยู่เดี่ยวๆ) ก็เลยมี magnetic moment

    แต่ magnetic moment ที่มีอยู่นี้ปกติก็จะชี้ไปทางนู้นทางนี้กระจัดกระจาย ทำให้โดยรวมแล้ว magnetic moment ก็(เกือบ)เป็นศูนย์อยู่ดี

    แต่ทีนี้พอมี magnetic moment เวลาเจอสนามแม่เหล็กมันก็เกิดทอร์ค ทอร์คนี้พยายามจะ "ดึง" ให้ magnetic moment ในสารแม่เหล็กเรียงตัวตามสนามแม่เหล็ก ซึ่งพอเรียงกันแล้วก็เลยทำให้ magnetic moment รวมไม่เป็นศูนย์ ก็เลยถูกแม่เหล็กดูดได้ (แล้วก็ทำตัวเป็นแม่เหล็กไปดูดอย่างอื่นต่อได้ด้วย)

    Ref
    http://www.rmutphysics.com/PHYSICS/oldfront/98/magnetic1/index1.htm
    http://www.vcharkarn.com/vcafe/11598/1

    เนี่ยแหล่ะครับการเกิดแม่เหล็กในแบบฟิสิกส์ งงตรงไหนก็ลองถามมาได้นะครับ จะได้หาคำอธิบายเพิ่ม(ถ้าหาได้นะครับ อิอิ ไม่งั้นก็จะเป็นอธิบายแบบความเข้าใจส่วนตัว)

    ส่วนเรื่องพลังงานกับผลึกคริสตัลของหาดูก่อนว่ามีที่ไหนพูดถึงบ้าง
     
  12. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    ไอสไตน์ซิปฯ ขนข้อมูลมาตอบแล้ว +
    ถ้าไม่เคยเรียนสายวิทย์มาคงไม่เข้าใจทั้งหมด ก็มีหลายเรื่องที่ไม่เคยรู้ไม่เคยทำความเข้าใจมาก่อน นักวิทย์ฯของโลกส่วนมากต้องอาศัยการคำนวณหรือสร้างทฤษฎีที่ว่าไปแล้วก็คล้ายการคาดเดาอยู่เหมือนกัน โดยการวิ่งไล่ตามปรากฎการณ์ที่มองเห็นและสร้างแผงผังขึ้นมารองรับด้วยเหตุและผลที่น่าเขื่อถือ แต่ในอนาคตเชื่อว่าจะเกิดทฤษฎีใหม่ๆ ที่อาจแย้งกับเรื่องเดิมๆตามออกมาอีก เมื่อความรู้ขยายตัวลงสู่ความละเอียดมากยิ่งขึ้น และนักวิทย์ฯรู้จักการผสมผสานศาสตร์ต่างๆเข้าด้วยกัน ไม่แน่วันหนึ่งคุณซิปฯ กับคุณจันทร์เจ้า อาจสร้างทฤษฎีใหม่ๆที่ทำให้ชาวโลกต้องตกตะลึงตาค้างก็เป็นได้ครับ อิอิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2008
  13. จันทร์เจ้า

    จันทร์เจ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    830
    ค่าพลัง:
    +1,948
    ขอบคุณครับ ผมค่อนข้างจะเป็นคนช่างสงสัยเสียหน่อย ถ้ารบกวนเวลาของคุณ Zipper มากเกินไป
    ก็ขอโทษ ณ เบื้องต้นนี้ไว้ก่อนเลยนะครับ ตามกฎมือขวาที่เรียนมาสนามแม่เหล็กจะเกิดวนรอบๆ
    ทิศทางที่กระแสไฟฟ้าไหล แต่จากแบบจำลองกลุ่มหมอกของอะตอม อิเล็คตรอนจะวิ่งกระจาย
    ภายในกลุ่มหมอกโดยไม่มีทิศทางที่แน่นอน ถึงแม้วงนอกสุดของอะตอมจะมีอิเล็คตรอนส่วนเกิน
    แต่ว่าอิเล็คตรอนส่วนเกินนั้นก็คงวิ่งอย่างไม่มีทิศทางแน่นอนในวงโคจรกลุ่มหมอกชั้นนอกสุดเช่นกัน
    สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นก็ย่อมมีทิศทางไม่แน่นอนเช่นกัน เมื่อทุกจุดในทรงกลมมีโอกาสเกิดเท่าๆกัน
    สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นก็น่าจะหักล้างกันเองในอะตอมจนกลายเป็นศูนย์ทุกอะตอมสิครับ
    มันน่าจะมีจุดอ้างอิงอะไรสักอย่างที่ทำให้เกิดเป็นไดโพล (2 ขั้ว) ในแม่เหล็กขึ้นมาได้ ถ้าเป็นในคริสตัน
    เคยทราบมาว่าการเรียงตัวในทิศทางเดียวกันของแต่ละอนุภาคจะอยู่ในระดับโมเลกุล เมื่อมีหลายๆอะตอม
    มาจับตัวกันกลายเป็นโมเลกุล จะทำให้มีตำแหน่างของอะตอมอ้างอิงที่ใช้สำหรับระบุทิศทางของแต่ละโมเลกุลได้
    (อันนี้ผมเดาเอานะครับ ไม่ใช่รู้มาจริงๆ) แต่ในแม่เหล็กจะประกอบขึ้นมาจากอะตอมของเหล็กล้วนๆ
    หรือว่าอะตอมของเหล็กยังต้องไปรวมตัวกับธาตุอื่นอีกหรือเปล่าครับ จึงจะเกิดเป็นโมเลกุลของสารแม่เหล็กขึ้นมา
     
  14. จันทร์เจ้า

    จันทร์เจ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    830
    ค่าพลัง:
    +1,948
    ขอบคุณครับ บางทีถ้าเฝ้าคิดถึงคำตอบของปัญหาที่สงสัยบ่อยๆ
    จิตของผมอาจดึงดูดคำตอบที่ต้องการให้เข้าใจจริงๆขึ้นมาก็ได้
    แล้วชาวโลกก็จะได้ตกตะลึงตาค้างว่า ใครหนอ ช่างว่างมากเสียจริงๆ
    ชอบคิดเรื่องที่คนอื่นเขาไม่สงสัยกัน (-_-")
     
  15. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    จริงๆ แล้วการช่างสงสัยก็เป็นสมบัติประการนึงที่ดีของนักวิทยาศาสตร์นะครับ :)

    สำหรับคำถามที่ถามมาจะขอลองเอาความเข้าใจตัวเองตอบดูละกันครับ

    ก่อนอื่นขอยกข้อความอันที่พึ่งเจอมาก่อน


    การอธิบายสมบัติทางแม่เหล็กของสาร จำเป็นต้องอาศัยกลศาสตร์ควอนตัม อีกเช่นกัน กล่าวคือ สารที่มีสภาพเป็นแม่เหล็กนั้น เป็นผลมาจากการสปินภายนอก (โมเมนตัมเชิงมุม (angular momentum) ที่เกิดจากการเคลื่อนที่ รอบนิวเคลียสของอิเล็กตรอน) และสปินภายใน ที่เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของอิเล็กตรอน โดยที่อิเล็กตรอนจะมีการสปินเป็นเพียง “ขึ้น” หรือ “ลง” เท่านั้น จึงทำให้อิเล็กตรอน มีสมบัติเป็นขั้วแม่เหล็กคู่ (magnetic dipole moment) ขนาดเล็ก โดยสารที่มีสภาพเป็นแม่เหล็กนั้น เกิดจากการที่อะตอมของสาร มีจำนวนอิเล็กตรอนพวกที่มีสปินขึ้น ไม่เท่ากับพวกที่มีสปินลง ทำให้ค่าโมเมนตัมเชิงมุม หรือโมเมนต์แม่เหล็ก มีค่าไม่เป็นเป็นศูนย์ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เฉพาะ ในกรณีที่อะตอมมีจำนวนอิเล็กตรอน ไม่เต็มชั้นพลังงานย่อยเท่านั้น โดยบริเวณของกลุ่มอะตอม ที่มีโมเมนต์แม่เหล็กหัน ไปในทิศทางเดียวกัน เรียกว่าโดเมนแม่เหล็ก (magnetic domain) สารที่มีสภาพเป็นแม่เหล็ก จะประกอบขึ้นจากโดเมนแม่เหล็กหลายๆ โดเมน

    โดยบริเวณของกลุ่มอะตอม ที่มีโมเมนต์แม่เหล็กหัน ไปในทิศทางเดียวกัน เรียกว่าโดเมนแม่เหล็ก (magnetic domain) สารที่มีสภาพเป็นแม่เหล็ก จะประกอบขึ้นจากโดเมนแม่เหล็กหลายๆ โดเมน
    .
    .
    .
    โดยปกติแล้ว วัสดุเฟอร์โรแมกเนติกจะประกอบไปด้วยโดเมนแม่เหล็กหลายโดเมน โดยที่แต่ละโดเมนถูกคั่นด้วยกำแพงโดเมน (domain wall)

    Ref: http://www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=342&Itemid=2

    ได้เห็นคำว่าคำว่าโมเมนตัมจากคำที่ว่า "ค่าโมเมนตัมเชิงมุม หรือโมเมนต์แม่เหล็ก มีค่าไม่เป็นเป็นศูนย์" เลยทำให้นึกขึ้นได้ว่า ถ้ามันเป็นโมเมนตัมมันก็น่าจะมีการรวมแรงด้วย ซึ่งจะเป็นการรวมแรงใน 3 ทิศทาง ที่อิเล็กตรอนอิสระแต่ละตัวปล่อยออกมา ผลลัพธ์จะทำให้อะตอมแต่ละอะตอมมีแรงแม่เหล็กมาในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเสมอ และโดเมนแม่เหล็ก ก็น่าจะเปรียบเหมือนแกนผลึก

    โดยโดเมนแม่เหล็กประกอบจากไดโพลที่มีทิศทางเดียวกันรวมเข้าด้วยกัน และแบ่งกั้นโดเมนแต่ละอันด้วยกำแพงโดเมน (เขียนมาถึงนี่แล้วนึกถึงเซลเลย)

    แต่ว่าในเมื่อไดโพลแต่ละอะตอมมีทิศไม่เหมือนกัน เพราะว่ารูปร่างอะตอมเป็นทรงกลม 3 มิติ แล้วทำไมถึงมามีทิศแม่เหล็กเหมือนกันได้ อันนี้ขอคิดเอาเองว่าเป็นเพราะว่าแรงดึงดูดกันระหว่างไดโพลนี่แหล่ะทำให้มันมีทิศทางไปในทิศเดียวกันได้

    สมมุติว่ามีไดโพลอยู่ตัวนึงมีทิศสนามแม่เหล็กขั้วเหนือวิ่งไปทางซ้าย ขั้วใต้วิ่งไปทางขวา ไดโพลอันที่อยู่ทางซ้ายของตัวนี้ก็ย่อมจะถูกดึงดูดให้หันขั้วใต้มาทางขวา และตัวทางซ้ายก็จะดึงดูดทิศทางของสนามแม่เหล็กของตัวทางขวากลับด้วย ทำให้อิเล็กตรอนยังคงวิ่งอยู่ในวิถีเดิม พอจะนึกภาพออกหรือเปล่าครับ??
     
  16. จันทร์เจ้า

    จันทร์เจ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    830
    ค่าพลัง:
    +1,948
    การที่อิเล็คตรอนมีแบ่งเป็นทั้งการสปินภายนอก และ การสปินภายใน
    การสปินภายนอกน่าจะเกิดขึ้นโดยมีความน่าจะเป็นทุกๆจุดในวงโคจรทรงกลมเท่าๆกัน
    ดังนั้นไม่น่าจะมีผลต่อสนามแม่เหล็กเพราะทุกๆจุดจะหกล้างกันเองอย่างเท่าๆกัน
    ดังนั้นขั้วของแม่เหล็กจะเกิดขึ้นจากการที่มีอิเล็คตรอนที่สปินภายในไปด้านใดด้านหนึ่ง
    มากกว่าอีกด้านหนึ่ง ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกต้องไหมครับ ถ้าอย่างนั้นก็หมายความว่า
    ไม่ว่าอิเล็คตรอนจะเคลื่อนที่ไปจุดใดในทรงกลมก็ตาม แต่การสปินภายในจะไปใน
    ทิศทางเดิมตลอดเวลา ถ้าเป็นธาตุที่อยู่ในกลุ่มโลหะจะมีอิเล็คตรอนส่วนเกินที่สปินภายใน
    ในทิศทางเดียวกัน แล้วถ้าอย่างในธาตุที่เป็นอโลหะมีการขาดอิเล็คตรอนทำให้จำนวนเป็นเลขคี่
    ย่อมต้องมีอิเล็คตรอนบางตัวที่สปินไม่ครบคู่อย่างแน่นอน เหตุใดจึงไม่เกิดสนามแม่เหล็กครับ

    (ความจริงผมกำลังรออ่านเรื่องพลังงานกับคริสตันจากคุณ Zipper อยู่ เรื่องแม่เหล็กผมถามเป็น
    ความรู้เสริมเท่านั้น ไม่ต้องเสียเวลามากก็ได้นะครับ ข้อมูลแน่นดี)
     
  17. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    [​IMG][​IMG]


    มีความรู้สึกว่า โครงสร้างของคริสตัลเค้ามีความบริสุทธิ์พิเศษในตัวเองมาก คือมีความสมดุลคงที่ตลอดเวลา หากว่าเป็นพลังบวกก็จะคงที่เสมอ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงที่ถูกกำหนดเข้าไปใหม่ ทำให้คุณสมบัติเค้าเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ แล้วแต่เราจะนำไปใช้ในทิศทางใด

    ไปเจอเรื่องนึงน่าสนใจดี
    เค้าเอาคริสตัลสองชิ้นมาทำเครื่องเร่งอนุภาคด้วย
    เป็นอุปกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่นขนาดตั้งโต๊ะครับ
    http://www.vcharkarn.com/vcafe/48421/1

    [​IMG]



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2008
  18. JINTAWADEE

    JINTAWADEE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,559
    ค่าพลัง:
    +4,728
    ก่อนอื่นขอปรบมือให้นักวิทยาศาสตร์อนาคตไกลทั้ง 2 ท่านเสียก่อน คุณซิปเปอร์และคุณจันทร์เจ้าคะ คุณเก่งมาก บอกตามตรงจินตวดีไม่ชอบวิชานี้เลย จำได้ว่า ถึงชั่วโมงทีไร โดดเรียนทุกที น้อง ๆอย่าทำตามนะคะ เดี๋ยวโตขึ้นจะลำบากเหมือนพี่จินต์

    มีบางคนถามว่าจินตวดีให้การบ้านอะไรพี่นักเขีย เลยเอามาโพสต์ให้ดูค่ะ ว่าความฝันนั้นสำคัญไฉน

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ JINTAWADEE
    สวัสดีค่ะ คุณคงสบายดี เรื่องหนังสือได้รับรู้ข้อมูลมาบ้างจากคุณมี้ดค่ะ แต่อยากให้หนังสือได้วางจำหน่าย เพราะข้อมูลนี้เป็นของส่วนรวมไม่ใช่ของส่วนตัวของใคร เมื่อวานคิดอยากถูกล๊อตเตอรี่จริง ๆ ถ้าได้จะทำอย่างที่โพสต์ไว้ แต่ได้ฝันถึงคำตอบซึ่งมาในรูปของตัวหนังสือเมื่อคืนนี้ ที่บ่งบอกถึงความเป็นโนวาอนาลัยเช่นเดิม จินตวดีไม่แน่ใจ เป็นคำตอบที่ได้จากใครกันแน่ หรือคุณตั้งจิตส่งคำตอบมาให้ หนังสือชุดนี้มีปัญหาที่เกิดจากความเห็นแก่ตัว ถึงแม้จินตวดีจะถูกล๊อตเตอรี่จริง ปัญหาก็จะยังคงไม่หมดไปอยู่ดี ใช่ไหมคะ
    คำตอบที่คุณให้น้องปูเป้ ดูเสมือนว่าคุณจะตอบดิฉันด้วย ดิฉันอยากให้คุณช่วยทำการบ้านของจินตวดีอย่างที่คุณตอบน้องปูเป้ด้วย มีอะไรบางอย่างเกี่ยวกับดิฉันที่ดิฉันเองก็อยากรู้
    จะรอคำตอบจากคุณด้วยใจจดจ่อ และศรัทธา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>คุณน้องจินตวดีคะ
    บุคลิกภาพของคุณน้องเป็นผู้ที่มีความคิดสมดุลย์มากเป็นพิเศษ คือ หากคิดสิ่งใดมักคิดหน้า-คิดหลัง พิจารณาซ้าย-ขวา บน-ล่าง ใน-นอก ครบหมดทุกแง่มุม เป็นคนเปิดเผยไม่เพียงแต่ทางด้านความคิดเท่านั้น แต่เปิดเผยทางอารมณ์และทัศนคติอีกด้วย

    คุณน้องมักมีความคิดหลายอย่างพร้อมๆกัน คือเริ่มต้นหลายอย่างได้พร้อมๆกัน ซึ่งบ่อยครั้ง-หลายๆความคิด หลาย idea หลายสิ่งที่ทำมักจะรบกวนกันและกัน ทำให้ไม่ได้ผลอย่างที่ต้องการ แต่ถ้าหากจดจ่อเพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างจริงจังเมื่อใด จะสามารถทำสิ่งนั้นๆได้ดีอย่างเหลือเชื่อ เรียกได้ว่าหากได้จดจ่อกับสิ่งใดเพียงสิ่งเดียวเมื่อใด จะสามารถควบคุมและทำสิ่งนั้นได้ดังปรารถนาราวกับเป็น puppet master เลยทีเดียว และก็เป็นไปในแง่บวกด้วยคือ หากบุคคลภายนอกล่วงรู้ ก็ย่อมได้รับการยกย่องชมเชย แต่คุณน้องมักจะเก็บความพิเศษนี้ไว้เงียบๆ ชื่นชมหรือภาคภูมิใจในตนเองอย่างเงียบๆ ไม่เคยอวดอ้างกับใคร คนใกล้ตัวมากๆเท่านั้นที่รู้เห็น

    สิ่งหนึ่งที่คุณน้องมักจะไม่ได้สังเกตตนเองคือ สัดส่วนของความสามารถกับการสนับสนุนตนเอง กล่าวคือ สนับสนุนตนเองน้อยไปกว่าความสามารถที่ตนเองมี ซึ่งทำให้บุคคลภายนอกเข้าไม่ถึงบุคลิกภาพที่แท้จริงของคุณน้อง เพราะดูจากภายนอกเหมือนคนเรียบง่าย ไม่มีอะไรพิเศษ แต่ภายในนั้นมีพรสวรรค์มากมาย และเป็นพรสวรรค์ที่เรียกว่ามั่งคั่ง คือ หากจะทำอะไร ทำได้ไปหมด และทำได้ดีอย่างเหลือเชื่อ

    ยามตื่นพี่นักเขียนเข้าใจว่า จินตวดี เป็นชื่อจริงของคุณน้อง และเคยอ่านพบว่าคุณน้องชื่อเล่นชื่อ เอ แต่ในความฝันกลับรับทราบว่า คุณน้องมีชื่อเล่นที่มีอักษร อ จริง แต่ชื่ิอจริงมี สระอิ และสระอา และน่าจะมี ร กับ ด ดูเสมือนว่ามีการปรับเปลี่ยนบางอย่างเกี่ยวกับชื่อ เช่น เคยเปลี่ยนชื่อ ซึ่งอาจจะเป็นด้วยเหตุผลที่เกี่ยวกับ สระอิ และสระอา เป็นต้น ซึ่งถ้าไม่ได้เปลี่่ยนชื่อตนเองตอนเป็นผู้ใหญ่แล้ว ฝากถามคุณพ่อคุณแม่ด้วยค่ะว่าเคยคิดจะตั้งชื่ออื่นๆให้ตั้งแต่ยังเป็น baby หรือเปล่า?

    คุณน้องก็เป็นลูกที่มีความอ่อนไหวต่อความต้องการของคุณแม่มากเป็นพิเศษ อ่อนไหวมากชนิดที่ว่า แม้เพียงการแสดงความรักด้วยการกอดคุณแม่ ก็มีความหมายมากๆ จะละเว้นเสียไม่ได้เลย ถือเป็นเรื่องที่ต้องทำเสมอๆ เพราะรักคุณแม่มาก และคุณแม่ก็เป็นบุคคลที่นุ่มนวลอ่อนหวาน สมกับการที่จะได้รับการแสดงความรักด้วยการกอดเสมอๆ

    ในส่วนของบุคลิกภาพที่มีความเป็นหญิงนั้น เป็นคนรักสวยรักงาม ชอบนาฬิกาไหมคะ หมายถึงนาฬิกาที่ไม่ธรรมดา คือมองดูแล้วเหมือนเครื่องประดับ หรือกำไลมากกว่าที่จะดูเป็นนาฬิกา?
    สีโปรดคือสีฟ้าใสๆ อ่อนๆ และเขียวตองอ่อนหรือเปล่า?

    ในส่วนของบุคลิกภาพที่มีความเป็นชายนั้น รักการผจญภัย เช่น การเดินทางไกล เป็นต้น

    ส่วนหนึ่งของความฝัน ฝันว่าสามีของพี่นักเขียนรับข้อมูลเกี่ยวกับคุณน้องจินตวดีมาด้วยในความฝันของเขา แต่ในความฝันนั้น พี่นักเขียนทราบไม่ได้ว่าเขาฝันอะไร และจดจ้องว่าตื่นขึ้นเมื่อไรจะถามเขา พอเขาตื่นขึ้่นจริงเขาก็เล่าว่าฝันแปลก คือฝันซ้ำสองครั้งว่ามีคนรู้จักได้เงินเดือนขึ้น คนแรกมีตำแหน่งผู้จัดการโครงการของบริษัทญี่ปุ่น คนที่สองเป็นผู้ทำธุรกิจส่วนตัว แต่ประเด็นที่เหมือนกันคือ ทั้งสองคนได้เงินเดือนขึ้นจำนวนเท่ากัน และสามีของพี่นักเขียนดีใจกับเขาด้วย

    หากวันนี้ได้ F ก็ไม่ว่ากันนะคะ และพี่นักเขียนก็จะได้ตระหนักว่าตนเองต้องพัฒนาต่อไปอีกมาก

    แต่ไม่ว่าวันใดพี่นักเขียนจะได้ F หรือ A พี่นักเขียนก็จะยังคงยึดถือข้อมูลที่รับมาจากท่านอาจารย์อนาลัยว่า เราใช้ความสามารถตามธรรมชาติของจิตวิญญาณได้เสมอเหมือนกันหมดทุกคน หากพี่นักเขียนได้ F อาจมีคนอื่นๆได้ AAAAA+ ในคืนนี้ รวมทั้งคุณน้องจินตวดีด้วย(rose)
    <!-- / message --><!-- sig -->



    ขอบคุณคุณนักเขียนค่ะสำหรับข้อคิดดี ๆ มากมาย และ การบ้านของจินตวดี จินตวดีนั้นเคยมีชื่อจริงว่า "ปวีณา" เป็นชื่อที่มารดาอันเป็นสุดที่รักตั้งให้ พออายุได้ 27 ปี มีมรสุมชีวิตมากมาย ตัวเองก็เลยเปลี่ยนชื่อเป็น มรกต แทน สาเหตุของการเปลี่ยนชื่อเพราะ "สระอิ และ สระอา" จริง ๆ เขาว่ามันเป็นกาลกิณีกับคนเกิดวันจันทร์ ตอนนี้ ดิฉันกำลังคิดจะเปลี่ยนไปใช้ชื่อเดิมที่มารดาตั้งให้เหมือนเดิม เพราะชื่อนั้น ไม่มีมีความหมายใด ๆ กับชีวิตเอง เป็นแค่สมมติที่สร้างกันขึ้นมาเท่านั้น เครื่องประดับโปรดปรานนั้นเป็น นาฬิกาข้อมือจริง ๆ ซื้อไว้เยอะมาก จนใส่ไม่ทัน ลักษณะพิเศษของนาฬิกา คือสายต้องสวย แปลกกว่านาฬิกาตามปกติ คือดูไม่เหมือนสาย เหมือนเครื่องประดับมากกว่า อย่างเรือนโปรด ตัวเรือนเป็นเงิน ฝังด้วยหินสีมากมาย เหมือนกำไลมากกว่า สีโปรดปรานตั้งแต่เด็กมาเลย คือสีฟ้า โดยเฉพาะสีฟ้าน้ำทะเลชอบมาก จะรู้สึกกับสีนี้เป็นพิเศษ จินตวดีสามารถทำได้หลายอย่างจริง ให้ทำอะไรทำได้ แต่ตัวจริง ๆ กลับไม่เลือกที่จะทำสักอย่าง เพราะขาดการสนับสนุนตัวเองจริง ๆ ตอนนี้กำลังจดจ่ออยู่กับการศึกษา "จิตวิญญาณ" จิตมันสนใจอยู่เรื่องเดียว เรื่องอื่นไม่เอาเลย นอกจากงานปัจจุบัน เพราะร่างกายเนื้อหนังยังคงต้องการปัจจัย สี่อยู่ งานนี้ เอา AAAAA+ ไปเลยค่ะ
    ________________________________________________________
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2008
  19. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    อ่านคำตอบที่พี่นักเขียนตอบคุณจินตวดีก็ต้องขอทึ่งในความแม่นยำของพี่นักเขียนเลยทีเดียว

    ในตอนม.ปลายวิชาพวกวิทย์ ที่ได้เกรดมากสุดก็เป็นชีววิทยา คิดว่าเป็นเพราะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเราทั้งนั้นเลย ทั้งเรื่องระบบนิเวศ ร่างกาย พืช ไม่ค่อยมีทฤษฏีและคำนวณอะไรมาก อาศัยเข้าใจอย่างเดียว อย่างศัพท์ชีวะ ถ้าเราเข้าใจรากศัพท์มันก็จะทำให้จำได้ง่ายขึ้น อย่างชื่อของลิ้นหัวใจที่ชื่อว่า เอออร์ติกเซมิลูนาร์
    ถ้าเข้าใจความหมายของชื่อมันก็จะทำให้นึกออกเลยว่าอยู่ตรงไหน รูปร่างเป็นยังไง

    อันนี้ตามความเข้าใจส่วนตัวนะ
    เอออร์ติก มาจากคำว่า เอออร์ต้า ซึ่งเป็นเส้นเลือดแดงเส้นหลักที่ออกจากหัวใจไปเลี้ยงทั่วร่างกาย
    เซมิ แปลว่า ครึ่ง
    ลูน่าีร์ แปลว่า ดวงจันทร์ (lunar เป็นศัพท์ภาษาลาตินซึ่งเป็นรากของภาษาอังกฤษอีกที)
    เซมิลูน่าร์ จึงแปลว่า จันทร์ครึ่งเสี้ยว

    ลิ้นหัวใจเอออร์ติกเซมิลูนาร์ จึงเป็นลิ้นหัวใจกั้นระหว่างหัวใจกับเส้นเลือดแดงใหญ่ มีรูปร่างเหมือนจันทร์ครึ่งเสี้ยว ซึ่งจะมีอยู่สามกลีบด้วยกัน


    ส่วนคำถามของคุณจันทร์เจ้าเกี่ยวกับแม่เหล็กเชื่อว่ามันต้องมีคำตอบแน่ว่าทำไมอโลหะถึงไม่เกิดสนามแม่เหล็ก

    ตอนที่หาเรื่องเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ ก็ได้ไปเจอบทความนึงที่เขียนถึงการทดลองที่ทำให้วัตถุที่ไม่เป็นแม่เหล็กสามารถเป็นแม่เหล็กได้ โดยเอาวัตถุสองชนิดมาสัมผัสกัน ก็คือ strontium-titanate (SrTiO<sub>3</sub>) และ lanthane-aluminate (LaAlO<sub>3</sub>)

    ที่เลเยอร์นึงจะเป็นประจุบวก ในขณะที่อีกเลเยอร์นึงจะเป็นประจุลบ ทำให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้า ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นมา

    สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.utwente.nl/nieuws/pers/en/cont_07-035_en.doc/

    ตามความคิดแล้วคิดว่าสารที่เป็นโลหะจะเกิดแม่เหล็กง่ายกว่าเพราะว่าสารพวกโลหะจะมีพันธะโลหะ ซึ่งมีการใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกันของอะตอมของโลหะ โดยที่เวเลนต์อิเล็กตรอนนี้ไม่ได้เป็นของอะตอมหนึ่งอะตอมใดโดยเฉพาะ เนื่องจากมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา ทุกๆอะตอมของโลหะจะอยู่ติดกันกับอะตอมอื่นๆ ต่อเนื่องกันไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้โลหะเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี และการที่เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีนี่เอง ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กได้ง่าย


    ส่วนเรื่องคริสตัล ลองหาดูแล้วจะเจอแต่เวปพวกที่อธิบายถึงพลังคริสตัลในแง่คริสตัลบำบัดซะส่วนมาก ไม่เจอที่เรื่องที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ซักเท่าไหร่ ได้ยินเรื่องพลังคริสตัลมาก็นึกอยู่เหมือนกันว่า คริสตัลเก็บพลังไว้ในรูปแบบไหนและเก็บได้ยังไง

    เอ้อ ส่วนเรื่องที่ว่าเอาคริสตัลไปแยกเมฆเหมือนเคยอ่านเจอจากไหนเหมือนกันประมาณนี้ แต่ว่าไม่ได้ใช้คริสตัล ใช้ความคิดไปเพ่งแยกเอาหรือเปล่าก็จำไม่ได้ ถ้าจำไม่ได้จะเขียนสื่อไปทำนองว่าความคิดเรามีผลต่อสิ่งต่างๆ เอ หรือว่าเป็นหนังสือของ ดร.ที่เขียนเกี่ยวกับการทดลองผลึกน้ำหรือเปล่านะ
     
  20. nova_analai

    nova_analai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    809
    ค่าพลัง:
    +7,489
    อัลบั้มเพลงชุด มนตรา โนวา อนาลัย



    รบกวนฝากคุณ Mead ส่ง link ไปให้คุณชยุตด้วยค่ะ
    พี่นักเขียนเพิ่งจะทำ webpage นี้เสร็จเมื่อวานนี้เอง -
    เป็น iPod รวมอัลบั้มเพลงชุด มนตรา โนวา อนาลัย
    ตอนนี้ใช้รับฟังได้ แต่ยัง download ไม่ได้
    ขอเวลาอีกนิดค่ะ กำลังจะทำให้ download ได้เร็วๆนี้ค่ะ(rose)
    http://www.novaanalai.com/music/music_1.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...