พระดี พิธีใหญ่ รับประกันแท้ทุกรายการ!!! เชิญชม บูชา ในกระทู้ได้เลยครับ"

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย HMMAmulet296, 4 กุมภาพันธ์ 2022.

  1. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +467
    พระดีที่น่าบูชาครับ พระสมเด็จ ฝั่งพลอยแท้ หลวงพ่อใหญ่ วัดโยธานิมิต จ.จันทบุรี ย.ธ รุ่นแรก ปี 2515

    upload_2022-10-6_20-22-25.png

    พระสมเด็จ ฝั่งพลอยแท้ หลวงพ่อใหญ่ วัดโยธานิมิต จ.จันทบุรี ย.ธ รุ่นแรก ปี 2515 พระอธิการสิงห์สร้าง หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส, หลวงพ่อผินะ ปลุกเสก

    (พลอยที่อยู่องค์พระเป็นพลอยเมืองจันทบุรีแท้ ซึ่งหาได้ยากในปัจจุบัน แค่ราคาพลอยก็คุ้มสุดๆ แถมเป็นพระเก่าพิธีสร้างดี น่าใช้มาก )

    “พระมงคลเทพนิมิต” หรือ “หลวงพ่อใหญ่”
    ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดโยธานิมิต
    ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองของค่ายเนินวงค์ (ค่ายทหารเมืองเก่า)
    ต.บางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ปางสมาธิ
    ขนาดหน้าตัก ๔ เมตร หล่อด้วยดินศิลาแลงผสมงบน้ำอ้อย

    ประชาชนนิยมเข้าสักการะหลวงพ่อใหญ่ เนื่องจากเชื่อว่า
    มีเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด จึงมีชาวบ้านและบุคคลทั่วไป
    เดินทางมากราบไหว้จำนวนมากในแต่ละวัน

    เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ เกิดเหตุประหลาดไฟฟ้าลัดวงจร
    เพลิงลุกไหม้หลวงพ่อใหญ่ เผาไหม้ที่ผ้าอังสะ ที่สวมใส่ในองค์หลวงพ่อใหญ่
    ชาวบ้านช่วยกันดับไฟ พอเพลิงสงบ พบว่า
    อังสะที่สวมใส่องค์หลวงพ่อใหญ่ไม่มีร่องรอยไฟไหม้เลย

    มีลูกศิษย์ได้นำอังสะติดตัวไปหลายคน และประสบความโชคดี ค้าขายดี
    บ้างก็มีโชค ตามที่ตั้งจิตอธิษฐานไป และแคล้วคลาดภัยอุบัติเหตุ

    ********************************


    สายตรงเกี่ยวกับพระเครื่อง , ณ วัด โยธานิมิต และ ติดตามข้อมูลการสร้างพระเครื่องของ วัดโยธานิมิต ต.บางกะจะ อ.เมือง จังหวัด จันทบุรี มาโดยตลอด ตั้งแต่ปี ๒๕๑๕ ซึ่งเป็นปฐมฤกษ์โยธานิมิต ซึ่งในครั้งนั้น โดยมี

    ..... หลวงพ่อ คง สุวณฺโณ วัด วังสรรพรส , หลวงพ่อวิมิล หลวงพ่อสำเภา วัดบนร่วมพิธีปลุกเสก และ พระคณาจารย์ของภาคตะวันออก ! ร่วม พุทธาภิเษกหลายรูปซึ่งไม่ขอเอ่ยนาม และ ปี พ.ศ ๒๕๓๗ ก็เป็นพิธีใหญ่อีกครั้งหนึ่งซึ่งมีคณาจารย์มาร่วมปลุกเสก และ อธิฐานจิตนั่งปรกและหนึ่งในนั้น หลวงพ่อ ผินะ ปิยธโร วัด สนมลาว ( วัดไทยงาม ) จังหวัด สระบุรี มาร่วมนั่งปรกอธิฐานจิต และ นำพระเครื่องรุ่นนี้ไปแจกลูกศิษย์ ลูกหา ฯ แต่ส่วนมากไม่ค่อยจะฝั่งพลอยสักเท่าไหร่ และส่วนที่มีทั้งหมดฝั่งพลอยล้อมซุ้ม ซึ่งชาวบ้านนำพลอยมาถวาย ให้ทางวัดเพื่อล้อมซุ้มพระสมเด็จ และ นางพญามีทั้งฝั่งพลอย ๑๑ เม็ด , ฝั่งพลอย ๙ เม็ด , ฝั่งพลอย ๕ เม็ด .. และ ๑ เม็ด ซึ่งเจ้าของพลอยที่นำมาถวายทางวัดก็นำบางส่วนกลับไปบ้างหลังจากพุทธาภิเสกเสร็จ ที่เหลือ

    - พระครูพินิจธรรมประภาส ( เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ) ได้นำมาแจก ! เพราะ ทางวัดไม่มีนโยบายจำหน่าย เพราะทำเพื่อแจกอย่างเดียว ที่พบเจอมาไปขอแบ่งเช่าบูชามาจาก ชาวบ้านที่เก็บสะสมไว้ ผมมารู้คราวหลังพระเครื่องของวัดโยธานิมิต ถูกออกไปต่างประเทศ ( ประเทศ มาเลเซีย , สิงคโปร์ , ฮ่องกง ) จนวงการพระเครื่อง .. เมืองจันท์ จะหาพระสมเด็จล้อมซุ้ม หรือว่า พระนางพญาล้อมซุ้มจะหาสักองค์ก็แสนจะลำบากยากเย็น
     
  2. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +467
    901.พระดีพิธีใหญ่ มวลสารสุดๆครับ พระแก้วมรกต วัดบ้านโป่ง ราชบุรี (พ่อท่านคล้าย/อ.นำ/อ.ทิม/ล.พ.เงิน/ล.พ.น้อย ปลุกเสกฯ) พิธียิ่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดราชบุรี เนื้อว่าน ปี2509 (พิมพ์กรรมการ) ให้บูชา 750 บาท จองแล้วครับ

    upload_2022-10-6_20-27-53.png

    พระแก้วมรกต วัดบ้านโป่ง ราชบุรี พิธียิ่งใหญ่ ที่สุด ในจังหวัดราชบุรี
    เนื้อว่าน ปี2509 มวลสารดี พิธีดีมาก เกจิดังร่วมเสกมากที่สุด

    การจัดสร้างเพื่อทุนบูรณะปฏิสังขรณ์วัดบ้านโป่ง ในการรวบรวมมวลสารต้องใช้เวลากว่า 5 ปี มีมวลสารหลักดังนี้
    ผงว่าน 108, ผงวิเศษจากเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ 108 สำนัก, เกสรดอกไม้ 108,
    ดินหลักเมืองและดินจากสังเวชนียสถาน 4 แห่ง, ดิน 7 โป่ง 7 ท่า, ดอกไม้แห้งจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ 108 แห่ง,
    ผงกรุต่าง ๆ 108 กรุ, น้ำพระพุทธมนต์ 108 โบสถ์ และน้ำมนต์ในพิธี 25 พุทธศตวรรษ

    กระทำพิธีพุทธาภิเษกพระแก้วมรกตวัดบ้านโป่ง ได้ทำอย่างจริงจังถึง 4 ครั้ง ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

    *ครั้งที่ 1 วันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2509 เวลา 10.20 น. คือฤกษ์จุดเทียนชัย
    และมีคณาจารย์นั่งปรกอยู่ 14 รูป เป็นจำนวนตัวเลขมหาจักรพรรดิ

    เจ้าคุณราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม
    หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
    เจ้าคุณอินทเขมาจารย์ วัดช่องลม
    เจ้าคุณพิบูลย์ธรรมวาที วัดปากท่อ
    เจ้าคุณโพธารามคณารักษ์ วัดเฉลิมอาศน์
    พระครูสาธุกิจวิมล วัดหนองดินแดง
    พระครูปราสาทลังวรกิจ (หลวงพ่ออินทร์) วัดโบสถ์
    พระครูปลัดพรหม วัดสัตตนาถปริวัตร
    พระครูอนุรักษ์วรคุณ (หลวงพ่อสง่า) วัดหนองม่วง
    พระครูประสิทธิ์ วัดอุบลวรรณาราม
    พระครูอาจารโสภณ วัดกลางวังเย็น
    หลวงพ่อแก้ว วัดหนองเอี่ยน
    หลวงพ่ออ๊อด วัดโกสินารายณ์
    และหลวงพ่อสำอางค์ วัดท่ากระทุ่ม
    คณาจารย์ทั้งหมดมีสำนักอยู่ในจังหวัดราชบุรีเป็นส่วนใหญ่ มีมาจากนครปฐมกับกาญจนบุรีเพียงองค์สององค์

    **ครั้งที่ 2 วันเสาร์ที่ 10 เดือนปีเดียวกัน 9.30 น. จุดเทียนชัย
    เจ้าคุณเทพลังวรภวิมล วัดเจริญสุธาราม สมุทรสงคราม
    เจ้าคุณสมุทรสุธี วัดช่องลม ราชบุรี
    เจ้าคุณอินทเขมาจารย์ วัดช่องลม
    พระครูโพธาภิรมย์ (วัดบ้านเลือก) ราชบุรี
    เจ้าคุณราชวชิราภรณ์ วัดยาง เพชรบุรี
    พระครูวชิรรังษี วัดมฤคทายวัน เพชรบุรี
    พระครูพรหมวิหารธรรม วัดพรหมวิหาร เพชรบุรี
    พระครูอาจารโสภณ วัดกลางวังเย็น ราชบุรี
    พระครูอาทรวชิรธรรม วัดพลับพลาชัย เพชรบุรี
    พระครูบรรณกิจสุนทร วัดโพธาราม ราชบุรี
    พระครูปลัดพรหม วัดสัตตนาถปริวัตร ราชบุรี
    หลวงพ่อหวล วัดโพธิโสภาราม ราชบุรี
    พระครูอนุรักษ์วรคุณ (หลวงพ่อสง่า) วัดหนองม่วง ราชบุรี
    หลวงพ่ออ๊อด วัดโกสินารายณ์
    พระครูปึก วัดสวนหลวง ราชบุรี
    และหลวงพ่อสำอางค์ วัดท่ากระทุ่ม กาญจนบุรี
    รวมทั้งหมด 17 รูป

    ***ครั้งที่ 3 วันเสาร์ที่ 17 กันยายน เวลา 11.50 น. จุดเทียนชัย

    หลวงพ่อแก้ว วัดป่า(เจ้าคุณวรพตปัญญาจารย์) วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
    พระครูโสภณประชานาถ (หลวงพ่อนาถ) วัดศรีโลหะราษฏร์บำรุง
    หลวงพ่อหลิว วัดสนามแย้ กาญจนบุรี
    หลวงพ่อหอม วัดซากมาก ระยอง
    พระครูสถาพรพุทธมนต์ (หลวงพ่อสำเนียง) วัดเวฬุวัน นครปฐม
    พระครูวิจิตรสารคุณ วัดลาดบัวขาว ราชบุรี
    พระครูสุวรรสาธุกิจ (หลวงพ่อแดง) วัดทุ่งคอกสุพรรณบุรี
    หลวงพ่อหวล วัดโพธิโสภาราม ราชบุรี
    พระครูเมธาธิการ วัดโพธิบัลลังก์ บ้านโป่งราชบุรี
    พระอาจารย์เงิน วัดจันทราม ราชบุรี
    พระครูโพธาภิรมณ์ วัดบ้านเลือก ราชบุรี
    พระอาจารย์ขันธ์ วัดศรีอารีย์ ราชบุรี
    พระครูอนุรักษ์วรคุณ วัดหนองม่วง ราชบุรี
    หลวงพ่อพิมพ์ วัดหุบมะกล่ำ ราชบุรี
    หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ กาญจนบุรี
    พระอาจารย์แสวง วัดหนองหญ้าปล้อง ราชบุรี
    พระครูปลัดพรหม วัดสัตตนาถปริวัตร
    หลวงพ่อทอง วัดหมอสอ กาญจนบุรี
    พระครูบรรณกิจสุนทร วัดโพธาราม ราชบุรี
    และหลวงพ่อสำอางค์ วัดท่ากระทุ่ม
    รวมทั้งหมด 20 รูป

    ****ครั้งที่ 4 วาระสุดท้าย วันที่ 8 ตุลาคม 2509 เวลา 10.30 น.
    พระครูพิศิษย์อรรถการ (พ่อท่านคล้าย) วัดจันดี นครศรีธรรมราช
    พระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ ปัตตานี
    เจ้าคุณวิมลกิจจารักษ์ วัดชนะสงคราม กทม.
    หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
    หลวงพ่อนำ วัดดอนศาลา พัทลุง
    หลวงพ่อเยื้อง วัดชะอวด นครศรีธรรมราช
    หลวงพ่อวัน วัดรัตนาราม พัทลุง
    พระใบฏีกาจำปี วัดโปรตุเกศ ปากเกร็ด นนทบุรี
    พระอาจารย์แสวง วัดหนองหญ้าปล้อง
    หลวงพ่อแง วัดเจริญสุทธาราม สมุทรสาคร
    หลวงพ่อชื้น วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
    เจ้าคุณสมุทรสุธี วัดกลางเหนือ สมุทรสงคราม
    พระครูพิศาลถาวรกิจ วัดบ้านหม้อ ราชบุรี
    พระอาจารย์เล็ก วัดเขาดิน กาญจนบุรี
    พระครูเมธาการ วัดโพธิบัลลังก์, หลวงพ่อสง่า วัดหนองม่วง
    พระครูวรพตธาดา วัดตาลปากลัด ราชบุรี
    พระครูวราภิวัฒน์ วัดบ้านม่วง ราชบุรี
    หลวงพ่อหลิว วัดสนามแย้ กาญจนบุรี
    พระครูบรรณกิจสุนทร วัดโพธาราม
    หลวงพ่อแก้ว วัดหนองเอี่ยม
    หลวงพ่อหวล วัดโพธิโสภาราม
    พระครูล้น วัดหัวหิน ราชบุรี
    และหลวงพ่อสำอางค์ วัดท่ากระทุ่ม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2022
  3. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +467
    902. เหรียญสังเวชนียสถาน ปี2513 อาจารย์ฝั้น อาจาโร ปลุกเสกพร้อมเกจิสายกรรมฐาน ให้บูชา 899 บาท


    upload_2022-10-7_9-20-35.png


    คุณธัมมา อารีราษฎร์ ผู้มีปณิธานแรงกล้าที่จะนำพุทธศาสนิกชนไทย ได้ไปรู้จัก เห็นสถานที่จริง อันเป็นถิ่นกำเนิดพุทธศาสนา เพื่อน้อมนำให้เกิดศรัทธา และมุ่งปฏิบัติธรรม
    คุณธัมมาได้บวชถึง 18 พรรษา และช่วงหนึ่งได้มีส่วนร่วมนำพระประธานไปประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดไทยพุทธคยา และได้ริเริมสร้างวัดไทยหลายแห่งในสังเวชนียสถาน 4 ตำบล
    เมื่อลาสิกขาแล้ว จึงมุ่งมั่นส่งเสริมพระพุทธศาสนา ปลูกฝังความศรัทธาแก่ชาวไทยด้วยการนำคนไปนมัสการพุทธสังเวชนียสถาน นับตั้งแต่ พ.ศ.2512 เป็นต้นมา
    เมื่อปี พ.ศ.2513 คุณธัมมา อารีราษฎร์ ได้จัดสร้างเหรียญ สังเวชนียสถาน 4 ตำบล เพื่อเป็นที่ระลึกแก่คณะผู้ไปแสวงบุญนมัสการพุทธสังเวชนียสถาน โดยได้ขอเมตตาจากพระเกจิชื่อดังสมัยนั้นอธิษฐานจิต
    อาทิเช่น ลป.โต๊ะ, ลป.ฝั้น เป็นต้น
     
  4. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +467
    903.แรไอเทม เหรียญ รุ่น เจริญพร เนื้อเงินลงยาสีธงชาติ หลวงพ่อทอง วัดสำเภาเชย จ.ปัตตานี ปี 2554 ให้บูชา 2200 บาท

    upload_2022-10-7_9-50-13.png

    upload_2022-10-7_10-11-56.png

    เหรียญเจริญพรบน หลวงพ่อทอง วัดสำเภาเชย จ.ปัตตานี หลังยันต์กำเนิดเก้ายอดหลวงพ่อทอง ลงยาลายธงชาติ เนื้อเงิน ปี 2554 สร้างแค่ 1999 เหรียญ

    “พระศีลมงคล” หรือที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า “พ่อท่านทอง สีลสุวัณโณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดสำเภาเชย อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี พระเกจิดังเมืองปัตตานี ที่ประชาชนในพื้นที่ให้ความเลื่อมใสศรัทธา
    มีลิ้นดำที่ติดตัวท่านแต่กำเนิด ด้วยตามตำราโบราณถือว่าผู้มีลิ้นดำมีวาจาศักดิ์สิทธิ์ สามารถกำราบคุณไสย
    ด้วยเหตุนี้จึงได้รับนิมนต์ร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลแทบทุกงาน
    อีกภาพหนึ่งท่านเป็นพระของชาวบ้าน รอบรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในอำเภอปะนาเระ และแก้ได้ถูกจุด
    เป็นลูกชาวปัตตานีโดยกำเนิด เกิดในตระกูลศรีชาติ มีใจฝักใฝ่ในพระศาสนามาแต่ครั้งเยาว์วัย จนกระทั่งเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ที่พัทธสีมาวัดดอนตะวันออก เมื่อพ.ศ.2482 ได้รับฉายาว่า สีลสุวัณโณ แปลว่าผู้มีศีลงดงามดั่งทอง
    ต่อมาปีพ.ศ.2487 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสำเภาเชย จนถึงปีพ.ศ.2494 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นเจ้าคณะตำบล พ.ศ.2509 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอปะนาเระ พ.ศ.2543 ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์เจ้าคณะอำเภอปะนาเระ
    พ.ศ.2497 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ “พระครูพินิตนรัญญู” พ.ศ.2545 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ที่ “พระศีลมงคล”
    อุปนิสัยเป็นพระเรียบง่าย พูดน้อย แต่ทำงานเยอะ โดยเฉพาะงานด้านการศึกษาที่ท่านสนับสนุนส่งเสริมเต็มที่ โดยบริจาคที่ดินให้จัดตั้งโรงเรียนวัดสำเภาเชย ซึ่งทำการสอนในระดับมัธยมศึกษา ม.1-ม.3 (ป.5-ป.7 เดิม) ตั้งแต่พ.ศ.2499 ปัจจุบันได้ยุบรวมกับโรงเรียนบ้านปะนาเระ
    ต่อมาได้จัดตั้งโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมประจำศาสนศึกษาขึ้นในวัดสำเภาเชย แผนกธรรมประจำสนามสอบวัดสำเภาเชย อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี
    เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาแก่เด็กที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ท่านจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ.2525
    ในฐานะเจ้าอาวาสวัดสำเภาเชย พัฒนาวัดโดยจัดสร้างอาคารเสนาสนะต่างๆ ภายในวัด เช่น อุโบสถ หอฉัน ศาลาอเนกประสงค์ ศาลาที่พัก ซุ้มประตู และกำแพงวัด ปรับบริเวณสถานที่ให้มีความร่มรื่น สวยงาม
    จนได้รับการยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง จากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ในปีพ.ศ.2525 และเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่นในปีพ.ศ.2544
    นอกจากนี้ ยังได้สร้างและปรับปรุงเสนาสนะแก่วัดต่างๆ อีกด้วย คือ สร้างอุโบสถวัดโพธาราม สร้างตึกสงฆ์หลวงปู่ทวด ในโรงพยาบาลปะนาเระ สร้างอุโบสถวัดดอนตะวันออก สร้างอาคารอเนกประสงค์ หมู่ที่ 4 บ้านคลองต่ำ ตำบลปะนาเระ
    รวมทั้งเพื่อให้พระภิกษุ-สามเณรมีกำลังใจ ท่านให้ทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรที่ไปศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ที่กรุงเทพฯ เป็นเวลากว่า 10 ปี
    อีกทั้งยังมอบเครื่องเขียนแบบเรียนแก่พระภิกษุสามเณรที่ศึกษาพระธรรมวินัย ทั้งวัดสำเภาเชยเอง และวัดในอำเภอปะนาเระด้วย
    มีโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนทุกปี เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และเปิดโอกาสให้เด็กเยาวชนได้ ใกล้ชิดกับวัดมากยิ่งขึ้น
    ในฐานะเจ้าคณะอำเภอปะนาเระท่านมีส่วนช่วยเหลือจัดสร้างดำเนินการสาธารณูปโภค ร่วมกับประชาชนและราชการพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญรุดหน้าอย่างต่อเนื่อง อาทิ สร้างศาลาที่พักริมทางในตำบลปะนาเระหลายแห่ง ตัดถนนลัดจากหมู่บ้านคลองต่ำถึงตลาดอำเภอปะนาเระ สร้างถนนจากหมู่บ้านมะรวดขึ้นไปยังสถูปเจดีย์หลวงพ่อหนอน ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขามะรวด จัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาแก่เด็กนักเรียนในอำเภอปะนาเระที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
    และเผยแผ่ สร้างความเจริญแก่ชุมชนและเป็นคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา เช่น อบรมศีลธรรมแก่เยาวชนในช่วงปิดภาคเรียน จัดอบรมกรรมฐานแก่ประชาชน จัดพิมพ์หนังสือธรรมะเพื่อเผยแพร่ผลงานที่ท่านได้ทำ เพื่อเป็นอนุสรณ์ทิฏฐานุคติแก่อนุชนรุ่นหลัง
    ทำให้ท่านเป็นผู้รับรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ประเภทส่งเสริมการพัฒนาชุมชน และสงเคราะห์ประชาชนโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สาขาส่งเสริมการพัฒนาชุมชน ประจำปี 2540
    ละสังขารอย่างสงบด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2554 สิริอายุ 93 ปี พรรษา 7
     
  5. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +467

    upload_2022-10-7_19-15-2.png
     
  6. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +467
    904.สุดยอดพระดี มวลสารศักสิทธิ์ ดีทางค้ำคูณ เมตตา พระสมเด็จพิมพ์นาคปรก หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพ จ.นครพม ผสมมวลสารศักดิ์สิทธิ์ ผงพุทธคุณ, น้ำมันงาเสก, ผงบางขุนพรหม และผงโสฬสมหาพรหม ของหลวงปู่ศรีทัต พระอาจารย์ของท่าน ปี 2500 ปิดรายการครับ


    upload_2022-10-7_20-38-46.png
    พระชุดเนื้อผงหลวงปู่จันทร์ เขมิโย
    วัดศรีเทพประดิษฐาราม จ.นครพนม ปี 2500 เนื้อหามวลสารดีมากๆ เนื่องจากมีเนื้อพระสมเด็จบางขุนพรหม ที่แตกหักและผงโสฬสมหาพรหม หลวงปู่ศรีทัต วัดท่าดอกแก้ว อ.ท่าอุเทน อันโด่งดัง ผสมอยู่ด้วย ซึ่งพระเนื้อผงของหลวงปู่ จะออกสีขาวอมเหลืองนวลอ่อนๆ พระที่จัดสร้างในชุดนี้ มีมวลสารสุดยอดหลายอย่าง
    อาทิเช่น
    ๑.ผงพุทธคุณของหลวงปู่จันทร์ เขมิโย
    ๒.น้ำมันงาเสกของหลวงปู่จันทร์ เขมิโย
    ๓.ผงของพระสมเด็จบางขุนพรหม
    ๔.ผงโสฬสมหาพรหม ของหลวงปู่ศรีทัต พระอาจารย์ของท่าน
    ( ผงนี้เป็นมวลสารเดียวกับพระผงชุดโสฬสมหาพรหมของหลวงปู่ทิมแห่งวัดละหารไร่ )

    ขั้นตอนการลบผงโสฬสมหาพรหม นี้ หลวงปู่ศรีทัต ได้ใช้เวลาในการสร้างถึง 1 ปี การลงผงโสฬสนั้นต้องลงด้วยอักขระตัวขอม เป็นกลยันต์โดยภาวนาจากจากตัต้นจนถึงตัวสุดท้าย ผูกสลับเป็นกลยันต์ 16 มุมในแต่ละมุมแบ่งเป็น 16 ชั้น แต่ละชั้นลงอักขระ 16 ช่อง อักษรในแต่ละตัวแต่ละช่อง ต้องลบถม เรียกสูตร 16 คาบ ผูกอธิษฐานเสกครบถือเป็น 1 ครั้งและต้องทำแบบเดียวกันครบ 16 ครั้ง แล้วรวบรวมผงที่เสกทั้ง 16 ครั้งมาอธิษฐานจิตตามตำราจนครบถ้วนตามฤกษ์แล้วจึงนำผงมาลูบในกระดานบังเกิด เป็นอักขระยันต์โสฬสมหาพรหมโดยไม่ได้เขียนจึงจะถือว่าสำเร็จสมบูรณ์ใช้ได้ผง ที่ได้นี้ครบตามสูตร เชื่อกันว่าเทพเทวะทั้ง 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน 14 บาดาล21 ชั้นพรหมต่างๆ ทุกพระองค์ จะลงมาอนุโมทนาอำนวยพรให้ผงวิเศษนี้จึงมีอานุภาพแรง ทรงความขลังศักดิ์สิทธิ์
    ผู้ที่บูชาพระพิมพ์ชุดนี้ติดตัว ต่างประสบกับเหตุอัศจรรย์ต่างๆมากมาย ทั้งด้านหนุนดวงชะตา เมตตาค้าขาย.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2022
  7. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +467
    905. พระดีแห่งเมืองกรุงเก่า พระนาคปรกสุริยะมงคลมุนีปี2496 หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ จ.อยุธยา ให้บูชา 1250 บาท

    upload_2022-10-7_20-54-49.png

    upload_2022-10-7_20-54-55.png

    upload_2022-10-7_20-55-1.png
    ผสมมวลสารพระกรุเก่า เช่น พระขุนแผนเคลือบ พระขุนแผนใบพุทรา วัดใหญ่ชัยมงคล พระกรุวัดตะไกร พระโคนสมอ หลวงพ่อโต บางกระทิง พระหลวงพ่อปาน ผสมผงวิเศษของหลวงพ่ออั้น และหลวงพ่อกลั่น
    เกจิอาจารย์ที่มาร่วมปลุกเสกเช่น
    หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
    หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
    หลวงปู่สี วัดสะแก
    สำหรับพระปรกสุริยมุนี หลวงพ่ออั้นท่านได้สร้างวัตถุมงคลในหลายๆ แบบหลายพิมพ์ เช่น ขุนแผนเคลือบก็มี เหรียญก็มี พระหล่อโบราณก็มี พระเนื้อดินเผา หรือพระผง ส่วนพิมพ์พระปรกสุริยมุณีนี้ท่านสร้างเอาไว้ประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นพระแบบเนื้อดินเผาหรือแม้แต่เนื้อชินก็มีครับ และในแบบดินเผานั้นองค์จะหนา ล่ำ มีรูใต้ฐานซึ่งบางองค์จะมีการอุดด้วยปูนเสก(เหมือนพระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ที่โด่งดัง) โดยในมวลสารเนื้อดินเผาท้องนาของท่านจะผสมดินของพระกรุเก่าที่ชำรุด เช่น พระขุนแผนวัดใหญ่ชัยมงคล พระหลวงพ่อโตวัดบางกระทิงและพระอีกหลายๆ กรุของอยุธยา จัดเป็นพระดีพุทธคุณสูงมาก การจัดสร้างตามตำราโบราณ

     
  8. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +467
  9. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +467
    906.สุดยอดพระดี พิธีใหญ่ มวลสารเยี่ยม ครับ พิธีเดียวกับพระผงมงคลมหาลาภ พระประจำวันเสาร์ (ปางนาคปรก) แม่ชีบุญเรือน วัดอาวุธ บางพลัด กรุงเทพฯ เนื้อผงใบลาน (นิยม) พบเจอน้อย พิธีมงคลมหาลาภ วัดสัมพันธวงศ์ จัดสร้างในปี พ.ศ. 2499 คุณแม่บุญเรือนอธิษฐานจิต (ลพ.ลี/พระอาจารย์ฝั้น/ลป.ตื้อ/พระอาจารย์วัน ร่วมปลุกเสก ปิดรายการครับ


    upload_2022-10-8_13-31-40.png

    พิธีพุทธาภิเษกที่วัดสัมพันธวงศ์ นั้นในวันที่ 3 มีนาคม 2499 มีพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมมานั่งปรกจำนวนมากเช่น หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อลีวัดอโศการามพระอาจารย์นอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา หลวงพ่อสด วัดโพธิ์แดงใต้ พระอาจารย์แฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี พระครูวินัยธร เฟื่อง พระอาจารย์สะอาด วัดสัมพันธวงศ์ หลวงพ่อเฮี้ยง วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี ฯลฯ

    พิธีพุทธาภิเษกที่วัดสารนาถธรรมาราม นั้นพระราชรัชมงคลโกวิท เจ้าอาวาสวัดสารนาถธรรมารามจ.ระยอง เคยไว้เล่าว่า พิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ พระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่นภูริทตโต กว่าร้อยรูป มี พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์วัน อุตตโม พระอาจารย์ลีวัดอโศการาม เป็นต้น ทำพิธีนั่งปรกพุทธาภิเษกพระประธาน และพระเครื่องต่าง ๆมีพระมงคลมหาลาภ พระพุทโธน้อย เป็นต้น โดยทำพิธี 18 วัน 18 คืนท่านเล่าต่ออีกว่าในชีวิตที่ท่านเกิดมา ยังไม่เคยเห็นพิธีพุทธาภิเษกที่ไหนใหญ่โตเท่าครั้งนี้อีกเลยในพิธีนี้แม่ชีบุญเรืยนได้อธิษฐานจิตร่วมอยู่ในพิธีด้วย

    ซึ่งในพิธีการครั้งนี้ได้มีการประกอบพิธีบรรจุพุทธมนต์เป็นพิเศษที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งยังไม่เคยเห็นทำที่ไหน คือจัดที่บูชาพร้อมเครื่องสังเวยต่างๆมีเทียนธูป ข้าวตอก ดอกไม้ ๗ สี และอาหารผลไม้ถึงอย่างละ ๓๗๕ ที่ มีเบญจา มีเศวตฉัตร ๙ ชั้น สูง ๖ ศอก ๘ ต้น บายศรีเงิน บายศรีทอง ๙ ชั้น สูง ๖ ศอกอย่างละ ๘ ต้น การบรรจุพระพุทธมนต์ลงไปในน้ำมนต์ และผงที่จะนำมาสร้างพระเครื่องนั้นด้วย

    พระเครื่องที่จะทำพิธีปลุกเสกนั้น ห่อด้วยผ้าขาว ๗ ชั้น ผ้าเขียว ๗ ชั้น พิธีนอกนั้นเหมือนเมื่อบันจุมนต์ลงในผงแลน้ำที่จะสร้างพระ ตั้งน้ำมนต์สำหรับแจกผู้ต้องการซึ่งมาร่วมพิธี ๔๐ ตุ่ม แต่ไม่ได้กล่าวถิ่นผงที่นำมาประสมสร้างพระนั้นว่ามีอะไรบ้าง มีผู้สนใจต้องการทราบอยู่เป็นจำนวนมา จึงสมควรเขียนประวัติ เนื่องด้วยผงที่นำมาประสมสร้างพระเครื่องนั้น ให้ท่านทราบไว้ด้วย ดังต่อไปนี้

    ๑. ผงขอจากพระอาจารย์ต่างๆ ที่ท่านทำและรวบรวมไว้หลายวัด เช่นวัดพระเชตุพน วัดตรีทศเทพ วัดสัมพันธวงศ์ ฯลฯ ผงแป้งที่ทำแลผงจากพระของเก่าบ้าง
    ๒.ผงพระที่ทำด้วยว่านต่างๆ ที่นิยมว่าเป็นมงคลศักดิ์สิทธิ์ ๑๐๘ อย่าง ทำจากดอกไม้บูชาพระต่างๆ ๑๐๘ อย่าง
    ๓. ผงที่ทำด้วยดินจากท่าน้ำ ๗ ท่า และจากสระน้ำ ๗ สระ
    ๔. ผงที่ทำด้วยเอาคัมภีร์เก่าๆ ทั้งใบลานแลสมุดข่อยมาเผาบด ตั้งแต่หมายเลข ๑ ถึง ๕ นี้ประสมสร้างพระผงรุ่นก่อน แล้วเอาบดผสมเข้ากัน กับผงใหม่ที่นำมาเข้าพิธีนี้ด้วย
    ๕. ผงที่ได้จากดินที่สังเวชนียสถาน แห่งในอินเดียคือ ๑ ดินที่ลุมพินีระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และเทวทหะ ซึ่งเป็นที่ประสูดของพระพุทธเจ้า ๒ ดินที่มหาโพธิพุทธคยาที่ตรัสรู้ ๓ ดินทีสารนาถ มฤคทายวัน เมื่องพาราณสี ซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักร ๔ ดินที่กุสินนาราซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
    ๖. ดินจากสถานที่สำคัญอีก ๙ แห่ง คือดินจากสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จเสวยวิมัติสุข ๗ แห่ง ปริเวณพุทธคยา มีที่รัตนะจงกลม แลที่สระมุจลินเป็นต้น แลดินที่พระคัณธกุฏีที่ประทับของพระพุทธเจ้าบนเขาคิชกูฏ (เมืองราชคฤห์) ๑ ดินที่พระคันธกุฏีที่ประทับในเมืองสาวัตถี ๓ ซึ่งพระครูสุภารพินิจ (โทน สุขพโล) วัดสัมพันธวงศ์ ได้ไปนมัสการปูชนียสถานนั้นๆ และได้นำมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ ผู้ที่มีพระเครื่องแบบพุทธมงคลมหาลาภ พระแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นต้นไว้บูชา เป็นอันได้ระฃึกถึงแลบูชา สังเวชนัยสถานด้วย
    ๗. ผงปูนขาวหินราชบุรี
    ๘. ผงปูนซิเมนต์ขาว และนอกจากนี้ ก็ยังมีดินเหนียวอย่างดี สีเหลือง แลน้ำอ้อยเป็นต้น

    ผงเหล่านี้นั้น ประสมกันมากบ้างน้อยบ้าง แล้วบดให้ละเอียดแร่งกรองด้วยผ้าป่าน สำเร็จเป็นผงที่จะสร้างพระเครื่อง ใช้น้ำมนต์ที่ทำไว้นั้นประสมกับของที่จะทำพระให้พระมีคุณภาพดี สวยงามทนทาน ศักดิ์สิทธิ์ต่อไป ประสมผงพิมพ์เป็นรูป พระพุทธมงคลมหาลาภ บ้างสมเด็จบ้าง

    ส่วนพระเครื่องอื่นสร้างด้วยดินประสมผงเผาแล้วนำมา เข้าพิธีปลุกเศกในคราวเดียวกันกับพระพุทธมงคลมหาลาภเสร็จพิธีแล้วแจกจ่ายในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี พร้อมด้วยพระอัครสาวก ในการต่อมา พระเครื่องเหล่านี้ เมื่อแจกจ่ายแก่ผู้จำนงในงานผูกพัทธสีมา อุโบสถวัดสารนาถธรรมารามแล้ว ก็จะได้จัดการทำพิธีบันจุในอุโบสถ หรือเจดีย์ตามควร เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่วัดสารนาถธรรมาราม อันเป็นมหาปูชนียสถานในกาลต่อไปฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2022
  10. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +467
    907. พระสมเด็จ มงคลมหาลาภ หลังเรียบ พิมพ์ใหญ่ ปี 2499 คุณแม่บุญเรือนอธิษฐานจิต (ลพ.ลี/พระอาจารย์ฝั้น/ลป.ตื้อ/พระอาจารย์วัน ร่วมปลุกเสก) ปิดรายการครับ


    upload_2022-10-8_13-41-14.png

    upload_2022-10-8_13-41-57.png
    พระสมเด็จมงคลมหาลาภ พิมพ์เล็ก หลังเรียบ เนื้อผงโสฬสมหาพรหม พ.ศ.2499 แม่ชีบุญเรือนอธิษฐานจิต
    สร้างเป็นที่ระลึกในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี ซึ่งสร้างที่วัดสัมพันธวงศ์ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ วัดสารนาถธรรมราม อ.แกลง จ.ระยอง พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา เมื่อวันที่ 5-31 มีนาคม 2499 พระรุ่นนี้ ปลุกเสกคณาจารย์หลายท่านเช่น
    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล
    หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม
    หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
    หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม ฯลฯ

    ทั้งนี้ ยังได้รับการปลุกเสกซ้ำอีกครั้งที่วัดสารนาถธรรมาราม จ.ระยองโดยนิมนต์พระสายระยอง และสายกรรมฐานเช่น
    หลวงพ่อโต วัดเขาบ่อทอง
    หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่
    หลวงพ่อลี วัดป่าคลองกุ้ง
    อาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ฯลฯ
    โดย ทั้งหมดเพื่อจัดสร้างและสมโภชน์พระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี ซึ่งแม่ชีบุญเรือน เป็นประธานจัดสร้างและคุมงานเอง และยังอธิษฐานธรรมให้กับพระเหล่านี้อีกด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2022
  11. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +467

    upload_2022-10-8_20-39-13.png
     
  12. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +467
    908.พระดีที่น่าบูชา พระสมเด็จ รุ่นอุดมความสุข ปี40 หลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย ติดจีวร เกศา ให้บูชา 550 บาท จองแล้วครับ

    IMG_25651009_063738.png
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2022
  13. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +467
    909.พระปิดตาลอยองค์เนื้อผงพุทธคุณ ผสมผงยาวาสนาจินดามณี หลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา ให้บูชา 750 บาท

    upload_2022-10-9_14-37-41.png

    พระปิดตาลอยองค์เนื้อผงพุทธคุณ ผสมผงยาวาสนาจินดามณี หลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา อดีตพระเกจิอาจารย์เรืองนาม เรืองเวทวิทยาคมแห่งเมืองสมุทรสาคร จัดสร้างและปลุกเสกสร้างเมื่อปี 2530
    * หลวงพ่อทองอยู่นับเป็นพระเถราจารย์อาวุโส แก่กล้าเชียวชาญสำเร็จวิชาทำผงยาวาสนาจินดามณี ซึ่งเป็นวิชาตำรับเดียวกันกับของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ผู้เป็นหลวงลุงของท่าน
    * พระปืดตาลอยองค์นอกจากจะจัดสร้างด้วยผงพุทธคุณ มวลสารว่านวิเศษมากมาย ยังได้เพิ่มกฤตยานุภาพด้วยการนำผงยาจินดามณีผสมใว้ด้วย นับเป็นพระดีเกจิอาจารย์ดัง พระเก่าเข้มขลังราคาเบา ควรค่าแก่การมีไว้สะสมหรือบูชาอย่างยิ่ง
     
  14. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +467
    910. พระดีแห่งเมืองกรุง พระซุ้มกอ(พิมพ์ใหญ่) หลวงพ่อพ่วง วัดกก พ.ศ.๒๔๗๓ ปิดรายการครับ

    upload_2022-10-9_17-33-38.png

    upload_2022-10-9_17-33-59.png

    upload_2022-10-9_17-34-21.png


    หลวงพ่อพ่วง อดีตเจ้าอาวาสวัดกก บางขุนเทียน
    พระเถราจารย์ร่วมยุคสมัยเดียวกับ ท่านเจ้าคุณเฒ่า(เอี่ยม) วัดหนัง และ หลวงปู่ไหล่ วัดกำแพง
    ท่านเป็นพระเถราจารย์ทรงคุณวิเศษเป็นอย่างมาก
    มีศีลาจารวัตรที่งดงาม เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เชี่ยวชาญด้านวิปัสนาธุระ และเป็นผู้ทรงเวทวิทยาคมอันแก่กล้าไม่เป็นสองรองไครในยุคนั้นเลยทีเดียว
    นอกจากนี้ ท่านยังเป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ เช่นเดียวกับ หลวงปู่เจ้าคุณเฒ่า(เอี่ยม) วัดหนัง
    ซึ่งในยุคนั้น ย่านฝั่งธนบุรี มีพระอุปัชฌาย์ เพียงแค่ ๒ รูปนี้เท่านั้น จึงกล่าวได้ว่า หลวงพ่อพ่วง ท่านเป็นพระอาจารย์องค์สำคัญอีกหนึ่งรูปเลยทีเดียว

    #การจัดสร้าง
    หลวงพ่อพ่วงได้นำดินเหนียวจากบางบัวทองจังหวัดนนทบุรี เอามาผสมกับผงวิเศษซึ่งท่านจารสูตรสนธิขึ้นอันมี ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงปถมัง ผงมหาราช และผงพุทธคุณ ซึ่งหลวงพ่อพ่วงท่านชำนิชำนาญทางจารสูตรต่างๆ เหล่านี้มาก
    นอกจากนี้ยังผสมด้วยสมุนไพรและว่านต่าง ๆ แร่บด ตลอดจน ปากเหยี่ยว ปากกา เขี้ยวเสือ เล็บเสือ งาช้าง (เป็นของจริงๆ) นำมาบดผสมลงไปด้วย
    จำนวนการจัดสร้างนั้น
    ท่านตั้งใจจะสร้างให้ได้ 84000 องค์

    ........ เมื่อกดพิมพ์เสร็จแล้วท่านได้นำเข้าเผาโดยสุมแกลบที่ลานวัด
    ขณะเผาท่านจะไปเฝ้าบริกรรมปลุกเสก แสดงว่าท่านต้องการแผ่พลังจิตลงไปขณะพระได้รับความร้อน เป็นการหนุนเตโชธาตุ ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน สุพรรณบุรี ซึ่งปลุกเสกขณะพระกำลังเผาเช่นกัน หลังจากเผาแล้ว จึงได้นำเข้าปลุกเสกภายในอุโบสถวัดกก เป็นเวลานานหลายพรรษา ท่านปลุกเสกอยู่ตลอดแทบทุกวันหลังจากทำวัตรสวดมนต์ในพระอุโบสถตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 จนถึง ปี พ.ศ.2479 รวมแล้วได้ 6 ปีเต็ม

    ........เนื่องด้วย มีผู้รับพระเนื้อดินที่ท่านแจกเป็นลองยิง แล้วปรากฎว่ายิงไม่ออก จึงเป็นเหตุให้ผู้อยากรู้อยากลองกระทำกันเป็นวงกว้าง หลวงพ่อพ่วงท่านทราบข่าว เห็นไม่เป็นการอันควร จึงให้เก็บพระเนื้อดินที่ยังไม่แจกทั้งหมด ขึ้นเป็นเพดานโบถส์

    เรื่องความศักดิ์สิทธิ์ในวัตถุมงคลของ หลวงปู่พ่วง นั้นเป็นที่กล่าวขานกันมากในสมัยนั้นถึงเรื่องมหาอุดคงกระพัน และโดยเฉพาะทางด้านเมตตามหานิยม หลวงพ่อพ่วงวัดกกท่านนี้ยังเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง และหลวงพ่อไปล่ยังได้ไปเรียนวิชาจากหลวงพ่อพ่วงอีกด้วย ขนาดหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังยังยกย่องว่า "พระอุปัชฌาย์พ่วง วัดกก องค์นี้แหละท่านเก่งจริงๆ"
    นายเยื้อน บุญฟัก อายุ ๘๑ ปี เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า คราวหนึ่งคุณแม่ของแกเองชื่อนางแปลก ป่วยหนักจึงนำตัวไปรักษาที่ “บ้านหมอไหม” ย่านบางมดนานหลายวันอาการกลับ “ทรุดลง” ไม่ดีขึ้นเลยวันหนึ่ง “นายเยื้อน” เดินผ่านกุฏิ “หลวงปู่พ่วง” ท่านเห็นจึงเรียกให้ขึ้นไปหาแล้วบอกว่า “ต้องเปลี่ยนหมอที่รักษาคุณแม่ใหม่แล้วจะหาย ไม่เช่นนั้นแม่แกตายแน่” เมื่อได้ยินเช่นนั้น “นายเยื้อน” รีบไปรับ “คุณแม่” จากบ้าน “หมอไหม” โดยอุ้มลงเรือพาไปหา “หมออ่ำ ปากคลองบางกระแนะ” ซึ่งพอไปถึง “หมออ่ำ” ก็ทำการรักษาไม่นานอาการก็ “ดีขึ้น” กระทั่งหายเป็นปกติตั้งแต่นั้นมา “นายเยื้อน” จึงเพิ่มความเคารพนับถือ “หลวงพ่อพ่วง” มากขึ้นมักบอกใครต่อใครว่า “หลวงพ่อพ่วงท่านแน่จริงไม่ต้องถามอะไรเลย ท่านก็ล่วงรู้ได้แจ่มแจ้งเหมือนตาเห็นแสดงว่าญาณของท่านสูงยิ่งนัก” ต่อมาทางคณะสงฆ์พิจารณาเห็นว่า “หลวงพ่อพ่วง” เป็นพระเถระที่ชาวบ้านเคารพนับถือและมีศีลาจารวัตรดียิ่ง สามารถปกครองพระให้มีระเบียบเรียบร้อย จึงแต่งตั้งให้เป็น “พระอุปัชฌาย์พ่วง” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ซึ่ง ขณะนั้นท่านมีพรรษาได้เพียง ๒๐ พรรษาเท่านั้นเพราะสมัยนั้นพระอุปัชฌาย์ มิใช่จะตั้งกันได้ง่าย ๆ เพราะช่วงนั้นบางขุนเทียน มีเพียงรูปเดียวคือ “หลวงปู่เอี่ยม” หรือ “เจ้าคุณเฒ่าวัดหนัง” ต่อมาจึงมี “หลวงพ่อพ่วง” เพิ่มอีกเป็น ๒ รูป ดังนั้นสมัยที่ “หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง” ทำการบวชก็มี “หลวงพ่อ” เป็นพระกรรมวาจาจารย์และหลังบวชแล้ว ก็ได้ศึกษาทางด้านวิปัสสนาและพุทธาคมจาก “หลวงพ่อพ่วง วัดกก”
    อีกเรื่องที่ต้องเล่าให้ฟังคือ “พระอรุณ อรุโณ” สมัยเด็กก็บวชอยู่ที่ “วัดกก” จึงได้เป็น “ลูกศิษย์” ของ “หลวงพ่อพ่วง” เล่าว่า “หลวงพ่อพ่วงเป็นพระที่เคร่งมาก ไม่เคยจับเงินเลย ใครถวายท่านก็ให้ศิษย์เก็บเอาไว้ไม่แตะต้องทั้งสิ้น มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านไปสวดมนต์ฉันเพลที่บ้านญาติโยมซึ่งเอาเรือมารับ พอท่านลงจากกุฏิไปแล้วลูกศิษย์ก็ออกจากกุฏิใส่กุญแจ ซึ่งกุญแจนั้นสามารถกดเข้าไปก็ล็อกได้แต่วันนั้นเมื่อล็อกแล้ว ปรากฏว่าลืมลูกกุญแจไว้ในกุฏิ ดังนั้นเมื่อ “หลวงพ่อพ่วง” กลับจากกิจนิมนต์จึงเข้ากุฏิไม่ได้แต่ท่านก็มิได้ว่ากล่าวใด ๆ สั่งให้ลูกศิษย์ไปหิ้วของที่ท่าน้ำครั้นลูกศิษย์กลับมาก็พบว่า “หลวงพ่อ” เข้าไปอยู่ในกุฏิแล้วโดยที่ประตูกุฏิยังคงปิดอยู่เช่นเดิม ซึ่งเรื่องนี้สร้างความสงสัยให้กับ “พระอรุณ อรุโณ” เป็นอย่างยิ่งแต่ก็ไม่กล้าถามเพราะทราบดีอยู่ก่อนแล้วว่า “หลวงพ่อ” มีวิชาอาคมเข้มขลัง อีกเรื่อง “หลวงพ่อน้อม” อดีตเจ้าอาวาสวัดกกเล่าให้ผู้คนฟังขณะ หลวงพ่อพ่วง สร้าง “พระเนื้อดิน” ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ นั้น “นายจง พึ่งพรหม” ซึ่งเป็นช่างแกะแม่พิมพ์เดินผ่านมาหลวงพ่อจึงเรียกแล้วบอกว่า “ให้ไปดู นายตู้ พึ่งพรหม น้องชายที่บ้านซิว่ายังอยู่ดีหรือ” นายจงได้ยินจึงรีบไปดูปรากฏว่า “นายตู้” ผู้น้องชายกำลังเจ็บไข้ไม่สบายจึงกลับมาบอกหลวงพ่อซึ่งท่านก็ไม่ว่ากระไรแต่ พอวันรุ่งขึ้น “นายตู้” ก็เสียชีวิต “หลวงพ่อ” จึงได้แต่บอกว่า “เขาหมดอายุแล้ว” ซึ่งเรื่องนี้ “หลวงพ่อน้อม” เล่าว่าได้ยินมากับหูของท่านเองจึงแสดงว่า “หลวงพ่อพ่วง” มีญาณวิเศษหยั่งรู้กาลชะตาของคนอื่นได้เหมือนตาเห็นนอกจากนี้ “พระอรุณ อรุโณ” ยังพูดถึงมงคลวัตถุของหลวงพ่อพ่วงว่า “พระเนื้อดินเผา” ของ หลวงพ่อพ่วง วัดกก มีพุทธคุณเยี่ยมมีคนได้รับประสบการณ์กันมากมายนับไม่ถ้วน
    “คุณปู่เยื้อน บุญฟัก” เป็นอีกผู้หนึ่งที่รู้เห็นเรื่องอภินิหารของ “หลวงพ่อพ่วง วัดกก” โดยได้เล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่า “คราวหนึ่งหลวงพ่อพ่วง” ไปงานสวดสดับปกรณ์ครั้นสวดจบในหลวง “รัชกาลที่ ๕” ทรงถวายเงินที่ห่อด้วยผ้าให้ท่านโดยที่ หลวงพ่อพ่วง ไม่รู้ว่าในห่อผ้านั้นเป็นเงินจึงไปหยิบ แต่เมื่อมารู้ภายหลังท่านรีบยกเงินห่อนั้นให้ “ปู่เยื้อน” ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเด็กและคอยติดตามหลวงพ่อไปในทุกงานรับกิจนิมนต์ พร้อมทั้งยกย่องหลวงพ่อว่าเป็นผู้ไม่ติดในโทสะ เพราะท่านไม่เคยโกรธหรือดุด่าว่าใครแต่ท่านมีตบะแรงกล้าคนเห็นจึงเกรงกลัว แม้แต่รสอาหารท่านก็ไม่หลงเพราะตลอดชีวิตสมณะของท่านเอาแต่ “ฉันเจ” กระทั่งมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ทิ้งไว้แต่อนุสรณ์แห่งคุณงามความดีและพระเครื่องอันเข้มขลังไว้ช่วยเหลือผู้ เลื่อมใสศรัทธาต่อไป จึงนับเป็นโอกาสอันดียิ่งของท่านผู้อ่านที่สนใจมี “ของดี”







     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2022
  15. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +467
    911.พระเกจิที่ได้อภิญญาขั้นสูง พระพิมพ์หลวงพ่อโต(พิมพ์หายาก)หลวงพ่อโอ วัดหางน้ำ เนื้อครั่งผสมว่าน108 และแผ่นจาร พิธีเสาร์ 5 ปี 2506 ปิดรายการครับ


    upload_2022-10-9_20-17-53.png

    upload_2022-10-9_20-19-30.png
    หลวงพ่อโอท่านเกิดประมาณปี 2438 เนื่องจากสมัยก่อน ยังกันดานอยู่มาก หลวงพ่อท่านเองมาป่วยเป็นโรคฝีดาด ตั้งแต่เด็กๆๆ พออายุประมาณ7-8ขวบ ได้มาเป็นลูกศิษย์หลวงพ่ออิน เจ้าอาวาสวัดหางน้ำ หลวงพ่ออินองค์นี้สุดยอดนะครับเรื่องอาคมผมไม่รู้จะหาองค์ใดมาเปรียญ เพราะว่าอาคมพระสมัยนั้นกินกันไม่ลงจิงๆๆ ขนากว่า คนแอบ่ายภาพท่าน ร้อยทั้งร้อย เค้าท้ากินเดิมพันกันเลย หากท่านไม่อนุญาติ ไม่มีใครถ่ายรูปหลวงพ่ออินติดได้ เลยทำให้มีแต่รูปหลวงพ่ออินตอนบวชใหม่ กับตอนเสียชีวิตเท่านั้น วกกลับมาหลวงพ่อโอ555โม้เพลิน พออายุครบบวชหลวงพ่ออินได้พาหลวงพ่อโอ ไปบวชกับใครรู้ใหมครับ ฟังชื่อแล้วจะสะดุ้ง ไปบวชกับหลวงพ่อเทศ แห่งวัดสระทะเล นี่จะให้เล่าแบบอภินิหารหรือกำลังภายในนะ ได้เป็นวันๆๆเลย 5555
    หลวงพ่อโอ เป็นที่รักของหลวงพ่ออินยิ่งนัก อาจเป็นเพราะท่านตาบอด จึงทำให้หลวงพ่อโอ สนใจในอักระเลขยันต์ ศึกษาจนหลักแหลมมาก เค้าว่าคนพิการมักมีสิ่งหนึ่งมาทดแทน ทีนี้มารู้จักกับรายชื่อของอาจารย์ของหลวงพ่อโอดูนะครับ
    1 หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล
    2 หลวงปู่ศุข วัดคลองมะขามเฒ่า
    3 หลวงพ่อ เงิน วัดพระปรางค์เหลือง หลวงพ่อโอ เรียนทำน้ำมนต์จากท่านมา หลวงพ่อเงิน ท่านเก่ง เรื่องน้ำมนต์มาก ชื่อน้ำมนต์จินดามณี ถืว่าไม่เป็นรองใคร ขนาด รัชกาลที่ 5ยังมาให้หลวงพ่อเงิน ทำน้ำมนต์ให้หลายครั้งอยู่ สมัยก่อน คนเจ็บป่วยไปหาหลวงพ่อเงิน หลวงพ่อท่านจะทำบาตรน้ำมนต์ขนาดใหญ่ ขึงด้วย สายสินจ์ เป็นรูปเครื่องหายบวก ให้คนเป็ฯไข้ ดื่มช่อซ้าย ใครอยากคลอดลูกง่าย ดื่มช่องขวา ใครผีเข้า ดื่มช่องล่าง กล่าวคือ ในบาตน้ำมนต์ แก้ได้สารพัดโรค หลวงพ่อโอท่านสำเร็จวิชาจากหลวงพ่อเงินเพียงส่วนเดียว แค่นี้ก็เพียงพอทำให้หลวงพ่อโอ ทานเก่งกาจ ทางเรื่องทำนำมนต์แล้ว ขนาดเหรียญ ที่ได้รับความนิยม ทั้งๆๆที่เป็นรุ่นสุดท้าน ออกปี 06 ชื่อว่าเหรียญดีดน้ำมนต์ ยังเป็นที่นิยมกันมาก หายากจิงๆๆ
    4 หลวงพ่อมี วัดบ้านบน
    5 หลวงพ่อปั้น วัดหาดทะนง
    6 หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ไม่รู้คนทำหนังสือหลวงพ่อเดิมตกรายชื่อพ่อโอไปได้อย่งไร เลยทำให้คนรู้จักน้อย
    7 สุดท้ายหลวงพ่อ อิน วัดหางน้ำ

    เอกลักษณ์หลวงพ่อโอ ท่านจะนั่งนิ่งเหมือนทำสมาธิ และจะเค้ากะลา เสมอ เหมือนท่านเข้าสมาธิสมอๆๆ ใครไปใครมา สามารถรู้ได้โดบไกล ขนาดว่าพ่อผมกับแม่ หาบองไปขายหมด แวะมาหาหลวงพ่อโอ เอาคานหาบวางพิงไว้กับใต้ถ่นศาลา พอมาหาหลวงพ่อ ท่านทักเลยว่า เอาไม้พิงแบบนั้น ลมพัดแรงๆๆ จะล้มเสียหายได้นะ แหมมมม...ท่านนี่ขนาดตาไม่ดี ยังรู้เลย พ่อผมเอง บอกว่า ท่านจะเลี้ยง รักยมไว้เป็ฯหูเป็ฯตาให้ท่าน หากใครไปใครมาจะมาคอนรายงานให้ท่านทราบ
    วัตถุมคลของท่าน คนหางน้ำบอกว่า เอาหลวงพ่ออะไรมาแลกก็ไม่เอา เพราะว่า ใครมีของหลวงพ่อโออยู่ ต่างหวงแหนกันทั้งนั้น เพราะสร้างน้อย ประสพการสูง ท่านสร้างวัตถมงคลออกมายุคแรกๆๆปีก่อน2500แต่เป็นเชือกคาด และปลัดขิก ซึ่งปัจจบันเก่าๆๆหน่อย ของหลวงพ่อโอแท้ๆๆ เล่นเป็ฯพ่อกวยไปได้ 555 แต่ก็ไม่เป็นไร เพราะว่าท่านเก่งพอๆกัน ขอให้เก่าอย่างเดียว มาถึงปี2501-06ท่านจึงสร้างรูปหล่อลอยองค์ขึ้น ปีแรกออกมาเป็นเนื้อตะกั่ว ปี02ออกรุ่นสองตามมาเรียกว่าพิมพ์เข่ากว้าง (คนที่จ้างทำรูปหล่อหลวงพ่อพรหมเอามาใช้เป็นรูปหล่อนิ้วกะดกในปี07หน้าไม่เหมือนพ่อพรหมจึงทำให้รูปหล่อก้นระฆังแรงจนแซงนิ้วกะดกไปแล้ว) หลังจากนั้นหลวงพ่อโอ ยังออกรูปหล่อรุ่นที่ 3ออกมาเรียกว่า พิมพ์ต้อ และปีเดียวกันยังออกรุปหล่อฝังพลอยด้วย ทำเรื่อยๆๆมา จนถึงประมาณปี06 หลวงพ่อมาสิ้นปี08 สร้างความอาลัยรักให้กับลุกศิษย์เป็นอย่างมาก จึงได้เก็บศพหลวงพ่อไว้ 30ปี แล้วมาเปิดบำเบ็ญกุศล ในปี39 ในวัดเปิดที่บรรจุศพหลวงพ่อ ทั้งจีวร เส้นผม ต่างถูกลูกศิษย์ แบ่งแย่งกันไป ขนาดว่า เปิดกันกลางคืนนะครับ แต่อย่างว่าเค้ารักแศรัธาในหลวงพ่อ ขนาดคนเก่ง ที่ทั้งหลวงพ่อ อยู่ในเหตุการ เห็นกะดูกหลวงพ่อยัง นั่งปาดน้ำตากันหลายคนด้วยความอาลัยรัก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2022
  16. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +467
    912. สุดยอดพระดีพิธีใหญ่ พระพิมพ์ขุนแผน พิมพ์ใหญ่ หลังพระอาจารย์ธรรมโชติ เนื้อดินเผา ปี ๒๕๒๐ ปิดรายการครับ


    upload_2022-10-9_20-48-26.png

    พระพิมพ์ขุนแผน หลังพระอาจารย์ธรรมโชติ เนื้อดินเผา

    เมื่อปี 2520 ผู้ว่าราชการจัหวัดสุพรรณบุรี ในขณะนั้น ได้มีความประสงค์ที่จะบูรณะวิหาร ด้านหลังโบสถ์วัดเขานางบวช จังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งสันนิฐานเชื่อกันว่า เป็นวิหารที่พระอาจารย์ธรรมโชติ พระเกจิอาจารย์ยุคปลายกรุงศรีอยุธยา ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านบางระจัน ได้เคยมาใช้เป็นที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ดังนั้นคณะกรรมการจึงได้มีความเห็น ให้ดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเพื่อมอบให้กับผู้ร่วมบริจาคทำบุญ โดยได้จัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อมอบเป็นที่ระลึก แก่ผู้รวมทำบุญ คือเหรียญ และพระพิมพ์เนื้อดินเผา

    และเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2520 ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีพร้อมคณะกรรมการ ได้เดินทางไปประกอบพิธีบวงสรวงและขออนุญาตต่อดวงวิญญาณของพระอาจารย์ธรรมโชติ ณ วัดเขานางบวช พร้อมทั้งยังขอขมาและขออนุญาตพระอาจารย์ธรรมโชติเพื่ อขุดดินในวิหารที่พระอาจารย์ธรรมโชตินั่งวิปัสสนาเอา ไปเป็นมวลสารด้วย

    พระพิมพ์ขุนแผนนื้อดินเผา หลังพระอาจารย์ธรรมโชติ เป็นพระเนื้อดินเผาที่มีแร่ปะปน อยู่ บางองค์แร่ธาตุที่ปะปนอยู่ได้ละลายออกมาคลือบผิวของอ งค์พระคล้ายกับผิวเคลือบของโอ่งมังกรเคลือบ โดยมวลสารสำคัญ ประกอบไปด้วย ดินใจกลางเมืองซึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ขอไปที่จังหวัดต่างๆทั่วประเทศ รวมทั้งดินทุกวัดในจังหวัดสุพรรณบุรีอีกด้วย
    และได้จัดพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2520 ที่วัดเขานางบวช
    โดยพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธีมีดังต่อไปนี้
    1.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    2.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    3.หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ
    4.หลวงพ่อทรัพย์ วัดตลุก
    5.หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
    6.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง
    7.หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
    8.หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
    9.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
    10.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม
    11.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ (ตั้งแต่ ลำดับที่ 11- 20 อยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี)
    12.หลวงพ่อสำราญ วัดปราสาททอง
    13.หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง
    14.หลวงพ่อเจริญ วัดธัญญวารี
    15.หลวงพ่อทองหยด วัดชีสุขเกษม
    16.หลวงพ่อทองหยด วัดวังจิก
    17.หลวงพ่อสม วัดดอนบุพผาราม
    18.หลวงพ่อสุบิน วัดท่าช้าง
    19.หลวงพ่อจวน วัดไก่เตี้ย
    20.หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว
    21.หลวงพ่อเพียว วัดโพธิ์ทองเจริญ
    22.หลวงพ่อไสว วัดเขาพระ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2022
  17. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +467
  18. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +467
    913. พระผงรุ่นเมตตาฝังพระธาตุและพลอยเสกหลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง ปี 2517 ให้บูชา 1550 บาท


    upload_2022-10-10_14-35-59.png


    พระสมเด็จผงของขวัญ ลป.สิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
    เป็นพระเนื้อผงบรรจุกรุ มีบรมสารีริกธาตุ ของแท้ บรรุจุอยู่ด้วยที่ฐานขององค์พระด้านหน้า หายากมาก

    พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
    สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
    ท่านเป็นลูกศิษย์ผู้สืบทอดปฏิปทาของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระมหาเถระผู้มีเมตตาวิหารธรรมสูง มีปฏิปทาที่งดงาม หลวงปู่ชอบสอนลูกศิษย์หัดนั่งสมาธิเพชร และระลึกถึงความตาย
    ประวัติหลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง
    หลวงปู่สิมเกิดเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๕๒ ในตระกูล “วงศ์เข็มมา” ที่บ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร หลวงปู่สิม พุทธาจาโรท่านเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ธรรมปฏิบัติสู่พุทธศาสนิกชนจนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของท่านก็คือ การพานั่งนั่งขัดสมาธิเพชร และการยกมรณานุสติกรรมฐานไว้เป็นกรรมฐานชั้นเอก
    หลวงปู่สิม พุทธาจาโรท่านละสังขารเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๓๕ รวมสิริอายุของหลวงปู่ ๘๒ ปี ๙ เดือน ๑๙ วัน อายุพรรษา ๖๓ พรรษา
    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายวิปัสนากรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ผู้ถึงพร้อมด้วยญาณสมาบัติและคุณธรรมยิ่ง สมบูรณ์พร้อมด้วยปฏิปทาจริยานุวัตรอันสงบเสงี่ยม สง่างามเป็นปกติ เป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยกาย วาจาและใจ อันเป็นที่ยอมรับและยกย่องสรรเสริญแห่งบรรดาท่านผู้รู้ทั้งหลายเป็นอย่างยิ่งตลอดมา อาทิ
    -พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต “เณรสิมนี้เป็นดอกบัวที่ยังตูมอยู่ ถ้าเบ่งบานเมื่อใดจะหอมกว่าหมู่”
    -พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม “ภิกษุนวกะผู้นี้ มีจริยาละม้ายแม้นพระพุทธเจ้าจำเราจะให้ฉายา พุทธาจาโร จึงจะควร”
    “ท่านสิมนี้ เขามีบุญบารมีที่ได้สร้างสมมาตั้งแต่ชาติก่อนๆ มากเหลือเกินจะเป็นแรงกุศลกุศลให้เขาสำเร็จไวกว่าคนอื่นๆ”
    “ในบรรดาศิษย์รุ่นน้องเราทั้งหมด ท่านฝั้นและท่านสิมนี้นับว่าเป็นยอด”
    -สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) “พระองค์นี้มีลักษณะดี มีบุญบารมี”
    -หลวงปู่แหวน สุจิณโณ “เมื่อสิ้นอาตมาแล้วให้ตามหลวงปู่สิมให้ดีๆ”
    -หลวงพ่อเกษม เขมโก “หลวงปู่สิมนี้ มีพลังจิตแก่กล้ามาก”
    -หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี “ผู้ที่อธิษฐานจิตได้ลักษณาการเช่นนี้ ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์โดยแท้”
     
  19. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +467
    914. หายากมากๆครับ เหรียญแพรแถบแจกกรรมการ งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เนื้อเงินกระไหล่ทอง ปี2500 ปิดรายการนี้ครับ

    upload_2022-10-10_16-19-59.png

    เหรียญธรรมจักร พิธียี่สิบห้าศตวรรษ เป็นเหรียญที่แจกกรรมการและข้าราชการผู้ใหญ่ที่มาร่วมพิธีในสมัยนั้น ในเหรียญที่สภาพเดิมจริงๆจะมีโบว์ติดมากับแนบเข็มกลัดครับ
    1f33e.png ในปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทยได้มีการจัดงานฉลองและบำเพ็ญกุศลในวาระที่พระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติไทยได้เจริญรุ่งเรืองมาครบ 25 พุทธศตวรรษเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาศนี้ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติเหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษขึ้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2500 จัดสร้างเหรียญที่ระลึกประดับแพรแถบขึ้น 1 ชนิด

    “พระ 25 พุทธศตวรรษ”คือที่สุดของพิธีกรรม เป็นการสร้างและปลุกเสกพระที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเมืองไทยเพื่อเฉลิมฉลองในวาระ “กึ่งพุทธกาล”ของศาสนาพุทธนั่นเอง โดยประธานฝ่ายสงฆ์ของพิธีกรรมในครั้งนั้น คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศมหาวิหาร ประธานฝ่ายฆราวาสได้แก่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ประธานฝ่ายจัดสร้างพระพิมพ์คือ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ และรองประธานฝ่ายจัดสร้างได้แก่ พลตำรวจตรี เนื่อง อาขุบุตร และเป็นกรรมการจัดจำหน่ายวัตถุมงคลในครั้งนี้ให้สาธุชนและผู้มีเกียรติทั้งหลายเช่าไปบูชาสักการะ
    ในการทำพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในครั้งนั้น ได้นิมนต์พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณมาทำพิธีถึง 2 ครั้ง โดยในครั้งแรกเป็นการนำวัตถุที่จะใช้สร้างพระมาทำพิธีพุทธาภิเษกก่อนครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2500 ณ พระอุโบสถวัดสุทัศน์ โดยมีพระคณาจารย์มาทำพิธีครบ 108 องค์ และต่อมาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2500พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้เสด็จฯและทรงกดพิมพ์พระจำนวน 30 องค์ กับพระทองคำ 4 องค์ เป็นปฐมฤกษ์ หลังจากนั้นได้ทำการสร้างพระโดยตั้งโรงงานผลิตภายในบริเวณวัดสุทัศน์ ใช้ระยะเวลาสร้างประมาณ 3 เดือนจึงแล้วเสร็จ และได้ทำพิธีมหาพุทธธาภิเษกอีกครั้งเมื่อวันที่ 2 - 4 พฤษภาคม
    1f4e2.png #รายนามพระอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีปลุกเสกพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
    1. พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์ กทม.
    2. พระครูสุนทรสมาธิวัตร วัดสุทัศน์ กทม.
    3. พระครูญาณาภิรัต วัดสุทัศน์ กทม.
    4. พระครูพิบูลย์บรรณวัตร วัดสุทัศน์ กทม.
    5. พระครูสุนทรศีลาจารย์ วัดสุทัศน์ กทม.
    6. พระครูพิศาลสรกิจ วัดสุทัศน์ กทม.
    7. พระมหาสวน วัดสุทัศน์ กทม.
    8. พระมหาอำนวย วัดสุทัศน์ กทม.
    9. พระปลัดสุพจน์ วัดสุทัศน์ กทม.
    10. พระครูวิสิษฐ์วิหารการ วัดชนะสงคราม กทม.
    11. พระสุธรรมธีรคุณ (วงษ์) วัดสระเกศ กทม.
    12. พระอาจารย์สา วัดราชนัดดาราม กทม.
    13. พระปลัดแพง วัดมหาธาตุ กทม.
    15. พระวรเวทย์คุณาจารย์ วัดพระเชตุพน กทม.
    16. พระครูฐาปนกิจประสาท วัดพระเชตุพน กทม.
    17. พระอินทรสมาจารย์ วัดพระเชตุพน กทม.
    18. พระครูวินัยธร (เฟื่อง) วัดสัมพันธวงศ์ กทม.
    19. พระครูภักดิ์ วัดบึงทองหลาง กทม.
    20. พระครูกัลญาณวิสุทธิ วัดดอนหวาย กทม.
    21. พระอาจารย์มี วัดสวนพลู กทม.
    22. พระอาจารย์เหมือน วัดโรงหีบ กทม.
    23. พระหลวงวิจิตร วัดสะพานสูง กทม.
    24. พระอาจารย์หุ่น วัดบางขวด กทม.
    25. พระราชโมลี วัดระฆัง กทม.
    26. หลวงวิชิตชโสธร วัดสันติธรรมาราม กทม.
    27. พระครูโสภณกัลญานุวัตร (เส่ง) วัดกัลญาณมิตร กทม.
    28. พระครูภาวนาภิรัต (ผล) วัดหนัง กทม.
    29. พระครูทิวากรคุณ (กลีบ) วัดตลิ่งชัน กทม.
    30. พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร กทม.
    31. พระครูญาณสิทธิ์ วัดราชสิทธาราม กทม.
    32. พระอาจารย์มา วัดราชสิทธาราม กทม.
    33. พระอาจารย์หวน วัดพิกุล กทม.
    34. พระมหาธีรวัฒน์ วัดปากน้ำ กทม.
    35. พระอาจารย์จ้าย วัดปากน้ำ กทม.
    36. พระอาจารย์อินทร์ วัดปากน้ำ กทม.
    37. พระครูกิจจาภิรมย์ วัดอรุณราชวราราม กทม.
    38. พระครูวินัยสังวร วัดประยุรวงศาวาส กทม.
    39. พระสุขุมธรรมาจารย์ วัดหงษ์รัตนาราม กทม.
    40. พระครูพรหมวินิต วัดหงษ์รัตนาราม กทม.
    41. พระอาจารย์อิน วัดสุวรรณอุบาสิการ กทม.
    42. พระครูวิริยกิจ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กทม.
    43. พระปรีชานนทมุนี (ช่วง) วัดโมลี นนทบุรี
    44. พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง) วัดศรีรัตนาราม นนทบุรี
    45. พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) วัดบางจาก นนทบุรี
    46. พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากะเหรี่ยง ราชบุรี
    47. พระอาจารย์แทน วัดธรรมเสน ราชบุรี,
    48. พระครูบิน วัดแก้ว ราชบุรี
    49. พระอินท์เขมาจารย์ วัดช่องลม ราชบุรี
    50. พระธรรมวาทีคณาจารย์ (เงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม
    51. พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
    52. พระอาจารย์สำเนียง วัดเวฬุวัน นครปฐม
    53. พระอาจารย์เต๋ วัดสามง่าม นครปฐม
    54. พระอาจารย์แปลก วัดสระบัว ปทุมธานี
    55. พระครูปลัดทุ่ง วัดเทียนถวาย ปทุมธานี
    56. พระครูบวรธรรมกิจ (เทียน) วัดโบสถ์ ปทุมธานี
    57. พระครูโสภณสมาจารย์ (เหรียญ) วัดหนองบัว กาญจนบุรี
    58. พระครูวิสุทธิรังษี วัดเหนือ กาญจนบุรี
    59. พระมุจลินท์โมฬี (ดำ) วัดมุจลินท์ ปัตตานี
    60. พระครูรอด วัดประดู่ นครศรีธรรมราช
    61. พระครูวิศิษฐ์อรรถการ (คล้าย) วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช
    62. พระครูสิทธิธรรมาจารย์ (พระอาจารย์ลี) วัดอโศการาม สมุทรปราการ
    63. พระอาจารย์บุตร วัดใหม่บางปลากด สมุทรปราการ
    64. พระอาจารย์แสวง วัดกลางสวน สมุทรปราการ
    65. พระครูศิริสรคุณ (แดง) วัดท้ายหาด สมุทรสงคราม
    66. พระครูสมุทรสุนทร วัดพวงมาลัย สมุทรสงคราม
    67. พระสุทธิสารวุฒาจารย์ (ใจ) วัดเสด็จ สมุทรสงคราม
    68. พระอาจารย์อ๊วง วัดบางคณที สมุทรสงคราม
    69. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง) วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร
    70. พระครูวิเศษสมุทรคุณ (ฮะ) วัดดอนไก่ดี สมุทรสาคร
    71. พระครูลักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
    72. พระอาจารย์แต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี
    73. พระครูโฆษิตธรรมสาร (ครื้น) วัดสังโฆ สุพรรณบุรี
    74. พระครูวรกิจวินิจฉัย (พริ้ง) วัดวรจันทร์ สุพรรณบุรี
    75. พระครูสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง สุพรรณบุรี
    76. พระวรพจน์ปัญญาจารย์ (เฮี้ยง) วัดอรัญญิการาม ชลบุรี
    77. พระครูธรรมาวุฒิคุณ วัดเสม็ด ชลบุรี
    78. พระครูธรรมธร (หลาย) วัดราษฎร์บำรุง ชลบุรี
    79. พระอาจารย์บุญมี วัดโพธิ์สัมพันธ์ ชลบุรี
    80. พระพรหมนคราจารย์ วัดแจ้งพรหมนคร สิงห์บุรี
    81. พระครูศรีพรหมโศภิต (แพ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    82. พระชัยนาทมุนี วัดบรมธาตุ ชัยนาท
    83. พระอาจารย์หอม (หลวงพ่อหอม) วัดชากหมาก ระยอง
    84. พระอาจารย์เมือง วัดท่าแพ ลำปาง
    85. พระครูอุทัยธรรมธารี วัดท้าวอู่ทอง ปราจีนบุรี
    86. พระครูวิมลศีลาจารย์ วัดศรีประจันตคาม ปราจีนบุรี
    87. พระครูสุนทรธรรมประกาศ วัดโพธิ์ปากพลี นครนายก
    88. พระครูบาวัง วัดบ้านเด่น ตาก
    89. พระครูสวรรควิริยกิจ วัดสวรรคนิเวศ แพร่
    90. พระครูจันทร์ (หลวงพ่อจันทร์) วัดคลองระนง นครสวรรค์
    91. พระครูศีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติการาม อยุธยา
    92. พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อยุธยา
    93. พระครูเล็ก วัดบางนมโค อยุธยา
    94. พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อยุธยา
    95. พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อยุธยา
    96. พระอาจารย์หน่าย วัดบ้านแจ้ง อยุธยา
    97. พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
    98. พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
    99. พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อยุธยา
    100. พระอาจารย์ศรี วัดสระแก อยุธยา
    101. พระสุวรรณมุนี วัดมหาธาตุ เพชรบุรี
    102. พระครูสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี
    103. พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ วัดโพธิ์กรุ เพชรบุรี
    104. พระครูทม (หลวงพ่อทม) วัดสว่างอรุณ เพชรบูรณ์
    105. พระสวรรควรนายก วัดสวรรคาราม สุโขทัย
    106. พระโบราณวัตถาจารย์ วัดราชธานี สุโขทัย
    107. พระครูปี้ วัดด่านลานหอย สุโขทัย
    108. พระครูวิบูลย์สมุทรกิจ วัดเสด็จ สมุทรสงคราม

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2022
  20. HMMAmulet296

    HMMAmulet296 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +467
    915. เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นทรัพย์ล้นเหลือ เนื้อนวะ ให้บูชา 1450 บาท

    upload_2022-10-10_16-53-33.png

    หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
    จัดสร้างขึ้นเนื่องในวาระหลวงพ่อหยอดอายุครบ 81ปี เมื่อปีพ.ศ.2534
    เป็นเหรียญอีกรุ่นหนึ่งที่ติดทำเนียบความนิยมของลูกศิษย์ท่าน อีกทั้งชื่อรุ่นก็เป็นมงคลยิ่ง “ทรัพย์ล้นเหลือ”
    พระครูสุนทรธรรมกิจ หรือ หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
    ท่าน เป็นชาวอัมพวา ในวัยเด็กการศึกษาเล่าเรียนของท่านนั้น ได้รับการสั่งสอนโดย โยมพ่อนายมุ่ยจะเป็นครูสอนหนังสือให้ลูกๆ เองเลย สมัยนั้นโรงเรียนประชาบาลยังไม่มีอีกทั้งละแวกบ้านก็เป็นเรือกสวนไร่นาไม่ สะดวกแก่การเดินทางเข้ามาศึกษาในตัวเมือง โดยแด็กชายหยอดเล่าเรียนเขียนอ่านอยู่กับบ้านจนความรู้แตกฉานอ่านออกเขียน ได้ จวบจนกระทั่งอายุ 17 ปีโยมพ่อก็ให้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดแก้วเจริญ ต.เมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม หลังจากที่บวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านก็ศึกษาพระธรรมวินัยท่องตำรับตำราต่างๆ จนสามารถสอบนักธรรมตรี โท เอกได้ในเวลาต่อมา แล้วจึงมาเรียนลัดตามหลักสูตรของกระทรวงศึกาธิการสอบได้มัธยม 3
    เมื่อ อายุครบบวชท่านก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 ณ พัทธสีมาวัดแก้วเจริญ โดยมีท่านพระครูสุทธิสารวุฒาจารย์ (หลวงปู่ใจ) วัดเสด็จเป็นพระอุปัชขฌาย์ พระอธิการเปลี่ยน อดีตเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการพลวง (ท่านพระครูอุดมสุติกิจ) อดีตเจ้าอาวาสวัดปราโมทย์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ชินวโส” จากนั้นท่านก็อยู่ศึกษาเล่าเรียนวิชาต่างๆ ขณะเดียวกันก็ช่วยพัฒนาวัดไปด้วย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2484 ท่านพระอธิการเปลี่ยน เจ้าอาวาสก็มรณะภาพลง ท่านเจ้าคุณสุทธิสารวุฒาจารย์ จึงมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญช่วยปกครองคณะสงฆ์ภายในวัด สืบไป
    หลวงพ่อหยอดเป็นพระนักพัฒนาที่หาตัวจับยากอีกรูปหนึ่ง ท่านสนใจให้การศึกษาแก่บุตรหลานในพื้นที่ จึงตั้งโรงเรียนขึ้นมาเป็นโรงเรียนราษฎร์ ชื่อ “โรงเรียนอำนวยวิทย์” ทั้งยังบูรณะปฏิสังขรณ์กุฏิและสิ่งก่อสร้างอื่นภายในวัดอีกมากมาย
    สำหรับ วัดแก้วเจริญนั้นไม่มีใครทราบว่าวัดสร้างขึ้นเมื่อใด คือวัดมีอยู่ในพื้นที่มาช้านานแล้วและก็ไม่ทราบว่ามีชื่อเรียกว่าอะไรมาก่อน แต่ต่อมามีชาวบ้านเขตตำบลท่าใหญ่มาถากถางช่วยพัฒนาวัดเกิดพบ “พระแก้ว” เป็นพระพุทธรูปเล็กๆ มีหลากสีในองค์เดียว เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการพบพระจึงพร้อมใจกันเรียกขานชื่อวัดว่า “วัดแก้ว” ต่อมาวัดเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับจึงเรียกขานชื่อต่อท้ายอีกว่า “วัดแก้วเจริญ” มาจนทุกวันนี้.
    หลวงพ่อหยอดท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ ได้รับการถ่ายทอดวิชา หัวใจโลกธาตุ ตำหรับของหลวงปู่ยิ้มแห่งวัดหนองบัวมีวัตถุมงคลที่ขึ้นชื่อคือ ตะกรุดลูกอมหัวใจโลกธาตุ ท่านเรียนวิชาทำตะกรุดลูกอมหัวใจโลกธาตุมาจากหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ ซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่เฒ่ายิ้ม วัดหนองบัวเช่นกัน กล่าวกันว่าผู้ที่จะเรียนวิชาการทำตะกรุดลูกอม ต้องผ่านการทดสอบอำนาจสมาธิจิตจากหลวงปู่ยิ้มทุกองค์ โดยท่านให้นั่งสมาธิเพ่งไส้เทียนให้ขาดก่อนถึงจะได้เรียนวิชานี้จากท่านได้ วัตถุมงคลของหลวงพ่อหยอดนั้นโด่งดังมีชื่อเสียงทางด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดเป็นเลิศมีประสบการณ์ประจักษ์ชัดกันมาแล้ว ชาวอัมพวาโดยเฉพาะชาวตำบลเหมืองใหม่ให้ความเคารพศรัทธาเลื่อมใสท่านมาก
     

แชร์หน้านี้

Loading...