ฌานที่แท้จริง

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย Saint Telwada, 26 เมษายน 2008.

  1. Saint Telwada

    Saint Telwada สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2008
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +5
    [FONT='Angsana New','serif']ฌาน นั้น แท้จริงแล้ว ไม่มีการแบ่งว่า ชั้น หยาบ กลาง หรือละเอียด[/FONT][FONT='Angsana New','serif']
    เพราะฌาน เป็นสภาพแห่งระบบความคิดหรือระบบสมองของสรีระร่างกายมนุษย์
    มนุษย์ทุกคน ย่อมมีสภาพอารมณ์ ความรู้สึกซึ่ง เป็นสิ่งที่ทางพุทธศาสนาเรียกว่า "ฌาน" คือมี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    วิตก คือ เป็นทุกข์ ร้อนใจ กังวล
    วิจาร คือ การคิดทบทวน ในเรื่องต่างๆที่ได้ประสบมา
    ปีติ คือ ความปลาบปลื้มใจ หรืออิ่มใจ จะเรียกว่า ความภูมิใจก็คงไม่ผิด
    สุข คือ ความสบายกาย สบายใจ ปลอดโปร่ง ไม่คิดสิ่งใด
    เอกัคคตา คือ ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่สมาธิ หรือเรียกว่า มีสมาธิ
    มนุษย์ทุกคน จะมีสิ่งที่ทางพุทธศาสนาเรียกว่าฌานอยู่ในตัวในสมอง เป็นคลื่นข้อมูลอันได้ประสบ สัมผัสทางอายตนะ คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่เป็นนิจ
    หากไม่มีสมาธิ คือ ไม่มี เอกัคคตา ที่ดี ก็ย่อม ต้องเกิด วิตก วิจาร ปีติ สุข อย่างนี้เป็นต้น
    หากมีเอกัคคตา ในระดับหนึ่ง ก็อาจเกิดวิตกวิจาร เพียงเล็กน้อย อาจเกิดปีติ สุข เพียงเล็กน้อย แต่ที่สุดก็จะเหลือเพียงสภาพจิตที่เรียกว่า เอกัคคตา คือมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว จะว่าวางเฉยก็ไม่ใช่ จะว่าไม่วางเฉยก็ไม่ใช่
    ฌาน หรือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา จึงไม่มีชั้น หยาบ กลาง หรือละเอียด
    แต่ฌาน จะอยู่ในรูปแบบของคลื่น ซึ่งอาจฝังตัวอยู่ในส่วนลึกของสมอง เมื่อถูกกระตุ้น ก็จะแสดงออกมา อาจเป็นนอนหลับฝัน อาจระลึกนึกขึ้นมาได้ หรืออาจเกิดความเศร้าหมองเมื่อได้ประสบกับสิ่งที่มากระตุ้นคลื่นที่มีอยู่ในตัวเรา
    ที่เขียนไปทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนน้อย แต่ก็คงเพียงพอสำหรับ ผู้เกี่ยวข้องทางศาสนาพุทธ ได้ทำความเข้าใจให้ถูกต้อง และเป็นบรรทัดฐานอันเดียวกัน
    ซึ่งท่านทั้งหลายก็ควรได้ คิดพิจารณา ให้ถ่องแท้ ว่าจริงตามที่ข้าพเจ้าสอนหรือไม่<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>[/FONT]

    [FONT='Angsana New','serif']<o:p> </o:p>[/FONT]
    [FONT='Angsana New','serif']<o:p> </o:p>[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 เมษายน 2008
  2. นิพพิทา2008

    นิพพิทา2008 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    346
    ค่าพลัง:
    +55
    ท่านครับท่านศึกษาเรื่องฌาณจากตำราใหนหรือครับ...หรือว่าเขียนตำราเองครับ..ถามด้วยความเคารพครับ..
     
  3. Saint Telwada

    Saint Telwada สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2008
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +5
    ตอบ...
    การศึกษา หรือเล่าเรียนปฏิบัติธรรม ตามหลักศาสนา ก็ต้องศึกษาเล่าเรียน พิจารณาให้เป็นไปตามหลักความจริง ไม่ใช่เล่าเรียนให้เป็นไปตามหลักตำรา
    เพราะบางครั้ง หรือส่วนใหญ่(เฉพาะในเรื่องของศาสนา) หลักตำรา ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นจริงมีจริง ตามหลักธรรมชาติ
    ถ้าท่านทั้งหลายฝึกคิดพิจารณา ให้เป็นไปตามหลักความจริง โดยดู สังเกต หรือพิจารณา นับตั้งแต่ตัวเองเป็นต้นไป ก็จะเกิดความรู้ที่ถ่องแท้ สามารถนำไปปฏิบัติ หรือเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ ที่ถูกต้อง จนสามารถบรรลุถึงธรรมชั้นอริยะบุคคล
    ไปพิจารณาให้ดีซะก่อน อย่าหลงตำราให้มากนัก
    คุณฝึกตามตำราได้ผลกี่มากน้อย
    แต่ถ้าคุณฝึกคิดพิจารณาตามที่ข้าพเจ้าสอน แล้วจะได้ผลกี่มากน้อย ทำดูแล้วหรือยัง เข้าใจดีแล้วหรือยัง
    ถ้ายังไม่เข้าใจ อ่านอีก ทำความเข้าใจอีก พิจารณาตัวเอง ให้ดี สังเกตตัวเองให้ดี แล้วก็ขยายวงสังเกตผู้อื่น
    แล้วจะเข้าใจ แล้วจะรู้ แล้วจะตื่น แล้วจะเบิกบาน
    ส่วนคำถามของคุณ ข้าพเจ้าไม่ตอบดอกนะ
    ถามคนในเวบฯนี้เขาคงรู้จักข้าพเจ้าเป็นอย่างดีอยู่แล้วขอรับ
     
  4. นิพพิทา2008

    นิพพิทา2008 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    346
    ค่าพลัง:
    +55
    โชคดีครับ..ลาก่อนครับ..ท่านเทวาด่า..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2008
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    วิตก คือ เป็นทุกข์ ร้อนใจ กังวล

    เข้าฌานแล้ววิตกเป็นทุกข์กังวลใจ ร้อนอกร้อนใจไปด้วย แล้วจะไปเข้าฌานทำไม ไปเดินห้างสะไม่ดีกว่าหรอครับ



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 เมษายน 2008
  6. Saint Telwada

    Saint Telwada สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2008
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +5
    ความหมายของคำว่า "วิตก" ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฏก (อ.ปยุตฺ ประยุตโต) ดังนี้
    "ความตรึก, ตริ, การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือปักจิตลงสู่อารมณ์ (ข้อ ๑ ในองค์ฌาน ๕), การคิด, ความดำริ; ไทยใช้ว่าเป็นห่วงกังวล "

    ท่านทั้งหลายลองพิจารณาดูซิว่า การศึกษาภาษาบาลีนั้น ต้องแปลหรือให้ความหมายเป็นภาษาไทยหรือไม่ ท่านทั้งหลาย ลอง พิจารณาซิว่า
    "การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือ ปักจิตลงสู่อารมณ์ นั้น มีความหมายตามภาษาไทย ว่าอย่างไร"
    คำว่า "การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือปักจิตลงสู่อารมณ์นั้น หมายถึง การเอาใจ หรือการใช้ความคิด ผูกสัมพันธ์ กับอารมณ์ที่เกิดขึ้น อารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้น หมายถึง ความโลภ ความโกรธ ความหลง
    ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ได้แก่พฤติกรรมและการกระทำ หรือการดำเนินชีวิต ของแต่ละบุคคลอันปฏิสัมพันธ์กัน หรือเกี่ยวข้องกัน เมื่อเกิดอารมณ์โกรธ จากการได้สัมผัส ก็จะเกิดความคิดฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์นั้น หรือ เมื่อเกิดความหลง เช่นการรอคอยใครสักคนแล้วไม่มา ก็จะเกิดการเอาใจหรือความคิด เข้าไปผูกสัมพันธ์กับอารมณ์นั้น คิดไปตามความรู้ ประสบการณ์ หรือการได้รับการขัดเกลาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของแต่ละบุคคล ถ้าจะอธิบายสั้นๆก็คือ เกิดความคิดฟุ้งซ่าน อันเรียกว่า "วิตก"นั่นเอง
    ข้าพเจ้าเคยสอนไปหลายครั้งแล้วว่า
    การฝึกสมาธิ หรือปฏิบัติสมาธิ นั้น เป็นการฝึกการควบคุมความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ไม่ให้ฟุ้งซ่าน คือ ไม่ให้คิด ถ้าไม่คิด ก็ย่อมไม่เกิดอารมณ์ และความรู้สึก
    นี้เป็นหลักการขั้นพื้นฐาน สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องของ อภิญญา กัมมัฏฐาน
    แต่ถึงอย่างไรก็ตาม อารมณ์ และความรู้สึกนั้น ไม่ใช่เกิดจากความคิดแต่เพียงอย่างเดียว อาจเกิดจากร่างกายของเรา เช่นนั่งไม่ถูกท่า นั่งนานเกินไป ก็เกิดความรู้สึกและอารมณ์
    ท่านทั้งหลายอาจไม่รู้ว่า ขณะเกิดความรู้สึกนั้น จะเกิดอารมณ์ชนิดใดชนิดหนึ่งตามมาด้วย อารมณ์ที่เกิดติดตามความรู้สึกนั้น ก็คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
    จึงยังมีวิธีการอีกหลายวิธีที่จะทำไม่ให้เกิดความรู้สึก เช่นหากนั่งแล้วมีอาการขาชา เจ็บก้น ปวดขา ก็ต้องขยับนั่งให้ถูกท่า ไม่ให้ทับเส้น อะไรทำนองนี้
    สรุปแล้ว การปฏิบัติ สมาธินั้น ถ้าจะให้คำจำกัดความที่ถูกต้องแล้วละก้อ
    ย่อมหมายถึง การปฏิบัติ เพื่อมิให้เกิดฌาน บางชนิด คือมิให้เกิด อาการ วิตก วิจาร ปีติ สุข
    แต่การปฏิบัติ ก็เพื่อให้เกิดฌาน บางชนิด คือ เอกัคคตา อย่างนี้เป็นต้น
     
  7. eddy1965

    eddy1965 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    369
    ค่าพลัง:
    +475
    น่าจะเป็นประมาณนี้ นะครับ อันนี้ไม่ได้ต้องการแย้ง ขอร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยเท่านั้น

    วิตก = ตริ คือ การจรดหรือปักจิตไปในอารมณ์
    วิจาร = ตรอง คือ จิตผูกมัด หรือจิตเคล้าอยู่กับอารมณ์
    ปีติ = ความอิ่มใจ มีห้าอย่าง ได้แก่ ปีติเล็กน้อย ปีติชั่วขณะ ปีติเป็นระลอก ปีติอย่างโล่นแล่น และปีติซาบซ่าน อันนี้ต้องแจงอาการเอาเอง
    สุข = ยินดีในการเสวยอารมณ์
    เอกัคคตา = จิตมีอารมณ์เพียงหนึ่งเดียว
    อุเบกขา = การวางเฉย หรือใจเป็นกลาง มีสิบอย่าง จำไม่ได้
     
  8. Saint Telwada

    Saint Telwada สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2008
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +5
    ถูกต้องขอรับ แต่ต้องทำความเข้าใจ ในสภาพอารมณ์ หรือความรู้สึก เหล่านั้นให้ถ่องแท้
    วิตก ได้อธิบายไปในตอนก่อนนี้แล้ว
    วิจาร = ตรอง = การคิดทบทวน ซึ่งหากเป็นความหมายทางภาษาบาลี = จิตผูกมัด หรือเคล้าอยู่กับอารมณ์
    ปีติ จะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อ เราหายจากวิตก และวิจาร ถ้าจะอธิบายให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น หมายความว่า เมื่อคิดได้แล้ว สรุปแล้ว ไม่ห่วงแล้ว ไม่คิดทบทวนแล้ว ซึ่งก็คือ ไม่วิตกวิจารแล้ว ปีติก็จะเกิด เพราะมันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ หากสมาธิดีพอ ก็จะเกิดปีติเพียงชั่วแวบ ถ้าสมาธิไม่ดีพอ ปีติก็จะเกิดอยู่นาน ตามความพอใจ ของแต่ละบุคคล อย่างนี้เป็นต้น

    หากท่านทั้งหลายฝึกสมาธิดีแล้ว รู้จักควบคุมดีแล้ว วิตก วิจาร ปีติ สุข จะไม่เกิด หรือจะเกิดเพียงชั่วแวบ นั่นก็หมายความว่า
    เราฝึกสมาธิ หรือเจริญกรรมฐาน ก็เพื่อ ขจัดฌาน ในชั้นที่เกิดวิตก วิจาร ปีติ สุข
    และเราฝึกสมาธิ หรือเจริญกรรมฐาน ก็เพื่อให้เกิด สมาธิ หรือ อารมณ์เป็นหนึ่งเดียว หรือ เอกัคคตา ซึ่ง อารมณ์เป็นหนึ่งเดียวนี้ ก็จะก่อให้เกิด สิ่งที่เรียกว่า จะว่าวางเฉยก็ไม่ใช่ จะว่าวางเฉยก็ไม่ใช่
    ต้องทำความเข้าใจ ว่าการฝึกสมาธิ หรือเจริญกัมมัฏฐานนี้ ไม่ได้ก่อให้เกิด ความวางเฉย
    ความวางเฉย จะเป็นอารมณ์ ความรู้สึก หรือสภาพสภาวะจิตใจรูปแบบหนึ่ง อันเนื่องมาจาก ความรู้ ประสบการณ์ ความเข้าใจ ประกอบด้วย สมาธิ ในการควบคุมความคิดหรือควบคุมการสัมผัสแล้วเกิดความคิด อารมณ์ ความรู้สึก มิให้ฟุ้งซ่าน คือ มิให้เกิด การวิตก วิจาร ปีติ สุข ในสิ่งที่ได้สัมผัส หรือจะเรียกง่ายๆว่า ไม่เก็บมาคิดว่างั้นเถอะ เพราะการเก็บมาคิด ก็คือ ความไม่วางเฉย หากมีสมาธิดี และมีปัจจัยอื่นประกอบ ก็จะรู้สึกเฉยๆ ไม่ใช่ความวางเฉย คือ มีความรู้สึก แต่ไม่วิตก วิจาร ปีติ หรือสุข
    เพราะธรรมชาติ ของมนุษย์ จะเก็บสิ่งที่ได้สัมผัสในชีวิตประจำวันมาคิด อยู่เสมอ ไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง ฉะนี้
     
  9. Saint Telwada

    Saint Telwada สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2008
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +5
    ตอบ.....
    ถูกต้องขอรับ แต่ต้องทำความเข้าใจ ในสภาพอารมณ์ หรือความรู้สึก เหล่านั้นให้ถ่องแท้
    วิตก ได้อธิบายไปในตอนก่อนนี้แล้ว
    วิจาร = ตรอง = การคิดทบทวน ซึ่งหากเป็นความหมายทางภาษาบาลี = จิตผูกมัด หรือเคล้าอยู่กับอารมณ์
    ปีติ จะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อ เราหายจากวิตก และวิจาร ถ้าจะอธิบายให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น หมายความว่า เมื่อคิดได้แล้ว สรุปแล้ว ไม่ห่วงแล้ว ไม่คิดทบทวนแล้ว ซึ่งก็คือ ไม่วิตกวิจารแล้ว ปีติก็จะเกิด เพราะมันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ หากสมาธิดีพอ ก็จะเกิดปีติเพียงชั่วแวบ ถ้าสมาธิไม่ดีพอ ปีติก็จะเกิดอยู่นาน ตามความพอใจ ของแต่ละบุคคล อย่างนี้เป็นต้น

    หากท่านทั้งหลายฝึกสมาธิดีแล้ว รู้จักควบคุมดีแล้ว วิตก วิจาร ปีติ สุข จะไม่เกิด หรือจะเกิดเพียงชั่วแวบ นั่นก็หมายความว่า
    เราฝึกสมาธิ หรือเจริญกรรมฐาน ก็เพื่อ ขจัดฌาน ในชั้นที่เกิดวิตก วิจาร ปีติ สุข
    และเราฝึกสมาธิ หรือเจริญกรรมฐาน ก็เพื่อให้เกิด สมาธิ หรือ อารมณ์เป็นหนึ่งเดียว หรือ เอกัคคตา ซึ่ง อารมณ์เป็นหนึ่งเดียวนี้ ก็จะก่อให้เกิด สิ่งที่เรียกว่า จะว่าวางเฉยก็ไม่ใช่ จะว่าวางเฉยก็ไม่ใช่
    ต้องทำความเข้าใจ ว่าการฝึกสมาธิ หรือเจริญกัมมัฏฐานนี้ ไม่ได้ก่อให้เกิด ความวางเฉย
    ความวางเฉย จะเป็นอารมณ์ ความรู้สึก หรือสภาพสภาวะจิตใจรูปแบบหนึ่ง อันเนื่องมาจาก ความรู้ ประสบการณ์ ความเข้าใจ ประกอบด้วย สมาธิ ในการควบคุมความคิดหรือควบคุมการสัมผัสแล้วเกิดความคิด อารมณ์ ความรู้สึก มิให้ฟุ้งซ่าน คือ มิให้เกิด การวิตก วิจาร ปีติ สุข ในสิ่งที่ได้สัมผัส หรือจะเรียกง่ายๆว่า ไม่เก็บมาคิดว่างั้นเถอะ เพราะการเก็บมาคิด ก็คือ ความไม่วางเฉย หากมีสมาธิดี และมีปัจจัยอื่นประกอบ ก็จะรู้สึกเฉยๆ ไม่ใช่ความวางเฉย คือ มีความรู้สึก แต่ไม่วิตก วิจาร ปีติ หรือสุข
    เพราะธรรมชาติ ของมนุษย์ จะเก็บสิ่งที่ได้สัมผัสในชีวิตประจำวันมาคิด อยู่เสมอ ไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง ฉะนี้
    ส่วนความวางเฉย ที่คุณกล่าวมานั้น
    ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต)ได้ให้ความหมายไว้ว่า

    "1) ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง, ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุ และรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น, ความรู้จักวางใจเฉยดู เมื่อเห็นเขารับผิดชอบตนเองได้ หรือในเมื่อเขาควรต้องได้รับผลอันสมควรแก่ความรับผิดชอบของเขาเอง, ความวางทีเฉยคอยดูอยู่ในเมื่อคนนั้นๆ สิ่งนั้นๆ ดำรงอยู่หรือดำเนินไปตามควรของเขาตามควรของมัน ไม่เข้าข้างไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ไม่สอดแส่ ไม่จู้จี้สาระแน ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง (ข้อ ๔ ในพรหมวิหาร ๔, ข้อ ๗ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๑๐ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๙ ในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐) 2) ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกเต็มว่าอุเบกขาเวทนา (= อทุกขมสุข)"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2008
  10. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ถ้าบอกว่าสมาธิ เกี่ยวกับสมองเนี่ย ก็ไปเถียงกันที่ห้องวิทย์ดีกว่าเนาะ

    เดี๋ยวนี้ เทวดา เลื่อนขั้นแฮะ เป็น เซียน เทวดา
    55555555555555555555555555555555
     
  11. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ หุหุ
     
  12. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ขยันย้าย จังนะ จขกท.
     
  13. คุณ วัชรพงษ์

    คุณ วัชรพงษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +30
    อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา
    ยถญฺญมนุสาสติ
    สุทนฺโต วต ทเมถ
    อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม
     
  14. คุณ วัชรพงษ์

    คุณ วัชรพงษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +30
    สอนคนอื่นอย่างใด
    ควรทำตนอย่างนั้น
    ฝึกตนเองแล้วค่อยฝึกคนอื่น
    เพราะตัวเราเองฝึกยากยิ่งนัก

     
  15. คุณ วัชรพงษ์

    คุณ วัชรพงษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +30
    นัตถิ ฌานัง อปัญญัสส นัตถิ ปัญญา อฌายิโน
     
  16. คุณ วัชรพงษ์

    คุณ วัชรพงษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +30
    ฌานย่อมไม่มีกับคนที่ไม่มีปัญญา ปัญญาย่อมไม่มีกับคนที่ไม่มีฌาน
     
  17. Saint Telwada

    Saint Telwada สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2008
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +5
    ข้าพเจ้าไม่ได้ขยันย้ายดอกท่านทั้งหลาย
    แต่มันขึ้นอยู่กับความคิดความเข้าใจของทีมงานบางท่านบางคน
    อยากย้ายก็ไม่เป็นไรดอกขอรับ เดี๋ยวมันก็ตกไป หมุนวนกันไปอย่างนี้แหละ เรื่องธรรมดา

    อนึ่ง ท่านทั้งหลายที่ได้เข้ามาอ่าน โปรดได้ทำความเข้าใจไว้อย่างหนึ่งว่า
    สิ่งที่ข้าพเจ้าเขียนสอน ล้วนเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้า ได้ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และได้ปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีจริงเป็นจริง
    โดยที่ท่านทั้งหลายสามารถพิสูจน์คำสอนของข้าพเจ้าได้ด้วยตัวเอง
    เพียงท่านสังเกตตัวเอง ตั้งแต่ตื่นนอน จนถึงค่ำ แล้วท่านทั้งหลายก็จะรู้ได้ด้วยต้วเองว่า
    คำว่า ฌาน นั้น แท้จริงแล้ว คือ ปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติแห่งระบบของสรีระร่างกายของเรา
    ทุกคน ย่อมมีเรื่องที่ต้อง เก็บมาคิด ไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง หรือหลายเรื่อง ในหนึ่งวัน ไม่มาก ก็น้อย อย่างแน่นอน
    และขอยืนยันว่า
    การปฏิบัติสมาธินั้น จะเป็นการขจัด ฌาน (สิ่งที่ทางพุทธศาสนาเรียกว่า ฌาน ) อันได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข
    เพราะ ฌาน ที่ได้กล่าวไป คือ กิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ควานหลง
     
  18. เจ้าแห่งเวทย์มนต์

    เจ้าแห่งเวทย์มนต์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2008
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +3
    วิตกคือคิดถึงคำภาวนา วิจารคือคิดคำภาวนาไม่ขาดสาย จะคิดก็พุทโธ จะไม่คิดก็พุทโธ ปีติคืออาการต่างๆของร่างกาย เมื่อเกิดปีติ สุขจะตามมาเป็นเงาตามตัว
    คำสอนหลวงพ่อพุธ ฐานิโย
     
  19. เจ้าแห่งเวทย์มนต์

    เจ้าแห่งเวทย์มนต์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2008
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +3
    เมื่อท่านยังไม่บรรลุ ต่อให้ท่านพร่ำสอนใครต่อใคร ก็จะไม่มีใครฟังท่าน
     
  20. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    เคยได้ยินไหมครับ ผู้ปฎิบัติบางท่าน ใช้กิเลสที่โทษน้อย ดับกิเลสที่โทษหนัก
    พอเหลือแต่กิเลสที่โทษน้อยแล้ว ค่อยดับกิเลสทั้งหมด
    โดยใช้ ญาน ก่อให้เกิด ญาณ ^-^
    <!-- / message --> <!-- sig -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...