จะทำสติให้เกิดได้อย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย @^น้ำใส^@, 7 เมษายน 2008.

  1. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    จะทำสติให้เกิดได้อย่างไร

    ถาม จะทำสติให้เกิดได้อย่างไรครับ
    ตอบ ทำไม่ได้ เพราะสติจะเกิดหรือไม่เกิดเป็นไปตามที่มโนทวาราวัชชนะจิต/โวฏฐัพพนจิตสั่ง ไม่ใช่ตามที่เราอยากให้เป็น หน้าที่ของผู้ปฏิบัติมีอันเดียวคือหมั่นสังเกตสภาวะรูปนามเข้าไว้ เช่น จิตสุขก็รู้ จิตทุกข์ก็รู้ จิตเผลอก็รู้ จิตเพ่งก็รู้ จิตโกรธก็รู้ จิตรักก็รู้ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ จิตหดหู่ก็รู้ จิตแสวงหาก็รู้ รูปยืนก็รู้ รูปเดินก็รู้ รูปนั่งก็รู้ รูปนอนก็รู้ หรือกายมีอาการเคลื่อนไหวก็รู้ จิตมีอาการเคลื่อนไหวก็คอยรู้เรื่อยไป หากจิตมีความเข้าใจสภาวธรรมใดชัดเจนแล้ว เมื่อสภาวธรรมนั้นปรากฏ โวฏฐัพพนจิตก็จะเป็นปัจจัยให้สติเกิดโดยไม่ต้องจงใจทำขึ้นมา สติที่เกิดเองนี่แหละเป็นสัมมาสติจริงๆ จิตในขณะนั้นจะโปร่ง เบา เบิกบาน ไร้น้ำหนัก ส่วน "สติ" ที่จงใจสร้างขึ้นมาด้วยอำนาจของตัณหา ไม่ใช่สติจริง จะมีลักษณะแข็งกระด้าง หนักแน่น ใช้ทำวิปัสสนาไม่ได้จริงหรอก

    ถาม จะทำให้สติต่อเนื่องได้อย่างไรครับ
    ตอบ ใครก็ทำสติให้ต่อเนื่องไม่ได้ แค่ทำสติขณะจิตเดียวยังทำไม่ได้เลย เพราะจิตจะมีสติหรือมีกิเลสก็ด้วยอำนาจของมโนทวาราวัชชน จิต/โวฏฐัพพนจิตเป็นผู้กำหนด และเมื่อสติเกิดแล้ว ถึงอย่างไรก็เกิดได้ในช่วงสั้นๆ ตำราบอกว่าเกิดได้ทีละ 7 ขณะจิตเท่านั้น จะทำให้ ต่อเนื่องยาวนานกว่านั้นไม่ได้เว้นแต่ทำฌานจิต แต่ถ้าคุณฝึกเจริญสติปัฏฐาน จนจิตคุ้นเคยที่จะมีสติแล้ว สติจะเกิดบ่อยๆ ได้ ถ้าสติเกิดได้บ่อยมาก เราจะรู้สึกเหมือนกับว่ามีสติต่อเนื่องได้เหมือนกัน

    ถาม ถ้าเช่นนั้นจะพัฒนาจิตได้อย่างไรคะ
    ตอบ ไม่ต้องไปคิดพัฒนาจิตหรอก เพราะจิตเป็นของเกิดดับ และไม่ใช่ตัวตนอะไรของเรา สิ่งที่ควรจะทำก็คือ การฝึกใจให้วนเวียนอยู่ในอารมณ์ที่เป็นกุศลเสมอๆ ด้วยการคิดในสิ่งที่ดีเช่นอนุสติ 10 ด้วยการพูดในสิ่งที่ดีเช่นกถาวัตถุ 10 ด้วยการทำในสิ่งที่ดีอื่นๆ เช่นการคบกัลยาณมิตร และสิ่งสำคัญที่นักปฏิบัติจะขาดไม่ได้ก็คือ การหมั่นสังเกตและเรียนรู้สภาวธรรมทั้งรูปและนามอยู่เนืองๆ แต่ต้องระวังอย่าเร่งร้อนสังเกตแบบจ้องตาไม่กะพริบ เพราะจะเผลอไปเพ่งแทนการรู้ได้ง่ายๆ
    การที่เราน้อมให้จิตไหลอยู่ในกระแสกุศลเนืองๆ จะทำให้โวฏฐัพพนจิตตัดสินให้มหากุศลจิตเกิดบ่อยๆ (ทำนองเดียวกับการที่ปล่อยใจไปในทางที่ชั่วเสมอๆ จนความชั่วกลายเป็นอนุสัยหรือความเคยใจในทางที่ชั่ว ก็จะทำให้โวฏฐัพพนจิตตัดสินให้อกุศลจิตเกิดขึ้นเสมอๆ) ยิ่งถ้าเคยเรียนรู้ เคยสังเกตสภาวธรรมบ่อยๆ มหากุศลจิตที่เกิดก็จะประกอบด้วยปัญญาสามารถรู้รูปนามตรงตามความเป็นจริงได้บ่อยๆ จนเกิดความรู้จริง รู้แจ้ง และรู้ปล่อยวางรูปนามในที่สุด

    ถาม ฟังหลวงพ่อพูดแล้วผมชักงงๆ เพราะทำอันนั้นก็ผิด ทำอันนี้ก็ผิด แล้วที่ถูกจะทำได้อย่างไรกัน
    ตอบ ที่ถูกทำเอาไม่ได้ เพราะถ้าเมื่อใดคุณพยายามทำ (ปฏิบัติ) ด้วยตัณหา/อุปาทาน คุณก็ก้าวไปสู่ความผิดพลาดเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นไม่ต้องสนใจว่าทำอย่างไรจึงจะถูก ให้รู้ทันอาการปรากฏทางกาย หรือตามรู้อาการปรากฏทางใจที่มันเที่ยวทำโน่นทำนี่ไว้เถิด แล้วการปฏิบัติจะถูกเองโดยอัตโนมัติ

    ถาม ดิฉันฝึกเจริญสติแล้วตัวแข็ง หลังแข็ง คอแข็ง ใจว่างๆ เบลอๆ จนต้องรับประทานยาแก้โรคประสาท รับประทานยาอย่างไรก็ไม่หาย ขอให้หลวงพ่อช่วยแนะนำวิธีแก้ไขให้ด้วยค่ะ
    ตอบ อาการที่คุณกล่าวมานั้นเกิดจากการที่คุณฝึกเพ่ง ฝึกตรึงความรู้สึกไว้ที่กายตลอดเวลาเพราะกลัวจะขาดสติ นั่นไม่ใช่การเจริญสติหรอก เพราะเป็นการทำตามคำสั่งของตัณหาคือความอยากจะปฏิบัติธรรม ตราบใดที่ยังไม่เลิกตรึงความรู้สึกไว้กับกาย อาการของคุณจะไม่หายไป ให้คุณรู้ทันการตรึงความรู้สึกไว้ พอเลิกตรึง อาการทางกายเหล่านั้นก็จะทุเลาไปเอง

    ถาม ดิฉันสังเกตเห็นว่า ในเวลาปกติจิตใจก็สบายดี แต่พอเริ่มกำหนดรูปนาม จิตจะหนักแน่นแข็งๆ หาความสบายไม่ได้เลย
    ตอบ ต้องเป็นอย่างนั้นแน่ เพราะเป็นการปฏิบัติด้วยตัณหา ตัณหาเป็นเหตุแห่งทุกข์ มีตัณหาก็ต้องมีทุกข์เป็นธรรมดา แต่ถ้าเมื่อใดสภาวะรูปนามอันใดปรากฏ คุณรู้ไปตามนั้น จิตของคุณจะไม่แน่น ไม่หนักเลย แต่จะกลับรู้ตื่น และเบิกบานในทันทีนั้น เพราะจิต ปราศจากตัณหา

    พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช

    From MGR Online

    http://www.bbznet.com/scripts2/view....order=numtopic
     
  2. ปีศาจร้าย

    ปีศาจร้าย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    666
    ค่าพลัง:
    +1,240
    มีสติทำในสิ่งที่ถูกต้องนะ
     
  3. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,937
    เป็นจริงตามที่หลวงพ่อปราโมทย์ท่านบอกไว้ครับ

    สติเราบังคับให้เกิดไมได้ ถ้าบังคับให้เกิดได้ สติตรงนั้นจะเกิดจากความจงใจถือเป็นของปลอม
    แต่เราสามารถทำเหตุปัจจัยที่เกื้อหนุนให้สติเกิดได้ ส่วนเมื่อเราทำเหตุปัจจัยแล้วสติตัวจริงจะเกิดขึ้นตอนไหน อันนี้เราบังคับไมได้
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    "จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้" นี่ก็ต้องฝึก
    สติปัฏฐาน ไม่ฝึกเฉยๆเกิดได้อย่างไร ไม่เข้าใจ
     
  5. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,937
    คำว่าฝึกเข้าใจได้หลายนัยครับ

    หมายถึง จิตที่ฝึกดีแล้ว เกาะอยุ่กับกุศล ไม่เกาะอกุศล ก็สามารถนำสุขมาให้ได้ แต่ตรงนี้เป็นของเสื่อม ไม่เที่ยง ดังนั้นมีสุขก็ย่อมมีทุกข์ พุดง่ายๆว่ายังไม่พ้นการเวียนว่ายตายเกิด

    อีกนัยของคำว่า "จิตที่ฝึกดีแล้วนำความสุขมาให้" หมายถึง การภาวนาที่หวังพ้นทุกข์ ข้ามพ้นการเวียนว่ายตายเกิด จะพ้นทุกข์ได้ต้องทำเหตุปัจจัยที่เป็นไปเพื่อการก้าวล่วงแห่งทุกข์คือการหัดมาตามรู้ความจริงในกาย ใจ ดังคำที่หลวงพ่อบอกไว้คือ

    ถูกทำเอาไม่ได้ เพราะถ้าเมื่อใดคุณพยายามทำ (ปฏิบัติ) ด้วยตัณหา/อุปาทาน คุณก็ก้าวไปสู่ความผิดพลาดเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นไม่ต้องสนใจว่าทำอย่างไรจึงจะถูก ให้รู้ทันอาการปรากฏทางกาย หรือตามรู้อาการปรากฏทางใจที่มันเที่ยวทำโน่นทำนี่ไว้เถิด แล้วการปฏิบัติจะถูกเองโดยอัตโนมัติ
     
  6. s_klongkleaw

    s_klongkleaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +239
    อนุโมทนากับทุกท่านครับ "หมั่นฝึกให้รู้สภาวะจิตอยู่ตลอด ย่อมพาเราพ้นจากกิเลสได้แน่นอน"
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    "จิตที่ฝึกดีแล้ว นำความสุขมาให้"

    พุทธภาษิตนี้ ลงตัวแล้ว คือว่า เมื่อจิตได้รับการฝึกมาอย่างดีและถูกต้องแล้วก็นำสุขมาให้ (ก็เป็นสุขเดี๋ยวนี้ในชาตินี้แหละ)

    ตรงข้าม จิตที่ไม่ได้รับการฝึก หรือ ฝึกผิดท่าเพราะเข้าใจผิด ก็นำทุกข์มาให้ (ทุกข์เดี๋ยวนี้ในชาตินี้แหละ)
     
  8. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    หมั่นมีสติอยู่กับกายเอาไว้ แล้วก็พิจารณา ความรู้สึก อารมณ์ และสภาวะธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในกาย เมื่อพิจารณาเห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงแล้วก็ได้ชื่อว่าเป็นอัน "กำหนดรู้" แล้ว

    เมื่อกำหนดรู้เห็นสภาวะตามความเป็นจริงก็จะเกิดญาณปัญญาและเกิดการปล่อยวางตามมาเอง แต่ถ้าปัญญาญาณยังไม่เห็นสภาวะต่างๆตามความเป็นจริงด้วยการกำหนดรู้ก่อน ถึงแม้จะปล่อยวางเลยก็จะยังมีสังโยชน์เหลืออยู่ไม่อาจหลุดพ้นไปได้ครับ(แค่ดูเหมือนปล่อยวางเท่านั้นก็เป็นตัณหาชนิดหนึ่งคือความไม่อยากเป็นไม่อยากมี เป็นอารมณ์อรูปฌานน่ะครับ)

    ถ้าเป็นพระอรหันต์เมื่อตัดสังโยชน์ได้เด็ดขาดจริงๆตัวตนก็จะดับไปเอง แม้จะมีความคิดมีความปริวิตกหรือเจริญเมตตากรุณาเข้ากสิณเจริญอิทธิบาทแสดงฤทธิ์อภิญญาอย่างไรก็จะไม่มีเจตนาประกอบครับ (เป็นสภาวะจิตของพระอรหันต์)
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ขอถามคุณ wit ครับว่า ตัวตนไม่มี แล้วจะดับได้อย่างไร เอาที่ไหนมาดับครับ
     
  10. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ความจริงคือ ขันธ์5 ไม่เที่ยงเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งใดที่ดับสิ่งนั้นย่อมไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงจึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเราว่าเป็นของของเรา ว่าเป็นตัวตนของเรา การไม่มีตัวตนมีลำดับขั้นในการพิจารณาตามความเป็นจริงเช่นนี้น่ะครับ
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ถ้าอย่างนั้นขันธ์ 5 ก็เป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว คือ เกิดแล้วดับไปดังว่า ประเด็นนี้พอเข้าใจรำไรๆครับ แต่ไม่ค่อยเช้าใจคำว่า ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ คุณ wit ช่วยอธิบายหน่อยครับ ว่าเราจะมีวิธีพิจารณาอย่างไร เมื่อทุกข์เกิดขึ้น

    เท่าที่เห็นหลายๆ แห่งมักไม่ค่อยกล่าวถึงกัน หลบๆ เหมือนกะว่ามองไม่เห็นทุกข์ หรือว่าทุกข์ไม่มี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2008
  12. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ขันธ์ 5 เกิดแล้วก็ดับไปเป็นธรรมชาติ แต่ถ้าไม่กำหนดสติเข้าไปกำหนดรู้ ญาณปัญญาก็จะไม่เกิดขึ้นครับ จะมองไม่เห็นความเป็นจริงของขันธ์ 5 ว่าไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นย่อมเป็นทุกข์ครับ ถ้ายึดมั่นในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นเราเป็นของของเราเป็นตัวตนของเราก็ย่อมหลีกหนีจากทุกข์ไม่พ้น เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นจิตจึงหลุดพ้นจากทุกข์ได้ครับ
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ขอวิธี "กำหนดรู้" ดังกล่าวเพื่อพัฒนาปัญญาครับ
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    วันก่อนผมนั่งสมาธิ นั่งได้สักพักก้อมีอาการแบบว่า ปวดหัวมากๆ แล้วก้อร้องไห้ ร้องแบบเสียใจมากๆ แล้วก้อมีความรู้สึกว่า มีคนพูดว่า อยากช่วยแต่ช่วยไม่ได้ มันคืออะไรครับ


    อาการปวดหัวมาก+กับร้องไห้+มีความรู้สึกว่ามีคนพูดว่า อยากช่วยแต่ช่วยไม่ได้

    อยากทราบว่า เกิดจากขันธ์ 5 เกิดดับอย่างที่คุณ wit อธิบายไหมครับ
    ถ้าใช้เราจะ "กำหนดรู้" อย่างไร ? ญาณปัญญาดังกล่าวจึงจะเกิดมองเห็นความเป็นจริงจนหลุดพ้นได้ครับ
    หากไม่ใช่แล้วแล้วมันคืออะไรครับ
     
  15. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    วิธีก็เอาสติน้อมกลับเข้ามาตามระลึกรู้อยู่ในกายทั่วพร้อม คอยสังเกต การเคลื่อนไหวของร่างกาย ความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้น ความคิด และอารมณ์ สิ่งใดเกิดขึ้นในกายบ้างก็ให้เรามีสติรู้เท่าทันครับ เมื่อเราเจริญสติต่อเนื่องก็จะตามเห็นความไม่เที่ยงของสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้เองว่าทุกสิ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปไม่ควรยึดมั่นครับ

    ปัญญาที่เกิดจากการเจริญสติเช่นนี้จะเป็นปัญญาที่เห็นว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง เกิดแล้วก็ดับไป ไม่ควรยึดมั่นครับ สภาวะธรรมต่างๆความจริงเกิดแล้วก็ดับไปแล้วแต่คนเราไปยึดมั่นถือมั่นสิ่งเหล่านั้นเอาไว้เองจนทำให้เกิดทุกข์ขึ้น ขณะจิตที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดก็จะมองไม่เห็นการดับไปของสิ่งนั้น เพราะจิตยึดไว้อยู่ ต่อเมื่อใดที่จิตปล่อยวางจากความยึดมั่นก็จะเห็นสภาวะนั้นดับไปครับ (ซึ่งการเจริญสติอยู่กับกายอยู่กับปัจจุบันขณะจะทำให้เกิดการปล่อยวางและเห็นการเกิดดับของสภาวะธรรมต่างๆได้ แม้ภายในกายเองก็มีความไม่เที่ยงมีความแปรปรวนและมีความเกิดดับอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้วเช่นกัน)
     
  16. wiwat911

    wiwat911 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +2
    แล้ว จิตมันไม่เพ่งละ แล้วจิตมันไม่โกรธละ แล้วจิตมันไม่หดหู่ละ แล้วจิตมันไม่แสวงหาละ แล้วจิตมันไม่รักละ มันไม่มีโกรธ ไม่หลง ไม่โลภ อย่างนี้เค้าเรียกว่าคนประเภทไหนคับ แล้วถ้ายังมีต้องกันข้ามเค้าเรียกคนประเภทไหนคับ
     
  17. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    โดยปกติแล้วจิตของคนปกติทั่วไปจะยังคงมีกิเลสมีตัณหาและความยึดมั่นถือมั่นอยู่มากน้อยแตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล เรียกว่าจิตอยู่ในโลกียภูมิ

    แต่ถ้าผ่านการเจริญสติอย่างถูกต้องตามหลักสติปัฏฐาน 4 จิตก็จะสามารถก้าวข้ามโลกียภูมิไปสู่โลกุตตระภูมิ คือมีภาวะจิตที่อยู่เหนือโลกอยู่เหนือกิเลสตัณหาอุปาทานต่างๆได้ ซึ่งก็ต้องผ่านการฝึกฝนจนเห็นสิ่งต่างๆด้วยญาณปัญญาเสียก่อนน่ะครับ

    คนทั่วๆไปเพียงแค่อยู่นิ่งๆเฉยๆจิตก็สงบผ่องใสได้แล้วแต่ภาวะจิตนั้นก็ยังมีกิเลสมีสังโยชน์แอบแฝงอยู่ ต้องผ่านการฝึกฝนเจริญสติฝืนกระแสกิเลสและความเคยชินเดิมๆที่ทำตามกิเลสตัณหาอุปาทาน เพื่อไถ่ถอนความยึดมั่นถือมั่นและตัดสังโยชน์ในสิ่งต่างๆให้ขาดไป
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ฝึกจิต กับ เจริญสติปัฏฐาน 4 เหมือนกันไหมครับ คุณ wit
     
  19. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต
    ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต
    ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต
    ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น
    มหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิต
    มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิต
    อื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่
    เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุด
    พ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น
    จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา
    เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง
    หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย
    ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ
    ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ

    <CENTER>จบจิตตานุปัสสนา
    ----------------------------------------------------------------</CENTER><CENTER> </CENTER>
    จากพระสูตรด้านบนเป็นฐานจิตในจิตน่ะครับ เวลาเรามีสติดูกาย ความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ ควบคู่กันไป เมื่อความรู้สึกในกาย กับความคิดแปรเปลี่ยนไปเช่นไรเราก็มีสติรับรู้ เห็นการเกิดขึ้นและดับไปของสภาวะเหล่านั้นตามที่มันเป็น เมื่อเห็นการเกิดขึ้นและดับไปของสภาวะเหล่านั้นเนืองๆ ก็จะเกิดญาณปัญญาไถ่ถอนความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ ทำให้กิเลสเบาบางลดน้อยลง จากจิตที่เคยอยู่ในโลกียภูมิก็จะค่อยๆน้อมไปสู่โลกุตตระภูมิไปตามลำดับครับ (สิ่งสำคัญคือการเจริญสติอยู่ในอารมณ์ของสติปักฐานนั้นต้องต่อเนื่องเนืองๆจึงจะได้ผลดีครับ​
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อย่างนี้เรียกว่า ฝึกฝนอบรมจิต หรือการฝึกใจครับ หรือว่าชื่อไม่สำคัญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...