**ร้านศิวิไลพระเครื่อง** วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง เกจิคณาจารย์ภาคเหนือ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิวิไล, 25 พฤษภาคม 2013.

  1. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2925

    เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ทอง สิริมังคโล วัดพระธาตุศรีจอมทอง เนื้อทองแดง ออกวัดเมืองมาง ปี 2511

    เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูพิพัฒน์คณาภิบาล เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ ท่านได้สร้างเหรียญรุ่นแรกนี้แจกจ่ายแก่คณะผู้ร่วมทำบุญทอดผ้าป่า ที่อำเภอดอยเต่า และส่วนหนึ่งนำมาแจกจ่ายแก่สาธุชนที่วัดเมืองมาง และวัดพระธาตุศรีจอมทอง จำนวนสร้าง เนื้อทองแดง ๓,๐๐๐ เหรียญ เนื้ออัลปาก้า ๒,๐๐๐ เหรียญ และล๊อกเก็ตจำนวน ๒๒๗ องค์ เป็นเหรียญในตำนานแห่งความหายากของเมืองเชียงใหม่ ครับ

    เหรียญหายากในตำนานของเมืองเชียงใหม่ ครับ

    บูชาแล้วครับ
    Clip_11.jpg Clip_12.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2018
  2. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รับทราบการจอง ขอบคุณครับ
     
  3. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2926

    เสือครูบาหน้อย วัดบ้านปง จ.เชียงใหม่


    เกจิผู้ทรงวิทยาคมแห่งเมืองเชียงใหม่

    เสือรุ่นนี้แกะขึ้นจากเขี้ยวหมูป่าซึ่งกลุ่ม ต.ช.ด กลุ่มหนึ่งที่มีความศรัทธาในตัวครูบาท่านได้สร้างขึ้น

    เสือแห่งเมืองเหนือที่มีศิลป์การแกะ เนื้อหาเขี้ยว มีรอยจารที่ตัว เป็นคาถา อักขระ ล้านนาชัดเจน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร

    ตัวนี้ตัวใใหญ่ เป็นเสือตัวเล็กอ้าปาก ใช้ทางเมตตามหานิยมดีนักแล

    สุดยอดเครื่องรางแห่งเมืองเหนืออีกชิ้นที่น่าใช้มากๆครับ


    ราคา 3550 บาท สนใจสอบถามได้ครับ Inbox หรือโทร.086-1936900

    เขี้ยวเสือแกะ1 a.jpg เขี้ยวเสือแกะ1 b.jpg เขี้ยวเสือแกะ1 c.jpg เขี้ยวเสือแกะ1 e.jpg เขี้ยวเสือแกะ1 d.jpg เขี้ยวเสือแกะ1 f.jpg เขี้ยวเสือแกะ1 g.jpg

    หลวงปู่ครูบาน้อย ชยวังโส วัดบ้านปง ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ท่านเกิดวันอังคาร ที่ ๓ เมษายน ๒๔๔๐ ตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๗ เหนือ ปีจอ ท่านเป็นคนบ้านปง ต.อินทขิล อ.แม่แตง โดยกำเนิด โยมบิดาท่านชื่อ พ่อวงศ์ โยมมารดาชื่อ แม่ออน นามสกุล พงษ์คำ

    ท่านอายุได้ ๑๓ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบ้านปง โดยมีครูบามโนชัย วัดศรีภูมินทร์ ต. ช่อแล เป็นพระอุปัชฌายา และท่านได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาต่างๆ กับท่านครูบามโนชัย ซึ่งสมัยนั้นได้เรียนการปฏิบัติธรรมนั่งกรรมฐานเป็นส่วนมาก แล้วมักจะได้เรียน วิชาคาถาอาคมควบคู่กันไปด้วย ท่านเล่าเรียน จนท่านสามารถเข้าถึง และปฏิบัติได้ดี

    จนท่านอายุ ๒๓ ปี ท่านได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบ้านปง โดยมีท่าน ครูบามโนชัย เป็นพระอุปัชฌาย์ พระศรีวิชัย วัดป่าบง อินทขิล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสิทธิ วัดม่วงคำ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านได้เรียนนักธรรมชั้นต่างๆ จนสอบนักธรรมตรีได้ ในพ.ศ .๒๔๘๔ และนักธรรมโทได้ในปี ๒๔๘๖ และ นักธรรมชั้นเอก ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ในสมัยที่ท่านเป็นหนุ่มท่านได้เดินธุดงค์จาก อ. แม่แตง ไปสู่ อ.ฝาง ไปตามป่าช้าต่างๆ ถึงสี่เดือน ท่านจึงกลับมาจำพรรษา ที่วัดอีกครั้งหนึ่ง

    ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านปง เมื่อ วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๘ และได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าคณะตำบลอินทขิล ในวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๘๙ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นตรี ที่ "พระครู ชัยวงศ์ วิวัฒน์" ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๗ และ ชั้นโท วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๔ ชันเอกวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๖ และ หลวงปู่ท่านก็เป็นผู้หนึ่งที่ได้มีโอกาสได้ร่วมเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์ ล้านนา ซึ่งก็คือในตอนที่ท่าน ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้เป็น ประธานการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ในปี พ.ศ.๒๔๗๗ ท่านได้ร่วมกับโยมพ่อ วงษ์ และคณะศรัทธาญาติโยมวัดบ้านปง มาร่วมสร้างทางกับท่านครูบาเจ้าและท่านได้ฝากตัว และอุปัฏฐาก ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยและร่วมงานในการบูรณะวัดสวนดอก วัดพระสิงห์ และที่อื่นๆอีกมากมาย ครูบาน้อยท่านเป็นพระที่ใจดี มีเมตตาสูง ใครที่เคยไปกราบท่านมักจะประทับใจในรอยยิ้มของท่านอยู่เสมอครับ อีกทั้งท่านยังเป็นที่เคารพรักในบรรดา ลูกศิษย์ลูกหา และพระสงฆ์อีกจำนวนมากมายครับ

    หลวงปู่ครูบาน้อย ท่านได้มรณะภาพ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๑ เวลา ๐๘ . ๓๐ น ด้วยโรคชรา สิริรวมอายุของท่านได้ ๑๐๑ ปี ปัจจุบันทางวัดได้เก็บรักษา สรีระร่างกายของท่านไว้ ในโลงแก้วที่วัดบ้านปง โดยสรีระของท่านยังคงเป็นปกติไม่เน่าไม่เปื่อยแต่อย่างใด

    Clip_3.jpg

    Clip_6.jpg Clip_7.jpg Clip_8.jpg Clip_9.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2018
  4. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2927

    เหรียญรุ่นแรกแจกกฐิน ครูบาผ่าผ่า วัดผาผ่า ปี 2517
    เนื้อทองแดง


    เกจิผู้ทรงวิทยาคมแห่งเมือง แม่สะเรียง

    สวยเดิมไม่ผ่านการใช้ ตอกโค๊ค กว ชัดเจน สร้างน้อยหายากมาก


    ราคา 1650 บาท พร้อมจัดส่ง EMS ครับ

    dsr.jpg dsfs.jpg vg.jpg


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • dsr.jpg
      dsr.jpg
      ขนาดไฟล์:
      146.9 KB
      เปิดดู:
      48
    • dsfs.jpg
      dsfs.jpg
      ขนาดไฟล์:
      145.6 KB
      เปิดดู:
      43
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2018
  5. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2928

    เหรียญกิ่งไผ่ หลวงพ่อเกษม ปี 2518 เนื้อทองแดง สวย ๆ

    ปิดรายการนี้ครับ

    ko.jpg jh.jpg ol.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2018
  6. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2929

    เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่จันทร์ กุสโล วัดเจดีย์หลวง ปี 2520

    เหรียญหายากของสายพระป่าแห่งดินแดนล้านนาครับ

    ราคา 800 บาท พร้อมจัดส่ง EMS ครับ

    IMG_5710.JPG IMG_5711.JPG Clip_10.jpg



    ประวัติและปฏิปทา พระพุทธพจนวราภรณ์ (หลวงปู่จันทร์ กุสโล) วัดเจดีย์หลวง
    วรวิหาร ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ถิ่นกำเนิด ณ เรือนไม้อันร่มรื่นริมน้ำปิง บ้านท่ากองิ้ว ตำบลปากบ่อง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ปีพุทธศักราช 2460 นายนาริน และนางต๊ะ แสงทอง ผู้ภรรยา ได้มีโอกาสรับขวัญทายาทเพศชายคนที่ 6 ท่ามกลางความปิติยินดีของพี่ชายและพี่สาวทั้ง 5 คน ในวันจันทร์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 1 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2460 ทารากเพศชายสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ผิวพรรณสะอาดหมดจด มีนามว่า “เด็กชายจันทร์ แสงทอง” ชีวิตปฐมวัย หลังจากที่โยมบิดาและโยมมารดาแต่งงานกันไป ได้ไปทำการค้าขายอยู่ที่ตลาดท่ากองิ้ว ตำบลปากบ่อง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน จนกระทั่งให้กำเนิดบุตรชายคนสุดท้อง (พระพุทธพจนวราภรณ์) เมื่อท่านอายุได้ 8 เดือน โยมบิดาได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคระบาด คือ กาฬโรค หลังจากโยมบิดาเสียชีวิตแล้ว โยมมารดาได้ย้ายถิ่นฐานครอบครัวมาอยู่ในตลาดเมืองลำพูน เพื่อทำกิจการค้าขาย ซึ่งต่อมาเมื่อไม่อาจที่จะดำเนินการค้าขายได้อีกต่อไป จึงได้ย้ายถิ่นฐานอีก ไปอยู่ที่บ้านป่าแดด ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เนื่องจากมีปัญาและอุปสรรคทางชีวิตครอบครัว คือโยมบิดาเสียชีวิตและต้องย้ายที่อยู่บ่อย จึงทำให้โอกาสทางการศึกษาผ่านไป จนกระทั่งอายุเลยเกณฑ์ภาคบังคับ (โรงเรียนในสมัยนั้น ถ้าเด็กอายุเลยเกณฑ์แล้วจะไม่รับเข้าเรียน) ท่านจึงต้องใช้ชีวิตอยู่แบบชาวบ้าน ที่ไม่มีโอกาสทางการศึกษา ต้องช่วยโยมมารดาทำงานตามฐานะ คือเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย ท่านเล่าให้ฟังว่า สถานที่เลี้ยงวัวเลี้ยงควายของท่านในสมัยเด็กๆ นั้นคือบริเวณทางรถไฟตั้งแต่แม่น้ำกวง เรื่อยไปจนถึงบริเวณดอยติ (อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ในปัจจุบัน) เมื่อปีพุทธศักราช 2474 เมื่อท่านอายุย่างเข้า 14 ปี โยมมารดาได้พากันไปฝากเป็นศิษย์วัดป่าแดด ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เป็นศิษย์วัดร่วมกับพี่ชาย (นายบุญปั๋น) ซึ่งบวชเป็นสามเณรอยู่ที่นั่น ท่านได้มีโอกาสเรียนอักษรพื้นเมือง ท่องบทสวดเจ็ดตำนาน และคำขอบวชเพื่อเตรียมตัวบวชเป็นสามเณร ในระหว่างเป็นศิษย์วัด ท่านเล่าให้ฟังว่า ลูกศิษย์ที่เป็นเพื่อนๆ กัน เมื่อพวกเขาได้รับประทานอาหารเช้าเสร็จแล้ว ได้ไปโรงเรียนกันหมด ส่วนตัวท่านไม่ได้ไปเรียน เนื่องจากอายุเลยเกณฑ์ เลยต้องทำหน้าที่ขโยม (เป็นภาษาเหนือ หมายถึง ศิษย์วัด) ไปเก็บอาหารจากชาวบ้านมาถวายท่านสมภาร ประมาณเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2475 ขณะที่ท่านกำลังตัดไม่ไผ่จะทำรั่ว พี่ชายได้มาตามให้ไปอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากญาติที่อยู่ในเมืองลำพูนจะบวชเป็นสามเณรอยู่ที่นั่น ท่านจึงได้มีโอกาสเข้ามาเป็นศิษย์วัดเจดีย์หลวงฯ โดยได้รับการศึกษาชั้นเตรียม (ก่อนเรียนชั้นประถม) นับเป็นการเริ่มต้นเรียนภาษาไทยของท่าน ที่โรงเรียนพุทธโสภณ (ซึ่งในสมัยนั้นตั้งอยู่ในวัดเจดีย์หลวงฯ ทางด้านเหนือของพระวิหาร ตรงที่เป็นศาลาเอนกประสงค์ในปัจจุบัน) เป็นเวลาประมาณ 4 เดือน พออ่านออกเขียนได้แล้ว ท่านพระครูสังฆรักษ์ (แหวว ธมฺมทินโน) (ต่อมาได้รับสมณศักดิ์ในราชทินนามที่ พระพุทธโสภณ) เห็นว่าอายุมากแล้ว จึงให้บรรพชาเป็นสามเณร นับว่าเป็นการเริ่มต้นเข้าสู่ร่มเงาในบวรพระพุทธศาสนา การบรรพชา ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 15 ปี ในเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2475 ณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระครูนพีสีลพิศาลคุณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ การอุปสมบท เมื่อท่านมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในทางพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พุทธศักราช 2480 ณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี พระพุทธโสภณ (แหวว ธมฺมทินโน) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูมหาเจติยาภิบาล วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์, สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระญาณดิลก วัดพระศรีมหาธาตุฯ เขตบางเขน กรุงเทพฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระครูพุทธิโสภณ (บุญปั๋น) วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นพระอนุสานาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “กุสโล” ซึ่งแปลว่า “ผู้ฉลาด” การศึกษา พระพุทธพจนวราภรณ์ ได้เข้าเรียน จนได้รับวิทยฐานะ นักธรรมเอก ในปี พ.ศ. 2482 และ เปรียญธรรม ๕ ประโยค ในปี พ.ศ. 2482 นอกจากนี้ยังได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ ทางด้าน การพัฒนาจากสถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงหลายแห่งของไทย ได้แก่ ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาชุมชน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (พ.ศ. 2530) ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. 2532) ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (พ.ศ. 2535) และปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการวางแผนและพัฒนาชนบท จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (พ.ศ. 2538) นอกจากนี้ท่านยังได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติมากมาย อาทิ เป็นศิลปินแห่งชาติ ด้านวัฒนธรรม สาขาภูมิปัญญาชาวบ้าน และพระสงฆ์นักพัฒนาดีเด่น เป็นต้น ลำดับสมณศักดิ์ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2496 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ “พระครูวินัยโกศล” วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2512 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ “พระราชวินยาภรณ์ สุนทรธรรมสาธิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี” วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2526 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ “พระเทพกวี เมธีธรรมโฆษิต อรรถกิจจาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี” วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2535 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม เป็นกรณีพิเศษ ในราชทินนามที่ “พระธรรมดิลก ธรรมสาธก วิจิตราภรณ์สุนทร พิพิธธรรมวาที ตรีปิฎกวิภูสิต ธรรมมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี” วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2544 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏหรือรองสมเด็จพระราชาคณะ ในราชทินนามที่ “พระพุทธพจนวราภรณ์ อดิศรวุฒิโสภณ วิมลศีลาจารวัตร วิสุทธิธรรมปฏิบัติวินยวาท พุทธศาสน์คณาธิกร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี” ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2487 ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสงฆ์ประจำอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และเจ้าคณะอำเภอ จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน-แม่ฮ่องสอน (ธรรมยุต) พ.ศ.2488 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระวินัยธรชั้นต้น ภาค 5 เขต 1 พ.ศ.2495 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะธรรมยุตผู้ช่วย จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน-ลำปาง-อุตรดิตถ์ พ.ศ.2502 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2512 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2514 ได้รับการแต่งตั้งเป็นครูใหญ่โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โรงเรียน สามัคคีวิทยาทาน พ.ศ.2516 ได้รับการแต่งตั้งรักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าดาราภิรมย์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2522 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน-แม่ฮ่องสอน (ธรรมยุต) พ.ศ.2524 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าดาราภิรมย์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2530 ได้รับการแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการคณะธรรมยุต และเป็นประธานกรรมการโรงเรียน พระปริยัติธรรม และโรงเรียนธรรมสาธิตศึกษา จังหวัดลำพูน พ.ศ.2534 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะภาค 4-5-6-7 (ธรรมยุต) และเป็นรองเลขาธิการสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา พ.ศ.2535 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร (พระอารามหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิการศึกษา การศาสนา การวัฒณธรรม เขตการศึกษา ๘ พ.ศ.2536 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะภาค 4-5-6-7 (ธรรมยุต) พ.ศ.2537 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะภาค 4-5-6-7 (ธรรมยุต) ตำแหน่งงานอื่นๆ พ.ศ.2502 เป็นประธานกรรมการมูลนิธิเมตตาศึกษา ได้ก่อตั้งโรงเรียนเมตตาศึกษา ซึ่งเป็นโรง เรียนเอกชนที่รับเด็กเรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และมีความประพฤติเรียบร้อย เข้าเรียนโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ดำเนินงานมาจนถึงปัจจุบัน โดยอาศัยทุนทรัพย์จากผู้มีจิตศรัทธา ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิเมตตาศึกษา ตั้งอยู่ที่บริเวณภายในวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2517 เป็นประธานกรรมการมูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท โดยจัดตั้งมูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ที่วัดป่าดาราภิรมย์ (พระอารามหลวง) เลขที่ 514 หมู่ที่ 1 ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2518 เป็นประธานคณะกรรมการส่วนภูมิภาค ภาค 5 ของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย (ฝ่ายบรรพชิต), เป็นประธานชมรมศาสนิกสัมพันธ์เชียงใหม่ พ.ศ.2521 เป็นอาจารย์พิเศษของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท อาทิ คณะศึกษาศาสตร์, มนุษยศาสตร์, สังคมศาสตร์, พยาบาลศาสตร์ ฯลฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสหวิทยาลัยครูเชียงใหม่ พ.ศ.2525 เป็นกรรมการที่ปรึกษาชมรมยาพื้นบ้านล้านนาไทย ซึ่งเป็นการรักษาและอนุรักษ์ยา พื้นบ้านของไทย พ.ศ.2526 เป็นกรรมการอุปถัมภ์โรงเรียนพุทธิโสภณ พ.ศ.2527 เป็นกรรมการที่ปรึกษาหน่วยงานสากล ที่ให้การส่งเสริมความร่วมมือ และประสานงานการพัฒนาชนบท ทุกระดับในประเทศไทย, เป็นกรรมการอุปถัมภ์มูลนิธิส่งเสริมโภชนาการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ พ.ศ.2532 เป็นกรรมอุปถัมภ์ชมรมธรรมานามัยศูนย์เชียงใหม่, เป็นกรรมการวางแผนการศึกษา การศาสนา และศิลปวัฒนธรรม ประจำจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2534 ร่วมกับมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพฯ จัดตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ทางพระพุทธศาสนาขึ้น ณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ มีชื่อว่า “สภาการศึกษามหากุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา” พ.ศ.2535 เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม เขตการศึกษา 8 ผลงานดีเด่นและเกียรติคุณที่ได้รับยกย่อง พ.ศ.2502-พ.ศ.2551 ริเริ่มงานพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยระบบมูลนิธิฯ และการจัดการศึกษาในลักษณะแบบให้เปล่าแก่เด็กยากจน ที่ไม่มีโอกาส คือ มูลนิธิเมตตาศึกษาและโรงเรียนเมตตาศึกษา ได้มีศรัทธาจำนวนมากทั้งส่วนบุคคล และองค์กรทั้งของรัฐและเอกชนในประเทศ และต่างประเทศ ได้ร่วมกันบริจาคสร้างตึกเรียน, หอประชุมมีชื่อว่า “วินยาภรณ์” (ตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชวินยาภรณ์ ด้วยเงินบริจาคจากองค์กร NOVIB ประเทศเนเธอร์แลนด์) และช่วยให้นักเรียนที่นอกจากจะไม่เสียค่าเล่าเรียน และค่าบำรุงใดๆ แล้วยังได้รับความช่วยเหลือตามความจำเป็นด้านต่างๆ อาทิ ค่าอาหารกลางวัน, ค่ารถไปโรงเรียน, ค่าอุปกรณ์การเรียน นอกจากนี้ นักเรียนยังมีโอกาสได้ทำงานพิเศษ เพื่อเสริมรายได้ให้ครอบครัว นอกเวลาเรียน และระหว่างปิดภาคเรียน ตลอดจนมีโอกาสแข่งขันชิงทุนของมูลนิธิเมตตายามาโมโต (มูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นจากข้อตกลงร่วมกันระหว่าง Mr.Munio Yamamoto ชาวญี่ปุ่น ที่ศรัทธาต่อพระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระธรรมดิลก เมื่อปลายปี พ.ศ.2528) หลังจากที่จบการศึกษาของโรงเรียนในระดับมัธยม 6 แล้ว เพื่อเข้ารับการศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นเวลา ๑ ปีเต็มในประเทศ หรือบางปีก็ได้ไปเรียนและฝึกงานในบริษัทของผู้ให้ทุนผ่านมูลนิธิฯ มา เช่น ณ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 6 เดือนเต็ม เป็นต้น ผลสำเร็จสูงสุดของผู้ได้รับทุนนี้คือ ทุกคนได้รับการจองตัวหรือได้งานดี และได้รับเงินเดือนสูงกว่าระดับปริญญา พ.ศ.2502-พ.ศ.2551 ใช้ความสามารถเชิงกวีนิพนธ์ เชิงปลูกฝังคุณธรรม ที่ให้ข้อคิดในการดำรงชีวิตประจำวันของคนทั่วไป โดยได้เริ่มเผยแพร่ออกสู่สายตาประชาชนในรูปของกวีนิพนธ์ “มงคลชีวิตประสิทธิ์พร” ที่จัดพิมพ์ลงในบัตรส่งความสุขในแต่ละปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 เป็นต้นมา คำพรข้อคิดสั้นๆ ที่พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระเทพกวี ได้ร้อยกรองขึ้นนี้ มีผู้กล่าวขวัญและนิยมกันมาก คือ ได้มีผู้รวบรวมจัดพิมพ์เผยแพร่ในลักษณะของจุลสาร, หนังสือชำร่วยที่แจกในโอกาสต่างๆ และได้นำออกรายการข้อคิดประจำวันทางสถานีวิทยุทหารอากาศ และสถานีวิทยุประชาสัมพันธ์เชียงใหม่ ทุกวัน และในปี พ.ศ.2531 ได้มีผู้นำกวีนิพนธ์ “มงคลชีวิตประสิทธิ์พร” มาแปลเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้ผลงานเชิงกวีนิพนธ์ที่เป็นคติเตือนใจหรือสอนใจนี้ แพร่หลายเป็นที่นิยมยกย่องในต่างประเทศอีกด้วย การมรณภาพ พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) ได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคถุงลมโป่งพอง และโรคปอด เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2551 เวลาประมาณ 18.35 นาฬิกา หลังจากรักษาอาการอาพาธมาเป็นเวลานาน โดยคณะแพทย์จากโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ได้ย้ายการรักษาจากโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มาถวายการรักษาอยู่ ณ กุฏิจันทร์ กุสโล ภายในวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2551 เป็นต้นมาจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต สิริอายุรวมได้ 91 ปี พรรษา 71 ท่ามกลางความโศกเศร้าอาลัยเป็นยิ่งนักของบรรดาคณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ และสาธุชนทั่วไปที่ไปเคารพศพอย่างเนืองแน่น สำรวมจิตพิศแจ้ง ทางธรรม ดวงจิตได้ดื่มด่ำ ธรรมรส ได้ปัญญาอุปถัมภ์ รู้ชัด พระธรรมจะปรากฏ สว่างจ้าผ่านพ้นนิวรณ์ คติธรรมคำกลอน สำรวมจิต รจนาไว้เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙ โดย พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2018
  7. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2930

    เหรียญหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดบวรนิเวศวรวิหาร ปี 20
    เนื้อทองแดง พิมพ์ใหญ่


    เหรียญดีพิธีใหญ่ ตอกโค๊ตชัดเจน สวยเดิม ๆ


    บูชาแล้วครับ


    IMG_5676.JPG IMG_5677.JPG

    สุดยอดพระรุ่นหนึ่งของพิธีในเมืองไทยและเป็นงานชุมนุมพระคณาจารย์สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต รวมเกจิอาจารย์และพระเถรานุเถระที่ทรงคุณวุฒิทั่วประเทศไทย ในพิธีมหาพุทธภิเษก ณ วัดบวรนิเวศ


    กับเหรียญภูริทัตโต เหรียญดีพิธีใหญ่


    +++วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง+++

    ๑.เพื่อสร้างพระประธาน ถวายเป็นอุเทสิกะเจดีย์ไว้เป็นที่เคารพสักการะบูชาในยามระลึกถึงองค์พระ สัมมาสัมพุทธเจ้าและจะได้นำไปประดิษฐาน ณ วัดบ้านตาล ตำบลโคกศรี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยจำลองแบบมาจากพระพุทธชินบัญชรพรหมรังษี และสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ได้ประธานพระนามพระประธานนี้ว่า *พระพุทธชินบัญชรพรหมรังษี*

    ๒.เพื่อเทอดทูนเกียรติคุณแด่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต โดยถวายนามว่าพระว่า**พระกริ่ง+พระชัยวัฒน์+เหรียญ ภูริทัตโต**

    ๓.เงินรายได้จากการสั่งจอง เช่าบูชา นำถวายวัดศิษย์สายพระอาจารย์มั่นฯ ที่ร่วมเป็นคณะกรรมการ



    +++งานพิธีมหาพุทธาภิเษก+++

    สมเด็จพระสังฆราช เป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย
    พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม เป็นองค์ที่ดับเทียนชัย
    ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    วันที่ ๒๖-๒๗-๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๐

    +++ รายนามพระเถระที่เข้าร่วมพิธี วันที่ ๒๖ พ.ย. ๒๕๒๐ ครั้งที่ ๑ +++

    ๑.สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศ กรุงเทพฯ
    ๒.หลวงปู่ธูป วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแค) กรุงเทพฯ
    ๓.หลวงพ่อชิต วัดเขาเต่า ประจวบคีรีขันธ์
    ๔.หลวงพ่อศิริ วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
    ๕.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    ๖.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
    ๗.หลวงพ่อใหญ่ วัดสะแก อยุธยา
    ๘.หลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร กรุงเทพฯ
    ๙.หลวงพ่อบาง วัดหนองพลับ สระบุรี
    ๑๐.หลวงพ่อสา วัดราชนัดดา กรุงเทพฯ
    ๑๑.หลวงพ่อเส็ง วัดน้อยนางหงษ์ กรุงเทพฯ
    ๑๒.หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม กาณจนบุรี
    ๑๓.หลวงพ่อแฟ้ม วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
    ๑๔.หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา กรุงเทพฯ
    ๑๕.หลวงพ่อหิน วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
    ๑๖.หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม สิงห์บุรี
    ๑๗.หลวงพ่อนนท์ วัดเหนือวน ราชบุรี
    ๑๘.หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ ชัยนาท
    ๑๙.พระอาจารย์พันเทพ ฐานวโร วัดศรีบุญเรือน เชียงใหม่
    ๒๐.หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม กาญจนบุรี
    ๒๑.หลวงพ่อทองอยู่ วัดเกยชัยเหนือ นครสวรรค์
    ๒๒.พระโสภณวิสุทธิเถระ วัดศิลขันธาราม อ่างทอง
    ๒๓.พระครูประสิทธิ์วิทยาคม วัดเพียรบาตร ศรีสะเกษ

    +++ รายนามพระเถระที่เข้าร่วมพิธี วันที่ ๒๗ พ.ย. ๒๕๒๐ ครั้งที่ ๒ +++

    ๑.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    ๒.พระคัมภีรญาณเถร วัดชัยภูมิวนาราม ชัยภูมิ
    ๓.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม
    ๔.หลวงพ่อบุญ วัดวังมะนาว
    ๕.หลวงพ่อผิว วัดสง่างาม ปราจีนบุรี
    ๖.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์ สมุทรสาคร
    ๗.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร
    ๘.พระครูนนทสิทธิการ วัดไทรน้อย นนทบุรี
    ๙.หลวงพ่อพุฒ สารสุข วัดวงษ์ภาสน์ อ่างทอง
    ๑๐.หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง ระยอง
    ๑๑.หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี
    ๑๒.หลวงพ่อคง วัดสรรพรส จันทบุรี
    ๑๓.พระครูสารกิจประยุค วัดกุญชรนาราม มหาสารคาม
    ๑๔.หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
    ๑๕.หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง
    ๑๖.หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นนทบุรี
    ๑๗.ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งน้ำหลวง เชียงใหม่
    ๑๘.หลวงพ่อสด วัดหางน้ำสาคร ชัยนาท
    ๑๙.หลวงพ่อจ้วน วัดเขาลูกช้าง
    ๒๐.พระครูบวรชิมรัตน์ วัดนางพญา พิษณุโลก
    ๒๑.พระครูสุวรรณศิลาจารย์ วัดก้อนแก้ว ฉะเชิงเทรา

    +++ รายนามพระเถระที่เข้าร่วมพิธี วันที่ ๒๘ พ.ย. ๒๕๒๐ ครั้งที่ ๓ +++

    ๑.พระเทพบัณฑิต วัดศรีเมือง หนองคาย
    ๒.พระอาจารย์จวน กุลเชโฐ หนองคาย
    ๓.พระอาจารย์คำพันธ์ วัดอรุณรังษี หนองคาย
    ๔.พระพิศาลศาสนกิจ วัดจันทาราม หนองคาย
    ๕.พระครูสุนทรนวกิจ วัดจันทาราม หนองคาย
    ๖.หลวงปู่อ่อนสี วัดพระงามศรีมงคล หนองคาย
    ๗.พระครูสมุทร์ญาณประยูติ วัดบึงปังพลาราม หนองคาย
    ๘.หลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพรต หนองคาย
    ๙.พระอาจารย์บัวพา วัดป่าพระสถิตย์ หนองคาย
    ๑๐.หลวงพ่อทองพูล วัดสามัคคีอุปถัมภ์ หนองคาย
    ๑๑.พระอาจารย์บุญมา วัดศิริสาละวัน อุดรธานี
    ๑๒.หลวงปู่ชม วัดบ้านวัวฆ้อง อุดรธานี
    ๑๓.พระอาจารย์บุญเพ็ง วัดถ้ำกลองเพล
    ๑๔.พระครูศรีธรรมาคุนาธาร วัดป่าo อุดรธานี
    ๑๕.หลวงปู่เพียร วัดป่าหนองกอง อุดรธานี
    ๑๖.พระอาจารย์บุญเลิศ วัดโนนสง่า อุดรธานี
    ๑๗.หลวงปู่สิม พุทธจาโร วัดสันติสังฆราม สกลนคร
    ๑๘.หลวงปู่แว่น วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร
    ๑๙.พระอาจารย์บุญ วัดศรีสว่างแดนดิน สกลนคร
    ๒๐.พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม สกลนคร
    ๒๑.พระอาจารย์ลี วัดเหวลึก สกลนคร
    ๒๒.หลวงปู่อ่อนสี วัดธรรมมิการาม สกลนคร
    ๒๓.หลวงปู่ผาง ปริปุญโณ วัดประสาทธรรม สกลนคร
    ๒๔.พระอาจารย์สุภาพ วัดทุ่งสว่าง สกลนคร
    ๒๕.พระอาจารย์คำบ่อ วัดใหม่ สกลนคร
    ๒๖.พระอาจารย์สนั่น วัดป่าบ้านหนองไผ่ สกลนคร
    ๒๗.พระอาจารย์สุพรรณ วัดประชานิมิตร สกลนคร
    ๒๘.พระอาจารย์จันดี วัดศรีสะอาด สกลนคร
    ๒๙.หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์
    ๓๐.พระญาณสิทธาจารย์ วัดเทพพิทักษ์ปุณนาราม นครราชสีมา
    ๓๑.หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา
    ๓๒.หลวงตาพวง วัดศรีธรรมาราม ยโสธร
    ๓๓.พระราชธรรมนุวัตร์ วัดประชานิยม กาฬสินธุ์
    ๓๔.พระอาจารย์หนูอินทร์ วัดพุทธคายา กาฬสินธุ์
    ๓๕พระอาจารย์หนู วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
    ๓๖.หลวงปู่หลวง วัดสำราญนิวาส ลำปาง
    ๓๗.พระอาจารย์ไพบูลย์ วัดป่ารัตนาราม พะเยาว์
    ๓๘.หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดเลยหลง เลย
    ๓๙.พระอาจารย์ผั่น วัดถ้ำเอราวัณ เลย
    ๔๐.หลวงปู่ซามา วัดป่าอัมพวัน เลย
    ๔๑.หลวงปู่ท่อน วัดศรีอภัยวัน เลย
    ๔๒.พระอาจารย์ศรีธน สีละธโน วัดถ้ำผาปู่ เลย
    ๔๓.พระพุทธิสารธโศภณ วัดศรีโพนแท่ง เลย
    ๔๔.พระอาจารย์บุญเย็น สำนักสงฆ์ เชียงใหม่
    ๔๕.หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม ร้อยเอ็ด


    **งานนี้นับว่าเป็นงานยิ่งใหญ่งาน หนึ่งมีพิธี ๓ วัน ๓ คืน ของครูบาอาจารย์สายกองทัพธรรมของท่านอาจารย์มั่นและ**พระกริ่ง+พระชัยวัฒน์ +เหรียญ ภูริทัตโต**รุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่ใช้ชื่อของท่านอาจารย์ใหญ่มั่นด้วย**
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2018
  8. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2931

    เหรียญหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดบวรนิเวศวรวิหาร ปี 20

    เนื้อทองแดงพิมพ์เล็ก


    เหรียญดีพิธีใหญ่ ตอกโค๊ตชัดเจน สวยเดิมๆ

    ราคา 750 บาท สนในใจสอบถามได้ครับ

    IMG_5678.JPG IMG_5679.JPG

    สุดยอดพระรุ่นหนึ่งของพิธีในเมืองไทยและเป็นงานชุมนุมพระคณาจารย์สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต รวมเกจิอาจารย์และพระเถรานุเถระที่ทรงคุณวุฒิทั่วประเทศไทย ในพิธีมหาพุทธภิเษก ณ วัดบวรนิเวศ


    กับเหรียญภูริทัตโต เหรียญดีพิธีใหญ่


    +++วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง+++

    ๑.เพื่อสร้างพระประธาน ถวายเป็นอุเทสิกะเจดีย์ไว้เป็นที่เคารพสักการะบูชาในยามระลึกถึงองค์พระ สัมมาสัมพุทธเจ้าและจะได้นำไปประดิษฐาน ณ วัดบ้านตาล ตำบลโคกศรี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยจำลองแบบมาจากพระพุทธชินบัญชรพรหมรังษี และสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ได้ประธานพระนามพระประธานนี้ว่า *พระพุทธชินบัญชรพรหมรังษี*

    ๒.เพื่อเทอดทูนเกียรติคุณแด่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต โดยถวายนามว่าพระว่า**พระกริ่ง+พระชัยวัฒน์+เหรียญ ภูริทัตโต**

    ๓.เงินรายได้จากการสั่งจอง เช่าบูชา นำถวายวัดศิษย์สายพระอาจารย์มั่นฯ ที่ร่วมเป็นคณะกรรมการ



    +++งานพิธีมหาพุทธาภิเษก+++

    สมเด็จพระสังฆราช เป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย
    พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม เป็นองค์ที่ดับเทียนชัย
    ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    วันที่ ๒๖-๒๗-๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๐

    +++ รายนามพระเถระที่เข้าร่วมพิธี วันที่ ๒๖ พ.ย. ๒๕๒๐ ครั้งที่ ๑ +++

    ๑.สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศ กรุงเทพฯ
    ๒.หลวงปู่ธูป วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแค) กรุงเทพฯ
    ๓.หลวงพ่อชิต วัดเขาเต่า ประจวบคีรีขันธ์
    ๔.หลวงพ่อศิริ วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
    ๕.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    ๖.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
    ๗.หลวงพ่อใหญ่ วัดสะแก อยุธยา
    ๘.หลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร กรุงเทพฯ
    ๙.หลวงพ่อบาง วัดหนองพลับ สระบุรี
    ๑๐.หลวงพ่อสา วัดราชนัดดา กรุงเทพฯ
    ๑๑.หลวงพ่อเส็ง วัดน้อยนางหงษ์ กรุงเทพฯ
    ๑๒.หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม กาณจนบุรี
    ๑๓.หลวงพ่อแฟ้ม วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
    ๑๔.หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา กรุงเทพฯ
    ๑๕.หลวงพ่อหิน วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
    ๑๖.หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม สิงห์บุรี
    ๑๗.หลวงพ่อนนท์ วัดเหนือวน ราชบุรี
    ๑๘.หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ ชัยนาท
    ๑๙.พระอาจารย์พันเทพ ฐานวโร วัดศรีบุญเรือน เชียงใหม่
    ๒๐.หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม กาญจนบุรี
    ๒๑.หลวงพ่อทองอยู่ วัดเกยชัยเหนือ นครสวรรค์
    ๒๒.พระโสภณวิสุทธิเถระ วัดศิลขันธาราม อ่างทอง
    ๒๓.พระครูประสิทธิ์วิทยาคม วัดเพียรบาตร ศรีสะเกษ

    +++ รายนามพระเถระที่เข้าร่วมพิธี วันที่ ๒๗ พ.ย. ๒๕๒๐ ครั้งที่ ๒ +++

    ๑.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    ๒.พระคัมภีรญาณเถร วัดชัยภูมิวนาราม ชัยภูมิ
    ๓.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม
    ๔.หลวงพ่อบุญ วัดวังมะนาว
    ๕.หลวงพ่อผิว วัดสง่างาม ปราจีนบุรี
    ๖.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์ สมุทรสาคร
    ๗.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร
    ๘.พระครูนนทสิทธิการ วัดไทรน้อย นนทบุรี
    ๙.หลวงพ่อพุฒ สารสุข วัดวงษ์ภาสน์ อ่างทอง
    ๑๐.หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง ระยอง
    ๑๑.หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี
    ๑๒.หลวงพ่อคง วัดสรรพรส จันทบุรี
    ๑๓.พระครูสารกิจประยุค วัดกุญชรนาราม มหาสารคาม
    ๑๔.หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
    ๑๕.หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง
    ๑๖.หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นนทบุรี
    ๑๗.ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งน้ำหลวง เชียงใหม่
    ๑๘.หลวงพ่อสด วัดหางน้ำสาคร ชัยนาท
    ๑๙.หลวงพ่อจ้วน วัดเขาลูกช้าง
    ๒๐.พระครูบวรชิมรัตน์ วัดนางพญา พิษณุโลก
    ๒๑.พระครูสุวรรณศิลาจารย์ วัดก้อนแก้ว ฉะเชิงเทรา

    +++ รายนามพระเถระที่เข้าร่วมพิธี วันที่ ๒๘ พ.ย. ๒๕๒๐ ครั้งที่ ๓ +++

    ๑.พระเทพบัณฑิต วัดศรีเมือง หนองคาย
    ๒.พระอาจารย์จวน กุลเชโฐ หนองคาย
    ๓.พระอาจารย์คำพันธ์ วัดอรุณรังษี หนองคาย
    ๔.พระพิศาลศาสนกิจ วัดจันทาราม หนองคาย
    ๕.พระครูสุนทรนวกิจ วัดจันทาราม หนองคาย
    ๖.หลวงปู่อ่อนสี วัดพระงามศรีมงคล หนองคาย
    ๗.พระครูสมุทร์ญาณประยูติ วัดบึงปังพลาราม หนองคาย
    ๘.หลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพรต หนองคาย
    ๙.พระอาจารย์บัวพา วัดป่าพระสถิตย์ หนองคาย
    ๑๐.หลวงพ่อทองพูล วัดสามัคคีอุปถัมภ์ หนองคาย
    ๑๑.พระอาจารย์บุญมา วัดศิริสาละวัน อุดรธานี
    ๑๒.หลวงปู่ชม วัดบ้านวัวฆ้อง อุดรธานี
    ๑๓.พระอาจารย์บุญเพ็ง วัดถ้ำกลองเพล
    ๑๔.พระครูศรีธรรมาคุนาธาร วัดป่าo อุดรธานี
    ๑๕.หลวงปู่เพียร วัดป่าหนองกอง อุดรธานี
    ๑๖.พระอาจารย์บุญเลิศ วัดโนนสง่า อุดรธานี
    ๑๗.หลวงปู่สิม พุทธจาโร วัดสันติสังฆราม สกลนคร
    ๑๘.หลวงปู่แว่น วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร
    ๑๙.พระอาจารย์บุญ วัดศรีสว่างแดนดิน สกลนคร
    ๒๐.พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม สกลนคร
    ๒๑.พระอาจารย์ลี วัดเหวลึก สกลนคร
    ๒๒.หลวงปู่อ่อนสี วัดธรรมมิการาม สกลนคร
    ๒๓.หลวงปู่ผาง ปริปุญโณ วัดประสาทธรรม สกลนคร
    ๒๔.พระอาจารย์สุภาพ วัดทุ่งสว่าง สกลนคร
    ๒๕.พระอาจารย์คำบ่อ วัดใหม่ สกลนคร
    ๒๖.พระอาจารย์สนั่น วัดป่าบ้านหนองไผ่ สกลนคร
    ๒๗.พระอาจารย์สุพรรณ วัดประชานิมิตร สกลนคร
    ๒๘.พระอาจารย์จันดี วัดศรีสะอาด สกลนคร
    ๒๙.หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์
    ๓๐.พระญาณสิทธาจารย์ วัดเทพพิทักษ์ปุณนาราม นครราชสีมา
    ๓๑.หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา
    ๓๒.หลวงตาพวง วัดศรีธรรมาราม ยโสธร
    ๓๓.พระราชธรรมนุวัตร์ วัดประชานิยม กาฬสินธุ์
    ๓๔.พระอาจารย์หนูอินทร์ วัดพุทธคายา กาฬสินธุ์
    ๓๕พระอาจารย์หนู วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
    ๓๖.หลวงปู่หลวง วัดสำราญนิวาส ลำปาง
    ๓๗.พระอาจารย์ไพบูลย์ วัดป่ารัตนาราม พะเยาว์
    ๓๘.หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดเลยหลง เลย
    ๓๙.พระอาจารย์ผั่น วัดถ้ำเอราวัณ เลย
    ๔๐.หลวงปู่ซามา วัดป่าอัมพวัน เลย
    ๔๑.หลวงปู่ท่อน วัดศรีอภัยวัน เลย
    ๔๒.พระอาจารย์ศรีธน สีละธโน วัดถ้ำผาปู่ เลย
    ๔๓.พระพุทธิสารธโศภณ วัดศรีโพนแท่ง เลย
    ๔๔.พระอาจารย์บุญเย็น สำนักสงฆ์ เชียงใหม่
    ๔๕.หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม ร้อยเอ็ด


    **งานนี้นับว่าเป็นงานยิ่งใหญ่งาน หนึ่งมีพิธี ๓ วัน ๓ คืน ของครูบาอาจารย์สายกองทัพธรรมของท่านอาจารย์มั่นและ**พระกริ่ง+พระชัยวัฒน์ +เหรียญ ภูริทัตโต**รุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่ใช้ชื่อของท่านอาจารย์ใหญ่มั่นด้วย**
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2018
  9. ryuma9

    ryuma9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2017
    โพสต์:
    1,274
    ค่าพลัง:
    +1,179
    รายการ2361 เหรียญครูบาชุมโพธิโก โอนตังแล้วครับ ที่อยู่แจ้งทางpm
     
  10. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    EU637939150TH ขอบพระคุณครับ
     
  11. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2369

    พระรอดว่านไก่แดง ครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อน

    วัตถุมงคลรุ่นแรกๆ ของท่านครับที่กดพิมพ์และสร้างในวัดบ้านฟ่อน มีจำนวนไม่มากหายากครับ สร้างเนื้อผงพุทธคุณที่หลวงปู่เก็บไว้ ผสมเส้นเกศา และว่านไก่แดง
    พุทธคุณ เมตตามหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด สายตรงและผู้ที่นับถือหลวงปู่ ไม่ควรพลาดเก็บของดีๆไว้บูชานะครับ


    พระยุคแรกของท่านครูบา.องค์นี้สวยเดิมๆ


    คุณ j999 บูชาแล้วครับ

    Clip_25.jpg Clip_26.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2018
  12. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,970
    ค่าพลัง:
    +5,385
    ขอจองครับ
     
  13. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2932

    พระปิดตาพ้นบ่วงมาร พิมพ์ใหญ่ ปี 2526 หลังไหม 7 สีหลวงพ่อพรหม


    เป็นพระปิดตาเนื้อผงพุทธคุณอีกหนึ่งที่คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกได้สร้างถวายให้วัดพระพุทธบาทตากผ้า และครูบาหล้า (ตาทิพย์) วัดป่าตึง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ แต่ก่อนที่จะถวายพระชุดนี้ไปให้ครูบาหล้านั้น ทางคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก ได้ขอเมตตาจากหลวงปู่ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้าได้ปลุกเสกที่วัดพระธาตุดอยน้อย อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ โดยท่านก็ได้เข้านิโรธสมาบัติตามแบบพระอริยะเจ้าที่เคยกระทำมาแต่พุทธกาลและท่านก็เมตตาปลุกเสกวัตถุมงคลชุดพระปิดตาชุดนี้ครั้งสุดท้ายในชีวิท่านเช่นกัน ก่อนที่ท่านจะมรณะในอีก3 วันต่อมา(ถือว่าเป็นการปลุกเสกวัตถุมงคลของพระอริยะเจ้าอย่างแท้จริง) และหลังจากนั้นก็ให้หลวงปู่หล้า(ตาทิพย์) วัดป่าตึง ปลุกเสก เมื่อหลวงปู่หล้าปลุกเสกแล้ว ทางคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกได้นำพระปิดตาชุดนี้ไปขอความเมตตาจาก หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า จ.ระยองปลุกเสกเป็นครั้งสุดท้าย จึงได้ตั้งชื่อพระปิดตาชุดนี้ว่า พระปิดตาพ้นบ่วงมาร
    มวลสารที่สร้างพระปิดตาชุดนี้ประกอบไปด้วยผงพุทธคุณแก้ว3ดวงของหลวงพ่อพรหม ถาวโร วัดช่องแค ผงพุทธคุณแก้ว3ดวงครูบาขันแก้ว วัดสันพระเจ้าแดง ผงปัจเจกโพธิ ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย และได้ผสมผงพระสมเด็จวัดระฆัง บางขุนพรหม เกศไชโย และน้ำพระพุทธมนต์อีก5วัด คือ...1.วัดช่องแค 2.วัดวังมุย 3.วัดพระพุทธบาทตากผ้า 4.วัดน้ำบ่อหลวง 5.วัดสันพระเจ้าแดง ด้านหลังโรยไหมเจ็ดสีที่หลวงพ่อพรหมปลุกเสก ข้างหลังเป็นยันต์พระควัมปติ และตัวขอมเป็นพระคาถา หัวใจของพระไตรปิฏก มะ อะ อุ ซึ่งเป็นยอดพระคาถาทั้งหมด มีอุณาโลม9ยอดข้างบนเปรียบเสมือนนิพพาน 1 ซึ่งถือว่าพระปิดตาชุดนี้เป็นพระปิดตาที่สมบูรณ์มากชุดหนึ่งที่มีการปลุกเสกจากพระอริยะเจ้าที่ขึ้นชื่อว่า พระผู้อุดมด้วยวิชชา และวิมุตฺติ ทั้ง3รูปเลยทีดียว
    พุทธคุณเป็นเมตตาโชคลาภ หนุนดวงชะตา อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ทำกิจการงานอันใดก็เจริญงอกงาม จะมีจิตใจที่เยือกเย็น สุขุม กันภยันตรายทั้งปวงประดุจดังวิสัยแห่งพระอริยะเจ้าทั้ง3องค์คือ ครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า ครูบาหล้า (ตาทิพย์) วัดป่าตึง หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า ที่ได้ปลุกเสกมาอย่างดีที่สุดแล้วนั้นเอง
    ขอบคุณข้อมูล จากร้านอักษรธรรมด้วยครับ

    พระดีสุดยอดมวลสาร น่าใช้มากๆครับ


    บูชาแล้วครับ

    gd.jpg uy.jpg kh.jpg kj.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2018
  14. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2933

    เหรียญรุ่นแรกครูบาหล้า วัดป่าลาน บล็อกหน้าหนุ่มนิยม


    ท่านเป็นพระมหาเถระแห่งล้านนาไทย ผู้สืบทอดปฏิปทา แห่งครูบาเจ้าศรีวิชัย ท่านมีอายุยืน มีุคุณวิเศษ คือ ความคงกระพัน ฟันแทงไม่เข้า "ข่าม"

    สุดยอดความเหนียว
    ท่านโด่งดังจากกรณีถูกโจรปล้นพระบูชาในวัดไป 3 องค์
    แต่โจรหวังทำร้ายท่านให้ถึงแก่ชีวิต โดยใช้มีดจ้วงแทงท่านหลายครั้ง
    แต่ไม่สามารถเรียกเลือดจากท่านได้

    พวกทหารให้ความนับถือท่านเป็นอย่างมาก เนื่องจากประสบการณ์
    ทางด้านเหนียวเป็นหนึ่ง
    เหรียญประสบการณ์แห่งอำเภอสันทราย

    จัดสรา้งเพียง 999 เหรียญ หายากมากครับ


    ราคา 1850 บาท พร้อมจัดส่ง EMS ครับ


    cz.jpg mn_h2.jpg ada.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2018
  15. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2934

    เหรียญรุ่นแรกครูบาคำ สังวโร วัดศรีดอนตัน
    เนื้อทองแดง ปี 2548


    ‎สร้างโดยคณะศิษย์‬ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2548

    จำนวนการสร้างเหรียญรุ่นแรกครูบาคำ วัดศรีดอนตัน

    เนื้อเงินสร้าง 71 เหรียญ

    เนื้อทองแดงรมดำ สร้าง 5,000 เหรียญ

    ของดีราคาเบา ๆ ครับ


    ราคา 650 บาท พร้อมจัดส่ง EMS ครับ

    IMG_5840.JPG IMG_5843.JPG Clip_44.jpg Clip_42.jpg Clip_43.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2018
  16. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2935

    เหรียญครูบาคำมูล วัดหนองสี่แจ่ง สารภี

    พระอาจารย์ยุคเก่า ท่านเป็นพระอาจารย์อีกท่านหนึ่งของครูบาสิงห์แก้ว วัดปากกอง ที่โด่งดัง เหรียญของท่านสร้างน้อย หายาก

    ราคา 1950 บาท พร้อมจ้ดส่ง EMS ครับ

    dsa.jpg iu.jpg xsd.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2018
  17. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2936

    พระกริ่งประทานพร หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ปี 2520

    คุณนิตย์ พงษ์ลัดดา เป็นผู้จัดสร้าง โดยมีช่างติ๋ว(ทวีศักดิ์ สมวงศ์)เป็นผู้สร้างแบบและแกะพิมพ์ จำลองมาจากพระบูชากฐินต้น ภปร.ปี 2506 วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) จ.กาญจนบุรี พระพุทธรูปปางประทานพรศิลปะสุโขทัยประยุกต์ที่งดงามมาก จัดสร้างขึ้นทั้งสิ้น 999 องค์

    โดยคุณนิตย์ ได้นำไปขอหลวงปู่แหวนแผ่เมตตาและได้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกที่วัดเจดีย์หลวง 1 ตุลาคม 2520
    -โดยมีหลวงปู่คำแสน คุณาลังกโร วัดป่าดอนมูล เป็นประธาน พร้อมด้วยพระอาจารย์สายกัมมัฎฐาน อาทิเช่น
    -พระอาจารย์บุญจันทร์ วัดถ้ำผาผึ้ง อ.ฝาง
    -หลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง
    -พระอาจารย์ทองบัว วัดป่าโรงธรรมสามัคคี อ.สันกำแพง
    -พระอาจารย์หนู สุจิตโต วัดดอยแม่ปั๋ง
    ร่วมกันนั่งอธิฐานจิตและพระกริ่งนี้ทางคุณนิตย์ได้นำถวายให้กับวัดป่าดอนมูลไปทั้งหมด


    คุณ Nattawut8899 บูชาแล้วครับ

    dfd.jpg jmk.jpg lko.jpg jhuu.jpg gcdf.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2018
  18. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รับทราบการจอง ขอบคุณครับ
     
  19. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2937

    รูปหล่อรุ่นแรกพระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
    วัดอรัญญวิเวก(วัดบ้านปง) จ.เชียงใหม่ ฉลองอายุครบ 80 ปี พิมพ์ใหญ่


    สวยเดิมๆ ตอกโค๊ตชัดเจน

    ราคา 850 บาท พร้อมจัดส่ง EMS ครับ

    Clip_45.jpg Clip_46.jpg Clip_47.jpg


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2018
  20. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2938

    รูปหล่อรุ่นแรกครูบาเผือก วัดไชยสถาน จ.เชียงใหม่ ปี 2547 ก้นอุดเทียนชัยเกศา
    สวยเดิม ๆ

    คุณ j999 บูชาแล้วครับ

    Clip_48.jpg Clip_49.jpg Clip_50.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2018

แชร์หน้านี้

Loading...