" ธรรมทาน...ทำบุญละลายบาปได้หรือไม่ "???

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 29 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    " ธรรมทาน...ทำบุญละลายบาปได้หรือไม่ "???






    " ธรรมทาน...ทำบุญละลายบาปได้หรือไม่ "???

    ลุงแทน

    [​IMG]



    " ธรรมทาน...ทำบุญละลายบาปได้หรือไม่ " ????????

    ทำบุญละลายบาป จะได้หรือไม่ ?



    มีปัญหาที่คนทั่วไปสนใจมากอยู่ข้อหนึ่ง คือการทำบุญล้างบาปหรือทำบุญละลายบาป จะได้หรือไม่?

    การทำบุญละลายบาปนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือใช้ความดีละลายความชั่วให้เจือจาง เช่นความชั่วเกิดขึ้นในใจ เมื่อความคิดดีขึ้น ความชั่วย่อมถอยไป ถ้าความดีเกิดขึ้นบ่อยๆ ไม่ให้โอกาสแก่ความชั่ว ความชั่วก็เกิดขึ้นไม่ได้ เรียกว่าเอาความดีมาไล่ความชั่วหรือละลายความชั่ว

    อีกอย่างหนึ่ง ความชั่วที่บุคคลทำลงไปแล้ว ซึ่งจะมีผลในโอกาสต่อไป ถ้าผู้นั้นเร่งทำความดีให้มากขึ้น จนท่วมท้นความชั่ว ผลของกรรมชั่วก็ค่อยๆ จางลงจนไม่มีอนุภาพในการทำอันตรายให้ทุกข์ เปรียบเหมือนกรด(เอซิด) ซึ่งมีคุณสมบัติทำลายชีวิตได้ แต่ถ้าเติมด่าง(อัลคอไลน์)ลงไปเรื่อยๆ กรดนั้นก็เจือจางลง หมดคุณสมบัติในการทำลายให้โทษ

    เปรียบอีกอย่างหนึ่ง เหมือนเกลือกับน้ำ สมมุติว่าเอาเกลือกำมือหนึ่งใส่ลงไปในน้ำแก้วหนึ่ง น้ำนั้นจะเค็มมากเพราะน้ำน้อย แต่ถ้าเราเอาเกลือจำนวนนั้นใส่ลงไปในถังใหญ่ๆ ความเค็มจะไม่ปรากฎแม้เกลือจะยังมีอยู่เท่าเดิม มันกลายเป็นมีเหมือนไม่มี ที่ทางพระท่านเรียก"อัพโพหาริก" แปลว่า"มีเหมือนไม่มี" เรียกไม่ได้ว่ามีเหมือนไม่มี เหมือนน้ำในก้อนดินแห้งหรือเนี้อไม้ เรารู้ได้ว่าความชื้นเป็นคุณสมบัติของน้ำ เมื่อเราจุดไฟเผามีควันขึ้นมา

    เอาน้ำเกลือในแก้วซึ่งเค็มมากนั้น เทลงในถังใหญ่ๆ แล้วเติมน้ำลงไปเรื่อยๆ โดยไม่เติมเกลือ ในที่สุดน้ำก็จะไม่ปรากฎความเค็มเลยเพราะจำนวนเหนือจำนวนเกลือมากนัก ข้อนี้ฉันใด การทำความดีละลายความชั่ว หรือละลายผลแห่งกรรมชั่วก็เป็นฉันนั้น ในที่นี้ความชั่วเปรียบเหมือนเกลือ ความดีเปรียบเหมือนน้ำ ในทางกลับกัน กรรมดีเล็กน้อยอาจถูกกรรมชั่วละลายได้เช่นกัน

    เกี่ยวกับเรื่องนี้มีพุทธสุภาษิตอ้างอิงดังนี้

    "ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนทำบาปเพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นนำเขาไปสู่นรก บางคนทำบาปเพียงเล็กน้อยเหมือนกัน แต่บาปกรรมให้ผลเพียงในปัจจุบันชาติเท่านั้น (ทิฏฺฐธมฺมเวทนีย์)ไม่ปรากฎผลอีกต่อไป

    บุคคลเช่นไร ทำบาปเพียงเล็กน้อยแล้วไปนรก? คือบุคคลที่ไม่ได้อบรมกาย มิได้อบรมศีล มิได้อบรมปัญญา มีคุณธรรมน้อย ใจต่ำ บุคคลเช่นนี้แหละ ทำบาปเพียงเล็กน้อยแล้วไปนรก

    บุคคลเช่นไร ทำบาปเพียงเล็กน้อย แต่บาปนั้นให้ผลอันแสบเผ็ด เพียงในชาติปัจจุบันแล้วไม่ให้ผลอีกต่อไป? คือบุคคลผู้ที่ได้อบรมกายแล้ว อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญา มีคุณธรรมมาก มีใจใหญ่อยู่ด้วยคุณ มีเมตตาเป็นต้น อันหาประมาณมิได้

    เปรียบเหมือนบุคคลใส่ก้อนเกลือลงไปในจอกน้ำเล็กๆ น้ำนั้นย่อมเค็ม เพราะน้ำน้อย แต่ถ้าใส่ก้อนเกลือลงไปในแม่น้ำคงคา น้ำในแม่น้ำคงคาจะไม่เค็มเพราะก้อนเกลือนั้นเลย เพราะน้ำมีมาก ฉันใด

    ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนทำบาปเพียงเล็กน้อย บาปนั้นนำเขาไปสู่นรก(เพราะเขามีคุณน้อย) บางคนทำบาปเพียงเล็กน้อย บาปนั้นให้ผลเพียงในปัจจุบัน ไม่ให้ผลในชาติต่อๆ ไป(เพราะเขามีคุณมาก)ฉันนั้น" ๑



    คนที่มีคุณธรรมเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงเพียงเล็กน้อยเหมือนในน้ำในถ้วยใบเล็กๆ เมื่อทำบาป บาปย่อมให้ผลมาก ส่วนคนมีคุณมากเหมือนน้ำในแม่น้ำ เมื่อทำบาป บาปให้ผลเพียงเล็กน้อย หรืออาจไม่ให้ผลเลยก็ได้ คุณธรรมหรือความดี จึงมีอานุภาพทำลายบาป ล้างบาปไปในตัว

    บุคคลยิ่งมีคุณธรรมสูงมากขึ้นเพียงใด โอกาสที่จะล้างบาปหรือละลายบาปมากขึ้นเพียงนั้น เพราะคุณความดีหรือความบริสุทธิ์ของใจนั้น มีคุณสมบัติ มีอานุภาพในการทำลายบาป ดังพุทธภาษิตว่า

    "หม้อที่คว่ำ ย่อมคายน้ำออก ไม่ทำให้น้ำเข้าไปข้างใน ฉันได ผู้อบรมแล้ว ทำให้ได้มากแล้วซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ก็ย่อมคายบาปคายอกุศลธรรมออก ไม่ให้บาปอกุศลธรรมเข้าไปข้างใน ฉันนั้น"๒

    "ผู้มีกายสะอาด วาจาสะอาด ใจสะอาด ไม่มีอาสวะ คือกิเลสที่หมักหมม นักปราชญ์เรียกผู้สะอาด สมบูรณ์ด้วยความสะอาดเช่นนั้นว่าเป็นผู้ล้างบาปได้"๓



    ด้วยประการดังกล่าวมานี้ แสดงว่าการทำความดีละลายความชั่วในใจ และการทำความดีละลายผลแห่งกรรมชั่วที่ทำลงไปแล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เป็นการเปิดโอกาสให้คนผู้เคยผิดพลาดได้กลับตัว

    ในเรื่องชีวิตธรรมดา สมมติว่าเคยมีใครคนหนึ่งเคยทำความเดือดร้อน เจ็บช้ำใจให้แก่เรา ต่อมาเขารู้สีกตัวรีบทำความดีต่อเรา และทำเป็นการใหญ่ เราเห็นใจเขา กลับรักเขา ให้อภัยในความผิดพลาดของเขา จริงอยู่สิ่งที่เขาทำลงไปแล้วนั้นก็เป็นอันทำแล้ว ทำคืนไม่ได้ แต่ความดีใหม่ที่เขาทำลงไปเป็นอันมากนั้นย่อมมีผลลบล้างความชั่วได้ นอกจากย่อมมีกำไรเสียออีก

    อีกอุปมาหนึ่ง เหมือนคนเคยเป็นหนี้ เมื่อได้ใช้หนี้แล้ว ใช้หมดแล้ว ยังมีเงินเหลือให้ผู้ที่เขาเคยเป็นหนี้อีกมากมาย อย่างนี้เจ้าหนี้ย่อมจะพอใจเป็นอันมาก เขาได้ชื่อว่าเคยเป็นหนี้เท่านั้น หนี้สินหาได้ติดตัวเขาอยู่จนบัดนี้ไม่ การทำชั่วเหมือนการก่อหนี้ ส่วนการทำความดีเหมือนการปลดเปลื้องหนี้ และการให้หนี้ การทำความดีจึงดีกว่าการทำความชั่ว

    อีกตอนหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงปรารภพระองคุลิมาลแล้วตรัสว่า

    "บาปกรรมที่บุคคลทำแล้ว ย่อมละเสียได้ด้วยกุศลกรรม บุคคลเช่นนั้นย่อมยังโลกให้สว่างเหมือนดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น"



    นี้แสดงว่าบุคคลสามารถละลายบาปหรือล้างบาปกรรมด้วยกุศลกรรมได้

    ความจริงเรื่องนี้ ทำให้ผู้ที่เคยทำชั่ว มีกำลังใจในการทำความดีในการกลับตัว ไม่ถลำลึกลงไปในความชั่ว คนที่เคยทำความชั่วมา ถ้าเขารู้สึกตัวแล้วและพยายามทำความดี อาจทำความดีได้มากกว่าและเป็นคนดีได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยทำชั่วมาเสียอีก

    "การทำผิดเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ แต่ถ้าค้นพบความผิดแล้วแก้ไขและตั้งใจว่าจะไม่ทำอีกเป็นซ้ำสอง ก็น่ายกย่องนับถือยิ่งขึ้น"๔



    รวมความว่า ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น บาปย่อมล้างได้ด้วยบุญ กรรมชั่วล้างได้หรือละลายได้ด้วยกรรมดี แต่ต้องใช้เวลานาน กุศลกรรมที่แรงๆ เช่น อรหัตมรรค อรหัตผล สามารถลบล้างความชั่วในใจได้หมดและมีอานุภาพห้ามผลแห่งกรรมชั่วเก่าๆ ที่เคยทำมาแล้วได้หมดสิ้น จะให้ผลอยู่บ้างก็เฉพาะเวลาที่ท่านยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น พอท่านนิพพานแล้วผลกรรมต่างๆ ก็เป็นอโหสิกรรมไปหมดสิ้น





    บทความนี้คัดมาจากหนังสือ "หลักกรรม และ การเวียนว่ายตายเกิดขอขอบคุณที่มาคะ http://www.thaipoem.com/forever/ipage/story8923.html
     
  2. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมตามสนองครับ เพราะนี่ คือ กฎแห่งกรรม ดังในพุทธกาล พระโมคคัลละนะ แม้นเป็นพระอรหันต์ แต่ท่านก็ยอมรับกฎแห่งกรรม โดยโดนโจรทุบตีจนตายครับ

    บาป ล้างด้วย บุญไม่ได้ แต่ทำบุญเยอะๆเพื่อให้กรรมชั่วตามไม่ทัน ก็เป็นวิธีหนีบาปได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งคนอาจเข้าใจว่า ล้างบาปได้ แต่ความจริง กรรมชั่วตามไม่ทันต่างหาก

    เทวดา แม้นหมดบุญบนสวรรค์ ก็ยังต้องลงนรกไปรับกรรมที่เคยทำมา
    เช่นเดียวกับคนในนรก เมื่อชดใช้กรรมที่ทำมาหมดก็ไปเสวยบุญบุญสวรรค์ได้

    ขออนุโมทนา
     
  3. darkphoenix

    darkphoenix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    370
    ค่าพลัง:
    +608
    อีกอุปมาหนึ่ง เหมือนคนเคยเป็นหนี้ เมื่อได้ใช้หนี้แล้ว ใช้หมดแล้ว ยังมีเงินเหลือให้ผู้ที่เขาเคยเป็นหนี้อีกมากมาย อย่างนี้เจ้าหนี้ย่อมจะพอใจเป็นอันมาก เขาได้ชื่อว่าเคยเป็นหนี้เท่านั้น หนี้สินหาได้ติดตัวเขาอยู่จนบัดนี้ไม่ การทำชั่วเหมือนการก่อหนี้ ส่วนการทำความดีเหมือนการปลดเปลื้องหนี้ และการให้หนี้ การทำความดีจึงดีกว่าการทำความชั่ว










    ---ฟังดูแปลกๆนะครับ
     
  4. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    ขออนุญาตขยายความนะครับ

    คนสร้างหนี้ (บาป) ยังไงก็ต้องชดใช้จริงมั้ยครับ แต่เมื่อวันนึงคนๆนั้นสร้างบุญเยอะมาก บารมีก็เกิดครับ เมื่อมีบารมีเกิด เวลาเจ้าหนี้มาทวงหนี้เค้าก็ยินดีที่จะจ่าย และไม่สร้างหนี้ต่อ (เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร) ทีนี้เมื่อเจ้ากรรมมาทวงหนี้กรรม เค้าก็สามารถทวงได้ แต่สิ่งที่เค้าจะได้เพิ่มเติมคือกรรมดีที่ลูกหนี้มอบให้ เช่น แผ่เมตตา , การอโหสิกรรม ฯลฯ

    เมื่อใช้หนี้แล้ว เค้าก็หายจากความเป็นลูกหนี้ โดยสิ่งที่เค้าทำก็คือการสร้างบารมีด้วยการทำความดี เพราะถ้าหากเค้าไม่สร้างกรรมดีแล้ว เมื่อมีคนมาทวงหนี้กรรม เค้าก็จะอาฆาตและไปทวงคืน กลับไปกลับมา ความเป็นลูกหนี้มันก็จะสลับกันไปมา ดังนั้นเมื่อเจ้าหนี้มาทวงหนี้กรรมกับคนดีเค้าเลยชอบ เพราะรู้ว่า เมื่อใช้กรรมซึ่งกันและกันแล้วมันก็จะหยุด เพราะอีกฝ่ายไม่สร้างหนี้กรรมกลับคืน

    อ่านแล้วงงป่าวครับ พอดีเมื่อคืนผมไม่ได้นอน ไว้ตื่นแล้วจะมาเรียบเรียงคำพูดให้ใหม่ อ่านแล้วงงๆเหมือนกัน
     
  5. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    สาาาาา...ธุ
    สาาาาา...ธ
    สาาาาา...ธุ
    ให้ดังไปถึงพระนิพพาน


    บาปไม่ชนะบุญ
     
  6. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
    บุญหากทำแล้วอุทิศให้นารเวรจนเค้าอโหสิกรรมได้
    ก็เป็นการใช้หนี้กรรม

    หลวงพ่อจรัญบอก"กรรมฐานแก้กรรมได้"


    ใช่ครับทำบุญล้างกรรมไม่ได้
    แต่ทำบุญแล้วอุทิศจนเป็นอโหสิกรรมได้ครับ

    ขออนุโมทนาสาธุในกุศลบารมีธรรมของทุกท่านด้วยนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...