อภิญญา กับ วิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สมถะ, 12 พฤษภาคม 2016.

  1. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ขอบคุณที่โพสให้อ่านครับ

    อ่านดู มันสะกิดความรู้สึกหลายอย่างนะครับ

    แต่ก็อย่างว่าแหละ แต่ละสำนัก ก็มีแนวทางอธิบาย
    เป็นของตัวเอง ก็ให้เจอธรรมกาย
    ที่นางปชาบดีโคตมีกล่าวกับพระพุทธองค์ นะครับ...
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อุบายให้เจอ หรือ หรือหลงทางกู่ไม่กลับ ฮับ คุณมาร

    ลำพังแค่ " ตาบอด " ใจก็ไม่สามารถเห็นได้ เอาตรรกง่ายๆ
    จับ ยังรู้เลยว่า คนสอนธรรม สอนผิดไปไกลกู่ไม่กลับ


    แล้ว ตอนที่กล่าวว่า เวทนา เป็น ธรรมแชตที่เสวยอารมณ์ ถ้าคนมีปฏิภาณ
    จะต้อง สะอึกทันที จิต วิญญาณ ญาณ ฮาเฮวอะไร มีธรรมชาติส่งออกทั้งหมด

    ซึ่งจะต้อง เอะใจแล้วว่า แล้วทางออกจากทุกขสัจจ มีไหม ถ้ามี ยังไง ตรงไหน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กรกฎาคม 2016
  3. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    พระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25
    ขุททกนิกาย เถรีอปทาน เอกุโปสถวรรค มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทาน



    มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทานที่ ๗
    ว่าด้วยบุพจริยาของพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
    [๑๕๗] ในกาลครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคผู้เป็นประทีปแก้วส่องโลกให้สว่าง
    ไสว เป็นนายสารถีฝึกนรชน ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหา
    วันใกล้พระนครเวสาลี ครั้งนั้น พระมหาโคตมีภิกษุณีพระมาตุจฉา
    ของพระพิชิตมาร อยู่ในสำนักนางภิกษุณีในพระนครอันรื่นรมย์นั้น
    พร้อมด้วยพระภิกษุณี ๕๐๐ องค์ ซึ่งล้วนแต่พ้นจากกิเลสแล้ว เมื่อ
    พระมหาปชาบดีโคตมีนั้นอยู่ในที่สงัด ตรึกนึกคิดอย่างนี้ว่า การ
    ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าก็ดี ของคู่พระอัครสาวกก็ดี ของพระ-
    ราหุลพระอานนท์และพระนันทะก็ดี เราไม่ได้เห็น เราอันพระโลก-
    นาถผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ทรงอนุญาตแล้ว พึงปลงอายุสังขารแล้ว
    นิพพานก่อนเถิด พระภิกษุณีทั้ง ๕๐๐ องค์ ก็ได้ตรึกอย่างนั้น
    เหมือนกัน แม้พระเขมาภิกษุณีเป็นต้น ก็ได้ตรึกเช่นนี้เหมือนกัน
    ครั้งนั้น เกิดแผ่นดินไหว กลองทิพย์ดังขึ้นเองทวยเทพที่สิงอยู่ใน
    สำนักของนางภิกษุณี ถูกความโศกบีบคั้น บ่นเพ้ออยู่อย่างน่าสงสาร
    หลั่งน้ำตาแล้วในที่นั้น พระภิกษุณีทุกๆ องค์พร้อมด้วยทวยเทพเหล่า
    นั้น เข้าไปหาพระมหาโคตมีภิกษุณี ซบศีรษะแทบเท้าแล้วกล่าวว่า
    ข้าแต่พระแม่เจ้า เพราะเรามีปกติอยู่ด้วยการเทียบเคียงในธรรม
    เหล่านั้น เราได้อยู่ในที่สงัด พื้นภูมิภาคหวั่นไหวจลาจลกลองทิพย์
    ดังขึ้นเอง และเราได้ยินเสียงคร่ำครวญ ข้าแต่พระโคตมี จะต้อง
    มีเหตุอะไรเกิดขึ้นแน่ ครั้งนั้น พระมหาโคตมีภิกษุณีท่านได้บอก
    ถึงเหตุตามที่ตนได้ตรึกแล้วทุกประการ ลำดับนั้นพระภิกษุณีทุกๆ
    องค์ ก็ได้บอกถึงเหตุที่ตนตรึกแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้า
    พระแม่เจ้าชอบใจจะปรินิพพานอันเกษมอย่างยิ่งไซร้ ถึงดิฉันทั้ง
    หลายก็จักนิพพานทั้งหมด ในกาลก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงพระ-
    อนุญาต ดิฉันทั้งหลายได้ออกจากเรือนพร้อมด้วยพระแม่เจ้า เมื่อ
    ดิฉันทั้งหลายออกจากภพนี้ไปสู่บุรีคือนิพพานอันอุดม ดิฉันทั้งหลาย
    ก็จักไปพร้อมกับพระแม่เจ้าเหมือนกัน
    พระมหาปชาบดีโคตมีได้
    กล่าวว่า เมื่อท่านทั้งหลายจะไปนิพพาน ดิฉันจักว่าอะไรได้เล่า แล้ว
    ได้ออกจากสำนักนางภิกษุณีไปพร้อมกับพระภิกษุณีทั้งหมดในครั้ง
    นั้น พระปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้กล่าวกะทวยเทพทั้งหลายว่า ขอทวย
    เทพทั้งหลายที่สิงอยู่ ณ สำนักนางภิกษุณี จงอดโทษแก่ดิฉันเถิด
    การเห็นสำนักนางภิกษุณีของดิฉันนี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้ายในที่ใด
    ไม่มีความแก่หรือความตาย ไม่มีการสมาคมด้วยสัตว์และสังขารอัน
    ไม่เป็นที่รัก ไม่มีการพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก
    ที่นั้นนักปราชญ์กล่าวว่าเป็นอสังขตสถาน
    พระโอรสของพระสุคตเจ้า
    ทั้งหลายที่ยังไม่ปราศจากราคะ ได้สดับคำของพระนางนั้น เป็นผู้โศก
    กำสรดปริเทวนาการว่า น่าสังเวชหนอ พวกเราเป็นคนมีบุญน้อย
    สำนักพระภิกษุณีนี้จะว่างเปล่า เพราะเว้นพระภิกษุณีเหล่านั้น
    พระภิกษุณีผู้ชิโนรสจะไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนดวงดาวทั้งหลาย
    ไม่ปรากฏในเวลาที่สว่างฉะนั้น พระนางโคตมีภิกษุณีจะไปสู่นิพพาน
    พร้อมกับพระภิกษุณีอีก ๕๐๐ องค์
    เหมือนกับแม่น้ำคงคาไหลไปสู่
    สาครพร้อมกับแม่น้ำ ๕๐๐ สาย ฉะนั้น อุบาสิกาทั้งหลายผู้มีศรัทธา
    เห็น พระโคตมีภิกษุณีนั้นกำลังเดินไปตามถนน ได้พากันออกจาก
    เรือนไปหมอบลงแทบเท้าแล้วกล่าวว่า ดิฉันทั้งหลายเลื่อมใสใน
    พระแม่เจ้า พระแม่เจ้าจะละทิ้งดิฉันทั้งหลายไว้ให้เป็นคนอนาถาเสีย
    แล้ว พระแม่เจ้ายังไม่ควรที่จะปรินิพพานก่อน ควรที่จะสงสาร
    ด้วยอุบาสิกาเหล่านั้นพากันปริเวทนาการ เพื่อจะให้อุบาสิกาเหล่านั้น
    ละเสียซึ่งความโศก พระนางจึงได้กล่าวอย่างเพราะพริ้งว่า อย่าร้อง
    ไห้ไปเลยลูกทั้งหลาย วันนี้เป็นเวลารื่นเริงของท่านทั้งหลาย ความ
    ทุกข์ดิฉันกำหนดรู้แล้ว ตัณหาอันเป็นเหตุแห่งความทุกข์ดิฉันเว้น
    ขาดแล้ว ความดับทุกข์ดิฉันได้ทำให้แจ้งแล้ว อนึ่ง แม้ถึงมรรคดิฉัน
    ก็ได้อบรมดีแล้ว.

    จบภาณวารที่ ๑.

    พระศาสดาดิฉันได้บำรุงแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้ทำ
    เสร็จแล้ว ภาระอันหนักดิฉันได้ปลงลงแล้ว ตัณหาอันนำไปสู่ภพ
    ดิฉันได้ถอนเสียแล้ว ดิฉันออกบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
    ประโยชน์นั้นดิฉันบรรลุแล้วโดยลำดับ สังโยชน์ทุกอย่างหมดไปแล้ว
    พระพุทธเจ้าและสัทธรรมของพระองค์ มิได้ย่อหย่อน ยังดำรงอยู่
    ตราบใด ตราบนั้นเป็นกาลที่ดิฉันจะนิพพาน ลูกทั้งหลายอย่าได้
    เศร้าโศกถึงดิฉันไปเลย พระโกณฑัญญะพระอานนท์และพระนันทะ
    เป็นต้น กับทั้งพระราหุลพุทธชิโนรสยังมีชนมชีพอยู่ ขอพระสงฆ์
    จงเป็นผู้มีความสุขสำราญ ขอให้เดียรถีย์จงเป็นผู้มีความโง่เขลาอัน
    กำจัดเสียได้เถิด ยศ คือ การย่ำยีมารอันวงศ์แห่งพระเจ้าโอกกาก-
    ราชยกขึ้นแล้ว ลูกทั้งหลาย บัดนี้ ถึงเวลาที่ดิฉันจะนิพพานมิใช่หรือ
    ความปรารถนาที่ดิฉันได้ตั้งไว้ตั้งแต่ต้นมานานนักหนา จะสำเร็จแก่
    ดิฉันในวันนี้ เวลานี้เป็นเวลาที่จะบันลือกลองนันทเภรี ลูกทั้งหลาย
    น้ำตาจะมีประโยชน์อะไรแก่ท่านทั้งหลายเล่า ถ้าท่านทั้งหลายจะมี
    ความเอ็นดูหรือมีความกตัญญูในดิฉัน ขอให้ท่านทุกคนจงทำความ
    เพียรมั่น เพื่อความดำรงอยู่แห่งพระสัทธรรมเถิด พระสัมพุทธเจ้า
    อันดิฉันทูลอ้อนวอน จึงได้ประทานบรรพชาแก่สตรีทั้งหลาย เพราะ
    ฉะนั้น ดิฉันยินดี ฉันใด ท่านทั้งหลายก็จงเจริญรอยตามซึ่งความ
    ยินดีนั้นฉันนั้นเถิด ครั้นพระนางพร่ำสอนอุบาสิกาเหล่านั้นอย่างนี้
    แล้ว ห้อมล้อมด้วยภิกษุณีทั้งหลาย เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ถวาย
    บังคมแล้วได้กราบทูลดังนี้ว่า ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็น
    มารดาของพระองค์ ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของ
    หม่อมฉัน ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุข
    อันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉัน
    เป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้
    อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของ
    หม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว
    หม่อมฉันให้พระองค์
    ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนม คือ
    พระสัทธรรมอันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่ม
    แล้ว ข้าแต่พระมหามุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่ามิได้
    เป็นหนี้หม่อมฉัน หม่อมฉันได้ฟังมาว่าสตรีทั้งหลายผู้ปรารถนา
    บุตรบวงสรวงอยู่ ก็ย่อมจะได้บุตรเช่นนั้น สตรีที่เป็นพระมารดา
    ของพระนราธิบดีมีพระเจ้ามันธาตุเป็นต้น ชื่อว่าเป็นมารดาผู้ยังบุตร
    ให้จมอยู่ในห้วงมหรรณพคือภพ ข้าแต่พระโอรส หม่อมฉันผู้จมดิ่ง
    อยู่ในห้วงมหรรณพคือภพอันพระองค์ให้ข้ามไปจากสาครคือภพแล้ว
    พระนามว่า พระมเหสีพันปีหลวง สตรีทั้งหลายได้ง่าย พระนามว่า
    พระพุทธมารดา นี้ สตรีทั้งหลายได้ยากอย่างยิ่ง ข้าแต่พระมหาวีร-
    เจ้า ก็พระนามว่าพระพุทธมารดานั้น หม่อมฉันได้แล้ว ความ
    ปรารถนาน้อยใหญ่ของหม่อมฉันทั้งปวงนั้น หม่อมฉันได้บำเพ็ญ
    แล้วกับพระองค์ หม่อมฉันปรารถนาเพื่อจะทิ้งร่างนี้นิพพาน ข้าแต่
    พระวีรเจ้าผู้ทำที่สุดทุกข์ เป็นผู้นำ ขอพระองค์จงทรงอนุญาตให้หม่อม
    ฉันเถิด ขอได้ทรงโปรดเหยียดออก ซึ่งพระยุคลบาทอันเกลื่อนกล่น
    ไปด้วยลายจักรและธง อันละเอียดอ่อนเหมือนกับดอกบัวเถิด
    หม่อมฉันจะถวายบังคมพระยุคลบาทนั้น จะขอทำความรักในบุตร
    ข้าแต่พระองค์ผู้นายก หม่อมฉันกระทำสรีระซึ่งเปรียบด้วยกองทอง
    ให้ปรากฏเป็นข้าวสุก ได้เห็นพระสรีระของพระองค์แล้ว จึงจะขอ
    ไปนิพพาน พระพิชิตมารได้ทรงแสดงพระกายอันประกอบด้วยมหา-
    ปุริสลักษณ์ ๓๒ ประการ ประดับด้วยพระรัศมีอันงาม อันเป็น
    เหมือนดวงตาของคนพาลเพราะมีค่ามาก กะพระมาตุจฉา ลำดับนั้น
    พระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี ได้ซบพระเศียรลงแทบพื้นพระบาท
    อันเป็นลายจักรคล้ายกับดอกบัวบานมีพระรัศมีปานดังพระอาทิตย์
    แรกทอแสง แล้วพระนางได้กราบทูลว่า หม่อมฉันขอน้อมมัสการ
    พระนราทิจ ผู้เป็นธงขององค์พระอาทิตย์ ขอพระองค์ทรงโปรดเป็น
    ที่พึ่งของหม่อมฉันในกาลสุดท้ายเถิด หม่อมฉันจะไม่ได้เห็นพระองค์
    อีก ข้าแต่พระองค์ผู้เลิศโลก ธรรมดาสตรีทั้งหลายรู้กันว่ามีแต่จะก่อ
    โทษทุกประการ ถ้าโทษอย่างใดอย่างหนึ่งของหม่อมฉันมีอยู่ ก็ขอ
    พระองค์ได้โปรดกรุณาอดโทษแก่หม่อมฉันเถิด อนึ่ง หม่อมฉันได้
    ทูลขอบ่อยๆ ให้สตรีทั้งหลายได้บวช ข้าแต่พระนราสภ ถ้าโทษ
    ในข้อนั้นจะมีแก่หม่อมฉัน ขอได้ทรงโปรดอดโทษนั้นเถิด ข้าแต่
    พระวีรเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งการอดโทษ ภิกษุณีทั้งหลายอันหม่อมฉันสั่ง-
    สอนแล้ว ตามที่พระองค์ทรงอนุญาต ถ้าในข้อนั้นจะมีการแนะนำ
    ได้ยาก ขอได้โปรดทรงอดโทษข้อนั้นเถิด.
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรนางโคตมีผู้ประดับไปด้วยคุณโทษ
    ที่ท่านจะพึงอดพึงมีอะไร เมื่อท่านบอกว่าลาจะนิพพาน ตถาคตจักไป
    ว่ากระไรให้มากไปเล่า.

    เมื่อภิกษุสงฆ์ของตถาคตบริสุทธิ์ไม่บกพร่อง ท่านจะออก
    ไปเสียจากโลกนี้ได้ก็ควร
    เพราะเมื่อหมดแสงดาวในเวลา
    รุ่งแล้ว รอยในพระจันทร์ก็ย่อมจะมองไม่เห็น ฉะนั้น
    พระภิกษุณีทั้งหลาย นอกจากพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
    พากันทำประทักษิณพระพิชิตมารผู้เลิศ เหมือนหมู่ดาวที่
    ติดตามพระจันทร์ทำประทักษิณภูเขาสิเนรุ ฉะนั้น หมอบ
    ลงแทบพระบาทแล้ว ยืนจ้องดูพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า
    กราบทูลว่า จักษุของหม่อมฉันทั้งหลาย ไม่เคยอิ่มด้วยการ
    เห็นพระองค์ โสตของหม่อมฉันทั้งหลาย ไม่เคยอิ่มด้วย
    พระภาษิตของพระองค์ จิตของหม่อมฉันทั้งหลายดวงเดียว
    แท้ๆ ก็ไม่อิ่มด้วยรสแห่งธรรมของพระองค์.
    ผู้บันลืออยู่ในบริษัท กำจัดเสียซึ่งทิฏฐิและมานะ ชนเหล่าใดเห็น
    พระพักตร์ของพระองค์ ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี ข้าแต่
    พระองค์ผู้ถึงที่สุดสงคราม ชนเหล่าใดประณมน้อมพระยุคลบาทของ
    พระองค์ ซึ่งมีพระองคุลียาว มีพระนขาแดงงดงาม มีส้นพระบาท
    ยาว ถึงชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี ข้าแต่พระนโรดม ชน
    เหล่าใดได้สดับพระดำรัสของพระองค์อันไพเราะน่าปลื้มใจ เผาเสีย
    ซึ่งโทษ เป็นประโยชน์เกื้อกูล ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี
    ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายอิ่มไปด้วยการบูชาพระบาท
    ของพระองค์ข้ามพ้นทางกันดารคือสงสารได้ ด้วยพระสุนทรกถาของ
    พระองค์ผู้ทรงศิริ ฉะนั้นหม่อมฉันทั้งหลายจึงชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี.
    ลำดับนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีผู้มีวัตรอันงาม ประกาศในหมู่
    พระภิกษุสงฆ์แล้ว ไหว้พระราหุลพระอานนท์และพระนันทะ แล้ว
    ได้ตรัสดังนี้ว่า ดิฉันเบื่อหน่ายในร่างกายซึ่งเสมอด้วยที่อยู่ของ
    อสรพิษ เป็นที่พักของโรค เป็นสถานที่เกิดทุกข์ มีชราและมรณะ
    เป็นโคจร อาเกียรณ์ไปด้วยมลทิน คือ ซากศพต่างๆ ต้องพึ่งพาผู้อื่น
    ปราศจากเรี่ยวแรง ฉะนั้น ดิฉันจึงปรารถนาจะนิพพานเสีย ขอลูก
    ทั้งหลายจงยอมอนุญาตให้เถิด.
    พระนันทเถรเจ้าและพระราหุลผู้เจริญ เป็นผู้ปราศจากความโศก
    ไม่มีอาสวะ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว มีปัญญา มีความเพียร ได้คิดตาม
    ธรรมดาว่า น่าติโลกที่ปัจจัยปรุงแต่ง ปราศจากแก่นสาร เปรียบด้วย
    ต้นกล้วย เช่นเดียวกับกลลวงและพยับแดด ต่ำช้า ไม่มั่นคง พระ-
    โคตมีเถรี พระมาตุจฉาของพระพิชิตมาร ซึ่งได้เลี้ยงดูพระพุทธเจ้า
    ก็ยังต้องถึงแก่กรรม สังขตธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง
    ก็ครั้งนั้น ท่าน
    พระอานนท์พุทธอนุชา ซึ่งเป็นคนสนิทของพระพิชิตมาร ยังเป็น
    พระเสขบุคคลอยู่ ท่านหลั่งน้ำตาร้องไห้คร่ำครวญอย่างน่าสงสาร
    ณ ที่นั้นว่า พระโคตมีเถรีเจ้าตรัสอยู่หลัดๆ ก็จะเสด็จไปนิพพาน
    เสีย อีกไม่นานเลยแม้พระพุทธเจ้าก็คงจะเสด็จไปนิพพานแน่นอน
    เปรียบเหมือนไฟที่หมดเชื้อแล้ว ฉะนั้น
    พระโคตมีเถรีเจ้าได้ตรัสกะ
    ท่านพระอานนท์ผู้ชำนาญพระปริยัติ ปานดังสาครอันลึกล้ำ เอาใจใส่
    ในการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ซึ่งพร่ำรำพันอยู่ดังกล่าวมาว่า ลูกเอ๋ย
    เมื่อกาลเป็นที่ร่าเริงปรากฏขึ้นแล้ว พ่อไม่ควรที่จะเศร้าโศกถึงการ
    ตายของดิฉัน ที่สุดแห่งการนิพพานของดิฉันใกล้เข้ามาแล้ว พ่อเอ๋ย
    พระศาสดาพ่อได้ทูลให้ทรงยินยอมจึงได้ทรงอนุญาตให้เราบวช
    ลูกเอ๋ย พ่ออย่าเสียใจไปเลย ความพยายามของพ่อมีผล ก็บทใดที่
    ติตถิกาจารย์ทั้งหลายผู้เก่าแก่ไม่เห็น บทนั้นอันเด็กหญิงซึ่งมีอายุ ๗
    ขวบรู้แจ้งประจักษ์แล้ว พ่อจงรักษาพระพุทธศาสนาไว้ การที่ดิฉัน
    ได้เห็นพ่อครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย บุคคลไปในทิศใดแล้วไม่ปรากฏ
    ดิฉันก็จะขอลาไปในทิศนั้นนะลูก
    ในกาลบางคราวพระนายกเจ้าผู้
    เลิศโลกกำลังทรงแสดงธรรมอยู่ พระองค์ทรงถามแล้วครั้งนั้น ดิฉัน
    เกิดความสงสารกล่าววาจาถวายพระพรว่า ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ขอ
    พระองค์จงมีพระชนมชีพอยู่นานๆ ข้าแต่พระมหามุนี ขอพระองค์จง
    ดำรงพระชนม์อยู่ตลอดกัป เพื่อความเกื้อกูลและประโยชน์แก่โลก
    ทั้งปวงเถิด ขออย่าให้พระองค์ทรงพระชราและปรินิพพานเสียเลย
    พระพุทธเจ้าพระองค์ได้ตรัสกะดิฉันผู้กราบทูลเช่นนั้นว่า ดูกรพระ-
    นางโคตมี พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอันบุคคลชมเชย เหมือนอย่าง
    ที่ท่านชมเชยอยู่มิได้ ดิฉันได้ทูลถามว่าก็แลด้วยประการเป็นดังฤา
    พระคถาคตผู้สัพพัญญูจึงชื่อว่าอันบุคคลพึงชมเชยด้วยประการเป็น
    ดังฤา พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าอันบุคคลไม่ชมเชย พระองค์อันหม่อมฉัน
    ถามถึงเหตุนั้นแล้ว ขอได้ตรัสบอกเหตุนั้นแก่หม่อมฉันเถิด พระ-
    องค์ตรัสตอบว่าท่านจงดูพระสาวกทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร ตั้งใจ
    แน่วแน่ มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ เป็นคนพร้อมเพรียงกันนี้ การ
    ชมเชยพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ต่อแต่นั้น ดิฉันไปสู่สำนักนางภิกษุณี
    อยู่ผู้เดียว คิดเห็นแจ้งชัดว่า พระนาถะผู้ถึงที่สุดแห่งไตรภพ
    ทรงพอพระทัยบริษัทที่สามัคคีกัน มิฉะนั้น ดิฉันจะนิพพานเสีย ดิฉัน
    อย่าได้พบความวิบัตินั้นเลย ครั้นดิฉันคิดดังนี้แล้ว ได้ไปเฝ้าพระ-
    พุทธเจ้าผู้อุดมกว่าฤาษีทั้งปวง แล้วได้กราบทูลกาลเป็นที่ปรินิพพาน
    กะผู้นำชั้นพิเศษ ลำดับนั้น พระองค์ได้ทรงอนุญาตให้ดิฉันดังนี้ว่า
    จงรู้กาลเอาเถิดพระนางโคตมี ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ...
    พระพุทธศาสนา ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรพระโคตมีคนพาลเหล่าใดสงสัยใน
    การตรัสรู้ธรรมสตรีทั้งหลาย ท่านจงแสดงอิทธิฤทธิ์เพื่อละเสียซึ่งทิฏฐิ
    ของคนพาลเหล่านั้น ครั้งนั้น พระโคตมีเถรีเจ้า ถวายบังคม
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว เหาะขึ้นสู่อัมพร แสดงฤทธิ์เป็นอันมาก
    ตามพระพุทธานุญาต คือองค์เดียวเป็นหลายองค์ก็ได้ ทำให้ปรากฏ
    ก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือน
    ไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดิน
    บนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือน
    นกก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ทำภูเขาสิเนรุ
    ให้เป็นคั่น พลิกมหาปฐพีพร้อมด้วยราก ทำให้เป็นตัวร่มกั้นต่างร่ม
    เดินจงกรมในอากาศ ทำโลกให้รุ่งโรจน์ประหนึ่งว่าเวลาพระอาทิตย์
    อุทัยเหนือภูเขายุคันธร และทำโลกนั้นให้เป็นเหมือนพวงดอกไม้
    ตาข่าย เอาพระหัตถ์ข้างหนึ่งกำภูเขามุจลินท์ ภูเขาสิเนรุ ภูเขามัน
    ทาระและภูเขาทัททระไว้ทั้งหมด เหมือนดังกำเมล็ดพันธุ์ผักกาดเอา
    ปลายนิ้วมือ บังพระอาทิตย์พร้อมทั้งพระจันทร์ไว้ ทัดทรงพระจันทร์
    พระอาทิตย์ไว้ตั้งพันดวง เหมือนทัดทรงพวงมาลัย ฉะนั้น ทรงน้ำใน
    สาครทั้ง ๔ ไว้ได้ด้วยฝ่าพระหัตถ์ข้างหนึ่ง ยังฝนใหญ่อันมีอาการ
    ปานดังเมฆบนภูเขายุคันธรให้ตกลง พระนางเจ้านั้นได้นิรมิตให้เป็น
    พระเจ้าจักรพรรดิ พร้อมด้วยบริษัทในนภาดลอากาศ แสดงให้เป็น
    ครุฑ คชสารราชสีห์ต่างบันลือสีหนาทนฤโฆษอยู่ องค์เดียวนิรมิต
    ให้เป็นคณะพระภิกษุณีนับไม่ถ้วน แล้วก็อันตรธานกลับเป็นองค์
    เดียวกราบทูลพระมหามุนีเจ้าว่า ข้าแต่พระมหาวีรเจ้าผู้มีพระจักษุ
    หม่อมฉันผู้เป็นพระมาตุจฉาของพระองค์ เป็นผู้ทำตามคำสอนของ
    พระองค์ บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับแล้ว ขอถวายบังคม
    พระยุคลบาทของพระองค์ พระนางเจ้านั้นครั้นแสดงฤทธิ์ต่างๆ แล้ว
    ลงจากนภาดลอากาศ ถวายบังคมพระผู้ส่องโลกแล้ว ประทับลง ณ
    ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระนางเจ้าได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหามุนีผู้
    นายกของโลก หม่อมฉันมีอายุได้ ๑๒๐ ปี แต่กำเนิดแล้วเพียงเท่านี้
    ก็พอแล้ว หม่อมฉันจักขอทูลลานิพพาน.
    ครั้งนั้น บริษัททั้งหมดนั้นถึงความพิศวงยิ่งนัก จึงได้พากันประนม-
    อัญชลีถามว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระแม่เจ้าได้ทำอะไรไว้ จึงมี
    ฤทธิ์อำนาจเช่นนี้.
    พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีเจ้า ได้กล่าวบุรพจรรยาของท่านดังต่อไปนี้
    ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตระผู้มีจักษุใน
    ธรรมทั้งปวง เป็นผู้นำได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ครั้งนั้น ดิฉันเกิดใน
    สกุลอำมาตย์ ซึ่งสมบูรณ์ด้วยเครื่องอุปการะทุกสิ่ง เจริญ รุ่งเรือง
    ร่ำรวย ในพระนครหังสวดี บางครั้ง ดิฉันพร้อมด้วยบิดา อันหมู่ทาสี
    ห้อมล้อม เข้าไปเฝ้าพระนราสภพระองค์นั้น พร้อมด้วยบริวารเป็น
    อันมาก ได้เห็นพระพิชิตมารผู้ปานดังท้าววาสวะ ยังฝนคือธรรมให้
    ตกอยู่ เป็นผู้ไม่มีอาสวะ เกลื่อนไปด้วยระเบียบแห่งรัศมี เช่นกับ
    พระอาทิตย์ในสรทกาล แล้วยังจิตให้เลื่อมใส และสดับสุภาษิต
    ของพระองค์ ได้สดับพระผู้นำนรชนทรงตั้งพระภิกษุณีผู้เป็นพระ-
    มาตุจฉาไว้ในตำแหน่งอันเลิศ จึงถวายมหาทานและปัจจัยเป็นอัน
    มาก แด่พระผู้เลิศกว่านรชน ผู้คงที่พระองค์นั้น พร้อมทั้งพระสงฆ์
    ๗ วัน แล้วได้หมอบลงแทบพระบาท มุ่งปรารถนาตำแหน่งนั้น
    ลำดับนั้น พระพิชิตมารผู้อุดมกว่าฤาษีได้ตรัสในบริษัทใหญ่ว่า
    สตรีใดได้นิมนต์พระผู้นำโลกพร้อมด้วยสงฆ์ให้ฉันตลอด ๗ วัน
    เราจักพยากรณ์สตรีนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ในกัปที่แสนแต่
    กัปนี้ พระศาสดาพระนามว่าโคดม ซึ่งทรงสมภพในวงศ์พระเจ้า
    โอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก สตรีผู้นี้จักได้เป็นธรรมทายาท
    ของพระศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักได้
    เป็นพระสาวิกาของพระศาสดา มีนามว่าโคตมี จักได้เป็นพระมาตุจฉา
    บำรุงเลี้ยงชีวิตของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น จักได้ความเป็นผู้เลิศ
    กว่าภิกษุณีทั้งหลายฝ่ายผู้รู้ราตรีนาน ครั้งนั้น ดิฉันได้สดับพระพุทธ-
    พยากรณ์นั้นแล้ว มีใจปราโมทย์ บำรุงพระพิชิตมารด้วยปัจจัย
    ทั้งหลายตราบเท่าสิ้นชีวิต ต่อจากนั้น ดิฉันก็ได้ทำกาลกิริยา ดิฉัน
    เกิดในพวกเทพเหล่าดาวดึงส์ ผู้ซึ่งให้สำเร็จสิ่งน่าใคร่ได้ทุกประการ
    ครอบงำทวยเทพอื่นๆ เสียด้วยองค์ ๑๐ ประการ คือ ด้วยรูป เสียง
    กลิ่น รส ผัสสะ อายุ วรรณะ สุขและยศ รุ่งเรืองครอบงำทวยเทพ
    อื่นๆ ด้วยความเป็นใหญ่ ดิฉันได้เป็นพระมเหสีผู้น่ารักของท้าว
    อมรินทร์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ก็เมื่อดิฉันยังท่องเที่ยวอยู่ใน
    สงสาร เป็นผู้หวั่นไหวเพราะพายุ คือกรรม จึงเกิดในบ้านของทาส
    ในอาณาเขตของพระเจ้ากาสี ครั้งนั้น ทาส ๕๐๐ คน อาศัยอยู่ใน
    บ้านนั้น ดิฉันได้เป็นภรรยาของหัวหน้าทาสในบ้านนั้น พระปัจเจก-
    พุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ได้เข้าไปสู่บ้านบิณฑบาต ดิฉันกับญาติทุกคน
    เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นก็มีความยินดี เราพร้อมด้วยสามี
    มีจิตเลื่อมใส สร้างกุฎี ๕๐๐ หลัง อุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้า
    เหล่านั้นตลอดสี่เดือน แล้วถวายไตรจีวร ต่อจากนั้น เราพร้อมกับ
    สามีก็ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็ในภพสุดท้ายในบัดนี้ ดิฉันเกิดใน
    พระนครเทวทหะ พระชนกของดิฉันพระนามว่าอัญชนศากยะ พระ-
    ชนนีของดิฉันพระนามว่าสุลักขณา ต่อมาดิฉันได้ไปสู่พระราชวังของ
    พระเจ้าสุทโธทนะ ในพระนครกบิลพัสดุ์ สตรีทุกคนเกิดในสกุล
    ศากยะแล้ว ไปสู่เรือนของพวกเจ้าศากยะ ก็ดิฉันประเสริฐกว่า
    สตรีทุกคน ได้เป็นคนบำรุงเลี้ยงพระพิชิตมาร พระโอรสของดิฉัน
    พระองค์นั้น เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์แล้ว ได้เป็นพระพุทธเจ้าผู้นำ
    ชั้นพิเศษ ภายหลังดิฉันพร้อมด้วยนางศากิยานี ๕๐๐ จึงได้บวช
    แล้วก็ได้ประสพสันติสุขพร้อมด้วยนางศากิยานีผู้มีความเพียร สามี
    ของเราที่ได้ทำบุญร่วมกันมาแต่ชาติก่อนในครั้งนั้น เป็นผู้ทำมหาสมัย
    อันพระสุคตเจ้าทรงอนุเคราะห์แล้ว ได้บรรลุอรหัต.
    พระภิกษุณีทั้งหลาย นอกจากพระมหาปชาบดีเถรีเจ้านั้น ได้พากัน
    เหาะขึ้นสู่นภาดลอากาศ เป็นผู้ประกอบด้วยมหิทธิฤทธิ์รุ่งโรจน์
    เหมือนดวงดาวทั้งหลาย อันโคจรเป็นกลุ่มกันไป ฉะนั้น พระภิกษุณี
    เหล่านั้น เป็นผู้ศึกษาแล้วในบุญกรรม จึงได้แสดงฤทธิ์มิใช่น้อย
    เหมือนนายช่างทองที่ได้รับการศึกษาแล้ว แสดงเครื่องประดับที่ทำ
    ด้วยทองชนิดต่างๆ ฉะนั้น ในครั้งนั้น พระภิกษุณีเหล่านั้น แสดง
    ปฏิหาริย์มากมายหลายอย่าง ยังพระมุนีผู้ประเสริฐกว่าพระอาทิตย์
    พร้อมทั้งบริษัทให้ชอบใจ แล้วได้พากันลงจากนภาดลอากาศ ถวาย
    บังคมพระศาสดาผู้สูงสุดกว่าฤาษี เมื่อพระศาสดาผู้เป็นยอดของ
    นรชนทรงอนุญาตแล้ว จึงได้นั่ง ณ สถานที่อันสมควร แล้วได้
    กราบทูลว่า ข้าแต่พระวีรเจ้า โอหนอ พระโคตมีเถรีเจ้าเป็นผู้
    อนุเคราะห์หม่อมฉันทุกๆ คน หม่อมฉันทุกคน พระนางได้อบรม
    ด้วยบุญ จึงได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ หม่อมฉันทั้งหลายเผา-
    กิเลสเสียแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้แล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกเหมือน
    ช้างพังตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การหม่อมฉันทั้งหลาย
    มาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เป็นการมาดีแล้วหนอ
    วิชา ๓ หม่อมฉันทั้งหลายบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระ-
    พุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำเสร็จแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้ คือ
    ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ หม่อมฉันทั้งหลายทำให้
    แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายได้ทำเสร็จแล้ว
    หม่อมฉันทั้งหลายมีความชำนาญในฤทธิ์และทิพโสตธาตุ ข้าแต่
    พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลายมีความชำนิชำนาญในเจโตปริยญาณ
    รู้ปุพเพนิวาสญาณ ชำระทิพจักษุได้แล้ว มีอาสวะทั้งหลายสิ้นไปแล้ว
    บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายมีญาณ
    ในอรรถ ธรรม นิรุติ และปฏิภาณ ญาณนั้นเกิดที่สำนักของพระองค์
    ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพระนายกมหามุนี พระองค์เป็นผู้อันหม่อมฉัน
    ทั้งหลายได้วิสสาสะแล้ว ได้ทรงโปรดมีจิตเมตตาอนุญาตให้หม่อม-
    ฉันทั้งปวงนิพพานเถิด.
    พระพิชิตมารได้ตรัสว่า เมื่อท่านทั้งหลายพูดอย่างนี้ว่า จักนิพพาน
    ฉันจักไปว่าอะไร ก็บัดนี้ท่านทั้งหลายจงสำคัญกาลเวลาเอาเองเถิด.

    ครั้งนั้น พระภิกษุณีเหล่านั้นมีพระโคตมีเถรีเจ้าเป็นต้น ถวายบังคม
    พระพิชิตมารแล้วได้พากันลุกจากที่นั่งนั้นไป พระธีรเจ้าผู้นำชั้นเลิศ
    ของโลก พร้อมด้วยหมู่ชนเป็นอันมากได้เสด็จไปส่งพระมาตุจฉา
    จนถึงซุ้มประตู ครั้งนั้น พระโคตมีเถรีเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุณี
    ทั้งหลายทุกๆ องค์ ได้พากันหมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระ-
    ศาสดาผู้เป็นพงศ์พันธุ์ของโลก กราบทูลว่า นี้เป็นการถวายบังคม
    พระยุคลบาทครั้งสุดท้ายของหม่อมฉัน การได้เห็นพระองค์ผู้เป็น
    นาถะของโลกครั้งนี้ ก็เป็นครั้งสุดท้าย หม่อมฉันจักไม่ได้เห็นพระ-
    พักตร์ของพระองค์ซึ่งมีอาการปานน้ำอมฤตอีก ข้าแต่พระวีรเจ้าผู้เลิศ
    ของโลก หม่อมฉันจักไม่ได้ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์
    ซึ่งอ่อนละเอียดดีอีก วันนี้หม่อมฉันจะเข้านิพพาน.

    พระศาสดาตรัสว่า
    จะมีประโยชน์อะไรด้วยรูปนี้แก่ท่านในปัจจุบัน รูปนี้ล้วนปัจจัย
    ปรุงแต่ง ไม่น่ายินดี เป็นของเลวทราม.
    พระมหาปชาบดีเถรีเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุณีเหล่านั้นไปสู่สำนัก
    นางภิกษุณีของตนแล้ว นั่งพับเพียบบนอาสนะอันประเสริฐ ครั้ง
    นั้น อุบาสิกาทั้งหลายในพระนครนั้น ผู้มีความเคารพรักในพระพุทธ-
    ศาสนา ได้สดับพฤติเหตุของพระนางเจ้า ต่างก็เข้าไปหานมัสการ
    แทบบาทมูล เอากรค่อนอุระประเทศร้องไห้พิไรร่ำคร่ำครวญควรจะ
    กรุณา เต็มไปด้วยความโศกเศร้า ล้มลงที่พื้นพสุธา ดุจเถาวัลย์
    รากขาดแล้วล้มลง ฉะนั้น พากันร้องไห้รำพันด้วยวาจาว่า ข้าแต่
    พระแม่เจ้าผู้เป็นนาถะให้ที่พึ่งของดิฉันทั้งหลาย พระแม่เจ้าอย่าได้
    ละทิ้งดิฉันทั้งหลาย ไปเข้านิพพานเสียเลย
    ดิฉันทุกคนขอซบเศียร
    อ้อนวอน พระมหาปชาบดีเถรีเจ้าลูบศีรษะของอุบาสิกาผู้มีศรัทธา
    มีปัญญาซึ่งเป็นหัวหน้าของอุบาสิกาเหล่านั้นอยู่ ได้กล่าวว่า ลูก
    ทั้งหลายเอ๋ย การพร่ำเพ้อซึ่งเป็นไปในบ่วงแห่งมารไม่ควรเลย
    สังเขตธรรมทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง มีแต่จะพลัดพรากจากกัน หวั่น-
    ไหวไปมา ต่อแต่นั้น พระนางก็สละอุบาสิกาเหล่านั้นเสีย เข้าปฐม
    ฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน แล้วเข้าอากาสานัญ-
    จายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และ
    เนวสัญญานาสัญญายตนฌานตามลำดับ แล้วพระโคตมีเถรีเจ้าก็เข้า
    ฌานทั้งหลายโดยปฏิโลม แล้วก็เข้าปฐมฌานไปตราบเท่าถึงจตุตถ-
    ฌาน ครั้นออกจากจตุตถฌานนั้นแล้วก็ดับไป เหมือนเปลวประทีป
    ที่หมดเชื้อดับไป
    ฉะนั้น ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ สายฟ้าก็ตกลง
    จากนภากาศ กลองทิพย์ก็บันลือลั่นขึ้นเอง ทวยเทพพากันคร่ำครวญ
    และฝนดอกไม้ก็ตกจากอากาศลงยังพื้นแผ่นดิน แม้ขุนเขาสุเมรุราช
    ก็กัมปนาทหวั่นไหว เหมือนคนเต้นรำในท่ามกลางที่เต้นรำ ฉะนั้น
    สาครก็ปั่นป่วนตีฟองคะนองระลอกฉะฉาน ทวยเทพ นาค อสูร
    และพรหมต่างก็พากันสลดใจ กล่าวขึ้นในทันใดนั้นเองว่า สังขาร
    ทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ เหมือนอย่างพระมหาปชาบดีเถรีเจ้านี้ถึง
    ความย่อยยับไปแล้ว และพระเถรีทั้งหลายผู้ทำตามคำสอนของพระ
    ศาสดา ซึ่งแวดล้อมพระมหาปชาบดีเถรีเจ้านี้ ก็พากันดับไปแล้ว
    เหมือนเปลวประทีปหมดเชื้อดับไป ฉะนั้น โอ้ ความประจวบกัน
    มีความพลัดพรากเป็นที่สุด โอ้ สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งล้วนแต่ไม่เที่ยง
    โอ้ ชีวิตมีความหายสูญเป็นที่สุด ความปริเทวนา ได้มีแล้ว ด้วย
    ประการฉะนี้.
    ในลำดับนั้น เทวดาและพรหมต่างก็ทำความประพฤติตามโลกธรรม
    ตามสมควรแก่กาลแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้สูงสุดกว่าฤาษี
    ครั้งนั้นพระศาสดาได้ตรัสเรียกท่านพระอานนท์ผู้พหูสูตมาสั่งว่า
    อานนท์ท่านจงไปประกาศให้ภิกษุทั้งหลายทราบถึงการนิพพานของ
    พระมารดาเวลานั้น ท่านพระอานนท์เป็นผู้หมดความแช่มชื่น
    มีตานองไปด้วยน้ำตา ได้กล่าวด้วยเสียงอันน่าสงสารว่า ขอ
    พระภิกษุทั้งหลายผู้เป็นโอรสของพระสุคตเจ้าซึ่งอยู่ในทิศตะวันออก
    ทิศใต้ ทิศตะวันตกและทิศเหนือ จงมาประชุมกัน พระภิกษุณี
    ผู้ยังพระสรีระสุดท้ายของพระมุนีให้เจริญด้วยน้ำนม พระมารดาของ
    กระผม พระโคตมีภิกษุณีนั้นถึงความสงบ เหมือนดวงดาวในเมื่อ
    พระอาทิตย์ อุทัย ฉะนั้น พระนางยังความรู้พร้อมกันว่า เป็น
    พระพุทธมารดา ให้ดำรงอยู่แล้วไปสู่นิพพาน ในที่ใดถึงคนมี ๕
    ตาก็เห็นไม่ได้ ในที่นั้น พระผู้มีพระภาคซึ่งเป็นผู้นำทรงเห็นได้

    ขอพระโอรสของพระสุคตเจ้าผู้มีความเชื่อในพระสุคต หรือเป็น
    ศิษย์ของพระมหามุนีจงทำสักการะแด่พระพุทธมารดาเถิด ภิกษุ
    ทั้งหลายถึงอยู่ไกล ได้ฟังคำประกาศนั้นแล้ว ก็มาได้เร็ว บางพวก
    มาด้วยพุทธานุภาพ บางพวกที่ฉลาดในฤทธิ์ก็มาด้วยฤทธิ์ต่างช่วยกัน
    ยกเอาเตียงนอนที่พระโคตมีเถรีเจ้าหลับ ขึ้นไว้ในเรือนยอดอัน
    ประเสริฐ น่ายินดี สำเร็จด้วยทองคำล้วนๆ งดงาม ท้าวโลก
    บาลทั้งสี่เอาบ่าเข้ารองรับเรือนยอด ทวยเทพที่เหลือมีท้าวสักกะ
    เป็นต้น เข้าช่วยรับเรือนยอด ก็เรือนยอดทั้งหมดมี ๕๐๐ หลัง
    แท้จริง เรือนยอดเหล่านั้น วิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิต มีสีเหมือน
    พระอาทิตย์ในสรทกาล ทวยเทพทั้งหลายได้แบกพระภิกษุณีทุกๆ
    องค์ที่นอนอยู่บนเตียงแล้ว นำเอาออกไปตามลำดับพื้นนภากาศถูก
    เอาเพดานบังไว้ทั่ว ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์พร้อมทั้งดวงดาวซึ่ง
    สำเร็จด้วยทองได้ถูกติดเป็นตราไว้ที่เพดานนั้น ธงปฏากได้ถูกยก
    ขึ้นไว้เป็นอันมาก จิตกาธารทั้งหลายมีดอกไม้เป็นเครื่องปกคลุม
    ดอกบัวที่เกิดในอากาศเอาปลายลง ดอกไม้ผุดขึ้นจากแผ่นดิน พระ-
    จันทร์และพระอาทิตย์คนมองดูเห็นได้ และดาวทั้งหลายส่องแสง
    ระยับระยิบ อนึ่ง พระอาทิตย์ถึงจะโคจรไปในเวลาเที่ยงก็เป็นเหมือน
    พระจันทร์ ไม่ทำใครๆ ให้เร่าร้อน ทวยเทพทั้งหลายพากันบูชาด้วย
    ของหอมและดอกไม้ทิพย์อันน่ายินดี และด้วยการขับร้อง ฟ้อนรำ
    ดีดสีตีเป่าอันเป็นทิพย์ พวกนาค อสูรและพรหม ต่างก็พากันบูชา
    พระพุทธมารดาผู้นิพพานแล้ว กำลังถูกเขานำเอาออกไปตามสติ
    กำลัง พระภิกษุณีผู้เป็นโอรสของพระสุคตเจ้า ซึ่งนิพพานแล้ว
    ทั้งหมดเชิญไปข้างหน้า พระโคตมีเถรีพุทธมารดาผู้อันเทวดาและ
    มนุษย์สักการะเชิญเอาไปข้างหลัง เทวดา มนุษย์พร้อมด้วยนาค
    อสูรและพรหม ไปข้างหน้า ข้างหลังพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระ-
    สาวกเสด็จไปเพื่อจะบูชาพระมารดาการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
    หาได้เป็นเช่นนี้ไม่ การปรินิพพานของพระโคตมีเถรีเจ้า อัศจรรย์
    ยิ่งนัก ในเวลาพระพุทธเจ้าเสด็จนิพพานไม่มีพระพุทธเจ้าและภิกษุ
    ทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นต้น เหมือนในเวลาพระโคตมีเถรีเจ้า
    นิพพาน ซึ่งมีพระพุทธเจ้าและภิกษุทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นต้น
    ชนทั้งหลายช่วยกันทำจิตกาธารซึ่งสำเร็จด้วยของหอมล้วน และ
    เกลื่อนไปด้วยจุรณแห่งเครื่องหอม แล้วเผาพระภิกษุณีเหล่านั้นบน
    จิตกาธารนั้น ส่วนที่เหลือนอกจากอัฐิถูกไฟไหม้สิ้น ก็ในเวลานั้น
    ท่านพระอานนท์ได้กล่าววาจาอันให้เกิดความสังเวชว่า พระโคตมี
    เถรีเจ้าเข้านิพพานแล้ว
    พระสรีระของพระนางก็ถูกเผาแล้ว การ
    นิพพานของพระพุทธเจ้าน่าสังเกต อีกไม่นานก็คงจักมี ต่อจากนั้น
    ท่านพระอานนท์อันพระพุทธเจ้าทรงตักเตือน ท่านได้น้อมพระธาตุ
    ของพระโคตมีเถรีเจ้า ซึ่งอยู่ในบาตรของพระนาง เข้ามาถวายแด่
    พระโลกนาถ พระผู้มีพระภาคผู้สูงสุดกว่าฤาษี ได้ทรงประคองพระ-
    ธาตุเหล่านั้นด้วยฝ่าพระหัตถ์แล้วตรัสว่า เพราะสังขารเป็นสภาพไม่
    เที่ยง พระโคตมีผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่พระภิกษุณีจึงต้องนิพพาน เช่น
    เดียวกับลำตัวของต้นไม้ใหญ่ที่มีแก่นตั้งอยู่ถึงจะใหญ่โตก็ต้องพินาศ
    ฉะนั้น ดูเถอะอานนท์ เมื่อพระพุทธมารดาแม้นิพพานแล้วเพียงแต่
    สรีระก็ยังไม่เหลือ ไม่น่าเศร้าโศกปริเทวนาการไปเลย คนอื่นๆ ไม่
    ไม่ควรเศร้าโศกถึงพระนางผู้ข้ามสาครคือสงสารไปแล้ว ละเว้นเหตุ
    อันทำให้เดือดร้อนเสียได้ เป็นผู้เยือกเย็นดับสนิทดีแล้ว พระนาง
    เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก และมีปัญญากว้างขวาง ทั้งเป็นผู้รู้ราตรี
    นานกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จงรู้ไว้อย่างนี้เถิด พระ
    โคตมีเถรีเจ้า เป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ทิพโสตธาตุ และมีความชำนาญ
    ในเจโตปริยญาณรู้ทั่วถึง ปุพเพนิวาสญาณ ชำระทิพจักษุให้หมด
    จด อาสวะทั้งสิ้นของพระนางหมดสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก
    พระนางมีญาณอันบริสุทธิ์ ในอรรถะ ธรรมะ นิรุติและปฏิภาณ
    เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรจะเศร้าโศกถึงพระนาง คติของไฟที่ลุกโพลง
    ถูกแผ่นเหล็กทับแล้วดับไปโดยลำดับ ใครๆ ก็รู้ไม่ได้ ฉันใด
    บุคคลผู้ที่หลุดพ้นจากกิเลสด้วยดีแล้ว ข้ามพ้นโอฆะคือกามพันธุ์
    บรรลุอจลบทแล้ว ก็ฉันนั้น ย่อมไม่มีคติใครๆ จะรู้ได้ เพราะฉะนั้น
    ท่านทั้งหลายจงมีตนเป็นที่พึ่ง มีสติปัฏฐานเป็นโคจรเถิดท่าน
    ทั้งหลายอบรมโพชฌงค์ ๗ ประการแล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

    ทราบว่า ท่านพระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้ตรัสคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.


    จบมหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทาน.
    http://www.larndham.net/cgi-bin/stshow.pl?book=33&lstart=4471&lend=4887
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
    ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

    ยโสธราเถริยาปทานที่ ๘
    ว่าด้วยบุพจริยาของพระยโสธราเถรี


    [๑๖๘] ดิฉันมีฤทธิ์มาก มีปัญญามาก มีภิกษุณี ๑,๑๐๐ องค์ เป็นบริวาร
    เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า ถวายอภิวาทแล้วเห็นลายลักษณ์กงจักร
    ของพระศาสดา แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ได้กราบทูลว่า
    หม่อมฉันมีอายุ ๗๘ ปี ล่วงเข้าปัจฉิมวัยแล้ว ถึงความเป็นผู้มีกาย
    เงื้อมลงแล้วขอกราบทูลลาพระมหามุนี หม่อมฉันมีวัยแก่ มีชีวิต
    น้อย จักละพระองค์ไป มีที่พึ่งของตนได้ทำแล้ว มีมรณะใกล้เข้ามา
    ในวัยหลัง ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันจักถึงความดับในคืนวันนี้
    มิได้มีชาติ ชรา พยาธิและมรณะ จักไปสู่นิพพานที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง

    เป็นบุรีอันไม่มีความแก่ ความตายและไม่มีภัย บริษัทเข้าเฝ้าพระองค์
    อยู่ รู้จักความผิด ขอประทานโทษ ณ ที่เฉพาะพระพักตร์พระองค์
    เมื่อหม่อมฉันท่องเที่ยวไปในสงสาร หากมีความพลั้งพลาดใน
    พระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานโทษแก่หม่อมฉันเถิด.

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๕๘๙๑ - ๖๐๔๖. หน้าที่ ๒๕๓ - ๒๖๐.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=33&A=5882&Z=6046&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ขอบคุณที่นำพระสูตรมาแผ่แพร่นะครับ

    เอาละเจอธรรมกายในร่างพระนางแล้ว

    แล้วคุณสมถะ เจอธรรมกาย ในร่างคุณหรือยังครับ?

    อยากรู้ หน้าตาธรรมกาย มันเป็นอย่างไร...


    ....
     
  6. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    มหาปชาบดีโคตมีเถรีกล่าวถึงธรรมกายว่า...ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของ
    หม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว


    ผมก็เห็นว่าควรทำ ธรรมกาย ให้เจริญขึ้น แจ้งใจขึ้น ตามหลักของพระพุทธองค์ นั่นล่ะครับ คือการปฏิบัติสมาธิ ทำใจให้สว่างใสหรือบริสุทธิ์ผ่องใส อันเป็นหัวใจของพระศาสนาข้อ ๓ ที่ทรงตรัสว่า สจิตตปริโยทปนัง ด้วยหลักปฏิปทาสายกลางนั้น

    ส่วนการที่ท่านอยากรู้หน้าตาของธรรมกาย ว่าเป็นอย่างไร ก็ขอยก ความหมายและที่มาของคำว่า “ธรรมกาย” ที่ปรากฏคำอธิบายจากวัดปากน้ำ ดังนี้http://www.watpaknam.org/meditation/page_01.php

    ................................................................

    ธรรมกาย คือกายภายในที่มีอยู่ในกายของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่จำกัดว่าจะเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหม ล้วนต่างมีธรรมกายอยู่ภายในทั้งสิ้น แต่ภพภูมิที่สามารถเข้าถึง ธรรมกาย ได้นั้น จะต้องเป็นเวไนยสัตว์ที่อยู่ในสุขคติภูมิเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าถึงได้

    คำว่าธรรมกายนี้ หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านกล่าวไว้ในพระธรรมเทศนาเรื่องพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณว่า ท่านมิได้เป็นผู้บัญญัติขึ้นเอง แต่มีคำนี้ปรากฏอยู่แล้วในพระไตรปิฎก หลวงพ่อได้อธิบายที่มาไว้ดังนี้

    “...พระสิทธัตถะ ทรงกระทำความเพียรอยู่ถึง ๖ พรรษา จึงพบรัตนะอันลี้ลับซับซ้อน อยู่ในองค์พระคือพระธรรมกาย มีสัณฐานเหมือนพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม มีสีใสเหมือนกระจก ปรากฏอยู่ในศูนย์กลางกาย ที่ว่านี้มีหลักฐานอยู่ในอัคคัญญสูตร ที่พระองค์ตรัสแก่วาเสฎฐสามเณรว่า ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฎฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ ในพระสุตตันตปิฎก ฑีฆนิกาย ปาฎิกวรรค ยืนยันความว่าดูกรวาเสฎฐสามเณร “คำว่าธรรมกายนี้ เป็นชื่อของพระตถาคตโดยแท้

    เรื่องพระวักกลินั้น เมื่อระลึกถึงคตวามในอัคคัญญสูตรนี้ ประกอบแล้ว ย่อมส่องความให้เห็นว่า ที่พระองค์ตรัสว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” นั้น หมายความว่า ผู้ใดเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ผู้นั้นได้ชื่อว่าเห็นเรา คือตถาคตนั่นเอง มิใช่อื่นไกลหรือพูดให้เข้าใจง่ายกว่านี้ ก็ว่า ผู้ใดเห็นดวงธรรมที่ว่านี้ ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า หรืออีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ใดเห็นธรรมกาย ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า

    ทำไมจึงหมายความเช่นนั้นก็เพราะว่า ขณะนั้นพระวักกลิก็อยู่ใกล้ๆ กับพระพุทธองค์ หากจะแลดูด้วยลูกตาธรรมดา ทำไมจะไม่เห็นพระองค์ เพราะไม่ปรากฏว่าพระวักกลินั้นตาพิการ เมื่อเช่นนี้ไฉนพระองค์จะตรัสเช่นนั้นเล่า ที่ตรัสเช่นนั้น จึงตีความหมายได้ว่า ที่แลเห็นด้วยตาธรรมดานนั้น เห็นแต่เปลือกของพระองค์ ก็คือกายพระสิตถัตถะที่ออกบวช ซึ่งมิได้อยู่ในความหมายแห่งคำว่าเรา และยังตรัสว่าเป็นที่เปื่อยเน่าด้วย นั่นคือกายพระสิตธัตถะที่ออกบวช ก็คือกายภายนอกนั่น คำว่าเราในที่นี้จึงสันนิษฐานได้ว่า หมายถึงกาภายในซึ่งมิใช่กายเปื่อยเน่า กายภายในซึ่งมิใช่กายเปื่อยเน่า กายภายในคืออะไรเล่า ก็คือธรรมกายนั่นเอง จะเห็นได้อย่างไร ข้อนี้ตอบไม่ยาก เมื่อได้บำเพ็ญกิจภาวนาถูกส่วนแล้ว ท่านจะเห็นด้วยตาของท่านเอง คือเห็นด้วยตาธรรมกาย (ตาของกายละเอียด) ไม่ใช่ตาธรรมดา

    พระดำรัสของพระองค์ดังยกขึ้นมากกล่าวนั้นเป็นปัญหาธรรมมีนัยลึกซึ้งอยู่ อันผู้มิได้ปฏิบัติธรรมแล้ว เข้าใจได้ยาก แต่ถ้าผู้ปฏิบัติได้แล้ว จะตอบปัญหานี้ได้ด้วยตนเองอย่างง่ายดาย ไม่ต้องไปถามใคร...”
    พระวักกลินั้นออกบวชด้วยความติดใจในพระรูปพระโฉมอันงดงามของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เลื่อมใสในพระธรรมคำสอน ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จไปประทับ ณ ที่ใด พระวักกลิจะติดตามไปคอยเฝ้าดูพระพุทธองค์ทุกพระอิริยาบถ ด้วยความประทับใจ

    พระพุทธองค์ทรงทราบดี แต่ก็มิได้ทรงว่ากล่าวแต่ประการใด เพราะเห็นว่ายังไม่ถึงเวลา เมื่อทรงเห็นว่าญาณของพระวักกลิแก่กล้าแล้ว จึงตรัสว่า อเปหิ วกฺกลิ กึเต วกฺกลิ อิมินา ปูติกาเยน ทิฏฺเฐน จงถอยออกไป วักกลิ ร่างกายตถาคตเป็นของเปื่อยเน่า โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ โย มํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ แน่ะสำแดงวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ ผู้ตถาคตคือธรรมกาย พระวักกลิเสียใจที่พระพุทธเจ้าไม่ให้โอกาสได้ใกล้ชิดอีกต่อไป ทั้งมีพระวาจาตัดรอนจึงคิดจะไปกระโดดหน้าผา ฆ่าตัวตาย พระพุทธองค์ทรงติดตามไปแสดงธรรมโปรด จนพระวักกลิบรรลุธรรม

    พระเดชพระคุณพระธรรมทัศนาธร ได้อธิบายเพิ่มเติมเรื่องพระวักกลิกับธรรมกายของหลวงพ่อ ไว้ดังนี้

    “การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสกับพระวักกลิว่า ถ้าบุคคลผู้ใดเห็นธรรม นั่นจึงจะเห็นตถาคต พระตถาคตอยู่ที่ธรรมใน เป็นเครื่องยืนยันว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องการที่จะให้คนรู้จักพระองค์ท่านเห็นพระองค์ท่านให้ลึกซึ้งเข้าไปถึงธรรม เมื่อรวมความกับที่พระองค์ตอบกับวาเสฎฐพราหมณ์ว่า คำว่าธรรมกายเป็นชื่อของตถาคต จึงน่าจะจับใจความได้ว่าธรรมนั้นคือองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้พระธรรม พระธรรมเสกสรรปั้นให้พระองค์เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อบุคคลเราจะระลึกถึงพระองค์ท่าน ก็ควรจะระลึกถึงพระธรรม พระเดชพระคุณที่อยู่ในหีบ จึงได้ตั้งเป็นสถาบันของคณะวิปัสสนานี้ไว้ เพื่อให้บรรดาประชาชนได้เข้าถึงธรรมกาย คือองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

    มีคำว่า ธรรมกาย ปรากฏอยู่อีกหลายแห่งจาก หลักฐานในคัมภีร์

    (๑) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์เป็นธรรมกาย

    “ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ”

    “วาเสฏฐะและภารทวาชะ คำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกาย ก็ดี ธรรมภูต ก็ดี พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต”

    ที.ปา.๑๑/๕๕/๙๒

    (๒) พระแม่น้ามหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระอรหันต์ แสดงว่าตนเป็นธรรมกาย

    “อหํ สุคต เต มาตา ตุวํ ธีร ปิตา มม
    สทฺธมฺมสุขโท นาถ ตยา ชาตมฺหิ โคตม.
    สํวทฺธิโตยํ สุคต รูปกาโย มยา ตว
    อานนฺทิโย ธมฺมกาโย มม สํวทฺธิโต ตยา.
    มุหุตฺตํ ตณฺหาสมนํ ขีรํ ตฺวํ ปายิโต มยา
    ตยาหํ สนฺตมจฺจนฺตํ ธมฺมขีรมฺปิ ปายิตา.
    พนฺธนารกฺขเน มยฺหํ อนโณ ตฺวํ มหามุเน.”

    “ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์
    ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน
    ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุขอันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน
    ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด.
    ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต.
    ธรรมกาย อันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว.
    หม่อมฉันให้พระองค์ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนมคือพระสัทธรรม
    อันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว.
    ข้าแต่พระมหามุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่ามิได้เป็นหนี้หม่อมฉัน.”

    ขุ.อป.๓๓/๑๕๓/๒๘๔

    (๓) พระสรภังคเถระ ผู้เป็นพระอรหันต์ กล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ว่า ทรงอุบัติเป็นธรรมกาย ผู้คงที่

    “เมื่อก่อนเราผู้ชื่อว่าสรภังคะ ไม่เคยได้เห็นโรคคืออุปาทานขันธ์ ๕ ได้ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น. โรคนั้นอันเราผู้ทำตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมก็ได้เสด็จไปแล้วโดยทางนั้น. พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติแท้โดย ธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรมคืออริยสัจ ๔ อันได้แก่ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทางไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตกและเพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี. เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.”

    (๔) ตรัสว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีธรรมกายมาก ได้ตรัสแก่พระอานนท์เวเทหมุนี ซึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อประทับอยู่ในวิหารเชตวันว่า “ได้ทราบว่า พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นปราชญ์ ?” ว่า

    “วิสุทฺธสีลา ... มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา ...”

    “นักปราชญ์เหล่าใด มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา... ไม่บรรลุความเป็นสาวกในพระศาสนาของพระชินเจ้า (นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นสยัมภูปัจเจกชินเจ้า) มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก...”

    ขุ.อป.๓๒/๒/๒๐

    (๕) ปฐมสมโพธิกถา ตอนมารพันธปริวรรต ปริเฉทที่ ๒๘ หน้า ๕๐๙ ความว่า

    หลังพุทธปรินิพพานมีพระสาวกองค์หนึ่ง ชื่ออุปคุตต์มหาเถระ เป็นพระอรหันต์ บรรลุอภิญญา ๖ มีฤทธานุภาพมาก สามารถปราบพญามารให้ละพยศได้ จนเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย แล้วปรารถนาพุทธภูมิ พระอุปคุตต์มหาเถระ ได้ขอร้องได้ขอร้องให้พญามารเนรมิตพระรูปกายของพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยอัครสาวกซ้ายขวาดังนี้

    "ท่านจงได้อนุเคราะห์แก่อาตมา ด้วยสมเด็จพระศาสดา บังเกิดในโลก เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานเสียแล้ว เราได้เห็นแต่ธรรมกายบมิได้เห็นซึ่งพระสรีรกาย ท่านจงสงเคราะห์นฤมิตพระรูปกายแห่งพระศาสดาจารย์ พร้อมด้วยอาการทั้งปวงสำแดงแก่เรา ให้เห็นประจักษ์กับทั้งพระอัครสาวกทั้งคู่ให้ปรากฏ…"

    ............................................

    คำกล่าวของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่ว่า "พระธรรมกาย มีสัณฐานเหมือนพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม มีสีใสเหมือนกระจก ปรากฏอยู่ในศูนย์กลางกาย" ตรงนี้เมื่อเราปฏิบัติให้เข้าถึงแล้ว ย่อมเห็นเหมือนกัน แต่ความจริง การฝึกปฏิบัติสมาธิแนวหลวงพ่อวัดปากน้ำนั้น ไม่ได้เพียงแค่เห็น ธรรมกาย แต่เราต้องเข้าถึงกายในกายทั้ง 18 กาย อันได้แก่ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม และธรรมกาย (นี่กล่าวแบบกว้างๆ ) เป็นเบื้องต้น แล้วท่านจึงสอนให้ใช้กายในกายเหล่านี้ ไปเรียนรู้ในภาคสมถะและวิปัสสนาตามหลักพระพุทธศาสนาต่อไป

    ท่านผู้อ่านสนใจฝึกปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมกาย และเข้าถึงกายในกายทั้ง 18 กาย ขอให้เข้าไปติดตามงานสอนสมาธิของ "ชมรมพัฒนาใจให้สว่างใส" ได้ที่ http://group.wunjun.com/khunsamatha/topic/619713-8819
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2016
  7. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ขอบคุณมากครับ ขอเวลาอ่านก่อนครับ...

    ....
     
  8. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ผมเองเคยไปวัดปากน้ำ สองสามครั้ง
    เมื่อประมาณมีปี40
    ตอนนั้นทำงานแถว เขตบางรัก กรุงเทพ

    จะนั้งเรือ ไปลงทีท่าน้ำหลังวัด ไปทำบุญ

    ไปกราบ สรีระสังขารท่าน ไปชมวัดท่าน

    มันจะมีศาลาระหว่างหอฉันไปที่เก็บสรีระสังขาร

    ในศาลา จะมีพระพุทธปิมากรณ์ นั้งบนดอกบัว
    องค์ใหญ่ ตั้งอยู่ตรงกลาง

    ก็สงสัย ว่าทำไมตั้งกลางห้อง

    พระพุทธปฏิมากรณ์ มันคือธรรมกาย ที่ท่านค้นพบ
    หรือเปล่าครับ?


    .....
     
  9. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    พุทธลักษณะของพระธรรมกาย ที่ใกล้เคียงที่สุด ก็ตามภาพที่ผมนำมาแสดงข้างล่างนี้นะครับ เป็นพระปฏิมากรเกตุดอกบัวตูม ไม่ได้นั่งอยู่บนดอกบัว ถ้าเราเห็น ธรรมกาย ที่ศูนย์กลางกายของเรา เราจะเห็นว่า ธรรมกายนั่งอยู่ในแผ่นฌาณ คล้ายๆ อาสนะ แต่ลักษณะกลมแบนขนาดเท่าหน้าตักของธรรมกายที่เราเห็น

    ธรรมกายเป็นกายในกายของเรา เป็นฝ่ายโลกกุตตระ ไม่ใช่โลกียะ กายฝ่ายโลกียะ ก็คือ กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ส่วนธรรมกาย เป็นกายที่เรียกว่า ธาตุเป็นธรรมเป็น พ้นจากโลกียวิสัย

    บางท่านคิดว่า เป็นเพียงนิมิตหรือคิดไปเอง ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะการเข้าถึงธรรมกายนั้น "ใจ" ของผู้เขัาถึงต้อง รวมใจหยุดเป็นจุดเดียวกัน ที่ "ศูนย์" และใจที่หยุดนั้นต้องเข้ากลางของกลางดวงธรรมจนถึง ธรรมกาย เมื่อเข้าถึงธรรมกาย เราเอาใจจรด "ศูนย์" เราจะเห็นพุทธลักษณะของธรรมกาย ได้ทั้ง ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง-บน-ล่าง-กลาง-ระหว่างหัวต่อกาย คือเห็นธรรมกายได้ทุกทิศทาง ทุกสัดส่วนในเวลาเดียวกัน เรียกว่า เห็นได้รอบตัว ซึ่งเกินสามัญสำนึกของมนุษย์ที่จะคิดหรือจินตนาการเอาเองได้ เพราะมนุษย์ไม่มีประสบการณ์เห็นแบบนี้เลย เวลาเราส่องกระจกเราเห็นได้ด้านหน้าด้านเดียว ต่อให้เราตั้งกระจกไว้หลายบาน เราก็เห็นได้ทีละบาน ทีละด้าน ดังนั้นการเห็น ธรรมกาย ไม่ใช่เกิดจากจินตนาการ หรือเป็นเพียงนิมิต ยังมีรายละเอียดอีกมากที่จะตรวจสอบได้ว่า การเข้าถึงธรรมที่เราเห็นนั้นตรงตามหลักวิชชาหรือไม่ นี่เป็นเพียงการอธิบายบางส่วนเท่านั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images.jpg
      images.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.1 KB
      เปิดดู:
      81
  10. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ขอบคุณที่ให้ความรู้ทางด้านนี้นะครับ

    ขอถามอีกเป็นความรู้นะครับ

    เหตุที่ผมไปวัดปากน้ำ ผมไปเจอสภาวะจิตบางอย่างเข้า

    คือผมฝึกดูลมหายใจมาตลอด บางครั้งเจอสภาวะบางอย่างที่ตัวเองไม่เข้าใจ

    มีครั้งหนึ่ง นั้งดูลมกำหนดลมวิ่งไปตามส่วนต่างร่างกาย แล้วขยายจิตไปตามลม

    ทำไปทำมา ปรารฎว่า กายลมกับกายเนื้อ
    มันประสานกัน ความรู้สึกตอนนั้นละเอียดมาก
    มองเห็นกานเนื้อเพียงลางๆ เหมือนไม่มี
    ทำให้มองเห็นตัวเองเป็นพระพุทธรูป
    ซ้อนทับกันกับกายเนื้อ ขึ้นมาแทน

    เป็นอยู่อย่างนี้อยู่ 7วัน

    หาคำอธิบายไม่ได้ เลยไปวัดปากน้ำ
    แต่ไม่รู้จะไปถามใคร...


    .....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กรกฎาคม 2016
  11. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ผมมีข้อมูลมาแลกเปลี่ยน สำหรับท่านที่ชื่นชอบการฝึกตามลมหายใจแบบอานาปานัสสติ ถ้าท่านฝึกแบบอานาปานัสสติแล้วต้องการให้เข้าถึงธรรมกายให้ท่านปฏิบัติ ดังนี้

    ให้ท่านตามพิจารณาลมหายใจ ว่าลมหายใจเข้าไปสุดตรงไหน ลมหายใจออกเริ่มจากตรงไหน ท่านจะพบว่า ที่สุดของลมหายใจเข้าและจุดเริ่มต้นของลมหายใจออกก็คือศูนย์กลางกาย ไม่ต้องนึกเป็นดวงแก้วก็ได้ ตามดูลมหายใจอย่างเดียว แต่เมื่อใดที่ลมหายใจเข้า-ออกยาวเท่ากัน ตรงที่สุดของลมหายใจเข้านั่นเอง ท่านจะเห็นดวงธรรม (ดวงปฐมมรรค) ตรงนั้น เห็นแล้วเอาใจนิ่งตรงนั้น ไม่ส่งใจมารับลมหายใจเข้า-ออกอีก ท่านก็จะเห็นดวงธรรม (ดวงปฐมมรรค) ชัดเจน ดวงธรรมเป็นสื่อให้เห็นกายในกาย และเห็นกายธรรมหรือธรรมกายในที่สุด (กาย ๑๘ กายหลัก) โดยไม่ต้องฝึกนึกดวงแก้วเป็นนิมิตก็ได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ขอบคุณครับ

    ปกตินิสัยของผม ชอบมากกับการฝึกจิต
    ตัวเอง เป็นนิสัยติดตัวมา



    จากนั้นพี่ที่ทำงานเอาหนังสือธรรมมะ
    มาให้อ่านหลายเล่ม หลายสำนัก
    หนังสือกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น
    หนังสื่อธรรมวิโมกข์หลวงพ่อฤษีลิงดำ
    ฯลฯ เยอะมากพี่ทำงานเขาสะสมหนังสือธรรมะ
    เขาเห็นเราสนใจด้านนี้

    ต่อมา ที่ทำงานมีเน็ตให้เล่น
    ทำให้หาข้อมูลต่างๆง่ายขึ้นมาก

    คิดจะไปราชบุรี ไปวัดหลวงพ่อสด ราชบุรี
    คือจะไปถามเรื่องนี้...
    ไม่ได้ไป มีเหตุไม่ได้ไป

    แต่ไปวัดปทุมวัน ราชประสงค์ แทน
    ไปฟังเทศน์ วันหยุด หลวงพ่อถาวร
    ท่านนิมนต์พระกรรมฐานสายต่างๆ
    และมีโอกาสได้ไปวัดป่าบ้านตาด

    ทำให้เข้าใจมากขึ้น....

    เราเองยังเป็นผู้ศึกษาอยู่
    และยังต้องฝึกต่ออีกมาก...

    .....
     
  13. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ความหมายและอายตนะแบบต่างๆ

    หลวงพ่อวัดปากน้ำได้ให้ความหมายของคำว่า อายตนะ ไว้ว่า หมายถึงดึงดูด หรือบ่อเกิด ท่านกล่าวว่า

    "บ่อเกิดของตาดึงดูดรูป บ่อเกิดของหูดึงดูดเสียง บ่อเกิดของจมูกดึงดูดกลิ่น บ่อเกิดของลิ้นดึงดูดรส บ่อเกิดของกายดึงดูดสัมผัส บ่อเกิดของใจดึงดูดธรรมารมณ์"

    ซึ่งเราสามารถจับคู่ได้ดังนี้

    ตา ดึงดูดกับ รูป
    หู ดึงดูดกับ เสียง
    จมูก ดึงดูดกับ กลิ่น
    ลิ้น ดึงดูดกับ รส
    กาย ดึงดูดกับ สัมผัส
    ใจ ดึงดูดกับ ธรรมารมณ์ หรือธัมมารมณ์


    ท่านขยายความคำว่าอายตนะออกไปอีกว่า อายตนะ มีอยู่ 2 แบบ คือ โลกายตนะ กับธัมมายตนะ โลกายตนะ เป็นอายตนะในภพ 3 โลกันต์ที่ดึงดูดสรรพสัตว์ไปตามภพภูมิต่างๆ ตามอำนาจของบุญและบาป ส่วนธัมมายตนะ คือ อายตนนิพพานที่ดึงดูดสรรพสัตว์ที่หมดกิเลส


    อายตนะ 12 จัดอยู่ในโลกายตนะ ที่ดึงดูดสรรพสัตว์เอาไว้ในภพ 3 นี้ พระมงคลเทพมุนีได้อธิบายไว้ว่า

    "อายตนะภพ 3 มันดึงดูดเหมือนกัน กามภพดึงดูดพวกติดในกาม รูปภพดึงดูดพวกติดรูป ติดรูปแล้วต้องไปอยู่ชั้นนั้น อรูปภพดึงดูดพวกติดอรูป ไปติดไปอยู่ชั้นนั้น"

    "โลกายตนะหรือโลกมันดึงดูด รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส รูปที่ชอบใจมันก็ดึงดูดมาให้ไปติดกับมัน หรือเอาไปติดกับตา หรือเอาไปติดกับรูป เสียงที่ชอบใจมันก็ดึงดูดหู หรือหูดึงดูดเสียงเอามา กลิ่นที่ชอบใจก็ดึงดูดจมูก หรือจมูกก็ดึงดูดกลิ่นเอามา รสที่ชอบใจมันก็ดึงดูดลิ้น หรือลิ้นก็ดึงดูดมันมา สัมผัสที่ชอบใจมันก็ดึงดูดกาย หรือกายไปดึงดูดเอามันมา มันดึงดูดอย่างนี้ มนายตนะส่วนใจ ธรรมารมณ์ที่ชอบใจ มันก็ดึงดูดใจ หรือใจก็ไปดึงดูดเอามันมา นี้มันดึงดูดกันอย่างนี้ ดึงดูดแน่นทีเดียว หลุดไม่ได้ทีเดียว ไม่ว่าแก่เฒ่าชรา หญิง ชาย ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ชนิดใดละ ถูกอายตนะของโลกดึงดูดเข้าอย่างนี้ก็อยู่หมัด ไปไหนไม่ไหวละ อยู่หมัดทีเดียว อายตนะโลกมันดึงดูดอย่างนี้ ไม่ใช่ดึงดูดพอดีพอร้าย อายตนะดึงดูดเหล่านี้ผิวเผินนะ ดึงดูดลงไปกว่านี้อีกอายตนะของโลก

    ถ้าว่าสัตว์ในโลก มีธรรมดำล้วน ไม่ได้มีธรรมขาวเข้าไปเจือปนเลยเท่าปลายผม ปลายขน ดำล้วนทีเดียว แตกกายทำลายขันธ์ โน่น อายตนะโลกันต์ดึงดูด ต่ำกว่าภพ 3 ลงไปนี้ เท่าภพ 3 ส่วนโลกันต์เท่ากับภพ 3 นี้ แต่ต่ำกว่าภพ 3 ลงไปอีก 3 เท่าภพ 3 นี้นั่นมันอายตนะโลกันต์ดึงดูด ดึงดูดโน่น ไปอื่นไม่ได้ อายตนะโลกันต์มีกำลังกว่า พอถูกกระแสถูกสายเข้าแล้วจะเยื้องยักไปทางอื่นไม่ได้ อายตนะของโลกันต์ก็ดึงดูดทีเดียว ไปติดอยู่ในโลกันต์โน่น กว่าจะครบกำหนดออกน่ะมันไม่มีเวลา เวลาน่ะนานนัก ไม่ต้องนับเวลากันละ เข้าถึงโลกันต์แล้ว กว่าจะได้ออก อจินฺเตยฺโย ไม่ควรคิด ไม่มีกำหนดกัน นั่นแน่น ดึงดูดติดขนาดนั้น นั่นอายตนะโลกันต์หนา

    อายตนะอเวจี ถ้าจะไปตกนรกอเวจี ก็ฆ่าพระพุทธเจ้า ฆ่าพระอรหันต์ ฆ่าพระพุทธเจ้า หรือฆ่าพระอรหันต์ ทำลายโลหิตพระพุทธเจ้าให้ห้อขึ้น ยุยงให้สงฆ์แตกจากกัน เหล่านี้ ปิตุฆาต มาตุฆาต ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา เหล่านี้ แตกกายทำลายขันธ์ ต้องไปอเวจี อ้ายนี้อยู่ในภพ ขอบภพข้างล่าง ขอบภพข้างล่างพอดี อเวจี สี่เหลี่ยม เหล็กรอบตัวสี่ด้าน สี่เหลี่ยมทีเดียว ไปอยู่ใน ห้องขังนั้น ในห้องขังอเวจีนั้น แดงก่ำเหมือนกับเหล็กแดงทั้งวันทั้งคืน อะไรไม่ต่างกันละ

    ตัวเทวทัตแดงเป็นเหล็กแดงทีเดียว ไหม้เป็นเหล็กแดงทีเดียว แต่ไม่ตาย กรรมบังคับให้ทนอยู่ได้ นั่นไปตกอเวจีละ ทำถึงขนาดนั้น อนันตริยกรรมเข้า พอแตกกายทำลายขันธ์ กุศลอื่นไม่มีกำลัง สู้อเวจีไม่ได้ อเวจีดึงดูดวูบทีเดียว สู่โยคเผด็จของตน ไปเกิดในอเวจีโน่น หย่อนขึ้นมากกว่านั้น ไม่ถึงกับฆ่ามารดา บิดา ทำลายโลหิตพระพุทธเจ้า ไม่ถึงยุยงพระสงฆ์ ทำลาย พระสงฆ์ ยุยงให้สงฆ์แตกจากกัน ปิตุฆาต มาตุฆาต อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ยังสงฆ์ให้แตกจากกันเหล่านี้ ไม่ถึงขนาดนั้น หย่อนกว่านั้นลงมาเพียงแต่ว่าเกือบๆ จะฆ่ากันแหละ แต่ว่าไม่ถึงกับฆ่า ไม่ถึงตาย เมื่อแตกกายทำลายขันธ์จากมนุษย์โลก ไปอยู่มหาตาปนรกโน้น

    มหาตาปนรกโน่น มหาตาปน่ะ ร้อนเหลือร้อน แต่ว่าหย่อนกว่าอเวจีหน่อยขึ้นมา

    ถ้าว่าไม่ถึงขนาดนั้นทำชั่วไม่ถึงขนาดนั้น หย่อนกว่ามหาตาปนรก ก็ไปอยู่ตาปนรก นั่นก็ร้อนพอร้อน แต่ว่าร้อนหย่อนกว่านั้นขึ้นมาหน่อย หย่อนกว่านั้นขึ้นมายิ่งกว่าเรื่อยขึ้นไป

    ถ้าว่าทำหย่อนขึ้นไปกว่านั้น ความชั่วหย่อนขึ้นไปกว่านั้น เข้าไปอยู่ในมหาโรรุวนรก ร้อง ได้ร้องครางกันเถอะ ไม่มีเวลาหยุดกันละ มหาร้องไห้ทีเดียว

    ถ้าหย่อนกว่านั้นขึ้นมา อยู่ในโรรุวนรก ก็ร้องไห้ไปเถอะ ไม่มีหยุดเหมือนกัน แต่ว่าถ้าหย่อนกว่า ถ้าไม่ถึงขนาดโรรุวนรก หย่อนกว่านั้นขึ้นมา ก็ไปอยู่สังฆาฏนรก ถ้าหย่อนกว่านั้นขึ้น มาอีก ก็ไปกาฬสุตตนรก หย่อนกว่านั้นขึ้นมาอีก ก็ไปสัญชีวนรก รวม 8 ขุม นี่นรกขุมใหญ่ หรือ มหานรก

    ถ้าหย่อนกว่านั้นขึ้นมา ก็ไปอยู่ในบริวารนรก เรียกว่า อุสสทนรก อยู่รอบมหานรกทั้ง 4 ด้าน ด้านละ 4 ขุม แต่ละมหานรก จึงมีนรกบริวาร หรืออุสสทนรก 16 ขุม มหานรก 8 ขุม ก็มีนรกบริวารรวม 128 ขุม หย่อนกว่านั้นขึ้นมาอีก ก็ไปอยู่ในบริวารนรกซึ่งอยู่รอบนอกของมหานรกออกมาอีก ทั้ง 4 ด้าน เรียกว่า ยมโลกนรก แต่ละด้านของมหานรก ก็จะมียมโลกนรกด้านละ 10 ขุม นรกบริวารรอบนอกของมหานรกทั้ง 8 ขุม จึงมี 320 ขุม

    มหานรก 8 ขุม กับนรกบริวารรอบในคือ อุสสทนรกอีก 128 ขุม และนรกบริวารรอบนอก คือ ยมโลกนรกอีก 320 ขุม รวมเป็น 456 ขุม นี่อายตนะนรกดึงดูดอย่างนี้

    ไม่ถึงขนาดนั้น ความชั่วด้วยกาย ชั่วด้วยวาจา ชั่วด้วยใจ ความชั่วด้วยกายวาจาไม่ถึงนรก แตกกายทำลายขันธ์ ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ที่เราเห็นตัวปรากฏอยู่นี่ นั่นมนุษย์แท้ๆ มนุษย์ทั้งนั้น อ้ายสัตว์เดรัจฉานน่ะ ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเสีย อ้ายตัวข้างในเป็นมนุษย์ทั้งนั้นแหละ อ้ายกายละเอียดข้างใน แต่ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานน่าเกลียดน่าชังนั่น เพราะทำชั่วของตัวไปเกิดมันดึงดูดอายตนะของสัตว์เดรัจฉานดึงดูด ดึงดูดอย่างไรล่ะ อ้าวก็ดึงดูดเข้าไปเกิดในท้องสุนัขน่ะซี ท้องหมูบ้าง ท้องสุนัขบ้างตามยถากรรมของมันซี ท้องเป็ด ท้องไก่โน้น ดึงดูดเข้าไปอย่างนี้แหละ ดึงดูดเข้าไปได้แรงนักทีเดียว ความดึงดูดนั่น ให้รู้จักอายตนะดึงดูดอย่างนี้ อ้ายที่มันดึงดูดในพวกเหล่านี้

    ถ้าว่าหย่อนขึ้นมากว่านี้ ไปเกิดเป็นเปรต ไฟไหม้ติดตามตัวไป อสุรกายหย่อนกว่านั้นขึ้นมา นี่พวกอบายภูมิทั้งนั้น นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย 4 อย่าง นี่อบายภูมิทั้งนั้น

    แต่นี้ชั่วไม่ได้ทำ ทำแต่ดี ทำแต่ดีก็อายตนะฝ่ายดีดึงดูด บริสุทธิ์ด้วยกาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ด้วยใจ ไม่มีร่องเสียเลย อายตนะอื่นดึงดูดไม่ได้ อายตนะมนุษย์ดึงดูด ดึงดูดอย่างไรล่ะ เกิดเป็นมนุษย์กันถมไป นี่อย่างไรล่ะ เห็นโด่ๆ มันดึงดูดเข้าไปติดอยู่ในขั้วมดลูกมนุษย์นั่นแหละ มันดึงดูดอย่างนั้นแหละ นี่อายตนะมนุษย์ดึงดูดเข้ามาติดอยู่ในขั้วมดลูกของมนุษย์ นี่เพราะทำความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ถ้าว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น อายตนะทิพย์ดึงดูด ติดอยู่ในกำเนิดทิพย์เป็นกายทิพย์ เป็นกายทิพย์เป็นลำดับขึ้นไป จาตุมหาราช ดาวดึงสา ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี อายตนะดึงดูดทั้งนั้น นี่ในกามภพ 11 ชั้น คือ อบายภูมิ 4 สวรรค์ 6 เป็น 10 มนุษย์อีก 1 รวมเป็น 11 ใน 11 ชั้นนี่ เรียกว่า กามภพ ทั้งนั้น

    ถ้าว่าจะไปในรูปภพ จะไปเกิดในรูปภพ อายตนะของรูปภพดึงดูดเพราะได้ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน แล้วฌานนั้นไม่เสื่อม เห็นเป็นดวงใสวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 วา หนาคืบหนึ่ง กลมเป็นวงเวียน กลมเป็นกงเกวียน กลมเป็นวงเวียนทีเดียว รอบตัวหนาคืบหนึ่ง กลมข้างนอก แต่ว่าไม่กลมรอบตัว กลมเป็นวงเวียน เป็นกงจักรทีเดียว เป็นวงเวียนทีเดียว เป็นแผ่นกระจกชัดๆ หนาคืบหนึ่ง วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วา กลมนั่นปฐมฌาน ติดอยู่กลางกายมนุษย์ ที่ทุติยฌานอยู่ในกลางดวงปฐมฌาน มีตติยฌานอยู่ในกลางดวงทุติยฌาน มีจตุตถฌานอยู่ในกลาง ดวงตติยฌาน เป็นลำดับขึ้นไป

    ฌานเหล่านี้เมื่อไม่เสื่อม แล้วแตกกายทำลายขันธ์ อายตนะของรูปพรหมก็ดึงดูดเป็น ชั้นๆ ไป พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา นี่ ปฐมฌานดึงดูด ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา นี่ทุติยฌานดึงดูด ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา นี่ตติยฌานดึงดูด เวหัปผลา อสัญญีสัตตา นี่จตุตถฌานดึงดูดไปติดอยู่ในรูปพรหม อายตนะรูปพรหมดึงดูดไปทางอื่นไม่ได้ อายตนะเหล่านี้ไม่ยอมเด็ดขาด มีกำลังกว่า

    ถ้าว่าสูงขึ้นไปกว่านี้ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่อายตนะของอรูปพรหม ได้อรูปฌาน ดวงโตเท่ากัน แต่ว่าอากาสา-นัญจายตนะก็กลมขนาดเดียวกัน วิญญาณัญจายตนะก็กลมขนาดเดียวกัน แต่ว่าละเอียดกว่าอากิญจัญญายตนะก็กลมขนาดเดียวกัน เนวสัญญานาสัญญายตนะก็กลมขนาดเดียวกัน แต่ว่าไม่กลมรอบตัวนะ กลมๆ อย่างเดียวกับรูปฌาน นี่เมื่อได้อรูปฌานไม่เสื่อม แตกกายทำลายขันธ์ อรูปพรหมดึงดูดไปเกิดอื่นไม่ได้เด็ดขาด อยู่ในอรูปภพนี่แหละ ออกจากภพนี้ไม่ได้

    นี่อายตนะดึงดูดอย่างนี้นะ ถูกอายตนะดึงดูดอย่างนี้ เขาเรียกว่าโลกายตนะที่กล่าวแล้วนี้โลกายตนะทั้งนั้น โลกันต์โน่น โน่นก็เป็นโลกายตนะ อเวจีตลอดถึง เนวสัญญานา สัญญายตนะขอบภพข้างบน นี่โลกายตนะดึงดูดไปไม่ได้ หลุดไปไม่พ้น"


    จากข้างต้นจะทำให้เรารู้ว่า อายตนะ 12 นั้นมีโทษมากเพราะดึงดูดสรรพสัตว์ให้ถูกขังไว้ ดังนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงแนะนำเราให้ค้นหาธัมมายตนะ คือ อายตนนิพพาน ที่จะพาเราให้พ้นไปจากสังสารวัฏนี้

    สละความยินดีในอายตนะ 6 แล้วได้บุญมาก

    หลวงพ่อวัดปากน้ำได้แนะนำให้เราทำใจให้ออกจากอายตนะเหล่านั้น ซึ่งมีโทษมาก ท่านกล่าวเอาไว้ว่า

    "ทานในพระปรมัตถ์ 6 คือ
    มีอายตนะ 6 คือ ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ถอนความยินดีในอารมณ์เหล่านี้ออกเสียได้ สละความยินดีในอารมณ์เหล่านี้เสียได้ก่อนเราเกิดมาเขาก็ยินดีกันอยู่อย่างนี้ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ กำลังที่เราเกิดมาเขาก็ยินดี ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เหล่านี้ ครั้นเราจะตายเขาก็ยินดี ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์อย่างนี้เหมือนกัน

    ความยินดีเหล่านี้ หากถอนอารมณ์ออกเสียได้ ไม่ให้มาเสียดแทงเราได้ พิจารณาว่านี้เป็นอารมณ์ของชาวโลก ไม่ใช่อารมณ์ของธรรม ปล่อยอารมณ์เหล่านั้นเสีย ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ให้เข้าไปเสียดแทงใจ ทำใจให้หยุด ให้นิ่ง นี่เขาเรียกว่า ให้ธรรมารมณ์เป็นทาน ย่อมมีกุศลใหญ่ เป็นทางไปแห่งพระนิพพานโดยแท้ และเป็นทานอันยิ่งใหญ่ทางปรมัตถ์"

    สละโลกายตนะเข้าหาธัมมายตนะ

    หลวงพ่อวัดปากน้ำได้แนะนำให้สละความยินดีในอายตนะ 12 เหล่านั้นเสีย เพราะเป็นทางมาของโลภะ โทสะ โมหะ การสละความยินดีเหล่านั้น ก็ใช้หลักการเดิมคือการทำใจให้หยุดนิ่ง แล้วแสวงหาธัมมายตนะคือพระนิพพานนั้น


    "ราคะ โทสะ โมหะเกิดมาจากจักขุบ้าง รูปบ้าง ความรู้ทางจักขุบ้าง ความสัมผัสทางจักขุบ้าง มันเกิดมาทางนี้ต้องแก้ไขทางนี้ แก้ไขทางอื่นไม่ได้ ต้องแก้ไขทาง ตา หู จมูก สิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้าย ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่มากระทบถูกต้องอายตนะทั้ง 6 นั้น

    ให้ทำใจให้หยุด หยุดเสียอันเดียวเท่านั้นดับหมด พอหยุดได้เสีย ก็เบื่อหน่าย
    เบื่อหน่ายใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
    เบื่อหน่ายในทางความรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    เบื่อหน่ายในการสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    เบื่อหน่ายหมดต้องทำใจให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย กลางกั๊ก ใสเหมือนดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ หยุดนิ่งหยุดทีเดียว พอหยุดก็รู้ว่าใจของเราหยุดแล้ว ที่ว่าใจหยุดก็เข้ากลางของกลาง นิ่งอยู่ที่เดียว กลางของกลางๆ ๆ ไม่ถอย แล้วเข้ากลางของกลาง หนักเข้าไป พอใจหยุดก็เข้ากลางของกลาง ซ้ายขวาหน้าหลังล่างบนไม่ไป กลางของกลางหนักขึ้นทุกทีไม่มีถอยออก กลางของกลางหนักขึ้น พอถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ นั่นเป็นดวงปฐมมรรค หนทางเบื้องต้นมรรคผลนิพพาน"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. Jindamunee

    Jindamunee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +1,190
    รบกวนถามท่านสมถะครับ

    ว่าเวลาเราสวดมนต์ให้มีคุณสมบัติเหมือนเข้าวิชาธรรมกายนั้นทำอย่างไร
    ปกติจิตคนต้องอยู่กับคำ จึงจะเกิดพลังดี อันนี้เข้าใจอยู่และทำเป็น
    การนำสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาเข้าศูนย์กลางกายกลั่นให้ใสก็เคยครับ แต่การบริกรรมบทต่างๆนั้นควรทำอย่างไร จะให้นึกทีละคำเป็นภาพกลั่นให้ใสนี่คงจะไม่ใช่แน่ๆ หรือกลั่นตัวให้ใสเท่าที่สุดจึงมาสวดมนต์ครับ
     
  15. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ผมต้องขออภัยที่ไม่เข้าใจคำถามที่ว่า เวลาสวดมนต์ให้มีคุณสมบัติเหมือนเข้าธรรมกายนะครับ
    แต่ถ้าจะสวดมนต์ให้ถึงพระ คือถึงพระธรรมกายและพระพุทธเจ้าของธรรมภาคขาวนั้น เคยรับรู้มาว่า ท่านให้เอาใจจรดที่ "ศูนย์" โดยมีวิธี ดังนี้

    ก่อนอื่นเดินวิชชา 18 กาย อนุโลม-ปฏิโลมให้มากเที่ยว จนกระทั่งใจโล่งโปร่ง กายในกายทุกกายก็จะสว่างใส จากนั้นเข้านิพพานไปซ้อนกายสับกายกับพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพาน ให้ซ้อน "สิบ" และ "ศูนย์" ของเราให้ตรงกับ "สิบ" และ "ศูนย์" ของพระนิพพานทุกๆ พระองค์ จากนั้าเอาใจจรด "ศูนย์" ที่ซ้อนรวมเป็นจุดเดียวกัน เราก็จรดใจตรงที่ "ศูนย์" นั้นแล้วสวดมนต์ เสียงสวดมนต์จะดังไปถึงนิพพาน ก่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นในเนื้อมนต์นั้น นี่กล่าวโดยย่อ และต้องขออภัยสำหรับท่านที่อ่านแล้วไม่เข้าใจคำศัพท์ที่ผมเขียนออกไป แต่สำหรับผู้ปฏิบัติทางวิชชามาเป็นอย่างดีจะพึงเข้าใจได้ไม่ยากนัก

    ไม่ทราบว่าจะตอบตรงกับที่ถามหรือเปล่า สุดแล้วแต่ท่านจะพิจารณานะครับ
     
  16. Jindamunee

    Jindamunee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +1,190
    สาธุ เข้าใจว่านัีนคือคำตอบของคำถามผมครับแต่หาวิธีถามไม่ถูก
     
  17. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ความรู้สำคัญของหลวงพ่อคืออะไร?

    ผู้ให้ความรู้ คุณลุงการุณย์ บุญมานุช
    (อดีตผู้ช่วยศึกษาธิการ จ.จันทบุรี)


    ท่านจำได้ไหม? เพราะเราต้องใช้ในชีวิตประจำวัน
    จงตอบคำถามดังนี้ โดยใช้ความรู้ที่หลวงพ่อท่านเคยสอนไว้ ตอบให้ชัดเจน เพราะเป็นความรู้สำคัญที่เราต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

    ก. หลงตาย คืออะไร? จะตายโดยไม่ให้หลง หลวงพ่อสอนไว้อย่างไร? จงบรรยาย

    ข. ทำบุญได้ใช้บุญเป็น คืออะไร? หลวงพ่อสอนไว้อย่างไร? จงอธิบาย

    ค. เมื่อเกิดอารมณ์ไม่ดีขึ้นแก่ใจ เช่น โลภ โกรธ อยากแก้แค้น ผิดหวังต่าง ๆ ท้อแท้ในชีวิต เป็นต้น หลวงพ่อสอนวิธีแก้ไว้อย่างไร? จงอธิบาย



    เฉลยแนวของคำตอบ ให้ท่านนำไปตรวจสอบ

    กับความรู้ที่ท่านตอบ ว่าตรงกับเฉลยหรือไม่?

    ก. หลงตาย คือการตายขณะที่ใจของเราหลง นึกอะไรไม่ได้ นึกถึงบุญไม่ได้ นึกถึงความดีที่เราทำไม่ได้ นึกได้แต่สิ่งไม่ดีทั้งปวงที่ตนเคยทำตลอดเวลาที่เรามีชีวิตอยู่ในโลก นึกได้แต่บาปกรรมที่ตนเคยทำ แล้วดวงบาปคือดวงดำ ก็มาหุ้มเคลือบใจของเราทันที ส่งผลให้เราไปสู่ทุคติภูมิอย่างทันใด ทุคติภูมิคือภพภูมิที่ให้ทุกข์แก่เรา เราตกนรกเสียแล้ว การที่ใจนึกถึงดวงบุญไม่ได้ เรียกว่า หลง แต่เป็นการหลงในเวลาที่เราจะตาย จึงเรียกว่า หลงตาย คือตายไม่เป็น เรียกการตายไม่เป็นว่า “หลงตาย”

    หลวงพ่อสอนว่า เวลาจะตายต้องไม่หลง ต้องตั้งสติให้มั่นคง โดยให้นึกถึงแต่บุญกุศลทั้งปวงที่เราเคยทำ ให้นึกถึงแต่บุญกุศลสถานเดียว อย่านึกถึงบาปกรรมเป็นอันขาด หากใจยังนึกถึงบาปกรรมอยู่ ก็ขอให้กำหนดสติกลับมานึกถึงบุญอย่างทันใด และภาวนาในใจว่า สัมมาอะระหัง ๆๆๆ เรื่อยไป สำหรับท่านที่กำหนดดวงปฐมมรรคได้แล้ว ต้องว่าได้เปรียบมาก ส่งใจนิ่งกลางดวงปฐมมรรคนั้น แล้วส่งใจนิ่งลงไปที่ดวงบุญของเราให้เป็นดวงใส นึกให้ดวงบุญช่วยให้เราไปสู่สุคติ แล้วดวงบุญก็นำไปสู่สวรรค์อย่างทันใด สำหรับท่านที่เห็นกายธรรมแล้ว ไม่ยากอะไร? ให้ส่งใจนิ่งกลางดวงธรรมในท้องของกายธรรม ท่องใจ หยุดในหยุด นิ่งในนิ่ง ใสในใส ๆๆๆๆๆๆ อธิษฐานใจต่อกายธรรม ขอให้เราไปสู่สุคติภูมิ

    โปรดจำไว้ว่า ขณะที่ใจเราจะขาดจากร่างนั้น ใจของเราประหวัดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นก็ส่งผล



    ข. ทำบุญได้ใช้บุญเป็น คือการที่พวกเรารักษาศีล ทำบุญให้ทาน และเจริญภาวนา นั่นคือการทำบุญได้ ดวงบุญก็เกิดที่ดวงปฐมมรรคทันใด มีลักษณะเป็นดวงขาวใส แต่ยังใช้บุญไม่เป็น หลวงพ่อท่านอธิบายว่า ทำบุญได้จริงแต่ใช้บุญไม่เป็น อย่างไรจึงเรียกว่า “ใช้บุญเป็น”? การใช้บุญเป็นนั้น ท่านสอนให้เอาใจของเราจรดนิ่งกลางดวงปฐมมรรคนั้น ก็ถูกดวงบุญซึ่งซ้อนอยู่ในดวงปฐมมรรคนั้น เราปรารภถึงดวงบุญ ดวงบุญก็ปรากฏให้เห็น นึกถึงอะไรสิ่งนั้นก็ปรากฏ โปรดจำไว้ว่า ไม่ว่าอะไรอยู่ในดวงปฐมมรรคทั้งนั้น ให้ส่งใจมั่นคงลงดวงบุญนั้น บริกรรมใจหยุดในหยุด ๆๆนิ่งในนิ่ง ๆๆ ใสในใส ๆๆ อธิษฐานใจขอให้ดวงบุญส่งผลให้เรามีความเจริญไพศาล รับราชการก็ขอให้เจริญในราชการ ทำการค้าก็ขอให้ร่ำรวย กรณีที่ใจจรดกลางดวงบุญ แล้วอธิษฐานขอให้เราประสบความสำเร็จ เรียกว่า “ใช้บุญเป็น” ต้องฝึกทำทุกวันให้ชำนาญ

    อย่างไรจึงเรียกว่า “ทำบุญได้แต่ใช้บุญไม่เป็น”? ทำบุญได้ ท่านเข้าใจแล้ว คราวนี้มาถึงเรื่องใช้บุญไม่เป็น เมื่อทำบุญได้แล้ว ไม่เอาใจจรดนิ่งกลางดวงบุญและไม่อธิษฐานให้ดวงบุญช่วย แต่เอาใจไปจรดเรื่องอื่นลักษณะใจเช่นนี้ ท่านบอกว่าเป็นการใช้บุญไม่เป็น



    ค. เกิดอารมณ์ไม่ดีทางใจทั้งปวง เช่น โลภ โกรธ หลง กิเลสต่าง ๆ จะแก้อย่างไร? เป็นความรู้สำคัญมากที่หลวงพ่อท่านสอน อารมณ์มดีเกิดแก่ใจลักษณะต่าง ๆ เช่น โลภ โกรธ หลง หมดหวัง ซึมเศร้า อยากทำร้ายตัวเอง หมดอาลัยตายอยาก อยากแก้แค้น อยากฆ่า สารพัดอารมณ์ที่จะเกิดแก่ใจเรา นั่นคือเรื่องของมารที่เขาเข้ามาแทรกซ้อนในใจของเรา มารเขาทำวิชาปกครองมาบังคับมนุษย์ ให้มนุษย์เวียนว่ายตายเกิดด้วยเรื่องทั้งปวงนี้ หลวงพ่อสอนว่า ให้ทำใจหยุดทำใจนิ่งกลางดวงปฐมมรรคอย่างทันใด บริกรรมใจหยุดในหยุด นิ่งในนิ่ง ใสในใส ๆๆๆ พอใจสงบ ใจจะนิ่งไม่ส่าย ส่งผลให้ดวงธรรมเราใสยิ่งขึ้นสว่างยิ่งขึ้น ส่งผลให้อารมณ์ไม่ดีทั้งปวงนั้นจะหายไปจากใจ จงหมั่นฝึกหมั่นทำ ทำให้ชำนาญ

    ความรู้เรื่องนี้ เราสามารถช่วยสังคมได้ ไม่ให้ฆ่าตัวตาย ไม่ให้ปล้นฆ่ากัน ไม่ให้ติดยาเสพติด ก็คือการฝึกใจตามคำสอนข้อ ๓ ที่ว่า สจิตฺตปริโยทปนํปัญหาของสังคมที่วุ่นวายกันนี้ เกิดจากมนุษย์ที่ใจไม่ใสทั้งนั้นสจิตฺตปริโยทปนํเพราะสภาพใจที่สว่างใสมีหิริโอตตัปปะเสียแล้ว มีความสะดุ้งหวาดกลัวต่อบาปเสียแล้ว

    ข้าพเจ้าไม่คิดอย่างอื่นเลย คิดแต่ว่าถ้าเราสามารถฝึกสภาพใจเด็กของเรา ให้ใจของเขาเกิดความสว่างใสตามคำสอนของพระบรมศาสดาข้อ ๓ ที่ว่า สจิตฺตปริโยทปนํ ได้ เด็กของเราจะไม่มีปัญหาเช่นที่กล่าวนั้นเป็นอันขาดเราทำเป็นวิทยาทาน ไม่มีการเรี่ยไรเงิน ไม่มีเรื่องการเงินมาเกี่ยวข้อง เป็นการสร้างทางบุญของพวกเรา พวกเราต่างมีอุดมการณ์ตรงกันเรื่องนี้ ทุกอย่างเป็นธรรมทานทั้งนั้น
    .........................................................
    ภาพงานสอนสมาธิภาวนา โดยชมรมพัฒนาใจให้สว่างใส : https://web.facebook.com/khunsamatha2557/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กรกฎาคม 2016
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เอาแบบ คำตอบของ พระพุทธองค์บ้าง

    " หลงตาย " คืออะไร

    คือ นักปฏิบัติที่ ติดในสมมติบัญญัติ ไม่เคยกำหนดรู้ ปรมัตถธรรม ไม่เคยเห็น สัจจตาม
    ความเป็นจริง จึงไม่รู้ ความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด จากการตาย การเกิด

    พอไม่รู้ ก็สำคัญว่า จิตนี้มีเกิด มีตาย รออยู่ ไม่เคยเห็น สภาวะพ้นการตาย การเกิด
    ไม่เคยเห็น ปฏิสนธิวิญญาณ ......นั่นแหละ จึงมี ทิฏฐิเห็นว่า จิตเที่ยง จิตดวงเดียว
    เทียวไปมีเกิด มีตาย

    ไม่หลงตาย คือ ผู้ที่ กำหนดรู้เห็น ปรมัตถธรรมแล้วว่า ความตายไม่มี สภาวะพ้นตาย
    นั้นมีอยู่ เมื่อพ้นตาย ก็พ้นการเกิด [ อ่านเรื่อง ลูกสาวช่างทอฮูก ]


    มีบุญแต่ใช้ไม่เป็น คือ พวกที่ ทำบุญเพื่อหวังไปใช้ในการเกิดชาติหน้า พรุ่งนี้
    วินาทีหน้า นี่คือ ใช้บุญเพื่อให้ตัวเอง ติดข้องในวัฏสงสาร โง่เสียยิ่งกว่าโง่
    ทำบุญแล้ว แทนที่จะเอามา กำหนดรู้การพ้นตาย มีจริงๆ กลับไปเอาไป ร้อยรัด
    ร้อยจมูกตัวเองว่า ชาติหน้าต้องเกิด วินาทีหน้ายังมี อุปาธิอุปาทานกินกบาล
    ไม่อาจเห็นธรรม [ อ่านเรื่อง สัญญาในอนาคต ]

    เกิดอารมณ์-ทางใจทั้งปวง ก็เพราะ หากยังไม่เห็นสภาวะ พ้นตาย ก็ไม่เห็น
    สภาวะพ้นการเกิด พ้นวัฏสงสาร ตราบใดยังมีจิต ยึดถือจิต สิ่งที่ถูกจิตรู้(อารมณ์)
    ย่อมปรากฏเป็นธรรมดา
     
  19. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
     
  20. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ถ้าจิต
    เป็นลูกกลมๆ
    ที่ว่องไวแล้วใงต่อ
    คะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...