สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201

    ผู้ปรารถนาทิศที่ยังไม่เคยไป พึงรักษาจิตของตนไว้ เหมือนคนประคองไปซึ่งโถน้ำมันอันเต็มเปียมเสมอขอบ มิได้มีส่วนพร่องเลย

    กว่าเขาจะได้นิสสัยอันชี้นำทางสว่างในการปฎิบัติและศึกษาธรรม นั่นก็สั่งสมมาหลายภพหลายชาติแล้ว สติปัญญาจึงมีความเจริญสนใจในพระธรรมคำสั่งสอน ก็ล้วนแต่เป็นพลวปัจจัยที่บุคคลเหล่านั้นได้มี จริตสติปัญญา นำกาย วาจา ใจของเขาเข้าสู่การพิจารณาและใส่ใจ ในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ทรงมีพระมหากรุณาตรัสสั่งสอนโปรดเวไนยสัตว์ไว้

    ผู้ริเริ่มต้น ไม่ว่าจะด้วย ศรัทธา ๔  

           ๑. กัมมสัทธา เชื่อว่า กรรมมีจริง 

           ๒. วิปากสัทธา เชื่อว่า ผลของกรรมมีจริง 

           ๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่า เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตนจริง 

           ๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อ การตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า 


    หรือ บุคคลผู้อยู่นอกพระพุทธศาสนา หรือเป็นผู้ที่ยังไม่มีศรัทธาก็ตาม แม้ว่าเขาจะมีโอกาสได้หยิบ ได้อ่านผ่านตา ได้ยินได้มองเห็น พระธรรมคำสั่งสอนแม้เพียงแต่พุทธภาษิตเดียว ณ ที่แห่งหนตำบลใด แล้วเกิดจิตเลื่อมใส เกิดจิตยินดี นั่นก็จักเป็นประโยชน์ในภายภาคหน้าแก่เขา เพราะเขาเพ่งไปที่ธรรมนั้น พิจารณาธรรมนั้น ด้วยตนเอง มิใช่อาศัยบุคคลอื่นที่กล่าวผิด หรืออาศัยโดยบุคคลอื่นก็ตาม แต่ว่าข้อนั้นจะต้องถูกต้องอย่างกว้างขวาง และเขาต้องมีความพยายามที่จะต้องรู้ให้จริงให้ลึกซึ้ง ในการสั่งสมสุตตะโดยมาก

    แต่ไม่ใช่ไปหวังพึ่งติดตาม ผู้ที่วิสัชนาธรรมสั่งสอนออกมาอย่างผิดๆ หรือคิดผิดเอง ซึ่งนั่นก็ต้องอาศัยการปฎิบัติเพื่อเทียบเคียงผล ต้องอาศัยการเจริญในมรรคผลขั้นต่อไป

    ถ้าเริ่มต้นผิด ดูผิด อ่านผิด ฟังผิด เขียนผิดและยึดติด ไม่ปล่อยวาง ไม่แก้ไข เขาก็ได้นำตนเองเข้าสู่ทางตัน


    "ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย

    มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง

    ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน"


            "ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใดที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่อง

    สุญญาตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่

    ตน ควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียนไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า "ข้อนี้เป็นอย่างไร? มีความหมายกี่นัย?" ดังนี้. ด้วยการทำดังนี้

    เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฎเธอก็ทำให้ปรากฎได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้"




    โดย พละ ๕

    http://www.dhammathai.org/milin/milin05.php


    บุคคลมีศรัทธาต่อสิ่งใด เมื่อระลึกถึงสิ่งนั้น หรือบุคคลนั้น จิตใจย่อมผ่องใส และจิตใจของเขาย่อมแล่นไปยังสิ่งนั้น หรือบุคคลนั้นเสมอ ๆ

    ผู้ศรัทธาในพระนิพพาน หรือผู้ถึงนิพพานแล้ว จิตย่อมแล่นไปในนิพพานเนืองๆ มีนิพพานเป็นอารมณ์อยู่เสมอ ย่อมทำความเพียรเพื่อบรรลุพระนิพพานนั้น



    แล้วจึงจักเจริญยิ่งขึ้นไป เรื่อยๆ ใครตั้งใจ ใครมีความเพียรมากกว่า ผู้นั้นย่อมได้ผลก่อน และผู้ที่ได้ไตร่ตรองว่ามีผลดีอย่างแน่นอนแล้ว เขาย่อมเห็นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่ากว่าทรัพย์สมบัติใดๆในโลก จะไม่ยอมหยุดที่จะพอใจในสมบัติอันวิหารธรรมต่างๆที่มีนี้จนกว่าจะพ้นวิเศษแล้ว



    เราบอกแล้ว ว่าต้องเป็นเรื่องนอกแนว เท่านั้น สำหรับผู้หวังความเจริญและยังเป็นในฐานะผู้ร่ำเรียนอยู่ ยังไม่ผ่องใสและกระจ่างในพระสัทธรรม ตามลำดับสติปัญญาที่สั่งสมมา แต่จะเป็นสาวกภาษิตหรือใครภาษิตก็ตาม ถ้าไตร่ตรองพิจารณาโดยหลักสัมมาทิฎฐิแล้วว่าถูกต้อง เข้ากันได้ กับหลักธรรมทั้งหลายฯ ก็สามารถยกเข้าสู่พระสัทธรรมที่แท้จริงได้

    เรียนให้ผ่านแล้วจะข้ามไประดับสูงขึ้นไปอีก ถ้าเรียนไม่ผ่านก็จะได้เท่าที่รู้ที่เห็นโดยใส่กรอบกรงขังเอาไว้


    อุปมาอย่างเช่น ศาสนาลัทธิอื่น มีการยกย่องชื่นชมส่งเสริมคำสอนให้บุตรมีความกตัญญูต่อพ่อและแม่ของตนเอง เลี้ยงดูพ่อแม่ ตอบแทนคุณพ่อแม่

    ศาสนาพุทธก็มิได้ขัดข้องกับคำสั่งสอนแบบนั้นอย่างนั้น กับจะสาธุการเสียด้วยซ้ำ ว่า


    นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ, กตญฺญูกตเวทิตา,
    ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี

    เมื่อเขามีสติปัญญาเขาก็จักได้เงี่ยหูฟังเกิดความเลื่อมใส โอว่าหนอ ทำไมบุคคลผู้นี้จึงสรรเสริญคุณงามความดีอย่างแจ่มใสนัก เขาก็จะเพียรพยามยามต่อไปที่จะศึกษาถ้อยคำและคุณความหมายนั้นๆอย่างใช้สติปัญญาโดยไม่งมงาย

    ทุกๆอย่างก็ล้วนแต่เป็นพลวปัจจัยทั้งนั้น ยกเว้นไว้แต่เพียง ปริยัติงูพิษ อันเหล่าโมฆะบุรุษและอามิสทายาทแสดงแล้วด้วยความประสงค์อื่นอันไม่บริสุทธิ์ ก็ย่อมนำภัยมาให้ มากกว่าจะเกิดผลดี

    ถือวิสัชนาให้พอเข้าใจ แต่เพียงนี้ในกาล


    สำหรับผู้มีปัญญาธรรมระดับสูง เป็นครูเป็นอาจารย์ ย่อมวิสัชนาให้ลุ่มลึกขึ้นไปอีกถึงความเป็นจริง ได้ตามนี้ ฟังได้ คิดได้ พิจารณาได้ ไม่ว่าแนวนอก หรือแนวใน จึงจะชี้แจงบอกและสอนเขาออกมาได้ นี่คือปัญญาระดับสูง จึงรู้คติที่ไปของเรื่องแนวนอก และแนวใน เพราะนี่ไม่ใช่โลกที่มีแต่พระพุทธศาสนา ไม่ใช่โลกที่มีบัวเพียงสามเหล่า

    พระสัพพัญญูทรงรู้รอบทั้งแนวนอกและแนวใน สามารถสั่งสอนเหล่าเวไนยสัตว์จากเดียรถีย์วัตรแม้เจ้าลัทธิอื่นแม้จะมีคำสั่งสอนแบบใดก็ตาม มีคติที่ไปอย่างไรก็ตาม มีและได้ผลไปในทิศทางใด พระองค์ก็ทรงรู้ทรงทราบอย่างละเอียด ถึงคำสั่งสอนของลัทธินั้นๆ จนบุคคลเหล่านั้น ศิโรราบและออกจากความเห็นผิดได้

    มีแต่โมฆะบุรุษนี่แหละที่ทำให้พระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระบรมมหาศาสดานี่แหละที่กระทำให้พระธรรมคำสั่งสอนที่พระองค์ทรงแสดงแล้วนี้เศร้าหมอง



    ญานของพระสัพพัญญูกว้างขวางอย่างนี้ กลับไม่มีสติปัญญาที่จะมองเห็น กลับทำให้คับแคบและตีบตันจนอับสิ้นหนทาง


    " ผู้ที่มีจิตไม่มั่นคง ไม่ทราบพระสัทธรรม
    มีความเลื่อมใสรวนเร ย่อมมีปัญญาบริบูรณ์
    ไม่ได้"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤษภาคม 2016
  2. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385

    "ถ้าบุคคลใด เอาเรื่องเป็นข้อเสียหายของผู้อื่นมา จะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ก็ตาม
    โดยเอามากล่าวได้อย่างได้อย่างพิศดารเต็มที่แล้ว บุคคลนี้ผมไม่เรียกว่าเป็น "สัตบุรุษ"


    ถ้าการที่คนๆหนึ่งชี้ชวนให้คนทั้งหลายเอาธรรมของพระพุทธองค์มาใคร่ครวญ
    ให้กลับมาหาธรรมของพระพุทธองค์ ที่เป็นแก่น ไปสู่ความหลุดพ้น
    แล้วท่านจ่ายักษ์ควรทำอย่างที่เป็นอยู่อย่างนี้หรือไม่?
    อย่างนี้เป็นการรักษาพระศาสนา หรือเป็นการทำลายพระศาสนา
    ถ้ามีคนๆหนึ่งเชื่อตามคำที่ท่านจ่ายักษ์แสดงจนเป็นเหตุให้ ไม่ได้รู้มรรคที่พุทธองค์ตรัสไว้
    พลาดจากสิ่งที่เค้าควรจะได้ เพราะความหลงอีกครั้งของท่าน
    ทำไมว่าเป็นความหลงอีกครั้ง เพราะอย่างที่ท่านเคยเล่าถึงเมื่อก่อนเคยปรามาสพระรัตนตรัย
    คราวนี้ก็ไม่ต่างจากคราวก่อน
    เราไม่ได้ดูที่ตัวบุคคล ดูไปในสิ่งที่เค้าทำว่าน่าสรรเสริญ หรือ น่าตำหนิ
    การประกาศ การชี้ชวนให้คนหันมาศึกษา คำสอนของพระพุทธเจ้า ตรงนี้เป็นประโยชน์ใหญ่
    ถ้าท่านมีวิสัยของอริยะจริง ท่านจะไม่กล่าวร้ายแก่ใคร
    ไม่มีการกล่าวร้ายใด ชักชวนให้คนมาสู่พระสัทธรรมนี้ได้จริงหรอก
    ตัวท่านเองปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ธรรม จะเห็นเองว่าธรรมนั้นก็ลงกับคำของพุทธองค์ไม่ผิดเลย
    และคำๆนั้น พระท่านก็เป็นผู้ชี้ชวนให้ผู้คนทั้งหลายหันมาศึกษากันในเวลานี้
    มันจะพิสูจน์เองว่าใครจริงหรือใครหลง
    ส่วนท่านนั้นเป็นผู้หลงได้ แต่ไม่ควรพาคนหลงตามไปด้วย เพราะเหตุในความหลงของตัวท่านเอง
     
  3. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    ท่านจ่ายักษ์คิดว่าผู้คนที่ฟังพุทธวจนจะได้ประโยชน์หรือไม่?
    หรือการฟังพุทธวจนจะพาให้คนหลงทาง จนพระสัทธรรมถูกทำลายลงเพราะการกล่าวคำพระพุทธองค์
    หรือเห็นคำใดที่ออกมาจากพระท่านที่จะพาให้หลง ออกจากพระสัทธรรมนี้ได้

    การไม่เอาคำสาวก? การที่เอาแต่คำพุทธองค์มาใคร่ครวญ จะทำให้พระสัทธรรมนี้อันตทานไปเร็วขึ้นหรือ?

    ก็ขอเชิญท่านจ่ายักษ์ เปิดยูทูป ตามคลิปต่างๆ <<<คลิ๊ก>>>
    ถ้าเห็นคำสอนใดผิดพลาดร้ายแรง จนคิดว่าพระสัทธรรมนี้จะเสื่อมลง
    ขอเชิญท่าน ปุจฉา-วิสัจฉนาได้เต็มที่เลยครับ

    ที่ผมค้านท่านไม่ได้เพื่อจะเอาชนะ หรือ ทำลายท่านแต่อย่างใด ที่ทำลิงก์ไว้ก็เพื่อให้คนได้ฟังด้วยตนเอง
    ตัดสินเอา ว่าสิ่งที่ได้ยินนี้เป็นประโยชน์หรือ สิ่งนี้ทำลายพระสัทธรรม
     
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เราคือผู้รักษา อภยปริตร

    จากผู้ทำลาย อภยปริตร ให้กลายเป็นเดรัจฉานวิชาให้กลายเป็นคำแต่งใหม่

    ก็คือ คึกฤทธิ์แห่งสำนักวัดนาป่าพง
    นี่คือสาเหตุและประเด็นหลัก ที่เราเดินทางเข้าสู่ การชี้นำเหล่าสหายกัลยาณมิตรออกจากความเสื่อมนี้

    สำหรับข้ออื่นๆไม่ต้องกล่าวถึงเลย ว่าจะมั่วขนาดไหน และสร้างกรรมให้กับเหล่าพุทธบริษัทที่ตาบอดมากขนาดไหน

    หากจะลองเปิดใจ ก็จงไปร่วมวิสัชนา ในเพจนี้เถิด จงใช้คำกล่าวที่ท่านใช้กับเรา เพื่อถามพวกเขาเหล่านั้น เราคิดว่าท่านคงจะได้อะไรหลายอย่าง เพราะสิ่งที่เราแสดงถือเป็นที่สุดแล้ว


    เชิญวิสัชนาด้วยปัญญาความสามารถของตนเองเถิด


    ในสิ่งที่เราหงายอยู่นี้ เมื่อท่านไม่รู้ไม่เห็นเราจะทำอะไรกับท่านได้ เราจนปัญญา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2019
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201

    สรุปว่า ท่านยินดีกับคึกฤทธิ์ที่ได้เทคโอเวอร์ ศาสนาพุทธไว้ในกำมือของตนเองเพียงผู้เดียว ไม่มีใครเลิศเลอประเสริฐเท่า หรือมีคุณงามความดีเท่า แม้พระอรหันตสาวกผู้เลิศในด้านเอตทัคคะทั้งหลายฯ

    เอตทัคคะ หมายถึงผู้ประเสริฐสุดในทางใดทางหนึ่ง เป็นตำแหน่งทางพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าได้ประทานแต่งตั้งให้พุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีความรู้ความสามารถเด่นกว่าท่านอื่นๆในด้านนั้นๆ และแต่ละตำแหน่ง พระพุทธองค์ประทานแต่งตั้งเพียง รูปเดียว ท่านเดียวเท่านั้น (พระสาวกผู้เป็นเลิศ)
    เนื้อหา




    เอตทัคคะ นั้น คือ ตำแหน่งที่พระพุทธเจ้ายกย่องพุทธสาวก ว่า เป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางใดหนึ่ง เป็นผู้ประเสริฐสุด ตำแหน่ง เอตทัคคะ นี้ ย่อมได้โดย เหตุ 4 ประการคือ
    โดยเหตุเกิดเรื่อง (อัตถุปปัตติโต) คือ ได้แสดงความสามารถออกมาให้ปรากฏโดยสอดคล้องในเหตุการณ์หรือสถานการณ์นั้นๆ ที่เกิดขึ้น
    โดยการมาก่อน (อาคมันโต) คือได้สร้างบุญสะสมในด้านนั้นมาตั้งแต่อดีตชาติพร้อมทั้งได้ตั้งจิตปรารถนาเพื่อบรรลุได้ตำแหน่งเอตทัคคะนี้ด้วย
    โดยเป็นผู้ช่ำชองชำนาญ (จิณณวสิโต) คือได้เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องนั้นๆ เป็นพิเศษ
    โดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ (คุณาติเรกโต) คือมีความสามารถในเรื่องที่ทำให้ ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะเหนือกว่าผู้อื่นที่มีความสามารถอย่างเดียวกัน
    ผู้ที่เป็นเอตทัคคะ
    เอตทัคคะ ที่เป็นพระภิกษุสงฆ์ มีทั้งหมด 41 ท่าน เป็นพระอสีติมหาสาวกทั้งหมด
    เอตทัคคะ ที่เป็นพระภิกษุณี มีทั้งหมด 13 ท่าน
    เอตทัคคะ ที่เป็นอุบาสกมีทั้งหมด 10 ท่าน
    เอตทัคคะ ที่เป็นอุบาสิกามีทั้งหมด 10 ท่าน
    พระภิกษุสงฆ์ที่เป็นเอตทัคคะ

    พระอัญญาโกณฑัญญะเถระ เอตทัคคะในทางรัตตัญญู
    พระอุรุเวลกัสสปะเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีบริวารมาก
    พระสารีบุตรเถระ (อัครสาวกฝ่ายขวา) เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา
    พระมหาโมคคัลลานะเถระ (อัครสาวกฝ่ายซ้าย) เอตทัคคะในทางผู้มีฤทธิ์
    พระปุณณมันตานีบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพระธรรมกถึก
    พระกาฬุทายีเถระ เอตทัคคะในทางผู้นำตระกูลให้เลื่อมใส
    พระนันทเถระ เอตทัคคะในทางผู้สำรวมอินทรีย์
    พระราหุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา
    พระอุบาลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงพระวินัย
    พระภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้เกิดในตระกูลสูง
    พระอนุรุทธเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีทิพยจักษุญาณ
    พระอานนท์เถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูตร ผู้มีสติ ผู้มีคติ ผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก
    พระโมฆราชเถระ เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง
    พระปิณโฎลภารทวาชเถระ เอตทัคคะในทางผู้บันลือสีหนาท
    พระมหากัจจายนเถระ เอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร
    พระสีวลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก
    พระโสณกุฏิกัณณเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีวาจาไพเราะ
    พระมหากัสสปะเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์
    พระราธเถระ เอตทัคคะในทางผู้ว่าง่าย
    พระลกุณฏกภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้พูดเสียงไพเราะ
    พระทัพพมัลลบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้จัดเสนาสนะ
    พระพากุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ไม่มีโรคาพยาธิ
    พระวักกลิเถระ เอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุตติ
    พระมหากัปปินเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาทภิกษุ
    พระอุปเสนเถระ เอตทัคคะในทางผู้นำซึ่งความเลื่อมใส
    พระเรวตขทิรวนิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้อยู่ป่า
    พระสุภูมิเถระ เอตทัคคะในทางอรณวิหารและทักขิเณยยบุคคล
    พระพาหิยเถระ เอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา
    พระวังคีสเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีปฏิภาณ
    พระโสณโกฬิวิสเถระ เอตทัคคะในทางผู้ปรารภความเพียร
    พระโสภิตเถระ เอตทัคคะในทางระลึกปุพเพนิวาสานุสติญาณ
    พระนัทกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาสภิกษุณี
    พรกังขาเรวตเถระ เอตทัคคะในทางผู้เพ่งด้วยฌาณ
    พระมหาปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้เจริญวิปัสสนา
    พระจูฬปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ
    พระกุณฑธานเถระ เอตทัคคะในทางผู้จับสลากเป็นที่หนึ่ง
    พระรัฐบาลเถระ เอตทัคคะในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
    พระกุมารกัสสปเถระ เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมอันวิจิตร
    พระมหาโกฏฐิตเถระ เอตทัคคะในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔
    พระสาคตเถระ เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญเตโชสมาบัติ
    พระปิลินทวัจฉเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา

    พระภิกษุณีที่เป็นเอตทัคคะ
    พระมหาปชาบดีเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู
    พระเขมาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปัญญา
    พระอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีฤทธิ์
    พระปฏาจาราเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงพระวินัย
    พระนันทาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้เพ่งด้วยฌาน
    พระธรรมทินนาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้เป็นธรรมกถึก
    พระโสณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ปรารภความเพียร
    พระสกุลาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีทิพยจักษุ
    พระภัททากุณฑลเกสาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ตรัสรู้เร็วพลัน
    พระภัททกาปิลานีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
    พระภัททากัจจานาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงอภิญญา
    พระกีสาโคตมีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
    พระสิงคาลมาตาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธา
    อุบาสกที่เป็นเอตทัคคะ
    ตปุสสะ-ภัลลิกะ เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงสรณะก่อน
    อนาถปิณฑิกเศรษฐี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายก
    จิตตคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นธรรมกถึก
    หัตถกคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ 4
    พระเจ้ามหานามศากยะ เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายทานมีรสอันประณีต
    อุคคคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้ให้ของเจริญจิต
    อุคคตคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุสงฆ์
    สูรอัมพัฏฐอุบาสก เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
    ชีวกโกมารภัจ เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสในบุคคล
    นกุลบิดาคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคย
    อุบาสิกาที่เป็นเอตทัคคะ
    นางสุชาดา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อน
    นางวิสาขา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกา
    นางขุชชุตตรา เอตทัคคะในฝ่ายผู้แสดงธรรม
    นางสามาวดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้อยู่ด้วยเมตตา
    นางอุตตรานันทมารดา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เพ่งด้วยฌาน
    พระนางสุปปวาสา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายของมีรสอันประณีต
    นางสุปปิยา เอตทัคคะในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้
    นางกาติยานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสมั่นคง
    นางกาฬีกุรรฆริกา เอตทะคคะในฝ่ายผู้ได้ความเลื่อมใสตามเขา
    นางนกุลมารดาคหปตานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระศาสดา

    และยังครูบาอาจารย์หลวงพ่อหลวงตาหลวงปู่ทั้งหลายฯ

    บุคคลผู้ดูหมิ่นเหยียดหยามคุณครูบาอาจารย์เราไม่ยินดีด้วย

    ฉนั้นเพียงแค่การเริ่มต้นนี้ ก็ทำลาย พระรัตนตรัยไปมากแล้ว

    ไม่ต้องเสวนาในข้ออื่นเราก็พอวิสัชนาได้ว่า บุคคลเหล่านี้เป็นเพียง ปริยัติงูพิษเพียงเท่านั้น



    หมดโลกแล้วเหรอคนที่จะสั่งจะสอน หรือว่ามีสำนักเดียวที่ตราหน้าผู้อื่นเหยียบหัวครูบาอาจารย์ที่สั่งสอนมา เสมือนคนลวงโลก ศาสนาพุทธนี้ไม่ใช่ศาสนาที่จะชื่นชมยินดีกับคำยกยอปอปั้นให้เป็นนั่นเป็นนี่ เพื่อลาภสักการะและสรรเสริญ เรามีหน้าที่ของเรา

    ท่านอยากให้ใครเป็นอะไรตามความเชื่อของท่าน มันก็สิทธิ์ของท่าน เราไม่ได้บีบบังคับใครให้ต้องมาเชื่อตามเรา โดยไร้สติปัญญาในการพิจารณา




    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม ด้วยอาการ ๕ คือ

    ท่านถูกโจทโดยกาลควร ไม่ถูกโจทโดยกาลไม่ควร ท่านจึงควรเดือดร้อน

    ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ท่านจึงควรเดือดร้อน


    ท่านถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยคำหยาบท่านจึงควรเดือดร้อน


    ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรเดือดร้อน


    ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงควรเดือดร้อน

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
    ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม ด้วยอาการ ๕ นี้ ฯ



    แล้วจะไปเดือดร้อนตามทำไม ทว่าเรากล่าวเท็จกล่าวไม่จริง แม้เราก็ยังมีเมตตาจิตกับคึกฤทธิ์และสาวกจึงออกมาห้ามมาปราม และตักเตือน

    ท่านไม่มีคุณสมบัติจะเสวนากับเรา ในสิ่งที่คึกฤทธิ์ทำผิดไป ท่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องทั้งหมด จะโทษก็ต้องโทษที่ตนเอง ที่โง่เขลา ไม่สามารถพิจารณาธรรมทั้งมวลด้วยตนเอง หรือไม่สามารถอาศัยหาคำแนะนำจากครูบาอาจารย์ที่ดีได้


    นี่ไม่ใช่ความผิดของพระไตรปิฏกและพระสงฆ์สาวกทั้งหลายฯ


    เมื่อท่านคิดว่าสิ่งที่เราแสดงว่าเป็นความหลง เราแสดงเพื่อหลอกลวงผู้อื่น โดยปฎิสัมภิทาญาน ก็หามาสิ ว่าหลงตรงไหน? เราไม่รู้สึกเดือดร้อนอันใดหรอก เพราะเรารู้ว่า มีแต่บุคคลที่ไม่รู้และมีทิฎฐิเป็นอื่นเท่านั้น จึงมีความเป็นไปเพื่อจะย้อนแย้งเราในเรื่องที่เขาไม่สามารถรู้

    เขาจึงไม่มีคุณสมบัติ ที่จะโจทเราอย่างถูกต้องและเป็นจริงได้ เราจึงไม่รู้สึกเดือดร้อน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤษภาคม 2016
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จงพิจารณาให้กว้างขวางไปในโลกธาตุต่าง ว่าจะมีผู้ใดที่ควรแก่ฐานะที่สมควรบอกสมควรสอนมากเป็นครูเป็นอาจารย์แก่เหล่าพุทธบริษัทและเหล่าเวไนยสัตว์ทั้งหลายมากที่สุด

    พระพุทธเจ้าท่านทรงเมตตาสั่งสอนไว้อย่างไรในข้อนี้


    สากัจฉสูตร
                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ ๑

    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสมาธิสัมปทาได้ ๑

    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ ๑

    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติสัมปทาได้ ๑

    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯ
    จบสูตรที่ ๕



    สำหรับบ้านธัมมะก็พลาดไปอย่าง หนึ่ง คือลืม พิจารณาไป ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายฯนั้นทรงปฎิสัมภิทาญานอันเลิศยิ่งกว่า จึงคิดไปว่า ปฎิสัมภิทาญานนี้ออกมาจากการแสดงธรรมท่านพระสารีบุตรเป็นบุคคลแรกบุคคลเดียว





    http://www.dhammahome.com/audio/topic/10475

    ไม่มีใครที่สามารถยืนยัน คุณลักษณะของปฎิสัมภิทามรรค ได้เทียบเท่ากับเรา ในตอนนี้ แต่ก็มีผู้เข้าใจและเห็นตาม

    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย
    อุ. ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแลพระพุทธเจ้าข้า?

    พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:
    ๑. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ
    ๒. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ
    ๓. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ
    ๔. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ
    ๕. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.


    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง?คือ:
    ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ
    ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ
    ๓. เป็นผู้ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ
    ๔. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ
    ๕. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.


    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาอีกนัยหนึ่ง

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:
    ๑. ไม่เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา
    ๒. ไม่เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา
    ๓. ไม่เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ๔. ไม่เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่วิมุติ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง?คือ:
    ๑. เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา
    ๒. เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา
    ๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ๕. พิจารณาจิตตามที่วิมุติ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.

    ภิกขุนีโอวาทวรรค ที่ ๘ จบ


    แล้วใคร? ที่คิดว่า พุทธวจนปิฏก ดีเลิศกว่าพระไตรปิฏกสำนักอื่นที่มีแต่คำปลอม

    แน่ใจเหรอว่าสามารถรวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้ทั้งหมด

    คุณสมบัติในการเป็นครูบาอาจารย์ยังไม่มีด้วยซ้ำ จะเปลี่ยนแปลงยกเลิกพระไตรปิฏก หลอกลวงเหล่าสัตว์ตาบอดให้โง่งมงายด้วย พุทธพาณิชย์

    ใครเห็นด้วยก็เชิญ แล้วแต่เวรแต่กรรม ใครไม่เห็นด้วย เราก็ยินดีด้วย


    https://youtu.be/fJ69eQETA6A

    คงรู้แล้วนะ ฐานะผู้ที่จะเป็นครูอาจารย์สั่งสอนธรรมผู้อื่นเขา ควรมีคุณสมบัติอย่างไร? ไม่หามั่วๆ ไปได้มั่วๆ ประเภทสอนลัดขั้นตอน วิสัชนาธรรมผิดพลาด ตื้นเขิน สติปัญญาของผู้เล่าเรียน ฝึก ปฎิบัติ ก็จะได้แต่ปริยัติงูพิษ ไม่มีทางที่จะเจริญไปกว่านั้นได้ในชาติ แถมชาติหน้าจะต้องตกไปอยู่ในภพภูมิต่ำกว่าที่เดิมอีกเพราะไปปรามาสพระสัทธรรม พระธรรม พระธรรมวินัยเข้า

    จึงควรเลือกเฟ้นหาครูบาอาจารย์ให้ดีๆ อย่าลัดขั้นตอน ทำให้ได้ ทั้ง ปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ ด้วยความเพียรพยายาม

    ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ. ทันโต เสฏโฐ มะนุสเสสุ
    ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ฝึกตนดีแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด


    “ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในกาลที่เราล่วงไปก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ดำรงชีวิตอยู่ ภิกษุเหล่านั้นผู้ใคร่ต่อการศึกษา จักอยู่เหนือความมืด”

    อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ

    " ตนแลเป็นที่พึ่งของตน บุคคลอื่นใครเล่า พึงเป็นที่พึ่งได้ เพราะบุคคล มีตนฝึกฝนดีแล้ว   ย่อมได้ที่พึ่ง  ที่บุคคลได้โดยยาก" 
     
    ช่วยได้เพียงเท่านี้ที่เหลือต้องพึ่งตนเอง พยายามเข้า สหชาติกัลยาณมิตรทั้งหลายฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 สิงหาคม 2016
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    บอกคืนพระไตรปิฏกและพระสงฆ์สาวกให้กับพุทธบริษัททั้งหลายก่อนดีกว่า จะมาบอกว่าสำนักวัดนาป่าพง นำโดยคึกฤทธิ์ได้ทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่ คือสามารถทำให้คนมาสนใจพระไตรปิฏก

    ถึงโลกนี้ไม่คึกฤทธิ์ พุทธบริษัททั้งหลายฯ เขาก็ได้มีพลวปัจจัยได้ศึกษาและร่ำเรียนพระไตรปิฏกเหมือนเดิม และดีกว่าไปร่ำเรียนที่สำนักวัดนาป่าพงลวงโลกแห่งนี้อีกด้วย


    คิดว่าชาวพุทธที่อยู่ในประเทศนี้ ในโลกนี้ ในสหโลกธาตุอื่น และในภพภูมิอื่น จะไม่มีโอกาสและหาโอกาสเรียนพระไตรปิฏกด้วยตนเอง ไม่มีสติปัญญาคิดไตร่ตรองได้เองว่างั้นเถอะ

    คิดแบบนี้ก็เป็นเพียงพวกที่ยกตัวอวดตนหลงตนเอง จะหาดีที่ไหนได้ สอนมั่วๆสุ่มสี่สุ่มห้า


    มีศรัทธากับคึกฤทธิ์มากขนาดนั้น

    เอาเวลาไปซื้อซีดีมาฟังและบรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีตายตัวเหลืองนิ่มตามไปเถิด

    เราขอสาธุ อนุโมทนาบุญฯนั้นด้วย ได้เป็นพระอนาคามีแล้ว บรรลุธรรมขั้นสูง ก็จงได้โปรดแสดงฤทธานุภาพมาโปรดสัตว์ทั้งโลกด้วยล่ะกัน


    ออ เห็นว่า วิสัชนามั่วนิ่ม ถ่มน้ำลายรดฟ้า ตกลงใส่หน้าเปื้อนดิน แล้วเลียเก็บคืนสู่ลำคออีกแล้ว
    การบรรลุธรรมไม่มีใครชี้ได้
    https://youtu.be/OJtuaN7a8Pw

    สรุป จะเอายังไงกับชีวิตดี แมลงมุมสางใยพันตนเองอีกแล้ว


    อานนท์ ! เราจักแสดง ธรรมปริยายอันชื่อว่า
    แว่นธรรม ซึ่งหากอริยสาวกผู้ใด ได้ประกอบพร้อมแล้ว
    เมื่อจำนงจะพยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้ในข้อที่ตน
    เป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัย
    สิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว, ในข้อที่ตนเป็น
    พระโสดาบันผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อ
    พระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า
    ดังนี้.

    อานนท์ ! ก็ธรรมปริยายอันชื่อว่า แว่นธรรม
    ในที่นี้ เป็นอย่างไรเล่า ?

    อานนท์ ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
    ประกอบพร้อมแล้วด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น
    ไม่หวั่นไหวในองค์พระพุทธเจ้า…. ในองค์พระธรรม….
    ในองค์พระสงฆ์….และอริยสาวกในธรรมวินัยนี้
    เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของ
    เหล่าอริยเจ้า คือเป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
    เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา เป็นศีลที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญ
    เป็นศีลที่ทิฏฐิไม่ลูบคลำ และเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ.
    อานนท์ ! ธรรมปริยายอันนี้แล ที่ชื่อว่า
    แว่นธรรม ซึ่งหากอริยสาวกผู้ใดได้ประกอบพร้อมแล้ว
    เมื่อจำนงจะพยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้, ดังนี้แล.


    มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๕๐-๔๕๑/๑๔๗๙-๑๔๘๐.



    พูดมาได้จะมาแทนพระไตรปิฏกทั้งในประเทศไทยและในโลก

    ยิ่งใหญ่เสียเหลือเกิน นี่เหรอผู้ประกาศธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0.jpg
      0.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60.2 KB
      เปิดดู:
      86
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤษภาคม 2016
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ระวังคำสอนของวัดนาป่าพงด้วย - Pantip


    อย่าคิดว่ามีแต่เรา ผู้ฉลาดในธรรมเขาเพ่งโทษ โจทอยู่

    อวชฺเช วชฺชมติโน
    วชฺเช อวชฺชทสฺสิโน
    มิจฺฉาทิฏฐิสมาทานา
    สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคคตึ ฯ

    วชฺชญฺจ วชฺชโต ญตฺวา
    อวชฺชญฺจ อวชฺชโต
    สมฺมาทิฏฺฐิสมาทานา
    สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ ฯ


    สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความรู้ว่ามีโทษในธรรมที่หาโทษมิได้
    มีปกติเห็นว่าหาโทษมิได้ในธรรมที่มีโทษ
    เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไปสู่ทุคติ”

    สัตว์ทั้งหลาย รู้ธรรมที่มีโทษโดยความเป็นธรรมมีโทษ
    รู้ธรรมที่หาโทษมิได้ โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้
    เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งสัมมาทิฏฐิ
    ย่อมไปสู่สุคติ.



    “เราตถาคตพึงข่มคนที่ควรข่ม พึงยกย่องคนที่ควรยกย่อง "


    {O} จงข่มผู้ที่ควรข่ม เพ่งโทษในธรรมที่มีโทษ โดยอาศัยสติปัญญาอันสามารถเพียงพอ ที่จะยกเหล่าเพื่อนพรหมจรรย์ ออกจากอสัทธรรม {O}
     
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เราบอกแล้วนะว่าเราเบื่อแล้ว สำหรับเรื่องของคึกฤทธิ์ เยอะแยะที่จะนำมาโจท กับการสอนและวิสัชนาสอนคนไปในทางที่ผิด

    รู้ไว้อย่างเดียวก็พอ ในตอนนี้ เราเป็นเพียง ผู้รักษา{O} อภยปริตร {O} ไม่ให้ตกไปเป็นเครื่องมือของโมฆะบุรุษและเหล่าคนชั่วๆ

    ถึงเวลาจะมีอะไรหรือผู้ใดเกิดขึ้น เวลานั้นก็จะได้รู้เอง


    ดีชั่วอย่าคาดหวัง ความจริงเผยก็รู้เอง
     
  10. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207
    มานะธรรมยิ่งใหญ่นัก ทิฐิปิดบังตา โดยไม่รู้ว่าใครปราถนาดี

    เราเชื่อว่าฟ้ามีตา ใครทำเช่นใด จักได้รับผลเช่นนั้น แม้แต่ตัวเราเช่นกัน
     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เวลาญาติพี่น้องเสียชีวิต เหล่าสมุนสาวกคงอดฟังพระอภิธรรม เห็นใจด้วยนะ ไปฟังเด็กอ่านพระสูตรให้ฟังล่ะกัน




    เพราะพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์สำหรับสำนักวัดนาป่าพงไม่มี


    พระนั่งหอนในงานสวดศพ วาทะกรรมพระคึกฤทธิ์ แล้วพระพิธีธรรมหล่ะ นั่งหอนด้วยหรือเปล่าหนอ




    หมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างนี้ ใครอยากเสี่ยงเป็นสมุนลิ่วล้อสาวกก็เชิญเถิด ผิดทั้งทางธรรมทางและทางโลก

    อาศัยแผ่นดินไทยอยู่ แต่ทำลายแผ่นดินเสียเอง ชั่วช้ายิ่งกว่าอริราชศัตรู ผู้รุกราน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2019
  12. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ท่านคงไม่ได้อ่านที่จ่าท่านได้เขียนตั้งแต่ต้น เลยไม่รู้ว่าจ่ายักษ์ เขียนโดยมีเจตนาอย่างไร

    ผมเคยโดนจ่ายักษ์ชี้ผิดถูกมาครั้งหนึ่ง
    ก็พอจะสำนึกและระมัดระวัง ในการ
    วิสัชนาด้วยปัญญาระดับสามัญ เพราะภูมิโลกภูมิเรายังต่ำต้อย
    เทียบเคียงจ่าไม่ได้เลยฮะ
    สินค้าพุทธวจนะ ที่ผลิตมาจำหน่ายนี่ฮาเขย่าวงการ
    ขายตรงจังเลยครับ แปลกที่สาวกพุทธวนะไม่มีใคร
    รู้สึกอับอายเลย
     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    (f) กิเลสทั้งหลายคือศัตรูของเราท่านทั้งหลาย เมื่อผู้ใดถูกกิเลสครอบงำแล้วยังครอบงำผู้อื่นต่อ กรรมอันเนื่องด้วยกิเลสนั้นไม่ควรประพฤติเลย
     
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เนื่องในวันพืชมงคล

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน ว่า

    “การแรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดิน เป็นธรรมเนียมนิยมมีมาแต่โบราณ เช่น ในเมืองจีนสี่พันปีล่วงมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงลงไถนาเองเป็นคราวแรก พระมเหสีเลี้ยงตัวไหม ส่วนจดหมายเรื่องราวอันใดในประเทศสยามที่มีปรากฏอยู่ในการแรกนานี้ ก็มีอยู่เสมอเป็นนิจไม่มีเวลาว่างเว้น ด้วยการซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดินลงมือทำเองเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจหมั่นในการที่จะทำนา เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะได้อาศัยเลี้ยงชีวิตทั่วหน้า เป็นต้นเหตุของความตั้งมั่นและความเจริญไพบูลย์แห่งพระนครทั้งปวง แต่การซึ่งมีพิธีเจือปนต่างๆ ไม่เป็นแต่ลงมือไถนาเป็นตัวอย่างเหมือนอย่างชาวนาทั้งปวงลงมือไถนาของตนตามปกติก็ด้วยความหวาดหวั่นต่ออันตราย คือ น้ำฝนน้ำท่ามากไปน้อยไปด้วงเพลี้ยและสัตว์ต่างๆ จะบังเกิดเป็นอันตรายไม่ให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิ และมีความปรารถนาที่จะให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิเป็นกำลัง จึงต้องหาทางที่จะแก้ไขและหาทางที่จะอุดหนุนและที่จะเสี่ยงทายให้รู้ล่วงหน้า จะได้เป็นที่มั่นอกมั่นใจโดยอาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคลตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทาง ไสยศาสตร์บ้าง ให้เป็นการช่วยแรงและเป็นที่มั่นใจตามความปรารถนาของมนุษย์ซึ่งคิดไม่มีที่สิ้นสุด”

    พืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ..โบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงให้ความสำคัญ

    http://welovethaiking.com/blog/โบราณราชประเพณีพืชมงคล/

    สรุป ก็หมิ่นพระบรมเดชานุภาพเช่นเคย แล้วเคสนี้หนักด้วย คงคิดออกนะ อย่างที่คึกฤทธิ์ว่า ตราบใดที่ยังมีพิธีกรรม แรกนาขวัญ เป็นต้น ผู้ที่ส่งเสริมพิธีกรรมนี้ อย่าฝันแม้แต่จะเป็นพระโสดาบัน

    พวกที่ไม่รู้จักกรรมไม่ดำไม่ขาว เป็นต้น อย่างสำนักวัดนาป่าพง มันก็พาคนโง่อย่างนี้ ไปคัดค้าน มหาจัตตารีสกสูตร


    ใครจะเอาด้วยก็เอาไป เราไม่ยินดีร่วมด้วยแน่ และถามจริงๆ ท่านผู้มีปัญญามีฐานะตำแหน่งหน้าที่ในสังฆมณฑล ท่านจึงปล่อยให้โมฆะบุรุษผู้นี้ อยู่รอดอาศัยผ้าธงชัยในแผ่นดินนี้ได้อย่างไร?

    ---------------------------------------------------------------------------------------------------------
    วันนี้เป็นวันพืชมงคล วันที่พระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศ์ทรงปฏิบัติพิธีเพื่อเป็นขวัญ เป็นกำลังใจให้แก่ชาวนาที่ปลูกข้าวให้เราและคึกฤทธิ์ได้กินเลี้ยงชีวิต แต่มาดูนะคะว่า คึกฤทธิ์พูดถึงพระราชพิธีหลวงว่าอย่างไร

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • plant55.jpg
      plant55.jpg
      ขนาดไฟล์:
      166.5 KB
      เปิดดู:
      106
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2019
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    . มหาจัตตารีสกสูตร
                 ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
                 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ

                 พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังสัมมาสมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่าชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

                 พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล
    เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ

                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิรู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่าทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผลผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี
    บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มีนี้มิจฉาทิฐิ ฯ


                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ

                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว
    มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ


                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์
    ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

                 ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาทิฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่ สติของเธอนั้นเป็นสัมมาสติ ฯ
                 ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะสัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฐิของภิกษุนั้น ฯ
                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาสังกัปปะว่ามิจฉาสังกัปปะ รู้จักสัมมาสังกัปปะว่าสัมมาสังกัปปะ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาสังกัปปะเป็นไฉน คือ ความดำริในกาม ดำริในพยาบาท ดำริในความเบียดเบียน นี้มิจฉาสังกัปปะ ฯ

                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวสัมมาสังกัปปะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
    แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือความดำริในเนกขัมมะ ดำริในความไม่
    พยาบาท ดำริในความไม่เบียดเบียน นี้สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
    แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตรึก ความวิตกความดำริ ความแน่ว ความแน่ ความปักใจ วจีสังขาร ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึกมีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรคเจริญอริยมรรคอยู่นี้แล สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

                 ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาสังกัปปะ เพื่อบรรลุสัมมาสังกัปปะความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
                 ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาสังกัปปะได้ มีสติบรรลุสัมมาสังกัปปะอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ
                 ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาสังกัปปะ ของภิกษุนั้น ฯ
                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาวาจาว่ามิจฉาวาจา รู้จักสัมมาวาจาว่าสัมมาวาจา ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาวาจาเป็นไฉน คือพูดเท็จ พูดส่อเสียดพูดคำหยาบ เจรจาเพ้อเจ้อ นี้ มิจฉาวาจา ฯ
                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวสัมมาวาจาเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ

                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ นี้ สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้นความเว้นขาด เจตนางดเว้น จากวจีทุจริตทั้ง ๔ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

                 ภิกษุย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาวาจา เพื่อบรรลุสัมมาวาจาอยู่ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
                 ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาวาจาได้ มีสติบรรลุสัมมาวาจาอยู่ สติของเธอนั้นเป็นสัมมาสติ ฯ
                 ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาวาจาของภิกษุนั้น ฯ

                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉากัมมันตะว่า มิจฉากัมมันตะรู้จักสัมมากัมมันตะว่า สัมมากัมมันตะ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ

                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉากัมมันตะเป็นไฉน คือ ปาณาติบาตอทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร นี้ มิจฉากัมมันตะ ฯ

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมากัมมันตะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมากัมมันตะที่ยังเป็น
    สาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมากัมมันตะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ

                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะเป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือ เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้น
    จากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร นี้สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะเป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด
    ความเว้น เจตนางดเว้น จากกายทุจริตทั้ง ๓ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมากัมมันตะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

                 ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉากัมมันตะ เพื่อบรรลุสัมมากัมมันตะความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
                 ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉากัมมันตะได้ มีสติบรรลุสัมมากัมมันตะอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ
                 ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะสัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมากัมมันตะของภิกษุนั้น ฯ

                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาอาชีวะว่า
    มิจฉาอาชีวะ รู้จักสัมมาอาชีวะว่าสัมมาอาชีวะ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ

                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน คือ การโกงการล่อลวง การตลบตะแลง การยอมมอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภ
    นี้มิจฉาอาชีวะ ฯ

                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวสัมมาอาชีวะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑ ฯ

                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละ
    มิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้นเจตนางดเว้น จากมิจฉาอาชีวะ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

                 ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ เพื่อบรรลุสัมมาอาชีวะ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ

                 ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาอาชีวะได้ มีสติบรรลุสัมมาอาชีวะอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ

                 ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะสัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาอาชีวะของภิกษุนั้น ฯ

                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐

                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฐิได้ ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฐิสลัดได้แล้วและกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฐิเป็นปัจจัย ฯ
                 ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้...
                 ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้...
                 ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้...
                 ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้...
                 ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้...
                 ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้...
                 ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้...
                 ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้...
                 ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้ ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาวิมุตติสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล จึงเป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่ายอกุศล ๒๐ ชื่อ ธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ อันเราให้เป็นไปแล้ว สมณะหรือ พราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลกจะให้เป็นไปไม่ได้ ฯ
                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงสำคัญที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้น ย่อมถึง
    ฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว ถ้าใครติเตียนสัมมาทิฐิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีทิฐิผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาสังกัปปะ เขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสังกัปปะผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาวาจา เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวาจาผิด ถ้าใครติเตียนสัมมากัมมันตะเขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีการงานผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาอาชีวะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีอาชีวะผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาวายามะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีความพยายามผิดถ้าใครติเตียนสัมมาสติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสติผิดถ้าใครติเตียนสัมมาสมาธิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสมาธิผิดถ้าใครติเตียนสัมมาญาณะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีญาณผิดถ้าใครติเตียนสัมมาวิมุตติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวิมุตติผิด ฯ

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง พึงสำคัญที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะและพวกภัญญะชาวอุกกลชนบท ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ ก็ยังสำคัญที่จะไม่ติเตียน ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ นั่นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ถูกว่าร้าย และถูกก่อความ ฯ

                 พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ มหาจัตตารีสกสูตร ที่ ๗



    สัมมาทิฐิ หนึ่งในมรรค ๘ ก็ยังไม่สามารถรู้และพิจารณา จะเอามรรคจะเอาผลมาแต่ไหน อวดตนเป็นครูบาอาจารย์ อวดใหญ่อวดโตรู้ธรรม โง่เขลาแต่ไม่รู้ว่าตนเองนั้นโง่ ยังเที่ยวพาคนอื่นโง่ตามไปด้วย นี่หรือ เหล่าผู้ประกาศจะเป็นธรรมทายาทที่เลิศที่สุดในพระพุทธศาสนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤษภาคม 2016
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ฟ้าหญิงฯ มีรับสั่งขอให้สวดมนต์บทโพชฌังคปริตร เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ

    Posted Date : วันที่ 15 ก.ย. 2558 เวลา 19:00 น.

              สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเชิญชวนพสกนิกรชาวไทยร่วมกันสวดมนต์ในบทโพชฌังคปริตร ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ทรงหายจากพระอาการประชวรในเร็ววัน
              ดังพระดำรัสเมื่อครั้งเสด็จทรงเยี่ยมหน่วยแพทย์ พอ.สว. ณ โรงเรียนพนมอดุลวิทยา อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2558
              "ทุกคนตั้งใจสวดมนต์นะคะ เพราะว่าข้าพเจ้าเชื่อว่าพระเจ้าอยู่หัวจะหายได้ด้วยพลังใจของชาว พอ.สว. ทุกคนและของประชาชนคนไทยทุกคน"


    สำนักวัดนาป่าพง ชี้ โพชฌังคปริตร เป็นคำแต่งใหม่ เป็นเดรัจฉานวิชา

    จะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปถึงไหน จะหาว่าพระองค์ท่านเอาเดรัจฉานวิชา ถวายในหลวงเหรอ

    เกินไปแล้วนะ ถ้าเรายังมีจิตอาฆาตพยาบาทเคียดแค้นอยู่ เราพลีชีพแน่นอน อย่าคิดว่าจะรอด ก็คงจะสร้างบาปสร้างกรรมต่อไปอีกไม่จบไม่สิ้น นี่ถือเป็นบุญฯ ถ้าไม่ได้พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดามาโปรด เราคงตายไปนานแล้ว ถ้าไม่ได้ออกบวชและคิดจะบวชในอนาคตก็คงตายไปแล้ว


    โพชฌังคปริตร มีความผิดตรงไหน? เป็นสิ่งที่ผิดตรงไหน? กระทำผิดตรงไหน?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤษภาคม 2016
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    http://www.ruamchit-normklao.org/ebook/book16.pdf

    การสวดพระปริตร - มูลนิธิ ร่วมจิตต์ น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ


    ผู้ใดทำลายพระปริตร ช่างกล้าหมิ่นนัก ดูหมิ่นพระสัทธรรมยังไม่พอ ยังหมิ่นเบื้องสูงอีก
     
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    http://www.onab.go.th/attachments/7682________________ (2).pdf

    มหาเถระสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ว่ายังไงครับ ปล่อยหรือครับท่าน ได้อ่านได้ศึกษาบ้างหรือเปล่า กระทู้นี้ถึงท่านไหม? แล้วชาวพุทธที่ได้อ่านกระทู้นี้อยู่ ทราบไหม?ครับ ว่าสำนักนี้ ทำอะไร?

    เจริญพระพุทธมนต์เจริญจิตตภาวนา ถวายพระพรชัยมงคลและถวายเป็นพระราชกุศลแด่
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ



    จะปล่อยให้เป็นอย่างนี้ ให้มีบ่อนทำลายเกิดขึ้นในชาติบ้านเมืองอย่างนี้อยู่ต่อไปอีกหรือ ?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤษภาคม 2016
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ยังมีผู้ใดที่ยังคิดว่า คึกฤทธิ์แห่งสำนักวัดนาป่าพง ได้สร้างแต่ประโยชน์อันใหญ่ยิ่ง เพื่อ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์อีกหรือไม่?

    ถ้ามีเชิญเข้าไปสู่ที่สำนักนั้นเลย ไปฝากเนื้อฝากตัวเป็นลูกศิษย์ลูกหา ปรนนิบัติอุปัฏฐาก หมอบราบคาบแก้วในเบื้องเท้าคึกฤทธิ์ตลอดชาติ และศิษย์เอกศิษย์โททั้งหลายนั่นเถิด ชีวิตทั้งทางธรรมทางโลก จะได้เลอเลิศประเสริฐศรี อย่างที่การันตีกันนักกันหนา ให้เหมาะให้สมกับสติปัญญา อันสุดแสนจะเจริญมากมี เบ่งบานตะไท ไฉไลงามวิจิตรสุดเวหา เป็นได้ทั้งโสดาบันจนได้ถึงอนาคา วาสนาสูงส่งยิ่งพริ้งอัมพร

    รีบไปเถิด อย่ามัวเสียเวลากับเราและกระทู้ของเรา เดี๋ยวจะคลาดจากมรรคจากผลที่จักได้จักมีในชาติ



    เจริญ เจริญ เจริญ


    ถ้าจะมีน้ำใจ ขนมครองแครง พุทธวจน ไม่ต้องซื้อมาเผื่อ ขอบคุณครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤษภาคม 2016
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    https://youtu.be/ceakUPHWtz8


    (kiss)(f)(kiss)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤษภาคม 2016

แชร์หน้านี้

Loading...